WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

มาตรการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

GVOมาตรการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

     คณะรัฐมนตรี มีมติรับทราบกรอบเป้าหมายวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small Medium Enterprises : SMEs) ที่จะให้การส่งเสริมและพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และมอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการบูรณาการการดำเนินงานในรายละเอียดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมติดตามประเมินผลการดำเนินงานต่อไป

สาระสำคัญของเรื่อง

อก. รายงานว่า

1. เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันประสบภาวะชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งมีจำนวนมากกว่า 2.7 ล้านราย ได้รับผลกระทบและประสบปัญหาในการประกอบธุรกิจ อีกทั้งค่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ SMEs มีแนวโน้มลดลง ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบการ SMEs กำลังประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจและขาดความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจ จำเป็นที่ภาครัฐจะต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลือเพื่อให้ SMEs สามารถดำเนินธุรกิจและเติบโตต่อไปได้

2. อก. ได้ประสานและบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ทก.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) แล้วเห็นสมควรเสนอมาตรการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน SMEs โดยกำหนดเป้าหมายส่งเสริม SMEs ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 จำนวน 97,503 ราย โดยแบ่งเป็นด้านต่าง ๆ คือ

(1) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของ SMEs ที่ประกอบกิจการอยู่แล้ว (Regular) จำนวน 55,338 ราย

(2) การสร้างผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Start-up) จำนวน 22,715 ราย

(3) การช่วยเหลือ SMEs ที่ประสบปัญหาทางธุรกิจ (Turn-around) ในการปรับแผนธุรกิจเป็นการเร่งด่วน จำนวน 17,000 ราย และ

(4) การสร้างและพัฒนาปัจจัยสนับสนุน (Enabling Business) จำนวน 2,450 ราย ในด้านการสนับสนุนเงินทุน การจดทะเบียนโรงงาน และการจดทะเบียนสัญญาธุรกิจ โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ส่วน คือ

1. การดำเนินงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้วในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ประกอบด้วย

1.1 การเสริมสร้างความเข้มแข็ง SMEs ที่ประกอบกิจการอยู่แล้ว (Regular) และสร้างผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Start-up) เป้าหมาย 53,040 ราย

1.2 การช่วยเหลือ SMEs ที่ประสบปัญหาทางธุรกิจ (Turn-around) ในการปรับแผนธุรกิจเป็นการเร่งด่วน เป้าหมาย 17,000 ราย

2. การดำเนินงานที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ในแผนงานเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน SMEs มีเป้าหมาย 27,463 ราย เป็นการบูรณาการการดำเนินงานระหว่าง อก. วท. พณ. และ สสว. ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างขีดความสามารถที่เชื่อมโยงการดำเนินงานตั้งแต่การสร้างความเป็นเลิศในกระบวนการดำเนินงานของ SMEs เพิ่มมูลค่า (High Value) จากการต่อยอดและใช้ประโยชน์งานวิจัยและเทคโนโลยี การพัฒนาการออกแบบและการเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กับ SMEs เพื่อสร้างพลังให้ SMEs มีศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างแท้จริง โดยแบ่งเป็น 3 ด้านคือ

(1) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของ SMEs ที่ประกอบกิจการอยู่แล้ว (Regular)

(2) การสร้างผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Start-up)

(3) การสร้างและพัฒนาปัจจัยสนับสนุน (Enabling Business)

                ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 ตุลาคม 2558 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!