WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

วันที่ 04 มีนาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 24 ฉบับที่ 8862 ข่าวสดรายวัน


บิ๊กป้อมระบุมาร์ค ตัดสินใจ สั่งสลายแดง 53 
วิปสนช.ทนต้านไม่ไหว แนะเลิก'สภาลูกเมีย'ทิชาแจงยิบเหตุลาออก ชี้ร่างรธน.ในห้องแล็บ สปช.ตั้ง'กอบศักดิ์'แทน 


ขี่โชว์ - พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา โชว์ขี่มอเตอร์ไซค์ หน้าตึกไทยคู่ฟ้า เป็นที่ฮือฮาระหว่างเยี่ยมชมบูธศูนย์ซ่อมรถจักรยาน ยนต์ของนักเรียนอาชีวะ ที่จัดกิจกรรมขึ้นภายในบริเวณทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 3 มี.ค. 

       สนช.ทนเสียงวิจารณ์ไม่ไหว วิปแนะ สมาชิกปรับลูก-เมียพ้นตำแหน่งผู้ช่วย ให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. เผยสปช.ก็มีแบบเดียวกัน ป.ป.ช.จ่อไม่รับสอบปมจริยธรรม'สภาผัวเมีย'พร้อมเลื่อนชี้มูล 250 อดีตส.ส.ไปเป็น 12 มี.ค. 'ทิชา'เปิดใจเหตุลาออกกมธ.ยกร่างฯ หมดหวังกรณีเปิดพื้นทางการเมืองให้ผู้หญิง สปช.เลือก'กอบศักดิ์ ภูตระกูล' เสียบแทน 'บิ๊กตู่'ชี้ยังไม่จำเป็นต้องปรับครม. "บิ๊กป้อม"แจงคำสั่งสลายม็อบ'53 พูดชัด 'อภิสิทธิ์-สุเทพ'เป็นคนตัดสินใจ

มูลนิธิหญิงยื่นข้อเสนอนายกฯ
      เวลา 09.00 น. วันที่ 3 มี.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เดินทางมาเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ก่อนประชุม นางธนวดี ท่าจีน ผอ.มูลนิธิเพื่อนหญิง นำคณะแกนนำเครือข่ายสตรี 4 ภาค เข้าพบยื่นข้อเสนอเชิงนโยบายสตรีเนื่องในวันสตรีสากล ให้เพิ่มมาตรการกวาดล้างแหล่งอบายมุขใกล้สถานศึกษา ชุมชนและวัด กวาดล้างการค้ามนุษย์หรือสถานบันเทิงที่นำเด็กและผู้หญิงไปขายบริการทางเพศ และเสนอให้มีสถานที่บริการเฉพาะทางดูแลเด็กและผู้หญิงที่เป็นผู้เสียหาย ตั้งศาลพิเศษที่ดูแลด้านการค้ามนุษย์ และร่วมมือกับประชาคมอาเซียนจัดตั้งกองทุนเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ กวาดล้างขบวนการค้ายาเสพติด และขอให้นายกฯเร่งรัดผ่านร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ
      นอกจากนี้ ยังขอให้ส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ ปรับกฎระเบียบ เพิ่มช่องทาง เพิ่มมาตรการที่ทำให้ผู้หญิงมีบทบาท มีส่วนร่วมบริหารจัดการชุมชนและการเมืองในทุกระดับ โดยกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนในสัดส่วนที่เท่ากันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย

บิ๊กตู่ขี่จยย.โชว์ 
      จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์เดินเยี่ยมชมบูธศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กล่าวกับนักศึกษาอาชีวะว่าอย่าทะเลาะกันให้มาร่วมทำความดี และสอบถามการปฏิบัติจริงของนักศึกษาเรื่องการซ่อมและดูแลรถจักรยานยนต์ แนะนำให้ประสานกับบริษัทรถขนาดใหญ่ เช่น โตโยต้าและฮอนด้าเพื่อเข้าฝึกงานได้จริงพร้อมให้กำลังใจนักศึกษา ก่อนทดลองขับขี่และสตาร์ตรถฮอนด้า ซีบีอาร์ 250 ซีซี ทะเบียน อธฉ 725 กรุงเทพมหานคร สีดำ ของนายจักรปราณี หวั่นเซ่ง เจ้าหน้าที่สำนักโฆษกสำนักนายกฯ ที่นำมาขอรับบริการ
      นายกฯกล่าวอย่างอารมณ์ดีพร้อมบีบแตรว่า'ถ้าใครไม่หลีกเดี๋ยวจะชนเลย'ก่อนขับรถพุ่งออกไปทันทีแบบไม่มีใครตั้งตัว โดยขับวนจากหน้าตึกบัญชาการ 1 สถานที่ประชุม ครม. อ้อมไปสนามหญ้าตึกไทยคู่ฟ้า ขึ้นบนทางลาดหน้าตึกไทยคู่ฟ้า และเลี้ยวกลับมาจอดที่หน้าตึกบัญชาการ 1 ด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส โดยมี รปภ.ช่างภาพและสื่อมวลชนให้ความสนใจวิ่งตามอย่างอุตลุด เพราะไม่มีใครคาดคิดนายกฯจะขี่รถจักรยานยนต์ 
      เมื่อจอดรถนายกฯกล่าวพร้อมหัวเราะว่า'รถแรงดี'ผู้สื่อข่าวกระเซ้าว่าต้องการคนซ้อนท้ายหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ถ้าจะมีคนซ้อนท้ายต้องอายุน้อยกว่านี้ และวันนี้ไม่ได้ใส่หมวกกันน็อกเพราะทดลองเฉยๆ ก็สนุกดี จากนั้นนายกฯเดินขึ้นห้องประชุม ครม. อย่างอารมณ์ดีทันที

แจงเปิดช่องนายกฯคนนอก 
    เวลา 14.10 น. พล.อ.ประยุทธ์แถลงหลังประชุมครม.ว่า มีวาระเพื่อทราบกว่า 30 เรื่อง และวาระพิจารณากว่า 10 เรื่อง ซึ่งตนจะปรับรูปแบบการประชาสัมพันธ์ใหม่ ตนจะตอบคำถามเท่าที่เป็นข้อสงสัยในเรื่องใหญ่ๆ เรื่องเล็กจะแบ่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง 
    พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงการติดตามการยกร่างรัฐธรรมนูญว่า วันนี้เดินหน้าไปหลายหมวด ใกล้จบแล้ว ตนติดตามตลอดแต่ทั้งหมดยังไม่ได้ข้อยุติ ไม่ว่าที่มาของส.ว. ต้องคุยกันก่อนว่าจะเพิ่มหรือปรับอะไรบ้าง ยืนยันตนยังไม่ได้กำหนดเข้ามาเลย ทั้งหมดเขาคิดกันขึ้นมา เท่าที่วิเคราะห์คงมาจากความหวังดีจากสถาน การณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตว่าควรแก้ไขอย่างไร ตนบอกไปแล้วว่าจะมาดูให้อีกทีหนึ่ง อย่าลืมว่าไม่มีอะไรเป็นประชาธิปไตย 100 เปอร์เซ็นต์ ประชาธิปไตยต้องมองให้ทั่วถึงและต้องมี ให้ครบ
    ส่วนการนำคนนอกเข้ามาเป็นนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า นายกฯคนนอกมาตอนไหน อย่าลืมว่าในช่วงแรก นายกฯมาจากการเลือกตั้งของสภา ส่วนนายกฯคนนอก กมธ. ยกร่างฯ ระบุถ้ามีปัญหาตีกันเหมือนครั้งที่แล้ว ถ้าปกติเข้ามาไม่ได้อยู่แล้ว ต้องเข้ามาด้วยกระบวนการคัดสรรจากผู้แทนราษฎร กมธ. ยกร่างฯ ต้องการแก้ปัญหา จะได้ไม่มีการอ้างขอนายกฯมาตรา 7 ว่าทำได้หรือไม่ เถียงกันไม่จบ บริหารประเทศไม่ได้ถ้าเกิดมีปัญหาก็ต้องหานายกฯ คนนอกเข้ามาเพื่อขัดตาทัพแล้วเดินหน้าประเทศไปก่อน เป็นการแก้ปัญหาตรงนี้ 

เตือนกมธ.ยกร่างให้พูดน้อยๆ 
    เมื่อถามว่า จะทำอย่างไรไม่ให้เกิดกระแสกดดันระหว่างที่กมธ.ยกร่างฯ ทำหน้าที่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า วิธีการเป็นเรื่องสำคัญ บางอย่างไม่ใช่เวลาที่จะพูด ถ้าพูดทุกวันก็เกิดความขัดแย้งทุกวัน บางอย่างตนพูดคุยไปแล้วว่าให้ลดๆ ลงหน่อย เพราะประชาชนไม่เข้าใจ 
     นายกฯ กล่าวว่า สิ่งที่เราแก้ไขวันนี้เพื่อวันข้างหน้า ให้ปฏิรูปกันได้ แต่ถ้ามัวเอาตรงโน้นมาปนกับตรงนี้ก็ตีกันหมด สิ่งสำคัญ คสช.เป็นคนตั้งขึ้นมา ดังนั้นไม่มีใครมีอำนาจมาสั่งรัฐบาลให้ทำอะไร แต่ตนพร้อมรับฟัง อะไรดีก็นำมาใช้เพื่อขับเคลื่อนแต่ไม่ใช่มาชี้ ส่วนจะชี้ได้หรือไม่ได้ ต้องรอให้กมธ.ยกร่างฯ ส่งเรื่องกลับมายัง สปช.แล้ว สปช.จะเห็นด้วยหรือไม่ค่อยไปว่ากัน ซึ่งตนจะเข้าไปช่วยดูด้วยอีกครั้งกับครม.ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลา เมื่อเรื่องมาถึง ตนและครม.ก็ต้องหารือร่วมกันว่าต้องปรับปรุงแก้ไขตรงไหนบ้าง 

ยันไม่ได้เตรียมการไว้ให้ใคร
      เมื่อถามว่ายังมั่นใจหรือไม่ว่าแม่น้ำทั้ง 4 สายจะยังไหลมาลงสู่เจ้าพระยา นายกฯ กล่าวว่า มันต้องลง แต่อยู่ที่ประชาชนเลือกว่าจะทำอย่างไร 1.ทุกคนต้องถามตัวเองว่าจะเลือกตั้งหรือไม่ นี่คือประเด็นสำคัญ 2.ถ้าจะเลือกตั้งแล้วจะเลือกกันอย่างไร 3.ทำอย่างไรจะไม่มีความขัดแย้งและ 4.ทำอย่างไรจะไม่เกิดปัญหาในวันข้างหน้าขึ้นอีก ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง หรือระวังทหารจะเข้ามา ต้องหาทางกันให้เจอ 
   พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สิ่งแรกคือเรื่องกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ต้องทำให้ชัดเจน ถ้ามีการเลือกตั้งตนก็ส่งอำนาจคืนไปทั้งหมดแล้วกลับไปพักผ่อน ถ้าทะเลาะกันอีกใครจะกลับมาแก้ มันไม่มีแล้ว สำหรับตนหมดแล้ว เลิกกันไป 
       "ยืนยันผมไม่ได้เตรียมการไว้ให้ใคร ให้คนนั้นคนนี้ขึ้น ไม่มีใครอยากสักคน เดี๋ยวจะมา กล่าวหาว่าไม่อยากแล้วเข้ามาทำไม ต้องตอบว่ามันตีกันทำไม เดินหน้าประเทศไม่ได้ ไม่มีใครอยากเข้ามายุ่ง ถ้าเขียนรัฐธรรมนูญมาแล้วไม่ยอมรับกันอีกจะทำอย่างไร ต้องหาคำตอบให้ผม" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

ลั่นถ้ารธน.ไม่ผ่านอยู่ไม่ได้ 
     เมื่อถามว่าเตรียมมาตรการรับมือไว้หรือยังหากเสียงส่วนใหญ่ไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ถ้าไม่ยอมรับประเทศ ไทยก็อยู่กันไม่ได้ ดังนั้น ทุกคนต้องมีส่วนร่วมเพราะเป็นอนาคตที่ต้องคิดว่าจะเอาประเทศไปตรงไหน จะเอาประเทศขัดแย้งกันด้วยประชาธิปไตยดีหรือไม่ ส่วนที่หลายคนมองว่ารัฐบาลไม่มีผลงาน ยืนยันว่ามีผลงานมาก ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเสนออย่างเป็นรูปธรรม สิ่งที่ดีที่สุดอย่าไปกังวลว่ารัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร แต่ให้ไปกังวลว่าใครจะมาสมัครเป็นรัฐบาลเลือกตั้งเข้ามา

ยังไม่ปรับครม.-รอเมื่อจำเป็น
     เมื่อถามถึงกระแสข่าวปรับครม. นายกฯ กล่าวว่า ยังไม่ได้ปรับ ยังไม่ได้สั่ง ซึ่งในที่ประชุมครม.ตนให้กำลังใจ และขอบคุณทุกคนที่ร่วมเป็นร่วมตายมาด้วยกัน ทุกคนเต็มที่ในการขับเคลื่อน ผ่านมาไม่รู้กี่ปี อยู่ภายใต้การบริหารอะไรไม่รู้แต่วันนี้ไม่ได้แล้ว ต้องริเริ่มทำงานเชิงรุก มันเหนื่อยและไม่ได้อะไร ตนก็ไม่ได้อะไร ที่ผ่านมาบางส่วนอาจมีผลประโยชน์ต่างๆ ฉะนั้นคนเหล่านี้อาจมองว่าที่เรามาเป็นส่วนเกิน แต่วันนี้ตนคิดว่าไม่มีแล้วคนเหล่านั้นต้องถอยออกไป
     เมื่อถามว่ามีกระทรวงไหนที่ต้องเสริมทัพหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ต้องช่วยกันทุกฝ่าย ถ้าดูโพลฝ่ายความมั่นคงก็โอเค ใช้อำนาจ ใช้กฎหมายจัดระเบียบดูดี เหตุการณ์ต่างๆ ลดลง เขาได้คะแนนดี ฝ่ายเศรษฐกิจแย่เพราะเศรษฐกิจโลกแย่ลง ทำให้ในประเทศแย่ลง แต่อยากขอร้อง ถ้าเราพูดว่าแย่ทุกวันจะยิ่งแย่ตามปาก ประชาชนจะตื่นตระหนก ไม่กล้าใช้เงิน ฉะนั้นทำอย่างไรให้คนใช้จ่ายอย่างพอเพียง มีมากใช้มากมีน้อยใช้น้อย รัฐต้องส่งเสริมการลงทุน สร้างความเข้มแข็งภาคการผลิต ภาคธุรกิจ ตนจะให้มารายงานว่าเศรษฐกิจอ่อนแอเพราะอะไร ส่งออกแย่เพราะอะไร 
    เมื่อถามว่าจะปิดตายคำว่าปรับครม. จะไม่มีอีกแล้วใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า "อย่ามาถามผมอย่างนั้น ถ้าจำเป็นต้องทำก็ต้องทำ"

นิ่งเจอรูปตัดต่อคู่แม้ว 
    หลังการให้สัมภาษณ์ ระหว่างนายกฯ เดินกลับตึกไทยคู่ฟ้า ผู้สื่อข่าวเปิดภาพตัดต่อนายกฯขี่รถจักรยานยนต์ ในโซเชี่ยลมีเดียให้ดู มีทั้งรูปตัดต่อที่มีสาวๆ ซ้อน หรือรูปตัดต่อการขี่รถมอเตอร์ไซค์ตามหลัง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ ดูและชักชวนคณะทำงานให้ดู โดยไม่มีอาการโมโหหรืออารมณ์เสีย พร้อมระบุว่าไม่รู้จักภาพตัดต่อคนซ้อนท้ายว่าเป็นใคร ก่อนจะกระเซ้านักข่าวสาวว่าไว้ไปซ้อนท้ายกัน

ประวิตรปัดถกนายกฯปรับครม. 
   นายอำนวย ปะติเส รมช.เกษตรและสหกรณ์ ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสการปรับครม.ในส่วนกระทรวงเกษตรฯ ว่า ไม่มี ตนไม่ทราบ เมื่อถามว่าปัญหาในกระทรวงเกษตรฯ โดยเฉพาะเรื่องการแก้ปัญหาราคายางพาราถือเป็นสาเหตุที่อาจทำให้มีการปรับครม.หรือไม่ นายอำนวยกล่าวว่า ความจริงเรื่องยางก็รู้กันอยู่ว่าปัญหาเป็นอย่างไร สำหรับตนมั่นใจในงานที่ทำอยู่ ส่วนการปรับครม.เป็นอำนาจการตัดสินใจของนายกฯ เชื่อว่ารัฐมนตรีทุกคนต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว 
   พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ข่าวรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ มีชื่อถูกปรับว่า ไม่ทราบว่ากระแสข่าวดังกล่าวออกมาได้อย่างไร และไม่เห็นพล.อ.ประยุทธ์ พูดอะไรถึงเรื่องนี้ ยืนยันตนยังตั้งใจทำงานต่อไปตามภาระหน้าที่ที่มีอยู่ ตั้งใจทำงานเพื่อประเทศชาติอย่างเดียว เรารู้ว่าสภาวะที่เข้ามาทำงานก็เพื่อประเทศ
    พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและรมว.กลาโหม กล่าวถึงกระแสข่าวได้หารือกับพล.อ.ประยุทธ์ ถึงการปรับครม.ภายในเดือนมี.ค.ว่า ไม่มีๆ จากนั้นขึ้นรถส่วนตัวเดินทางออกจากทำเนียบทันที
    พล.อ.ประวิตรให้สัมภาษณ์อีกครั้งที่บ้านพักรับรองเกษะโกมล ถึงการจัดทำบัญชีโยกย้ายนายทหารประจำเดือนเม.ย.นี้ว่า ไม่ต้องห่วง ทันเวลา ตนทำได้ เมื่อถามว่าจะมีตำแหน่งเซอร์ไพรส์อะไรหรือไม่เนื่องจากสถานการณ์ไม่ปกติ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่รู้ว่าเซอร์ไพรส์คืออะไร การแต่งตั้งโยกย้ายทุกอย่างเป็นตามความอาวุโส ความรู้ความสามารถ ทำอะไรมากกว่านี้ไม่ได้ เมื่อถามว่า คนที่ต้องเข้ามาอยู่ในตำแหน่งสำคัญต้องสนับสนุนงานของ คสช.และรัฐบาลด้วยหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกัน เขาไม่ได้เข้ามาทำงานตอนที่มีรัฐบาลและคสช. แต่รับราชการมาตั้งแต่เป็นร้อยตรี ตลอดถึงความรู้ความสามารถ

ชี้มาร์ค สั่งสลายม็อบ 53
     พล.อ.ประวิตร กล่าวกรณีรัฐบาลกำลังพิจารณาเยียวยาให้กับกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส.ว่า ยังไม่ได้พิจารณา เมื่อถามว่าจะเยียวยาเท่ากับกลุ่ม นปช.ที่ได้รับ 7.5 ล้านบาทหรือไม่ พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า เรื่องนี้มีคณะกรรมการพิจารณาอยู่ เมื่อถามถึงกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ต้องชี้แจงข้อกล่าวหาเรื่องการสลายการชุมนุมในปี 53 ต่อป.ป.ช. พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า กฎหมายว่ามาอย่างไรตนทำตามนั้น และจะตัดสินใจ
     เมื่อถามว่า เบื้องต้นสามารถพูดได้หรือไม่ว่ามีกองกำลังติดอาวุธอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. จนทำให้กองทัพต้องตัดสินใจใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า "วันนั้นผมไม่ได้เป็นผู้ตัดสินใจ ต้องเข้าใจอย่างนี้ ถ้าผมเป็นคนตัดสินใจผมจะเป็นคนบอก ซึ่งคนที่ตัดสินใจคือนายกฯ และท่านสุเทพ ผมไม่ได้อยู่ในขบวนการตัดสินใจแต่ร่วมรู้เห็น ต้องไปถามท่านๆ จะตอบได้ดี"

ลั่นคสช.ไม่สืบทอดอำนาจ 
     พล.อ.ประวิตร กล่าวหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ คสช. ถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์ข้อสรุปของกมธ.ยกร่างฯเรื่องที่มาของนายกฯจากคนนอกว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ส่งมาที่ คสช. ปล่อยให้สปช.และกมธ. ยกร่างฯดำเนินการไปก่อน ยังไม่จบ เหลืออีกหลายขั้นตอน ยังไม่ขอแสดงความคิดเห็น ที่มองว่าร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังออกมาเป็นการเพิ่มอำนาจราชการ ลดอำนาจประชาชน ก็ต้องไปถามกมธ.ยกร่างฯอย่ามาถามตน 
     เมื่อถามว่ามีการตั้งข้อสังเกตว่าร่างรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้ คสช.แทรกแซงการ เมืองได้ในอนาคต พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า อยากจะคิดอะไรก็คิดกันไป ตนไม่ว่าอะไร เมื่อถามย้ำว่าจะเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยในการเสียสัตย์เพื่อชาติหรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า อยากจะว่าอะไรก็ว่าไป ตนไม่ว่าอะไรตามสบายเถอะ เมื่อถามว่าเพื่อความสบายใจ คสช.ควรประกาศจุดยืนว่าไม่สืบทอดอำนาจ พล.อ. ประวิตรกล่าวว่า เขาก็ไม่อยากเป็นอยู่แล้ว ไม่ต้องเป็นห่วง ไม่มีแน่นอน และตนพูดหลายครั้งว่าจะไม่เล่นการเมือง คงไม่ต้องย้ำแล้ว ย้ำตั้ง 15 ที 20 ที ถามบ่อยจนรำคาญ
    เมื่อถามว่าน.ส.พ.วอชิงตันโพสต์ ระบุ คสช.ไม่ชัดเจนเรื่องการเลือกตั้ง ทำให้ต่างชาติไม่เชื่อมั่นส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า เป็นไปตามโรดแม็ป ที่บอกว่าเลือกตั้งเมื่อใดก็เดินไปตามนี้ คสช.ไม่เคยโกหก บอกว่าอยู่ในระยะที่ 2 ก็ดำเนินการอยู่ 

เปิดคุณสมบัติผู้ช่วยสนช.
   ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า หลังมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์กรณี สนช.แต่งตั้งสมาชิกในครอบครัวมาเป็นผู้ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ ตรวจสอบจากเว็บไซต์สนช. http://www.senate.go.th/w3c/senate/main.php มีการเผยแพร่ประกาศสนช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติงานให้แก่สมาชิกสนช. ประกาศวันที่ 12 ส.ค.2557 ลงนามโดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ส.ค.2557 ระบุว่า การแต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติงานให้แก่สมาชิกสนช.แต่ละคนตามประกาศนี้ ได้แก่ 1.ผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกสนช. 2.ผู้ชำนาญการประจำตัวสมาชิกสนช. 3.ผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสนช. 
    มีการกำหนดคุณสมบัติทั่วไปและลักษณะต้องห้าม ที่สำคัญดังนี้ ผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิกสนช. มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ผู้ชำนาญการประจำตัวสมาชิกสนช. ไม่ต่ำกว่า 25 ปี ผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสนช. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ทุกตำแหน่งต้องไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ไม่เป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างของส่วนราชการ 

เฟ้นผู้มีประสบการณ์ 
     คุณสมบัติเฉพาะตัวสำหรับผู้เชี่ยวชาญ ต้องจบปริญญาเอก มีประสบการณ์เกี่ยวกับงานที่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ให้สมาชิกสนช.มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ถ้าจบปริญญาโท ต้องมีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปี ปริญญาตรีต้องมีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี ส่วนผู้ชำนาญ ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปี สำหรับผู้ช่วยดำเนินงาน ต้องจบปริญญาโทขึ้นไป หรือระดับปริญญาตรีต้อง มีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 4 ปี ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) มีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 4 ปี ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ต้องมีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี และสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต้องมีประสบการ์ทำงานไม่น้อยกว่า 7 ปี 

อิงข้อบังคับด้านจริยธรรม 
     นอกจากนี้ บทเฉพาะกาลตามข้อบังคับการประชุมของ สนช. พ.ศ.2557 ข้อ 219 ระบุให้นำข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ พ.ศ.2553 มาใช้บังคับเป็นการอนุโลม ซึ่งข้อบังคับดังกล่าวใน ข้อที่ 25 ระบุ สมาชิกและกรรมาธิการพึงระมัดระวังการปฏิบัติงาน หรือการปฏิบัติหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญประจำตัว-ผู้ปฏิบัติงาน-ที่ปรึกษา-ผู้ชำนาญการ-นักวิชาการ และเลขานุการ มิให้กระทำการใดๆ อันเป็นที่เสื่อมเสียแก่สมาชิกกรรมาธิการและวุฒิสภา
   ข้อ 26 สมาชิกและกรรมาธิการจักต้องละเว้นจากการแสวงหาผลประโยชน์ โดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่และไม่กระทำการที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน และจะต้องดูแลให้คู่สมรสและบุตรของสมาชิกและกรรมาธิการปฏิบัติตามเช่นเดียวกันด้วย

วิปจี้สนช.ปรับญาติพ้นเก้าอี้ 
    เวลา 16.30 น. ที่รัฐสภา นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช. คนที่ 1 ให้สัมภาษณ์หลังประชุมวิปสนช.ว่า วิปสนช.หารือถึงการแต่งตั้งคนใกล้ชิดเครือญาติเข้ามาช่วยงานในตำแหน่งผู้ช่วยผู้ชำนาญ ที่ปรึกษาประจำตัวสนช.ที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ แม้ไม่มีอะไรขัดหรือแย้งกับระเบียบ แต่เมื่อสังคมทักท้วงถึงความเหมาะสม สนช.จึงเห็นว่าควรเป็นสภาตัวอย่าง สนช.น้อมรับข้อวิจารณ์ เพื่อไม่ให้สังคมสงสัยถึงความเหมาะสม วิปสนช.จึงให้คำแนะนำว่าสมาชิกที่ตั้งบุคคลใกล้ชิดและเครือญาติมาช่วยงานในตำแหน่งดังกล่าวให้ปรับออกทั้งหมด ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. ที่ผ่านมา หวังว่าสมาชิกจะดำเนินการเพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ดีขึ้นทางการเมือง
    นายสุรชัย กล่าวว่า จากการชี้แจงของสมาชิกหลายคนถึงเหตุผลตั้งคนในครอบครัว เนื่อง จากบางคนอยู่ต่างจังหวัด เมื่อมาทำงานในกรุงเทพฯ จำเป็นต้องมีคนทำงานด้านมวลชนในพื้นที่ อีกทั้งยังมีเหตุผลด้านการเมืองและมีข้อมูลที่เป็นความลับ จึงจำเป็นต้องตั้งคนที่ไว้ใจได้ ไม่เช่นนั้นความลับจะรั่วไหล ประกอบกับเงินเดือนประจำตำแหน่งต่างๆ น้อย เกรงว่าจะไม่มีใครยอมมาทำงานให้ จึงจำเป็นต้องตั้งคนใกล้ชิด 

แนะออกระเบียบให้ชัดเจน 
    นายสุรชัย กล่าวว่า เมื่อสังคมตั้งข้อสังเกตถึงความไม่เหมาะสมเราก็ต้องแสดงสปิริต และในอนาคตหากมีการปฏิรูป ควรกำหนดเป็นระเบียบให้ชัดเจนจะได้ไม่ต้องเถียงกันว่าขัดหรือไม่
   เมื่อถามว่าจะแก้ไขกฎระเบียบเลยหรือไม่ นายสุรชัยชี้แจงว่า เบื้องต้นเพื่อให้เกิดผลรวดเร็ว ให้สมาชิกดำเนินการตามคำแนะนำของวิปสนช. แม้ไม่มีระเบียบเชื่อว่าจะไม่มีใครขัดข้อง และเชื่อว่าจะแก้ไขภายหน้าได้ ขณะนี้สมาชิกบางส่วนทยอยให้คนใกล้ชิดลาออกบ้างแล้ว รวมทั้งให้เลขาธิการสนช.ตรวจสอบข้อมูลว่ามีสมาชิกใดแต่งตั้งในลักษณะดังกล่าวอีก ส่วนที่มีการร้องต่อป.ป.ช.ให้ตรวจสอบ นายสุรชัยกล่าวว่า ไม่กังวล เพราะเป็นเรื่องความเหมาะสมหรือไม่ และยังไม่ได้ทำผิดกฎหมาย รวมทั้งสนช.แสดงสปิริตแล้ว จึงไม่มีอะไรต้องวิตกกังวล

ตวงโวยของดีราคาถูกไม่มี 
   นายตวง อันทะไชย สมาชิกสนช. ซึ่งตั้งลูกชายมาช่วยงาน กล่าวว่า เรื่องตั้งเครือญาติ นายกฯและประธานสนช.บอกชัดเจนว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ ที่ผ่านมาส.ส. และส.ว. ก็ทำ แต่ไม่มีใครออกมาพูด มาพูดตอนนี้มีวาระซ่อนเร้น ต้องการทำลายความเชื่อมั่นสนช.ใช่หรือไม่ เป็นกระบวนการทำลายล้าง ตั้งแต่เริ่มทำลาย นายกฯ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ ไล่มาถึงคสช. และสนช. ลูกชายตนจบรัฐประศาสนศาสตร์ ให้มาทำงานในพื้นที่แทนตนทุกเรื่อง งานบวช งานแต่ง งานศพ ขึ้นบ้านใหม่ ผู้แทนอื่นๆก็ทำแบบนี้ 
    "ถ้าบอกว่าไม่ดีก็ยกเลิก งานนี้ไม่มีใครอยากทำ ได้เงินเดือน 14,000 บาท ใช้ลงพื้นที่ 2 สัปดาห์ก็หมดแล้ว ให้คนอื่นมาทำ ไม่มีใครเอา ถ้าไม่อยากให้ตั้งก็ตัดออก อยากได้ของดีราคาถูกโลกนี้มีที่ไหน ถ้าตราบใดยังชอบการเมืองก็ต้องทำแบบนี้ เอาเมีย เอาลูก พี่น้องมาทำ คนอื่นไม่มาทำให้ ถ้าไปอยู่บ้านนอกจะรู้ว่ามีหมดทุกอย่างทั้งงานบวช งานแต่ง ลูกเสีย เมียหาย ควายออกลูก อย่าไปพูดบนจินตนาการ ต้องพูดบนความเป็นจริง เงินเดือนให้เป็นแสนไม่พอ" นายตวง กล่าว

เล็งเขียนในกม.สมัชชาคุณธรรม 
     นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิกสนช. กล่าวว่า ตนตั้งลูกสาวมาช่วยงานแต่ได้ลาออกจากตำแหน่งไปแล้วเมื่อวันที่ 15 ก.พ. เพราะต้องไปเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา เรื่องนี้ถือว่าจบไปแล้ว จากนี้คงไม่ตั้งลูก เมีย ญาติเข้ามาทำงาน มิเช่นนั้นคงถูกโจมตีหนัก การแต่งตั้งลักษณะนี้มีมาตั้งแต่อดีต ทั้งสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และที่ตั้งลูกสาวเข้ามา เพราะเห็นว่ามาช่วยงานเรื่องข้อกฎหมาย การแปรญัตติ ซึ่งบรรทัดฐานเรื่องการตั้งเครือญาตินั้นกฎระเบียบไม่ได้ห้าม กรณีนี้สังคมตั้งแง่เนื่องจากเห็นว่าอาจมีประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งการเขียนแก้ไขกฎหมายมีสองทางคือ 1.ไม่ให้ตั้งเลย 2.ตั้งคนที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมทำงานได้ ส่วนตัวคิดว่าน่าจะตั้งได้แต่ต้องมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน
     นพ.พลเดช ปิ่นประทีป สมาชิกสปช. และประธานคณะกรรมการปฏิรูปคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล กล่าวว่า เรื่องการตั้งเครือญาติเข้ามาช่วยงานเกิดขึ้นได้ทั้งนั้นในกลุ่มบุคคลสาธารณะที่ใช้อำนาจรัฐ แต่ต่อไปตามพ.ร.บ.สมัชชาคุณธรรม จะกำหนดมาตรฐานเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ธรรมาภิบาลของนักการเมือง ข้าราชการ ทั้งนี้ การแต่งตั้งเครือญาติเข้ามาทำงานคิดว่าไม่ค่อยเหมาะสมแต่ไม่ใช่ว่าจะตายตัว หากตั้งญาติที่มีความเหมาะสม มีความรู้ ทำงานได้จริงน่าจะอธิบายได้ จะเหมารวมทั้งหมดก็คงไม่แฟร์ ไม่เป็นธรรม สังคมต้องมีจิตใจเป็นธรรมพอ แยกเป็นรายๆ ไป

เผยสปช.ก็ตั้งลูกเมียเป็นผู้ช่วย
    แหล่งข่าวจากสปช. เผยว่า ในส่วนของสมาชิก สปช. พบมีการแต่งตั้งบุตร ภรรยา เครือญาติ มาเป็นผู้ช่วยเช่นเดียวกับสมาชิก สนช.เช่นกัน โดยสามารถสืบค้นได้จากหนังสือเวียนของสปช.ตั้งแต่ช่วงเดือนต.ค. 2557 หลังจากแต่งตั้งสปช.เข้ารับตำแหน่งใน
    ผู้สื่อข่าวได้พยายามสอบถามถึงหนังสือเวียนกับสมาชิกสปช.หลายราย ทั้งที่มาจากด้านปฏิรูปและด้านท้องถิ่น แต่ไม่มีรายใดยอมเปิดเผย บางรายอ้างว่าหาไม่เจอเพราะเวียนมาตั้งแต่ปีที่แล้ว บ้างก็ว่าเป็นเรื่องปกติเพราะในสมัยส.ส. ส.ว.ก็ทำกัน ขณะที่ข้าราชการรัฐสภาก็บ่ายเบี่ยงที่จะให้ข้อมูลหลังเกิดกรณีของ สนช. และเมื่อสืบค้นบนเว็บไซต์สปช. เนื่องจากประกาศแต่งตั้งผู้ช่วยทำงานสปช.ต้องเผยแพร่เหมือนที่สืบค้นเจอในกรณีสนช. ก็ไม่พบหนังสือเวียนดังกล่าว

'ทิชา'เปิดใจลาออกกมธ.ยกร่าง
     เวลา 09.30 น. ที่รัฐสภา นางทิชา ณ นคร แถลงเปิดใจถึงการลาออกจากกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ว่า ข้อเท็จจริงในฐานะอดีตกมธ.ยกร่างฯเสียงข้างน้อย รู้สึกหมดหวัง หมดศรัทธาที่จะสื่อสารต่อกมธ.ยกร่างฯเสียงข้างมาก ในการเพิ่มพื้นที่ทางการเมืองให้เพศหญิง ทั้งในส.ส.บัญชีรายชื่อ และในสภาท้องถิ่น ที่ผู้หญิงควรมีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 กมธ.ยกร่างฯที่เป็นผู้หญิงได้ประนีประนอมปรับถ้อยคำ แต่กมธ.ยกร่างฯผู้ชายที่คัดค้านก็ยังไม่ยอมรับ 
    นางทิชา กล่าวถึงประเด็นการยกร่างรัฐธรรม นูญ ที่ยังไม่ได้ข้อยุติชัดเจนและเป็นห่วงคือเรื่องเอกสิทธิ์นักการเมือง ที่อาจทำให้คดีล่าช้า เสียรูปคดี การเลือกตั้งส.ว.ทางอ้อมไม่ควรมีอดีต นายกฯ ประธานวุฒิสภา ประธานศาล และปลัดกระทรวง ข้าราชการระดับสูง รวมถึงนายกฯไม่ต้องเป็นส.ส. ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าเป็นบันไดหนีไฟยามฉุกเฉินเท่านั้น ส่วนสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติอาจเป็นทั้งคำตอบของแผ่นดินและสุสานของข้าราชการหลังเกษียณ และการกำหนดให้มีแค่ศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ เห็นว่าควรคงไว้ทั้ง 3 ศาล เนื่องจากศาลฎีกาถือเป็นหลักประกันสิทธิ เสรีภาพของประชาชน การลาออกยืนยันไม่ได้ขัดแย้งกับใคร แต่เรื่องจุดยืนต้องแสดงความชัดเจน 

โต้นายกฯปมหญิงชายเท่าเทียม
     นางทิชา กล่าวว่า ส่วนที่นายกฯระบุสัดส่วนหญิงชายมีความเท่าเทียมกันแม้จะไม่ได้บรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น เรามีเหตุผลอ้างเสมอว่าเท่าเทียมกัน ผู้หญิงเป็นแม่ เป็นคนคุมเงิน แต่พูดในที่ที่พูดแล้วสนุกขบขัน แต่จุดที่ต้องมีอำนาจตัดสินในทางการเมือง ประเด็นสาธารณะ นโยบาย เสียงของผู้หญิงก็จะหายไปกับสายลม แต่ในพื้นที่ตลกโปกฮาเสียงของ ผู้หญิงก็เหมือนจะมีความหมาย ทั้งหมดนี้สะท้อนนัยยะสำคัญ ว่าเรายังเห็นประเด็น ผู้หญิงเป็นเรื่องไร้สาระ ยืนยันตนไม่ได้ขัดแย้งกับใคร และจะไม่กลับมาที่นี่อีก 
     "มีหลายเรื่องเกิดขึ้นในห้องกมธ.ยกร่างฯ เหมือนห้องแล็บทางวิทยาศาสตร์ ภายนอกดินฟ้าอากาศลมฝนมันแตกต่างจากห้องแล็บของเรามาก สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยคนข้างนอกสะท้อนเข้าไปเพื่อยืนยันว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้อยู่ในห้องปฏิบัติการอย่างเดียว แต่รัฐธรรมนูญจะใช้กับคน 60 ล้านคน ซึ่งมีลมฟ้าอากาศที่แตกต่างกัน เราต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย และไม่คิดว่าการเปิดประเด็นครั้งนี้จะนำไปสู่การสั่นสะเทือนในเรื่องความมั่นคง" นางทิชากล่าว (อ่านราย ละเอียด น.3)

เลือก'กอบศักดิ์'แทนทิชา 
     เวลา 14.40 น. มีการประชุมสปช. โดย น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธาน สปช.คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธาน พิจารณาให้ความเห็นชอบรายชื่อผู้ที่เหมาะสมจะเป็นกมธ.ยกร่างฯ แทนนางทิชา โดยน.ส.ทัศนา เปิดโอกาสให้สมาชิกเสนอผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่กมธ.ยกร่างฯ ซึ่งนายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา สปช.ด้านการเมือง เสนอชื่อนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล สปช.ด้านเศรษฐกิจ นายสุชาติ นวกวงษ์ สปช.ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เสนอชื่อนางศิรินา ปวโรฬารวิทยา สปช.ด้านสังคม นายจุมพล สุขมั่น สปช.เชียงราย เสนอชื่อนางจุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์ สปช.เชียงใหม่ และพล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ สปช.ด้านอื่นๆ เสนอชื่อนายอมร วาณิชวิวัฒน์ สปช.ด้านการเมือง ที่ประชุมได้ให้ผู้ถูกเสนอชื่อทั้ง 4 คนแสดงวิสัยทัศน์แบบสั้นๆ นายอมร มอบหมายให้พล.อ.เอกชัย อ่านวิสัยทัศน์แทน เนื่องจากไม่ได้อยู่ในที่ประชุม เพราะป่วยเป็นไข้หวัดจึงพูดไม่สะดวก
     จากนั้นน.ส.ทัศนาสั่งพักการประชุมเพื่อไปทำบัตรลงคะแนน หลังหยุดพักประมาณ 30 นาที กลับมาเปิดประชุมอีกครั้ง ผู้ถูกเสนอชื่อทั้ง 4 คน แสดงวิสัยทัศน์ ก่อนมีการลงคะแนนลับด้วยการขานชื่อสมาชิกเรียงตามตัวอักษรและนับคะแนน ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ที่สุดที่ประชุมมีมติเลือกนายกอบศักดิ์ ด้วยคะแนน 119 คะแนน นางจุไรรัตน์ 67 คะแนน นางศิรินา 26 คะแนน และนายอมร 8 คะแนน บัตรเสีย 9 คะแนน นายกอบศักดิ์ จึงได้รับเลือกเป็นกมธ.ยกร่างฯ แทนนางทิชา ทั้งนี้น.ส.ทัศนาแจ้งในที่ประชุมว่าหากผู้ที่ได้รับเลือกเป็นกมธ.ยกร่างฯ มีคุณสมบัติต้องห้ามและขาดคุณสมบัติ ให้ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงในลำดับถัดไปได้รับเลือกแทน และสั่งปิดประชุมในเวลา 16.45 น.

ยื่นปปช.สอบสนช.ตั้งลูก-เมีย
      เวลา 11.15 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นหนังสือให้ไต่สวนสมาชิกสนช. กว่า 50 คน กรณีเสนอชื่อเครือญาติเข้ารับการแต่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ และผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัวสมาชิกสนช. ถือว่ามีพฤติกรรมเข้าข่ายมีผลประโยชน์ทับซ้อน ต้องห้ามตามระเบียบสำนักนายกฯว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551 ประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ พ.ศ. 2553 และเข้าข่ายทุจริตต่อหน้าที่ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยป.ป.ช. พ.ศ.2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 
     นอกจากนี้ ขอให้ไต่สวนนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. ในฐานะใช้อำนาจออกประกาศคุณสมบัติผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการและผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัวสมาชิกสนช. และนางนรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการสนช. ในฐานะผู้ลงนามแต่งตั้ง
     นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า หากไต่สวนแล้วพบความผิด ป.ป.ช.มีอำนาจฟ้องร้องบุคคลเหล่านี้ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองรวมทั้งเรียกคืนเงินประจำตำแหน่ง กฎหมายที่ตนอ้างต่อป.ป.ช. เขียนไว้ชัดเจนว่าห้ามแต่งตั้งเครือญาติ งงที่พล.อ.ประยุทธ์ พูดว่าไม่ผิด แปลกใจนายกฯเข้าใจกฎหมายมากน้อยเพียงใด ขอให้สนช.ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบจริยธรรมโดยเร็ว และควรมีข้อสรุปภายใน 1 เดือน เพราะยิ่งช้าผลเสียจะเกิดขึ้นกับสนช.ทั้งหมด

ป.ป.ช.ส่อไม่ตรวจสอบ 
     นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการป.ป.ช. กล่าวว่า จะนำเรื่องร้องเรียนดังกล่าวเข้าที่ประชุม ป.ป.ช.วันที่ 12 มี.ค.นี้ ซึ่งต้องพิจารณาว่าป.ป.ช.มีอำนาจรับเรื่องไต่สวนหรือไม่ เนื่องจาก พ.ร.บ.ว่าด้วยป.ป.ช. มาตรา 100 ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับตำแหน่งที่ร้องมา อีกทั้งเรื่องจริยธรรมเป็นหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินที่จะดำเนินการ ส่วนคดีในอดีตที่ ป.ป.ช.ตรวจสอบจริยธรรมนั้น มาจากผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นเรื่องให้

เลื่อนชี้มูล 250 อดีตส.ส.

    นายสรรเสริญ กล่าวถึงผลประชุมคณะกรรมการป.ป.ช.ว่า คณะกรรมการป.ป.ช.ในฐานะองค์คณะไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีร้องให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 270 เนื่องจากมีพฤติกรรมส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง กรณีร่วมลงชื่อเสนอและพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาส.ว.โดยมิชอบ ซึ่งมีมติเมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมาแล้วว่ามีอดีตส.ส. 250 ราย มีมูลความผิดฐานส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 291(1) วรรคหนึ่ง นัดประชุมเพื่อพิจารณาชี้มูลกรณีดังกล่าว แต่สำนวนคดียังไม่เรียบร้อย เนื่องจากคณะทำ งานของป.ป.ช.ที่ไต่สวนคดีดังกล่าวต้องเข้าชี้แจงกรณีถอดถอนอดีต 38 ส.ว. ต่อสนช.ที่รัฐสภา จึงต้องเลื่อนการพิจารณาออกไปเป็นวันที่ 12 มี.ค.นี้
     นายสรรเสริญ กล่าวถึงการส่งหนังสือแจ้งข้อกล่าวหานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯ พระสุเทพ หรือนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ กรณีสลายการชุมนุมช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. 53 ว่า ป.ป.ช.ได้รับการประสานมาแล้วว่าบุคคลทั้งสองจะส่งผู้แทนมารับหนังสือบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา เพื่อนำไปให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบในวันที่ 10 มี.ค.นี้ จากนั้นผู้ถูกกล่าวหาจะต้องเข้ามาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 วัน ส่วนการไต่สวนพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผบ.ทบ. และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานสลายการชุมนุมนั้น ยังยู่ในกระบวนการไต่สวน เพราะป.ป.ช.ได้แยกส่วนกัน หากไต่สวนครบถ้วนแล้วจะวินิจฉัยอีกครั้ง

บิ๊กตู่แจ้งครม.อย่าเชื่อข่าวปรับ 
     ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ แถลงผลประชุมครม.ว่า การทำงานของสปช. และสนช. นายกฯระบุว่า 2 ส่วนนี้ต้องดูว่า คสช.เป็นแกนหลักในการเดินหน้าต่างๆ เมื่อรัฐบาลกำหนดนโยบายทิศทางประเทศ สปช.และสนช.ต้องดูรายละเอียดว่ามีวิธีใดที่จะให้งานเดินหน้าได้ โดย สปช.และสนช.ต้องไม่เห็นเป็นเอกเทศ หรือคิดอะไรเพียงลำพังแล้วกลับมาสั่งรัฐบาล 
     พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า นายกฯกล่าวระหว่างการประชุมครม.ว่าขณะนี้ยังไม่มีแนวคิดปรับครม. เมื่อข่าวสารดังกล่าวไม่ได้ออกมาจากคนเป็นนายกฯ ขออย่าไปเชื่อ และขอเป็นกำลังใจ ครม.ทุกคนตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ อย่าหวั่นไหวกับกระแสข่าวที่ออกมา แต่ถ้าใครมีปัญหาไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไปหรือมีปัญหาเจ็บไข้ได้ป่วย ก็เข้ามาพูดคุยกันหรือขอลาออกได้ 
    นายอำนวย ปะติเส รมช.เกษตรและสหกรณ์ ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมครม.ถึงกระแสการปรับครม.ในส่วนกระทรวงเกษตรฯ ว่า ไม่มี ตนไม่ทราบ ผู้สื่อข่าวถามว่าปัญหาในกระทรวงเกษตรฯ โดยเฉพาะเรื่องการแก้ปัญหาราคายางพาราถือเป็นสาเหตุที่อาจทำให้มีการปรับครม.หรือไม่ นายอำนวย กล่าวว่า ความจริงเรื่องยางก็รู้กันอยู่ว่าปัญหาเป็นอย่างไร สำหรับตนมั่นใจในงานที่ทำอยู่ ส่วนการปรับครม.เป็นอำนาจการตัดสินใจของนายกฯเชื่อว่ารัฐมนตรีทุกคนก็ต้องพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว

เสนอยุบปปท.รวมปปช.
     เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกมธ.ปฏิรูปป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สปช. แถลงว่า กมธ.กำหนดแนวทางดำเนินงานไว้ 3 ด้าน 1.ด้านการปลูกฝัง โดยเห็นชอบให้นำหลักสูตรคนไทยไม่โกงไปใช้กับนักศึกษาทุกสถาบัน 2.ด้านการป้องกัน ปฏิรูประบบจัดซื้อจัดจ้าง ให้โปร่งใส เข้าถึงข้อมูล มีบทลงโทษเคร่งครัดจริงจัง และ 3.ด้านการปราบปราม ให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วม ส่วนการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม องค์กรที่มีหน้าที่โดยตรงได้แก่ ตำรวจ อัยการและศาล ต้องดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ให้เกิดข้อครหา ซึ่งจำเป็นต้องมีผู้ชำนาญเฉพาะด้าน เช่น เศรษฐกิจการเงิน รวมถึงการทำธุรกรรมข้ามชาติเพราะคดีทุจริตเหล่านี้มีความหลากหลายและซ้ำซ้อนกว่าคดีประเภทอื่น จึงต้องมีศาลชำนาญพิเศษเพื่อพิจารณาคดี โดยเป็นระบบศาล 2 ชั้น ใช้ระบบการไต่สวนดำเนินคดี 
     นายประมนต์ กล่าวว่า สำหรับคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่ประชุมเห็นว่าควรมีกรรมการเพิ่มเป็น 11 คน มีวาระ 6 ปี และมีที่มาจากความหลากหลาย ส่วนสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เห็นควรให้เป็นองค์กรอิสระ โดยให้ควบรวมกับป.ป.ช. เพื่อให้ปลอดจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง ซึ่งจะต้อง บูรณาการทำงานอย่างใกล้ชิด
     นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานป.ป.ช. กล่าวถึงข้อเสนอยุบป.ป.ท.รวมกับป.ป.ช. ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบต้องมีอิสระ ป.ป.ท.ขึ้นตรงกับกระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร ดังนั้นด้วยรูปแบบของป.ป.ท.ต้องเป็นอิสระ ส่วนจะควบรวมหรือไม่อย่างไรนั้นไม่มีปัญหา เพราะการทำงานของทั้งสองหน่วยงานคล้ายกันคือ ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และถึงแม้จะไม่ควบรวมกันการดำเนินงานก็คล้ายกันอยู่แล้ว สำคัญอยู่ที่ว่าต้องมีอิสระ ข้อเสนอให้เพิ่ม กรรมการป.ป.ช.เป็น 11 คนนั้น 9 คน เพียงพออยู่แล้ว เป็นรูปแบบเดียวกับศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนวาระการดำรงตำแหน่งที่ลดจาก 9 ปี เหลือ 6 ปี สามารถทำได้ แต่ไม่ควรสั้นเกินไปเช่นดำรงตำแหน่งเพียง 4 ปี 

สมัชชาคุณธรรมใช้คุมส.ว.
      นายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงสปช.ผ่านกฎหมายตั้งสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติว่า เป็นตัวแทนของกลุ่มผู้มีอำนาจที่หวังใช้คนกลุ่มนี้ควบคุมกลไกของประเทศ ตั้งขึ้นเพื่อหวังคุมกลุ่มส.ว.ที่พวกเขาจะตั้งขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง เพราะ ส.ว.จะเป็นกลไกหนึ่งที่ใช้จัดการกับรัฐบาลฝ่ายประชา ธิปไตยได้ รวมทั้งควบคุมกลไกข้าราชการ ใช้ถอดถอนข้าราชการที่ไม่ฟังคำสั่ง ดังนั้น หาก ส.ว.คนไหนแหกคอกหรือคุมไม่ได้ จะใช้สมัชชาคุณธรรมฯ จัดการโดยอ้างว่าผิดคุณธรรม จริยธรรม จะเห็นว่ารัฐธรรม นูญฉบับนี้ซ่อนกลไกควบคุมอำนาจไว้หลายชั้น เป็นระบบซ่อนรูปเผด็จการเพื่อใช้จัดการกับฝ่ายประชาธิปไตย เป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขไม่ได้ 
     นายวรชัย กล่าวว่า หากเกิดปัญหาขัดแย้งขึ้นอีก จะใช้วิธีรัฐประหารอีกครั้งคงทำไม่ได้แล้วเพราะจะถูกต่อต้านจากประชาคมโลก ฝ่ายตรงข้ามจึงต้องตั้งสมัชชาคุณธรรมฯ ขึ้นมาแทน ซึ่งสอดคล้องกับประเด็นนายกฯ คนนอก ส.ส.ไม่ต้องสังกัดพรรค รวมถึงส.ว.ลากตั้ง ทุกอย่างถูกวางไว้เพื่อรักษาอำนาจของคนกลุ่มเดิม และใช้เป็นกับดักจัดการกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง 

 

สนช.ถอย-สั่งเครือญาติ รีบไขก๊อก เร่งสลายโฉ่สภาลูกเมีย 'ตวง'โวยถูกจ้องทำลาย ศรีสุวรรณยื่นปปช.สอบ ขัดจริยธรรม-บี้คืนเงิน'ทิชา'หมดศรัทธา'กมธ.'สปช.ตั้ง"กอบศักดิ์'แทน ป้อมโบ้ยมาร์คสั่งลุยม็อบ

แทน'ทิชา' -นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล สมาชิก สปช.แสดงวิสัยทัศน์สั้นๆ ก่อนที่จะได้รับการคัดเลือกให้เป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแทนนางทิชา ณ นคร ที่ลาออกไป ที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 3 มีนาคม

      องค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญร้อง ป.ป.ช.ปม สนช.ตั้งลูก-เมีย ผิดประมวลจริยธรรม จี้เอาผิด'พรเพชร'เลขาฯ ป.ป.ช.โบ้ยเรื่องของผู้ตรวจฯ ด้าน'ทิชา'เปิดใจหมดหวัง-หมดศรัทธา ชี้ค้าน ส.ว.ลากตั้ง-นายกฯคนนอก เตือน กมธ.ฟังลมฟ้าอากาศข้างนอกบ้าง สปช.เลือก'กอบศักดิ์'นั่ง กมธ.ยกร่างฯแทน 

'ทิชา'เปิดใจ'หมดหวัง-ศรัทธา'

     เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 3 มีนาคม ที่รัฐสภา นางทิชา ณ นคร อดีตคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญและสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แถลงเปิดใจการลาออกทั้ง 2 ตำแหน่งได้แสดงความจำนงในการลาออกจากตำแหน่งทั้งสองตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา ข้อเท็จจริงที่จำเป็นต้องสื่อสารต่อสาธารณะในฐานะอดีต กมธ.ยกร่างฯเสียงข้างน้อยคือหมดหวัง หมดศรัทธาที่จะสื่อสารต่อ กมธ.ยกร่างฯเสียงข้างมาก ในการเพิ่มพื้นที่ทางการเมืองให้กับเพศหญิงทั้งใน ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และในสภาท้องถิ่น ที่ผู้หญิงควรจะมีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ซึ่งใน กมธ.ยกร่างฯที่เป็นผู้หญิงได้ประนีประนอมด้วยการปรับถ้อยคำจากเพศหญิงเป็นเพศตรงข้าม แต่ กมธ.ยกร่างฯซึ่งเป็นผู้ชายที่คัดค้านยังไม่ยอมรับเหตุผลของตนที่เสนอว่าไม่ใช่การเชิดชูสิทธิสตรี ไม่ใช่การขัดขวางหรือการลดค่าเพศชาย แต่มุ่งหวังเปิดพื้นที่ให้เพศหญิงเข้าไปร่วมขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความสมดุล แต่จากการที่เพศหญิงถูกจัดวางบทบาทให้อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนมาช้านาน การผลักดันให้ผู้หญิงเหล่านี้ไปสู่พื้นที่สาธารณะเพื่อให้เกิดการปรับสมดุลในสังคม จึงไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติได้ คือการเปลี่ยนทางสังคม วัฒนธรรมและการเมืองที่ต้องอาศัยมาตรการพิเศษชั่วคราวเข้าไปหนุนช่วยให้มีหลักประกันและกำหนดสัดส่วนเพศตรงข้าม 1 ใน 3 เป็นอย่างน้อยไว้ในรัฐธรรมนูญ 

ค้านส.ว.ลากตั้ง-นายกฯคนนอก 

     นางทิชา กล่าวว่า ขอขอบคุณนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯที่ช่วยขยายความในเชิงข้อเท็จจริงให้ กมธ.ยกร่างฯเสียงข้างมากทราบว่า วันนี้กลไกสัดส่วนผู้หญิงในพื้นที่การตัดสินใจนโยบายสาธารณะเป็นหนึ่งในภารกิจขององค์การสหประชาชาติไปแล้ว รวมถึงความพยายามในเบื้องต้นของประธานกมธ.ยกร่างฯที่จะไม่โหวตในประเด็นดังกล่าว แต่ กมธ.ยกร่างฯเสียงข้างมากไม่เห็นด้วยและยืนยันว่าต้องโหวตเพื่อยุติการอภิปราย

   นางทิชา กล่าวว่า ประเด็นที่ยังไม่ได้ข้อยุติชัดเจนและมีความเป็นห่วงคือเรื่องเอกสิทธิ์นักการเมือง กรณีที่มีการจับ ส.ส.และ ส.ว.ในขณะกระทำความผิดให้รายงานไปยังประธานสภาที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกและประธานแห่งสภาอาจสั่งให้ปล่อยผู้ถูกจับกุมได้ จึงได้เสนอให้เพิ่มถ้อยคำหรือความเห็นว่าการเลือกตั้ง ส.ว.ทางอ้อมไม่ควรมีบุคคลที่มาจากอดีตนายกรัฐมนตรี ประธานวุฒิสภา ประธานศาล และปลัดกระทรวง ข้าราชการระดับสูงและควรกำหนดให้มีวาระแค่ 3 ปีเท่านั้น ส่วนที่ กมธ.ยกร่างฯระบุว่านายกรัฐมนตรีไม่ต้องเป็น ส.ส.นั้น มองว่าหากนายกรัฐมนตรีที่ไม่ใช่ ส.ส.ต้องกำหนดให้ชัดเจนหรือมีหลักประกันว่าเพื่อเป็นบันไดหนีไฟยามฉุกเฉินเท่านั้น เพื่อไม่ให้เป็นช่องพิเศษรอรับนายทุนพรรคการเมืองหรืออำนาจพิเศษอื่นฉวยโอกาสเข้ามา 

เตือนกมธ.ฟังลมฟ้าข้างนอก

     นางทิชา กล่าวว่า นอกจากนั้นยังเห็นว่าเมื่อคณะทำงานปฏิรูปหลัก สปช.หมดวาระ ตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ต้องมีกติกาที่ให้หลักประกันว่าเป็นไปเพื่อการปฏิรูปและสามารถวัดผลได้ รวมถึงจำนวนที่สมเหตุสมผล สมภารกิจ ส่วนเรื่องสมัชชาคุณธรรมนั้นตนเห็นว่าอาจเป็นทั้งคำตอบของแผ่นดินและสุสานของข้าราชการหลังเกษียณ แต่จะเป็นอะไรนั้นก็ต้องคิดให้รอบคอบและเป็นไปเพื่อเพิ่มทางสว่างให้กับบ้านเมืองอย่างแท้จริง

     "ความพอใจสูงสุดในการทำงานตลอด 4 เดือนของการเป็น กมธ.ยกร่างฯคือการได้อภิปรายยืนยันถอนมาตราโดยเฉพาะมาตราที่เขียนให้อำนาจพิเศษแก่นายกรัฐมนตรีดำเนินการในช่วงที่เกิดสภาวะฉุกเฉินไม่ควรบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ" นางทิชากล่าว และว่า การตัดสินใจลาออกในครั้งนี้อาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญในทรรศนะของคนอื่น แต่สำหรับตน เมื่อสถานการณ์บ่งชี้ว่าไม่สามารถทำในสิ่งที่ควรทำ ทั้งที่สิ่งนั้นอาจสร้างความเปลี่ยนแปลงและสมดุลใหม่ให้กับสังคมได้ ไม่ควรทำหน้าที่นั้นต่อไปเพราะเท่ากับว่าได้หมดความเคารพต่อตนเองไปแล้ว 

     เมื่อถามว่า การตัดสินใจลาออกจะนำไปสู่กระบวนการต่อต้านรัฐบาลหรือไม่ นางทิชากล่าวว่า "เมื่อทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วพยายามจะทำให้ดีที่สุด แต่ในเมื่อทำไม่ได้ก็ไม่ขอดันทุรังต่อไป ถ้าไม่สามารถรักษาจุดยืนและไม่รักษาอุดมการณ์ได้จะมีชีวิตไปเพื่ออะไรและการที่ดิฉันเดินออกไปจากที่แห่งนี้คือสัญญาณอย่างหนึ่ง เพียงแต่ดิฉันอาจจะใช้ตัวเองเป็นสัญญาณนั้น ซึ่งทำให้ภาคประชาสังคมและมุมมองอื่นๆ ที่อยู่ภายนอกตั้งคำถามเหมือนกัน แต่หลายเรื่องที่เกิดขึ้นในห้อง กมธ.ยกร่างฯมีหลายเรื่องที่เกิดขึ้น เหมือนห้องแล็บทางวิทยาศาสตร์ ภายนอกดินฟ้าอากาศลมฝนมันแตกต่างจากห้องแล็บทางวิทยาศาสตร์ของเราเป็นอย่างมาก สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยคนข้างนอกสะท้อนเข้าไป เพื่อยืนยันว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้อยู่ในห้องปฏิบัติการอย่างเดียว แต่รัฐธรรมนูญกำลังจะใช้กับคน 60 ล้านคนซึ่งมีลมฟ้าอากาศที่แตกต่างกัน เราต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย"

'บิ๊กตู่'ย้ำร่างรธน.ยังไม่สรุป

     ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังการประชุม ครม.ว่า การร่างรัฐธรรมนูญเดินหน้าไปแล้วหลายหมวด ทราบว่าใกล้จะจบแล้ว ติดตามดูมาตลอด บางเรื่องยังไม่ได้ข้อยุติ ทั้งหมดยังไม่ได้ข้อยุติเลย อย่าลืมว่า คสช.เข้ามาบริหารราชการ ตั้ง สนช.มาดูแลเรื่องกฎหมาย ตั้ง สปช.มาเพื่อเตรียมการปฏิรูป คำว่า ปฏิรูปคือการทำใหม่ ยกเครื่องใหม่ทั้งหมดและต่อเนื่องในรัฐธรรมนูญ แต่ในเรื่องการเลือกตั้งยังไม่ได้ข้อยุติอะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มาที่ไปของ ส.ว. จะมาคุยกันก่อนแล้วดูว่าจะต้องมีอะไรที่เพิ่มขึ้นบ้าง หรือปรับอะไรกันบ้าง ยืนยันว่าสิ่งที่ต้องการยังไม่ได้กำหนดอะไรเข้ามาเลย ทั้งหมดเป็นเรื่องที่คิดกันขึ้นมา และเท่าที่วิเคราะห์ คงมาจากเรื่องความหวังดีจากสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตว่าควรจะต้องแก้ไขอย่างไร 

     "ผมก็บอกไปแล้วว่าเดี๋ยวจะมาดูให้อีกครั้งหนึ่งว่า ถ้าคิดแค่มุมเดียวก็จะถูกมองไปอีกอย่างไรหรือเปล่า แต่อย่าลืมว่าไม่มีอะไรที่จะเป็นประชาธิปไตยร้อยเปอร์เซ็นต์ ประชาธิปไตยต้องมองให้ทั่วถึง วันนี้ผมเห็นว่าบางสถาบันไปพูดว่าต้องสอนคนให้เป็นประชาธิปไตย แล้วประชาธิปไตยที่ไม่มีคำว่าหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ จะใช้ได้เลยหรือเปล่า มันจะต้องมีให้ครบ" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว 

ชี้เปลี่ยนแปลง-แก้ไขได้ 

    เมื่อถามว่า มีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรีที่จะนำคนนอกเข้ามาดำรงตำแหน่ง พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า นายกฯคนนอกมากันตอนไหน อย่าลืมว่าในช่วงแรกนายกฯมาจากการเลือกตั้งของสภา ส่วนนายกฯคนนอกนั้นทาง กมธ.ยกร่างฯระบุว่า ถ้าหากมีปัญหาตีกันเหมือนครั้งที่แล้ว จะมีการพูดถึงนายกฯมาตรา 7 บ้าง อะไรบ้าง คงไม่มีใครเห็นด้วยว่าอยู่ดีๆ จะเอานายกฯคนนอกเข้ามา ถ้าเกิดมีปัญหาจะต้องหานายกฯคนนอกเข้ามาเพื่อขัดตาทัพแล้วเดินหน้าประเทศไปก่อน เป็นการแก้ปัญหาตรงนี้ เมื่อถามว่า ทำอย่างไรไม่ให้เกิดกระแสกดดันระหว่างที่กรรมาธิการยกร่างฯกำลังทำหน้าที่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า วิธีการเป็นเรื่องสำคัญ บางอย่างไม่ใช่เวลาที่จะออกมาพูด การสร้างความเข้าใจถ้าพูดทุกวันจะเกิดความขัดแย้งทุกวัน บางอย่างได้พูดคุยไปแล้วว่าให้ลดๆ ลงเพราะประชาชนไม่เข้าใจ แล้วหันไปฟังประเด็นเหล่านั้นมากกว่าที่ฟังตนพูด 

     "สิ่งที่เรากำลังแก้ไขในวันนี้ก็เพื่อวันข้างหน้า ให้ไปปฏิรูปกันให้ได้ แต่ถ้ามัวเอาตรงโน้นมาปนกับตรงนี้ก็จะตีกันหมด สิ่งสำคัญ คสช.เป็นคนตั้งขึ้นมาทั้งหมด ดังนั้นไม่มีใครมีอำนาจมาสั่งรัฐบาลให้ทำอะไร แต่ผมก็พร้อมรับฟัง อะไรดีก็นำมาใช้เพื่อขับเคลื่อน แต่ไม่ใช่มาชี้ผม ส่วนจะชี้ได้หรือไม่ได้ เดี๋ยวต้องรอให้ กมธ.ยกร่างฯส่งเรื่องกลับมายัง สปช. จะเห็นด้วยหรือไม่ก็ค่อยไปว่ากัน ผมจะเข้าไปช่วยดูด้วยอีกครั้งหนึ่งกับ ครม. ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาสักอันหนึ่ง" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว 

เมื่อถามว่า มาถึงนายกฯและ ครม.อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขได้ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ต้องไปหารือร่วมกันในจุดต่างๆ ว่าจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขตรงไหนบ้าง

ลั่นไม่ได้เตรียมไว้ให้ใคร 

เมื่อถามว่า ยังมั่นใจหรือไม่ว่าแม่น้ำทั้ง 4 สายจะยังไหลมาลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "มันต้องลงสิ แต่ทั้งหมดอยู่ที่ประชาชนที่ต้องเลือกว่าจะทำอย่างไร ถ้าผมถามหรือพูดอะไรไปวันนี้จะกลายเป็นว่าผมต้องการ แต่ยืนยันว่าไม่ต้องการอะไรทั้งสิ้น ต้องการเพียงให้ประเทศชาติเดินไปข้างหน้า ดังนั้น 1.ทุกคนจะต้องถามตัวเองว่าจะเลือกตั้งหรือไม่เลือกตั้ง นี่คือประเด็นสำคัญ 2.ถ้าจะเลือกตั้งแล้วจะเลือกกันอย่างไร 3.ทำอย่างไรจะไม่มีความขัดแย้ง และ 4.ทำอย่างไรจะไม่เกิดปัญหาในวันข้างหน้าขึ้นมาอีก ไม่ต้องมีการทะเลาะเบาะแว้ง หรือระวังทหารจะเข้ามา จะต้องหาทางกันให้เจอ" 

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า วันนี้ต้องเดินหน้าประเทศ ขอถามว่าถ้ากลับมาแล้วมีความขัดแย้งเช่นเดิมแล้วจะทำอย่างไรกันต่อไป 

ถ้ามีการเลือกตั้งก็ต้องส่งอำนาจคืนไปทั้งหมด แล้วตนต้องการกลับไปพักผ่อน ถ้าทะเลาะกันอีกแล้วใครจะกลับมาแก้ ไม่มีแล้ว "สำหรับผมหมดแล้วก็เลิกกันไป ดังนั้นทุกคนต้องไปถามตัวเองให้ได้ก่อน ทุกคนอยากให้มีการเลือกตั้ง แต่ถึงเวลาตีกันเยอะๆ จะไม่เลือกกันอีกแล้วจะทำอย่างไรกัน ยืนยันว่าผมไม่ได้เตรียมการอะไรไว้ให้ใคร ให้คนนั้น คนนี้ขึ้น ไม่มีใครอยากสักคน เดี๋ยวจะมากล่าวหากันว่าไม่อยากแล้วเข้ามาทำไม ต้องตอบว่า ก็มันตีกันทำไมเล่า ถ้ามันไม่มีตีกัน ใครจะเข้ามา เดินหน้าประเทศไม่ได้ แล้วใครจะทำ ถ้าทำได้ ไม่มีใครอยากเข้ามายุ่งอยู่แล้ว" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว 

เมื่อถามว่า นายกฯเตรียมมาตรการรับมือไว้หรือยังหากเสียงส่วนใหญ่ไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ถ้าไม่ยอมรับ ประเทศไทยก็อยู่กันไม่ได้ ก็ว่ากันไป 

ร่วมตายกันมา-ไม่ปรับครม.

เมื่อถามถึงกระแสข่าวการปรับ ครม. พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ยังไม่ได้ปรับอะไรเลย ยังไม่ได้สั่ง ในที่ประชุม ครม.ได้ให้กำลังใจ และขอบคุณทุกคนที่ร่วมเป็นร่วมตายมาด้วยกัน เมื่อถามว่า มีกระทรวงไหนที่ต้องเสริมทัพหรือไม่ 

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ทุกคนต้องช่วยกันทุกฝ่าย ถ้าดูโพลสำรวจ ฝ่ายความมั่นคงโอเค ใช้อำนาจ ใช้กฎหมายจัดระเบียบดูดี เหตุการณ์ต่างๆ ลดลง ก็ได้คะแนนดี ส่วนฝ่ายเศรษฐกิจแย่ เพราะเศรษฐกิจโลกแย่ลง ทำให้ในประเทศแย่ลง แต่อยากจะขอร้อง ถ้าพูดว่าแย่ๆ ทุกวัน จะยิ่งทำให้แย่ตามปากตัวเอง ประชาชนจะตื่นตระหนก ไม่กล้าใช้เงิน ทั้งๆ ที่คนไทยมีเงิน ใครว่าคนไทยไม่มีเงิน พวกที่นั่งอยู่ตรงนี้มีเงินน้อยกว่า 500 บาทในกระเป๋าหรือไม่ ต้องมีเงินทุกคน แต่จะกล้าใช้หรือไม่ ถ้าบอกว่าวันนี้เศรษฐกิจจะเป็นอย่างนี้ ก็ไม่กล้าใช้ เมื่อถามว่า จะปิดตายคำว่า "ปรับ ครม." จะไม่มีอีกแล้วใช่หรือไม่ นายกฯกล่าวว่า "อย่ามาถามผมอย่างนั้น ถ้าจำเป็นต้องทำก็ต้องทำ" 

"กอบศักดิ์"นั่งกมธ.ยกร่างฯ

ที่รัฐสภา น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธาน สปช. ทำหน้าที่ประธานการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) พิจารณาวาระให้ความเห็นชอบรายชื่อผู้ที่เหมาะสมจะเป็นคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ เนื่องจาก กมธ.ยกร่างฯมีหนังสือแจ้งว่านางทิชา ณ นคร สมาชิก สปช.ได้ขอลาออกจาก กมธ.ยกร่างฯมีผลตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม สปช.จึงต้องดำเนินการเลือกผู้ที่จะเข้าทำหน้าที่แทนตำแหน่งที่ว่าง 1 ตำแหน่ง

โดย น.ส.ทัศนาได้เปิดโอกาสให้สมาชิกได้เสนอผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ กมธ.ยกร่างฯ โดยนายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา สปช.ด้านการเมือง ได้เสนอชื่อ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล สปช.ด้านเศรษฐกิจ นายสุชาติ นวกวงษ์ สปช.ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เสนอชื่อ นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา สปช.ด้านสังคม นายจุมพล สุขมั่น สปช.เชียงราย เสนอชื่อ นางจุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์ สปช.เชียงใหม่ และ พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ สปช.ด้านอื่นๆ เสนอชื่อนายอมร วาณิชวิวัฒน์ สปช.ด้านการเมือง โดยที่ประชุมได้ให้ผู้ถูกเสนอชื่อทั้ง 4 คน แสดงวิสัยทัศน์แบบสั้นๆ โดยนายอมรได้มอบหมายให้ พล.อ.เอกชัยอ่านวิสัยทัศน์แทน เพราะไม่ได้อยู่ในที่ประชุมเนื่องจากเป็นไข้หวัดจึงพูดไม่สะดวก

จากนั้น เป็นการลงคะแนนลับด้วยการขานชื่อ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ในที่สุดมีมติเลือกนายกอบศักดิ์ ด้วยคะแนน 119 คะแนน นางจุไรรัตน์ 67 คะแนน นางศิรินา 26 คะแนน และนายอมร 8 คะแนน บัตรเสีย 9 คะแนน ทั้งนี้ หากผู้ที่ได้รับเลือกเป็น กมธ.ยกร่างฯขาดคุณสมบัติให้ผู้ที่ได้รับคะแนนเสียงในลำดับถัดไปได้รับเลือกแทน

วิปสนช.แนะ"เครือญาติ"ลาออก 

ที่รัฐสภามีการประชุมวิป สนช. จากนั้น 

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 ให้สัมภาษณ์ว่าได้มีการหารือถึงกรณีที่สมาชิกแต่งตั้งคนใกล้ชิดเครือญาติเข้ามาช่วยงานในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ผู้ชำนาญการและผู้ช่วยดำเนินงานที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ แม้ว่าไม่มีอะไรขัดหรือแย้งกับระเบียบ แต่เมื่อสังคมได้ทักท้วงถึงความเหมาะสม ซึ่ง สนช.น้อมรับข้อวิจารณ์ของสังคม จึงเห็นควรให้ สนช.เป็นสภาตัวอย่างเพื่อไม่ให้สังคมสงสัยถึงความเหมาะสม วิป สนช.จึงได้ให้คำแนะนำว่า สนช.ที่ได้ตั้งบุคคลใกล้ชิดและเครือญาติมาช่วยงานในตำแหน่งดังกล่าวให้ปรับออกทั้งหมดโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา เพื่อหวังว่าสมาชิกจะดำเนินการเพื่อสร้างบรรทัดฐานที่ดีขึ้นทางการเมือง

"จากการชี้แจงของ สนช.หลายคนถึงเหตุผลการตั้งคนในครอบครัวมาช่วยงาน เนื่องจากบางคนอยู่ต่างจังหวัด เมื่อมาทำงานในกรุงเทพฯก็จำเป็นต้องมีคนทำงานด้านมวลชนในพื้นที่ อีกทั้งยังมีเหตุผลทางด้านการเมืองและมีข้อมูลที่เป็นความลับ จึงจำเป็นต้องตั้งคนที่ไว้ใจได้ไม่เช่นนั้นความลับจะรั่วไหล ประกอบกับเงินเดือนประจำตำแหน่งต่างๆ น้อยเกรงว่าจะไม่มีใครยอมมาทำงานให้ จึงจำเป็นต้องตั้งคนใกล้ชิด เมื่อสังคมตั้งข้อสังเกตถึงความไม่เหมาะสมเราก็ต้องแสดงสปิริต และต่อไปในอนาคตหากมีการปฏิรูปก็ควรกำหนดเป็นระเบียบให้ชัดเจนจะได้ไม่ต้องเถียงกันว่าขัดหรือไม่" นายสุรชัยกล่าว 

นายสุรชัยกล่าวว่า เบื้องต้นเพื่อให้เกิดผลรวดเร็วให้สมาชิกดำเนินการตามคำแนะนำของวิป สนช. เชื่อว่าจะไม่มีใครขัดข้อง ขณะนี้มีสมาชิกบางส่วนเริ่มทยอยให้คนใกล้ชิดลาออกจากตำแหน่งต่างๆ ไปบ้างแล้ว รวมทั้งให้เลขาธิการ สนช.ตรวจสอบข้อมูลว่ามีสมาชิกใดแต่งตั้งในลักษณะดังกล่าวอีก ส่วนที่มีการร้องต่อ ป.ป.ช. นายสุรชัยกล่าวว่า "ไม่กังวล เพราะเป็นเรื่องความเหมาะสมหรือไม่ และยังไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ได้แสดงสปิริตแล้ว จึงไม่มีอะไรต้องให้น่าวิตกกังวล" 

สนช.เปิดคุณสมบัติผู้ช่วยฯ 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ สนช. http://www.senate.go.th/w3c/senate/main.php เผยแพร่ประกาศ สนช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติงานให้แก่สมาชิก สนช. ประกาศวันที่ 12 สิงหาคม 2557 ลงนามโดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2557 โดยระบุว่า การแต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติงานให้แก่สมาชิก สนช.แต่ละคนตามประกาศนี้ ได้แก่การแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ 1.ผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิก สนช. 2.ผู้ชำนาญการประจำตัวสมาชิก สนช. 3.ผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิก สนช. โดยต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม คือ มีสัญชาติไทย ผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิก สนช. ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ผู้ชำนาญการประจำตัวสมาชิก สนช. ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิก สนช.ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี คุณสมบัติเฉพาะตัวสำหรับผู้เชี่ยวชาญประจำตัวสมาชิก สนช. 

ต้องมีคุณวุฒิสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกและมีประสบการณ์เกี่ยวกับงานที่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ให้สมาชิก สนช.มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี ระดับปริญญาโท ต้องมีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปี และระดับปริญญาตรีต้องมีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี ส่วนตำแหน่งผู้ชำนาญการประจำตัวสมาชิก สนช.ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และมีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 3 ปี ส่วนตำแหน่งผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิก สนช. ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป ระดับปริญญาตรีต้องมีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 4 ปี 

ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง (ปวส.) มีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 4 ปี ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ต้องมีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี และสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต้องมีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 7 ปี

"นพ.เจตน์"ให้ลูกลาออกแล้ว 

นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิก สนช. กล่าวว่า เป็นหนึ่งใน สนช.ที่ตั้งลูกสาวมาช่วยงาน แต่ได้ลาออกจากตำแหน่งไปแล้วเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ เพราะต้องไปผู้ช่วยผู้พิพากษา เรื่องนี้ถือว่าจบไปแล้ว จากนี้คงไม่ตั้งลูก เมีย ญาติเข้ามาทำงาน มิเช่นนั้นคงถูกโจมตีหนัก 

นายตวง อันทะไชย สมาชิก สนช. ที่ตั้งบุตรชายมาช่วยงาน กล่าวว่า ที่ผ่านมา ส.ส.และ ส.ว.ก็ทำ แต่ทำไมไม่มีใครออกมาพูด มาพูดตอนนี้มีวาระซ่อนเร้นอะไร ต้องการทำลายความเชื่อมั่น สนช.ใช่หรือไม่ เป็นกระบวนการทำลายล้าง ลูกชายจบรัฐประศาสนศาสตร์ ให้มาทำงานในพื้นที่แทนทุกเรื่อง งานบวช งานแต่ง งานศพ ขึ้นบ้านใหม่ ผู้แทนอื่นๆ ก็ทำแบบนี้ ถ้าบอกว่าไม่ดีก็ยกเลิก งานนี้ไม่มีใครอยากทำหรอก ได้เงินเดือน 14,000 บาท ใช้ลงพื้นที่สองสัปดาห์ก็หมดแล้ว ให้คนอื่นมาทำไม่มีใครเอา ถ้าไม่อยากให้ตั้งก็ตัดออก อยากได้ของดีราคาถูก โลกนี้มีที่ไหน 

สปช.ไม่เปิดข้อมูลแต่งตั้ง 

รายงานข่าวแจ้งว่า มี สปช.จำนวนไม่น้อยที่มีการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญประจำตัว ผู้ชำนาญการประจำตัว ผู้ช่วยดำเนินงาน และมีผู้ที่ตั้งครอบครัวตัวเองมาปฏิบัติหน้าที่ เช่นเดียวกับ สนช. แต่ข้อมูลในส่วนนี้ของ สปช.ถูกปิดเป็นความลับ ไม่เปิดเผยอย่าง สนช. ที่มีการเปิดเผยข้อมูลในเว็บไซต์ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

สนช.ตั้งเมียนั่ง3ตำแหน่ง 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบจากข้อมูลจากเว็บไซต์สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในส่วนของ สนช. พบว่า พล.ร.อ.ธราธร ขจิตสุวรรณ ได้เสนอแต่งตั้ง พล.ร.ต.หญิง พวงพลอย ขจิตสุวรรณ ภรรยา นั่ง 3 ตำแหน่ง คือ ผู้ช่วยประจำตัว สนช. เงินเดือน 15,000 บาท ตำแหน่งผู้ชำนาญการประจำตัว สนช. เงินเดือน 20,000 บาท และตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจำตัว เงินเดือน 24,000 บาท นอกจากนี้ยังตั้งบุตรสาว ร.ต.หญิง อนพัทย์ ขจิตสุวรรณ เป็นผู้ชำนาญการประจำตัว เงินเดือน 20,000 บาท เท่ากับว่า พล.ร.อ.ธราธรมีผู้ชำนาญการประจำตัว 2 คน รับเงินเดือนรวมกัน 79,000 บาท เฉพาะ พล.ร.ต.หญิง พวงพลอย รับ 59,000 บาท

นอกจากนี้ยังพบว่า พล.อ.องอาจ พงษ์ศักดิ์ ตั้งนายวิศิษฎ์ พงษ์ศักดิ์ เครือญาติดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจำตัว เงินเดือน 24,000 บาท และตั้งนายภมร พงษ์ศักดิ์ เครือญาติดำรงตำแหน่งผู้ช่วยประจำตัว เงินเดือน 15,000 บาท ขณะที่ พล.อ.ชุมนุม อาจวงษ์ แต่งตั้ง น.ส.ภิญญาพัชญ์ อาจวงษ์ บุตรสาว ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยประจำตัว เงินเดือน 15,000 บาท และ น.ส.สุลัยพักตร์ อาจวงษ์ บุตรสาว ดำรงตำแหน่งผู้ชำนาญการประจำตัว เงินเดือน 20,000 บาท อีกทั้งนายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล แต่งตั้ง น.ส.นิอาอีดา นราพิทักษ์กุล บุตรสาว เป็นผู้ช่วยประจำตัว เงินเดือน 15,000 บาท และนายนภัทรพี นราพิทักษ์กุล บุตรชาย เป็นผู้ชำนาญการประจำตัว เงินเดือน 20,000 บาท

"ลดาวัลลิ์"ผิดหวังไม่ให้ผู้หญิง 

นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในฐานะนายกสมาคมพัฒนาบทบาทและศักยภาพสตรีไทย กล่าวว่า รู้สึกผิดหวัง สปช. ไม่ดึงเก้าอี้ไว้ให้สตรี ลงคะแนนให้ 

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล สปช. นั่งเก้าอี้แทนนางทิชา ณ นคร แสดงว่า สปช.ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อสตรีไทยในทางการเมืองการปกครองเลย แทนที่จะพิจารณาเลือกเอาสตรีคนใดคนหนึ่งเข้าไปทำหน้าที่แทน น่าเสียดายที่สัดส่วน สปช.สตรีต้องลดลงไปอีกหนึ่ง 

พท.โวยรธน.ซ่อนเผด็จการ 

นายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ผ่านกฎหมายตั้งสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ว่า เป็นตัวแทนของกลุ่มผู้มีอำนาจที่หวังใช้คนกลุ่มนี้ ควบคุมกลไกของประเทศ ตั้งขึ้นมาเพื่อหวังคุมกลุ่ม ส.ว.ที่พวกเขาจะตั้งขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง เพราะ ส.ว.จะเป็นกลไกหนึ่งที่ใช้จัดการกับรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตยได้ รวมทั้งสามารถควบคุมกลไกข้าราชการ ใช้ถอดถอนข้าราชการที่ไม่ฟังคำสั่ง ดังนั้น หาก ส.ว.คนไหนแหกคอกหรือคุมไม่ได้ จะได้ใช้สมัชชาคุณธรรมฯเข้ามาจัดการโดยอ้างว่าผิดคุณธรรม จริยธรรม เพราะที่ผ่านมาก่อนหน้านี้มี ส.ว.ที่ร่วมแก้รัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ จะเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ซ่อนกลไกควบคุมอำนาจไว้หลายชั้น เป็นระบบซ่อนรูปเผด็จการเพื่อใช้จัดการกับฝ่ายประชาธิปไตย เป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขไม่ได้

ร้องปปช.ปมสนช.ตั้งลูก-เมีย 

ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการ ป.ป.ช.ขอให้ไต่สวนสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กว่า 50 คน กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและขัดแย้งต่อจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างร้ายแรง กรณีเสนอชื่อเครือญาติต่อสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในฐานะสำนักเลขาธิการ สนช. เข้ารับการแต่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ และผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัวสมาชิก สนช. ถือเป็นการดำเนินการหรือมีพฤติกรรมเข้าข่ายมีผลประโยชน์ทับซ้อนต้องห้ามตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551 ประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ พ.ศ.2553 และเข้าข่ายทุจริตต่อหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเพิ่ม และขอให้ไต่สวนนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ในฐานะใช้อำนาจออกประกาศและนางนรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการ สนช. ในฐานะผู้ลงนามแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ และผู้ช่วยดำเนินงานประจำตัวสมาชิก สนช.

จี้สนช.ตั้งกก.สอบโดยเร็ว

นายศรีสุวรรณกล่าวว่า สนช.ชุดนี้เป็นดรีมทีมของประชาชนในการปฏิรูปการเมืองไม่ให้กลับไปสู่วังวนน้ำเน่าเหมือนนักการเมืองในอดีต ดังนั้น ควรเป็นแบบอย่างที่ดี สิ่งที่สมาคมมาร้องครั้งนี้หวังว่าจะนำไปสู่การแก้ไขเพื่อไม่ให้เหตุกาณ์แบบนี้เกิดซ้ำอีก หากมีการไต่สวนแล้วพบความผิด ป.ป.ช.มีอำนาจนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อฟ้องร้องบุคคลเหล่านี้ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รวมทั้งเรียกคืนเงิน ส่วนกรณี สนช.ระบุการตั้งเครือญาติ

ไม่ขัดต่อหลักกฎหมายนั้น กฎหมายที่ตนอ้างต่อ ป.ป.ช.เขียนไว้ชัดเจนว่าห้ามแต่งตั้งเครือญาติ หากมาอ้างว่าไม่ผิดจะอธิบายสังคมอย่างไร และงงเหมือนกันที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พูดว่าไม่ผิด แปลกใจ

นายกฯเข้าใจกฎหมายมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม ขอให้ สนช.ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบจริยธรรมโดยเร็ว และมีข้อสรุปภายใน 1 เดือนเพราะยิ่งช้าผลเสียจะเกิดขึ้นกับ สนช.ทั้งหมด

ชี้แสดงสปิริตเป็นจิตสำนึก

เมื่อถามว่า เครือญาติเหล่านี้ควรจะลาออกจากตำแหน่งผู้ชำนาญการต่างๆ เพื่อแสดงสปิริตหรือไม่ นายศรีสุวรรณกล่าวว่า เป็นจิตสำนึกของแต่ละคนที่จะกระทำหรือไม่ เพราะรู้อยู่แล้วว่าตัวเองเข้ามาทำงานตามวัตถุประสงค์หรือไม่ การอ้างเรื่องคนที่ไว้วางใจนั้น คิดว่าบุคคลที่มีความรู้ความสามารถหรือสนิทชิดเชื้อน่าจะมีจำนวนมาก ไม่ใช่มีเฉพาะเครือญาติของตัวเอง เมื่อถามว่า การกระทำดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความรับผิดชอบต่อสังคมหรือไม่ นายศรีสุวรรณกล่าวว่า ข้ออ้างของการปฏิรูปเป็นเพียงข้ออ้างธรรมดา ไม่สะท้อนความจริงที่ปรากฏต่อสังคม เป็นการผลัดกันเกาหลัง ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันไป เข้ามาสู่แวดวงอำนาจโดยใช้ข้ออ้างต่างๆ นานา แต่ข้อเท็จจริงคือไม่ต่างอะไรจากนักการเมืองเดิมๆ ในอดีตที่ผ่านมาที่เข้ามาสู่อำนาจและทำผิดกฎหมาย การคอร์รัปชั่น เมื่อถามว่า จะทำให้ประชาชนเชื่อมั่นในการปฏิรูปประเทศได้อย่างไร นายศรีสุวรรณกล่าวว่า สนช.ต้องแสดงสปิริต แนะให้ภรรยา พี่น้อง และบุตรของตัวเองลาออกไปเสีย เพื่อรักษาชื่อเสียงของ สนช. 

ป.ป.ช.โบ้ยเรื่องผู้ตรวจฯ

นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า คงต้องดูในรายละเอียดว่าเหตุที่จะยื่นนี้อยู่ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช.หรือไม่ เช่น ที่อ้างว่าเป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์หรือไม่ ต้องดูกฎหมาย ป.ป.ช. โดยหากพูดถึงมาตรา 100 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 จะกำหนดไว้เพียงนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ผู้บริหารท้องถิ่น และรองผู้บริหารท้องถิ่น ไม่ได้กำหนดรวมถึง ส.ส. ส.ว. และ สนช. เมื่อพูดถึงกฎหมายว่าด้วยการขัดกันของประโยชน์เพียงอย่างเดียว ยังไม่มีกฎหมาย ป.ป.ช.รองรับ 

"เรื่องคุณธรรมจริยธรรมไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบของ ป.ป.ช. แต่เป็นหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่เมื่อร้องเรียนเข้ามา ป.ป.ช.จะพิจารณา ซึ่งการที่จะตรวจสอบคุณธรรมจริยธรรมนั้น ผู้ตรวจการฯได้ดำเนินการสืบสวนหาข้อมูล เมื่อพบว่าผิดจะส่งให้สภาดำเนินการถอดถอน ฉะนั้นหน้าที่เราในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการขัดกันของผลประโยชน์ กฎหมายยังไม่ได้รองรับ" นายสรรเสริญกล่าว 

สำนวน250อดีตส.ส.ไม่เสร็จ

นายสรรเสริญกล่าวถึงความคืบหน้าการพิจารณารับรองมติคณะอนุไต่สวน ป.ป.ช. กรณีถอดถอนอดีต ส.ส. 250 คน กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว.ว่า จากเดิมที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้นัดประชุมพิจารณาสำนวนคดีถอดถอนอดีต 250 ส.ส. ในวันที่ 3 มีนาคม แต่เนื่องจากมีเหตุขัดข้อง คือเจ้าหน้าที่ที่เป็นเจ้าของสำนวนยังไม่สามารถสรุปสำนวนได้เรียบร้อย ดังนั้นจึงมีความเห็นว่าจะนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมอีกครั้งวันที่ 12 มีนาคมนี้ ทั้งนี้ ยังรวมถึงกรณีอดีต 5 ส.ส.ที่จะดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาเสียบบัตรแทนกันและปลอมแปลงร่างรัฐธรรมนูญด้วย 

สำหรับการส่งหนังสือแจ้งข้อกล่าวหากรณีสลายการชุมนุมเมื่อปี 2553 ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีนั้น ทาง ป.ป.ช.ได้รับการประสานมาแล้วว่าจะส่งผู้แทนมารับหนังสือบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา เพื่อนำไปให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบในวันที่ 10 มีนาคมนี้ โดยหลังจากนั้นผู้ถูกกล่าวหาจะต้องเข้ามาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในระยะเวลา 15 วัน 

"ประวิตร"โยน"มาร์ค"สั่งสลายม็อบ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวกรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลการสลายการชุมนุมของเสื้อแดงเมื่อปี 2553 ว่า ถ้ากฎหมายว่าอย่างไรก็ทำตามนั้น ว่าไปตามกฎหมาย ส่วนจะส่งเอกสารไปชี้แจงหรือไม่นั้น ขอให้เป็นไปตามกฎหมาย หากให้ทำอย่างไร 

จะตัดสินใจ เมื่อถามว่าจะมีการชี้แจงหรือไม่ว่า ที่ต้องใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมปี 2553 เพราะม็อบมีกำลังติดอาวุธ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า "วันนั้นผมไม่ได้เป็นผู้ตัดสินใจ ต้องเข้าใจอย่างนี้ ถ้าผมเป็นผู้ตัดสินใจแล้วผมจะเป็นคนบอก คนที่ตัดสินใจคือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ ผมไม่ได้อยู่ในกระบวนการตัดสินใจ แต่ผมร่วมรู้เห็น ต้องไปถามท่านถึงจะตอบได้ดี"

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!