WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

14nak

 

ลุ้น 14 นศ. ขอศาลทหารปล่อย ทนายยื่นพรุ่งนี้ 78 นักกฎหมาย เข้าชื่อ-ยันไม่ผิด รองปธ.สนช.แนะ แม้วถกปรองดอง

      โฆษกคสช.ไม่รู้ข้อมูล 'บิ๊กตู่'จะให้ปล่อย 14 น.ศ. เพราะเกรงกระทบโรดแม็ปรัฐบาล ทีมทนายเตรียมยื่นศาลทหาร 7 ก.ค.คัดค้านฝากขังผัด 2 อาจารย์-น.ศ.แห่โพสต์อิตที่หน้า ม.เชียงใหม่ คึกคึก จี้คืนอิสรภาพน.ศ. 78 นักกฎหมายชี้ 14 น.ศ.ไม่ผิดเรียกร้องปล่อยตัว-เลิกคุกคามญาติ แกนนำเพื่อไทยห่วงแรงปะทุทั้งจากปมจับน.ศ.-ชาวบ้านเดือดร้อนจากสารพัดปัญหา 'วัฒนา'จวกรัฐอ้างถังแตกแต่กลับทำเพื่อประโยชน์พวกพ้อง ยิ่งอยู่ต่อยิ่งสร้างปัญหา 'ไก่อู' สวนกลับอย่าฟังคนเพื่อไทยที่เป็นต้นตอปัญหา'พีระศักดิ์' แนะ'แม้ว' ส่งตัวแทนคุย คสช.เพื่อจุดพลุปรองดอง ด้านกก.ปรองดอง สปช.แนะนายกฯ ใช้ ม.44 นิรโทษม็อบการเมืองที่ผิดไม่ร้ายแรงเพื่อสมานฉันท์ กมธ.ยกร่างฯ หนักใจ 2 ปมแก้รธน. สปช.-ครม.ไม่เอาโอเพ่นลิสต์-กลุ่มการเมือง แต่ประชาชนเห็นด้วย 'อลงกรณ์" ขวาง สปช.โหวตลับร่างรธน. ลั่นกระบวนการต้องโปร่งใส ป.ป.ช.เตรียมเรียกพล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ ชี้แจงคดีสร้างโรงพัก

 

วันที่ 06 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ปีที่ 25 ฉบับที่ 8986 ข่าวสดรายวัน

วันที่ห้า - นักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ จัดกิจกรรม 'ปลดปล่อยพันธนาการ สู่ จิตวิญญาณเสรี'เพื่อให้ปล่อย 14 น.ศ. โดยขังตัวเองในลูกกรงติดป้าย 'เรือนจำมธ.' เป็นวันที่ห้า ที่ลานโพธิ์ ม.ธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 

 

คสช.ปัดข่าว"บิ๊กตู่"จ่อปล่อยนศ.

       เมื่อวันที่ 5 ก.ค. พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.เตรียมปล่อยตัว 14 นักศึกษา กลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ที่ถูกจับกุมในข้อหายั่วยุ ปลุกปั่น และฝ่าฝืนคำสั่งคสช. หลังจัดกิจกรรมต่อต้านคสช. เพื่อต้องการประคับประคองสถานการณ์ให้เกิดความสงบ ตัดตอนปัญหาที่เริ่มลุกลามกระทบโรดแม็ปและต่ออายุรัฐบาลว่า ยังไม่ทราบและยังไม่ได้รับรายงานข้อมูลเรื่องดังกล่าว ไม่ทราบว่ากระแสข่าวดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ต้องขอตรวจสอบรายละเอียดก่อน 

       พ.อ.วินธัยยังปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นกรณีที่ 14 นักศึกษาเรียกร้องขอขึ้นศาลพลเรือนแทนศาลทหาร

 

ทนายเตรียมค้านฝากขังผัด 2

       นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความของนักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ เปิดเผยว่า ในวันที่ 7 ก.ค.นี้เจ้าหน้าที่จะยื่นคำร้องขอฝากขังกลุ่มนักศึกษาประชาธิปไตยใหม่ทั้ง 14 คน ต่อศาลทหารเป็นผัดที่ 2 ซึ่งขณะนี้ตนและทีมทนายความกำลังอยู่ในขั้นตอนรวบรวมข้อมูล ถึงประเด็นในการยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขัง โดยจะชี้แจงเหตุผลต่อศาลว่านักศึกษาทั้ง 14 คนไม่มีพฤติการณ์หลบหนี รวมทั้งเจ้าหน้าที่ก็รู้ความเคลื่อนไหวของกลุ่มนักศึกษามาโดยตลอด ซึ่งในวันที่ 6 ก.ค.ตนในฐานะหัวหน้าทีมทนายความจะประชุมหารือกับทนายความของนักศึกษาทั้งหมดอีกครั้ง 

"ส่วนแนวทางการต่อสู้คดีถ้าหากศาลอนุญาตให้ฝากขังผัดที่ 2 ได้ ทางกลุ่มนักศึกษายังคงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำเหมือนเดิม แต่ไม่ว่าศาลจะมีคำสั่งอย่างไรในฐานะทนายความคงต้องยอมรับคำตัดสินของศาล และอาจจะยื่นคำร้องคัดค้านการฝากขังอีกครั้งในผัดต่อไป" นายกฤษฎางค์กล่าว

 

ลุ้นปล่อยตัวหรือไม่ 7 ก.ค.

      ผู้สื่อข่าวถามว่าในวันที่ 7 ก.ค. นักศึกษาทั้ง 14 คนต้องไปขึ้นศาลทหารด้วยหรือไม่นั้น นายกฤษฎางค์กล่าวว่า ยังไม่ทราบ เพราะโดยปกติในศาลทหารจะมีการเบิกตัวผู้ต้องหากระทำการไต่สวนต่อหน้าศาล แต่ครั้งนี้เป็นเรื่องไม่ปกติ ยังไม่สามารถตอบได้ ส่วนสภาพจิตใจของนักศึกษาทั้ง 14 คนยังมีกำลังใจที่ดีเหมือนเดิม แม้จะมีบางคนที่มีอาการเจ็บป่วยบ้าง แต่กลุ่มนักศึกษายังคงยืนยันที่จะต่อสู้ต่อไป เพราะมีความเชื่อมั่นว่าทำในสิ่งที่ถูกต้อง

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ นาย รังสิมันต์ โรม นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยา ลัยธรรมศาสตร์ ระบุผ่านห้อง คุมขังว่า ถือเป็นกระบวนการปกติที่ทีมทนายต้องทำ หากการยื่นค้านฝากขังครั้งนี้ศาลทหารเห็นชอบ พวกตนทั้งหมดต้องออกจากเรือนจำตามคำสั่งศาล แต่จะเคลื่อนไหวอย่างไรต่อต้องหารือกันอีกที

 

เรือนจำมธ.ลุยจัดกิจกรรม

     เวลา 14.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ลานโพธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กลุ่มนักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่ยังคงจัดกิจกรรม "ปลดปล่อยพันธนาการ สู่จิตวิญญาณเสรี" โดยการกักขังตัวเองในลูกกรงที่มีป้ายระบุว่า "เรือนจำมธ." เป็นวันที่ 5 เป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักศึกษาจำนวน 14 คนที่ถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ในข้อหาทำผิดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 116 และขัดคำสั่งคสช. 

ทั้งนี้ ตั้งแต่ช่วงเช้าที่ผ่านมาได้มีประชาชนจำนวนหนึ่งนำอาหารและเครื่องดื่มมาบริจาคให้นักศึกษาที่จัดกิจกรรม พร้อมกับเขียนข้อความบนกระดาษโพสต์อิตเรียกให้ปล่อยตัวนักศึกษา โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย อย่างไรก็ตามในวันที่ 6 ก.ค. นักศึกษากลุ่มดังกล่าวจะมีกิจกรรม "ด้วยปีกเสรีภาพ" บริเวณกำแพงประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตั้งแต่เวลาประมาณ 17.00 น.เป็นต้นไป

 

อจ.-นศ.เชียงใหม่แห่โพสต์อิต

      เมื่อเวลา 18.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีกลุ่มนักศึกษา อาจารย์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จำนวน 200 คน มารวมตัวกันบริเวณประตูหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้เขียนข้อความ ให้ปล่อยตัว 14 นักศึกษา ลงในกระดาษกาวสีหรือโพสต์อิต และแต่ละคนได้นำไปติดไว้บริเวณซุ้มประตูสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขณะเดียวกันมีนักศึกษาชายคนหนึ่งได้ถอดเสื้อและให้เพื่อนนักศึกษานำกระดาษกาวเขียนข้อความมาติดที่ตัวของเขาด้วย โดยมีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในเครื่องแบบและนอกเครื่องแบบ เจ้าหน้าที่ทหาร จากค่ายกาวิละ และกองพัฒนาที่ 33 รวมประมาณ 200 นายมาดูแลความสงบเรียบร้อยและบันทึกภาพการทำกิจกรรมครั้งนี้ 

     นอกจากนี้ กลุ่มที่มาร่วมกิจกรรมได้นำกีตาร์มาร้องเพลงเรียกร้องเสรีภาพ และประชาธิปไตย รวมทั้งยังมีนักศึกษาหญิงมาอ่านแถลงการณ์เป็นภาษาอังกฤษ เรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตย

นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดเผยว่า ตนได้มาติดแผ่นกระดาษเรียกร้องให้มีการปล่อยตัว 14 นักศึกษาและเรียกร้องเสรีภาพ ซึ่งการเดินทางมาครั้งนี้เห็นนักศึกษาและอาจารย์มาติดป้ายกันตนก็มาติดเรียกร้องบ้าง

78 นักกฎหมายหนุนนศ.

       วันเดียวกัน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) องค์กร และบุคคลดังมีรายชื่อท้ายแถลงการณ์ รวม 78 รายชื่อออกแถลงการณ์เรียกร้องให้สั่งไม่ฟ้องนักศึกษาทั้ง 14 คน ที่ถูกจับกุมข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 และตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ประกอบมาตรา 83 เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. และปัจจุบันถูกฝากขังโดยอำนาจศาลทหาร 

      แถลงการณ์ระบุว่า สนส.เห็นว่านักศึกษาทั้ง 14 คนได้ใช้เสรีภาพในการชุมนุมแสดงความไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับการใช้อำนาจของ คสช. และสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจภายหลังการรัฐประหารในระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการชุมนุมแสดงความคิดเห็นโดยสันติวิธี ไม่มีการใช้ความรุนแรง และไม่มีพฤติการณ์หรือการกระทำใดที่จะถือได้ว่ากระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ในทางกลับกันการกระทำดังกล่าวถือเป็นการสะท้อนปัญหาสังคมและปัญหาปากท้องของชาวบ้านที่นักศึกษาได้รับรู้จากการลงพื้นที่ศึกษาปัญหาด้วยตนเองอย่างจริงจัง เพื่อให้สาธารณชนได้รับรู้ และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน สร้างความมั่นคงให้กับประชาชนซึ่งแท้จริงแล้วเป็นสิ่งเดียวกันกับความมั่นคงของรัฐ

 

จี้สั่งไม่ฟ้อง-เลิกกดดันญาติ

       สนส. นักกฎหมาย ทนายความ และบุคลากรที่ทำงานด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชนเห็นว่า การแสดงความเห็นของนักศึกษาทั้ง 14 คนที่แตกต่างจากรัฐโดยสันติวิธี จึงถือเป็นนักโทษทางการเมืองและนักโทษทางความคิด ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ที่รัฐไทยเป็นภาคี และรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวมาตรา 4 ได้รับรองพันธกรณีดังกล่าวที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตาม 

 


โพสต์อิต - กลุ่มนักศึกษา อาจารย์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมตัวกันจัดกิจกรรมติดโพสต์อิต เพื่อเรียกร้องให้ปล่อย 14 นักศึกษา ท่ามกลางทหารและตำรวจมาเฝ้าสังเกตการณ์และบันทึกภาพผู้ร่วมกิจกรรม บริเวณประตูหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 5 ก.ค.

     ด้วยเหตุผลดังกล่าวการกระทำของนักศึกษาจึงไม่ถือว่าเป็นความผิด การดำเนินคดีนักศึกษา 14 คนต่อไปย่อมจะไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือปราบปรามดำเนินคดีกับประชาชนที่มีความคิดเห็นแตกต่างจากรัฐบาล ลักษณะดังกล่าว ย่อมเป็นการใช้อำนาจโดยปราศจากความเป็นธรรม กระทบต่อความมั่นคงในชีวิต สิทธิเสรีภาพ และหลักประกันสิทธิของประชาชนเสียเอง

     จึงขอเรียกร้อง 1.ให้พนักงานสอบสวนและ/หรืออัยการศาลทหารมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องนักศึกษาทั้ง 14 คน และปล่อยตัวไป 2.ให้ คสช.ยุติการเจรจาในลักษณะกดดันญาติของนักศึกษา อันอาจถือได้ว่าเป็นการคุกคามสิทธิเสรีภาพของบุคคลเหล่านั้น อีกทั้งควรยุติให้ข้อมูลข่าวสารที่จะเป็นการลดความน่าเชื่อถือ และอาจจะเป็นการสร้างความเกลียดชังต่อนักศึกษา ซึ่งอาจจะนำพาไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงยิ่งขึ้น

 

"ภูมิธรรม"ห่วงแรงปะทุ

      ด้านนายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย เขียนข้อความทาง ทวิตเตอร์ส่วนตัว @phumtham ว่ามองการปะทุขึ้นของกลุ่มประชาชนที่เดือดร้อนในปัญหาเศรษฐกิจและการเรียกร้องของนิสิต นักศึกษา ที่อยากได้สิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยด้วยความห่วงใย อยากส่งกำลังใจและความห่วงใยให้ แต่เกรงว่าความห่วงใยที่มอบให้อาจถูกแปรสภาพเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ทำให้ความตั้งใจเขาถูกแปลความไปผิดๆ

      ทุกวันนี้ บ้านเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน และในยามที่บ้านเมืองกำลังเผชิญภาวะวิกฤต และแรงกดดันมากมาย ทุกฝ่ายต่างขวนขวายช่วยเหลือตัวเอง เพื่อหาทางออก วันนี้เศรษฐกิจของประเทศถูกกระหน่ำซ้ำเติมจากภาวะต่างๆ กติกาสากลที่โลกยอมรับและใช้เป็นบรรทัดฐานการอยู่ร่วมกัน คือความเป็นประชาธิปไตยของประเทศ ซึ่งไทยกำลังถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดจากทั่วโลกและกำลังถูกใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างปฏิสัม พันธ์กับหลายประเทศในโลก ความเป็นประชาธิปไตยของไทยถูกเฝ้าดู และส่งผลต่อการค้าขายร่วมกัน การส่งออก การท่องเที่ยวและกระทบโดยตรงต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ถดถอยในวันนี้ 

 

แนะเร่งคลี่ปมละเอียดอ่อน

     นายภูมิธรรม ระบุว่า ภาวะฝนแล้งจากภัยธรรมชาติและความไม่สมบูรณ์ของระบบบริหารจัดการน้ำยังส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาวะแล้งต่อเนื่อง ความขัดแย้งในหมู่ชาวนาที่ต้องแย่งน้ำกันทำนา ภาวะการขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค ที่จะกระทบวิถีชีวิตของ คนเมืองในอนาคตอันใกล้หากแล้งยังไม่ยุติ ซึ่งเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ และเป็นเรื่อง น่ากังวลใจที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความตึงเครียดต่างทยอยเกิดขึ้น รัฐบาลมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลจึงต้องตั้งสติให้มั่น ความละมุนละม่อมที่มากด้วยความเข้าใจและเห็นใจคือหนทางที่จะนำไปสู่การคลี่คลายปัญหา ที่ไม่เสียหายและบานปลาย

       ส่วนการจัดการปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและการแก้ไขปัญหา 14 นักศึกษาที่เรียกร้องประชาธิปไตยที่กำลังถูกจองจำคือรูปธรรมที่รอการคลี่คลายจากรัฐบาล คำพูดที่คนในรัฐบาลพูดถึงปัญหานี้นับว่าดีแต่จะยิ่งดีหากหาทางออกให้พวกเขา นำไปสู่การลดแรงกดดันให้นักศึกษาผู้บริสุทธิ์ อย่าปล่อยให้ เจ้าหน้าที่ไปจัดการปัญหาที่ละเอียดอ่อนตามลำพัง เพราะอาจทำให้ปัญหาเบี่ยงเบนและบานปลายออกไปอย่างไม่คาดคิด ให้รีบคลี่คลายปัญหาการจับกุมคุมขังนักศึกษา และเคารพในความเห็นต่างของเขาเพื่อเดินหน้าเข้าสู่โรดแม็ป ทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนโดยเร็วคือทางออกที่ดีที่สุด ไม่มีใครอยากเห็นความเสียหายของประเทศเกิดขึ้นมากไปกว่านี้อีกแล้ว และตนเป็นห่วงจริงๆ

 

"ปึ้ง"โต้ยืมพลังนศ.กดดันรัฐ

       ด้านนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่สมาชิกพรรคการเมืองบางพรรคแสดงความเห็นว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลเปลี่ยนมาใช้นักศึกษากดดันรัฐบาลแทนการให้มวลชนออกมาเคลื่อนไหว ว่าควรเลิกพูดจาในลักษณะที่เอาดีเข้าตัวได้แล้ว วันนี้พวกเราอยู่อย่างสงบและเฝ้ามองการบริหารงานของรัฐบาลนี้ให้ทำประโยชน์ให้เกิดกับประชาชน เราไม่ได้เคลื่อนไหวอะไร เพราะไม่ต้องการไปเป็นเครื่องมือของใคร ดังนั้นคนที่แสดงความเห็นเช่นนี้ควรพอเสียที

      ส่วนกรณีที่นายกฯระบุว่างบประมาณสาธารณสุขมีไม่เพียงพอเพราะนำไปทำโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค หรือจนเกิดเป็นภาระในขณะนี้ นายสุรพงษ์กล่าวว่าโครงการดังกล่าวถือว่าประสบความสำเร็จและทำให้ได้รับคำชื่นชมจากต่างประเทศ และจากองค์การสหประชาชาติ ที่ช่วยให้คน จนจำนวนมากสามารถเข้าถึงการบริการสาธารณสุขเพื่อรับการรักษาได้อย่างทั่วถึง ซึ่งโครงการดังกล่าวหลายประเทศอยากนำไปดำเนินการบ้างแต่ไม่สามารถทำได้ จึงเป็นที่น่าเสียหายหากจะยกเลิก ขอให้รัฐบาลทบทวนและไตร่ตรองให้รอบคอบ และหากเปรียบกับสิ่งที่บางหน่วยงานกำลังเสนอจัดซื้อยุทโธปกรณ์ต่างๆ ต้องดูว่าประชาชนได้ประโยชน์หรือไม่กับการนำเงินไปใช้ในเรื่องดังกล่าว เพราะยุทโธปกรณ์ที่ซื้อมา 10-20 ปีก็ยังไม่ได้ใช้ไปรบกับใคร

 

"เสี่ยไก่"จวกรัฐขออยู่ต่อ 

      นายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่าหลังจากมีการจับกุมนักศึกษากลุ่มดาวดิน เกิดกระแสเรียกร้องให้ปล่อยตัวและให้คืนอำนาจให้ประชาชน หลายคนในรัฐบาลได้ออกมาขอเวลาทำงานต่อเพื่อแก้ไขปัญหาและสางปมเศรษฐกิจก่อนส่งต่อให้รัฐบาลใหม่นั้น ตนเห็นว่า 1.การบริหารประเทศที่ผ่านมาไม่ได้ทำเพื่อคนส่วนใหญ่ แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของพวกเดียวกัน ในขณะที่อ้างว่ารัฐบาลกำลังถังแตกไม่มีเงินที่จะช่วยเหลือเกษตรกร แต่กลับอนุมัติสองขั้นและวันเวลาทวีคูณให้กับพรรคพวกที่พากันมายึดอำนาจเสียเงินไปนับ 1 แสนล้านบาท จนท้ายสุดจะยกเลิกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคอ้างว่าไม่มีเงิน ทั้งที่เป็นโครงการที่ทำเพื่อคนจนให้สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างเท่าเทียมกับคนรวย แต่มีเงิน 36,000 ล้านบาทไปซื้อเรือดำน้ำ 

       2.การควบคุมประเทศด้วยการใช้อำนาจและอาวุธ รวมถึงการจำกัดเสรีภาพประชาชนในการแสดงความคิดเห็น ไม่ได้ทำให้เกิดความสงบอย่างยั่งยืน การปฏิรูปต้องการการมีส่วนร่วม ไม่ใช่กรอกหูแต่ปิดปากประชาชนอย่างที่กำลังทำ สิ่งเดียวที่ทำให้คนไทยสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติแม้จะเห็นไม่ตรงกัน คือกติกาของประเทศที่เป็นกลางและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย แต่รัฐธรรมนูญที่กำลัง ยกร่างล้วนสร้างความขัดแย้งเพิ่มขึ้นแล้วยังจะมีหน้ามาขออยู่ต่อ ลองถามประชาชนมั้ยว่าอยากให้พวกคุณอยู่ต่อหรืออยากให้ไปตั้งแต่เมื่อวานนี้

 

ห่วงถูกคว่ำบาตรทางศก.

        นายวัฒนากล่าวต่อว่า 3.ข้อเสนอในการปฏิรูปไม่น่าเชื่อถือ แค่การไม่มีข้อเสนอให้ปฏิรูปกองทัพซึ่งควรเป็นหน่วยงานแรกที่ต้องปฏิรูป ก็เห็นได้ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ แล้วประชาชนจะเชื่อได้อย่างไรว่าสิ่งที่พวกคุณเสนอไว้นั้นถูกต้อง ผลงานที่เป็นรูปธรรมอย่างเดียวที่พอเห็นคือการเสนอให้เปิดบ่อนเสรี และ 4.เศรษฐกิจไทยกำลังดิ่งเหว เพราะการส่งออกตกลงอย่างต่อเนื่อง การบริโภคภายในตกมาตลอดตั้งแต่มีการยึดอำนาจ ไม่มีการลงทุนใหม่เกิดขึ้นจากนักลงทุนต่างประเทศเพราะถูกกีดกันจากประเทศคู่ค้า ท้ายสุดแม้รัฐบาลจะใช้มาตรการการเงินและการคลังด้วยการลงทุนภาครัฐแต่ก็ไม่ทำให้นักลงทุนมั่นใจ นอกจากนี้ผลของการยึดอำนาจทำให้ประเทศคู่ค้าใช้มาตรการต่างๆ เพิ่มขึ้นเพื่อกดดันให้รีบคืนอำนาจให้ประชาชน ได้แก่การที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ(ไอเคโอ) ประกาศให้ไทยไม่มีมาตรฐานทางการบิน สหภาพยุโรป(อียู)ให้ใบเหลืองกับการประมง สหรัฐขึ้นบัญชีไทยค้ามนุษย์ และล่าสุดกลุ่มประเทศอียูประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจในทุกกรณีจนกว่าไทยจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย

 

ยิ่งอยู่นานยิ่งสร้างปัญหา 

     นายวัฒนากล่าวว่า ปัญหาเร่งด่วนที่สุดที่ต้องเร่งรีบแก้ไข คือปัญหาเศรษฐกิจซึ่งไม่มีทางแก้ไขได้ เพราะกลุ่มประเทศที่เป็นคู่ค้ารังเกียจและไม่คุยกับรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจ ยิ่งอยู่นานขึ้นเท่าไรปัญหาจะมากขึ้นเท่านั้น นี่คือข้อจำกัดอันเป็นเหตุให้นานาชาติกดดันไม่ได้เกิดมาจากใครคนใดคนหนึ่ง หัดเข้าใจปัญหาแล้วแก้ที่ต้นเหตุดีกว่าเที่ยวไปโทษคนอื่น เมื่ออยู่ไปก็แก้ปัญหาให้ประเทศไม่ได้แล้วจะอยู่ไปเพื่ออะไร 

       "ผมเชื่อว่าพวกคุณหวังดีต่อบ้านเมือง แต่สิ่งที่ประเทศต้องการจากพวกคุณมากกว่าความหวังดีคือการเสียสละ รีบคืนอำนาจให้ประชาชนได้ไปเลือกรัฐบาลของเขาเองมาแก้ปัญหา เพราะประเทศนี้ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของคนไทยทุกคนเท่ากัน" นายวัฒนากล่าว

 

"ไก่อู"สวนกลับ-"วัฒนา"เอาคืน

      พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่านายวัฒนาเป็นคนของพรรคเพื่อไทย และประชาชนก็รู้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร ไม่ควรไปฟังคนที่เป็นต้นตอของปัญหา ที่ออกมาแสดงความเห็นและสื่อมวลชนไม่ต้องไปกังวลกับประเด็นดังกล่าว เพราะรัฐบาลพยายามเร่งแก้ไขปัญหาประเทศอย่างเต็มที่ ผู้สื่อข่าวถามว่าจะเชิญไปพูดคุยเพื่อปรับทัศนคติหรือไม่ พล.ต.สรรเสริญกล่าวว่าไม่กล้าไปตอบแทนคสช.ว่าจะเรียกตัวไปปรับทัศนคติหรือไม่ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคสช.ในการดำเนินการรักษาความสงบต่อไปจะดีกว่า

      "นายกฯทราบเรื่องนี้ดีว่ามีคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์ แต่อยากให้ดูที่ผลงานของรัฐบาลมากกว่า เห็นได้ว่าการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่ญี่ปุ่นได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ไม่ได้เป็นอย่างที่นายวัฒนาออกมาวิจารณ์ การที่นายวัฒนาออกมาพูดว่ารัฐบาลนี้ทำให้เศรษฐกิจทรุด แล้วจะต้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาอย่างไร จะให้แก้ปัญหาโดยการรับจำนำข้าวเพิ่มหรือไม่ ก็ไม่ใช่ ดังนั้นรัฐบาลจึงไม่อยากตอบโต้กลับ ขอตั้งใจทำงานดีกว่า" พล.ต.สรรเสริญกล่าว

หลังจากพล.ต.สรรเสริญให้สัมภาษณ์แล้ว ผู้สื่อข่าวได้สอบถามนายวัฒนา ซึ่งได้ตอบโต้ว่า สิ่งที่ตนเสนอแนะรวมทั้งตั้งคำถามไปถึงรัฐบาล คสช. แล้วมีคนออกมาโต้นั้น หากตนพูดเรื่องใดเป็นเท็จ ขอให้เอาข้อมูล ข้อเท็จจริงมาโต้ และตนถามคนในคณะรัฐมนตรี(ครม.)และคสช. หากไม่ได้อยู่ในครม.หรือคสช.หมายความว่าตนไม่ได้พูดด้วย ปกติตนมักพูดกับนาย ไม่ใช่กับบ่าว 

รองปธ.สนช.แนะ"แม้ว"ส่งคนคุยคสช.

      นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) คนที่ 2 กล่าวถึงข้อเสนอของนายวันชัย สอนศิริ สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.)ที่ให้รัฐบาลส่งตัวแทนไปคุย กับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่าพล.อ.ประยุทธ์เคยยืนยันแล้วว่าจะไม่คุย กับพ.ต.ท.ทักษิณ เพราะเป็นคนที่มีคดีความอยู่ ส่วนตัวคิดว่าทางที่ดีพ.ต.ท.ทักษิณควรเป็นฝ่ายที่ส่งตัวแทนมาคุยมากกว่าที่จะให้รัฐบาลเป็นคนส่งไป เชื่อว่ารัฐบาลเองก็พร้อมที่จะพูดคุยอยู่แล้วหากเขาส่งตัวแทนมา และคิดว่าหากทั้งสองฝ่ายมีการพูดคุยกันจริงจะเป็นผลดีต่อประเทศชาติ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการปรองดองได้

      นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง อดีตส.ว.อุทัยธานี กล่าวว่าพ.ต.ท.ทักษิณเป็นเพียงสัญลักษณ์ ที่มีกลุ่มคนชื่นชมในผลงาน แต่ปัจจุบันประชาชนได้ก้าวข้ามความเป็นทักษิณไปหมดแล้ว วันนี้อยากแนะนำสปช.ทั้งหลายว่า ควรสงบปากสงบคำพูดให้น้อยลงหรือเลิกพูดเรื่องทักษิณไปเลยจะดีกว่า แล้วลงมือทำงานที่รับผิดชอบอยู่ ผลงานที่ผ่านมาปีกว่ายังไม่เห็นอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย ควรเอาเวลามาแก้ปัญหาให้ประชาชน ปฏิรูปงานต่างๆ ที่อยู่ในมือให้สำเร็จ เช่นวิกฤตด้านการจัดการน้ำที่เป็นปัญหาใหญ่อยู่ตอนนี้ หากทำสำเร็จจนประชาชนมีความสุขพวกเขาก็จะลืมพ.ต.ท. ทักษิณกันไปเอง วันนี้ผู้นำประเทศอย่างพล.อ.ประยุทธ์รู้ดีว่าต้องวางตัวเป็นกลางและจะทำอะไรต่อไป

 

"บัณฑูร"ค้านเจรจาลับ

     ด้านนายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ คณะกรรมาธิการ(กมธ.)ยกร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการศึกษาแนวทางเสริมสร้างความปรองดอง สปช. กล่าวว่า ต้องมองว่าคำว่าปรองดองของนายวันชัยเป็นอย่างไร แต่กระบวนการที่คณะกรรมการปรองดองฯนำเสนอออกมานั้นไม่ได้เจาะจงที่ตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หลักการของเราคืออยากให้ ทุกฝ่ายที่เป็นคู่ขัดแย้งเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเจรจาและหาทางออก คิดว่าหากมีการส่งตัวแทนเจรจากันในทางลับอาจจะเกิดปัญหาตามมาได้ 

      นายบัณฑูรกล่าวว่า ส่วนกรณี 14 นักศึกษาที่ถูกคุมขังนั้น เห็นว่าวันนี้ต้องระวังไม่ให้มีปัจจัยเสริมมาใช้โอกาสนี้สร้างสถานการณ์ให้แย่ลง ความต้องการของนักศึกษากลุ่มดาวดินจริงๆ ต้องการให้สังคมรับรู้ว่ามีปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมอยู่ในสังคมจริง แต่วันนี้กระแสที่ออกมากลายเป็นว่าเรื่องการเมืองกลับมาลบความจริงที่พวกเขาต้องการสื่อออกไปจนหมด รวมทั้งฝ่ายการเมืองก็จับจ้องจะเอาพวกเขามาเป็นเครื่องมือทางการเมือง หากรัฐบาลแก้ปัญหาที่ พวกเขาต้องการจริง คือลดความเหลื่อมล้ำ แก้ปัญหาความเป็นธรรมและการมีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆ ได้ พวกเขาอาจยอมถอย แต่รัฐบาลเองก็ต้องมีความจริงใจด้วย

 

เสนอใช้ม.44 นิรโทษกลุ่มแรก

      นายประสาร มฤคพิทักษ์ คณะกรรมการศึกษาแนวทางสร้างความปรองดอง สปช. กล่าวถึงกรณีที่นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ อดีตส.ส.พรรคเพื่อไทย เสนอให้มีการนิรโทษกรรมเหมาเข่งคดีอาญาและคดีอื่นๆ ทุกคดีว่า ทำไม่ได้และไม่มีใครเอาด้วย เพราะการนิรโทษกรรมในขั้นตอนแรกควรขีดวงจำกัดเฉพาะผู้ร่วมชุมนุมทางการเมืองในฐานความผิดไม่ร้ายแรง ส่วนคนต้องคดีอาญา คนสั่งการเผาบ้านเผาเมือง คนทุจริต คนผิดคดีหมิ่นสถาบัน ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ต้องรับโทษทัณฑ์ และต้องสำนึกผิด จะมาห้อยโหนขอเป็นตู้รถพ่วงไม่ได้ นพ.เชิดชัยต้องก้าวไปให้พ้นเข่งอัปยศใบเดิมที่เรียกคนออกมาหลายล้านคนขับไล่รัฐบาลชุดที่แล้วออกไป 

      "ขอเสนอให้รัฐบาลใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 พิจารณาดำเนินการให้มีการนิรโทษกรรมประชาชนกลุ่มแรกที่เข้าร่วมชุมนุมโดยสุจริตใจ ถ้าทำได้เร็วตามแนวทางนี้ ซึ่งเป็นแนวทางที่สังคมรับได้กว้างที่สุด จะเป็นสัญญาณทางบวก ทำให้เกิดความไว้วางใจว่าคสช.เอาจริงในความพยายามที่จะเปิดทางสู่การเดินหน้าปรองดองในขั้นต่อไป" นายประสารกล่าว

 

กมธ.ยกร่างฯหนักใจแก้รธน.

       นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีการปรับแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเป็นครั้งสุดท้ายซึ่งในขณะนี้คำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญของสปช.จำนวน 8 คำขอ และคำขอแก้ไขของครม.อีก 1 คำขอ มีความแตกต่างไปจากผลสำรวจของเวทีรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มประชาชน ว่าเรื่องนี้คงต้องนำมาประกอบการพิจารณากันทั้งหมด แต่ยอมรับว่าการที่ทั้งสองกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกัน ทำให้เป็นเรื่องยากในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญร่างสุดท้าย แต่ต้องพยายามทำให้ดีที่สุด อะไรก็ตามที่เป็นเจตนารมณ์ดั้งเดิมของประชาชน กมธ.ยกร่างคงจะต้องพยายามคงไว้ซึ่งรูปแบบและเนื้อหาสาระ 

      นายคำนูณ กล่าวว่า เข้าใจว่าคำขอแก้ไขต่างๆ ทั้ง 9 กลุ่มคำขอรวมไปถึงจากครม.เองมีความประสงค์ที่จะไม่ให้ตั้งองค์กรใหม่ๆ ขึ้นมา ทางกมธ.ยกร่างฯเองก็ต้องพยายามทำให้เกิดความชัดเจน อาทิ เรื่องสมัชชาพลเมืองที่จะคงไว้ ก็ต้องให้เข้าใจว่าไม่ได้เป็นองค์กรใหม่ แต่เป็นกระบวนการของภาคประชาชน กมธ.ยกร่างฯคงจะได้ระบุเอาไว้ และให้เป็นเรื่องของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรม นูญต่อไป ทั้งนี้ กมธ.ยกร่างฯพยายามที่จะลดความซ้ำซ้อนองค์กรต่างๆ ไม่ให้เกิดองค์กรใหม่ขึ้นมา แต่เรื่องสิทธิและแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐนั้นจะยังคงสาระตามเดิมเอาไว้

 

เห็นต่าง 2 ปมใหญ่

     ผู้สื่อข่าวถามว่ามีเรื่องใดบ้างใน 9 กลุ่มคำขอที่แตกต่างมากกับความต้องการของกลุ่มประชาชน นายคำนูณกล่าวว่าเรื่องที่มีความแตกต่างกัน ได้แก่ เรื่องโอเพ่นลิสต์ที่ถามกลุ่มประชาชนแล้วจะเห็นด้วย แต่ใน 9 กลุ่มคำขอนั้น แทบทุกคำขอกลับไม่เห็นด้วย และเรื่องกลุ่มการเมืองที่ประชาชนเห็นด้วย แต่ทาง 9 กลุ่มคำขอไม่เห็นด้วยเลย ก็คงจะต้องแก้ไขกันไป ส่วนผลสำรวจของประชาชนจะมีผลต่อการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญครั้งสุดท้ายมากน้อยแค่ไหนนั้น เรื่องนี้ตนตอบไม่ได้ คงต้องขึ้นอยู่กับในแต่ละประเด็น 

      ส่วนข้อสังเกตถ้าในอนาคตร่างรัฐธรรม นูญผ่านทั้งประชามติการเห็นชอบของสปช. และผ่านประชามติไปแล้ว เนื้อหารัฐธรรมนูญที่ประชาชนมีความต้องการให้ใส่เพิ่ม แต่ว่าทางกมธ.ยกร่างฯได้ตัดออกไป ทางกมธ.ยกร่างฯจะนำไปใส่เพิ่มในรูปแบบของพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญได้หรือไม่นั้น เห็นว่าคงทำไม่ได้ เพราะพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญนั้นต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ

 

"อลงกรณ์"ชี้ไม่โหวตลับรธน.

     นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ(วิปสปช.) กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าสปช.เสนอให้การโหวตร่างรัฐธรรมนูญเป็นการลงมติแบบลับว่า ตอนนี้สปช.ยังไม่มีการพิจารณาใดๆ ในเรื่องร่างรัฐธรรมนูญจนกว่าจะได้รับร่างรัฐธรรมนูญจากกมธ.ยกร่างฯในวันที่ 22 ส.ค. และวิธีการดำเนินการต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงสมาชิกยังไม่มีการเสนอเรื่องดังกล่าวเข้ามาด้วย การโหวตร่างรัฐธรรมนูญควรเป็นแบบเปิดเผย ไม่มีความจำเป็นต้องปิดบังซ่อนเร้น ประชาชนควรได้เห็นการออกเสียงว่าสมาชิกสปช.มีความกล้า แสดงตนต่อเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ ยังเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบด้วย กระบวนการจึงต้องโปร่งใส เปิดเผย เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้

       ส่วนกรณีที่คณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สปช. เตรียมสรุปแนวทางสร้างความปรองดองเสนอต่อนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสปช.ในวันที่ 6 ก.ค.นั้น นายอลงกรณ์กล่าวว่า โดยทางปฏิบัติสปช.ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาก็ต้องนำรายงานเข้าสู่ที่ประชุมสปช. เพื่อให้สมาชิกได้แสดงความคิดเห็น ส่วนจะบรรจุรายงานเข้าสู่วาระการประชุมเมื่อใด ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของประธานสปช. หรืออาจนัดประชุมเป็นวาระพิเศษ ซึ่งตนเห็นว่าเรื่องการสร้างความปรองดองเป็นเรื่องสำคัญจึงต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว

 

ปปช.เรียก"ปทีป"แจงคดีโรงพัก

       วันเดียวกัน นายวิชา มหาคุณ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีการไต่สวนข้อเท็จจริงการทุจริตโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจ(ทดแทน) จำนวน 396 แห่งโดยมิชอบ ซึ่งมีการแจ้งข้อกล่าวหาต่อพระสุเทพ ปภากโร หรือนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี โดยเจ้าตัวได้เข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อป.ป.ช. 2 ครั้งแล้ว ว่าขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ซึ่งป.ป.ช.ได้อนุมัติแล้วให้มีการขยายการไต่สวนสำหรับกรณีของพล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ อดีตรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) เพราะการไต่สวนคราวแรกนั้นไม่มีชื่อพล.ต.อ.ปทีป 

     นายวิชากล่าวว่า ในส่วนของพระสุเทพได้เข้ามาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อป.ป.ช.แล้ว โดยไม่มีอะไรจะชี้แจงเพิ่มเติมในส่วนนี้ แต่ป.ป.ช.ยังต้องรอการไต่สวนจากบุคคลอื่นต่อไป โดยขณะนี้ยังไม่มีแนวโน้มขยายการไต่สวนไปยังบุคคลอื่นนอกจากพล.ต.อ.ปทีป ซึ่งป.ป.ช.ต้องพิจารณาว่าพยานหลักฐานที่พล.ต.อ.ปทีปจะยื่นมานั้นมีความสอดคล้องหรือขัดแย้งกับสำนวนการไต่สวนเดิมหรือไม่ คงต้องพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้ง

 

พระสุเทพปัดตัวเองไม่เกี่ยว

      ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังจากพระสุเทพเข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ดูจะมั่นใจในความบริสุทธิ์ว่า สาเหตุที่โรงพักสร้างไม่เสร็จเพราะการบริหารสัญญาในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) นายวิชา กล่าวว่าใช่ ท่านมองว่าตัวเองไม่ได้เกี่ยว ข้องสั่งการโดยตรง เป็นเรื่องของหน่วยงานข้างล่างที่ชงเรื่องขึ้นไปทำนองนั้น ซึ่งเราต้องพิจารณาโดยละเอียด จึงเป็นเหตุผลที่ขยายการไต่สวนไปถึงพล.ต.อ.ปทีป ว่าจะชี้แจงอย่างไร เพราะถือเป็นผู้นำเสนอเรื่องดังกล่าว

        ผู้สื่อข่าวถามว่าไม่สงสัยในประเด็นที่พระสุเทพชี้แจงเลยหรือ นายวิชากล่าวว่าต้องดูในรายละเอียดอยู่แล้วทุกจุด ถึงจะมีการชี้แจงมาแล้วอย่างไรก็ต้องนำมาดูว่ามีข้อพิรุธสงสัยหรือไม่ หรือจะต้องหาพยานหลักฐานอื่นเพิ่มเติมอีกหรือไม่ เมื่อถามว่าจะสามารถสรุปคดีต่างๆ ให้แล้วเสร็จก่อนจะหมดวาระลงได้หรือไม่ นายวิชากล่าวว่าขณะนี้ลิสต์ทุกวันว่าจะต้องทำอะไรบ้างในแต่ละเดือน โดยเฉพาะคดีที่รับผิดชอบอยู่ จะพยายามทำให้เสร็จสิ้นก่อนที่กรรมการป.ป.ช.หลายคนจะพ้นวาระในเดือนต.ค.นี้ แต่ยังดีที่กฎหมายป.ป.ช.บอกว่าให้กรรมการเดิมอยู่รักษาการจนกว่าจะมีการสรรหาคนใหม่เข้ามา เราก็ต้องเคลียร์งานให้จบจนกว่าคนใหม่จะเข้ามา ซึ่งคดีสำคัญๆ จะพยายามทำให้เสร็จในช่วงที่เรายังอยู่ ซึ่งเป็นเป้าหมายอยู่แล้ว

 

คปพ.จี้"บิ๊กตู่"ถอยกม.ปิโตรเลียม

         เมื่อวันที่ 5 ก.ค. ที่โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) แถลงข่าวเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติระงับร่างกฎหมายปิโตรเลียมที่เสนอโดยกระทรวงพลังงาน โดยนายปานเทพ พัวพงศ์พันธ์ ตัวแทนเครือข่ายอ่านแถลงการณ์ ว่าขอให้ถอนเรื่องดังกล่าวออกจากการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา เนื่องจากขณะนี้ร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียมฯ และร่างพ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่ง ครม.ได้ลงมติอนุมัติในหลักการของร่างกฎหมายทั้งสองฉบับแล้ว หากคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาผ่านกฎหมายดังกล่าว จะส่งต่อไปที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาเห็นชอบเพื่อตรากฎหมายออกมาเป็นพระราชบัญญัติได้ทันที โดยไม่ต้องส่งกลับไปที่ ครม.อีก หากการดำเนินการดังกล่าวแล้วเสร็จ จะสามารถเดินหน้าสำรวจปิโตรเลียมรอบที่ 21 ได้ทันทีประมาณช่วงเดือนก.ค.นี้ตามที่ รมว.พลังงานให้สัมภาษณ์ไว้

       นายปานเทพ กล่าวว่า ขณะที่เครือข่ายเห็นว่าร่างกฎหมายทั้งสองฉบับยังไม่สามารถรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้กับประชาชน เต็มไปด้วยช่องโหว่ เปิดโอกาสให้เกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวงได้อย่างมหาศาล จึงขอคัดค้านกฎหมายที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วม และขอเรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปฏิบัติตามพันธสัญญาที่นายกฯ เคยระบุให้ประชาชนเชื่อมั่นเรื่องความโปร่งใส เป็นธรรม ดังนั้น ขอให้นายกฯ ทำตามสัญญาด้วย ทั้งนี้ ขอเรียกร้องให้ประชาชนร่วมกันออกมาเข้าชื่อคัดค้านเรื่องนี้ในวันที่ 9 ก.ค.นี้ เวลา 09.30 น. ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ (กพร.) ตรงข้ามประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล จากนั้นจะเดินทางไปที่รัฐสภาต่อไป เพื่อให้นายกฯ ถอนเรื่องดังกล่าวออกจากการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา

 

 

ทนายถกแนวสู้คดีวันนี้ ค้านขังต่อ พบ'14 นศ.'แจ้งท่าทีรบ.บิ๊กต๊อก"ปัดทหารข่มขู่ แค่ไปซักถามครอบครัว กปปส.ต้านซื้อเรือดำน้ำ อ๋อยชี้โจทย์ปรองดองผิด

มติชนออนไลน์ :

ให้กำลังใจ - นักศึกษาจัดกิจกรรมกรงขังจำลองเพื่อให้กำลังใจและเรียกร้องใหัปล่อยตัว 14 นักศึกษาที่ถูกจับ ณ ลานโพธิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีประชาชนเข้าให้กำลังใจต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม

 

     กมธ.ยกร่างฯเปิดช่องให้ตั้งพรรคการเมืองเล็กในพื้นที่ได้ ทนายความบุกคุกแจ้ง 14 น.ศ. ปมรัฐบาลขอประสานหาช่องแก้ขัดแย้ง นัดถก 7 ก.ค. วางแนวทางสู้คดี

 

@ สปช.ดูสถานการณ์ก่อนโหวตรธน. 


   เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) กล่าวถึงการลงมติร่างรัฐธรรมนูญของ สปช.ว่า คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนแก้ไขและกำหนดจะส่งให้ สปช.ในวันที่ 22 สิงหาคม เมื่อสมาชิกแต่ละคนได้รับแล้วจะต้องนำไปอ่านศึกษา ตรวจสอบ พิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจว่าจะโหวตรับหรือไม่ในต้นเดือนกันยายน ตรงนี้คือภารกิจของ สปช.ในโค้งสุดท้าย 

      "หลังจากที่ กมธ.ยกร่างฯส่งมอบรัฐธรรมนูญแล้วเชื่อว่าวาระของรัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ผ่าน จะคว่ำหรือหงายคงเข้มข้นในระยะนั้น แม้ว่าในระยะนี้จะมีคุยกันอยู่บ้าง แต่เป็นการสงวนท่าทีกันเสียมากกว่าเพราะบางกลุ่มบอกว่ารอดูร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขแล้วเสียก่อน บางกลุ่มมีความชัดเจนว่ายังไงๆ ก็ต้องให้ผ่านไปก่อนเพราะร่างมากับมือ ทำมากับมือจะให้ตกไปได้อย่างไรแต่ก็ไม่มากเท่าไหร่ ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มและคณะทำงานของ กมธ.ยกร่างฯแต่บางกลุ่มก็ว่าต้องรอดูบรรยากาศและสถานการณ์การเมืองในขณะนั้นว่าเหมาะสมหรือสมควรมากน้อยเพียงใดที่จะให้มีการเลือกตั้ง กลุ่มพวกนี้ก็มีไม่น้อยที่ดูทั้งร่างรัฐธรรมนูญและดูทั้งความพร้อมของบ้านของเมือง"นายวันชัยกล่าว

 

@ หวั่นเอาของดีมาใช้จะเสียของ 

        นายวันชัยกล่าวว่า สำหรับตนในเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญนั้น แน่นอนจะต้องดูก่อนว่ารัฐธรรมนูญที่แก้ไขมานั้นดีหรือไม่ดีมากน้อยแค่ไหนเพียงใด มีกลไกที่จะแก้ไขปัญหาของประเทศได้จริงหรือไม่อย่างไร เมื่อพิจารณาดูว่าดีแล้วเท่านั้นยังไม่พอ จะต้องดูต่อไปด้วยว่าของดีเหมาะสมกับสถานการณ์และเหตุการณ์ที่จะนำมาใช้ในขณะนั้นแล้วหรือยัง ถ้าบรรยากาศและสถานการณ์ยังไม่เหมาะสม ยังไม่เรียบร้อย ยังไม่พร้อมจะเลือกตั้ง เอาของดีมาใช้ในขณะนั้นเลยของดีก็เสียของ เปล่าประโยชน์ 

       "ดังนั้น ของดีต้องบรรยากาศและสถานการณ์ของบ้านเมืองดีด้วย ถึงจะทำให้ของดีมีผลใช้ได้จริงเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน ทั้ง 2 สิ่งนี้เป็นองค์ประกอบที่จะพิจารณาให้รัฐธรรมนูญผ่านหรือไม่ผ่าน ถ้าบรรยากาศและสถานการณ์ไม่เอื้อต่อการเลือกตั้งหรือเลือกตั้งมาแล้วก็กลับมาเหมือนเดิม สถานการณ์ของบ้านเมืองเป็นแบบเดิม เราจะเดินมาถึงวันนี้กันทำไม เพราะต้องแก้ไขทุกสิ่งทุกอย่างให้เรียบร้อยแล้วจึงจะก้าวเข้าไปสู่ประชาธิปไตยก้าวเข้าไปสู่การเลือกตั้ง นี่แหละคือปัจจัยสำคัญในการประกอบการพิจารณาไม่ใช่ดูที่รัฐธรรมนูญอย่างเดียวว่าดีหรือไม่ดีแล้วก็ให้ผ่าน เชื่อเหลือเกินว่า สปช.จะพิจารณากันด้วยเหตุด้วยผล ด้วยความรอบคอบครบถ้วนรอบด้าน"นายวันชัยกล่าว

 

@ ยังไม่เคาะโหวตลับร่างรธน.

       นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าว สปช.เสนอให้โหวตร่างรัฐธรรมนูญเป็นการลงมติแบบลับ ว่า สปช.ยังไม่มีการพิจารณาใดๆ ในเรื่องร่างรัฐธรรมนูญจนกว่าจะได้รับร่างรัฐธรรมนูญจากคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 22 สิงหาคม และวิธีการดำเนินการต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงสมาชิกยังไม่มีการเสนอเรื่องดังกล่าวเข้ามาด้วย

การโหวตร่างรัฐธรรมนูญควรเป็นแบบเปิดเผย ไม่มีความจำเป็นต้องปิดบังซ่อนเร้น ประชาชนควรได้เห็นการออกเสียงว่า สปช.มีความกล้า แสดงตนต่อเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ และเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบด้วย กระบวนการจึงต้องโปร่งใส เปิดเผย เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้" นายอลงกรณ์กล่าว

     นายอลงกรณ์ กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สปช.เตรียมสรุปแนวทางสร้างความปรองดองเสนอต่อนายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช.ในวันที่ 6 กรกฎาคมว่า ทางปฏิบัติ สปช.ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาก็ต้องนำรายงานเข้าสู่ที่ประชุม สปช. เพื่อให้สมาชิกได้แสดงความคิดเห็น ส่วนจะบรรจุรายงานเข้าสู่วาระการประชุมเมื่อใดนั้น ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของประธาน สปช. หรืออาจจะนัดประชุมเป็นวาระพิเศษ ทั้งนี้ตนเห็นว่าการสร้างความปรองดองเป็นเรื่องสำคัญจึงต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว

 

@ 'กมธ.'เปิดช่องตั้งพรรคเล็ก 

      พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษก กมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญตามรายมาตรา ว่าพิจารณาไปแล้ว 95 มาตรา โดยจะเริ่มพิจารณาตั้งแต่มาตรา 96 คือ เรื่องรัฐสภาในวันที่ 6 กรกฎาคม ส่วนการจัดตั้งพรรคการเมือง ได้เปิดโอกาสให้สามารถจดแจ้งพรรคการเมืองเล็กได้ในพื้นที่ของตนเอง เพื่อลดเงื่อนไขทำให้พรรคการเมืองเล็กอยู่ได้โดยไม่ถูกยุบพรรค เพราะในแต่ละปี ศาลให้ยุบพรรคการเมืองที่จัดตั้งไม่ครบเกณฑ์หลายพรรค ส่วนพรรคใหญ่ยังคงสามารถมีสาขาทั่วทุกจังหวัดทุกภาคได้เหมือนเดิม จึงเป็นการให้โอกาสพรรคขนาดเล็ก ไม่ใช่มีเพียงพรรคการเมืองใหญ่อย่างเดียว 

       พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวถึงอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า ปรับให้ กกต.สามารถให้ใบเหลืองและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้เหมือนเดิม แต่ลดอำนาจการให้ใบแดง โดยให้ฟ้องร้องไปยังศาลอุทธรณ์ เพราะ กกต.ไม่ควรที่จะมีสถานะเป็นศาล ในการสืบสวน สอบสวน และตัดสินคดีความการเลือกตั้งเอง เพียงในเวลาไม่กี่วัน ถือเป็นการผิดหลักยุติธรรมของกฎหมาย และอาจมีการกลั่นแกล้งกันได้ในขั้นการกล่าวหาและสอบสวนได้ ในกรณีของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กับผู้ตรวจการแผ่นดินเข้าด้วยกันนั้น ขณะนี้ กมธ.ยกร่างฯมีมติว่าให้คงอำนาจไว้เหมือนเดิม แต่ต้องปรับปรุงการทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมต้องมีการประเมินการทำงานให้ชัดเจน

 

@ พีระศักดิ์แนะ'แม้ว'ส่งตัวแทนคุย 

       นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงข้อเสนอของนายวันชัย สอนศิริ ที่ให้รัฐบาลส่งตัวแทนไปคุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เคยยืนยันแล้วว่าจะไม่คุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เป็นคนที่มีคดีความอยู่ ส่วนตัวคิดว่าทางที่ดี พ.ต.ท.ทักษิณ ควรเป็นฝ่ายที่ควรส่งตัวแทนมาคุยมากกว่าที่จะให้รัฐบาลเป็นคนส่งไป เชื่อว่ารัฐบาลพร้อมที่จะพูดคุยอยู่แล้วหากเขาส่งตัวแทนมา คิดว่าหากทั้งสองฝ่ายคุยกันจริงก็จะเป็นผลดีต่อประเทศชาติ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการปรองดองได้

 

@ กก.ปรองดองฯค้านคุยแม้ว 

        นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการเสริมสร้างความปรองดองแห่งชาติ กล่าวถึงข้อเสนอของนายวันชัยที่ให้รัฐบาลส่งตัวแทนไปคุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณว่า ต้องมองว่าคำว่าปรองดองของนายวันชัย เป็นอย่างไร แต่กระบวนการที่คณะกรรมการปรองดองฯนำเสนอออกมานั้นไม่ได้เจาะจงที่ตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หลักการของเราคืออยากให้ทุกฝ่ายที่เป็นคู่ขัดแย้งเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเจรจาและหาทางออก และคิดว่าหากมีการส่งตัวแทนเจรจากันในทางลับอาจจะเกิดปัญหาตามมาได้

       นายบัณฑูร กล่าวถึงกรณีการคุมขัง 14 นักศึกษาขบวนการประชาธิปไตยใหม่ว่า ต้องระวังไม่ให้มีปัจจัยเสริมมาใช้โอกาสนี้สร้างสถานการณ์ให้แย่ลง ความต้องการของนักศึกษากลุ่มดาวดินจริงๆ ต้องการให้สังคมรับรู้ว่ามีปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคมอยู่จริง แต่กระแสที่ออกมากลายเป็นว่าเรื่องการเมืองกลับมาลบความจริงที่พวกเขาต้องการสื่อออกไปจนหมด รวมทั้งฝ่ายการเมืองจับจ้องจะเอาพวกเขามาเป็นเครื่องมือทางการเมือง หากรัฐบาลแก้ปัญหาที่พวกเขาต้องการจริงคือ ลดความเหลื่อมล้ำ แก้ปัญหาความเป็นธรรม และการมีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆ ได้ พวกเขาอาจจะยอมถอย แต่รัฐบาลเองก็ต้องมีความจริงใจด้วย

 

@ 'สิงห์ชัย'อัด'สปช.'อย่าพูดมาก

       นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง อดีต ส.ว.อุทัยธานี กล่าวว่า มองว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นเพียงสัญลักษณ์ ที่มีกลุ่มคนชื่นชมในผลงาน แต่ปัจจุบันประชาชนได้ก้าวข้ามความเป็นทักษิณไปหมดแล้ว อยากแนะนำ สปช.ทั้งหลายว่าควรสงบปากสงบคำพูดให้น้อยลงหรือเลิกพูดเรื่องทักษิณไปเลยจะดีกว่า แล้วลงมือทำงานที่รับผิดชอบอยู่ 

      "ผลงานที่ผ่านมาปีกว่ายังไม่เห็นอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย ควรเอาเวลามาแก้ปัญหาให้ประชาชน ปฏิรูปงานต่างๆ ที่อยู่ในมือให้สำเร็จ อย่างเช่นวิกฤตด้านการจัดการน้ำที่เป็นปัญหาใหญ่อยู่ตอนนี้ หากทำสำเร็จจนประชาชนมีความสุขพวกเขาจะลืม พ.ต.ท.ทักษิณกันไปเอง วันนี้ผู้นำประเทศอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ ก็รู้ดีว่าต้องวางตัวเป็น

กลางและจะทำอะไรต่อไป" นายสิงห์ชัยกล่าว 

 

@ 'อ๋อย'ชี้ตั้งโจทย์ผิดดึง'แม้ว'คุย 

       นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการกิจการพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์กรณี สปช.เสนอให้ผู้มีอำนาจคุยกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่าการตั้งประเด็นแบบนี้แสดงถึงความไม่เข้าใจต้นเหตุของปัญหา ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยคือ การที่คนจำนวนไม่น้อย ไม่ยอมรับกฎกติกา และมีคนอีกส่วนหนึ่งสร้างกติกาไม่เป็นธรรม และกระบวนการยุติธรรมก็ไม่ยุติธรรม มีการเลือกปฏิบัติ มีการจัดการกับกรณีต่างๆ อย่างแตกต่างกันมาก คนบางส่วนถูกลงโทษเกินจริง ขณะที่อีกส่วนหนึ่งไม่ถูกลงโทษ เหล่านี้เป็นปัญหามาหลายปีโดยต้องมาหาสาเหตุร่วมกัน มันไม่ใช่เรื่องของบุคคลใดคนหนึ่ง

      "ถ้าระบบยังมีปัญหามากมายแบบนี้คุยกับใครก็ไม่สามารถแก้ไขได้ แต่ถ้าคุยผู้เกี่ยวข้องจำนวนมากเพื่อแก้ไขระบบที่ไม่ถูกต้องก็พอมีหวังก้าวสู่ความปรองดอง แต่วันนี้ไม่มีอะไรแสดงออกเลยว่าแม่น้ำ 5 สายพยายามแก้ไขปัญหาในอดีตอย่างไร จะป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดอีกอย่างไร เขายังไม่เข้าใจปัญหาในอดีตเลยแม้แต่น้อย" นายจาตุรนต์กล่าว

 

@ พท.จี้ยึดโรดแมปเป็นทางออก

      นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ได้ทวิตเตอร์ส่วนตัว @phumtham ระบุว่า มองการปะทุขึ้นของกลุ่มประชาชนที่เดือดร้อนในปัญหาเศรษฐกิจและการเรียกร้องของนิสิตนักศึกษาที่อยากได้สิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยด้วยความห่วงใยอยากส่งกำลังใจและความห่วงใยให้ แต่เกรงว่า "ความห่วงใย" ที่มอบให้ อาจถูกแปรสภาพเป็น "ผู้อยู่เบื้องหลัง" ทำให้ความตั้งใจเขาถูกแปรความไปผิดๆ ทุกวันนี้ บ้านเมืองไทยเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน เปลี่ยนแปลงไปมากจริงๆ ในยามที่บ้านเมืองกำลังเผชิญภาวะวิกฤตและแรงกดดันมากมายสารพัด ทุกฝ่ายต่างขวนขวายช่วยเหลือตัวเอง เพื่อหาทางออก การจัดการปัญหาความเดือดร้อนประชาชนและการแก้ไขปัญหา 14 นักศึกษา ที่เรียกร้องประชาธิปไตยที่กำลังถูกจองจำในขณะนี้ คือรูปธรรมที่รอการคลี่คลายจากรัฐบาล 

      "คำพูดงามที่คนในรัฐบาลพูดถึงปัญหานี้นับว่าดี แต่การมีท่าทีดีที่นำไปสู่การลดแรงกดดันให้นักศึกษาผู้บริสุทธิ์และหาทางออกให้พวกเขาจะยิ่งดีมากขึ้นไปอีก อย่าปล่อยให้เจ้าหน้าที่ไปจัดการปัญหาที่ละเอียดอ่อนนี้ตามลำพัง เพราะอาจทำให้ปัญหาเบี่ยงเบนและบานปลายออกไปอย่างไม่คาดคิด รีบคลี่คลายปัญหา การจับกุมคุมขังนักศึกษาเคารพในความเห็นต่างของเขา เดินหน้าเข้าสู่โรดแมปทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนโดยเร็วคือทางออกที่ดีที่สุดไม่มีใครอยากเห็นความเสียหายของประเทศ เกิดขึ้นมากไปกว่านี้อีกแล้วเป็นห่วงจริงๆ" นายภูมิธรรมระบุ

 

@ แนะตั้ง'ครม.เฉพาะกิจ'

       นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 และคณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงสถานการณ์การเมืองว่า สังคมไทยบอบช้ำล้มลุกคลุกคลานมากับการซ่อม การสร้างประชาธิปไตย ผลที่ได้กลับกลายเป็นการแบ่งฝักฝ่าย หากคนในสังคมยังขาดวุฒิภาวะ เห็นแต่ว่าวิธีคิดของตนนั้นถูก ผู้อื่นผิด ไม่รู้จักประนีประนอม ไม่ให้อภัยกันก็จะมีแต่ความเสียหายและเสียโอกาสในการพัฒนาประเทศไปอีกมาก หากสถานการณ์บ้านเมืองเป็นเช่นนี้สิ่งที่แต่ละฝ่ายเรียกร้องอาจจะไม่เกิดขึ้นเลย เพราะความขัดแย้งทำให้ระบบของรัฐอ่อนแอลงเรื่อยๆ ระวังจะสายเกินแก้ ใครเข้ามาเป็นรัฐบาลก็ทำงานไม่ได้ แค่นี้ภาคธุรกิจประชาชนระดับรากหญ้าก็เดือดร้อนมากแล้ว

       "พอแล้วที่จะมาตั้งแง่หรือทะเลาะกัน ไม่เลิกยึดติดว่าวิธีการของตนถูกอยู่คนเดียว ถึงเวลารัฐบาลต้องปรับ ครม.ดึงเอาคนเก่งๆ ในพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ แกนนำ กปปส.และแกนนำ นปช.มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลเฉพาะกิจ โดยที่ทุกคนต้องใจใหญ่ ใจกว้าง และคิดว่ามาช่วยแก้วิกฤตชาติ ไม่ใช่มาช่วย พล.อ.ประยุทธ์ หากทำได้จะเป็นการส่งสัญญาณปรองดอง เกิดเสถียรภาพทางการเมืองและความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจมาร่วมคิด ร่วมวางระบบ จะปฏิรูปประเทศ ร่างรัฐธรรมนูญอย่างไรที่จะเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง ทำร่วมกันเลยตั้งแต่ตอนนี้ สามารถทดลองดูได้"นายอดุลย์กล่าว

 

@ วัฒนา ซัดเลิก 30 บ.แต่ซื้อเรือดำน้ำ

        นายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และแกนนำพรรคเพื่อไทย (พท.) เขียนบทความเรื่อง "ไม่มี 30 บาท แต่มีเงินซื้อเรือดำน้ำ" ระบุว่า "หลังมีการจับกุมนักศึกษากลุ่มดาวดิน เกิดกระแสเรียกร้องให้ปล่อยตัวและให้คืนอำนาจให้ประชาชน หลายคนในรัฐบาลได้ออกมาขอเวลาทำงานต่อเพื่อแก้ไขปัญหาและสางปมเศรษฐกิจก่อนส่งต่อให้รัฐบาลใหม่นั้น 

"ผมมีความเห็น ดังนี้ 1.การบริหารประเทศที่ผ่านมาไม่ได้ทำเพื่อคนส่วนใหญ่แต่ทำเพื่อผลประโยชน์ของพวกเดียวกัน ขณะที่อ้างว่ารัฐบาลกำลังถังแตกไม่มีเงินที่จะช่วยเหลือเกษตรกรแต่กลับอนุมัติสองขั้นและวันเวลาทวีคูณให้กับพรรคพวกที่พากันมายึดอำนาจเสียเงินไปนับ 1 แสนล้านบาท

       ท้ายสุดจะยกเลิกโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคอ้างว่าไม่มีเงิน ทั้งที่เป็นโครงการที่ทำเพื่อคนจนให้สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างเท่าเทียมกับคนรวย แต่มีเงิน 36,000 ล้านบาทไปซื้อเรือดำน้ำ" นายวัฒนาระบุ และว่า 2.การควบคุมประเทศด้วยการใช้อำนาจและอาวุธ รวมถึงการจำกัดเสรีภาพประชาชนในการแสดงความคิดเห็นไม่ได้ทำให้เกิดความสงบอย่างยั่งยืน การปฏิรูปต้องการมีส่วนร่วมไม่ใช่กรอกหูแต่ปิดปากประชาชนอย่างที่กำลังทำ สิ่งเดียวที่ทำให้คนไทยสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติแม้จะเห็นไม่ตรงกัน คือกติกาของประเทศที่เป็นกลางและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย แต่รัฐธรรมนูญที่กำลังยกร่างล้วนสร้างความขัดแย้งเพิ่มขึ้นแล้วยังจะมีหน้ามาขออยู่ต่อ ลองถามประชาชนมั้ยว่าอยากให้พวกคุณอยู่ต่อหรืออยากให้ไปตั้งแต่เมื่อวานนี้แล้ว

 

@ แนะรีบคืนอำนาจให้ประชาชน 

       นายวัฒนา ระบุอีกว่า 3.ข้อเสนอในการปฏิรูปไม่น่าเชื่อถือ แค่การไม่มีข้อเสนอให้ปฏิรูปกองทัพซึ่งควรเป็นหน่วยงานแรกที่ต้องปฏิรูปก็เห็นได้ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ แล้วประชาชนจะเชื่อได้อย่างไรว่าสิ่งที่เสนอไว้นั้นถูกต้อง ผลงานที่เป็นรูปธรรมอย่างเดียวที่พอเห็นคือการเสนอให้เปิดบ่อนเสรี อย่าลืมเอาไปใส่ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญด้วย 4.เศรษฐกิจไทยกำลังดิ่งเหวเพราะ (1) การส่งออกตกลงอย่างต่อเนื่อง (2) การบริโภคภายในตกมาตลอดตั้งแต่มีการยึดอำนาจ (3)ไม่มีการลงทุนใหม่เกิดขึ้นจากนักลงทุนต่างประเทศเพราะถูกกีดกันจากประเทศคู่ค้า (4) ท้ายสุดแม้รัฐบาลจะใช้มาตรการการเงินและการคลังด้วยการลงทุนภาครัฐแต่ก็ไม่ทำให้นักลงทุนมั่นใจ

       "ผลของการยึดอำนาจทำให้ประเทศคู่ค้าใช้มาตรการต่างๆ เพิ่มขึ้นเพื่อกดดันให้รีบคืนอำนาจให้ประชาชน ได้แก่การที่ ICAO ประกาศให้ไทยไม่มีมาตรฐานทางการบิน สหภาพยุโรปให้ใบเหลืองกับการประมง สหรัฐขึ้นบัญชีไทยค้ามนุษย์ และล่าสุดกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจในทุกกรณีจนกว่าไทยจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย 5.ปัญหาเร่งด่วนที่สุดที่ต้องเร่งรีบแก้ไขคือปัญหาเศรษฐกิจซึ่งไม่มีทางแก้ไขได้ เพราะกลุ่มประเทศที่เป็นคู่ค้ารังเกียจและไม่คุยกับรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจ ยิ่งอยู่นานขึ้นเท่าไรปัญหาก็จะมากขึ้นเท่านั้น" นายวัฒนาระบุ และว่า นี่คือข้อจำกัดอันเป็นเหตุให้นานาชาติกดดันไม่ได้เกิดมาจากใครคนใดคนหนึ่ง หัดเข้าใจปัญหาแล้วแก้ที่ต้นเหตุดีกว่าเที่ยวไปโทษคนอื่น เมื่ออยู่ไปก็แก้ปัญหาให้ประเทศไม่ได้แล้วจะอยู่ไปเพื่ออะไร รีบคืนอำนาจให้ประชาชนได้ไปเลือกรัฐบาลมาแก้ปัญหา เพราะประเทศนี้ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่งแต่เป็นของคนไทยทุกคนเท่ากัน

 

@ 'วัฒนา'สวนไก่อูไม่คุยกับบ่าว

       นายวัฒนากล่าวว่า สิ่งที่เสนอแนะรวมทั้งตั้งคำถามไปถึงรัฐบาล คสช. เช่น การอนุมัติสองขั้นและวันเวลาทวีคูณให้กับพรรคพวกที่พากันมายึดอำนาจเสียเงินไปนับ 1 แสนล้านบาท หรือการที่รัฐบาลเตรียมจะซื้อเรือดำน้ำ เป็นต้น แล้ว พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีออกมาตอบโต้นั้น หากพูดเรื่องใดเป็นเท็จ ขอให้เอาข้อมูล ข้อเท็จจริงมาโต้ ทั้งนี้ ถามคนใน ครม.และ คสช.หากไม่ได้อยู่ใน ครม.หรือ คสช.หมายความว่าไม่ได้พูดด้วย ปกติมักจะพูดกับนายไม่ใช่กับบ่าว

 

@ ปชป.ค้านซื้อเรือแนะช่วยปชช.ก่อน

       นายถาวร เสนเนียม อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และแกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) กล่าวถึงกรณีที่กองทัพเรือมีมติจัดซื้อเรือดำน้ำจากประเทศจีน 3 ลำ มีอาวุธครบ โดยใช้งบประมาณ 3.6 หมื่นล้านบาท ว่า ไม่เห็นด้วย และขอคัดค้าน ควรนำเงินมาแก้ปัญหาเศรษฐกิจและภัยแล้งในชนบทที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ ส่วนตัวยังไม่ไว้วางใจการจัดซื้อเรือดำน้ำ การที่บอกว่าเรือมีอาวุธครบอยากถามว่ารัฐบาลจะเอาไปรบกับใคร ขณะนี้ประชาชนสู้รบกับปัญหาปากท้อง ขอให้รัฐบาลฟังเสียงประชาชนก่อน

"ถ้าหากเรื่องนี้เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผมขอให้ถอนออกไปจากระเบียบวาระ แล้วใครบ้างที่ไปรับปากเขาไว้ว่าจะไปซื้อ ให้ไปขอโทษบริษัทผู้ผลิต แล้วบอกเขาไปว่า ความจำเป็นของประเทศเปลี่ยนไป ไม่จำเป็นต้องใช้เรือดำน้ำแล้ว ตอนนี้รัฐบาลควรไปแก้ปัญหาของประเทศก่อน" นายถาวรกล่าว

 

@ ไก่อูสวน'วัฒนา'ต้นตอปัญหา

      พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีนายวัฒนา วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ประสบความสำเร็จ บริหารประเทศเพื่อพวกเดียวกันว่า นายวัฒนาเป็นคนของพรรคเพื่อไทย ประชาชนรู้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร จึงไม่ควรฟังคนที่เป็นต้นตอของปัญหาออกมาแสดงความ

เห็นอะไร สื่อมวลชนก็ไม่น่าจะต้องไปกังวลมากนักกับประเด็นดังกล่าว เพราะรัฐบาลพยายามจะเร่งแก้ไขปัญหาประเทศอย่างเต็มที่อยู่แล้ว ตนไม่กล้าตอบแทน คสช. ว่าจะเรียกตัวไปปรับทัศนคติหรือไม่ ต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ คสช.ในการดำเนินการรักษาความสงบต่อไปจะดีกว่า

       "พล.อ.ประยุทธ์ทราบเรื่องนี้ดีว่ามีคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์ แต่อยากให้ดูที่ผลงานรัฐบาลมากกว่า จะเห็นได้ว่าในการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่ประเทศญี่ปุ่นได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีไม่ได้เป็นอย่างที่นายวัฒนาออกมาวิจารณ์ ที่นายวัฒนาออกมาพูดว่ารัฐบาลนี้ทำให้เศรษฐกิจทรุด แล้วจะต้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาอย่างไร ให้แก้ปัญหาโดยการรับจำนำข้าวเพิ่มหรือไม่ ก็ไม่ใช่ ดังนั้น รัฐบาลจึงไม่อยากตอบโต้กลับ ขอตั้งใจทำงานดีกว่า" พล.ต.สรรเสริญกล่าว

 

@ ขอต่างชาติมองรอบด้านปม 14 น.ศ.

      พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่องค์กรต่างประเทศหลายแห่งเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัว 14 ศึกษา กลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ที่ถูกจับกุมคุมขังอย่างไม่มีเงื่อนไขว่า รัฐบาลมีความเข้าใจในบทบาทขององค์กรเหล่านั้น รัฐบาลไม่ได้มีปัญหากับแนวความคิดของนักศึกษา เป็นสิ่งที่รัฐบาลจะต้องสื่อสารสร้างความเข้าใจในสถานการณ์ของประเทศ ทั้งยังต้องการให้นักศึกษาได้ทราบว่า ขณะนี้ที่มีการรวมกลุ่มกันนั้น ยังมีกลุ่มอื่นๆ ที่แอบแฝงหวังผลประโยชน์กับการเคลื่อนไหวของนักศึกษา เช่น หวังขยายเหตุการณ์ให้เป็นเหมือนกรณี 14 ตุลาคม 2516 เพราะที่ผ่านมานอกจากนักศึกษาแล้ว ยังมีกลุ่มการเมืองและผู้เสียผลประโยชน์ที่มุ่งหวังคอยแอบแฝง 

      "ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องการให้องค์การต่างๆ ที่กำลังกดดันรัฐบาลอยู่ได้พิจารณาอย่างรอบด้าน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ในไทยและวัตถุประสงค์ของการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ ว่านอกเหนือจากสิ่งที่ปรากฏเป็นข่าวแล้ว ยังมีสิ่งใดแอบแฝงอยู่หรือไม่ ขณะเดียวกันนักศึกษาก็มีความพยายามที่จะให้องค์กรเหล่านี้กดดันรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้นักศึกษาจะออกมาด้วยเจตนาบริสุทธิ์ตามความคิดของตัวเอง ในฐานะที่เขาเป็นเด็ก เขาก็คิดได้ในระดับหนึ่ง สังคมต้องรับฟัง ต้องพยายามสื่อสารทำความเข้าใจสิ่งที่เรียกร้องนั้น เราให้ได้หรือไม่ได้อย่างไรแต่การที่มีบางกลุ่มออกมาแสวงประโยชน์จากความเคลื่อนไหวของเด็กๆ นั้น มีนัยยะแน่นอน" พล.ต.วีรชนกล่าว

 

@ อ้างสังคมหวังปท.เดินหน้า

       ผู้สื่อข่าวถามว่าองค์กรต่างประเทศหลายองค์กรออกมารียกร้องอย่างต่อเนื่อง ทำให้รัฐบาลรู้สึกกดดันหรือไม่ พล.ต.วีรชนกล่าวว่า ไม่อยากจะบอกว่ากดดัน เพราะมีมาตรการในการดูแลสถานการณ์ โดยเจรจาทำความเข้าใจ แต่สิ่งที่กดดันคือหลายองค์กรยังไม่เข้าใจในบริบทของไทยอย่างแท้จริง รัฐบาลเข้าใจว่าเขาทำหน้าที่ แต่รัฐบาลมีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง สร้างความรับรู้แล้วเข้าใจให้กับสังคม 

       "ดังนั้ นขณะนี้จึงเป็นการทำหน้าที่ของแต่ละคน ขณะนี้ก็มีเสียงออกมาต่อต้านนักศึกษาเช่นกัน แต่เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องสร้างความเข้าใจ และมั่นใจในความตั้งใจ ความบริสุทธิ์ใจของรัฐบาลและ คสช. ซึ่งสังคมส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าบ้านเมืองจะต้องเดินไปข้างหน้าอย่างไร" พล.ต.วีรชนกล่าว

      พล.ต.วีรชน กล่าวถึงกรณีนักศึกษาไม่ยื่นประกันตัว ว่า ต้องพูดคุยว่ามีเหตุผลอะไร เหตุใดถึงไม่ยอมรับกติกาของสังคม ถึงจะมองว่ากฎหมายที่ใช้อยู่นั้นไม่ถูกต้องชอบธรรม แต่ต้องถามว่าแล้วทำไมคนส่วนใหญ่ถึงได้ยอมรับว่าเป็นมาตรการที่ทำให้ประเทศชาติสงบสุข ประชาชนสามารถทำมาหากิน เศรษฐกิจขับเคลื่อน ทั้งที่ประชาชนต่างมองว่ารัฐบาลไม่ได้เป็นประชาธิปไตย แต่ยอมรับว่าส่งผลให้บ้านเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพ ต้องคุยกันว่านักศึกษาซึ่งถือเป็นอนาคตของชาติทำไมไม่ยอมรับกฎหมายที่คนทั้งประเทศก็ยอมรับทั่วกัน การคุยกันจะออกมาอย่างไรก็ต้องรอดู แต่เชื่อว่าไม่สามารถทำให้เหตุการณ์จบลงภายในวันนี้หรือพรุ่งนี้ได้

        ผู้สื่อข่าวถามว่าเมื่อมีองค์กรต่างๆ กดดันจะสร้างความลำบากให้นายกรัฐมนตรีเมื่อเดินทางไปต่างประเทศหรือไม่ พล.ต.วีรชนกล่าวว่า คิดว่าตรงกันข้าม เพราะต่างประเทศล้วนมองว่าไทยมีเสถียรภาพ ทั้งการเมือง และความมั่นคง แม้ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบเต็มใบแต่เขารู้ว่าเรากำลังจะก้าวไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่มีความมั่นคง ขณะนี้ไทยเป็นที่ยอมรับในบทบาทที่ทำ ซึ่งทุกประเทศต่างให้กำลังใจในการทำงาน โดย พล.อ.ประยุทธ์ ยืนยันถึงโรดแมป กระบวนการต่างๆ ที่จะนำพาประเทศสู่ความเป็นประชาธิปไตยในวันข้างหน้า

 

@ บิ๊กต๊อกชี้งดเว้นให้ 14 น.ศ.ไม่ได้

      พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกระแสข่าว พล.อ.ประยุทธ์ มีนโยบายปล่อยตัวนักศึกษา 14 คน ว่า ไม่ทราบ ไม่ได้ดูแลเรื่องนี้โดยตรง ยังไม่เจอกับ พล.อ.ประยุทธ์ หลังจากที่เดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่น อาจเป็นไปได้ที่ พล.อ.ประยุทธ์อาจสั่งการไปทาง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่รับผิดชอบเป็นหลักหรือไม่ 

"ผมมองว่ากฎหมายไม่ได้เคร่งครัดจนเกินไป แต่ความผิดของนักศึกษา 14 คน ถ้าปล่อยตัวแบบไม่มีเงื่อนไข จะถูกมองว่าเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่ ต้องถามประชาชนส่วนใหญ่ มิฉะนั้นจะปฏิรูปกันไม่ได้ สิ่งที่ คสช.เข้ามาพูดหลายครั้งแล้วว่าขอเวลาทำงาน นายกฯกำหนดโรดแมปเพื่อเดินตามขั้นตอน และตอนนี้ยังไม่มีสะดุด" พล.อ.ไพบูลย์กล่าว 

       ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่กลุ่มนักศึกษาเรียกร้องขอขึ้นศาลพลเรือนแทนศาลทหาร พล.อ.ไพบูลย์กล่าวว่า สอบถามฝ่ายกฎหมายแล้ว คิดว่าไม่ได้ และจะใช้กฎหมายอะไรในช่องทางตรงนี้ ความผิดของนักศึกษาต้องขึ้นศาลทหารเพราะผิดคำสั่ง คสช. ดังนั้นข้อเรียกร้องของเขาทำไม่ได้ เขาพยายามยื่นในสิ่งที่กฎหมายไม่มี ซึ่งเป็นการต่อรองทางการเมือง ทั้งที่รู้ว่าเงื่อนไขไม่สามารถทำได้

       "การกระทำของนักศึกษา 14 คนจะอ้างว่าไม่รู้ก็ไม่ได้ เพราะที่ผ่านมามีนักการเมืองและนักวิชาการกระทำผิดคำสั่ง คสช. ก็ขึ้นศาลทหาร ถ้าจะให้งดเว้นกับนักศึกษากลุ่มนี้จะเป็นการเลือกปฏิบัติหรือไม่ แล้วอนาคตต่อไปจะคุมกันอย่างไร" พล.อ.ไพบูลย์กล่าว

 

@ ปัดทหารขู่พ่อแม่น.ศ.-แค่คุย

       พล.อ.ไพบูลย์กล่าวถึงกรณีที่นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความของนักศึกษา ระบุว่ามีทหารไปข่มขู่ครอบครัวของนักศึกษา ว่า ตนเชื่อว่าทหารไม่ทำแบบนั้น และคงไม่เอาปืนไปจ่อปากใคร แต่เจ้าหน้าที่คงไปพูดคุยกับครอบครัวเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เมื่อลูกหลานของเขาถูกตำรวจจับ ต้องมีการเชิญผู้ปกครองมาให้ข้อมูล เนื่องจากผู้ปกครองต้องรับผิดชอบเด็ก ที่ผ่านมาเคยแนะนำว่าในกระทรวงยุติธรรมมีกองทุนยุติธรรมที่สามารถช่วยเหลือเงินประกันตัวได้ แต่เท่าที่ทราบนักศึกษาไม่ประสงค์จะยื่นขอประกันตัว 

      เมื่อถามว่า มีข้อมูลอ้างอิงว่ามีความเชื่อมโยงว่ามีนายทุนอยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของนักศึกษากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ พล.อ.ไพบูลย์กล่าวว่า ฝ่ายความมั่นคงเคยชี้แจงไปแล้ว กลุ่มที่เกิดใหม่มีตัวละครตัวใหม่ ไปรวมตัวกันที่ไหน สอดรับกับกลุ่มผู้สนับสนุนกลุ่มใด ฝ่ายความมั่นคงมีข้อมูลหมด ทุกอย่างมันปิดกันไม่มิด การที่นักศึกษาพูดว่าไม่มีใครอยู่เบื้องหลังนั้นขอให้เป็นความจริง เพราะคนรุ่นใหม่ต้องเติบโตมาแทนคนรุ่นเก่า ถ้าถูกชักจูงได้ก็ไม่ต่างอะไรกับกลุ่มการเมืองที่หาผลประโยชน์เข้าตัว หากเติบโตมาเป็นนักการเมืองก็จะถูกซื้อตัวได้

 

@ ย้ำใช้กฎหมายมาตรฐานเดียว

       พล.อ.ไพบูลย์กล่าวว่า คสช.โดนทั้งขึ้นทั้งล่อง แม้ว่า คสช.ไม่ได้เข้ามาตามประชาธิปไตย แต่ไม่ได้เป็นเผด็จการทั้งหมด อะไรที่ขอกันได้ คสช.ก็ให้ แต่อยู่ดีๆ มาบอกว่า คสช.ไม่ชอบด้วยประชาธิปไตย ได้บอกตั้งแต่แรกว่าไม่ได้เป็นประชาธิปไตย พูดกันแล้วว่าต้องออกกฎหมายมาช่วยในการบริหารประเทศ แล้วมาพูดว่าไม่ชอบเพราะเผด็จการ 

        "อยากให้ประชาชนคิดว่า คสช.ไม่ควรจะอยู่บริหารประเทศแล้วใช่หรือไม่ ควรจะไปได้หรือยัง ผมจะลาออกทันที แล้วให้ท่านมาบริหารกันเอาเอง มาบอกตอนนี้ว่าไม่เป็นประชาธิปไตยและไม่ยอมรับ คสช. จะให้ผมทำยังไง ผมเข้าใจว่านักศึกษาทั้ง 14 คน มีความบริสุทธิ์ใจ ก็เข้าอีหรอบเดิม คือคนจนติดคุก คนรวยอยู่บ้าน ตอนนี้ คสช.พยายามช่วยเหลือประนีประนอมทำความเข้าใจ ให้ประกันตัวก็ไม่ยอมประกันตัว จะใช้กองทุนยุติธรรมเข้าช่วยเหลือโดยขอร้องให้พ่อแม่ญาติพี่น้องนักศึกษาทั้ง 14 คนมาเซ็นชื่อ แต่ไม่มีใครยอม แล้วจะให้ผมทำอย่างไร เพราะต้องใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ จึงขอให้กลับไปทบทวนตัวเองด้วย" พล.อ.ไพบูลย์กล่าว 

 

@ 'ปึ้ง'จวกหยุดใส่ร้ายชักใยน.ศ.

      นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่สมาชิกพรรคการเมืองบางพรรคแสดงความคิดเห็นว่าการเคลื่อนไหวทางการเมืองของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาล เปลี่ยนมาใช้นักศึกษากดดันรัฐบาลแทนการให้มวลชนออกมาเคลื่อนไหว ว่า มองว่าควรเลิกพูดจาในลักษณะที่เอาดีเข้าตัว ควรจะพอได้แล้ว พวกตนอยู่อย่างสงบและเฝ้ามองการบริหารงานของรัฐบาลนี้ให้ทำประโยชน์ให้เกิดกับประชาชน ไม่ได้เคลื่อนไหวอะไรเพราะไม่ต้องการไปเป็นเครื่องมือของใคร ดังนั้นคนที่แสดงความเห็นเช่นนี้ควรพอเสียที

 

@ ทนายแจ้งท่าทีรบ.กับ14น.ศ.

       นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความของ 14 นักศึกษากลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ที่ถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ตามคำสั่งของศาลทหาร 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!