WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

การแยกบัญชีมาตรการสินเชื่อซื้อ – สร้าง และการแยกบัญชีมาตรการสินเชื่อซ่อม – แต่ง ภายใต้มาตรการสินเชื่อซื้อ – ซ่อม – สร้าง ของธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA)

Gov ภูมิธรรม07

การแยกบัญชีมาตรการสินเชื่อซื้อ – สร้าง และการแยกบัญชีมาตรการสินเชื่อซ่อม – แต่ง ภายใต้มาตรการสินเชื่อซื้อ – ซ่อม – สร้าง ของธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการสินเชื่อซื้อ – ซ่อม – สร้าง ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) (ตามข้อ 1) และอนุมัติงบประมาณวงเงินรวม 6,372.88 ล้านบาท จากงบประมาณจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินมาตรการฯ พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อเป็นการสนับสนุนภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รองรับความต้องการที่อยู่อาศัยของประชาชน ส่งเสริม และสร้างโอกาสให้กับผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางได้เข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัยภายใต้เงื่อนไขที่ผ่อนปรน เหมาะกับศักยภาพการผ่อนชำระหนี้ รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างวินัยทางการเงินของประชาชน เพื่อไม่ให้เกิดภาระทางการเงินในอนาคต ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          1. ธอส. ได้ดำเนินโครงการสินเชื่อบ้าน Happy Home และโครงการสินเชื่อบ้าน Happy Life ซึ่งได้รับผลตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดี โดยปัจจุบัน ธอส.สามารถปล่อยสินเชื่อเต็มกรอบวงเงินโครงการแล้ว และยังคงมีประชาชนสนใจยื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยอีกจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งรองรับความต้องการที่อยู่อาศัยของประชาชนให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมกับศักยภาพการชำระหนี้ และเพื่อเป็นการสร้างวินัยทางการเงินให้กับประชาชน โดย ธอส. สนับสนุนให้ลูกค้าเดิมมีวินัยในการผ่อนชำระหนี้สามารถยื่นขอสินเชื่อเพิ่ม เพื่อต่อเติมหรือซ่อมแซมอาคารหรือเพื่อซื้ออุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย ธอส. จึงได้เสนอมาตรการฯ ซึ่งประกอบด้วย 1) มาตรการสินเชื่อซื้อ - สร้าง วงเงินโครงการ 50,000 ล้านบาท และ 2) มาตรการสินเชื่อซ่อม - แต่ง วงเงินโครงการ 5,000 ล้านบาท โดยมีสาระสำคัญของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขมาตรการสรุปได้ ดังนี้

              1.1 มาตรการสินเชื่อซื้อ – สร้าง 

 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

 

รายละเอียด

วัตถุประสงค์

 

เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด ปลูกสร้างอาคารหรือซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร และเพื่อซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย

กลุ่มเป้าหมาย

 

ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท

ประเภทสินเชื่อ

 

สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

วงเงินตามมาตรการ

 

50,000 ล้านบาท

วงเงินสินเชื่อต่อรายต่อหลักประกัน

 

ไม่เกินรายละ 3 ล้านบาท (ราคาตามสัญญาจะซื้อจะขายและ/หรือค่าก่อสร้างไม่เกิน 3 ล้านบาท) ทั้งนี้ เงื่อนไขการให้สินเชื่อให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อรายย่อยของ ธอส.

ระยะเวลากู้ยืมเงิน

 

ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 40 ปี

อัตราดอกเบี้ย

 

ปีที่ 1 - 5 : อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 3 ต่อปี

ปีที่ 6 - 7 : อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MRR - 2 ต่อปี

ปีที่ 8 - 9 : อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MRR – 1.5 ต่อปี

ปีที่ 10 จนถึงตลอดอายุสัญญากู้เงิน

- กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป : อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MRR – 0.75 ต่อปี

- กรณีลูกค้าสวัสดิการ : อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MRR - 1 ต่อปี

- กรณีลูกค้ากู้ซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องกับที่อยู่อาศัย : อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MRR

(ข้อมูล วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 อัตราดอกเบี้ย MRR ของ ธอส. เท่ากับ ร้อยละ 6.55 ต่อปี)

ค่าประเมินหลักประกัน

 

ธอส. รับภาระค่าประเมินหลักประกันไม่เกิน 2,300 บาท

ระยะเวลายื่นขอสินเชื่อ

 

ตั้งแต่วันถัดไปหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2568 หรือก่อนกำหนดระยะเวลาดังกล่าว หาก ธอส. ให้สินเชื่อเต็มตามกรอบวงเงินของมาตรการสินเชื่อชื่อ - สร้างแล้ว ทั้งนี้ ธอส. สามารถพิจารณาปรับเปลี่ยนระยะเวลาดำเนินมาตรการสินเชื่อซื้อสร้าง ได้ตามความเหมาะสม

การขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล

 

ธอส. ขอรับการชดเชยส่วนต่างระหว่างรายได้ดอกเบี้ยรับตามแผนวิสาหกิจของธนาคารกับรายได้ดอกเบี้ยรับจากมาตรการสินเชื่อซื้อ - สร้าง จำนวน 5,959.97 ล้านบาท

เงื่อนไขอื่นของธอส.

 

(1) ขอแยกบัญชีมาตรการสินเชื่อซื้อ-สร้าง เป็นบัญชี PSA

(2) ขอนำผลกระทบรายได้และค่าใช้จ่ายจากการจัดทำมาตรการสินเชื่อ ซื้อ - สร้าง
มาปรับตัวชี้วัดทางการเงินที่เกี่ยวข้องตามบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ

(3) ขอนำผลกระทบรายได้และค่าใช้จ่ายในการจัดทำมาตรการสินเชื่อซื้อสร้างมาบวกกลับกำไรเพื่อการจัดสรรโบนัสประจำปี

(4) ขอไม่นับรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans : NPLs) ที่เกิดจากการดำเนินมาตรการสินเชื่อซื้อ - สร้าง ในการคำนวณตัวชี้วัดด้านความสามารถในการบริหาร NPLs ตามบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ

(5) เงื่อนไขอื่นให้เป็นไปตามที่ ธอส. กำหนด

 

              1.2 มาตรการสินเชื่อซ่อม – แต่ง

 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

 

รายละเอียด

วัตถุประสงค์

 

เพื่อสนับสนุนลูกค้าเดิมของ ธอส. ที่มีวินัยในการผ่อนชำระหนี้ สามารถกู้เพิ่มเพื่อต่อเติมหรือซ่อมแซมอาคาร หรือเพื่อซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย

กลุ่มเป้าหมาย

 

(1) ลูกค้าเดิมของ ธอส. ที่มีการผ่อนชำระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทำสัญญาครั้งแรกและมีประวัติการผ่อนชำระดีทุกเดือนไม่น้อยกว่า 1 ปี

(2) วงเงินกู้เดิมภายใต้หลักประกันเดิมสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท

ประเภทสินเชื่อ

 

สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

วงเงินตามมาตรการ

 

5,000 ล้านบาท

วงเงินสินเชื่อต่อรายต่อหลักประกัน

 

ไม่เกินรายละ 100,000 บาท ทั้งนี้ เงื่อนไขการให้สินเชื่อให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อรายย่อยของ ธอส.

ระยะเวลากู้ยืมเงิน

 

ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 3 ปี

อัตราดอกเบี้ย

 

ปีที่ 1 - 3 : อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 1 ต่อปี

ค่าประเมินหลักประกัน

 

ธอส. รับภาระค่าประเมินหลักประกันไม่เกิน 1,900 บาท

ระยะเวลายื่นขอสินเชื่อ

 

ตั้งแต่วันถัดไปหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเป็นต้นไปจนกว่า ธอส.ให้สินเชื่อเต็มตามกรอบวงเงินของมาตรการสินเชื่อซ่อม - แต่งแล้ว ทั้งนี้ ธอส.สามารถพิจารณาปรับเปลี่ยนระยะเวลาดำเนินมาตรการสินเชื่อซ่อม - แต่งได้ตามความเหมาะสม

การขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล

 

ธอส. ขอรับการชดเชยส่วนต่างระหว่างรายได้ดอกเบี้ยรับตามแผนวิสาหกิจของธนาคารกับรายได้ดอกเบี้ยรับจากมาตรการสินเชื่อซ่อมแต่ง จำนวน412.91 ล้านบาท

เงื่อนไขอื่นๆ ของ ธอส.

 

(1) ขอแยกบัญชีมาตรการสินเชื่อซ่อม-แต่ง เป็นบัญชี PSA

(2) ขอนำผลกระทบรายได้และค่าใช้จ่ายจากการจัดทำมาตรการสินเชื่อซ่อม-แต่ง มาปรับตัวชี้วัดทางการเงินที่เกี่ยวข้องตามบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ

(3) ขอนำผลกระทบรายได้และค่าใช้จ่ายในการจัดทำมาตรการสินเชื่อซ่อม-แต่ง

(4) ขอไม่นับรวมหนี้ (NPLs) ที่เกิดจากการดำเนินมาตรการสินเชื่อซ่อม-แต่ง ในการคำนวณตัวชี้วัดด้านความสามารถในการบริหาร NPLs ตามบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ

(5) เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามที่ ธอส. กำหนด

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 12 พฤศจิกายน 2567

 

 

11344

Click Donate Support Web 

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!