WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ระยะที่ 2

GOV8โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ระยะที่ 2

       คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ระยะที่ 2 และงบประมาณในการดำเนินโครงการ จำนวน 10,010 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ


สาระสำคัญของเรื่อง
โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ระยะที่ 2 มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข/โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs

1. คุณสมบัติ ผู้ขอสินเชื่อ
ผู้ประกอบการ SMEs ตามนิยามของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศซึ่งมีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน

2. วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือเป็นสินเชื่อระยะยาว (L/T) ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs
3. วงเงิน
- วงเงินรวมทั้งโครงการ 50,000 ล้านบาท
- วงเงินต่อราย ไม่เกิน 10 ล้านบาท
4. วิธีการให้ความช่วยเหลือ
- ธนาคารออมสินให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เข้าร่วมโครงการฯ และธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SMEs เฉพาะการปล่อยสินเชื่อใหม่ โดยมีเงื่อนไขไม่ให้ Refinance หนี้เดิม

- ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยผู้ประกอบการ SMEs หรือรายงานสรุปยอดสินเชื่อของผู้ประกอบการ SMEs แต่ละราย เพื่อประกอบการเบิกเงินกู้จากธนาคารออมสิน

5. วิธีการดำเนินการ
ธนาคารออมสินจะให้กู้ยืมเงินแก่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เข้าร่วมโครงการฯ ในอัตราเต็มตามจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยผู้ประกอบกิจการ SMEs หรือตามรายงานสรุปยอดสินเชื่อของผู้ประกอบกิจการ SMEs ทั้งนี้ ตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับต้องไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท และไม่มีเศษของหลักพัน และมีอายุไม่เกิน 7 ปี นับแต่วันที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน

6. อัตราดอกเบี้ย
- ธนาคารออมสินคิดดอกเบี้ยจากสถาบันการเงินในอัตราร้อยละ 0.1 ต่อปี
- สถาบันการเงินคิดดอกเบี้ยจากผู้ประกอบการตามจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตามรายงานสรุปยอดสินเชื่อของผู้ประกอบการ SMEs ในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี

7. ระยะเวลาโครงการ
ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอสินเชื่อภายใน 30 มิถุนายน 2559 หรือจนกว่าวงเงินที่กำหนดไว้จะถูกจัดสรรหมด แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน และธนาคารออมสินเบิกจ่ายสินเชื่อแล้วเสร็จภายใน 30 กันยายน 2559

8. การใช้วงเงินโครงการของธนาคารออมสิน
ธนาคารออมสินสามารถใช้วงเงินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือเป็นสินเชื่อระยะยาว (L/T) ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ได้

9. การชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยให้กับธนาคารออมสิน
- รัฐบาลชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยให้กับธนาคารออมสิน ในอัตราเท่ากับต้นทุนทางการเงินของธนาคาร (ร้อยละ 2.21 ต่อปี) บวกค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (ร้อยละ 0.75 ต่อปี) หักอัตราผลตอบแทนจากการให้สถาบันการเงินกู้ร้อยละ 0.1 ต่อปี เท่ากับร้อยละ 2.86 ต่อปี ดังนั้น ประมาณการค่าใช้จ่ายที่รัฐต้องชดเชยเป็นจำนวน 1,430 ล้านบาทต่อปี งบประมาณชดเชยรวม 7 ปี รวมเป็นเงิน 10,010 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้เบิกจ่ายตามที่เกิดขึ้นจริง

- ธนาคารออมสินสามารถนำส่วนต่างระหว่างค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ได้รับชดเชย เพื่อบวกกลับในการคำนวณโบนัสประจำปีของพนักงานได้
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 ธันวาคม 2558

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!