WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

วันที่ 06 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ปีที่ 24 ฉบับที่ 8560 ข่าวสดรายวัน

ปูแจงเอง ลุยศาลรธน.วันนี้ มาร์คโต้พัลวันปฏิวัติเงียบ กกต.ส่อยื้อพ.ร.ฎ.เลือกตั้ง พท.เมินปชป.ขู่ฟ้องแฉสด.9
       ศาลรธน.ไต่สวนพยาน 4 ปากวันนี้ 'ยิ่งลักษณ์'เข้าชี้แจงเองปมย้ายถวิล ยกประเด็นสมัครใจย้ายจากผบ.ตร.มาเป็นเลขาฯสมช.ของพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี และหลักบริหารราชการแผ่นดินมาสู้คดี สมาชิกเพื่อไทยยื่นค้านอำนาจศาลรธน. ชี้ขัด ป.อาญา-แทรกแซงฝ่ายบริหาร-ละเมิดจริยธรรมขั้นร้ายแรง กกต.ถกโรดแม็ปมาร์ค ส่อยื้อส่งพ.ร.ฎ.เลือกตั้ง 20 ก.ค.ให้รัฐบาล แกนนำเพื่อไทยเตรียมออกแถลงการณ์จุดยืนไม่เห็นด้วย ชี้ชัดผิดรธน.และขัดหลักปชต. ยันไม่ให้นายกฯลาออก พร้อมพงศ์เมินถูกปชป.ขู่ฟ้องเหตุแฉสด.9 'มาร์ค'พัลวันไม่ใช่การปฏิวัติเงียบ ขอรอฟังคำตอบจาก'ปู'คนเดียว ถ้าเดินหน้าออกพ.ร.ฎ.เลือกตั้งแสดงว่าไม่ยอมรับ มั่นใจศาลปกครองรับคำร้องเรื่องถูกปลดจากราชการทหาร ไม่ขาดคุณสมบัติส.ส. 

'ปู'เข้าชี้แจงศาลรธน.ด้วยตัวเอง

        วันที่ 5 พ.ค. แหล่งข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญเปิดเผยว่า ในการประชุมประจำสัปดาห์ของศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 6 พ.ค. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะเริ่มประชุมเวลา 09.30 น. เพื่อพิจารณาคดีตามปกติก่อน จากนั้นเวลา 10.00 น. คณะตุลาการฯ จะออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนพยานในคำร้องที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กับคณะ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกฯ และ รมว.กลาโหมแต่งตั้งโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภา ความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ว่าความเป็นรัฐมนตรีของน.ส. ยิ่งลักษณ์จะสิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ประกอบมาตรา 268 หรือไม่ จำนวน 4 ปาก ประกอบด้วยนายไพบูลย์ นิติตะวัน ผู้ยื่นคำร้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้ถูกร้อง พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี อดีตผบ.ตร.และอดีตเลขาธิการ สมช. และนายถวิล เปลี่ยนศรี 
        แหล่งข่าวกล่าวว่า เบื้องต้นได้รับการประสานว่าพยานทั้ง 4 ปากจะมาให้ถ้อยคำกับศาลรัฐธรรมนูญด้วยตัวเองทั้งหมด แต่หากพยานรายใดที่ไม่ได้มาให้ถ้อยคำต่อศาลก็จะถือว่าไม่ติดใจที่จะให้ถ้อยคำด้วยวาจา ศาลจะพิจารณาตามพยานหลักฐานที่มีอยู่เดิมประกอบกับบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงที่พยานทั้ง 4 ปากยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญไว้เมื่อวันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา ทั้งนี้ หากศาลรัฐธรรมนูญฟังการไต่สวนข้อเท็จจริงจากพยานทั้งหมดแล้วเห็นว่ามีข้อมูลและข้อเท็จจริงที่เพียงพอก็อาจมีคำสั่งนัดวันแถลงด้วยวาจาก่อนลงมติหรือคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา

ประสานตำรวจดูแลความปลอดภัย
        ทั้งนี้ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะมีการถ่ายทอดสัญญาณจากห้องพิจารณาคดีให้สาธารณชนได้ทราบด้วย ส่วนมาตรการดูแลความปลอดภัยนั้น เบื้องต้นได้ประสานขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน.ทุ่งสองห้อง มาช่วยดูแลโดยรอบสำนักงานและอำนวยความสะดวกให้กับพยาน คู่กรณีที่มาฟังการไต่สวน รวมถึงคณะตุลาการฯ และข้าราชการประจำสำนักงานด้วย
       แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้รู้สึกเบาใจว่าในวันที่ 6 พ.ค.ไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์วุ่นวายใดๆ เพราะยังไม่มีรายงานว่าจะมีมวลชนกลุ่มใดเคลื่อนไหวมากดดันการพิจารณาคดี แต่หากมีการเคลื่อนไหวทางสำนักงานได้เตรียมมาตร การและแผนความปลอดภัยไว้แล้ว

'ปู'ยกประเด็นสมัครใจใช้สู้คดี
       รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า สำหรับความคืบหน้าการต่อสู้คดีนั้น น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เรียกบุคคลใกล้ชิดและทีมงานที่เกี่ยวข้องหารือเพื่อซักซ้อมความพร้อมในการชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 4 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยนายกฯ รับทราบว่า พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ซึ่งเป็นพยานปากเอกจะเข้าชี้แจงต่อศาลอย่างแน่นอน เพื่อชี้ให้ศาลเห็นว่าการถูกโยกย้ายจากตำแหน่งผบ.ตร.มาเป็นเลขาธิการ สมช.นั้นเป็นไปด้วยความสมัครใจ ตามหลักการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเทียบได้กับกรณีที่มีการย้ายนายถวิล เป็นต้น ซึ่งจะยกประเด็นนี้มาต่อสู้คดีอีกทางหนึ่ง

คุมเข้มความปลอดภัยนายกฯ
       รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์จะเข้าชี้แจงต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วยตนเอง เพื่อยืนยันอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามรัฐธรรมนูญของฝ่ายบริหาร ทำให้การรักษาความปลอดภัยต้องเข้มงวดเป็นพิเศษ เนื่องจากอยู่ใกล้บริเวณที่ชุมนุมกลุ่มพุทธอิสระ

พม.ยื่นคัดค้านอำนาจศาลรธน.
        นายสิงห์ทอง บัวชุม สมาชิกพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า วันที่ 6 พ.ค. เวลา 10.00 น. ตนจะไปยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อขอคัดค้านการพิจารณาวินิจฉัยคดีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ถูกยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ นายกฯ และ ครม.พ้นสถานภาพความเป็นรัฐมนตรี และขอให้วุฒิสภาสามารถดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 180 วรรคท้ายโดยอนุโลมเพื่อแต่งตั้งนายกฯ ได้ เนื่องจากเป็นการกระทำผิดเข้าข่ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 63 ฐานจงใจใช้อำนาจหน้าที่ที่มีโดยขัดรัฐธรรมนูญ และยังถือเป็นการวินิจฉัยที่ไม่มีกฎหมายมารองรับ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรค 6 นับว่าเป็นการแทรกแซงอำนาจของฝ่ายบริหาร และยังถือว่าฝ่าฝืนมาตรา 3 ประกอบมาตรา 197 ฐานละเมิดจริยธรรมขั้นร้ายแรง 

กกต.จ่อถกโรดแม็ปมาร์ค
        นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เปิดเผยว่า วาระการประชุมกกต.ในวันที่ 6 พ.ค. จะพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ)แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งส.ส.เป็นการทั่วไป หาก กกต.ทั้ง 5 คนพิจารณาแล้วเห็นว่าร่างพ.ร.ฎ. ดังกล่าวมีเนื้อหาถ้อยคำที่สมบูรณ์ครบถ้วนเรียบร้อยดี ไม่จำเป็นต้องแก้ไขหรือปรับปรุงใดๆ แล้ว ทางสำนักงานกกต.จะส่งร่างพ.ร.ฎ. ไปให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี(สลค.) พิจารณาเห็นชอบในวันเดียวกันเลย แต่หากกกต.ทั้ง 5 คน เห็นว่ายังมีเนื้อหาบางส่วนที่ต้องแก้ไขปรับเนื้อหา ทางกกต.จำเป็นต้องส่งให้ครม.พิจารณาเห็นชอบในภายหลัง
       นายภุชงค์ กล่าวว่า กกต.ได้รับการประสานจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ว่าในวันที่ 6 พ.ค. จะส่งหนังสืออย่างเป็นทางการเกี่ยวกับแผนปฏิรูปหาทางออกความขัดแย้งให้กับประเทศ จำนวน 10 ข้อ ตามที่แถลงต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 3 พ.ค. มาให้กกต.รับทราบด้วย พร้อมกันนี้จะแนบรายละเอียดข้อมูลการปฏิรูปการเลือกตั้ง จึงคาดว่าในที่ประชุมวันที่ 6 พ.ค. จะหารือเกี่ยวกับข้อเสนอดังกล่าวด้วย ส่วนจะมีความคิดเห็นออกมาอย่างไร ต้องการฟังรายละเอียดหลังการประชุมอีกครั้ง

คาดเลื่อนส่งพ.ร.ฎ.เลือกตั้งให้รบ.
        รายงานข่าวจากกกต. แจ้งว่า กกต.ได้มีการหารือกันนอกรอบ โดยมีแนวโน้มจะยังไม่ส่งร่างพ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้ง 20 ก.ค. ให้รัฐบาลตามที่รับปากไว้ว่าจะส่งให้ภายในวันที่ 6 พ.ค.เพื่อนำเข้าที่ประชุมครม.ในวันเดียวกัน

พท.ดักคอ-อย่าเลื่อนเลือกตั้ง
       นายพิชิต ชื่นบาน ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนายศุภชัย สมเจริญ ประธานกกต. ระบุจะนำข้อเสนอหาทางออกประเทศของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไปพิจารณาในที่ประชุมกกต. วันที่ 6 พ.ค.นี้ว่า หาก กกต.นำเรื่องนี้ไปพูดคุยอีก ถือว่าไม่สมควร เพราะกกต.มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายและต้องทำตามที่ได้ประชุมกับรัฐบาลเรื่องการจัดการเลือกตั้ง และกำหนดวันเลือกตั้งใหม่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งประชาชนก็เฝ้ารอไปลงคะแนนเสียง ดังนั้น กกต.ต้องพึงระวังท่าทีให้เหมาะสม
      นายพิชิต กล่าวว่า กกต.ได้หารือกับนายอภิสิทธิ์ ก่อนจะมาคุยกับรัฐบาลแล้วเหตุใดไม่พูดคุยให้ชัดเจน หากพิจารณาข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ที่ต้องการปฏิรูปการเลือกตั้งด้วยการเสนอเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก่อนนั้น เป็นเรื่องที่ไร้เหตุผล หากจะปฏิรูปจริง กกต.สามารถออกประกาศหรือระเบียบเพื่อให้การเลือกตั้งสุจริต ทุกพรรคได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม เช่น เปิดเวทีกลางให้ทุกพรรคแสดงความเห็นโดยห้ามพรรคไปตั้งเวทีของตัวเอง จึงไม่มีเหตุผลใดต้องเลื่อนการเลือกตั้งตามโมเดลที่นายอภิสิทธิ์เสนอ

ซัดปชป.แค่หาข้ออ้างเบี้ยวลงส.ส.
       นายพิชิตกล่าวว่า ตนมองในฐานะนักกฎหมายว่าข้อเสนอดังกล่าวเป็นเพียงข้ออ้างที่ฉ้อฉลของนายอภิสิทธิ์ และพรรคประชาธิปัตย์ที่จะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2 แต่เกรงจะถูกกกต.ลบพรรคออกจากสารบบ จึงต้องประกาศว่าเสนอข้อเสนอถึงทุกฝ่ายแล้วแต่ไม่มีใครยอมรับ ซึ่งเป็นข้ออ้างเห็นแก่ตัวและไม่มีความจริงใจ
         นายพิชิตกล่าวอีกว่า ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ เป็นความเห็นส่วนตัวในฐานะหัวหน้าพรรค หรือเป็นมติของพรรคประชาธิปัตย์กันแน่ กกต.จึงต้องระวังในการพูดคุยให้ดีและคุยกับผู้ที่ตั้งใจลงสมัครรับเลือกตั้ง ไม่ใช่คนที่มีจุดยืนที่จะไม่ลงสมัครและยังขัดขวางการเลือกตั้ง เพราะหากมีการพลิกลิ้นว่าข้อเสนอทั้งหมดไม่เกี่ยวกับพรรคแล้วจะยุ่งในภายหลัง แม้แต่คนในพรรคประชาธิปัตย์ ยังแสดงความเห็นให้เลือกตั้งก่อนแล้วจึงเดินหน้าเรื่องการปฏิรูปในประเด็นต่างๆ

ย้ำอีกโรดแม็ปมาร์คขัดรธน.
      เมื่อถามว่าแกนนำรัฐบาลได้พูดคุยเรื่องนี้อย่างไร นายพิชิตกล่าวว่า สิ่งที่นายอภิสิทธิ์ เสนอนั้นขัดกฎหมาย ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งเจตนารมณ์ของกฎหมายเขียนไว้ชัดว่าการปกครองของไทยเป็นแบบรัฐสภา มีผู้แทนมาจากการเลือกตั้ง และอำนาจบริหารทั้ง 3 ฝ่าย ต้องยึดโยงกับประชาชน ถามว่าข้อเสนอ ตั้งรัฐบาลกลางของนายอภิสิทธิ์ที่บอกว่าให้รัฐบาลกลางอยู่ 6 เดือนเพื่อทำเรื่องปฏิรูป จะมีหลักประกันอะไรมาตรวจสอบถ่วงดุลการทำงาน เพราะไม่มีฝ่ายนิติบัญญัติสอบสวนการทำงานเหมือนกับรัฐบาลปกติที่มีสภาตรวจสอบ ตั้งกระทู้ถามและอภิปรายไม่ไว้วางใจ
       เมื่อถามว่ารัฐบาลยังเชื่อใจการทำงานของ กกต.ได้หรือไม่ว่าจะจัดการเลือกตั้งโดยไม่เลื่อนออกไปเหมือนครั้งที่ผ่านมา นายพิชิตกล่าวว่า เราให้กำลังใจกกต.ใช้อำนาจในทางที่ถูกต้องตามหลักกฎหมาย และไม่ได้บีบบังคับ เมื่อกกต.ขอเวลาทำงานเพื่อเตรียมการเลือกตั้งและกำหนดกรอบเวลาเป็นวันที่ 20 ก.ค. รัฐบาลก็พร้อมรับฟัง จึงเป็นหน้าที่ของกกต.ต้องดำเนินการตามที่บอกไว้

เชื่อ'ปู'ยอมตายในสนามปชต.
      นายชวลิต วิชยสุทธิ์ รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ โดยเรียกร้องให้นายกฯ ลาออกแล้วจัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล มีนายกฯ มาจากคนกลางว่า นายกฯเคยประกาศต่อสาธารณะว่าจะยอมตายในสนามประชาธิปไตยเหมือนกับที่ทหารยอมตายในสนามรบ จึงมั่นใจว่าแม้นายกฯ จะเป็นสตรี แต่คงไม่ยอมกลับคำอย่างแน่นอน และมั่นใจว่าคณะกรรมการกิจการพรรคเพื่อไทยซึ่งจะประชุมในวันที่ 6 พ.ค. จะยืนยันยึดมั่นรักษาระบอบประชาธิปไตยไว้ 
      นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์เป็นเพียงร่างทรงของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.เพราะข้อเสนอเหมือนนายสุเทพทั้งหมด ข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์เป็นรัฐประหารซ่อนรูป มัดมือชก ข่มขู่ประชาชน 65 ล้านคน ทั้งที่ทางออกที่ง่ายและเป็นธรรมคือการเลือกตั้ง ทุกพรรคเสนอแนวทางปฏิรูป ออกกฎหมายให้มีสภาปฏิรูป 1 ปี คืนอำนาจให้ประชาชนแล้วเลือกตั้งใหม่ให้ประชาชนเป็นผู้กำหนดกติกา ไม่ใช่นักการเมือง 

พท.เล็งออกแถลงการณ์ย้ำจุดยืน
       นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ ว่า แกนนำพรรคเห็นว่าข้อเสนอให้นายกฯ ลาออกเพื่อเปิดทางนายกฯ และรัฐบาลคนกลางนั้น ผิดรัฐธรรมนูญและขัดระบอบประชาธิปไตย ไม่ต่างจากแนวทางตั้งนายกฯ คนนอกตามมาตรา 7 ของกลุ่ม กปปส.และหากนายกฯ ลาออกอาจถูกยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่ากระทำผิดรัฐธรรมนูญได้ เพราะมาตรา 181 ระบุหลังจากยุบสภา นายกฯ และรัฐบาลต้องอยู่รักษาการจนกว่าจะมี ครม.ชุดใหม่ ดังนั้น ในพรรคเพื่อไทยไม่มีใครเสนอให้นายกฯ ลาออก 
     นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า ในวันที่ 6 พ.ค. หลังการประชุมของคณะกรรมการกิจการพรรค ประกอบด้วยคณะกรรมการบริหารพรรค กรรมการยุทธศาสตร์พรรค คณะกรรมการประจำโซนและแกนนำพรรค เกี่ยวกับข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์อย่างละเอียดแล้ว พรรคจะออกแถลงการณ์ถึงจุดยืนของพรรคต่อข้อเสนอดังกล่าว และมอบให้ส.ส.ชี้แจงให้ประชาชนในพื้นที่เข้าใจแถลงการณ์ของพรรคต่อไป

'เด็จพี่'เมินปชป.ขู่ฟ้อง
        นายพร้อมพงศ์ กล่าวถึงนายชวนนท์ อินทรโกมาสุตย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ขู่ดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาท ที่กล่าวหานายอภิสิทธิ์ประกาศไม่ลงสมัครส.ส.เพราะขาดคุณสมบัติ เนื่องจากถูกคำสั่งกระทรวงกลาโหมปลดออกจากราชการว่า จะฟ้องก็ไม่เป็นไร เพราะนายอภิสิทธิ์ถูกปลดออกจากราชการจริง ตนไม่ได้กล่าวหา กระทรวงกลาโหมมีคำสั่งปลดออกแล้ว อย่างไรก็ตาม วันนี้เป็นวันดี ตนไม่อยากพูดเรื่องการเมือง อยากจะพูดคุยถึงเรื่องที่มงคลเท่านั้น

'มาร์ค'หวังรัฐบาล-กปปส.ยอมรับ
      นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ว่า การเสนอแผนเดินหน้าประเทศไทยเป็นการปฏิรูปที่เดินอยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญ เอาเป้าหมาย 2 ฝ่ายหลักคือรัฐบาล และกลุ่มกปปส. ทำให้มันเกิดความเป็นจริง ถ้าทำตามแผนนี้รัฐบาลก็ได้ในสิ่งที่ต้องการคือมีการเลือกตั้งที่เรียบร้อยเกิดขึ้นภายในสิ้นปีนี้ แต่ช่วงนี้รัฐบาลต้องถอยฉากไปเพื่อเปิดทางให้เกิดรัฐบาลเฉพาะกาล เพื่อให้ฝ่ายมวลมหาประชาชนยอมรับได้กับเงื่อนไขเปลี่ยนผ่านนี้ แล้วกลับสู่การเลือกตั้ง
      นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนวางกลไกไว้หลายอย่าง ทั้งเรื่องประชามติ การมีรัฐบาลคนกลางมาบริหารช่วงเปลี่ยนผ่าน และการแก้กฎระเบียบของ กกต. ซึ่งทำให้รัฐบาลหลังเลือกตั้งที่มีอายุ 1 ปี ผลักดันการปฏิรูปโดยไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ ส่วน กปปส.ก็ได้การปฏิรูปเหมือนกัน เพียงแต่วิธีการปฏิรูปนี้อาจไม่ตรงกับที่ กปปส.พยายามทำอยู่ 

พัลวันไม่ขัดรธน.-ไม่ใช่ปฏิวัติเงียบ
      นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ข้อเสนอแนวของตนไม่ขัดรัฐธรรมนูญและไม่ใช่การปฏิวัติเงียบตามที่พรรคเพื่อไทยระบุ เพราะถ้าเดินอยู่แบบนี้ก็ไม่แน่ใจว่าการเลือกตั้งวันที่ 20 ก.ค.หรือจะเป็นช่วงเดือนส.ค.หรือก.ย.จะสำเร็จ ถ้ารัฐบาลเดินตามแผนที่ตนเสนอ และกปปส.ยอมรับแผนนี้ ก็ไม่ต้องขัดแย้งกัน รัฐบาลจะได้รู้ว่าอีก 5-6 เดือนมีการเลือกตั้งที่เรียบร้อย ขณะเดียวกันกระบวนการปฏิรูปก็เดินได้ทันที มีสภาปฏิรูป รัฐบาลคนกลาง แม้จะแก้กฎหมายแก้รัฐ ธรรมนูญไม่ได้ก็เตรียมข้อเสนอไว้ และกระบวนการประชามติก็จะเริ่มขึ้น 
       "ฉะนั้นถ้าไปหยิบข้อใดข้อหนึ่งในรัฐธรรม นูญมันก็ขัดกันหมด ถามว่าวันนี้เลือกตั้งภายใน 60 วันหลังยุบสภาใช่หรือไม่ เวลานี้สถานการณ์ไม่ปกติอยู่แล้ว เราจะนำกระบวนการนี้กลับสู่การเดินตามรัฐธรรมนูญ ตามหลักประชาธิป ไตย สิ่งที่ผมเรียกร้องหรือกำหนดแผนนี้เป็นความสมัครใจ ไม่มีใครไปบังคับใคร เกิดจากความยินยอมพร้อมใจทุกฝ่าย เพื่อให้บ้านเมืองกลับสู่กระบวนการตามรัฐธรรมนูญ ผ่านกระบวนการประชาธิปไตยอย่างการทำประชา มติด้วย? นายอภิสิทธิ์กล่าว 

รอคำตอบจาก'ปู'คนเดียว
       เมื่อถามว่าขณะนี้มีคนออกมาปฏิเสธข้อเสนอแล้ว นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เรื่องนี้คนตัดสินใจได้คือน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกฯ และ รมว.กลาโหม เพียงคนเดียว คนอื่นจะพูดอะไรก็ว่าไปแต่คำตอบต้องมาจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทั้งนี้ ตนมีเอกสารสภาพปัญหาว่าเป้าหมาย หลักการขั้นตอนของแผนใช้กฎหมายข้อไหนอย่างไร ขัดกับหลักประชาธิป ไตยหรือไม่ ประชามติมีความสำคัญอย่างไร รวมทั้งการดำเนินการทำเรื่องนี้จะกระทบกับคดีของศาลหรือไม่อย่างไร ดังนั้น ใครคิดจะวิจารณ์ ตำหนิ ขอให้อ่านรายละเอียดก่อน ให้ใช้เหตุผล ไตร่ตรองให้ดี วันนี้ขอให้ตั้งหลักกัน การเสนอทางออกที่ตนเห็นว่าเป็นรูปธรรมชัดเจนมากที่สุด แต่ถ้าสัปดาห์นี้น.ส.ยิ่งลักษณ์ออกพ.ร.ฎ.เลือกตั้ง ก็ชัดเจนว่าไม่ยอมรับ 
       นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนที่มีคนวิจารณ์ว่าไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งเพราะขาดคุณสมบัติเนื่องจากถูกปลดจากราชการนั้น คำสั่งปลด ตนออกจากราชการได้โต้แย้งและฟ้องศาลปกครอง ซึ่งศาลรับไว้แล้ว การที่ศาลรับแสดงว่าไม่ใช่เรื่องวินัยทหาร แต่เป็นการอ้างในการออกคำสั่งนี้ ซึ่งค่อนข้างมั่นใจว่าไม่ได้ขาดคุณสมบัติ ซึ่งเรื่องนี้เป็นกระบวนการทางการเมือง มีที่ไหนปลดคนออกจากราชการหลังจากเขาออกมาแล้ว 30 ปี

อัดเพื่อไทยเป็นแกะดำมีพิษ
       ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า ผ่านมา 48 ชั่วโมงแล้วแต่ยังไม่ได้ยินเสียงของน.ส.ยิ่งลักษณ์ แสดงความคิดเห็นหรือมีท่าทีตอบรับต่อข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ มีแต่บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกมาตอบโต้โดยเฉพาะรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ทำตัวเหมือนเป็นแกะดำที่มีพิษภัยทำให้สังคมไทยไปสู่จุดอับ การอ้างข้อเสนอทั้ง 10 ข้อไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญนั้น ยืนยันว่าข้อเสนอทั้งหมดได้ขับเคลื่อนตามกฎหมายเพื่อยุติความสูญเสีย ไม่ให้เกิดเหตุการณ์นองเลือด หรือรัฐประหารเกิดขึ้น 
       นายชวนนท์กล่าวว่า อยากให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ตาสว่าง โดยเฉพาะในการประชุมครม.วันที่ 6 พ.ค. หากครม.พิจารณาเห็นชอบตราพ.ร.ฎ. กำหนดวันเลือกตั้งส.ส.เป็นการทั่วไป เท่ากับน.ส.ยิ่งลักษณ์ปิดประตูประเทศใส่ตัวเอง ใส่ประชาชน ทั้งที่รู้ว่าหากมีการเลือกตั้งวันที่ 20 ก.ค. ท่ามกลางสถานการณ์แบบนี้ก็คงไม่สำเร็จ จะรอดูว่าจะตัดสินใจหลีกเลี่ยงความสูญเสียหรือลากประเทศไปสู่การนองเลือดและการปฏิวัติ

จวก'เด็จพี่'โกหกคุณสมบัติมาร์ค
       ส่วนที่นายนพดล ปัทมะ ระบุแผนนาย อภิสิทธิ์มีปัญหาใหญ่อย่างน้อย 5 ข้อนั้น นายชวนนท์กล่าวว่า ยืนยันว่านายกฯ และครม.รักษาการลาออกจากตำแหน่งได้โดยไม่ขัดรัฐ ธรรมนูญ ประธานวุฒิสภาซึ่งอยู่ในฐานะประ ธานรัฐสภาสามารถทูลเกล้าฯ รายชื่อนายกฯ และครม.ได้ ส่วนที่ไม่มีนปช.อยู่ในแผน เพราะที่ผ่านมา นปช.ไม่เคยมีแนวคิดปฏิรูปประเทศ มีแต่แนวคิดปฏิเสธท่าเดียว 
       นายชวนนท์กล่าวว่า ส่วนที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ระบุนายอภิสิทธิ์ ไม่สามารถลงเลือกตั้งได้เนื่องจากขาดคุณ สมบัติการเป็นส.ส. จากเหตุถูกปลดออกจากราชการนั้น เป็นการโกหก ยืนยันว่านายอภิสิทธิ์มีคุณสมบัติครบถ้วน ซึ่งคดีถูกปลดออกจากทหาร ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง โดยศาลมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณา ดังนั้น ขอให้นายพร้อมพงศ์หยุดลดความน่าเชื่อถือและทำให้สังคมเข้าใจผิด หลังจากนี้พรรคจะดำเนินคดีกับนายพร้อมพงศ์ข้อหาหมิ่นประมาท ซึ่งคิดว่าคงทำให้เราอาจไม่เห็นหน้าโฆษกพรรคเพื่อไทยอีก 2 ปีได้ 

ชทพ.ค้านนายกฯคนกลาง
      นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงกรณีนายอภิสิทธิ์เสนอทางออกประเทศไทยผ่านแผน 10 ขั้นปฏิรูปประเทศ และกรณีนายนพดล ปัทมะ กรรมการกิจการพรรคเพื่อไทย เสนอกุญแจ 5 ดอกหาทางออกให้ประเทศว่า พร้อมสนับสนุนทุกแนวทางออกให้ประเทศแต่ต้องไม่ขัดรัฐธรรมนูญ จึงขอให้แต่ละฝ่ายหาจุดร่วมแก้ไขปัญหาโดยปราศจากการเมืองหรือผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งตนเชื่อว่าการแก้ปัญหาที่ถูกต้องต้องเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น และการเลือกตั้งวันที่ 20 ก.ค.นี้ จะเป็นทางออกเพราะเป็นการเลือกตั้งเพื่อการปฏิรูปประเทศ จากนั้นอีก 1 ปี 6 เดือน จะมีการเลือกตั้งอีกครั้ง เพื่อให้ได้รัฐบาลมาบริหารประเทศ
      นายสมศักดิ์ กล่าวว่า การให้ส.ว.สรรหา นายกฯ คนกลางไม่สามารถทำได้ เนื่องจากนายกฯต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น ส่วนตัวยอมรับว่าเป็นห่วงสถานการณ์ขณะนี้เนื่องจากใกล้เข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และยังมีกฎหมายหลายฉบับที่ค้างการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎร 

พลังชลหนุนทุกฝ่ายหันหน้าเจรจา 
      นายสุระ เตชะทัต โฆษกพรรคพลังชล กล่าวถึงโรดแม็ปทางออกประเทศของนายอภิสิทธิ์ ว่า หลายฝ่ายรู้ว่าความขัดแย้งคืออะไรและเกิดจากอะไร พรรคเห็นด้วยที่ทุกฝ่ายพยายามจะแก้ปัญหาขัดแย้งที่เกิดขึ้น และแนวทางการเจรจาเป็นหนทางที่ดีที่สุด โดยเนื้อหาการเจรจาต้องเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายเพื่อเดินหน้าต่อไปได้ 
       นายสุระ กล่าวว่า พรรคเคารพในเหตุผลของแต่ละฝ่าย คงไม่มีใครผิดหรือถูก ปัญหาคือเราต้องนำไปสู่การเจรจาให้ได้ก่อน โดยทุกฝ่ายต้องลดเงื่อนไขของตัวเองลง ซึ่งการเจรจาบนความขัดแย้งนั้น ไม่มีใครได้ 100 เปอร์เซ็นต์หรือเสียทั้งหมด แต่ละฝ่ายจะต้องยอมเสียสละเพื่อให้การเจรจาเดินหน้าไปได้และนำไปสู่ทางออกก่อนที่ประเทศชาติจะเสียหายไปมากกว่านี้

กลุ่ม 40 สว.มั่นใจเลือกปธ.วุฒิได้ 
       นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา และแกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวถึงหลายฝ่ายเตือนหากที่ประชุมวุฒิสภาลงมติเลือกประธานและรองประธานวุฒิสภาในวันที่ 9 พ.ค.นี้เสี่ยงต่อการทำเกินกรอบพ.ร.ฎ.เปิดประชุมวุฒิสภาสมัยวิสามัญและอาจถูกร้องศาลรัฐธรรมนูญว่า มั่นใจว่าการเลือกประธานวุฒิสภาทำได้ในสมัยประชุมวิสามัญ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 132 (2) ซึ่งขณะนี้มีความพยายามตีความว่าในช่วงสมัยประชุมวิสามัญ วุฒิสภาทำได้เฉพาะวาระที่กำหนดไว้ในพ.ร.ฎ. 2 เรื่องเท่านั้น คือการแต่งตั้งกรรมการป.ป.ช.คนใหม่ และการสรรหากรรมการตุลาการศาลปกครอง แต่ถ้ามอง แบบไม่มีอคติ จะเห็นได้ว่ามาตรา 132 (2) กำหนดวุฒิสภาแต่งตั้งบุคคลตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานและรองประธานวุฒิสภาก็เป็นตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญเช่นกัน ดังนั้น วุฒิสภาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ได้

โวยถูกการเมืองแทรกแซง
      "การตีความรัฐธรรมนูญควรก่อให้เกิดประโยชน์ ถ้าตีความว่าการแต่งตั้งประธานและรองประธานวุฒิสภาทำไม่ได้ เท่ากับการกล่าวคำปฏิญาณตนของส.ว.เลือกตั้งชุดใหม่ก็ย่อมทำไม่ได้เช่นกัน เพราะไม่ได้กำหนดในพ.ร.ฎ. แต่ความเป็นจริงได้ดำเนินการไปแล้วโดยไม่มีใครเห็นว่าเป็นปัญหา? นายสมชายกล่าว
        นายสมชาย กล่าวว่า ขณะเดียวกันฝ่ายการเมืองพยายามเข้ามาแทรกแซงและกดดันส.ว.โดยเฉพาะส.ว.เลือกตั้ง ในเรื่องการเลือกตั้งประธานวุฒิสภา ซึ่งตนเป็นห่วงมาก และการเลือกตั้งประธานวุฒิสภาถือว่ามีความสำคัญมากและควรเป็นเรื่องที่วุฒิสภาควรต้องดำเนินการกันเอง เพื่อให้ได้ประธานที่ทุกคนยอมรับ 

อบจ.ขู่บุกทำเนียบ-จี้กระจายงบ
       เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 5 พ.ค. ที่โรงแรมสีมาธานี อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายชัยมงคล ไชยรบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สกลนคร ในฐานะนายกสมาคมอบจ.แห่งประเทศไทย พร้อมนายกิตติภัทร์ รุ่งธนเกียรติ นายกอบจ.สุรินทร์ ในฐานะประธานสมาพันธ์อบจ.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร.ต.หญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี นายกอบจ.นครราชสีมา จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพการบริหารงานอบจ. โดยมีนายกอบจ. ประธานสภาอบจ. ในเขต 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วม
      นายชัยมงคล กล่าวว่า วันนี้ชาวอีสานแสดงจุดยืนต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่จัดสรรงบประมาณสู่ท้องถิ่นอย่างเป็นธรรม อย่างน้อยร้อยละ 30 รวมทั้งผลักดันการกระจายอำนาจสู่จังหวัด ซึ่งเราต้องการปลดโซ่ตรวนนักการเมือง อย่านำนโยบายพรรคมาชี้ชะตาประชาชนในท้องถิ่น เราร่วมแรงร่วมใจต่อสู้เพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ หากรัฐบาลมองข้ามปัญหาและเพิกเฉย จะมีการเคลื่อนมวลชนคนท้องถิ่นครั้งใหญ่เดินเท้าไปทำเนียบรัฐบาล เพื่อตีแผ่ปัญหาที่ฝังรากลึกมานานให้คนทั้งประเทศได้ทราบ หากไม่จริงใจ ยังเพิกเฉย คนท้องถิ่นจะรวมพลังตั้งพรรคการเมืองเพื่อต่อสู้เรียกร้องสิทธิอันชอบธรรม

ปูขึ้นศาลสู้คดีย้ายถวิล ลุ้นวันเชือด กกต.ยึกยักพรฎ. รอถกโรดมาร์ค ครม.ย้าย'3 เส้า'ธงทองปลัดยธ.



มติชนออนไลน์ :

      สลับเก้าอี้ 3 บิ๊ก ขรก. 'กิตติพงษ์'โยกนั่งที่ปรึกษานายกฯ 'ภราดร'คว้าปลัดสำนักนายกฯ'ธงทอง'ย้ายไปปลัดยุติธรรม'ปู'แจงศาล รธน. 8 ข้อสู้คดี'ถวิล'ย้ำเป็นอำนาจตามกฎหมาย ต้องรักษาการตาม ม.181 "ไพบูลย์"ยกปมรับเงินเดือน เอื้อประโยชน์พวกพ้องยัน


มาร์คย้ำข้อเสนอไม่นอกรธน.
      เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ให้สัมภาษณ์กรณีนำเสนอ 10 ขั้นตอน แผนเดินหน้าประเทศไทย ซึ่งมีผู้โต้แย้งว่าเป็นการดำเนินการนอกกรอบรัฐธรรมนูญ โดยยืนยันว่า ข้อเสนอดังกล่าวเป็นการปฏิรูปที่เดินอยู่ในกรอบรัฐธรรมนูญ และทำให้เกิดความเป็นจริงได้ สำหรับเป้าหมายหลักของ 2 ฝ่าย คือ รัฐบาลต้องการให้กลับเข้าสู่การเลือกตั้งโดยเร็ว ขณะที่กลุ่ม กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ต้องการเห็นการปฏิรูปประเทศ ถ้าทำตามแผนที่เสนอ แต่ช่วงนี้รัฐบาลต้องถอยออกไปก่อน เพื่อเปิดทางให้เกิดรัฐบาลเฉพาะกาล เพื่อทำให้ฝ่าย กปปส.ยอมรับได้กับเงื่อนไขเปลี่ยนผ่านนี้ แล้วกลับสู่การเลือกตั้ง แต่ถ้ายังเดินอยู่แบบนี้ไม่แน่ใจว่ามีกี่คนกล้ายืนยันว่าเลือกตั้งวันที่ 20 กรกฎาคม หรือจะเป็นช่วงเดือนสิงหาคม หรือกันยายนจะสำเร็จ ขอถามว่าระหว่างที่เดินไปเผชิญหน้ากันโดยไม่รู้จะจบที่ไหน เมื่อไร กับการได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ อันไหนเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ หรือเป็นไปตามหลักประชาธิปไตยมากกว่า
      "ถ้ารัฐบาลเดินตามแผนที่ผมเสนอ กปปส.ยอมรับแผนนี้ ก็ไม่ต้องมาขัดแย้งกัน รัฐบาลก็จะได้รู้ว่าอีก 5 เดือน 6 เดือน มีการเลือกตั้งที่มีความเรียบร้อย ขณะเดียวกันกระบวนการปฏิรูปก็เดินได้ทันที" นายอภิสิทธิ์กล่าว 

ปูชงพรฎ.เลือกตั้ง คือปฏิเสธ
      นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรื่องนี้คนตัดสินใจได้คือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหมเพียงคนเดียว คนอื่นจะพูดอะไรก็ว่าไป แต่คำตอบต้องมาจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่งข้อเสนอที่ได้เสนอไปมีเอกสารสภาพปัญหาว่า เป้าหมาย หลักการ ขั้นตอนของแผน ใช้กฎหมายข้อไหน อย่างไร ขัดกับหลักประชาธิปไตยหรือไม่ ประชามติมีความสำคัญอย่างไร รวมทั้งการดำเนินการทำเรื่องนี้จะกระทบกับคดีของศาลหรือไม่ อย่างไร ดังนั้นใครคิดจะวิจารณ์ ตำหนิ ขอให้อ่านรายละเอียดก่อน และใช้เหตุผลไตร่ตรองให้ดี แต่หากสัปดาห์นี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดวันเลือกตั้งก็แสดงชัดเจนว่าไม่ยอมรับข้อเสนอ 
      นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่าเหตุที่ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพราะขาดคุณสมบัติ เนื่องจากถูกปลดจากราชการนั้น เรื่องได้มีการโต้แย้งและอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง และการที่ศาลรับไว้พิจารณาแสดงให้เห็นว่าไม่ใช่เรื่องวินัยทหาร แต่เป็นการอ้างในการออกคำสั่งนี้ ซึ่งค่อนข้างมั่นใจว่าไม่ได้ขาดคุณสมบัติ เรื่องนี้เป็นกระบวนการทางการเมือง มีที่ไหนปลดคนออกจากราชการหลังจากที่ได้ออกมาแล้ว 30 ปี 

ยันนายกฯออก-รธน.ไม่ห้าม
      กรณีพรรคเพื่อไทย (พท.) มองว่าข้อเสนอเป็นการขัดกับรัฐธรรมนูญ เปรียบเสมือนเป็นการปฏิวัติเงียบ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ไม่ได้เป็นอย่างนั้น การที่ไปคุยกับทั้งพรรคการเมือง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทุกคนก็ยอมรับตรงนี้ว่ายังมองไม่เห็นว่าถ้าสภาพบ้านเมืองเป็นอย่างนี้ จะเลือกตั้งสำเร็จ 
       นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนที่อ้างว่านายกฯ รักษาการจะต้องรักษาการไปจนกว่าจะมีนายกฯคนใหม่นั้น ความจริงเรื่องของการลาออกเป็นเอกสิทธิ์ และการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็เป็นอำนาจที่นายกฯดำเนินการได้ ไม่มีรัฐธรรมนูญห้ามตรงนี้ได้ มีตัวอย่างว่า นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกฯก็เคยลาออกระหว่างที่รักษาการ และในระหว่างที่รัฐบาลรักษาการนี้ นายกฯยังเคยปรับรัฐมนตรีออก ฉะนั้นคำพูดว่าการให้ใครลาออกนี้ เป็นการฉีกรัฐธรรมนูญ จึงไม่ใช่
      นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า รัฐบาลสรรหาจะเข้ามาด้วยวิธีใด ต้องเทียบเคียงว่าเมื่อเกิดกรณีที่จะต้องมีการสรรหา แต่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรก็ต้องใช้ฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งที่เหลืออยู่ก็คือประธานวุฒิสภาที่จะมีขึ้นมาเทียบเคียง คล้ายกับเมื่อตอนหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จริงอยู่ทั้งหมดนี้ในข้อกฎหมายโต้แย้งกันได้ทั้งนั้น แต่หากไม่ทำตามแผนที่เสนอ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็จะโต้แย้งทางกฎหมายไม่จบไม่สิ้น 

แนะยึดพระราชดำริแก้ปัญหา 
       นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยากให้น้อมนำแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานไว้ คือ รู้รักสามัคคี กับความพอเพียง สามารถนำปรัชญาพอเพียงประยุกต์ใช้กับการเมือง คือ ความไม่สุดโต่ง ความพอประมาณ เป็นหลักสำคัญของระบอบประชาธิปไตย ข้อเท็จจริงในระบอบประชาธิปไตย ทุกคนต้องมีอำนาจถูกจำกัด มีขอบเขต การไปใช้อำนาจหรือรวบอำนาจขัดหลักประชาธิปไตย ขัดหลักพอเพียง นอกจากนี้พระราชทานเรื่องความสมเหตุสมผลที่เป็นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำอะไรต้องมีเหตุผล ทั้งทางกฎหมาย การเมือง ถ้าไม่เดินกันด้วยเหตุผลและหลักการกฎหมายที่กำหนดไว้ ประเทศชาติก็จะวุ่นวาย

โต้นพดล-โรดแมปไม่ขัดรธน.
      ที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษก ปชป. แถลงว่ากรณีนายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระบุว่าข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์มีปัญหาใหญ่อย่างน้อย 5 ข้อนั้น ยืนยันว่าข้อเสนอให้นายกฯและ ครม.ลาออก สามารถทำได้ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ประธานวุฒิสภาที่อยู่ในฐานะประธานรัฐสภาก็สามารถทูลเกล้าฯรายชื่อ
      นายกฯคนกลาง และ ครม.ได้ ส่วนที่ไม่มีแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) อยู่ในข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ มองว่าตลอดเวลาที่ผ่านมา นปช.ไม่เคยมีแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศเลย จึงอยากให้นายนพดลหยุดพฤติกรรมตอบโต้ได้แล้ว

ตือชี้ส.ว.เลือกนายกฯไม่ได้
      นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) กล่าวถึงข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ ว่า พร้อมสนับสนุนทุกแนวทางออกให้ประเทศ แต่ต้องไม่ขัดหลักรัฐธรรมนูญ และเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น จึงอยากให้แต่ละฝ่ายหาจุดร่วมในการแก้ไขปัญหา อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการเลือกตั้งวันที่ 20 กรกฎาคมนี้ จะเป็นทางออก เพราะเป็นการเลือกตั้งเพื่อการปฏิรูปประเทศ จากนั้นอีก 1 ปี 6 เดือนจะมีการเลือกตั้งอีกครั้ง เพื่อให้ได้รัฐบาลมาบริหารประเทศ โดยเห็นว่าการให้สมาชิกวุฒิสภาสรรหานายกฯคนกลาง ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากนายกฯต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น

พลังชลหนุนทุกฝ่ายนั่งเจรจา
       นายสุระ เตชะทัต โฆษกพรรคพลังชล กล่าวว่า หลายฝ่ายคงรู้แล้วว่าปัญหาขัดแย้งคืออะไร และเกิดจากอะไร ประเทศไทยเสียโอกาสมานานมากแล้ว ดังนั้น พรรคจึงเห็นด้วยกับทุกฝ่ายที่พยายามจะออกมาแก้ไขปัญหา ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกๆ ฝ่ายเข้ามาแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง เพราะแนวทางการเจรจาเป็นหนทางที่ดีที่สุด ส่วนเนื้อหาหรือกรอบในการเจรจานั้นก็ต้องเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายเพื่อจะได้เดินหน้าต่อไปได้
       "พรรคพลังชลเคารพในเหตุผลของแต่ละฝ่าย ไม่มีใครผิดหรือถูก ปัญหาก็คือเราต้องนำไปสู่การเจรจาให้ได้ก่อน โดยทุกฝ่ายจะต้องลดเงื่อนไขของตัวเองลงมา เพราะการเจรจาบนความขัดแย้งนั้น ไม่มีใครได้ 100 เปอร์เซ็นต์ หรือเสียทั้งหมด แต่ละฝ่ายจะต้องยอมเสียสละเพื่อให้การเจรจาเดินหน้าไปได้และนำไปสู่ทางออกก่อนที่ประเทศชาติจะเสียหายไปมากกว่านี้" นายสุระกล่าว

เด็จพี่ไม่สนปชป.จ้องฟ้อง
      นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษก พท. กล่าวถึงกรณี ปชป.เตรียมที่จะดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาท ที่กล่าวหานายอภิสิทธิ์ประกาศไม่ลงสมัคร ส.ส. เพราะขาดคุณสมบัติ เนื่องจากถูกคำสั่งกระทรวงกลาโหมปลดออกจากราชการ ว่า จะฟ้องก็ไม่เป็นไร เพราะนายอภิสิทธิ์ถูกปลดออกจากราชการจริง ไม่ได้กล่าวหา และกระทรวงกลาโหมก็มีคำสั่งปลดออกจากราชการแล้ว 

กกต.รอศาลชี้คุณสมบัติมาร์ค
       นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. กล่าวกรณีที่มีหยิบยกเรื่องการขาดคุณสมบัติลงสมัคร ส.ส.ของนายอภิสิทธิ์ ว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ประชุม กกต.ได้มีมติยกคำร้องที่มีผู้ขอให้พิจารณาคุณสมบัติความเป็น ส.ส.ของนายอภิสิทธิ์ เนื่องจากขณะนี้สถานภาพความเป็น ส.ส.ของนายอภิสิทธิ์ได้สิ้นสุดลงจากเหตุยุบสภาแล้ว จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย ประกอบกับก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญก็ได้สั่งจำหน่ายคำร้องดังกล่าวออกจากสารบบเรียบร้อยแล้วเช่นกัน เท่าที่ทราบคดีดังกล่าวยังคงเหลืออยู่ที่ศาลปกครอง ต้องรอดูว่าศาลปกครองจะพิพากษาออกมาเป็นอย่างไร หากในอนาคตนายอภิสิทธิ์จะลงสมัคร ส.ส. แล้วจะมีคุณสมบัติต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 102 (6) หรือไม่นั้น ก็คงต้องมาพิจารณากันอีกครั้ง เพราะขณะนี้ยังไม่สามารถตอบได้ 

กกต.ถกพ.ร.ฎ.-ข้อเสนอมาร์ค 
      นายภุชงค์ กล่าวว่าวาระการประชุม กกต.ในวันที่ 6 พฤษภาคม จะมีการพิจารณาร่าง พ.ร.ฎ. แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไป กกต.เห็นว่าร่าง พ.ร.ฎ.มีเนื้อหาถ้อยคำสมบูรณ์ครบถ้วน ก็จะส่งร่าง พ.ร.ฎ.ไปให้ทางสำนักเลขาธิการ ครม.ได้ในวันเดียวกันเลย 
      นายภุชงค์ กล่าวว่า นอกจากนี้ กกต.ได้รับการประสานจากนายอภิสิทธิ์ว่า ในวันที่ 6 พฤษภาคม จะส่งหนังสืออย่างเป็นทางการเกี่ยวกับแผนปฏิรูปหาทางออกความขัดแย้งให้กับประเทศ จำนวน 10 ข้อ มาให้กับ กกต.ได้รับทราบด้วย ซึ่งที่ประชุมน่าจะมีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับข้อเสนอดังกล่าวด้วย ส่วนจะมีความคิดเห็นอย่างไร คงต้องการฟังรายละเอียดหลังการประชุม

พท.เสียวกกต.เบี้ยวชงพ.ร.ฎ. 
      รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการหารือของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในวันที่ 6 พฤษภาคมนั้น กกต.มีวาระการประชุมเรื่องสำคัญ 2 เรื่อง ประกอบด้วย 1.การพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ กกต.กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และคณะ ร่วมหารือกันและเห็นพ้องว่าวันเลือกตั้งที่เหมาะที่สุดคือวันที่ 20 กรกฎาคม โดย กกต.จะเสนอร่าง พ.ร.ฎ.เลือกตั้งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาวันที่ 6 พฤษภาคม 2.การพิจารณาข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ภายหลังจากได้นำเสนอต่อสาธารณะ ซึ่งการพิจารณาของ กกต. ในวันที่ 6 พฤษภาคม ทางพรรคเพื่อไทยและฝ่ายรัฐบาลมีความกังวลว่าจะมีการถ่วงเวลา โดยยังไม่เสนอร่าง พ.ร.ฎ.ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่ได้ตกลงกัน เพราะจะรอดูกระแสหลังจากนายอภิสิทธิ์นำเสนอโรดแมป 10 ข้อ

พท.ยื่นค้านศาลรธน.ชี้คดี'ถวิล'
     นายสิงห์ทอง บัวชุม สมาชิก พท. กล่าวว่า ในวันที่ 6 พฤษภาคม จะเดินทางไปยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อคัดค้านการวินิจฉัยคดีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กรณีการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี จากเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไปเป็นที่ปรึกษานายกฯ ซึ่งศาลปกครองสูงสุดพิพากษาว่า คำสั่งโยกย้ายไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีผู้ร้องว่าจากเหตุดังกล่าวทำให้ความเป็นนายกฯของ น.ส.ยิ่งลักษณ์สิ้นสุดลงหรือไม่ โดยเห็นว่าการวินิจฉัยคดีดังกล่าว เป็นการกระทำผิดเข้าข่ายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 63 ฐานจงใจใช้อำนาจหน้าที่ที่มีโดยขัดรัฐธรรมนูญ และยังถือเป็นการวินิจฉัยที่ไม่มีกฎหมายมารองรับตามรัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรค 6 นับว่าเป็นแทรกแซงอำนาจของฝ่ายบริหาร

ศาลรธน.ไต่สวนพยาน 4 ปาก
     แหล่งข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ในวันที่ 6 พฤษภาคม เวลาประมาณ 10.00 น. ศาลรัฐธรรมนูญจะมีการไต่สวนพยานในคดี น.ส.ยิ่งลักษณ์โยกย้ายนายถวิล จำนวน 4 ปาก ประกอบด้วย นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ผู้ยื่นคำร้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ผู้ถูกร้อง พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และอดีตเลขาฯสมช. และนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาฯสมช. เบื้องต้นได้รับการประสานว่าพยานทั้ง 4 ปาก จะเดินทางมาให้ถ้อยคำด้วยตัวเองทั้งหมด แต่หากพยานรายใดไม่เดินทางมาให้ถ้อยคำต่อศาล จะถือว่าไม่ติดใจที่จะให้ถ้อยคำด้วยวาจา ศาลก็จะพิจารณาไปตาม
    พยานหลักฐานที่มีอยู่เดิม ประกอบกับบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงที่พยานทั้ง 4 ปากได้ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญไว้เมื่อวันที่ 29 เมษายน หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่ามีข้อมูลและข้อเท็จจริงที่เพียงพอแล้ว อาจจะมีคำสั่งนัดวันแถลงด้วยวาจาก่อนลงมติหรือคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา

ปูแจง 8 ปมปฏิเสธทุกข้อหา
      ผู้สื่อข่าวรายงาน สำหรับคำชี้แจงของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณีโยกย้ายนายถวิล จะปฏิเสธคำร้องของผู้ร้องในทุกประเด็น โดยจะยืนยันว่าไม่ได้ใช้สถานะหรือตำแหน่งนายกฯเข้าไปแต่งตั้งหรือโอนนายถวิล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเปิดช่องให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ เครือญาติของผู้ถูกร้องขึ้นเป็น ผบ.ตร. และไม่เคยกระทำการใดๆ ในฐานะนายกฯเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง โดยจะชี้แจงคำร้องใน 8 ประเด็น คือ 1.ความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯได้สิ้นสุดลงแล้ว พร้อม ครม. เมื่อมีการยุบสภา การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ความเป็นนายกฯสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182(7) อีก ย่อมไม่มีวัตถุแห่งคดี คือ ความเป็นนายกฯให้ต้องสิ้นสุดลงซ้ำสองอีก เปรียบได้กับคนที่ตายไปแล้วเพราะเหตุใดเหตุหนึ่ง จะให้กลับมาตายเพราะเหตุอื่นอีกไม่ได้

ยันทำหน้าที่ตามกฎหมาย
      2.กระทำโดยมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ ที่จะแต่งตั้งให้นายถวิลมาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกฯได้ โดยถือเป็นการกระทำโดยถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้นตามกฎหมายแล้ว ดังที่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำวินิจฉัยไว้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (น.ส.ยิ่งลักษณ์) ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของข้าราชการประจำ มีอำนาจในการบริหารงานบุคคลหมุนเวียนสับเปลี่ยนบทบาท ตามแนวนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาได้ แสดงว่านายกฯมีอำนาจตามกฎหมายในการโอนย้ายนายถวิล หากคำสั่งโยกย้ายจะถือเป็นความผิดได้ ต้องเริ่มต้นจากการกระทำโดยไม่มีอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ 3.การแต่งตั้งโอนย้ายนายถวิล เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของผู้ที่มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงไม่ใช่การก้าวก่ายหรือแทรกแซงตามความหมายของรัฐธรรมนูญมาตรา 266 และรัฐธรรมนูญมาตรา 268 ตามที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง

เปล่าใช้ตำแหน่งย้ายถวิล
    4.การโยกย้ายนายถวิล ไม่ได้ใช้สถานะหรือตำแหน่งของการเป็นนายกรัฐมนตรีในการสั่งอนุมัติโดยลำพัง แต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติในการประชุม ครม. 5.การโอนหรือย้ายนายถวิล เป็นไปตามความเหมาะสมของฝ่ายปฏิบัติที่จะได้รับความไว้วางใจ ในการตอบสนองต่อฝ่ายบริหารในการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา หรือตามที่กฎหมายบัญญัติ 6.การย้ายนายถวิลไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเปิดช่องให้สามารถผลักดันหรือเป็นผลให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ขึ้นเป็น ผบ.ตร.เพราะการย้ายนายถวิล เป็นการใช้ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มี พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 บังคับใช้เป็นการเฉพาะ ซึ่งนายกฯไม่อาจใช้สถานะนายกฯได้โดยลำพัง ในการแต่งตั้ง ผบ.ตร. แต่จะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547

ย้ำครม.ต้องทำหน้าที่ต่อ
      7.สำหรับกรณีที่ พล.ต.อ.วิเชียรมาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม นายกฯไม่ได้ติดต่อทาบทาม หรือมอบหมายให้ผู้ใดทาบทาม และไม่มีคำมั่นใดๆ กับ พล.ต.อ.วิเชียร และกระบวนการแต่งตั้งการดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคมของ พล.ต.อ.วิเชียร นายกฯเกี่ยวข้องแต่เพียงการเป็นประธานการประชุม ครม.เท่านั้น ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ปกติ ไม่ได้ใช้สถานะการเป็นนายกฯทาบทามหรือมอบหมายให้ผู้ใดไปทาบทาม พล.ต.อ.วิเชียร มาดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคมแต่อย่างใด 8.นายกฯและ ครม.ยังต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่อไป ไม่ว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีจะสิ้นสุดลงเฉพาะตัวหรือไม่ แม้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯจะสิ้นสุดลงเฉพาะตัว แต่ ครม.ที่พ้นจากตำแหน่งยังต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่แต่งตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181

ไพบูลย์อ้างปูรับเงินเดือนแจงศาล 
      ด้านนายไพบูลย์ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันที่ 6 พฤษภาคม จะเข้าชี้แจงเพิ่มเติมต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยจะสรุปให้ครบถ้วนและชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะหากนายกรัฐมนตรีชี้แจงว่าขณะนี้ได้ยุบสภาแล้ว แต่ก็ยังต้องอยู่รักษาการตามมาตรา 181 ซึ่งหมายถึงการอยู่ในตำแหน่ง ยังคงมีอำนาจหน้าที่และรับเงินเดือนตามตำแหน่งอยู่ จึงมีคุณสมบัติต้องห้ามของการเป็นนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 182 และจะนำคำวินิจฉัยของศาลปกครองทั้ง 3 ประเด็นคือ 1.มีการกระทำเพื่อเปลี่ยนแปลงโยกย้ายนายถวิล ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาข้าราชการประจำ เพื่อให้ตำแหน่ง ผบ.ตร.ว่างลง และแต่งตั้ง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์เข้ามารับตำแหน่งแทน เพราะถึงแม้นายกฯจะอ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณ พี่ชายหย่าขาดกับคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร์ ซึ่งเป็นเครือญาติของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์แล้ว แต่ในทางพฤตินัยคนทั้งประเทศก็รู้กันอยู่ว่าไม่จริง ส่วนเรื่องที่ 2.ที่ศาลปกครองชี้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ตามตามนโยบายที่ได้แถลงต่อรัฐสภา และ 3.คือไม่เป็นการกระทำตามที่กฎหมายบัญญัติโดยศาลชี้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งทั้ง 3 เรื่องก็คือ ไม่เป็นการกระทำตามที่กฎหมายบัญญัติตามมาตรา 268

ลั่นหานายกฯใหม่ได้ใน 7 วัน 
     เมื่อถามว่า หากพ้นสภาพทั้งตัวนายกรัฐมนตรีและ ครม. ประเทศจะเกิดสุญญากาศหรือไม่ นายไพบูลย์กล่าวว่า ไม่เกิดสุญญากาศแน่นอน เพราะจะต้องแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เพื่อให้การบริหารราชการไม่ติดขัดโดยทันที ส่วนจะต้องทำอย่างไรให้มีนายกฯคนใหม่เร็วที่สุด ก็ต้องเป็นไปตามกระบวนการ และเชื่อว่าจะมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ภายในเวลา 7 วัน ส่วนตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ไม่มีสิทธิมาอ้างว่าต้องอยู่เพื่อรักษาการอีกต่อไปเพราะถือว่าหมดสภาพไปแล้ว

มั่นใจ 80 เสียงหนุน'สุรชัย'
      นายไพบูลย์ยังกล่าวถึงการเลือกประธานวุฒิสภาคนใหม่ว่า มั่นใจว่านายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา จะชนะคู่แข่งได้แน่นอน เพราะมีคุณสมบัติและประสบการณ์ ส่วนคู่แข่งโดยเฉพาะ พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ ส.ว.สรรหา ที่สมาชิกบางส่วนยังไม่เคยเห็นการทำหน้าที่ จึงมั่นใจว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เชื่อว่า ส.ว.สรรหามากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์เลือกนายสุรชัยอยู่แล้ว ส่วน ส.ว.เลือกตั้งที่เข้ามาทำหน้าที่ใหม่ต่างมีความเป็นอิสระสูง จึงเชื่อว่าหากยังไม่ถูกครอบงำจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็น่าจะเลือกนายสุรชัยมากกว่า 20 คน หากรวมกับ ส.ว.สรรหาด้วยแล้วเสียงเกินกว่า 80 คน ดังนั้นนายสุรชัยน่าจะได้เป็นประธานวุฒิสภาแน่นอน

สื่อนอกจับตาการเมืองไทย
      สำนักข่าวเอเอฟพียังรายงานสถานการณ์ทางการเมืองในไทยด้วยว่า สัปดาห์นี้ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญของไทย โดยอ้างคำให้สัมภาษณ์ของนายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาทางกฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าช่วงนี้เป็น 2-3 สัปดาห์ที่สำคัญสำหรับอนาคตของประเทศไทย หากคำวินิจฉัยตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างเที่ยงธรรมก็อาจจะปลดล็อกความขัดแย้งทางการเมืองได้ แต่หากไม่มีความเป็นธรรมก็จะทำให้สิ่งต่างๆ เลวร้าย นอกจากนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ยังเผชิญคดีทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวที่อาจทำให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องพ้นจากอำนาจด้วย 
      เอเอฟพี ยังอ้างความเห็นของนายพอล แชมเบอร์ส ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยแห่งสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ให้ความเห็นถึงแผนปฏิรูปประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ว่า นายอภิสิทธิ์กำลังพยายามที่จะรักษาอาชีพนักการเมืองของตนเองเอาไว้ พร้อมกล่าวเตือนว่า ปชป.อาจแตกได้ หากไม่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล 

โยกสลับ 3 ปลัด'ภราดร'คัมแบ๊ก
      รายงานข่าวจากกระทรวงยุติธรรม แจ้งว่า นายชัยเกษม นิติสิริ ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เสนอวาระแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับ 11 ตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบตามการเห็นชอบ ในการประชุม ครม.ประจำสัปดาห์วันที่ 6 พฤษภาคม ทั้งนี้ เนื่องจากนายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ดำรงตำแหน่งครบวาระ 4 ปี และมีการต่ออายุครบตามหลักเกณฑ์ 2 ครั้งแล้ว ดังนั้น กระทรวงยุติธรรมต้องแต่งตั้งบุคคลอื่นขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน สำหรับบุคคลที่จะมาเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรมคนใหม่ คือนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ขณะที่นายกิตติพงษ์ จะถูกโยกย้ายให้ไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ แทน พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร ที่ปรึกษานายกฯคนปัจจุบัน ที่ได้รับความไว้วางใจให้กลับมาดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แทนนายธงทอง หลังจากเพิ่งลุกออกจากเก้าอี้เลขาธิการ สมช.ตามคำตัดสินของศาลปกครองสูงสุด เพื่อคืนตำแหน่งให้กับนายถวิล เปลี่ยนศรี 
     แหล่งข่าวระบุว่า สำหรับกรณีการโยกย้ายนายกิตติพงษ์ไปเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฯนั้น เนื่องจากเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา นายกิตติพงษ์ได้ทำหนังสือฉบับหนึ่งไปยังนายชัยเกษม เพื่อแสดงความประสงค์ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกฯดังกล่าว พร้อมทั้งระบุว่าไม่ขอรับตำแหน่งปลัด อีกทั้งก่อนหน้าที่นายกิตติพงษ์จะครบวาระก็ได้บอกกล่าวทางวาจากับนายชัยเกษม ว่าไม่อยากไปรับตำแหน่งปลัดหรืองานบริหาร เนื่องจากมีภารกิจต้องการดำเนินงานในด้านอื่นๆ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!