WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 187 ว่าด้วยกรอบเชิงส่งเสริมการดำเนินงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย พ.ศ. 2549

GOV8การให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 187 ว่าด้วยกรอบเชิงส่งเสริมการดำเนินงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย พ.ศ. 2549

     เรื่อง การให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 187 ว่าด้วยกรอบเชิงส่งเสริมการดำเนินงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย พ.ศ. 2549

 

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ดังนี้

     1. เห็นชอบการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 187 ว่าด้วยกรอบ เชิงส่งเสริมการดำเนินงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย พ.ศ. 2549

     2. เสนออนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 187 ว่าด้วยกรอบเชิงส่งเสริมการดำเนินงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย พ.ศ. 2549 เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบให้ประเทศไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาดังกล่าว

 

สาระสำคัญของอนุสัญญา

     1. นโยบายระดับชาติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของลูกจ้าง โดยกำหนดเป็นนโยบายระดับชาติให้สอดคล้องตามแนวปฏิบัติและสภาพการณ์ภายในประเทศนั้น ทั้งนี้ ต้องส่งเสริมหลักการพื้นฐานต่างๆ เช่น การประเมินความเสี่ยงหรืออันตรายจากการทำงาน การควบคุมป้องกันอันตรายดังกล่าวที่ต้นเหตุ และการพัฒนาวัฒนธรรมเชิงป้องกันด้านความปลอดภัยฯ ให้เกิดขึ้นในประเทศ ซึ่งรวมถึงข้อมูลข่าวสาร การปรึกษาหารือ การฝึกอบรม เป็นต้น

      2. ระบบการดำเนินงานระดับชาติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หมายถึง การจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานความปลอดภัยฯ ของประเทศ รองรับนโยบายระดับชาติ และผลักดันแผนงาน/โครงการด้านความปลอดภัยฯ ระดับชาติ ลงสู่การปฏิบัติให้บรรลุผล ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานที่มีอำนาจหนึ่งหน่วยงานหรือหลายหน่วยงาน หรือคณะบุคคลหนึ่งคณะหรือหลายคณะที่รับผิดชอบโดยตรงด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมายและแนวปฏิบัติภายในประเทศ กฎหมาย ข้อบังคับ ข้อตกลงร่วม หรือตราสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย กลไกที่ทำให้มั่นใจได้ถึงการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับภายในประเทศอันรวมถึงระบบบการตรวจความปลอดภัยฯ และการพัฒนาความร่วมมือระหว่างฝ่ายจัดการ ลูกจ้าง และผู้แทนลูกจ้างในระดับสถานประกอบกิจการ มุ่งเน้นมาตรการเชิงป้องกันในสถานที่ทำงาน

     3. แผนงาน/โครงการระดับชาติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ควรต้องส่งเสริมการพัฒนาวัฒนธรรมเชิงป้องกันด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย มีส่วนช่วยคุ้มครองลูกจ้าง โดยการขจัดหรือลดความเสี่ยงและอันตรายที่เกี่ยวเนื่องจากงาน ที่ทำให้มีน้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถปฏิบัติได้ เพื่อป้องกันการได้รับบาดเจ็บการเกิดโรค และการเสียชีวิตจากการทำงาน ได้รับการยกร่าง ทบทวน และปรับปรุงโดยอาศัยการวิเคราะห์สถานการณ์ภายในประเทศด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย รวมทั้งผลจากการวิเคราะห์ระบบการดำเนินงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย มีวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย และตัวชี้วัดความคืบหน้า มีการสนับสนุนด้านงบประมาณและทรัพยากรที่จำเป็น และแผนชาติควรต้องมีการเผยแพร่สู่สาธารณชน และได้รับการรับรองก่อนขับเคลื่อนดำเนินการโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักด้านความปลอดภัยฯ ของประเทศ

     4. รัฐสมาชิกที่ให้สัตยาบันควรต้องมีการจัดทำรายงานข้อมูลด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยระดับชาติ เพื่อสรุปข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับการประสบอันตรายจากการทำงานนโยบาย แผนงาน กลไกการดำเนินงาน ได้แก่ กฎหมายหน่วยงาน และบุคลากร ตลอดจนการดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ทั้งนี้ สำหรับใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวงแผน กำหนดนโยบาย มาตรการ/ทิศทาง การดำเนินงานของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีการเผยแพร่รายงานข้อมูลนี้ในระดับนานาชาติ

       ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 กันยายน 2558

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!