WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอความเห็นชอบและการลงนามในร่างปฏิญญาร่วมกัวลาลัมเปอร์ของการประชุมคณะรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 3

GOVขอความเห็นชอบและการลงนามในร่างปฏิญญาร่วมกัวลาลัมเปอร์ของการประชุมคณะรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 3

       เรื่อง ขอความเห็นชอบและการลงนามในร่างปฏิญญาร่วมกัวลาลัมเปอร์ของการประชุมคณะรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 3

      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เสนอ ดังนี้

      1. เห็นชอบร่างปฏิญญาร่วมกัวลาลัมเปอร์ของการประชุมคณะรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 3 (Kuala Lumpur Joint Declaration of the Third ASEAN Defence Ministers’ Meeting-Plus)

      2. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหรือผู้แทนเป็นผู้ร่วมลงนามฝ่ายไทยในร่างปฏิญญาร่วมฯ

       3. หากมีการแก้ไขรายละเอียดของร่างปฏิญญาร่วมฯ โดยไม่กระทบเนื้อหาสาระสำคัญและมีผลต่อการดำเนินการของรัฐบาลไทย ให้กระทรวงกลาโหม (กห.) สามารถแก้ไขรายละเอียดได้ตามความเหมาะสม รวมทั้งเมื่อลงนามในร่างปฏิญญาร่วมฯ แล้ว ให้ กห. ดำเนินการร่วมกับ กห. มิตรประเทศต่อไป

ร่างปฏิญญาร่วมฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้

                1. ยึดถือต่อหลักการด้านการทูตที่ดี ในการเคารพต่อความเท่าเทียมทางด้านอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน การจัดการปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี โดยยึดถือผลประโยชน์ร่วมกัน

                2. เน้นย้ำถึงความสำคัญของเสรีภาพของเส้นทางเดินเรือและช่องทางการเดินทางทางอากาศ ซึ่งถูกรองรับโดยหลักกฎหมายระหว่างประเทศ รวมไปถึงอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982

                3. สนับสนุนและพัฒนาการทำงานของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญในกรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนความร่วมมือในเชิงปฏิบัติ และการยกระดับการพัฒนา ขีดความสามารถ การสร้างมิตรภาพและการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ

                4. ยินดีต้อนรับต่อเอกสารแนวความคิดว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในเชิงปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนระหว่างหน่วยงานแพทย์ทหารของประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา

                5. พยายามที่จะปรับปรุงขั้นตอนการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของงานด้านความมั่นคงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะในการใช้งบประมาณเพื่อให้ผลงานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ

                6. ส่งเสริมในการรวมตัวของอาเซียนโดยมีประชาชนเป็นพื้นฐานและมีประชาชนเป็นศูนย์กลางผ่านความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรมและสร้างสรรค์

                7. ร่วมมืออย่างสอดคล้องกับกฎหมายภายในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อสร้างความร่วมมือกันในการต่อต้านการก่อการร้ายของกลุ่มผู้ก่อการร้ายกลุ่มที่มีแนวคิดสุดโต่ง และกลุ่มหัวรุนแรง โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพิ่มการสอดส่องดูแลและการสนับสนุนให้สาธารณชนได้ตระหนักเกี่ยวกับภัยคุกคามของกลุ่มหัวรุนแรง

                8. ยินดีต้อนรับต่อการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 4 ที่จะจัดขึ้น ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ในปี 2560

                ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 27 ตุลาคม 2558

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!