WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 24 ฉบับที่ 8870 ข่าวสดรายวัน


บิ๊กตู่เด้งนพ.ณรงค์ พ้นปลัด ม็อบสธ.ต้านทันที 
สนช.ลงมติ-ถอด 38 สว. 4 กลุ่ม-ส่อรอดทั้งหมด ประยุทธ์ถกแม่น้ำ 5 สาย เลิกใช้ลงเรือลำเดียวกัน เปลี่ยน'ซื้อรถใหม่'แทน

      'บิ๊กตู่'เซ็นเองเชือด'หมอณรงค์'พ้นปลัดสาธารณสุข พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงซ้ำ เผยให้เวลา 8 เดือนไปแก้ปัญหาพูดคุยกัน สุดท้ายพูดกันไม่เข้าใจจึงต้องแก้ปัญหาเอง ขณะที่ประชาคมสาธารณสุขลุกฮือคัดค้าน พร้อมบุกกระทรวงขอความเป็นธรรม ลั่นข้าราชการต้องมีที่ยืน สนช.นัดลงมติวันนี้ ถอดถอน 38 ส.ว.ร่วมลงชื่อแก้รธน. ส่อฉลุยทั้งหมด ระบุ รธน.ยกเลิกแล้ว เอาผิดไม่ได้ ด้านรบ.ได้ข้อสรุปฟ้องแพ่งจำนำข้าว ให้คลังฟ้อง'ยิ่งลักษณ์'ส่วนพาณิชย์ฟ้อง'บุญทรง' เพื่อไทยยื่นฟ้องศาลปกครองหยุดป.ป.ช.ไต่สวน 250 ส.ส. กรณีแก้รธน. พร้อมขอให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ประยุทธ์ประชุมแม่น้ำ 5 สาย ปลื้มทุกฝ่ายร่วมกันทำงาน ตั้งแต่นี้ให้เลิกเรียกลงเรือลำเดียวกัน ใช้ซื้อรถคันใหม่แทน ยืนยันไม่สืบทอดอำนาจ 

ปปช.แถลงปิดคดีถอดถอน 30 สว.

      เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 11 มี.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาดำเนินการถอดถอนอดีต 38 ส.ว. กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาส.ว.โดยมิชอบ โดยเป็นขั้นตอนการแถลงปิดสำนวนคดีด้วยวาจา ของคู่ความ คือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจิตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) และอดีต 38 ส.ว. 

       นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการป.ป.ช. แถลงปิดสำนวนคดีว่า การถอดถอนอดีต 38 ส.ว. นั้น ป.ป.ช.ไม่รู้สึกผิดหรือบาป เพราะ ป.ป.ช. พิจารณาใคร่ครวญในทำนองเดียวกับการพิจารณาของศาล เป็นหลักประกันว่า ผู้บริสุทธิ์จะไม่ถูกชี้มูล ซึ่งกรณีอดีต 38 ส.ว.เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พบว่าร่างรัฐธรรมนูญที่อดีต 38 ส.ว.พิจารณาลงมติในวาระ 1-3 เป็นคนละฉบับกับร่างที่เข้าชื่อเสนอร่วมกับนายอุดมเดช รัตนเสถียร อดีตส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2556 โดยมีการแก้ไขหลักการสำคัญคือ มีการแถมมาตรา 6 ให้อดีต ส.ว.ลงสมัคร ส.ว.อีกสมัยได้ โดยไม่ต้อง เว้นวรรค

     นายวิชัย กล่าวว่า จากการไต่สวนมีคำยืนยันจากเจ้าหน้าที่รัฐสภาว่า มีผู้ช่วยของนายอุดมเดช นำร่างรัฐธรรมนูญใหม่มาสับเปลี่ยนกับร่างเดิม เมื่อวันที่ 27 มี.ค. ทำให้กระบวนการแก้ไขไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ถือว่าครบองค์ประกอบความผิดตามรัฐธรรม นูญมาตรา 291 เพราะร่างที่ใช้ลงมติ เสนอโดยผู้ช่วยของนายอุดมเดช ซึ่งไม่มีสิทธิขอยื่นแก้ไข เพราะผู้ที่จะเสนอขอแก้ไขได้ต้องเป็นสมาชิกรัฐสภา อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมีการปกปิดข้อเท็จจริง ไม่แจ้งให้สมาชิกทราบว่ามีการเปลี่ยนร่างใหม่ แต่นำร่างฉบับใหม่มาใช้ลงมติแทนฉบับเดิม 

อ้างเสียงข้างมากไม่ฟังข้างน้อย

     นายวิชัย กล่าวว่า ส่วนที่อดีต 38 ส.ว. อ้างหลักกระบวนการทางนิติบัญญัติให้นำร่างกฎหมายฉบับใหม่มาแทนฉบับเก่าได้ ก่อนบรรจุเข้าสู่วาระนั้น หลักกระบวนการทางนิติบัญญัติเป็นคนละอย่างกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่มีผลบังคับใช้จริงๆ โดยเป็นแค่แนวทางการตีความเท่านั้น ไม่มีผลบังคับใช้ การอ้างหลักกระบวนการทางนิติบัญญัติไม่ช่วยให้พ้นผิด แต่ทำร้ายตัวเองมากกว่า สิ่งที่อดีตส.ว. 38 คนอ้างนั้น เข้าใจผิดขั้นตอนเชิงรูปแบบ เมื่อเชิงรูปแบบผิดแล้ว ก็จะเสียไปทั้งหมด

     "ประชาธิปไตยเหมือนเหรียญ 2 ด้าน ด้านหนึ่งคือเสียงข้างมาก แต่อีกด้านต้องไม่ละทิ้งเสียงข้างน้อย จึงต้องทำไม่ให้เสียงข้างน้อยถูกข่มเหงโดยเสียงข้างมาก เหตุการณ์วุ่นวายในประเทศจนถึงก่อนรัฐประหาร ไม่ได้เกิดจากผู้ปกครองข่มเหงผู้ถูกปกครอง แต่เกิดจากเสียงข้างมากไม่ฟังเสียงข้างน้อย เสียงข้างน้อยถูกย่ำยี เช่น การออกกฎหมายนิรโทษกรรมสุดซอย การทุจริตจำนำข้าว ซึ่งกระบวนการถอดถอน ถือเป็นการควบคุมเสียงข้างมาก ไม่ให้ลำพองใจ ดังนั้น การลงมติ สนช.จะกดปุ่มใดก็เป็นดุลยพินิจ แต่ในฐานะกรรมการ ป.ป.ช. ขอให้พิจารณาสิ่งที่กราบเรียนมาทั้งหมดด้วย" นายวิชัยกล่าว

อดีตสว.โต้กลับ-ปปช.ไม่ถูกกม.

จากนั้นกลุ่มอดีต 38 ส.ว.มอบให้นายกฤช อาทิตย์แก้ว อดีตส.ว.กำแพงเพชร นายวิทยา อินาลา อดีตส.ว.นครพนม และนายดิเรก ถึงฝั่ง อดีตส.ว.นนทบุรี แถลงปิดดคี เริ่มจากนายกฤชแถลงว่า ทั้ง 38 ส.ว.ขอยืนยันว่าไม่เคยใช้อำนาจกระทำการขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งข้อกล่าวหาของป.ป.ช.นั้นไม่ชอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาของส.ว. ว่าด้วยข้อกำหนดของผู้ร้องถอดถอน ที่ต้องลงชื่อ วันเวลา ผู้ร้อง รวมถึงตำแหน่งขณะยื่นถอดถอน การยื่นคำร้องของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตผู้นำฝ่ายค้านและพวกจึงไม่เป็นไปตามระเบียบของวุฒิสภาและพ.ร.บ.ว่าด้วยป.ป.ช. มาตรา 61 และ 62

นายกฤชกล่าวว่า การปฏิบัติหน้าที่ของ กรรมการป.ป.ช.ก็มีปัญหา ทั้งกรณีนายภักดี โพธิศิริ ที่ไม่ถือว่าเป็นกรรมการป.ป.ช. เนื่องจากขาดคุณสมบัติ แต่กลับมาร่วมพิจารณาลงนามถอดถอน ส่วนน.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการป.ป.ช.ที่ร่วมลงนามเอกสารเข้าร่วมประชุมสำนวนถอดถอนพวกตน ก่อนได้รับการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ซึ่งนายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการป.ป.ช.ก็ยอมรับว่าเป็นความผิดทางเอกสารของฝ่ายธุรการ โดยอ้างว่าเป็นความผิดเล็กน้อย แต่ตนมองว่าผิดเล็กน้อยก็ถือว่าเป็นความผิด เพราะป.ป.ช. คือองค์กรที่จะอำนวยความยุติธรรมให้ข้าราชการและนักการเมือง

นายกฤชกล่าวว่า ป.ป.ช.ยังประชุมเรื่องนี้เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 56 ก่อนที่ประธานวุฒิสภาจะยื่นคำร้องถึงป.ป.ช.ในวันที่ 6 ธ.ค. 56 ทำไมป.ป.ช.จึงประชุมล่วงหน้าได้ทั้งที่ยังไม่ได้รับเรื่อง สรุปได้ว่ากระบวนการไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรรมการป.ป.ช.มีอคติ ไม่รอบคอบ ยืนยันว่าไม่เคยคิดล้มล้างการปกครองตามที่ถูกกล่าวหา เพราะพวกเรามาจากพลเรือน ตำรวจ ทหาร และข้าราชการ เหมือนสมาชิกสนช.ทุกคน

ย้ำอีกร่างแก้ไขรธน.มีร่างเดียว

ด้านนายวิทยาชี้แจงว่า ร่างที่เข้าสู่การประชุมวาระ 1 รับหลักการ กับร่างที่ส.ส. ส.ว. 308 คนร่วมกันเสนอตอนแรกนั้น มีเพียงร่างเดียว เห็นได้จากการลงนามกำกับที่มีครั้งเดียวไม่ใช่ 2 ครั้ง เป็นไปตามมาตรา 291 ซึ่งฝ่ายเลขาฯของวุฒิสภาตรวจสอบแล้วว่าถูกต้องทั้งหมด จากนั้นประธานรัฐสภาบรรจุเข้าสู่วาระ ซึ่งเพิ่มจากครั้งที่นำเสนอ 12 มาตรา เป็น 13 มาตรา ผู้เสนอกฎหมายได้อ่านหลักการนำเสนอต่อสมาชิกรัฐสภาทุกคนให้ทราบว่า จะแก้ไข 13 มาตรา ครอบคลุมที่มาส.ว.ในมาตราใดบ้าง เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาปี 2553 ข้อ 36 และข้อ 86

นายวิทยากล่าวว่า การลงมติทั้ง 3 วาระของสมาชิกรัฐสภาย่อมได้เอกสิทธิ์คุ้มครอง ไม่อาจนำไปฟ้องร้องได้ตามมาตรา 130 แต่ดูเหมือนว่าป.ป.ช.ยังไม่เข้าใจกระบวนการลงมติเห็นชอบให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มีความสำคัญอยู่ที่วาระ 3 ยืนยันว่าเรามีร่างแก้ไขฉบับเดียวและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาและรัฐธรรมนูญ 2550 ขณะที่การชี้มูลความผิดของป.ป.ช.มายังสนช.เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 57 ตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 จะเห็นว่าคสช.ได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 ไปก่อนแล้ว กระบวนการกล่าวหาบุคคลว่ามีความผิดต้องยึดรัฐธรรมนูญ เราทำหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดทุกประการ อีกทั้งเมื่อบทลงโทษตายไปแล้ว สำนวนชี้มูลความผิดทั้งหมดก็ต้องยกเลิกไปด้วย

"วันที่ 31 ธ.ค. 58 ไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียน แต่หากฝ่ายนิติบัญญัติดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่มี แต่ป.ป.ช.กลับทำอย่างนี้ ประเทศเพื่อนบ้านจะเชื่อใจเราได้อย่างไร จึงไม่แน่ใจว่ากระบวนการถอดถอนมีประ สงค์ดีหรือประสงค์ร้าย พยายามดิสเครดิตฝ่ายนิติบัญญัติหรือไม่ แต่เชื่อว่าสมาชิกสนช.ยังมีความเป็นธรรมอยู่" นายวิทยากล่าว

ยืนยันมีอำนาจแก้ไขกฎหมาย

จากนั้นนายดิเรกแถลงปิดท้าย 4 ประเด็นว่า 1.ประเพณีปฏิบัติที่ฝ่ายนิติบัญญัติทำมา 82 ปี สอดคล้องตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ คือร่างกฎหมายใดที่ประธานรัฐสภายังไม่ได้บรรจุไว้ในวาระการประชุมสามารถแก้ไขได้ แต่เมื่อบรรจุเข้าวาระแล้วจะแก้ไม่ได้ ที่ผ่านมากฎหมายจำนวนมากก็แก้ไขแบบนี้ 2.การร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญของพวกตนเป็นไปอย่างชอบธรรมตามมาตรา 291 ทั้งยังเป็น 1 ในแนวทางของคณะกรรมการสมานฉันท์ที่เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเคยดำเนินการในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ แก้ไขในส่วนของส.ส. นอกจากนี้ยังมีมาตรา 130 คุ้มครองเอกสิทธิ์การทำหน้าที่ของพวกเราชัดเจน สอดคล้องกับโพลที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าส.ว.ควรมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เพราะส.ว.มีอำนาจมาก ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตั้งแต่นายกฯ รัฐมนตรี จึงต้องยึดโยงกับประชาชน และศาลรัฐธรรมนูญให้คำแนะนำว่าไม่ควรแก้ทั้งฉบับ แต่ควรแก้เป็นรายมาตรา เราก็ทำตาม

นายดิเรกกล่าวว่า 3.เรามีอำนาจหน้าที่โดยตรงว่าต้องแก้กฎหมาย กลั่นกรองกฎหมาย การแก้รัฐธรรมนูญที่ให้ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง จึงไม่ใช่ผลประโยชน์ทับซ้อน อีกทั้งเรายังไม่ได้รู้ผลเลยว่า เมื่อเลือกตั้งส.ว.อีกครั้งประชาชนจะรับเลือกเรากลับมา ข้อกล่าวหานี้จึงไม่เข้าองค์ประกอบความผิด 4.เมื่อรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกแล้วก็ไม่ต้องพิจารณาต่อไป ที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่าเมื่อรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกแล้วก็ไม่ต้องวินิจฉัย เมื่อดูตามมาตรา 216 กำหนดว่าคำวินิจฉัยศาลผูกพันทุกองค์กร เมื่อศาลสั่งยุติการวินิจฉัยแล้ว ต้องผูกพันกับสนช.ที่ทำหน้าที่รัฐสภาด้วย 

สนช.ใช้บัตรถอดถอน4ใบ4สี 

หลังทั้ง 2 ฝ่ายแถลงปิดคดีเสร็จ นายพรเพชรแจ้งต่อที่ประชุมว่า ตนมีคำสั่งนัดประชุมสนช.เพื่อลงมติถอดถอนหรือไม่ถอดถอน 38 อดีตส.ว. ในวันที่ 12 มี.ค. เวลา 10.00 น. ซึ่งการถอดถอนเป็นเรื่องสำคัญ ขอให้สมาชิกมาใช้สิทธิลงคะแนน ส่วนจะลงอย่างไรก็ได้

จากนั้นนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช.คนที่ 1 ชี้แจงการลงมติถอด ถอนหรือไม่ถอดถอนว่าจะแบ่งเป็น 4 กลุ่มความผิด เป็นบัตร 4 ใบ 4 สี แล้วให้สมาชิกลงคะแนนลับ 

นายสุรชัยกล่าวถึงว่า ขั้นตอนจะเหมือนการลงมติถอดถอนที่เคยผ่านมา คือลงมติแบบลับในคูหา ผู้ทำหน้าที่เลขาฯในที่ประชุมจะขานชื่อสมาชิกเพื่อรับบัตรแล้วเข้าคูหา ซึ่งกรณีนี้มีผู้ถูกกล่าวหา 38 คน จึงออกแบบบัตรลงคะแนนเป็น 4 สี แยกตามกลุ่มฐานความผิดที่ป.ป.ช.ชี้มูลไว้ กลุ่มแรกมี 22 คน กลุ่ม 2 มี 13 คน กลุ่ม 3 มี 2 คน และกลุ่ม 4 มี 1 คน และให้ลงคะแนนคราวเดียว ซึ่งคาดว่าขั้นตอนการลงมติถอดถอนจะใช้เวลา 3 ชั่วโมง

ถูกถอดถอนต้องหยุดทำหน้าที่

เมื่อถามว่าถ้าสมาชิกสปช. และสนช.ที่เป็นอดีตส.ว.ถูกลงมติถอดถอนจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ นายสุรชัยกล่าวว่าน่าจะต้องยุติการทำหน้าที่ แต่ต้องรอดูผลการลงมติในวันที่ 12 มี.ค.นี้

ด้านนพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติเปิดเผยว่า บัตรลงคะแนนมี 4 ใบ แบ่งตามฐานความผิด แต่ละใบจะมีรายชื่อของผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งจะลงมติเป็นรายบุคคล ต้องยอมรับว่าการลงมติเช่นนี้ต้องเกิดคำถามตามมา ว่า หากลงมติถอดถอนบุคคลหนึ่ง แต่ไม่ลงมติถอดถอนอีกบุคคลหนึ่ง จะใช้มาตรฐานอะไรมาตัดสินทั้งที่มีฐานความผิดเดียวกัน ซึ่งที่ ประชุมวิปสนช.เห็นว่าอยากให้ลงมติเป็นกลุ่ม แต่ตามกฎหมายไม่สามารถทำได้ เพราะกฎหมายระบุชัดเจนต้องลงมติเป็นรายบุคคล

38ส.ว.ส่อไม่โดนถอดถอน

รายงานข่าวจากสนช. แจ้งว่า การลงมติถอดถอนอดีต 38 ส.ว. ในวันที่ 12 มี.ค. เวลา 10.00 น. สมาชิกสนช.ส่วนใหญ่เห็นในทางเดียวกันว่า ไม่สามารถเอาผิดถอดถอนทั้ง 38 คนได้ เนื่องจากเห็นว่าข้อกล่าวหาของ ป.ป.ช.ที่ระบุว่าทั้ง 38 คน ลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 3 วาระ ทั้งที่ทราบอยู่แล้วว่าเป็นร่างรัฐธรรมนูญคนละฉบับกับที่เข้าชื่อเสนอแก้ไขนั้น ยังไม่ชัดเจนในการเอาผิดได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 50 สิ้นสภาพการบังคับใช้ไปแล้ว อีกทั้งขั้นตอนการพิจารณากฎหมายที่ผ่านมา เคยขอเปลี่ยนร่างกฎหมายใหม่ แทนฉบับเดิมก่อนจะบรรจุเข้าสู่วาระการประชุม 

รายงานข่าวแจ้งว่า นอกจากนี้การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเปิดให้ส.ว.ลงสมัครส.ว.ได้อีกสมัย โดยไม่ต้องเว้นวรรคนั้น ยังไม่สามารถพิสูจน์เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนได้อย่างชัดเจน เนื่องจากไม่รู้ว่า อดีตส.ว.เหล่านี้จะลงสมัครส.ว.อีกรอบหรือไม่ และถ้าลงสมัครแล้ว จะได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามาหรือไม่ 

ทั้งนี้ ผลการลงคะแนนทั้ง 4 กลุ่มฐานความผิด จะได้คะแนนไม่ถึง 3 ใน 5 หรือ 132 คะแนน ที่จะถอดถอนได้ ซึ่งคะแนนของทั้ง 4 กลุ่ม จะไม่เท่ากัน และในแต่ละกลุ่ม ผู้ถูกกล่าวหาแต่ละคน อาจได้คะแนนไม่เท่ากัน โดยคะแนนของกลุ่มฐานความผิดที่ 1 จำนวน 22 คน จะมีคะแนนถอดถอนมากกว่าอีก 3 กลุ่มฐานความผิด เนื่องจากสนช.บางส่วนเห็นว่า มีการกระทำความผิดครบองค์ประกอบ ทั้งการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย และการลงมติในวาระ 1, 2 และ 3 แต่คะแนนก็ยังไม่เพียงพอจะถอดถอนได้ โดยคะแนนถอดถอนคดี 38 ส.ว.จะน้อยกว่าการลงมติถอดถอนคดีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ที่มีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

พท.ยื่นฟ้องปปช.ต่อศาลปค.

เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ศาลปกครอง นพ.เหวง โตจิราการ แกนนำกลุ่มนปช. พล.ต.อ.วิรุฬห์ พื้นแสน และ นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ อดีตส.ส.พรรคเพื่อไทย เข้ายื่นเรื่องฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ระงับยับยั้งการไต่สวนของป.ป.ช. กรณีจะพิจารณาไต่สวนถอดถอนอดีตส.ส. 250 ราย จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 ตามมาตรา 270 ด้วยเรื่องที่มาของส.ว. จึงขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการไต่สวนข้อเท็จจริงของป.ป.ช. ตามคำสั่งที่ 465/2556 ลงวันที่ 12 ธ.ค.2556 และขอให้มีคำสั่งห้ามมิให้ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดหรือเพิกถอนคำสั่งชี้มูลความผิดต่อผู้ฟ้องคดี รวมทั้งขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามไม่ให้ผู้ถูกฟ้องส่งเรื่องการถอดถอนผู้ร้องออกจากการดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อ สนช. โดยระหว่างพิจารณาคดีขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน ระงับยับยั้งการดำเนินการของป.ป.ช. จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา 

นพ.เหวงกล่าวว่า การดำเนินการของป.ป.ช.นั้นไม่ชอบ เนื่องจากวันที่ 9 ธ.ค.2557 มีพ.ร.ฎ.ยุบสภา เป็นเหตุให้สมาชิกภาพตนและผู้ฟ้องคดีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญปี 2550 แล้ว อีกทั้งประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 11/2557 ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550 ทำให้รัฐธรรมนูญไม่มีผลบังคับใช้แล้ว ดังนั้น การที่ป.ป.ช. ดำเนินการดังกล่าวนั้นไม่เป็นไปตามหลักกฎหมาย นิติธรรม และขัดต่อคำสั่ง คสช. 

นพ.เหวงกล่าวว่า จึงขอให้ศาลปกครองยกเลิกคำสั่งของป.ป.ช.ตั้งแต่ต้น เนื่องจากการทำงานของป.ป.ช.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะรัฐธรรมนูญปี 2550 สิ้นสุดสภาพแล้ว ก่อนหน้านี้ป.ป.ช.ยื่นเรื่องฟ้องต่อตนและพวก เรื่องการเข้าชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของส.ว. โดยกล่าวหาว่าใช้เอกสารปลอมและทำลายระบอบประชาธิปไตย ตนเห็นว่าการทำงานของป.ป.ช.มีข้อพิรุธเนื่องจากมีการถอนคำฟ้องที่ใช้เอกสารปลอม และยื่นฟ้องเพียงข้อกล่าวหาว่าล้มระบอบการปกครองประชาธิปไตยเท่านั้น

"อจ.ปื๊ด"สั่งกมธ.ทำโพลชี้แจง

เวลา 09.30 น. ที่รัฐสภา ในการประชุม กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาทบทวนร่างบทบัญญัติรัฐธรรมนูญรายมาตราและบันทึกเจตนารมณ์ ในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและระบบผู้แทนที่ดี หมวด 2 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ก่อนเข้าสู่วาระนายบวรศักดิ์ขอให้นางถวิลวดี บุรีกุล กมธ.ยกร่างฯ ชี้แจงถึงการจัดทำผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2558 ให้สมาชิกในที่ประชุมได้รับทราบ 

นางถวิลวดีกล่าวว่า การสำรวจในครั้งที่ 1 สำรวจประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 5,800 คนทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 5-11 ม.ค. ซึ่งกรอบการตั้งคำถามนั้น นำเอาความเห็นและข้อเสนอจากที่ประชุม สปช. และ กมธ.ยกร่างฯ มาเป็นแนวทาง เนื่องจากช่วงนั้น กมธ.ยกร่างฯ ยังไม่ได้เริ่มพิจารณาบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา มีนักวิชาการจากสถาบันพระปกเกล้ามาช่วยออกแบบคำถามและสำนักงานสถิติแห่งชาติมาช่วยจัดทำรูปแบบของคำถามและปรับถ้อยคำให้เหมาะสม ตัดถ้อยคำที่เข้าข่ายล่อแหลมออกไป รวมทั้งจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลด้วย 

นางถวิลวดีกล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้พบว่าหลายคำถามสอดคล้องกับบทบัญญัติที่กมธ.ยกร่างฯ บรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อาทิ ประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับกองทุนยุติธรรม เพื่อเป็นเครื่องมือดูแลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีประชาชนเห็นด้วยมากที่สุดถึงร้อยละ 97 รวมทั้งการกำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นได้ กรณีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก แต่งตั้ง โยกย้าย ข้าราชการระดับสูง โดยการจัดทำผลสำรวจครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นอีกครั้งหลังช่วงเทศกาลสงกรานต์ในเดือนเม.ย. โดยจะนำสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญที่พิจารณาเสร็จในรอบแรกไปสอบถามประชาชน

ภูมิธรรมย้ำข้อเสนอ-เสียงปชช.

วันเดียวกัน นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ข้อเสนอและการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญที่พรรคเพื่อไทยออกแถลงการณ์ไปนั้นเป็นการรวบรวมข้อเสนอแนะจากเสียงสะท้อนของประชาชน รวมทั้งสมาชิกพรรคที่สะท้อนมาถึงพรรค ไม่ใช่ข้อเสนอที่มาจากการจัดประชุมพรรค แต่ถือเป็นข้อเสนอแนะบนพื้นฐานความห่วงใยที่เรามีต่อร่างรัฐธรรม นูญฉบับที่ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญพิจารณา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนอย่างแท้จริง 

นายภูมิธรรมกล่าวว่า หาก กมธ.ยกร่างฯ เห็นว่าข้อเสนอแนะในด้านใดเป็นประโยชน์อยากให้หยิบยกไปพิจารณาร่วมด้วย เพราะเชื่อว่า กมธ.ยกร่างฯ จะรับทราบข้อเสนอแนะของพรรคผ่านสื่อมวลชนแล้ว อย่ายึดติดกับขั้นตอนว่าต้องให้เราส่งหนังสือไปอย่างเป็นทางการ 

นายสมคิด เชื้อคง อดีตส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย กล่าวถึง กมธ.ยกร่างรัฐธรรม นูญ และสปช. ต้องทำหน้าที่ต่อจนกว่าจะมีสภาผู้แทนราษฎร อีกไม่เกิน 210 วัน และ สนช.ต้องอยู่ทำหน้าที่ต่อจนกว่าจะมีส.ว.อีกไม่เกิน 240 วันนับจากรัฐธรรมนูญประกาศใช้ว่า ไม่มีความจำเป็นที่ต้องอยู่ต่อ เมื่อปฏิบัติหน้าที่ตามโรดแม็ปเสร็จก็ต้องพ้นไปได้แล้ว ที่ระบุว่าต้องอยู่ต่อเพื่อร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูก เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องนั้น เป็นเพียงข้ออ้าง ควรรอให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งดำเนินการแทนจะเหมาะสมกว่า 

"จริงๆ ทำควบคู่กับการยกร่างรัฐธรรมนูญขณะนี้ได้เลย ไม่ต้องเขียนกฎหมายเพื่อให้ตัวเองได้อยู่ต่อ แบบนี้ถ้าสังคมจะวิจารณ์ว่าอยู่เพื่อสืบทอดอำนาจ จะปฏิเสธได้หรือ ใช้คำพูดอะไรแต่ความหมายก็เหมือนกัน ผมว่าไม่สง่างาม เมื่อปฏิบัติหน้าที่เสร็จจบก็คือจบ" นายสมคิดกล่าว

ให้คลังฟ้องปู-พณ.ฟ้องบุญทรง

ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ กล่าวถึงการฟ้องร้องทางแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายต่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีต นายกฯ ในโครงการรับจำนำข้าวว่า หลังจากประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 10 มี.ค. จึงมีความชัดเจนขึ้นโดยกระทรวงการคลังจะเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ขณะที่กระทรวงพาณิชย์เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนาย บุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรมว.พาณิชย์ กับพวกทั้งหมด 21 คน และป.ป.ช.ส่งเรื่องมาให้ครม.รับทราบเมื่อวันที่ 10 มี.ค.แล้ว ส่วนการเรียกร้องค่าเสียหายนั้นยังไม่ทราบว่าเท่าไร ต้องมาดูอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งการฟ้องร้องทางแพ่งไม่เหมือนฟ้องทางอาญา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องเฉลี่ยค่าเสียหายทั้งหมดก่อนเข้ากระบวน การศาล

นายวิษณุกล่าวว่า กรณีนายบุญทรงขณะนี้เรามีรายชื่อผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบทั้งหมดแล้ว แต่ต้องดูว่าจะเรียกค่าเสียหายคนละเท่าไร ตามกฎหมายให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา สอบข้อเท็จจริงและกำหนดค่าเสียหาย โดยกรรมการประกอบด้วยข้าราชการจากกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ คณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานอัยการสูงสุด โดยไม่มีนักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้หากจะมีโทษถึงจำคุกก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะถูกฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา 

"วิษณุ"ระบุขั้นตอนยังอีกยาว 

เมื่อถามว่าจะโยงถึงโครงการประกันราคาข้าวของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วยหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่าไม่เกี่ยวกัน เรื่องนี้เฉพาะที่ป.ป.ช.ส่งเรื่องมาตามฐานความผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 73 ซึ่งมีเพียงคดีของน.ส. ยิ่งลักษณ์และนายบุญทรง ส่วนคดีของคนอื่น ป.ป.ช.ยังไม่ได้ส่งเรื่องมา ทั้งน.ส.ยิ่งลักษณ์และนายบุญทรงจะมีความผิดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจาณาของศาล ศาลอาจฟังจากคดีอาญาแล้วบอกว่าคดีแพ่งเป็นอย่างไรก็ได้ แต่ขั้นตอนในคดีนี้ยังอีกยาว 

"วันที่ 19 มี.ค. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองจะชี้ว่าจะรับฟ้องคดีน.ส.ยิ่งลักษณ์หรือไม่ ถ้ารับน.ส. ยิ่งลักษณ์จะมีฐานะเป็นจำเลย ก็สู้คดีอาญาไป แต่คดีทางแพ่ง ยังไม่เริ่มกระบวนการ ต้องเริ่มจากกรรมการชุดที่ 1 ทำงานไปประมาณ 4 เดือน จากนั้นกรรมการชุดที่ 2 คือกรรมการรับผิดทางแพ่ง โดยอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นประธาน เมื่อเสร็จแล้วจึงลงมือฟ้องคดีทางแพ่งอายุความ 2 ปี หมดอายุความในเดือนก.พ. 2560" นายวิษณุ กล่าว 

นายวิษณุกล่าวว่า ส่วนที่หลายฝ่ายระบุว่ากรณีนี้เป็นคดีการเมืองนั้น ต้องว่ากันในกระบวนการของศาล รัฐบาลไม่สามารถสั่งหยุดดำเนินการได้ แต่เชื่อว่าในทางแพ่ง ศาลจะดูการพิจารณาทางอาญาประกอบด้วย แต่บางครั้งคดีอาญาผิด แต่ทางแพ่งไม่ผิดก็มี ที่ผ่านมาน.ส.ยิ่งลักษณ์ ส่งหนังสือขอความเป็นธรรมไปยังหน่วยงานต่างๆ ยืนยันว่ารัฐบาลให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

แย้มรธน.ใหม่ยังแก้ไขได้

นายวิษณุกล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ถูกวิจารณ์โดยเฉพาะการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลว่า ขณะนี้ยังแก้ไขได้ ทั้งหลักการและในรายละเอียด ในเดือนเม.ย.ทางสปช.และสนช.จะพิจารณาแล้วส่งต่อมายังรัฐบาล ซึ่งในเวลานั้นสามารถแก้ไขได้ แม้แต่ในหลักการใหญ่ก็ตาม

"ตอนนี้เขาทำแล้วไม่มีใครไปบอกให้แก้ เขาก็ไม่รู้จะแก้ไขได้อย่างไร ไม่รู้จะเอาใจใคร แต่ตอนที่ส่งเข้ามาเป็นทางการ อันนั้นปรับแก้ไขได้ ตัดทิ้งเป็นโหมดๆ ก็ได้ เพิ่มเป็นโหมดๆ ก็ได้ เมื่อแม่น้ำ 5 สายอยากแก้อะไรก็บอกได้" นายวิษณุกล่าว

"อ๋อย"แนะฟังเสียงประชาชน

ด้านนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรมว.ศึกษาธิการ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุถึงการสืบทอดอำนาจเผด็จการว่า อย่าได้แกล้งทำเป็นไม่เข้าใจ จะสืบทอดอำนาจกันจริงๆ องค์กรอิสระที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน ส.ว.ลากตั้งและสภาคุณธรรมจริยธรรมจะร่วมกันกำหนดที่มาที่ไปของรัฐบาล ประชาชนจะได้เลือกตั้งแต่เลือกไม่ได้ นายกฯจะมาจากคนนอก นโยบายรัฐบาลกำหนดโดยแนวทางปฏิรูปของสปช.และกำกับโดยคณะกรรมการขับเคลื่อนที่วางตัวไว้ล่วงหน้า อย่างที่ทำกันอยู่นี้เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากการสืบ ทอดอำนาจเผด็จการ ทั้งโดยระบบ โครงสร้าง ตัวบุคคล นโยบาย และแม้กระทั่งความคิด 

"ฉะนั้น เวลาใครเขาว่าสืบทอดอำนาจ อย่าได้ทำเป็นปรี๊ดแตกไปเลย และแทนที่จะ คิดชี้แจงกับประชาชนควรรับฟังความเห็นประชาชนให้มากๆ จะดีกว่า ถ้าไม่รู้จะเริ่มตรงไหนก็เริ่มจากโพลที่พวกท่านทำกันเองนั่นแหละ" นายจาตุรนต์ระบุ

รัชตะเผยนายกฯเด้งหมอณรงค์

ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รมว.สาธารณสุข เปิดเผยกรณีมีกระแสข่าวปลด นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดสธ. ว่า ตนยังไม่เห็นหนังสือ แต่ทราบว่า รองนายกรัฐมนตรี ได้ลงนามหนังสือตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามที่จะย้ายท่านปลัดไปอยู่สำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อถามว่า กังวลว่าจะมีแรงต่อต้านจากข้าราชการที่สนับสนุนปลัดกระทรวงหรือไม่ ศ.นพ.รัชตะกล่าวว่า คงไม่มีแบบนั้น

ด้านนพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า เพิ่งทราบข่าวดังกล่าวจากผู้สื่อข่าว และยังไม่ได้คิดว่าจะทำอย่างไรต่อไป เมื่อถามว่า จะเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับตนเองหรือไม่นั้น นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ยังไม่ได้คิดอะไร ตนก็เป็นเพียงข้าราชการคนหนึ่งเท่านั้น 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้าที่จะมีคำสั่งให้ย้าย นพ.ณรงค์นั้น เมื่อวันที่ 10 มี.ค. ได้ให้สัมภาษณ์ว่า แม้ว่าจะมีการปลดตนจริง ก็เชื่อว่า ปัญหาของกระทรวงสาธารณสุข จะยังไม่จบ แต่อย่างน้อย ข้าราชการกระทรวงก็ได้ตื่น และรับทราบว่า เราต้องแก้ปัญหาด้วยกัน ส่วนตนนั้น เป็นข้าราชการคนหนึ่ง หากมีคำสั่งให้ทำอย่างไรก็ต้องทำและกลับบ้านเท่านั้นเอง 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า กังวลหรือไม่ที่เกิดกระแสขัดแย้งแทบทุกวันและอาจนำไปสู่การย้ายปลัดสธ. นพ.ณรงค์กล่าวว่า ไม่กังวล เพราะไม่ได้ขัดแย้งกับใคร ตนเป็นข้าราชการ มีงานทำ ต้องทำงานตามบทบาทหน้าที่ เรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็เห็นตามข่าวทั้งนั้น อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากรากเหง้าของระบบ ไม่ได้มาจากตัวบุคคลเลย เป็นเรื่องของหลักการและแนวคิด ส่วนปัญหาบุคคลนั้นเป็นสิ่งที่อุปโลกน์ขึ้นมาทั้งสิ้น

สพศท.ฮึ่ม-คำสั่งไม่ชอบธรรม

พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) ในฐานะตัวแทนประชาคมสาธารณสุข กล่าวว่า เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบธรรม แทนที่จะตั้งสอบปลัด สธ. ควรไปสอบสวนเอาผิดสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะดีกว่า เพราะบริหารงานส่งผลต่อโรงพยาบาล ทำให้ขาดทุนมากมาย แต่กลับมา สอบปลัดสธ. และจะมาสั่งย้ายอีก การกระทำครั้งนี้จะส่งผลกระทบในวงกว้าง 1.ประชาชนจะเสียประโยชน์ เนื่องจากนพ.ณรงค์ เป็นผู้เดินหน้านโยบายเขตสุขภาพในการจัดบริการร่วม เพื่อประชาชน ซึ่งไม่รู้ว่ารักษาการปลัดสธ.คนใหม่จะมาสานต่อนโยบายเทียบเท่าหรือไม่ 2.เรื่องนี้ย่อมส่งผลต่อขวัญและกำลังใจบุคลากรสาธารณสุขเป็นแน่ เพราะเดิมแม้จะมีปัญหาภายในสธ. แต่ทุกคนก็ทำงานโดยไม่ได้แบ่งแยกว่า นโยบายนี้เป็นของรัฐมนตรีว่าการ หรือของปลัดสธ.แต่อย่างไร ที่สำคัญปลัดสธ.เป็นเหมือนตัวแทนข้าราชการที่กล้าต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง ตั้งแต่ก่อนจะมีการปฏิรูปรัฐบาล จนเกิดรัฐบาลยุคนี้ เรียกว่าเป็นปลัดคนเดียวที่กล้าออกมาแสดงออก

"3.ส่งผลต่อตัวปลัดสธ.เองที่เป็นข้าราชการคนหนึ่ง ทำงานมาตลอด แต่กลับถูกรังแก แสดงให้เห็นว่าความยุติธรรมอยู่ตรงไหน และ 4.สิ่งที่เกิดขึ้นกระทบกับระบบราชการทั้งระบบ เนื่องจากเป็นการกระทำต่อข้าราชการที่ทำงานโดยตรง กระทบต่อกฎหมาย พ.ร.บ.การบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 สิ่งที่เกิดขึ้นประชาคมสาธารณสุขจะหารือเพื่อออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมอย่างถึงที่สุด" พญ.ประชุมพรกล่าว

บิ๊กตู่ระบุมีปัญหามา8เดือนแล้ว

เมื่อเวลา 18.30 น. ที่สโมสรทหารบก วิภาวดีฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคสช. ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมร่วมแม่น้ำ 5 สาย กรณีตั้งกรรมการสอบนพ.ณรงค์ว่า มันมีปัญหา ทางกระทรวงบอกว่ามีปัญหานานแล้ว ตั้งแต่เข้ามาทำงาน

เมื่อถามว่าการโยกย้ายแบบนี้จะแก้ปัญหาได้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "ท่านเคยบอกแล้วว่าถ้ามีปัญหาจะขอมาช่วยราชการ สื่อต้องไปช่วยอธิบายว่าตามที่ท่านเคยบอก ถ้าไม่แก้ปัญหาก็ไม่ได้ ผมเคยบอกว่าให้ไปพูดคุยกันก่อนให้รู้เรื่อง ให้ไปพูดคุยกันมา 8 เดือนแล้วต้องหยุด คราวนี้มันมีปัญหาในเรื่องอะไรบ้าง งบประมาณดูแลซึ่งตรงนั้นมันมีกติกาและระเบียบอยู่แล้วว่าตอนนี้การจ่ายเงินสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เดิมมันเป็นของกระทรวงสาธารณสุข แต่วันนี้มีคณะกรรมการมาทำงาน เขากำลังเข้าสอบสวนตรงนี้อยู่ แต่การดูแลตรงนี้เดี๋ยวจะต้องไปปรับคณะกรรมการใหม่ว่าในส่วนของกระทรวงสาธารณ สุขให้มีมากขึ้น และแพทย์ชนบทด้วยจะได้ใช้เงินตรงนี้ให้ถูกต้อง"

นายกฯ กล่าวว่า วันนี้ต้องถามว่าถ้าเกิดมีคำสั่ง 2 คำสั่ง คือคำสั่งของรัฐมนตรีและคำสั่งของปลัดกระทรวงสาธารณสุข ข้าราชการจะปฏิบัติงานได้หรือไม่ ต้องให้ความเป็นธรรมด้วย ตนไม่ได้รังเกียจอะไร เดี๋ยวเขามาช่วยงานตน ไม่ต้องกังวล อย่าไปปลุกม็อบมา เดี๋ยวจะทำงานกันไม่ได้ 

ตั้งสุรเชษฐ์รองปลัด-รักษาการ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 434/2558 เรื่องแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนปลัดสธ. ระบุว่า เนื่องด้วยสำนักนายกรัฐมนตรี มีคำสั่งที่ 75/2558 ลงวันที่ 11 มี.ค. 2558 ให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี กรณี นายณรงค์ โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของนายกรัฐมนตรี เพื่อปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานด้านวิจัยและการพัฒนาด้านการสุขภาพแห่งชาติ ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 จึงแต่งตั้งให้ นายสุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ตำแหน่งรองปลัดสธ. รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุขอีกตำแหน่งหนึ่ง มีผลตั้งแต่วันที่ 11 มี.ค. เป็นต้นไป

ม็อบสธ.บุกกระทรวง-บี้"รัชตะ"

ด้านพญ.ประชุมพร เปิดเผยว่า ได้หารือกับทางเครือข่ายโรงพยาบาลทุกระดับ นัดกันว่าจะเดินทางกันมาให้กำลังใจปลัด สธ. และเรียกร้องความเป็นธรรมต่อ นพ.รัชตะกับกรณีที่เกิดขึ้น โดยจะเดินทางมาตั้งแต่เวลา 08.00 น. วันที่ 12 มี.ค. และจะนำปี๊บมา คลุมหัวเรียกร้องธรรมาภิบาลให้คนสธ." พญ. ประชุมพรกล่าว

ด้านนายสาคร นาต๊ะ นายกสมาคมหมออนามัย กล่าวว่าในวันที่ 12 มี.ค. เวลา 08.00 น. เครือข่ายชมรมวิชาชีพสาธารณสุข 58 ชมรม ในประชาคมสาธารณสุขประมาณ 1,000 คน จะสวมชุดเครื่องแบบวิชาชีพของตัวเองไปที่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อคัดค้านการปลดนพ.ณรงค์ พร้อมแสดงจุดยืนเรียกร้องไปยังรัฐบาลว่า "ข้าราชการที่ดีต้องมี ที่ยืน"

"บิ๊กตู่"เรียกประชุมแม่น้ำ5สาย

เวลา 13.20 น. ที่สโมสรทหารบก วิภาวดีฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เป็นประธานการประชุมร่วม คสช. คณะรัฐมนตรี(ครม.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) และคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กลาโหม ในฐานะรองหัวหน้าคสช. พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกฯและรมว.ต่างประเทศในฐานะรองหัวหน้าคสช. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯฝ่ายกฎหมาย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯฝ่ายเศรษฐกิจ นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ ในฐานะทีมที่ปรึกษาคสช. พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม ในฐานะทีมที่ปรึกษาคสช. พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะทีมที่ปรึกษาคสช. 

ระดมทหารตำรวจอารักขาเข้ม

นอกจากนี้ยังมีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช.คนที่ 1 นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสนช.คนที่ 2 นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสปช. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธานสปช.คนที่ 1 และประธานกมธ.ยกร่างฯ น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธานสปช.คนที่ 2 นายอลงกรณ์ พลบุตร โฆษกสปช. นายกระแส ชนะวงศ์ รองประธานกมธ.ยกร่างฯ คนที่ 1 นายมานิจ สุขสมจิตร รองประธานกมธ.ยกร่างฯ คนที่ 2 นายสุจิต บุญบงการ รองประธานกมธ.ยกร่างฯ คนที่ 3 เข้าร่วมประชุมด้วย

สำหรับมาตรการการรักษาความปลอดภัยเป็นไปอย่างเข้มงวด โดยใช้กำลังเจ้าหน้าที่ทหารสนธิกำลังกับเจ้าหน้าที่ตำรวจยืนประจำจุดเข้าออกโดยรอบสโมสรทหารบก และจุดสูงข่ม ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจบก.น.4 ทั้งในและนอกเครื่องแบบกระจายโดยรอบพื้นที่เพื่อดูแลความปลอดภัย

หารือนอกรอบหัวหน้าแม่น้ำ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนการประชุม พล.อ.ประยุทธ์ พล.อ.ประวิตร นายวิษณุ นายสุวพันธุ์ นายพรเพชร นายเทียนฉาย นายบวรศักดิ์ ได้หารือนอกรอบ ที่ห้องรับรองชั้น 1 เป็นเวลา 30 นาที

จากนั้นเวลา 14.00 น. พล.อ.ประยุทธ์กล่าวก่อนเข้าสู่วาระการประชุมว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อประสานสอดคล้องให้การทำงานเดินหน้าไปได้ ซึ่งทุกคนทราบถึงสถานการณ์ดีว่าเป็นอย่างไร จึงจำเป็นต้องเข้ามาทำงานร่วมกัน ต้องมีแม่น้ำ 5 สาย ที่ทุกสายต้องเดินหน้าไปพร้อมกัน สิ่งสำคัญทุกคนต้องเข้าใจตรงกันว่า วันนี้บ้านเมืองมีปัญหาทั้งการบริหารราชการแผ่นดิน การทุจริต ความไม่โปร่งใส จึงต้องสร้างความเข้มแข็งให้ประเทศ ซึ่งปัญหาต่างๆ ก่อนหน้านี้มีมายาวนาน จำเป็นต้องปฏิรูปและกำหนดเวลาที่ชัดเจน เพราะรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งทุกครั้ง เท่าที่ติดตามมาไม่ประสบความสำเร็จ

นายกฯกล่าวว่า ดังนั้นทุกอย่างต้องทำงานให้สอดคล้องเพื่อวางอนาคต สร้างความเข้มแข็งให้ประเทศ และอยากให้สื่อสารกับประชาชนด้วย การบริหารราชการในวันนี้ งบประมาณด้านการลงทุนไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องหาเงินมา จึงมีเรื่องการจัดเก็บภาษีมาพิจารณา

พรเพชรเผยนายกฯชมสนช.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่ราคาของอาหารร้านสวัสดิการสโมสรทหารบก ซึ่งก่อนหน้านี้มีการเสนอข่าวว่าแพง ข้าวกะเพราไก่ไข่ดาวราคาจานละ 120 บาท ปรากฏว่าวันนี้ (11 มี.ค.) ปรับราคาลงมาเหลือจานละ 80 บาท อีกทั้งสโมสรทหารบกจัดข้าวราดแกงจำหน่ายเฉพาะสื่อมวลชน อาทิ ผัดกะเพราไก่ ผัดผักรวมมิตรใส่หมู ไข่ดาว โดยข้าวราดสองอย่างขายราคา 50 บาท และราด 3 อย่างราคา 60 บาท 

ต่อมาเวลา 18.25 น. นายพรเพชรกล่าวภายหลังการประชุมแม่น้ำ 5 สายนานกว่า 4 ชั่วโมงครึ่งว่า นายกฯชมว่าสนช.ทำงานดีมาก ส่วนเรื่องรัฐธรรมนูญ หากเสร็จแล้วขั้นตอนต่อไปคงพิจารณากฎหมายลูก นี่เป็นแผนงานที่ตนเตรียมรับไว้ ทั้งนี้ นายกฯไม่ได้กำชับอะไรเป็นพิเศษ ส่วนข้อกังวลเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกวิจารณ์นั้น ที่ประชุมไม่ได้พูดคุยประเด็นนี้ เพราะรัฐธรรมนูญยังไม่เสร็จ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังเสนอปรับปรุงแก้ไขได้ คอยติดตามที่นายบวรศักดิ์ ก่อน พอเคาะมาแล้วค่อยมาติดตามที่สนช. ขณะนี้ยังไม่มีการตั้งทีมพิจารณากฎหมายลูก เมื่อถามถึงกระแสข่าวนายกฯระบุว่าใครจะอยู่ใครจะไป นายพรเพชรกล่าวว่าตนไม่ได้ยินเรื่องนี้

กมธ.รายงานความคืบหน้ารธน.

ด้านนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญกล่าวว่า กมธ.ยกร่างฯได้รายงานเรื่องการเลือกส.ส. ส.ว. ซึ่งนายกฯไม่ได้กำชับเรื่องใดเป็นพิเศษ แต่ถามถึงจะแก้ปัญหาซื้อเสียงและประชานิยมอย่างไร นอกจากนี้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่ปรึกษาคสช.ยังถามถึงเรื่องการตั้งอธิบดี และปลัดกระทรวง จำเป็นต้องให้สภาให้ความเห็นชอบด้วยหรือ นอกนั้น แม่น้ำทุกสายส่วนใหญ่เพียงตั้งข้อสังเกตและตั้งคำถาม และเราชี้แจงว่าขั้นตอนของรัฐธรรมนูญยังอยู่ในร่างแรก ยังไม่เสร็จ ตนจะนำข้อสังเกตเหล่านี้ไปทบทวน ก่อนจะส่งร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกให้สปช.ให้ความเห็นชอบ

น.ส.สุภัทรา นาคะผิว โฆษกกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญกล่าวว่า วันนี้รายงานความก้าวหน้าแต่ละส่วน โดยกมธ.ยกร่างฯ ได้ยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จร่างแรกแล้ว และกำลังพิจารณาทบทวนเพื่อให้สปช.ให้ความเห็น ซึ่งนายกฯไม่ได้กำชับเป็นพิเศษ เพียงแต่ต้องการให้ช่วยทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของภาคส่วนต่างๆ 

"บิ๊กตู่"ยืนยันไม่สืบทอดอำนาจ

พล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมร่วมแม่น้ำ 5 สายว่า การประชุมวันนี้ได้ตกลงกันใหม่ว่าเป็นการประชุมแม่น้ำ 4 สาย ปิง วัง ยม น่าน ประกอบด้วย ครม. สนช. สปช.และกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีคสช.เป็นแม่น้ำสายที่ 5 แม่น้ำเจ้าพระยา ถือเป็นต้นน้ำที่เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 2557 และแม่น้ำทั้ง 4 สายจะไหลลงสู่เจ้าพระยา

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้มีการเสนอร่างแรกของรัฐธรรมนูญ เข้ามาตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ที่กำหนดไว้ ซึ่งได้พูดเฉพาะประเด็นที่สำคัญก่อน เรื่องอื่นคงต้องศึกษารายละเอียดอีกครั้ง ทั้งนี้ มีข้อสังเกตที่ทุกคนศึกษากันมาแล้วว่าควรเป็นอย่างไร โดยเฉพาะจะขับเคลื่อนอย่างไรให้นำไปสู่การเลือกตั้งให้ได้ตามโรดแม็ป ประเด็นสำคัญ คือความขัดแย้งที่มีอยู่จะทำอย่างไร และทำอย่างไรการปฏิรูปจะเกิดความยั่งยืน

"เราไม่ได้มุ่งหวังสืบทอดอำนาจ ไม่มีเจตนาทางผลประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น อยากให้บ้านเมืองมีอนาคต ซึ่งจำเป็นต้องปฏิรูป 36 วาระบวก 7 เรื่อง วันนี้ได้ทำความเข้าใจถึงการร่างรัฐธรรมนูญว่าควรมีกรอบอะไรบ้าง หรือมีกี่หมวด คสช.จะบันทึกข้อสังเกตของแต่ละฝ่ายมาแลกเปลี่ยนกัน ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ข้าราชการกระทรวงก็ต้องฟังเขาด้วย และส่งให้สปช. สนช.ด้วย" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว 

ซื้อรถใหม่แทนลงเรือลำเดียวกัน

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงก็เหมือนซื้อรถคันใหม่ ต้องไว้ใจคนขับ เปลี่ยนเบรก เปลี่ยนอะไรให้แล้ว แต่จะไปได้ถึงแค่ไหนก็ไม่รู้เหมือนกัน จะทำให้เต็มที่ สนช.ก็ต้องพิจารณากฎหมายหลายฉบับ สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ ขจัดการทุจริต อะไรที่ไม่ทันสมัยก็ทำ สนช.ทำเต็มที่ มีออกมาแล้วหลายฉบับ บางส่วนยังไม่ออก 

"วันนี้ไม่มีทะเลาะกัน แฮปปี้ดี และที่พูดเปรียบเทียบวันนี้ว่าเป็นการซื้อรถคันใหม่แทนการลงเรือลำเดียวกัน เพราะช่วงนี้เป็นหน้าแล้ง ส่วนวันนี้ที่พูดน้อยก็เพราะเจ็บคอ" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมแม่น้ำ 5 สายครั้งต่อไป พล.อ.ประยุทธ์นัดประชุมวันที่ 9 เม.ย. ที่สโมสรทหารบก วิภาวดีฯ 

ให้ใส่ชื่อไปเลย-ไม่เป็นส.ว.แน่ๆ

      รายงานจากที่ประชุมแจ้งว่า กรณีร่างรัฐธรรมนูญที่มีกระแสวิจารณ์ขณะนี้ ที่ประชุมขอให้ กมธ.ยกร่างฯ ส่งร่างรัฐธรรม นูญซึ่งยังถือเป็นร่างแรก แก้ไขได้ ไปให้คสช.พิจารณา สำหรับประเด็นการสืบทอดอำนาจ นายกฯ พูดในที่ประชุมว่า ไม่เป็นความจริงและต้องการให้ทุกคนรีบปฏิบัติหน้าที่ให้เสร็จ เพื่อลบข้อครหาการสืบทอดอำนาจ โดยนายกฯ ระบุตอนหนึ่งว่า "เรื่องที่มาของ ส.ว. ให้ใส่ชื่อของตัวเองไปเลยว่าจะไม่ดำรงตำแหน่ง ส.ว. จะได้ไม่ถูกมองว่าสืบทอดอำนาจ" 

     นอกจาก นี้ นายกฯ ยังแสดงความคิดเห็นว่า สมัชชาพลเมืองจะกระทบต่อการบริหารงานของรัฐบาลหรือไม่ เพราะมีอะไรก็ต้องถามประชาชน ซึ่งฝากให้กมธ.ยกร่างฯ คิดให้ชัดเจน รวมถึงการจัดการเลือกตั้ง กกต.จะมีบทบาทอย่างไร รวมถึงการรักษาการของปลัดกระทรวงจะมีหน้าที่อย่างไรบ้าง กมธ.ยกร่างฯ ต้องไปกำหนดรายละเอียดให้ชัดเจน ส่วนกรณีพรรคใหญ่ที่มีข้อสังเกตต่อกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้ กมธ.ยกร่างฯ ไปชี้แจงทุกประเด็นโดยละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดดังกล่าว 

       ทั้งนี้ นายกฯ ยังกล่าวอีกว่า มีข้อความเผยแพร่ในระบบไลน์ ผูกเรื่องเป็นนิยายระบุว่าตนแตกแยกกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ซึ่งไม่เป็นความจริง ขณะที่พล.อ.ประวิตรชี้แจงว่า สถานการณ์ขณะนี้ยังไม่สงบ เพราะมีฝ่ายตรงข้ามก่อความวุ่นวาย พร้อมยืนยันกับที่ประชุมว่า ตนสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ส่วนกฎอัยการศึกยังไม่สามารถยกเลิกได้

บวรศักดิ์ย้ำ4เจตนารมณ์รธน.

       รายงานข่าวแจ้งว่า บรรยากาศการประชุมเป็นไปด้วยดี หลังจากนายกฯ แจ้งให้ที่ประชุมทราบข้อสังเกตของฝ่ายต่างๆ และขอให้แม่น้ำทั้ง 5 สาย ร่วมกันแก้ไขปัญหาของประเทศแล้ว แต่ละสายได้รายงานความคืบหน้า ซึ่งสปช.ได้รายงานก่อน 2 เรื่อง โดยนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสปช. รายงาน ว่าสปช.พิจารณาร่างพ.ร.บ. 3 ฉบับ คือ ร่างพ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ... ร่างพ.ร.บ. วิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ...และร่างพ.ร.บ.สมัชชาคุณธรรม แห่งชาติ พ.ศ... ซึ่งขณะนี้สปช.อยู่ระหว่างการเสนอเรื่องดังกล่าวมายังรัฐบาล 

      ส่วนนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกมธ.ยกร่างฯ รายงานความคืบหน้าการยกร่างรัฐธรรมนูญว่า ได้ยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว 315 มาตรา คาดว่าวันที่ 16 เม.ย. นี้ จะจัดทำร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกให้เสร็จ และเสนอร่างแรกต่อประธานสปช. ครม. และคสช. เพื่อให้ความเห็นต่อร่างรธน. ฉบับดังกล่าว

      "การยกร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ยกร่างเพื่อแก้ไขปัญหาในอดีตจนถึงปัจจุบัน และวางรากฐานถึงอนาคต มีเจตนารมณ์ยกร่าง 4 ประการ คือ สร้างพลเมืองให้เป็นใหญ่ การเมืองใสสะอาดและสมดุล หนุนสังคมที่เป็นธรรมและนำชาติสู่สันติสุข" นายบวรศักดิ์ระบุ 

เลิศรัตน์รายงานข้อดีระบบเลือกตั้ง

      ขณะที่ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษาและโฆษกกมธ.ยกร่างฯ รายงานเรื่อง "ระบบการเลือกตั้งผู้แทนใหม่ช่วยสร้างสมดุลให้การเมืองไทย" ว่า ระบบการเลือกตั้งแบบใหม่จะช่วยสร้างสมดุลให้การเมืองไทย เช่น การใช้เกณฑ์คะแนนเสียงจากบัญชีรายชื่อเป็นหลักในการคำนวณจำนวน ส.ส. ที่พึงได้ของแต่ละพรรคหรือกลุ่มการเมือง เป็นการให้ความสำคัญต่อทุกคะแนนของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง สะท้อนความนิยมที่แท้จริงของแต่ละพรรคและกลุ่มการเมือง

     ส่วนการทำงานของครม.นั้น นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ แจ้งการประสานกับแม่น้ำ 5 สาย และรายงานความร่วมมือและการทำงานเรื่องต่างๆ อาทิ การขับเคลื่อนงาน ของครม. คสช. โดยตั้งคณะกรรมการ 5 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญและเร่งด่วนคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายทั่วไปของรัฐบาลคณะกรรมการประสานงานขับเคลื่อนในระดับกระทรวง คณะกรรมการติดตามตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคสช. 

'จ้อน'ระบุเลือกตั้งม.ค.-ก.พ.59 

      เวลา 19.15 น. ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการวิป สนช. แถลงต่อผู้สื่อข่าวนานาชาติว่า ตนเพิ่งร่วมประชุมแม่น้ำ 5 สายวันเดียวกันนี้ ที่ประชุมมีข้อสรุปว่า รัฐธรรมนูญจะเสร็จภายในเดือนก.ย.ปีนี้ และจะให้มีการเลือกตั้งปีหน้า โดยจะใช้เวลา 60 วัน ในการร่างกฎหมายลูก และถ้าหากมีการลงประชามติ จะใช้เวลาอีก 90 วัน ในการเตรียมการประชามติ ดังนั้น การเลือกตั้งครั้งถัดไปน่าจะเกิดขึ้นประมาณ ม.ค. - ก.พ.2559 ซึ่งโดยส่วนตัวคิดว่าควรจะลงประชามติรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพื่อให้สาธารณชนได้ออกเสียงเห็นชอบหรือไม่

เผยนำร่างรธน.ขึ้นทูลเกล้าฯ 4 ก.ย.

      ด้านนายวิษณุให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมแม่น้ำ 5 สาย ถึงกรณีที่หากรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อย และให้สนช.กับสปช.อยู่ดำรงตำแหน่งต่อนั้น ไม่ได้พูดคุย เพราะเรื่องนี้อยู่ในร่างรัฐธรรมนูญบทเฉพาะกาล ซึ่งยังไม่ถึงที่สุด 

     ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกฯ พอใจในภาพรวมทั้งหมดหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า นายกฯพอใจและขอบคุณที่แต่ละส่วนได้ทำงานตามโรดแม็ปตามกำหนดเวลา อย่างน้อยในวันที่ 19 เม.ย. นี้จึงจะเสร็จสิ้นในส่วนของกมธ.ยกร่างฯ และจะส่งให้สปช. จากนั้น กมธ.ยกร่างฯ จะรับมาดูอีกครั้ง และส่งกลับไปให้หน่วยงานต่างๆ ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 25 พ.ค. กมธ.ยกร่างฯ ต้องกลับมาดูว่าจะแก้ไขตามข้อเสนอแนะของแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ทั้งนี้ มีการกำหนดว่าวันสุดท้ายที่จะนำร่างรัฐธรรมนูญทูลเกล้าทูลฯ วันที่ 4 ก.ย. นี้

      ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการพูดคุยประเด็นการทำประชามติหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ไม่มีการพูดถึง พูดแต่เพียงว่าหากไม่ทำประชามติ โรดแม็ปจะเลี้ยวซ้ายเป็นอย่างนี้ หากทำประชามติจะช้าไปอีกเล็กน้อย เลี้ยวขวาไปเป็นอย่างนี้ พูดเพียงเท่านี้ ไม่ได้พูดถึงข้อดีข้อเสียในการทำประชามติ ผู้สื่อข่าวถามว่า กำหนดระยะเวลาการเลือกตั้งยังคงเป็นเดือนก.พ. 2559 หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่าหากรัฐธรรมนูญได้รับการโปรดเกล้าฯ ภายในเดือนก.ย. ก็เลือกตั้งตามกำหนดเดิม แต่ถ้ามีการคลาดเคลื่อนระยะเวลาก็ต้องเคลื่อนตามไป ซึ่งอยู่เหนือการควบคุมของเรา

ชี้ถ้าประชามติไม่ผ่าน-ร่างใหม่

    ต่อข้อถามว่าหากมีการทำประชามติต้องใช้เวลาเท่าใด นายวิษณุกล่าวว่า การจะทำประชามติได้ รัฐธรรมนูญต้องเสร็จเสียก่อนและต้องก่อนจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ซึ่งหากมีการทำประชามติจริง การทูลเกล้าฯ ตามกำหนดเดิม 4 ก.ย. จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งต่อจากนั้นต้องใช้ระยะเวลาเท่าใด ไม่กล้าระบุ โดยเฉพาะการพิมพ์และเผยแพร่รัฐธรรมนูญให้คนทั้งประเทศเข้าใจ ก่อนจะกำหนดและประกาศวันลงประชามติ 

     ผู้สื่อข่าวถามว่าหากการทำประชามติไม่ผ่านจะเป็นอย่างไร นายวิษณุกล่าวว่า ก็ว่ากันใหม่ กมธ.ยกร่างฯ และสปช.ก็พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งระยะเวลาอาจล่าช้าไปไม่กี่วันไม่กี่เดือน ก็สุดแล้วแต่ เพราะหากรวบรัดเร็วนักก็สามารถทำได้ แต่จะเกิดปัญหาความท้าทายจากประชาชนว่าการทำรัฐธรรมนูญใหม่นั้นจะเกิดการรรวบหัวรวบหางหรือไม่ จะเอา 7 วันเสร็จก็ได้ แต่ต้องนึกถึงหัวอกว่าคนยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเอาจากที่ไหนมาทำ และทำอย่างไรแล้วจะยอมรับกันหรือไม่ บ้านเมืองอาจลุกเป็นไฟอีกแบบหนึ่ง ฉะนั้นอาจต้องตั้งอะไรขึ้นมาให้ดูดีแล้วจัดการทำเสียใหม่ แล้วต้องคิดต่อไปว่า พอทำเสร็จตอนนั้นจะทำประชามติอีกหรือไม่ เพราะรอบแรกทำประชามติจนถูกตีตกไป พอทำมาใหม่ เลยไม่ต้องลงประชามติ เอาอย่างไรก็เอา ยอมหรือไม่ 

ไม่มีมาตราให้หยิบรธน.เก่ามาใช้

     "ผมมองว่า ไม่ยอม เมื่อไม่ยอม ก็ต้องลงประชามติอีก จึงอย่าเพิ่งไปพูดว่าอีกหลายเดือนหลายปี ต้องคิดถึงฉากเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ถามง่ายๆ ว่าล้มรัฐธรรมนูญแล้วให้คสช.ไปหยิบรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา มาทำใหม่ ยอมหรือไม่ หากไม่มีการทำประชามติ จึงมองว่า ทุกคนคงขอดูเนื้อหาก่อน จึงตอบไม่ได้เพราะไม่มีใครเห็นเนื้อหา ไม่มีใครอยากไปสมมติว่ารัฐธรรมนูญจะล้มตั้งแต่รอบแรก ส่วนหากทำประชามติไม่ผ่านและจะนำรัฐธรรมนูญปี 2540 หรือ 2550 มาใช้จะทำอย่างนั้นได้อย่างไร ใครจะยอมให้คุณทำ มาตราไหนให้คุณทำ คนจะยอมหรือไม่หากนำมาใช้" นายวิษณุกล่าว

      เมื่อถามว่าในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ มีปัญหาการถกเถียงเรื่องที่มาของส.ส. และ ส.ว. นายวิษณุกล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญปี 2540 หรือ 2550 ไม่มีอะไรที่คนติดใจเลยหรือ ตนก็ไม่รู้ต้องถามประชาชน วันนี้ที่ยังเงียบๆ ไม่พูดอะไรเพราะยังไม่คิดว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 หรือ 2550 จะกลับมา คนก็ตั้งตารอรัฐธรรรมนูญปี 2558 แต่ถ้าฉบับใหม่นี้ล้ม แล้วนำรัฐธรรมนูญ 2540 มาใช้ ก็มีคนไม่พอใจ

ปปช.รอมติอสส.สั่งฟ้อง'จุฑามาศ'

       วันที่ 11 มี.ค. ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิด นางจุฑามาศ ศิริวรรณ เมื่อครั้งเป็นผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กับพวก ถูกกล่าวหาเรียกรับเงินจากนักธุรกิจชาวอเมริกัน เพื่อให้สิทธิจัดงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ ว่า เรื่องดังกล่าวอัยการสูงสุด (อสส.) ได้แจ้งข้อมูลไม่สมบูรณ์ และขอให้รวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม โดยตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างอสส.กับ ป.ป.ช. และรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะหลักฐานผ่านช่องทางความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา จากกระทรวงยุติธรรม ของสหรัฐอเมริกา และต้องแปลเอกสารดังกล่าว 3,000 แผ่น 

       นายสรรเสริญ กล่าวว่า ขณะนี้คณะทำงานร่วมฯ รวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเสร็จสิ้นและครบถ้วนสมบูรณ์ โดยส่งเอกสารหลักฐานทั้งหมดให้ผู้แทนอสส.เรียบร้อยแล้ว 8,700 แผ่น เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ที่ผ่านมา และขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณาคดีของอสส.ว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่

 

เกาเหลาสธ.-เด้ง'ปลัด' บิ๊กตู่เชือด หมอนัดฮือคลุมปี๊บต้าน 'รัชตะ'คู่ปรับชี้งานสะดุด 38 สว.รอด-สนช.ไม่ถอด 5สายยันเลือกตั้งกพ.59 'กมธ.'ทำโพลใหม่เมษา

แม่น้ำ5สาย - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่าง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 

มติชนออนไลน์ :

      อดีต 38 ส.ว.ระทึก สนช.นัดโหวตชี้ชะตา 'บิ๊กตู่'เด้งปลัด สธ.ช่วยงานสำนักนายกฯ 'ยงยุทธ'ตั้ง กก.สอบปมขัดแย้งในกระทรวง 'หมอณรงค์'ทำใจ เปรยเป็น ขรก.คนหนึ่ง กลุ่มประชาคมสาธารณสุขนัดปี๊บคลุมหัว

@ "บิ๊กตู่"เด้ง"นพ.ณรงค์"เข้ากรุ

       เมื่อวันที่ 11 มีนาคม นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวโยกย้าย นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. ไปปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมตั้งคณะกรรมการสอบสวนว่า ทราบว่า เมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง นพ.ณรงค์ กรณี สธ. ปรากฏเป็นข่าวจนทำให้สังคมมองว่าเกิดความขัดแย้งขึ้น ขณะเดียวกันทราบว่าระหว่างรอผลการสอบสวน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามสั่งย้าย นพ.ณรงค์ ไปช่วยปฏิบัติราชการตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสาธารณสุข ที่สำนักนายกรัฐมนตรี

       ผู้สื่อข่าวถามว่า กังวลหรือไม่ว่าคำสั่งดังกล่าวจะทำให้เกิดแรงต้านจากบุคลากรทางการแพทย์ นพ.รัชตะกล่าวว่า ไม่กังวล เมื่อถามต่อว่า ขณะนี้มีรายชื่อตั้งรักษาการปลัด สธ.หรือไม่ นพ.รัชตะกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้แถลงเรื่องนี้เอง แต่ได้ส่งหนังสือรายละเอียดต่างๆ ให้นายกฯ แล้ว

      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.รัชตะได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองปลัด สธ. รักษาการแทนปลัด สธ.อีกตำแหน่งหนึ่ง

@ "หมอรัชตะ"แจงสาเหตุสั่งย้าย

       นพ.รัชตะให้สัมภาษณ์อีกครั้งหลังการประชุมแม่น้ำ 5 สาย ว่า ประเด็นหลักที่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวนและนำมาซึ่งคำสั่งย้าย นพ.ณรงค์ คือการสนองนโยบายของรัฐบาลและของกระทรวงเป็นหลัก โดยก่อนที่จะมีการลงนามในคำสั่ง นายกฯได้รับทราบถึงประเด็นที่เกิดขึ้น และระบุว่าให้มีการสอบสวนว่า ทำไมเกิดการติดขัดและมีข่าวความขัดแย้งออกไปสู่สังคม ทำไมการทำงานไม่เป็นเอกภาพ 

       เมื่อถามว่า กังวลหรือไม่จะเกิดแรงกระเพื่อมในกระทรวงเพราะมีข่าวการเคลื่อนไหวคัดค้าน นพ.รัชตะกล่าวว่า หวังว่าการชี้แจงจะทำความเข้าใจได้ จะไม่เป็นปัญหาบานปลาย และคงจะมีการพบเจอกันเพื่อพูดคุยทำความเข้าใจกันต่อไป

@ เคยพูดขอมาช่วยราชการ

       พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงการสั่งย้าย นพ.ณรงค์ และตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงว่า "อ๋อ มันมีปัญหา ทางกระทรวงเขาบอกว่ามีปัญหาในการทำงานนานแล้ว ตั้งแต่เข้ามาทำงานนานแล้ว" เมื่อถามว่า การโยกย้ายจะสามารถแก้ไขปัญหาได้หรือ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "ท่านเคยบอกแล้วว่า ถ้ามีปัญหาจะขอมาช่วยราชการ ท่านเคยพูดไว้แล้ว เพราะฉะนั้นสื่อก็ต้องไปช่วยอธิบายด้วยว่า ตามที่ท่านเคยบอก ถ้าไม่แก้ปัญหาก็ไม่ได้ ผมก็เคยบอกว่าให้เป็นไปพูดคุยกันก่อนให้รู้เรื่อง ให้ไปพูดคุยกันมา 8 เดือนแล้วก็ต้องหยุด คราวนี้มันมีปัญหาในเรื่องอะไรบ้าง งบประมาณในการดูแลซึ่งตรงนั้นมันมีกติกาและระเบียบอยู่แล้วว่า ตอนนี้การจ่ายเงิน สปสช. ซึ่งเดิมมันเป็นของ สธ. แต่วันนี้กลับมาคณะนี้มาทำงาน เขากำลังเข้าสอบสวนตรงนี้อยู่ แต่การดูแลตรงนี้เดี๋ยวจะต้องไปปรับคณะกรรมการใหม่ว่ามีในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขให้มันมากขึ้น และในส่วนของแพทย์ชนบทตรงนี้ด้วยจะได้ใช้เงินตรงนี้ให้ถูกต้อง"

       "วันนี้ต้องถามว่า ถ้าเกิดมีคำสั่ง 2 คำสั่งคือ คำสั่งของรัฐมนตรีและคำสั่งของปลัด สธ. ข้าราชการจะปฏิบัติงานได้หรือไม่ ต้องให้ความเป็นธรรมกับเขาด้วย ผมไม่ได้รังเกียจอะไรเขาเดี๋ยวมาช่วยงานที่ผมนะ ไม่ต้องกังวลอย่าไปปลุกม็อบมาเดี๋ยวจะทำงานกันไม่ได้" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

@ คำสั่งชี้ปัญหาสนองนโยบาย

      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ได้ลงนามในคำสั่ง สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 75/2558 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2558 เรื่อง ให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ข้อความว่า ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งที่ 70/2558 ลงวันที่ 5 มีนาคม 2558 แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง กรณีปรากฏข่าวว่าการปฏิบัติราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ประสบปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อสนองนโยบายด้านสาธารณสุขของรัฐบาลและนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขนั้น เพื่อให้การดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงเป็นไปด้วยความเรียบร้อยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (3) (4) และ (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งต่อไปนี้

      1.ให้ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุข (นักบริหารระดับสูง) กระทรวงสาธารณสุข มาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน

     2.ในระหว่างการปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ข้าราชการตามข้อ 1 ปฏิบัติหน้าที่เป็นที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของนายกรัฐมนตรี เพื่อปฏิบัติราชการเกี่ยวกับงานด้านการวิจัยและการพัฒนางานด้านการสุขภาพแห่งชาติ และกำหนดให้ได้รับค่าตอบแทนเดือนละ 42,000 บาท โดยให้เบิกจ่ายจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และให้อยู่ในความควบคุม กำกับดูแลของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ)

@ ปลัดสธ.เปรยเป็นขรก.คนหนึ่ง

      ด้าน นพ.ณรงค์ให้สัมภาษณ์ว่า ยังไม่เห็นหนังสือคำสั่งและเพิ่งทราบเรื่อง จึงไม่สามารถให้ความคิดเห็นเรื่องดังกล่าวได้ เมื่อถามว่า จะเรียกร้องความเป็นธรรมหรือไม่ นพ.ณรงค์กล่าวว่า ยังไม่ได้คิด และก็เป็นเพียงข้าราชการคนหนึ่งเท่านั้น

      ต่อมา นพ.ณรงค์ให้สัมภาษณ์อีกครั้งว่า ได้เห็นคำสั่งย้ายไปประจำสำนักนายกฯ ผ่านสื่อแล้ว แต่ในวันที่ 12 มีนาคมนี้ ยังเข้าปฏิบัติหน้าที่ที่ สธ.ก่อน จากนั้นจึงจะคิดว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เป็นข้าราชการก็ต้องทำงาน คงหยุดงานไม่ได้ 

      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ช่วงเช้า นพ.ณรงค์ยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ โดยหมายวันที่ 11 มีนาคม มีภารกิจตรวจเยี่ยมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ปทุมธานี และโรงพยาบาล (รพ.) ปทุมธานี พร้อมทั้งเปิดอบรมปฐมนิเทศนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป ที่โรงแรมบางกอก กอล์ฟ สปา รีสอร์ท จ.ปทุมธานี 

@ ประธาน"สพศท."ชี้สอบไม่ชอบ

     พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) ในฐานะตัวแทนประชาคมสาธารณสุข กล่าวว่า คำสั่งตั้งกรรมการสอบ นพ.ณรงค์ เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบธรรม แทนที่จะสอบปลัด สธ. ควรไปสอบสวนเอาผิดสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะดีกว่า เพราะบริหารงานส่งผลต่อโรงพยาบาล (รพ.) ทำให้ขาดทุนมากมาย แต่กลับมาสอบปลัด สธ. และสั่งย้ายอีก 

"การกระทำครั้งนี้จะส่งผลกระทบในวงกว้าง โดยประชาชนจะเสียประโยชน์ เนื่องจาก นพ.ณรงค์เป็นผู้เดินหน้านโยบายเขตสุขภาพในการจัดบริการร่วมเพื่อประชาชน ซึ่งไม่รู้ว่ารักษาการปลัด สธ.คนใหม่จะมาสานต่อนโยบายเทียบเท่าหรือไม่ ที่สำคัญส่งผลต่อขวัญและกำลังใจบุคลากรสาธารณสุขแน่" พญ.ประชุมพร 

@ นัดปี๊บคลุมหัวขอความเป็นธรรม

พญ.ประชุมพรกล่าวว่า นพ.ณรงค์เป็นเหมือนตัวแทนข้าราชการที่กล้าต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง ตั้งแต่ก่อนจะมีการปฏิรูปรัฐบาล จนเกิดรัฐบาลยุคนี้ เรียกว่าเป็นปลัดคนเดียวที่กล้าออกมาแสดงออก ดังนั้นในฐานะตัวแทนประชาคมสาธารณสุข ได้หารือกับเครือข่าย รพ.ทุกระดับ นัดกันว่าจะเดินทางไปให้กำลังใจปลัด สธ. และเรียกร้องความเป็นธรรมต่อ นพ.รัชตะ ในวันที่ 12 มีนาคม ตั้งแต่เวลา 08.00 น. และจะนำปี๊บมาคลุมหัว@ เรียกร้องธรรมาภิบาลให้คน สธ. 

นายสาคร นาต๊ะ นายกสมาคมหมออนามัย กล่าวว่า ในวันที่ 12 มีนาคม เครือข่ายชมรมวิชาชีพสาธารณสุข 58 ชมรมในประชาคมสาธารณสุข ประมาณ 1,000 คน จะสวมชุดเครื่องแบบวิชาชีพของตัวเองไปที่ สธ. เพื่อคัดค้านการปลด นพ.ณรงค์ออกจากตำแหน่ง พร้อมแสดงจุดยืนเรียกร้องไปยังรัฐบาลว่า ข้าราชการที่ดีต้องมีที่ยืน

@ ห้ามลางานหนุนปลัดสธ.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังมีข่าวโยกย้าย นพ.ณรงค์ ได้มีการส่งต่อข้อความในสังคมออนไลน์ โดยระบุว่า "ขอปลัดคืนมา ทุกเรื่องยังต้องทำต่อ ไม่เอา รมต. การเมืองรังแกข้าราชการประจำ" ซึ่งได้ส่งต่อและให้มีการขึ้นข้อความดังกล่าวเป็นภาพประจำตัวในเฟซบุ๊กและไลน์ นอกจากนี้ ยังพบว่าในพื้นที่ต่างจังหวัดบางแห่งมีการสั่งด้วยวาจาไม่ให้ข้าราชการและบุคลากรสาธารณสุขที่เห็นต่างและจะเคลื่อนไหวในการสนับสนุน ปลัด สธ. และห้ามลางานในวันที่ 12 มีนาคมนี้

@ "วิษณุ"ชี้รธน.ยังแก้ไขได้

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ถูกวิพากษณ์วิจารณ์โดยเฉพาะการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลว่า ขณะนี้สามารถแก้ไขได้ทั้งหลักการและในรายละเอียด โดยในเดือนเมษายนนี้ จะมีการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญโดย สปช.และ สนช. แล้วส่งต่อมายังรัฐบาล ในเวลานั้นสามารถแก้ไขได้ แม้แต่ในหลักการใหญ่ก็ตาม

"ตอนนี้เขาทำมาเองแล้วไม่มีใครไปบอกให้เขาแก้ เขาก็ไม่รู้จะไปแก้ไขได้อย่างไร ไม่รู้จะไปเอาใจใคร แต่ตอนที่ส่งเข้ามาเป็นทางการ อันนั้นปรับแก้ไขได้ ตัดทิ้งเป็นโหมดๆ ก็ได้ เพิ่มเป็นโหมดๆ ก็ได้ เมื่อแม่น้ำ 5 สายอยากแก้อะไรก็บอกได้" นายวิษณุกล่าว 

@ พท.แนะกมธ.ยกร่างรับฟัง

นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า ข้อเสนอและการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญที่ พท.ออกเป็นแถลงการณ์ไปนั้น ถือเป็นการรวบรวมข้อเสนอแนะจากเสียงสะท้อนของประชาชน รวมทั้งสมาชิก พท.ที่ได้สะท้อนผ่านมาถึงพรรค ไม่ใช่ข้อเสนอที่มาจากการจัดประชุมพรรค แต่ถือเป็นข้อเสนอแนะบนพื้นฐานของความห่วงใยที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ กมธ.ยกร่างฯ กำลังพิจารณา หาก กมธ.ยกร่างฯ เห็นว่าข้อเสนอแนะในด้านใดเป็นประโยชน์ ก็อยากให้มีการหยิบยกไปพิจารณาร่วมด้วย เพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับต่อไปเกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริง

@ "อ๋อย"ชี้ชัดสืบทอดอำนาจ

นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า "สืบทอดอำนาจเผด็จการ อย่าได้แกล้งทำเป็นไม่เข้าใจไปเลย ก็กำลังจะสืบทอดอำนาจกันจริงๆ ก็องค์กรอิสระที่ไม่ยึดโยงกับประชาชน ส.ว.ลากตั้ง และสมัชชาคุณธรรมจริยธรรมจะร่วมกันกำหนดที่มาที่ไปของรัฐบาล ประชาชนจะได้เลือกตั้ง แต่เลือกไม่ได้ นายกฯจะมาจากคนนอก นโยบายรัฐบาลกำหนดโดยแนวทางปฏิรูปของ สปช.และกำกับโดยคณะกรรมการขับเคลื่อนที่วางตัวไว้ล่วงหน้า อย่างที่ทำกันอยู่นี้เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากการสืบทอดอำนาจเผด็จการ ทั้งโดยระบบ โครงสร้าง ตัวบุคคล นโยบายและแม้กระทั่งความคิด 

"เพราะฉะนั้นเวลาใครเขาว่า สืบทอดอำนาจ อย่าได้ทำเป็นปรี๊ดแตกไปเลย และแทนที่ท่านจะคิดชี้แจงกับประชาชน ควรจะรับฟังความเห็นประชาชนให้มากๆ จะดีกว่า ถ้าไม่รู้จะเริ่มตรงไหนก็เริ่มจากโพลที่พวกท่านทำกันเองนั่นแหละ" นายจาตุรนต์ระบุ

@ กมธ.ยกร่างฯทบทวนวันที่3 

เมื่อเวลา 09.45 น. ที่รัฐสภา มีการประชุม กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างฯ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาทบทวนร่างบทบัญญัติรัฐธรรมนูญรายมาตรา และบันทึกเจตนารมณ์ เป็นวันที่ 3 โดยเป็นการพิจารณาต่อเนื่องในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดีและระบบผู้แทนที่ดี เริ่มต้นที่หมวด 2 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ 

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาตั้งแต่มาตรา 78-84 รวม 7 มาตรา โดยส่วนใหญ่คงหลักการเดิม ไม่มีการปรับแก้ไข และได้สั่งปิดประชุมในเวลา 11.30 น. และนัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 12 มีนาคม เวลา 09.30 น. รวม 3 วันพิจารณาทบทวนไปแล้ว 84 มาตรา จากทั้งหมด 315 มาตรา 

@ "ถวิลวดี"แจงการทำโพลกมธ.

ทั้งนี้ ก่อนเข้าสู่วาระการประชุมทบทวนร่างรัฐธรรมนูญ นายบวรศักดิ์ ได้ให้นางถวิลวดี บุรีกุล กมธ.ยกร่างฯ ชี้แจงถึงการจัดทำผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน ต่อการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2558 ให้สมาชิกในที่ประชุมได้รับทราบ โดยนางถวิลวดีกล่าวว่า การสำรวจความคิดเห็นครั้งที่ 1 ได้สำรวจประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 5,800 คนทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 5-11 มกราคม 2558 

"กรอบการตั้งคำถาม เป็นการนำเอาความเห็นและข้อเสนอจากที่ประชุม สปช.และ กมธ.ยกร่างฯ มาเป็นแนวทาง เนื่องจากช่วงนั้น กมธ.ยกร่างฯ ยังไม่ได้เริ่มพิจารณาบทบัญญัติรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา โดยมีนักวิชาการจากสถาบันพระปกเกล้ามาช่วยออกแบบคำถาม รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาช่วยจัดทำรูปแบบของคำถามและปรับถ้อยคำให้เหมาะสม ตัดถ้อยคำที่เข้าข่ายล่อแหลมออกไป รวมทั้งจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลด้วย" นางถวิลวดีกล่าว 

@ สำรวจรอบ2หลังสงกรานต์

นางถวิลวดีกล่าวว่า ผลสำรวจในครั้งนี้พบว่าหลายคำถามสอดคล้องกับเนื้อหาบทบัญญัติที่ กมธ.ยกร่างฯได้บรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อาทิ ประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับกองทุนยุติธรรม เพื่อเป็นเครื่องมือในการดูแลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีประชาชนเห็นด้วยมากที่สุดถึงร้อยละ 97 รวมทั้งการกำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเข้าชื่อเสนอถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นได้ กรณีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก แต่งตั้ง โยกย้าย ข้าราชการระดับสูง 

"การจัดทำผลสำรวจครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นอีกครั้งหลังช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยจะเป็นการนำสาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญที่พิจารณาเสร็จในรอบแรกไปสอบถามประชาชน" นางถวิลวดีกล่าว

@ กมธ.แนะคุยที่ประชุมก่อน

     ข่าวแจ้งว่า ที่ประชุมได้อภิปรายเสนอแนะว่า ก่อนจัดทำผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในครั้งถัดไป อยากให้มีการนำกรอบคำถามมาหารือในที่ประชุมก่อน เพื่อให้เกิดความรอบคอบและสอดคล้องกับการทำงานของ กมธ.ยกร่างฯ รวมทั้งอยากให้มีการนำบทสรุปของเนื้อหาสาระสำคัญที่ กมธ.ยกร่างฯได้ชี้แจงต่อ สปช.เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ไปจัดทำเป็นรูปเล่มและนำไปแจกให้ประชาชนได้อ่านก่อนที่จะมีการตอบแบบสอบถาม ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการตอบผลสำรวจโดยใช้อารมณ์และความรู้สึกเป็นเกณฑ์ 

      ที่ประชุมยังเสนอว่า การตั้งคำถามควรกำหนดคำถามในลักษณะแบบปลายเปิดมากกว่าคำถามแบบปลายปิด และเน้นย้ำว่า สำหรับการจัดทำผลสำรวจนับจากนี้ไปจำเป็นต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเกรงว่าอาจมีการนำผลสำรวจไปอ้างอิงให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งได้ 

@ ปปช.แถลงปิดคดีถอด38สว.

 ขณะที่นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. เป็นประธานการประชุม สนช.ที่รัฐสภา โดยมีวาระการแถลงปิดสำนวนคดีด้วยวาจา คดีถอดถอนอดีต 38 ส.ว. ออกจากตำแหน่งกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว.โดยมิชอบ โดยนายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผู้กล่าวหา แถลงปิดสำนวนคดีว่า ในฐานะที่ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษามากกว่า 10 ปี ไม่มีผู้พิพากษาคนไหนที่ไม่กลัวบาปหรือจะตัดสินลงโทษผู้บริสุทธิ์ และเชื่อว่าจำเลยที่ตนตัดสินประหารชีวิตไปไม่มีใครที่บริสุทธิ์ เพราะกระบวนการวินิจฉัยของศาลมีกระบวนการใคร่ครวญของฝ่ายตุลาการ 

      นายวิชัย กล่าวว่า กรณีที่ ป.ป.ช.วินิจฉัยความผิดของอดีต 38 ส.ว. แล้วส่งเรื่องมายัง สนช. เพื่อให้ถอดถอนนั้น ถามว่ากระบวนการนี้ผิดหรือไม่ ตอบว่าไม่เป็นผิด เพราะกระบวนการวินิจฉัยของ ป.ป.ช. มีกระบวนการใคร่ครวญในทำนองเดียวกันกับกระบวนการของศาล มีการแยกองค์ประกอบความผิด คือ องค์ประกอบภายนอกและภายใน ว่าจำเลยกระทำโดยเจตนาหรือไม่

@ ชี้ลงมติคนละร่างฯที่เสนอแก้

      "ความผิดนี้ยังมี พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ปี 2542 กำหนดความผิดไว้ ว่าใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยสมาชิกทั้ง 38 คน กระทำการร่วมกับนายอุดมเดช รัตนเสถียร อดีต ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย และอดีตประธานวิปรัฐบาล เพื่อพิจารณาและร่วมกันลงมติแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ จึงเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เพราะร่างรัฐธรรมนูญที่อดีต 38 ส.ว.ได้พิจารณาลงมติในวาระ 1-3 เป็นคนละฉบับกับร่างที่อดีต 38 ส.ว.เข้าชื่อเสนอร่วมกับนายอุดมเดช โดยร่างรัฐธรรมนูญที่ใช้ลงมติมีการแก้ไขหลักการสำคัญ ไม่ตรงกับร่างที่เข้าชื่อเสนอแก้ไขคือ มีการแถมมาตรา 6 ที่ให้อดีต ส.ว.สามารถลงสมัคร ส.ว.อีกสมัยได้ โดยไม่ต้องเว้นวรรค 

      "จากการไต่สวนของ ป.ป.ช. มีคำยืนยันจากเจ้าหน้าที่รัฐสภาที่มาให้การต่อ ป.ป.ช.ว่า มีผู้ช่วยของนายอุดมเดชนำร่างรัฐธรรมนูญใหม่มาสับเปลี่ยนกับร่างเดิม ทำให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ถือว่าครบองค์ประกอบความผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพราะร่างรัฐธรรมนูญที่ใช้ลงมติเป็นการเสนอโดยผู้ช่วยของนายอุดมเดช คนเดียวเท่านั้น ซึ่งไม่มีสิทธิขอยื่นแก้ไข อีกทั้งศาลรัฐธรรมนูญก็วินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมีการปกปิดข้อเท็จจริง ไม่แจ้งให้สมาชิกทราบว่ามีการเปลี่ยนร่างใหม่ แต่นำร่างฉบับใหม่มาใช้ลงมติแทนฉบับเดิม" นายวิชัยกล่าว และว่า การอ้างหลักกระบวนการทางนิติบัญญัติไม่ช่วยให้พ้นผิด แต่เป็นการทำร้ายตัวเองมากกว่า

@ "วิทยา"ยันแก้ตามอำนาจรธน.

     จากนั้นนายวิทยา อินาลา อดีต ส.ว.นครพนม ตัวแทนอดีต 38 ส.ว.ผู้ถูกกล่าวหา แถลงปิดคดี โดยระบุว่าร่างที่เข้าสู่การประชุมวาระ 1 กับร่างที่ ส.ส.และ ส.ว. 308 ร่วมกันเสนอตอนแรกนั้นยืนยันว่ามีเพียงร่างเดียว เห็นได้จากการลงนามกำกับที่มีครั้งเดียวไม่ใช่ 2 ครั้ง เป็นไปตามมาตรา 291 รัฐธรรมนูญ 2550 ฝ่ายเลขาธิการวุฒิสภาก็ได้ตรวจสอบแล้วว่าถูกต้อง จากนั้นประธานรัฐสภาได้บรรจุเข้าสู่วาระการประชุม และมีการเพิ่มจากครั้งที่นำเสนอ 12 มาตรา เป็น 13 มาตรา ซึ่งผู้เสนอกฎหมายดังกล่าวได้อ่านหลักการนำเสนอต่อสมาชิกรัฐสภาทุกคนให้ได้รับทราบว่าจะมีการแก้ไข 13 มาตรา เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา 2553 ข้อ 36 และข้อ 86 ส่วนการลงมติทั้ง 3 วาระของสมาชิกรัฐสภา ย่อมได้เอกสิทธิ์คุ้มครอง ไม่อาจนำไปฟ้องร้องได้ตามมาตรา 130

    "ขอยืนยันว่าเรามีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับเดียวและดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่ตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภาและรัฐธรรมนูญ 2550 ให้ไว้ ขณะที่การชี้มูลความผิดของ ป.ป.ช. มายัง สนช. เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2557 ตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ก็จะเห็นได้ว่า คสช.ได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 ไปก่อนแล้ว" นายวิทยากล่าว

@ "ดิเรก"ยก 4 ข้อแก้ข้อกล่าวหา

     ต่อมานายดิเรก ถึงฝั่ง สปช.นนทบุรี และอดีต ส.ว.นนทบุรี แถลงปิดท้าย 4 ประเด็นว่า "1.ประเพณีปฏิบัติที่ฝ่ายนิติบัญญัติทำกันมา 82 ปี ร่างกฎหมายใดที่ประธานรัฐสภายังไม่ได้บรรจุไว้ในวาระการประชุมสามารถแก้ไขได้ ที่ผ่านมากฎหมายจำนวนมากก็มีการแก้ไขแบบนี้ 2.การร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปอย่างชอบธรรม ตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 291 ให้ไว้ ทั้งยังเป็น 1 ในแนวทางของคณะกรรมการสมานฉันท์ ที่เสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเคยดำเนินการในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ที่แก้ไขในส่วนของ ส.ส. นอกจากนี้ยังมีมาตรา 130 คุ้มครองเอกสิทธิ์การทำหน้าที่

     "3.เรามีอำนาจหน้าที่โดยตรงเลยว่าต้องแก้กฎหมาย กลั่นกรองกฎหมาย การแก้รัฐธรรมนูญที่ให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งจึงไม่ใช่ผลประโยชน์ทับซ้อน และ 4.เมื่อรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกแล้วก็ไม่ต้องพิจารณาต่อไป ที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญได้ชี้ว่า เมื่อรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกแล้วก็ไม่ต้องวินิจฉัย และเมื่อดูตามมาตรา 216 ที่กำหนดว่าคำวินิจฉัยศาลผูกพันทุกองค์กร เมื่อศาลสั่งยุติการวินิจฉัยแล้วก็ต้องผูกพันกับรัฐสภาด้วย" นายดิเรกกล่าว

@ นัดโหวต 12 มี.ค.แบ่ง 4 กลุ่ม

      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากทั้ง 2 ฝ่ายแถลงปิดคดีเสร็จสิ้น นายพรเพชรแจ้งต่อที่ประชุมว่า ได้มีคำสั่งนัดประชุม สนช.เพื่อลงมติถอดถอนหรือไม่ถอดถอนอดีต 38 ส.ว.ในวันที่ 12 มีนาคม เวลา 10.00 น. จากนั้นนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช.คนที่ 1 ชี้แจงการลงมติถอดถอนหรือไม่ถอดถอนว่าจะแบ่งเป็น 4 กลุ่มความผิด เป็นบัตร 4 ใบ 4 สี ให้สมาชิกลงคะแนนลับ โดยกลุ่มแรกมี 22 คน, กลุ่ม 2 มี 13 คน, กลุ่ม 3 มี 2 คน และกลุ่ม 4 มี 1 คน (อ่านรายละเอียด น.11)

    นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (วิป สนช.) เปิดเผยขั้นตอนการลงมติถอดถอนว่า บัตรลงคะแนนมี 4 ใบ แบ่งตามฐานความผิด แต่ละใบจะมีรายชื่อของผู้ถูกกล่าวหา การลงมติจะให้มีการลงมติเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าการลงมติเช่นนี้ต้องเกิดคำถามตามมาว่า หากมีการลงมติถอดถอนบุคคลหนึ่ง แต่ไม่ลงมติถอดถอนอีกบุคคลหนึ่ง จะใช้มาตรฐานอะไรมาตัดสิน ทั้งที่มีฐานความผิดเดียวกัน ซึ่งที่ประชุมวิป สนช.เห็นว่าอยากให้มีการลงมติเป็นกลุ่ม แต่ตามกฎหมายไม่สามารถกระทำได้ เพราะระบุไว้ชัดเจนว่าจะต้องลงมติเป็นรายบุคคล

@ สนช.ส่วนใหญ่ไม่ถอดถอน

      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การลงมติถอดถอนอดีต 38 ส.ว.ในวันที่ 12 มีนาคม สนช.ส่วนใหญ่เห็นไปในทางเดียวกันว่า ไม่สามารถเอาผิดได้ เนื่องจากเห็นว่าข้อกล่าวหาของ ป.ป.ช.ที่ระบุว่า อดีต 38 ส.ว.ลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 3 วาระ ทั้งที่ทราบอยู่แล้วว่า เป็นร่างรัฐธรรมนูญคนละฉบับกับที่เข้าชื่อเสนอแก้ไขนั้นยังไม่ชัดเจนในการเอาผิดได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้สิ้นสภาพการบังคับใช้ไปแล้ว อีกทั้งการพิจารณากฎหมายที่ผ่านมาก็เคยมีการขอเปลี่ยนร่างกฎหมายใหม่แทนฉบับเดิมก่อนที่จะมีการบรรจุเข้าสู่วาระการประชุม ส่วนที่เปิดโอกาสให้ ส.ว.ลงสมัคร ส.ว.ได้อีกสมัย โดยไม่ต้องเว้นวรรคนั้น ยังไม่สามารถพิสูจน์เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนได้อย่างชัดเจน เนื่องจากไม่รู้ว่าจะลงสมัครหรือไม่ หรือลงสมัครแล้วจะได้รับเลือกตั้งหรือไม่

      ทั้งนี้ ผลการลงคะแนนทั้ง 4 กลุ่ม จะได้คะแนนไม่ถึง 3 ใน 5 หรือ 132 เสียง ที่จะถอดถอนได้ และคะแนนที่ออกมาของทั้ง 4 กลุ่มจะไม่เท่ากัน รวมทั้งในแต่ละกลุ่ม อดีต ส.ว.ก็อาจจะได้คะแนนไม่เท่ากัน โดยคะแนนของกลุ่มฐานความผิดที่ 1 จำนวน 22 คน ที่เข้าชื่อและลงมติ 3 วาระ จะมีคะแนนถอดถอนมากกว่าอีก 3 กลุ่ม เนื่องจาก สนช.บางส่วนเห็นว่า มีการกระทำความผิดครบองค์ประกอบ แต่คาดว่าเสียงยังไม่เพียงพอที่จะถอดถอนได้

@ "มาร์ค"ไม่อ้าง"ธาริต"เป็นพยาน

      นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่จะไม่อ้างหลักฐานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มาใช้ประกอบในการชี้แจงคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดในคดีสลายการชุมนุมเสื้อแดงปี 2553 ว่า เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะรายงานของดีเอสไอที่มีการส่งฟ้องในคดีก่อการร้าย มีการรวบรวมพยานหลักฐานอยู่ในสำนวนของอัยการที่ส่งฟ้องต่อศาลในคดีก่อการร้ายไปแล้ว เอกสารเหล่านี้จึงมีความสำคัญต่อการชี้แจงข้อกล่าวหาของ ป.ป.ช. เพื่อยืนยันให้เห็นว่ามีกลุ่มติดอาวุธหรือชายชุดดำแฝงตัวอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม แต่จะไม่อ้างถึงตัวนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีดีเอสไอที่เป็นคนทำคดี เพื่อเป็นพยานในคดีนี้

      ส่วนกรณีจะมี ป.ป.ช.จำนวน 5 คนพ้นวาระ จะมีผลทำให้คดีต้องสะดุดหยุดลงหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ ป.ป.ช.ต้องพิจารณาว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร แต่นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.ดูแลคดีนี้มาตั้งแต่ต้น จะครบวาระในเดือนกันยายน 2558 ยังเชื่อว่านายวิชาน่าจะพยายามทำให้เสร็จก่อนที่จะพ้นวาระ เนื่องจากเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ

@ นายกนครศรีฯลุยงานต่อ

      นายมาโนช เสนพงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นครศรีธรรมราช เปิดเผยกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง) ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2557 และให้ชดใช้ค่าเสียหายจากการเลือกตั้ง รวมทั้งดำเนินคดีอาญาพร้อมนายเทพไท เสนพงศ์ รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) พี่ชายนายมาโนช และนายปิยะวัฒน์ เกตุแก้ว ประธานสาขา ปชป.เขตเลือกตั้งที่ 1 ว่าให้ทำหน้าที่ต่อไปภายในเวลา 3-4 เดือนนี้ เนื่องจากยังมีเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาเพื่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภัยแล้งหรือเรื่องสาธารณูปโภค แม้กระทั่งเรื่องของปัญหาราคายางพาราที่กำลังหาทางแก้ 

      "ขอเรียนผ่านสื่อมวลชนว่าไม่ต้องตกใจ แม้ว่าผมจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ยังมีรองนายกทำหน้าที่แทนประดุจเหมือนผมทำหน้าที่ ผมเข้าใจ ยังสู้ และจะสู้ต่อไป รอวันจุดประทัดเช่นเดียวกัน รอจนกว่าศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะมีคำพิพากษา" นายมาโนชกล่าว

@ "พิชัย บุณยเกียรติ"พร้อมชิง

นายธงชัย วรรธนะพิศิษฐ์ ประธาน กกต.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า นายมาโนชยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้จนกว่าศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่และมอบหมายให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมาทำหน้าที่แทน หากศาลชี้ว่าผิดจริง ปลัด อบจ.จะต้องปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะปลดล็อกการเลือกตั้ง 

นายพิชัย บุณยเกียรติ ผู้สมัครนายก อบจ.นครศรีธรรมราช ที่ร้องเรียนนายมาโนช กล่าวว่า หากมีการเลือกตั้งใหม่ก็พร้อมที่จะลงสมัครแข่งขันกันอีกครั้งหนึ่ง แต่จะเป็นรูปแบบใดค่อยว่ากันอีกครั้งหนึ่ง

@ "บิ๊กตู่"ปธ.ถกแม่น้ำ5สาย

ที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อเวลา 13.20 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมร่วมระหว่าง คสช. คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมี ครม. นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช.คนที่ 1 นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธาน สนช.คนที่ 2 นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ รองประธาน สปช.คนที่ 1 และประธาน กมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญ น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธาน สปช.คนที่ 2 เข้าร่วมการประชุม

พล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อประสานการทำงานให้สอดคล้อง ให้เดินหน้าไปได้ ทุกคนทราบถึงสถานการณ์ในปัจจุบันดีว่าเป็นอย่างไร ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาทำงานร่วมกัน ด้วยเหตุผลความจำเป็นที่ต้องมีแม่น้ำ 5 สาย ที่ทุกสายต้องเดินหน้าไปพร้อมกัน สิ่งสำคัญทุกคนต้องเข้าใจตรงกันว่า วันนี้บ้านเมืองกำลังมีปัญหา ทั้งการบริหารราชการแผ่นดิน การทุจริตคอร์รัปชั่น ความไม่โปร่งใส จึงต้องวางอนาคตสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศ

@ ปรียบ"คสช."แม่น้ำเจ้าพระยา

ต่อมาเวลา 18.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมว่า การประชุมครั้งนี้ได้ตกลงกันใหม่แล้วว่าเป็นการประชุมแม่น้ำ 4 สาย ปิง วัง ยม น่าน ประกอบด้วย ครม. สนช. สปช. และ กมธ.ยกร่างฯ โดยมี คสช.เป็นแม่น้ำสายที่ 5 คือแม่น้ำเจ้าพระยา ถือเป็นต้นน้ำที่เริ่มต้นมาตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และแม่น้ำทั้ง 4 สายจะไหลลงสู่เจ้าพระยา เปรียบเสมือนประเทศไทย คนไทยทุกคนจะได้รับผลประโยชน์ทั้งสิ้น 

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการเสนอร่างแรกของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว โดยพูดเฉพาะประเด็นที่สำคัญก่อน เรื่องอื่นคงต้องศึกษารายละเอียดอีกครั้ง ทั้งนี้ มีข้อสังเกตที่ได้ศึกษากันมาแล้วว่าควรจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะจะขับเคลื่อนอย่างไรให้นำไปสู่การเลือกตั้งให้ได้ตามโรดแมป ประเด็นสำคัญคือ ความขัดแย้งที่มีอยู่จะทำอย่างไร และทำอย่างไรการปฏิรูปจะเกิดความยั่งยืน 

@ เห็นใจ"บวรศักดิ์"โดนหนัก

"ผมขอเรียนว่า เราไม่ได้มุ่งหวังในการสืบทอดอำนาจ โดยมีเจตนาทางผลประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ผ่านมาก็ไม่มี อยากให้บ้านเมืองมีอนาคต บ้านเมืองเรามีความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูป 36 วาระ บวก 7 เรื่อง เยอะมากและมีรายละเอียดอยู่แล้ว วันนี้อย่าไปเพิ่มความขัดแย้งอีกเลย วันนี้ได้ทำความเข้าใจกันถึงการร่างรัฐธรรมนูญ ว่าควรจะมีกรอบอะไรบ้าง หรือมีกี่หมวดอะไรก็ว่ากันมา คสช.จะบันทึกข้อสังเกตของแต่ละฝ่ายมาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ฝ่ายรัฐบาล ข้าราชการกระทรวงก็ต้องฟังเขาด้วย และส่งให้ สปช. สนช.ด้วย โดยช่วงนี้เป็นช่วงของการทำงานร่วมกัน เพราะ สปช.ไม่ได้มีทางกฎหมายกับรัฐบาลเวลานี้ แต่จะต้องวางอนาคตในวันข้างหน้า โดยเฉพาะ 9 ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่ขับเคลื่อน วันนี้ต้องเห็นใจประธาน กมธ.ยกร่างฯ จะโดนหนักหน่อยเป็นธรรมดา" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว และว่า วันนี้ไม่มีทะเลาะกัน แฮปปี้ดี และที่เปรียบว่าเป็นการซื้อรถคันใหม่แทนการลงเรือลำเดียวกัน เพราะช่วงนี้เป็นหน้าแล้ง 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมแม่น้ำ 5 สายครั้งต่อไป พล.อ.ประยุทธ์ได้นัดประชุมวันที่ 9 เมษายน ที่สโมสรทหารบก

@ "พรเพชร"คุย"บิ๊กตู่"ชมสนช. 

นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ให้สัมภาษณ์ว่า นายกฯได้ชมว่า สนช.ทำงาน

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!