WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย – อิรัก ครั้งที่ 4

GOVท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย อิรัก ครั้งที่ 4

 

      คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ เห็นชอบ และอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชน์ (พณ.) เสนอ ดังนี้

      1. รับทราบร่างองค์ประกอบผู้แทนไทยในการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee : JTC) ไทย อิรัก ครั้งที่ 4

       2. เห็นชอบในหลักการต่อประเด็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าสำหรับการหารือกับอิรัก และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ใช้เป็นกรอบการหารือสำหรับการประชุม JTC ไทย อิรัก ครั้งที่ 4

     3. หากในการประชุมดังกล่าวมีผลให้มีการตกลงเรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าในประเด็นอื่น ๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าสองฝ่ายระหว่างไทยกับอิรัก โดยไม่มีการจัดทำเป็นความตกลงหรือหนังสือสัญญาขึ้นมา ให้ พณ. และผู้แทยไทยที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

     4. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรองผลการประชุม JTC ไทย-อิรัก ครั้งที่ 4 รวมถึงเอกสารอื่น ๆ ที่เป็นผลจากการหารือขยายความร่วมมือเฉพาะด้าน (หากมี)

 

สาระสำคัญของเรื่อง

พณ. รายงานว่า

      10. การประชุม JTC ไทย อิรัก ครั้งที่ 4 เป็นการประชุมในระดับรัฐมนตรี โดยมี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยและกระทรวงการค้าอิรักเป็นประธานร่วม ซึ่งที่ผ่านมามีการประชุมมาแล้ว 3 ครั้ง และในครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งที่ 4 ซึ่งไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ 28-29 มีนาคม 2559 ณ พณ.

       11. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่อหารือแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันในสาขาที่ฝ่ายอิรักสนใจจะร่วมมือกับไทย ซึ่งเป็นสาขาที่ฝ่ายอิรักขอความร่วมมือกับไทยในการประชุม JTC ครั้งที่ 3 อาทิ ความร่วมมือด้านการเกษตร การธนาคาร สาธารณสุข การก่อสร้างที่พักอาศัยและการเข้าร่วมการประมูล การลงทุน การไฟฟ้า การประปาและการบำบัดน้ำเสีย การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและการวางโครงสร้างพื้นฐาน วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม การศึกษา และข่าวสาร ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยยินดีให้ความร่วมมือและจะพิจารณาความเหมาะสมในแต่ละสาขาตามที่ฝ่ายอิรักเสนอ

      12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ สร้างและขยายโอกาสในการเพิ่มมูลค่าการค้ากับประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าข้าว รวมถึงสินค้ารายการอื่น ๆ ที่มีโอกาสในการเข้าไปขยายตลาด ได้แก่ ผักและผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากยางพลาสติกและผลิตภัณฑ์จากพลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้า เครื่องซักผ้า กระดาษและผลิตภัณฑ์ ซึ่งไทยส่งออกไปยังอิรักเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างกันเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับอิรัก

     13. องค์ประกอบผู้แทนไทย จำนวน 14 คน ประกอบด้วย

 

พณ.

1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (หัวหน้าผู้แทนไทย)

2. อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ หรือผู้แทน

3. อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ หรือผู้แทน

4. อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือผู้แทน

5. ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าหรือผู้แทน

6. ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครดูไบ

 

หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ

1. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทน

2. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือผู้แทน

3. ปลัดกระทรวงมหาดไทย หรือผู้แทน

4. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม หรือผู้แทน

5. ปลัดกระทรวงการคลัง หรือผู้แทน

6. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข หรือผู้แทน

7. เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือผู้แทน

8. ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน

   ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มีนาคม 2559

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!