WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย - เมียนมา

GVOรายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย - เมียนมา

 

      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการของร่างความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศระหว่าง ไทย - เมียนมา และบันทึกการหารือระหว่างไทย เมียนมา ตามที่ กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการเพื่อให้มีการลงนามความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศระหว่างไทย เมียนมา และแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการมีผลใช้บังคับของความตกลงฯ และบันทึกการหารือดังกล่าวต่อไป

       สาระสำคัญของบันทึกการหารือระหว่างไทย เมียนมา ที่ลงนามเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2551 มีดังนี้

 

รายการ/สาระสำคัญ

ร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศ

      ใช้แทนที่ความตกลงฯ ฉบับเดิมที่ลงนามเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2512 เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และกฎหมายภายในของทั้งสองฝ่าย โดยมีการเพิ่มเติมข้อบทที่สำคัญ เช่น ความปลอดภัยการบินและการรักษาความปลอดภัยการบินเป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมทั้ง ยังมีการเพิ่มข้อบทเรื่อง การทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน (Code Sharing)

 

สิทธิความจุความถี่และสายการบินที่กำหนด

     คงสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 3/4 และ 5 ไว้เช่นเดิมตามที่ได้ตกลงกันในบันทึกการหารือ ฉบับลงนามวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 ซึ่งกำหนดให้สายการบินที่กำหนดแต่ละฝ่ายสามารถทำการบินรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 3 และ 4 ได้อย่างไม่จำกัดจำนวนเที่ยวบินและแบบอากาศยาน และมีสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 ในสองจุดระหว่างทางใด ๆ และ/หรือสองจุดพ้นใด ๆ โดยมีสิทธิรับขนจุดละไม่เกิน 7 เที่ยวต่อสัปดาห์ พร้อมทั้งยืนยันการแจ้งแต่งตั้งสายการบินที่กำหนดของตน

     ในปัจจุบัน มีสายการบินของไทยจำนวน 5 สายการบิน ได้แก่ บริษัท การบินไทย (จำกัด) มหาชน บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด สายการบินนกแอร์ และสายการบินไทยสมายล์ ทำการบินไปยังเมืองต่าง ๆ ในเมียนมา รวมทั้งสิ้น 138 เที่ยวต่อสัปดาห์ ในขณะที่สายการบินของเมียนมา ทำการบินมายังประเทศไทยจำนวน 2 สายการบิน ได้แก่ Myanmar Airways International และ Air Bagan ทำการบินรวมกัน 17 เที่ยวต่อสัปดาห์

ข้อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือ/การทำการบิน โดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน

        สายการบินที่กำหนดแต่ละสายสามารถเข้าร่วมจัดทำข้อตกลงความร่วมมือทางการตลาดกับสายการบินของภาคีผู้ทำความตกลงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือสายการบินอื่นใดสายหนึ่ง (หรือหลายสาย) เช่น การร่วมเป็นหุ้นส่วนการลงทุน การตกลงซื้อขายระวาง และการทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน เป็นต้น ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่า สายการบินทุกสายที่เข้าร่วมต้องได้รับการอนุญาตที่เหมาะสม และปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ใช้โดยทั่วไปในการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือเช่นว่านั้น

 

การใช้อากาศยานเช่า

      สายการบินที่กำหนดของภาคีคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายสามารถใช้อากาศยานเช่าทั้งแบบเช่าเฉพาะอากาศยานและแบบเช่าอากาศยานพร้อมลูกเรือในการดำเนินบริการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศทั้งสองหรือพ้นไป โดยข้อตกลงในการเช่าอากาศยานนั้น จะต้องยื่นขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่การเดินอากาศของทั้งสองฝ่าย

อื่น ๆ

     ส่งเสริมให้สายการบินที่กำหนดของทั้งสองฝ่ายหารือกันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการจัดทำความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อเสริมสร้างให้เกิดโอกาสที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกันในตลาด และเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย

   ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 พฤษภาคม 2559

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!