WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

200คน

พล.อ.โผล่! โผ 5 ตัวเก็ง'ปธ.กรธ.''ลิขิต'ยังแบ่งรับแบ่งสู้ บิ๊กตู่นัดถกคสช.-ครม. ช่วยกันหาชื่อ 200 สปท. เมียเก่งร้องขอพบสามี
      'ปธ.กรธ.'มีบิ๊กทหารด้วย เผย 5 ชื่อ ตัวเก็งมี'วิษณุ-อมร-มีชัย-ลิขิต-พล.อ.จิระ''ตือ-พท.'แนะหาคนร่างที่ยึดหลักปชต. เขียนรธน.ยึดโยงประชาชน เลิกดัน"คปป.'บิ๊กตู่-บิ๊กป้อม'ลั่น ห้ามวิจารณ์'รบ.คสช." แจงคุมตัว'เก่ง-พิชัย' เพราะวิพากษ์รัฐบาลไม่สร้างสรรค์ เพื่อไทยจี้ฟังความเห็นต่างบ้าง เมีย'เก่ง การุณ'วอนบอกที่กักตัวสามี กก.สรรหามีมติ เลือก'นครินทร์'นั่งตุลาการศาลรธน.


วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558 ปีที่ 25 ฉบับที่ 9054 ข่าวสดรายวัน

บิ๊กตู่ลั่นคุมตัว'เก่ง'สักระยะ
    เมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุผลการเชิญตัวนายการุณ โหสกุล เพื่อปรับทัศนคติว่า เขาพูดอะไรออกมา มันจบแล้ว ส่วนการวิจารณ์รัฐบาลต้องดูว่าวิพากษ์เชิงไหน ถ้าสร้างสรรค์ตนรับอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่สร้างสรรค์ก็ไม่ค่อยรับ มีแนวโน้มสร้างความไม่เข้าใจและสร้างความเข้าใจผิดหรือไม่ มันมีกฎหมายอยู่ ทำไมจะต้องให้เตือนให้พูดกันบ่อย ที่ผ่านมาปัญหาเกิดขึ้นเพราะคนไม่เคารพกฎหมาย จึงกล้าแสดงออกในทุกเรื่อง ทั้งนี้ ไม่ได้อยากใช้กฎหมายกับคนที่ตรงข้าม แต่ใช้กฎหมายกับคนที่ทำความผิด ใครผิดก็เอาทั้งนั้นไม่ว่าใคร
    พล.อ.ประยุทธ์กล่าวถึงการควบคุมนาย การุณว่า จะควบคุมตัวตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เบื้องต้นเริ่มแรกให้ 7 วัน จากนั้นตำรวจจะเป็นผู้พิจารณาข้อกล่าวหาทำให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง ตำรวจเป็นผู้ดูแล ส่วนที่ตั้งข้อสังเกตว่าใช้กำลังทหารไปเชิญตัวมานั้น ก็แค่ให้ทหารเป็นผู้เชิญตัวมา จากนั้นตำรวจจะเป็นคนดูในกระบวนการต่างๆ การดำเนินคดีจะใช้กฎหมายปกติเนื่องจากพิจารณาแล้วคำพูดของนายการุณนั้นผิด ซึ่งอยากขอความเป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่บ้าง 

อ้างให้อภัย 6 ครั้ง-จี้'พิชัย'หยุด
    เมื่อถามว่า กรณีนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว.พลังงาน ถูกเรียกตัวไปแล้วถึง 7 ครั้ง พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ให้อภัยมา 6-7 ครั้งแล้ว ครั้งที่ 7 อาจจะไม่ให้ก็ได้ เขาพิจารณากันอยู่ ถ้ามันพูดกันไม่รู้เรื่องคราวหน้าก็ต้องดำเนินคดีเพราะมันผิดกฎหมายอยู่แล้ว ซึ่งให้โอกาสมาแล้วหลายครั้ง ให้อภัยด้วยความเมตตา ไปอ่านสามก๊กดู เขาให้อภัยกัน 7 ครั้งแล้ว ครั้งที่ 7 เขายอมปฏิบัติตาม ไม่งั้นเบ้งเฮกก็ถูกตัดคอไปแล้ว กลับไปอ่านกันบ้าง
    พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ทุกคนที่ออกมาพูดให้เกิดความแตกแยก และให้ร้ายรัฐบาลให้สิ่งที่รัฐบาลไม่ได้ทำให้คนอื่นเดือดร้อน เราต้องการพัฒนาประเทศ อย่ามาติติงในสิ่งที่ตัวเองก็ไม่ได้ทำแล้วมาสอนตน ถ้าทำแล้วไม่ได้ผลอย่ามาสอน ไม่ต้องมาแนะนำ และอย่าลืมว่าวันนี้วิธีการทำและจุดมุ่งหมายเป็นคนละเรื่อง ดังนั้น ควรมาสนับสนุนรัฐบาลแก้ปัญหา
     "วันนี้ควรไปดูประชาชนบ้าง ผมมองทุกอย่างและดูทุกคน ไม่ว่าจะสีอะไรก็มองและ ดูให้ทั้งหมด ขอร้องอย่ามาต่อต้านผมมากนัก ผมทำทุกอย่างเพื่อทุกคน ผมไม่เคยฝืนกระบวนการประชาธิปไตยในอนาคตเลย เตรียมทำให้ประชาธิปไตยเข้มแข็ง ให้ประชาชนมีการเรียนรู้ในช่วงเวลาที่เปลี่ยนผ่าน ถ้าไม่ทำมันก็กลับไปแบบเดิมจนล่มสลาย ผมไม่ได้บอกว่าผมทำทุกอย่างดีเลิศประเสริฐศรี แต่ผมเข้ามาในช่วงเวลาที่มันล่มอยู่แล้ว มันเดินหน้าไม่ได้ สื่อต้องช่วยอธิบายด้วย" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

โวยไม่ช่วยร่างห้ามวิจารณ์รธน.
     เมื่อถามถึงการหาบุคคลมาเป็นคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า คิดไว้หมดแล้วถ้าติดปัญหาตรงไหนก็แก้ แผนมันอยู่ในหัว ซึ่งจะหารือกับคณะทำงาน ที่ปรึกษาและคสช.ว่าเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าเห็นด้วยก็ไปขับเคลื่อนทำกันมาและตนจะตัดสินใจ อีก 1-2 วันนี้จะมอบนโยบายว่าจะทำกันอย่างไร ในความคิดของตนให้ไปหาคนมาแล้วมาตัดสินกัน ตนทำงานแบบนี้ ตนจะไปรู้จักคนตั้ง 200 คนได้อย่างไร 
      ผู้สื่อข่าวถามว่าในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะเปิดสัดส่วนใน กรธ.ให้ฝ่ายการเมืองมีส่วนร่วมหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า คอยดูแล้วกัน เขาจะมาหรือไม่ไปถามเขาดู ถ้าเขาจะมาก็เอาชื่อเสนอมา ตนจะพิจารณา จะอยู่ตรงไหน สื่อไปถามถ้าถามแล้วบอกว่าไม่เกี่ยวข้องก็ไม่มีสิทธิ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญ ก็ไม่ยอมมีส่วนร่วม ทุกคนร่วมมือกันหมดไม่ว่าจะเป็นสปช. และ สปช.ก็ไม่ได้ร่างเองทั้งหมด แต่เป็นเรื่องของประชาชน ทั้งปีเขาไปเดินสายกัน งบประมาณก็ใช้ตรงนั้นด้วย ซึ่งตนตามดูทางทีวี เขาเปิดเวทีรับฟังประชาพิจารณ์ ก็ไม่เคยฟังเขาและมาพูดต้านมันทุกด้าน มันจะไปได้อย่างไร

ลั่นไม่อยากให้มีคนแบบตนอีก
       "ถ้าผมทิ้งไปตั้งแต่วันนี้ทุกอย่างยังคงอยู่ในสถานการณ์เดิม ใช้รัฐธรรมนูญเหมือนเดิม มันจะจบหรือไม่ มันควรมีระยะเปลี่ยนผ่าน ระหว่างนี้มันต้องมีกติกาขึ้นมาเพื่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ไม่ใช่กับผมแต่สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับประชาชนให้ได้ว่าจะไม่เกิดอย่างนั้นขึ้นอีก คนอย่างผมจะต้องไม่มีอีกแล้ว อำนาจเป็นของทุกคน ผมก็ประชาชน ท้ายสุดก็มีอำนาจ หนึ่งสิทธิ์ หนึ่งเสียง ประชามติและเลือกตั้งเหมือนทุกคน แต่การเลือกคนเข้ามาบริหารในฐานะรัฐบาลต้องดูทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องนโยบายพรรค ต้องชัดเจนว่าเขาจะบริหารประเทศอย่างไร ถ้าเกิดผลเสียจะทำอย่างไร ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติเขาจะทำอย่างไร ใช้อำนาจตรงไหน"พล.อ. ประยุทธ์กล่าว
       พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ความขัดแย้งเกิดจากความบกพร่องหรือเกิดจากการกระทำของรัฐบาลที่อีกฝ่ายไม่พอใจ เพราะทำผิดกฎหมายล้วนๆ มันต้องแยกให้ออกจะแก้ปัญหาด้วยอะไร สั่งทหารตำรวจไปได้หรือไม่ ถ้าเขาผิดกฎหมายอาญา ไม่ใช่ให้ทหารมาปราบพวกต่อต้าน แต่ปี 2553 ที่ทหารทำเพราะมีคนใช้อาวุธสงคราม และไม่รู้เป็นใคร มีการทำลายการประชุม ยิงใส่กระทรวงกลาโหม คลังน้ำมัน ทหารถึงต้องทำ ถ้ารัฐบาลไม่สั่งให้ทหารทำถือว่าละเว้น และคนที่ทำก็ไม่ชัดเจน เดี๋ยวจะหาว่าตนชี้นำ สื่อรู้ทั้งหมดแต่ชอบถามให้มีเรื่อง 

ออกทีวีเชิญทุกฝ่ายร่วมมือรบ.
      พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวในรายการคืนความสุขให้ประชาชน ผ่านสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ในช่วงค่ำ ถึงเรื่องร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ผ่านความเห็นชอบของสปช.ว่า อยากให้ทุกคนมองในหลายมุม อย่ามองแค่เรื่องประชาธิปไตยอย่างเดียว อย่ามองเรื่องการสืบทอดอำนาจ ไม่ต้องกลัว ตนพร้อมสละทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าได้รัฐบาลที่รับผิดชอบ ไม่ทำความผิดพลาดอีก นักการเมืองดีๆ มีมาก 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ ที่ไม่ดีก็มีอยู่บ้าง บางคนบางพรรคทำให้พรรคเสียหายและทำให้ทุกอย่างแย่ไปกว่าเดิม ถ้าทุกคนเข้ามาแล้วมีความรับผิดชอบ ตนก็ไม่มีปัญหาว่าจะเดินไปอย่างไรจะร่างกันอย่างไร ตนคงไปเกี่ยวข้องไม่ได้
     พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ดังนั้นต้องมาร่วมมือศึกษาทำความเข้าใจเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญตั้งแต่ต้น ขอเชิญชวนพรรคการเมือง นักการเมืองไม่ว่าพรรคใดเข้ามามีส่วน อย่างน้อยในการปฏิรูป ในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่เราจะตั้งขึ้นใหม่ ตนเชิญมาทั้งหมด ใครที่เกี่ยวข้องเข้ามา แต่ถ้าไม่เข้ามาแล้วพูดจาเสียหาย ตนก็รับไม่ค่อยได้ ขอให้เข้ามา จะได้ต่อเนื่องกัน ส่วนคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ก็ทำหน้าที่ของเขาไป วันนี้เราต้องทำทั้งสร้างประชาธิปไตยใหม่ที่เป็นสากลและแก้ปัญหาประเทศไปได้ด้วย และเดินหน้าเรื่องปรองดอง ผ่านกระบวนการกฎหมายและยุติธรรมก่อน และการปฏิรูปใน 11 เรื่อง 37 วาระที่ร่างกันไว้แล้ว 

โวยส่งข้อมูลบิดเบือนให้ตปท.
      พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปและปรองดองแห่งชาติ (คปป.) คำตอบอยู่ในตัวซึ่งตนพูดมาตั้งแต่ต้น ถ้านักการเมืองทุกคนทำได้ ทำจริงและถ้าไม่ทำจะเป็นอย่างไร ก็ไม่จำเป็นต้องมีอะไรทั้งสิ้น
    "ใครที่ถูกกล่าวหา ถูกอ้างว่ามีความผิด ก็เข้ามากระบวนการยุติธรรม ผมว่าศาลต่างๆ เขาดูอยู่แล้ว ถ้าร่วมมือก็มีความเมตตากัน แต่ถ้าสู้กันแบบมวยวัดไปเรื่อยๆ ก็ยิ่งหนักเข้าไปเรื่อยๆ" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว 
    พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนของต่างประเทศ ตนและคสช. และรัฐบาลเข้าใจดีถึงพันธะผูกพันต่างๆ ตนใช้ความพยายามอย่างยิ่งในการสร้างความเข้าใจ ให้มีเหตุผล ให้เขายอมรับในหลักการและความจำเป็นที่มีอยู่ แต่อีกฝ่ายหนึ่งหรือคนที่ทำความผิดแล้วหลบหนีไปก็พยายามให้ข้อมูลที่บิดเบือนอยู่กับต่างประเทศ ต่างชาติก็ไม่มีวันเข้าใจเรา ถึงจะพูดอย่างไรก็ยาก ทราบว่าในการรายงานเหตุการณ์ในไทยผ่านหลายช่องทาง ส่วนใหญ่เอาเรื่องไม่ดีไปทั้งนั้น เรื่องดีๆ ไม่เอาไปเลย ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าเกิดอะไรขึ้น ได้ให้กระทรวงการต่างประเทศตรวจสอบเรื่องเหล่านี้ ตนไม่อยากให้สร้างความขัดแย้งอีกต่อไป

โต้ไม่ได้ชี้นำศาล
      พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า การที่คนเหล่านี้หลบหนีอยู่ต่างประเทศและใช้ช่องทางการติดต่อสื่อสารทางโซเชี่ยลมีเดีย การสัมภาษณ์ทางคลิปต่างๆ และป้ายความผิดให้ข้าราชการ ให้รัฐบาลปัจจุบัน ให้ประชาชน ตนคิดว่าน่าจะพอได้แล้ว เพราะต่อสู้ไป ไม่ได้ต่อสู้กับตน แต่ต่อสู้กับกฎหมาย ส่วนการใช้อำนาจตามมาตรา 44 นั้น จะใช้ในทางสร้างสรรค์เพื่อปฏิรูป ขับเคลื่อนประเทศ แก้ปัญหาที่ซับซ้อนให้ได้ภายในเวลาจำกัด ในเรื่องงบประมาณ เรื่องความเสียหายโครงการต่างๆ ตนระมัด ระวังอย่างที่สุด แต่ถ้าถูกโจมตีทั้งที่ไม่ได้ทำอย่างที่กล่าวหาก็จำเป็นต้องแถลงชี้แจง 
      "ผมไม่ได้ชี้นำศาล อยู่ที่พฤติกรรมของคนเหล่านั้น และไม่อยากให้ต่อสู้กันแบบนี้ต่อไป ประชาชนก็เกลียดชัง สร้างความเกลียดชัง ถ้าเกลียดชังผมก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่ถ้าเกลียดชังคนอื่น คนในประเทศด้วยกัน มันไม่ดี ประเทศจะไม่มีอนาคต ผมไม่เคยว่านักการเมืองทั้งหมด แต่ต่อว่านักการเมืองบางคน หรือบางคนที่ไปผสมอยู่ในพรรคต่างๆ เราต้องแยกคนเหล่านี้ออก ไม่อย่างนั้นก็ขัดแย้งกันอยู่แบบนี้" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว 

ชู'คปป.'กำกับปฏิรูป
       พล.อ.ประยุทธ์ยังกล่าวถึงการตั้งสปท. 200 คนว่า กำลังดูสัดส่วนต่างๆ แต่ละพวกแต่ละฝ่าย เพื่อให้นำแผนปฏิรูปของสปช.ครั้งที่ผ่านมามาดูเพิ่มเติม ลดขนาดตรงนี้ตรงโน้นบ้าง แล้ววางโรดแม็ปแต่ละเรื่อง แต่ละกิจกรรมนำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ เสร็จแล้วต้องมีกฎหมาย มีผู้กำกับดูแล ซึ่งก็ย้อนไปเรื่องคปป. เราต้องทำให้เกิดความมั่นใจว่า สิ่งที่เราทำวันนี้ ถ้าดีต้องส่งต่อ และหาวิธีให้เขาทำงานให้ได้ 
       "กระบวนการในหลักรัฐธรรมนูญหรือในการปฏิรูปต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากปกติบ้าง แต่เราไม่ไปหลบเลี่ยงเรื่องประชาธิปไตยโลกที่เป็นสากล ไม่อย่างนั้นเราไปไม่ได้แน่นอน จึงต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้ได้ ไม่ว่าประชาชน นักการเมือง ข้าราชการต้องไว้เนื้อเชื่อใจกัน ต้องไม่สร้างความระแวงหรือสร้างความเข้าใจผิดบิดเบือนต่อไป เป็นเรื่องกฎหมายกระบวนการยุติธรรมให้ตัดสินไป ถึงจะเดินหน้าอย่างอื่นได้ ด้วยความเป็นธรรม"

'ป้อม'ลั่นห้ามวิจารณ์'รบ.-คสช.'
     ที่ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม ในฐานะรองหัวหน้าคสช. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีคสช.เชิญนายการุณและนายพิชัยมาปรับทัศนคติว่า รัฐบาลกำลังทำงานอยู่ ขอให้หยุดพูดในช่วงนี้ก่อนเพราะเป็นระยะช่วงเปลี่ยนผ่าน ต้องเรียกมาชี้แจงเพื่อปรับความเข้าใจ ถ้าเข้าใจเร็วก็กลับเร็วหากเข้าใจช้าก็กลับช้า เพราะต้องอธิบายกันให้เข้าใจ ตนรับรองว่าเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างดีและไม่ได้ทำอะไร แค่ปรับสมองอย่างเดียวด้วยการพูดคุยกัน ส่วนที่เรียกร้องให้เปิดเผยที่อยู่นั้น คิดว่าไม่จำเป็นเพราะเหมือนอยู่บ้าน เพียงแต่เชิญมาพูดคุย ไม่ได้นำตัวไปทารุณ
     เมื่อถามว่ามีแนวโน้มจะเชิญใครอีกบ้าง พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ใครพูดผิด พูดให้ร้ายในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงก็เชิญมาหมด เวลานี้คือเวลาทำงานของรัฐบาลและคสช. ขอให้เข้าใจตามนี้ ไม่ได้ว่าคนเห็นต่าง แต่อย่าเอามาเปรียบเทียบกัน เพราะเป็นการให้ร้าย 
    ผู้สื่อข่าวถามว่าตอนนี้ดูเหมือนว่า คสช. ดุขึ้น พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ไม่ได้ดุ คสช. ทำเหมือนเดิม แต่รัฐบาลให้ฟังความจริงทุกอย่าง ขอให้ดูประเทศอื่นว่าเขาทำแบบเราหรือไม่ เราพยายามทำให้ดี เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด แต่ขอเวลาทำงานก่อน

วิษณุ เปรยครั้งที่ 3 ไม่มีประชามติ
       ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ กล่าวถึงกรณีข้อสงสัยจำนวนเสียงการทำประชามติ จะยึดจำนวนผู้มีสิทธิหรือผู้ออกมาใช้สิทธิ ว่า เรื่องนี้ความจริงถือว่าชัดอยู่แล้ว ถ้าไม่มีเรื่องอะไรต้องแก้ก็คงไม่แก้ แต่ถ้ามีประเด็นอื่นจำเป็นต้องแก้ก็จะแก้ผสมไปด้วยได้เพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้น ส่วนเรื่องอื่นที่มีคำถามว่าหากไปถึงขั้นทำประชามติแล้วไม่ผ่านจะทำอย่างไรต่อไป อย่างนี้อาจต้องแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ใช้อยู่ และจะนำฉบับไหนขึ้นมาจะได้ว่ากันให้เสร็จไปทีเดียว ส่วนจะใช้กี่ฉบับยังตอบไม่ได้ในเวลานี้ 
      "เพราะครั้งที่สามไม่ควรทำประชามติแล้ว ตามสามัญสำนึกบอกว่าไม่ควร ถ้าจะทำอีกก็จะมีคำถามตามมาว่าหากครั้งที่ 3 ไม่ผ่านอีกจะทำอย่างไรต่อไป ใจคอจะเสียเงิน 3 พันล้านบาทไปเรื่อยๆ แล้วไม่ได้อะไรเลย ประเทศเราไม่ได้รวยขนาดนั้น เมื่อไม่ไปสู่ประชามติอีกก็ต้องมีมาตรฐานอะไรสักอย่างที่จะตอบประชาชนว่าทำไมไม่ทำประชามติ อาจจะเป็นเพราะได้เอาฉบับหนึ่งฉบับใดมาใช้แล้ว"

คนอกหักชิงปลัดสำนักนายกฯ
      ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้ลาออกจากปลัดสำนักนายกฯ อย่าง เป็นทางการแล้ว ส่วนผู้ที่จะมาทำหน้าที่แทน นายกฯ จะพิจารณาผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และไม่ขอวิจารณ์ว่าใครเหมาะหรือไม่เหมาะ
      แหล่งข่าวกล่าวว่า สำหรับรายชื่อผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกฯ คนใหม่ ขณะนี้มีการเตรียมเสนอชื่อให้พล.อ.ประยุทธ์พิจารณา 3-4 ชื่อ ได้แก่ นายภาณุ อุทัยรัตน์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร. นางกนกทิพย์ รชตะนันทน์ รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และนายอภินันท์ จันทรังษี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์

เปิด 5 สเป๊กปธ.กรธ.ของ'ตู่'
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับตัวบุคคลที่พล.อ.ประยุทธ์เล็งให้มาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (ปธ.กรธ." นั้น ได้เลือกไว้ 5 คน ประกอบด้วย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ นายอมร จันทรสมบูรณ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา นาย มีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานรัฐสภา นายลิขิต ธีรเวคิน นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และพล.อ. จิระ โกมุทพงศ์ อดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญ ตามลำดับ โดยนายวิษณุได้ปฏิเสธที่จะลาออกจากตำแหน่งรองนายกฯ มาทำหน้าที่นี้ นายอมรติดปัญหาสุขภาพ ขณะที่นายมีชัยก็ได้ออกมาปฏิเสธ โดยแนวโน้มคาดว่าพล.อ.จิระอาจเป็นผู้รับภาระนี้
      นายลิขิต ธีรเวคิน นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ กล่าวถึงกรณีมีชื่อเป็นกรธ.ว่า ยังไม่มีการทาบทามใดๆ จากคสช. ที่ผ่านมามีแต่สื่อเขียนข่าวกันไปโดยตนไม่รู้เรื่อง หากได้รับทาบทามจากผู้ใหญ่ก็ต้องคุยกันอีกที แต่ตอนนี้ยังไม่มีสัญญาณอะไร ส่วนคุณสมบัติของ ผู้ที่จะเป็น กรธ.นั้น ไม่ขอพูดถึงเพราะเกรงจะเป็นการพรีเซ้นต์ตัวเอง จึงไม่ขอวิจารณ์ใดๆ

สนช.แอ่นอกร่วมร่างรธน.
       ด้านนายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน สนช. และประธานสภาคณาจารย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึงกระแสข่าวจะมีสัดส่วนนักวิชาการจากนิด้าเข้าร่วมกรธ. ว่า ไม่น่าจะใช่ เนื่องจากอำนาจการแต่งตั้ง 21 กรธ. เป็นของคสช.โดยตรง สถาบันการศึกษาไม่น่าจะมีสัดส่วนเข้าร่วมด้วย แต่ถ้าจะมีนักวิชาการจากนิด้าก็ไม่ใช่เรื่องแปลก หากเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ พร้อมด้วยความรู้ ความสามารถ อย่างไรก็ดีตนเห็นด้วยกับส่วนข้อเสนอของนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ที่ให้มีสนช.สัก 2 ราย เข้าร่วมด้วย เพราะต้องร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ และกฎหมายลูกที่สำคัญ 
      นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับสมาชิกสนช.ที่มีคุณสมบัติเป็นกรธ.ได้แก่ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช.คนที่หนึ่ง ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญพิจารณาศึกษาเสนอแนะและรวบรวมความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ และนายกล้านรงค์ จันทิก รองประธานกมธ.สามัญพิจารณาศึกษาเสนอแนะฯคนที่หนึ่ง ก็มีความเหมาะสม เนื่องจากมีความรู้และประสบการณ์ และมีข้อมูลการร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ส่วนตนในฐานะรองประธานกมธ.สามัญพิจารณาศึกษาเสนอแนะฯคนที่สอง พร้อมทำหน้าที่เช่นกัน หากได้รับเลือก 

'ตือ'แนะกรธ.ต้องยึดหลักปชต.
      นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ระบุเรื่อง หลักการประชาชนว่า ขณะที่คนในสังคมสนใจจับตาดูว่าใครบ้างจะมาเป็น กรธ. ซึ่ง คสช.กำหนดสเป๊กแล้วว่า 1.ต้องมีความรู้เรื่องกฎหมาย 2.ต้องรู้สถานการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นทั้งวันนี้ อดีตและวันหน้า 3.ต้องรู้เจตนาของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ รัฐบาลและคสช. ว่าจะขับเคลื่อนประเทศอย่างไร นั่นคือคุณสมบัติของคนที่จะมาเป็นกรธ. ตนคิดว่า นอกจากคุณสมบัติที่เป็นเจตนาของนายกฯ แล้ว อีกประเด็นหนึ่งคือ คนที่ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตย ใครก็ได้ที่ยึดหลักการประชาธิป ไตยสากลแล้วมาช่วยกันดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย อย่าผลักประชาชนออกไปโดยไม่ให้มีส่วนร่วม 
       "กรธ.รู้อะไร ประชาชนรู้เหมือนกรธ. สุจริตใจ ไม่หมกเม็ด บทเรียนจากการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ต้องนำมาเป็นอุทาหรณ์ อย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีก ประเทศและเศรษฐกิจรอไม่ได้ ยิ่งนานประเทศยิ่งบอบช้ำ เศรษฐกิจยิ่งจมลึก เชื่อว่า กรธ.คงตระหนักถึงความจริงของแผ่นดินในวันนี้ นอกจาก 3 ข้อแล้วถ้าเพิ่มเคารพหลักการประชาธิปไตยไปด้วยรัฐธรรมนูญจะสมบูรณ์ และเป็นที่ปรารถนาของประชาชน เป็นของประชา โดยประชา เพื่อประชา อีก 3 ข้อ เจตนาร่วมกันได้ คือทางทองของประชาธิปไตย เศรษฐกิจประเทศไทยไม่ตีบตัน" นายสมศักดิ์ระบุ

มาร์คไม่ค้าน'คปป.'
       ที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ปชป. กล่าวว่า หน้าที่ของ กรธ.จะต้องร่างรัฐธรรมนูญตามความคาดหวังของประชาชน นำประเทศสู่การปฏิรูปโดยไม่ทิ้งหลักประชาธิปไตย และ กรธ.ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นจากศูนย์ สามารถดึงสิ่งที่ดีๆ ที่อยู่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ สปช.ไม่เห็นชอบ แม้กระทั่งรัฐธรรมนูญในปี"40 และปี"50 ที่ไม่มีปัญหามาพิจารณา จะได้ไม่เสียเวลา และให้สังคมมีส่วนร่วมในกระบวนการที่โปร่งใส จะช่วยให้ได้รัฐธรรมนูญฉบับที่สังคมต้องการ จะผ่านได้อย่างราบรื่น 
     นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กรธ.ต้องร่างรัฐธรรมนูญให้คนมีส่วนร่วมจะดีที่สุด ส่วนแรงกดดันคงมีอยู่และคงไม่มีใครอยากให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นครั้งที่ 3 ฉะนั้นต้องทำให้ประชาชนยอมรับร่างฉบับนี้ให้ได้ ส่วนคุณ สมบัติของ กรธ.ต้องเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ที่สำคัญต้องเข้าใจปัญหาที่ผ่านมาและมีใจจะปฏิรูป รับฟังความคิดเห็นทำให้เกิดรัฐธรรมนูญที่ทุกฝ่ายยอมรับ
    เมื่อถามว่า การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ควรคง คปป.ไว้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ปัญหาของ คปป.ที่เขียนไว้ครั้งที่แล้วไม่ระบุถึงรายละเอียด แต่ให้อำนาจลอยๆ จึงเกิดปัญหาขึ้น คิดว่าเป็นความห่วงใยที่มีเหตุผล แต่การคิดแก้ปัญหาต้องละเอียดรอบคอบ และมีหลักการที่ชัดเจนกว่าครั้งที่ผ่านมา 

พท.แนะรธน.ยึดโยงประชาชน
      นายชวลิต วิชยสุทธิ์ รักษาการรองเลขา ธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า สมาชิกพรรคพูดคุยถึงการแก้ปัญหาขัดแย้ง สร้างปรองดองว่าหากจะมีเรื่องคดีความ เราไม่ได้ขอให้แก้จากผิดเป็นถูก เราเพียงขอความยุติธรรมบนหลักนิติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ก้าวล่วงกระบวนการยุติธรรม ส่วนกติกาบ้านเมืองซึ่งใช้บังคับกับคนทั้งประเทศ ขอให้คำนึงถึงเศรษฐกิจปากท้องประชาชนเป็นหลัก มากกว่าประโยชน์ของกลุ่มใด คณะใด ด้วยการสรรหา กรธ. จากผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นที่ยอมรับจากสังคม นำข้อบกพร่อง ข้อท้วงติงที่สังคมไม่ยอมรับจน สปช.คว่ำร่างรัฐธรรมนูญมาสร้างรัฐธรรมนูญที่พัฒนาไม่ถอยหลังเข้าคลอง เป็นประชาธิป ไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการยอมรับจนผ่านเป็นประชามติ ที่สำคัญระยะเวลาตามโรดแม็ปควรเป็นไปตามที่สัญญากับประชาชนไว้ ต้องบอกโรดแม็ปกับเพื่อนบ้านทั้งในอาเซียน และประชาคมโลกทุกครั้งที่ไปเยือน จะได้สร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับประเทศของเรา
      นายอำนวย คลังผา อดีต ส.ส.ลพบุรี พท. กล่าวว่า ขณะนี้เป็นห่วงว่ากรธ.รวม 21 คนที่พล.อ.ประยุทธ์จะตั้งขึ้นใหม่นั้น จะร่างกติกาที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและวิ่งหนีจากประชาชนอีก จึงขอให้กรธ.ชุดใหม่ที่จะเกิดขึ้น ร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยและยึดโยงประชาชนมากที่สุด ทั้งนี้หากแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวตามมาตรา 46 เปิดทางให้มี ส.ส.ร.เข้าร่างรัฐธรรมนูญ ให้ประชาชนเลือกตัวแทนจังหวัดละ 1 คนเข้าดำเนินการ เชื่อว่าจะได้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยที่สุด อย่างไรก็ตาม ขอเสนอว่าต้องไม่มีคปป. รวมทั้งแก้ไขให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง 123 คน แต่งตั้ง 77 คน และแก้ไขให้นายกฯ มาจาก ส.ส.เท่านั้น เชื่อว่าประเทศจะสามารถเดินหน้าต่อได้

แนะรบ.ฟังความเห็นต่าง
      นายอำนวยกล่าวด้วยว่า ส่วนที่ คสช.ควบคุมตัวนายการุณ และนายพิชัย เนื่องจากแสดงความเห็นต่างจากรัฐบาลนั้น หากจะสร้างประชาธิปไตย ต้องสามารถแสดงความเห็นได้ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว และขณะนี้ไม่ได้อยู่ในช่วงการทำประชามติ ยังสามารถแสดงความเห็นได้อยู่
     นายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เมื่อต้องร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ส่งผลให้ต้องยืดโรดแม็ปของพล.อ.ประยุทธ์ ออกไปเกือบ 2 ปี ประเด็นนี้ทำให้นานาชาติรวมทั้งคนที่รักประชาธิปไตย วิจารณ์กันว่า พล.อ.ประยุทธ์ควรแสดงความรับผิดชอบเพราะเป็นคนที่ตั้ง สปช.ขึ้นมาเอง ดังนั้นเข้าใจว่าในช่วงนี้ทั้งรัฐบาลและคสช.เลยต้องการเบรกคนที่ออกมาวิพากษ์ โดยเฉพาะนักการเมือง เพื่อไม่ให้กระทบกับความเชื่อมั่นทั้งในและต่างประเทศ เหมือนเช่นที่ คสช.ได้ควบคุมนายพิชัย และนายการุณ ไปแล้ว
     "ผมอยากให้ พล.อ.ประยุทธ์ใจเย็นและใจกว้างหน่อย อยากให้เปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยโดยเฉพาะนักการเมืองที่เสนอแนะผ่านเสียงสะท้อนจากประชาชนมาอีกทางหนึ่ง รัฐบาลควรมีกระจกเพื่อสะท้อนให้เห็นว่าอะไรควรหรือไม่ควร สิ่งที่นักการเมืองพูดออกไปเพียงแค่ต้องการเตือน ไม่ใช่การโจมตีรัฐบาล" นายวรชัยกล่าว

ส.ส.หญิงเผยโดนห้ามวิจารณ์
      น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ อดีตส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงข่าวถูกเรียกไปปรับทัศนคติว่า มีเจ้าหน้าที่ทหารโทรศัพท์มาพูดคุยเพื่อปรับทัศนคติในการแสดงความคิดเห็นจริง ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ก่อนหน้านี้มีการพูดคุยมาแล้วครั้งหนึ่ง ครั้งล่าสุดสืบเนื่องจากตนโพสต์แสดงความเห็นทางเฟซบุ๊ก กรณีนายกฯวิจารณ์โครงการรับจำนำข้าว และโครงการรถยนต์คันแรก เนื่องจากเห็นว่าเป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทย 
      น.ส.ธีรรัตน์กล่าวต่อว่า เมื่อมีข่าวปรากฏทางหนังสือพิมพ์หรือสื่อออนไลน์ ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารโทรศัพท์มาพูดคุย ตนชี้แจงถึงเหตุผล บรรยากาศเป็นไปด้วยดี ทางเจ้าหน้าที่ทหารได้ขอความร่วมมืองดแสดงความคิดเห็นในช่วงเวลานี้ ตนพร้อมให้ความร่วมมือเนื่องจากเห็นว่าสถานการณ์ขณะนี้ยังไม่ปกติ จึงหยุดเพราะไม่อยากให้เกิดปัญหาและส่งผลกระทบต่อบุคคลในครอบครัว 

เมียการุณวอนแจ้งที่กักตัว
      นางพิมพ์ชนา โหสกุล ภรรยานายการุณ โหสกุล อดีตส.ส.ดอนเมือง พรรคเพื่อไทย เปิดเผยหลังจากนายการุณถูกควบคุมตัวไปวันที่ 2 ว่า ยังไม่ได้รับการติดต่อจากนายการุณ หรือทางการว่านำตัวนายการุณไปไว้ที่ใด ได้พูดคุยกับนายการุณเพียงสั้นๆ ว่า ไม่รู้ว่าทหารจะนำตัวไปไหน ซึ่งตอนแรกเข้าใจว่าเรียกไปคุยแล้วปล่อยตัวกลับ แต่นายการุณบอกว่าคุยกันไม่เข้าใจ ทหารเลยขอให้อยู่ต่อก็จำเป็นต้องอยู่ ก่อนจะบอกให้นำเสื้อผ้าไปให้ 
     นางพิมพ์ชนา กล่าวว่า ตอนนี้รู้สึกสับสนมาก เนื่องจากนายการุณไม่ได้ไปท้าทาย คสช. และไม่ได้ทำอะไรผิด อยากเรียกร้องคสช.ว่าต้องการทราบที่อยู่ที่ชัดเจนของสามีและอยากไปเยี่ยม หากไม่มีอะไรร้ายแรงก็ควรให้ทราบว่าเป็นอย่างไร เพราะไม่รู้ชะตากรรมเลย ลูกเป็นห่วงพ่อเขา คนที่เรียนอยู่เมืองนอกก็ติดต่อมา อยากทราบว่าพ่อเป็นอย่างไรบ้าง 

'ยรรยง'ซัดนโยบายศก.ผิดพลาด
      นายยรรยง พวงราช อดีต รมช.พาณิชย์ กล่าวถึงนโยบายเกษตรของรัฐบาลว่า ปีเศษที่ผ่านมา เศรษฐกิจภาคเกษตรได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง ผลผลิตลดลง เพราะชาวนาถูกห้ามไม่ให้ทำนา ยางพาราถูกโค่นนับแสนไร่ ปาล์มน้ำมันลดลง และถูกซ้ำเติมด้วยกลไกตลาดที่อ่อนแอ ทำให้ราคาตลาด สินค้าเกษตรตกต่ำลงทุกชนิด ซึ่งมูลค่าความเสียหายเบื้องต้น เช่น ข้าว มีปริมาณผลผลิตลดต่ำลงร้อยละ 20-30 คือข้าวเปลือกจากปีละ 33-38 ล้านตัน เหลือเพียง 26-30 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าความสูญเสีย 1 แสนล้านบาท ราคาส่งออกข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์ สมัยรัฐบาลน.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตันละ 450-500 เหรียญสหรัฐ ขณะนี้เหลือเพียง 350-380 เหรียญสหรัฐเท่านั้น ดังนั้น มูลค่าตลาดที่สูญเสียจากราคาประมาณ 3-5 หมื่นล้านบาท รวมมูลค่าเศรษฐกิจที่ลดลง 1.3-1.5 แสนล้านบาท ผลกระทบยังลุกลามถึงภาคธุรกิจที่เกี่ยวกับข้าว ถ้ารวมมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจคาดว่าเกือบ 2 แสนล้านบาท
     นายยรรยง กล่าวว่า ส่วนยางพารานั้นจากการโค่นยางพาราที่จะให้ผลผลิตนับแสนไร่ มูลค่ารวมอาจถึง 1-1.2 แสนล้านบาท ราคายางที่ตกต่ำทำให้เกิดความเสียหายต่อภาคเศรษฐกิจมาก เมื่อรวมราคาน้ำยางดิบที่ลดจากก.ก.ละ 70-80 บาทเหลือ 40 บาท รวมมูลค่าเศรษฐกิจที่ลดลงคาดว่าอยู่ที่ 1.5-2 แสนล้านบาท

ชี้กลัวผีประชานิยมจนเละ
    นายยรรยง กล่าวว่า นโยบายที่ผิดพลาดในช่วงที่ผ่านมาเพราะรัฐบาลกลัวผีประชานิยม และเข้าใจผิดว่าถ้าเข้าไปช่วยเกษตรกรด้วยงบประมาณจำนวนมากจะถูกโจมตีว่าเป็นประชานิยม โดยเฉพาะถ้าไปแทรกแซงกลไกตลาดและกลไกราคา ความจริงเกษตรกร ชาวนาแทบไม่มีอำนาจต่อรองใดๆ เลย เพราะกลไกการผลิต การตลาดต้องอาศัยทุนและปัจจัยภายนอกทั้งหมด โรงสีก็มีอำนาจต่อรองน้อยเมื่อเทียบกับผู้ส่งออกข้าว และผู้ส่งออกก็ต้องพึ่งผู้นำเข้า รัฐบาลจึงจำเป็นต้องช่วยเหลือให้ทุกฝ่ายมีอำนาจต่อรองที่เหมาะสมเพื่อให้มีการแข่งขันอย่างแท้จริง
      นายยรรยง กล่าวว่า ขอวิงวอนรัฐบาลโดยเฉพาะทีมเศรษฐกิจใหม่ ให้ทบทวนนโยบายที่ทำไปแล้วและหามาตรการที่เป็นรูปธรรมและช่วยเหลือให้ได้ผลต่อเศรษฐกิจอย่างแท้จริง มาตรการที่จะช่วยเกษตรกรได้อย่างแท้จริงในระยะยาวคือ การทำให้กลไกตลาดเข้มแข็ง เพิ่มอำนาจต่อรองให้เกษตรกรอย่างแท้จริง ซึ่งบางสถานการณ์รัฐบาลต้องยอมรับโอนความเสี่ยงจากเกษตรกรมาช่วยบริหารจัดการเองด้วย

'ตู่'สั่งสอนต้านโกงในโรงเรียน
      เมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้าคสช.เป็นประธานคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) โดยพล.ท.ชาตอุดม ติตถะสิริ ประธานประชุมคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) แถลงผลการประชุมว่า นายกฯ ได้เน้นย้ำความสำคัญในการต่อต้านการทุจริตพร้อมสร้างการรับรู้ให้สังคม โดยเฉพาะในสถานศึกษาที่จะมีการบรรจุหลักสูตรการศึกษารวมถึงการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนทั่วไป อีกทั้งจะให้ทุกส่วนราชการนำนโยบายในการต่อต้านการทุจริตเพื่อนำไปปรับใช้ให้มากขึ้น
       นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) กล่าวถึงการจัดทำบัญชีข้าราชการทุจริตล็อต 3 ว่า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังรวบรวม คาดว่าจะเสร็จเรียบร้อยในเร็วๆ นี้แน่นอน ทั้งนี้ตนยังไม่เห็นรายชื่อข้าราชการในระดับปลัดกระทรวงเพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังรวบรวมอยู่
     นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานอนุกรรมการด้านการประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้นำเว็บไซต์ www.info.go.th ลิงก์ไปทุกหน่วยงานราชการ เพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลของหน่วยงานที่ถูกต้องในการทำธุรกรรมภาครัฐ นอกจากนี้ยังสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นดังกล่าวไว้ใช้งานบนโทรศัพท์มือถือได้สะดวก ขณะที่นายกฯ ได้สั่งการเรื่องเว็บไซต์ data.go.th ที่รวบรวมข้อมูลเปิดของภาครัฐ โดยในส่วนของโครงการจัดซื้อจัดจ้าง โครงการทุกหน่วยงานที่กรมบัญชีการดูแล ข้อมูลอยู่บนเว็บไซต์ทั้งหมดแล้ว ขาดเพียงพิกัดเล็กน้อย โดยใน 3 เดือนนี้จะเพิ่มเรื่องพิกัดการก่อสร้าง 

มติสรรหา'นครินทร์'นั่งตศร.
      เมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่รัฐสภา คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีนายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน ได้ประชุมเพื่อพิจารณาเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ตศร.) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น 1 คน แทนนายเฉลิมพล เอกอุรุ ที่ครบวาระเนื่องจากอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ จากผู้สมัคร 10 คน 
       ผลการพิจารณาปรากฏว่า ที่ประชุมลงมติเลือกนายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2557 เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วยเสียง 2 คะแนน 
      ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ (กรรมการสรรหาทั้งหมด 3 คน) ขั้นตอนจากนี้จะนำรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือก เสนอต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อให้ที่ประชุมสนช.เห็นชอบต่อไป
    สำหรับ รายชื่อผู้สมัครเข้ารับการสรรหา 10 คน ดังนี้ 1.นายสมภพ ระงับทุกข์ อดีตรองปลัดกรุงเทพมหานคร 2.นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ 3.นายปัญญา อุดชาชน เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ 4.นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน อดีตผวจ.อุตรดิตถ์ 5.นายสนธิ เตชานันท์ อดีตผวจ.สงขลา แต่ขาดคุณสมบัติเนื่องจากเป็นสมาชิกพรรคการเมือง 6.พล.อ. จิระ โกมุทพงศ์ อดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญ 7.นายเชาวนะ ไตรมาศ อดีตเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ 8.นายวีรวิทย์ วิวัฒนวานิช อดีตผวจ.น่าน 9.นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ อดีตรมต.ประจำสำนักนายกฯ 10.นายวิทยา พานิชพงศ์ อดีตผวจ.ปัตตานี 

ปปช.บี้ฟัน'สุกำพล'จุ้นโยกย้าย 
    เมื่อวันที่ 11 ก.ย. นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยว่าคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีร้องเรียน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต อดีตรมว.กลาโหม กรณีปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับชั้นนายพลกระทรวงกลาโหม จากการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล ประจำปี 2555 ซึ่งมีการเสนอพล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม โดยไม่ถูกต้องตามข้อบังคับและกฎหมายนั้น ได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาต่อพล.อ.อ.สุกำพลแล้ว และนัดให้มาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในวันที่ 28 ก.ย.นี้ ซึ่งล่าสุดพล.อ.อ.สุกำพล ได้มาขอดูเอกสารและสำนวนในส่วนที่สามารถขอดูได้ คาดว่าจะมีการเข้าชี้แจงก่อนวันที่คณะอนุกรรมการไต่สวนฯกำหนด แต่ในส่วนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ในชั้นนี้ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา
      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีดังกล่าวสืบเนื่องมาจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์และ พล.อ.อ.สุกำพล ได้เรียกประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ปลัดกระทรวงกลาโหม โดยมีการเสนอพล.อ.ทนงศักดิ์ ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม โดยไม่ถูกต้องตามข้อบังคับและกฎหมาย และ พล.อ.อ.สุกำพลมีคำสั่งกระทรวงกลาโหมให้ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น พร้อมด้วย พล.อ.ชาตรี ทัตติ รองปลัดกระทรวงกลาโหม และ พล.อ. พิณภาษณ์ สริวัฒน์ เจ้ากรมเสมียนตราในขณะนั้น ไปช่วยราชการสำนักงานรมว.กลาโหม เพื่อให้ พล.อ.ทนงศักดิ์ ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม โดยคดีดังกล่าวมีกรรมการ ป.ป.ช.ที่รับผิดชอบ คือนายวิชัย วิวิตเสวี นายปรีชา เลิศกมลมาศ และ พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง

ศาลปค.โต้"หัสวุฒิ"กล่าวหาก.ศป.
      วันที่ 11 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานศาลปกครองออกหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีนายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด ซึ่งอยู่ระหว่างพักราชการ แถลงระบุการถูกสั่งพักราชการและการสอบสวนหลายประการไม่ถูกต้องว่า       1.กรณีสั่งพักราชการนาย หัสวุฒินั้น คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) ดำเนินการโดยชอบตามกฎหมายทุกประการ แต่ประธานศาลปกครองสูงสุดได้ยื่นฟ้องก.ศป.เสียงข้างมากเป็นคดีอาญา ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งศาลอาญาวินิจฉัยแล้วไม่ปรากฏเหตุอื่นที่พอฟังได้ว่าจำเลยทั้ง 6 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบจึงยังไม่เป็นความผิด พิพากษายกฟ้องและศาลได้ออกใบสำคัญ คดีถึงที่สุดแล้ว
      2.กรณีกล่าวอ้างว่า คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงชี้มูลความผิดโดยไม่มีเหตุผล จนทำให้ ก.ศป. เสียงข้างมากมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนนั้น คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามระเบียบ ก.ศป. ว่าด้วยวิธีการสอบสวนและสิทธิของตุลาการศาลปกครอง ซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีเหตุให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง พ.ศ.2544 ซึ่งนายหัสวุฒิยื่นฟ้องกรรมการสอบข้อเท็จจริงเสียงข้างมากเป็นคดีอาญา ในความผิดละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดย มิชอบ ศาลอาญาได้พิพากษายกฟ้อง และศาลออกใบสำคัญคดีถึงที่สุดแล้ว
     3.กรณีกล่าวอ้างว่า คณะกรรมการสอบสวนและก.ศป.ดำเนินการล่าช้าหรือประวิงเวลานั้น ก.ศป.ได้ติดตามเร่งรัดคณะกรรมการสอบสวนให้เสร็จโดยเร็ว แต่มีอุปสรรคบางประการที่อาจส่งผลกระทบต่อการสอบสวน จึงเร่งแก้ไขข้อขัดข้อง โดยก.ศป.เห็นชอบและขยายเวลาการสอบสวน พิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
     4.กรณีกล่าวอ้างว่ามีการสอบข้อเท็จจริงในเรื่องอื่นๆ ด้วยนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินมีหนังสือส่งเรื่องร้องเรียนมาให้ ก.ศป. และมีตุลาการศาลปกครองจำนวนมากลงชื่อเสนอเรื่องต่อก.ศป.ให้พิจารณา โดย ก.ศป.พิจารณาผลการสอบข้อเท็จจริงและมีมติ 2 กรณี ได้แก่ กรณีนาย หัสวุฒิไปปฏิบัติราชการที่ศาลปกครองพิษณุโลก ก.ศป.มีมติเห็นพ้องกับความเห็นของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฝ่ายข้างมากว่ามีมูลตามที่ถูกกล่าวหา และตั้งคณะกรรมการสอบสวนต่อไป และกรณีกล่าวหาว่านายหัสวุฒิมีพฤติกรรมคลั่งพลังจิต ก.ศป.พิจารณาผลการสอบข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่าไม่มีมูลและมีมติให้ยุติเรื่อง 
      ส่วนที่นายหัสวุฒิระบุมีการฟ้องคดีอาญา 6 คดีนั้น นายหัสวุฒิเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาตุลาการศาลปกครอง ที่มีหนังสือขอให้ก.ศป.ตรวจสอบพฤติกรรมของนายหัสวุฒิ และยื่นฟ้อง ก.ศป.ที่มีหนังสือแจ้งให้เลขาธิการสำนักงานศาลปกครองออกหนังสือนัดประชุม ก.ศป. ในความผิดฐานหมิ่นประมาทอีกรวม 3 คดี ศาลอาญาวินิจฉัยว่าเป็นการดำเนินการเพื่อให้ ก.ศป.ตรวจสอบข้อเท็จจริง ไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันศาลปกครอง คดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง และศาลได้ออกใบสำคัญคดีถึงที่สุดแล้วทั้ง 3 คดี

โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง 31 ตุลาการ
      เมื่อวันที่ 11 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี ในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตุลาการ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งข้าราชการตุลาการ ให้ดํารงตําแหน่งต่างๆ 31 ราย ดังนี้ นายศิริชัย วัฒนโยธิน รองประธานศาลฎีกา เป็น ประธานศาลอุทธรณ์ นายชาติชาย อัครวิบูลย์ ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา เป็น รองประธานศาลฎีกา นางพฤษภา พนมยันตร์ ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา เป็น รองประธานศาลฎีกา นายธนฤกษ์ นิติเศรณี ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา เป็น รองประธานศาลฎีกา นายวิรุฬห์ แสงเทียน ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา เป็น รองประธานศาลฎีกา นายเกษม เกษมปัญญา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็น ประธานแผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจในศาลฎีกา 
     นายปริญญา ดีผดุง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็น ประธานแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศในศาลฎีกา นายโสภณ โรจน์อนนท์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ดํารงตําแหน่ง เป็น ประธานแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกา นายวิชัย เอื้ออังคณากุล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็น ประธานแผนกคดีแรงงานในศาลฎีกา นายพรเทพ อัมพรกลิ่นแก้ว ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็น ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา นายพิศล พิรุณ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็น ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา 
     นายนิพนธ์ ใจสําราญ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 เป็น ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา นายสู่บุญ วุฒิวงศ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 8 เป็น ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา นายทวี ประจวบลาภ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็น ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา นายทวีป ตันสวัสดิ์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 4 เป็น ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา นายฉัตรไชย จันทร์พรายศรี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็น ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 1 นายสุริยง ลิ้มสถิรานันท์ ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 3 เป็น ผู้พิพากษา หัวหน้าคณะในศาลฎีกา นายอดิศักดิ์ ปัตรวลี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็น ประธาน ศาลอุทธรณ์ภาค 9 นายอนันต์ วงษ์ประภารัตน์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็น ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 7 
    นายโสฬส สุวรรณเนตร์ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็น ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 8 นายธงชัย เสนามนตรี ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เป็น ประธาน ศาลอุทธรณ์ภาค 4 นายสมชาติ ธัญญาวินิชกุล ผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็น ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา นายประมวญ รักศิลธรรม ผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็น ประธานศาลอุทธรณ์ ภาค 3 นาย จิรนิติ หะวานนท์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็น ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา นายสุทธินันท์ เสียมสกุล อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง เป็น ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา น.ส.ปิยกุล บุญเพิ่ม ผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็น ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา 
     นายอธิป จิตต์สําเริง อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เป็น ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา นางวาสนา หงส์เจริญ ผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็น ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา นายพศวัจณ์ กนกนาก อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เป็น ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 6 นายนิพันธ์ ช่วยสกุล ผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็น ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา นายประสิทธิ์ เจริญถาวรโภคา ผู้พิพากษาศาลฎีกา เป็น ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. เป็นต้นไป

 

44 สปช.นั่งสภาขับเคลื่อน ชี้'เกรดเอ''บิ๊กฐิติวัจน์-กลุ่มคว่ำ'เฮ ให้ทุกกระทรวงชง 5 ชื่อ หม่อมเต่า-โค้ชหรั่งลุ้น'คสช.'สรุปเเหลือ 200 บิ๊กตู่เทียบพิชัย-3 ก๊ก เมียเก่งขอเยี่ยมสามี

เปิดสูตรโควต้าคัด 200 คนนั่งกรรมการสภาขับเคลื่อนประเทศ

สรรหา"กรธ." -พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนในความคืบหน้าการหาบุคคลเข้ามาเป็นคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) รวมถึงการควบคุมตัวนายพิชัย นริพทะพันธุ์และนายการุณ โหสกุล ภายหลังการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมเอสเอ็มอี ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 11 กันยายน 

 

มติชนออนไลน์ :

 

'บิ๊กตู่'ให้คสช.ช่วยหา 200 สปท.

        เมื่อวันที่ 11 กันยายน ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าในการหาบุคคลเข้ามาเป็นคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ว่า คิดไว้แล้ว คิดวันนี้ วันหน้า อนาคตทั้งหมดและเดินไป ถ้าติดปัญหาตรงไหนก็แก้ แผนมันอยู่ในหัวของตน จะหารือกับคณะทำงานที่ปรึกษาและ คสช.ว่าเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าเห็นด้วยก็ไปขับเคลื่อนกันมา เดี๋ยวอีกวันสองวันจะมอบนโยบายว่าจะทำกันอย่างไร ให้ไปหาคนกันมา แล้วมาตัดสินกันว่าควรจะเป็นอย่างไร จะไปรู้จักคนตั้ง 200 คน (สปท.) ได้อย่างไร 

      เมื่อถามว่าจะเปิดสัดส่วนใน กรธ.ให้ฝ่ายการเมืองเข้ามามีส่วนร่วมหรือไม่ นายกฯกล่าวว่า "เขาจะมารึเปล่า ไปถามเขาดู ถ้าเขาจะมา เอาชื่อเสนอมา แล้วผมจะพิจารณาว่าจะอยู่ตรงไหน สื่อไปถามมานะ ถ้าไปถามแล้วบอกว่าไม่เกี่ยวข้อง ก็ไม่มีสิทธิวิจารณ์รัฐธรรมนูญ ก็ไม่ยอมมีส่วนร่วม ทุกคนเขาก็ร่วมมือกันหมด ไม่ว่าจะเป็นสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ เขาไม่ได้ร่างเองทั้งหมด แต่เป็นเรื่องของประชาชน ที่ทั้งปีเขาไปเดินสายกันตั้งเท่าไร ผมก็ตามดูทางทีวี เขาเปิดเวทีรับฟังประชาพิจารณ์ ก็ไม่เคยฟังเขาและก็มาพูดต้านมันทุกด้าน"

 

ชี้ร่างรธน.ต้องแก้ปัญหาอดีต

      นายกฯกล่าวว่า ทุกคนต้องยอมรับว่าวันนี้ควรจะต้องมีรัฐธรรมนูญอย่างไร ถ้าบอกว่าต้องมีรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตย มันก็กลับไปแบบเก่า เคยมีใครสัญญาหรือไม่ว่ามันจะไม่เกิดขึ้นอีก ที่ผ่านมากฎหมายปกติออกไม่ได้ มีผลกระทบหมด ฉะนั้นเรื่องนโยบายพรรคในคราวหน้า ในฐานะที่ตนเป็นผู้เลือก ถ้าบอกว่าจะให้ราคาของอย่างนี้ ต้องบอกว่าเอาเงินมาจากไหน ถ้าเกิดผลเสียจะทำอย่างไรต้องตอบคำถามประชาชนก่อนที่จะเลือก

     พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า นอกจากนี้ ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติเขาจะทำอย่างไร ใช้อำนาจตรงไหน ความขัดแย้งเกิดจากความบกพร่อง หรือเกิดจากการกระทำของรัฐบาลที่อีกฝ่ายไม่พอใจ เพราะทำผิดกฎหมายล้วนๆ มันต้องแยกให้ออกจะแก้ปัญหาด้วยอะไร จะสั่งทหารตำรวจไปได้หรือไม่ ถ้าเขาผิดกฎหมายอาญา ไม่ใช่ให้ทหารไปปราบพวกต่อต้าน แต่ปี 2553 ที่ทหารทำเพราะมีคนใช้อาวุธสงครามและไม่รู้เป็นใคร มีการทำลายการประชุม ยิงใส่กระทรวงกลาโหม คลังน้ำมัน ทหารถึงต้องทำ ถ้ารัฐบาลไม่สั่งให้ทหารทำถือว่าละเว้น และคนที่ทำก็ไม่ชัดเจน เดี๋ยวจะหาว่าชี้นำ

ย้ำไม่ต้องกลัวสืบทอดอำนาจ

    ต่อมาเมื่อเวลา 20.15 น. พล.อ.ประยุทธ์กล่าวผ่านรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" ตอนหนึ่งว่า เรื่องร่างรัฐธรรมนูญ สัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ไม่ผ่านความเห็นชอบของ สปช. อยากให้ทุกคนมองในหลายมุม ไม่ว่าจะในเรื่องของประชาธิปไตย เป็นหรือไม่เป็น อยากให้ทุกคนช่วยคิดกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับต่อไปที่จะร่างขึ้นมาใหม่ อย่าไปมองเรื่องของประชาธิปไตยอย่างเดียว อย่าไปมองเรื่องการสืบทอดอำนาจ ไม่ต้องกลัว ส่วนตัวพร้อมที่จะสละทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าหากว่าได้รัฐบาลที่รับผิดชอบ รัฐบาลที่ไม่ทำความผิดพลาดอีก นักการเมืองดีๆ มีมากกว่า 90% ที่ไม่ดีก็มีอยู่บ้าง บางคนบางพรรคทำให้เสียหาย วันนี้เป็นโอกาสเดียวของประชาชน

ที่จะทำให้ประเทศชาติเดินหน้าไปได้ด้วยดีในอนาคต 

       "ใครที่ถูกกล่าวหา ถูกกล่าวอ้างว่ามีความผิดก็เข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรม ถ้าร่วมมือต่างๆ ก็มีความเมตตากัน แต่ถ้าสู้กันแบบมวยวัดไปเรื่อยๆ ก็ยิ่งหนักเข้าไปเรื่อยๆ เห็นใจเจ้าหน้าที่ ศาลเดือดร้อนไปหมด เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการตรวจสอบการทุจริตก็มีปัญหาหมด ถูกระเบิด ถูกยิงอะไรต่างๆ ที่ผ่านมา ผมว่าไม่ถูกต้อง เราอย่าไปร่วมมือกับคนเหล่านี้ในการใช้ความรุนแรง รักคนแต่อย่ารักในทางที่ผิด จะชื่นชมก็อย่าไปทำให้คนอื่นเดือดร้อน" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว 

สั่งบัวแก้วตรวจสอบเป่าหูต่างชาติ

     พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ในส่วนของต่างประเทศ คสช.และรัฐบาลเข้าใจดีถึงพันธะผูกพันต่างๆ ก็พยายามอย่างยิ่งยวดในการสร้างความเข้าใจ ให้เขายอมรับในหลักการและความจำเป็นต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่สิ่งที่คนกระทำความผิดแล้วหลบหนีไป ก็พยายามไปให้ข้อมูลที่บิดเบือนกับต่างประเทศ ต่างชาติก็ไม่มีวันเข้าใจไทยจะพูดอย่างไรก็ตามก็ยาก 

      "ผมทราบว่าในการรายงานเหตุการณ์ในประเทศไทยผ่านหลายๆ ช่องทาง ส่วนใหญ่เอาเรื่องไม่ดีไปทั้งนั้น เรื่องดีๆ ไม่เอาไปเลย ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าเกิดอะไรขึ้น กำลังให้กระทรวงการต่างประเทศตรวจสอบเรื่องเหล่านี้ ไม่อยากให้สร้างความขัดแย้งกันอีกต่อไป การที่คนเหล่านี้หลบหนีอยู่ต่างประเทศ และใช้ช่องทางการติดต่อสื่อสารทางโซเชียลมีเดีย การสัมภาษณ์ทางคลิปต่างๆ และป้ายความผิดต่างๆ ให้ข้าราชการ ให้รัฐบาลปัจจุบัน ให้ประชาชน คิดว่าน่าจะพอได้แล้ว ควรมาต่อสู้ทางกฎหมาย เมื่อเราทุกคนบอกว่าเรารักชาติ รักแผ่นดิน ก็กรุณาพิจารณาด้วยว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องเหล่านี้สนับสนุนการหมิ่นสถาบัน ไม่มีการห้ามปราม สนับสนุนการใช้ความรุนแรง ควรจะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินต่อไปอีกหรือไม่" นายกฯกล่าว

"วิษณุ"ชี้หากมีรอบ3-ไม่ประชามติ

       ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ กล่าวถึงกรณีการวิพากษ์วิจารณ์ความไม่ชัดเจนการทำประชามติว่า จะยึดเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิหรือผู้ออกมาใช้สิทธิว่า ความจริงถือว่าชัดอยู่แล้ว ถ้าไม่มีเรื่องอะไรต้องแก้ ประเด็นนี้ก็คงไม่แก้ แต่ถ้ามีประเด็นอื่นจำเป็นต้องแก้ ก็จะแก้ผสมไปด้วยได้เพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้น แต่ถ้าแก้เรื่องนี้เรื่องเดียวคงไม่ทำ ทั้งนี้ เรื่องอื่นที่ว่าอย่างน้อยมันมีอยู่ คำถามที่ใครๆ ชอบถาม ถ้าไปถึงขั้นทำประชามติแล้วไม่ผ่านจะทำอย่างไรต่อไป อันนั้นอาจต้องแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ใช้อยู่ จะเอาฉบับไหนขึ้นมาจะได้เสร็จเลยทีเดียว 

      เมื่อถามว่า ถ้าประชามติไม่ผ่าน เป็นไปได้หรือไม่ที่จะหยิบรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งขึ้นมาเป็นตัวตั้ง นายวิษณุกล่าวว่า เป็นไปได้ เพราะครั้งที่สามไม่ควรทำประชามติแล้ว ตามสามัญสำนึกมันบอกว่าไม่ควร ถ้าจะทำอีกก็จะมีคำถามตามมาว่า ถ้าครั้งที่สามไม่ผ่านอีกจะทำอย่างไรต่อ ใจคอจะเสียสามพันล้านบาทไปเรื่อยๆ แล้วไม่ได้อะไรเลย เมื่อมันไม่ไปสู่ประชามติอีก ก็ต้องมีมาตรฐานอะไรสักอย่างที่จะตอบประชาชนว่าทำไมไม่ทำประชามติ อาจจะเป็นเพราะเอาฉบับหนึ่งฉบับใดมาใช้แล้ว 

ลิขิต-เสธ.อู้ปัดถูกทาบนั่งกรธ.

      นายลิขิต ธีรเวคิน นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีข่าวว่ามีชื่อเป็น กรธ.ว่า ไม่ทราบ ยังไม่มีการทาบทามใดๆ จาก คสช. ที่ผ่านมามีแต่สื่อเขียนข่าวกันไปโดยที่ตนไม่รู้เรื่อง หากมีการทาบทามจากผู้ใหญ่ก็ต้องคุยกันอีกที แต่ตอนนี้ยังไม่มีสัญญาณอะไร ส่วนคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็น กรธ. ไม่ขอพูดถึง เพราะเกรงว่าจะเป็นการพรีเซ็นต์ตัวเอง จึงไม่ขอวิจารณ์ใดๆ

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช อดีต กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ไม่รู้เรื่องที่มีชื่อตนเป็น กรธ. เพราะยังไม่มีใครมาทาบทาม และตนไม่อยากพูดเรื่องนี้

      รายงานข่าวแจ้งว่า ล่าสุดนายอมร จันทรสมบูรณ์ ที่มีกระแสข่าวว่าถูกทาบทามให้ทำหน้าที่ประธาน กรธ. พักรักษาตัวอยู่เนื่องจากมีอาการป่วย แต่ยังไม่มีการตอบรับหรือปฏิเสธ เนื่องจากรอดูปัญหาเรื่องสุขภาพก่อน แต่เป็นไปได้ว่านายอมรจะไม่รับตำแหน่งเนื่องจากอายุมากแล้ว อย่างไรก็ตามมีรายงานข่าวอีกกระแสแจ้งว่า ขณะนี้ยังไม่มีการทาบทามมายังนายอมรแต่อย่างใด 

สนช.หนุน"สุรชัย-กล้านรงค์"นั่งกรธ. 

     นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และประธานสภาคณาจารย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึงกระแสข่าวจะมีสัดส่วนนักวิชาการจากนิด้าเข้าร่วม กรธ.ว่า ไม่น่าจะใช่ เนื่องจากการแต่งตั้ง 21 กรธ.เป็นอำนาจของหัวหน้า คสช.โดยตรง สถาบันการศึกษาไม่น่าจะมีสัดส่วนเข้าร่วมด้วย แต่ถ้าจะมีนักวิชาการจากนิด้า ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ส่วนข้อเสนอของนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. ที่เห็นว่าควรมีสมาชิก สนช. 2 คนเข้าร่วม กรธ.นั้น ตนเห็นด้วย เนื่องจาก สนช.ต้องร่วมร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูกที่สำคัญ หลังร่างรัฐธรรมนูญผ่าน จึงจำเป็นที่จะต้องมีสมาชิก สนช.เป็นส่วนหนึ่งของ กรธ.เพื่อคอยประสานการทำงานด้วย 

     "สำหรับสมาชิก สนช.ที่มีคุณสมบัติเป็น กรธ.นั้น คิดว่านายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช.คนที่หนึ่งในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.)สามัญพิจารณาศึกษาเสนอแนะและรวบรวมความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ และนายกล้า

นรงค์ จันทิก รองประธาน กมธ.สามัญพิจารณาศึกษาเสนอแนะฯคนที่หนึ่ง มีความเหมาะสม เนื่องจากมีความรู้และประสบการณ์ และมีข้อมูลการร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ส่วนผมในฐานะรองประธาน กมธ.สามัญพิจารณาศึกษาเสนอแนะฯคนที่สอง ก็พร้อมทำหน้าที่เช่นกัน หากได้รับเลือก" นายทวีศักดิ์กล่าว 

โควต้า 200"สปท.-44สปช."เกรดเอ

    รายงานข่าวเปิดเผย "มติชน" ว่า การแต่งตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) จำนวน 200 คนนั้น คสช.จะแต่งตั้งในสัดส่วนที่มาจากอดีต สปช.ที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 44 คน โดยถือว่าเป็นเกรดเอ กลุ่มนี้ นำโดย พล.ท.ฐิติวัจน์ กำลังเอก ที่จะขึ้นเป็นพล.อ.ในเดือนตุลาคมนี้ โดย พล.อ.ฐิติวัจน์มีบทบาทในการเคลื่อนไหวรวบรวมเสียง สปช.ที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ นอกจากกลุ่ม 44 สปช.เกรดเอแล้ว ยังมีอดีต สปช.ที่รับร่าง รธน. 5-10 คน รวมถึงนายคำนูณ สิทธิสมาน อดีต สปช.และอดีต กมธ.ยกร่างฯสมาชิกสภาขับเคลื่อนฯอีกส่วนหนึ่งจะมาจากรายชื่อที่กระทรวงต่างๆ ส่งเข้ามารับการคัดเลือก กระทรวงละ 5 คน และจากกลุ่มอดีต 40 ส.ว.บางส่วน

    นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า นายกฯมีบัญชาให้กระทรวงต่างๆ ส่งรายชื่อข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถกระทรวงละ 5 คน เพื่อนำไปเลือกเป็น สปท. ซึ่งกระทรวงแรงงานจัดทำรายชื่อพร้อมประวัติข้าราชการปัจจุบัน และอดีตย้อนหลัง 4-5 ปี เสนอให้ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและปลัดกระทรวงกลาโหม พิจารณาแล้ว 

     นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ยังไม่ได้รับคำสั่งจากนายกฯเป็นลายลักษณ์อักษร แต่มีผู้สอบถามและขอให้เสนอรายชื่อผู้เหมาะสมเป็น สปท. ซึ่งตนเสนอรายชื่อไปแล้ว 5 ราย คงไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าเสนอใครไปบ้าง

ก.ท่องเที่ยวชง"โค้ชหรั่ง"นั่งสปท.

    นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ส่งรายชื่อทั้ง 5 คนเพื่อให้ คสช.คัดเลือกนั่ง สปท.แล้ว เป็นบุคคลที่มาจากวงการท่องเที่ยว 2 คน และวงการกีฬา 2 คน ส่วนอีกคนหนึ่งคือคนอยู่กึ่งกลางระหว่างท่องเที่ยวกับกีฬา แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อออกมาได้ แต่รับประกันว่าหากเอ่ยชื่อออกไปจะได้รับการยอมรับในวงการท่องเที่ยวและวงการกีฬา

รายงานข่าวแจ้งว่า หนึ่งในรายชื่อที่นางกอบกาญจน์เสนอ ในส่วนโควต้ากีฬา ได้แก่ นายชาญวิทย์ ผลชีวิน ผู้ตรวจราชการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่จะเกษียณอายุราชการในปีนี้ 

    ผู้สื่อข่าว "มติชน" สอบถามไปยังนายชาญวิทย์ ได้รับการยืนยันว่าได้รับการทาบทามก่อนหน้านี้ แต่ไม่รู้ว่านางกอบกาญจน์ส่งชื่อไปจริงหรือไม่ แต่ถ้าได้รับการพิจารณาให้เข้าไปทำหน้าที่จริงก็รู้สึกเป็นเกียรติ และยินดีอย่างยิ่งที่จะนำความรู้และประสบการณ์ในวงการกีฬาไปทำหน้าที่เพื่อประเทศชาติ 

      พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในส่วนของกระทรวงเกษตรฯว่า ส่งรายชื่อ 5 คนให้นายกฯ เพื่อคัดเลือกเป็น สปท.แล้ว แต่จำไม่ได้ว่าเป็นใครบ้าง จำได้เพียงคร่าวๆ ว่าเป็นรองปลัดกระทรวงเกษตรฯที่เพิ่งแต่งตั้งใหม่ และเป็นอดีตข้าราชการของกระทรวงเกษตรฯที่เกษียณแล้วเท่านั้น

คลังส่ง"หม่อมเต่า"ชิงเก้าอี้สปท.

   แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า กระทรวงการคลังส่ง 5 รายชื่อ เพื่อเสนอให้นายกฯพิจารณาคัดเลือกเป็น สปท.ประกอบด้วย 1.ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อดีตปลัดกระทรวงการคลังและอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) 2.นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานวุฒิสภา และประธานรัฐสภา 3.นายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร ว่าที่ปลัดกระทรวงการคลัง 4.นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และ 5.นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง 

"สธ.-ทส."ยังไม่รู้ให้คัด5ชื่อ

    ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ยังไม่ทราบคำสั่งและไม่เห็นหนังสือให้เสนอ 5 รายชื่อเพื่อคัดเลือกนั่ง สปท. แต่หากมีจริงก็ต้องหารือกับหลายส่วน ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเกษียณอายุราชการจะเข้าร่วมสภาขับเคลื่อนฯด้วยหรือไม่ นพ.ณรงค์หัวเราะก่อนกล่าวว่า คงไม่นายเกษมสันต์ จิณณวาโส ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องว่ามีคำสั่งนี้

รายงานข่าวแจ้งว่า ในส่วนของ ทส.นั้นผู้ที่ได้รับเสนอชื่อเพื่อคัดเลือกนั่ง สปท. มีชื่อนายเกษมสันต์ นายนิพนธ์ โชติบาล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และนายวิจารย์ สิมาฉายา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ด้วย

"มาร์ค"ชี้ถ้ามีคปป.ต้องรอบคอบ

     ที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ปชป. กล่าวว่า กรธ.จะต้องร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามความคาดหวังของประชาชน คือนำประเทศไปสู่การปฏิรูปโดยไม่ทิ้งหลักประชาธิปไตย และ กรธ.ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นจากศูนย์ โดยดึงสิ่งที่ดีๆ ที่อยู่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา รวมทั้งรัฐธรรมนูญปี 2540 และปี 2550 ที่ไม่มีปัญหามาพิจารณา จะได้ไม่เสียเวลา โดยให้สังคมมีส่วนร่วมในกระบวนการที่โปร่งใส จะช่วยให้ได้รัฐธรรมนูญฉบับที่สังคมต้องการ จะผ่านได้อย่างราบรื่น

     เมื่อถามต่อว่า การร่างรัฐธรรมนูญครั้งใหม่ คสช.ควรรับฟังความเห็นจากหลายฝ่ายมากกว่านี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า กรธ.จะต้องเป็นผู้ดำเนินการในเรื่องนี้ ทำให้เกิดความหลากหลาย มีความโปร่งใสให้คนมีส่วนร่วมจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด คงไม่มีใครอยากที่จะให้มีการร่างรัฐธรรมนูญครั้งที่ 3 อีก เพราะฉะนั้นต้องทำให้ดี และทำให้ประชาชนยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ได้ 

      เมื่อถามว่า การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ควรคงคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ไว้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า คปป.ที่เขียนไว้ครั้งที่แล้ว ไม่ระบุถึงรายละเอียด แต่ให้อำนาจลอยๆ จึงเกิดปัญหาขึ้น การนำ คปป.มาใส่ในร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา เข้าใจในข้อห่วงใยว่าไม่ต้องการให้กลับไปสู่สภาพรัฐบาลใช้อำนาจในทางที่ผิด และหากเกิดความวุ่นวายในสังคมอีกก็ไม่อยากย้อนกลับมาจุดเดิมอีก แต่การคิดแก้ปัญหาต้องละเอียดรอบคอบ และมีหลักการที่ชัดเจนกว่าครั้งที่ผ่านมา

พท.แนะแก้ม.46เปิดช่องตั้ง"สสร."

    นายอำนวย คลังผา อดีต ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า ขอให้ กรธ.ร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยและยึดโยงประชาชนมากที่สุด แต่หากแก้ไขมาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว โดยเปิดทางให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) โดยเปิดให้ประชาชนเลือกตัวแทนจังหวัดละ 1 คนเข้ามาดำเนินการ จะได้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยที่สุด ขณะเดียวกันถ้าตัด คปป.ออก และแก้ไขให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง 123 คน แต่งตั้ง 77 คน รวมทั้งแก้ไขให้นายกฯมาจาก ส.ส.เท่านั้น ประเทศจะสามารถเดินหน้าต่อได้

"บิ๊กตู่"เปรียบ"พิชัย"เป็น"เบ้งเฮ็ก"

     พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช. กล่าวถึงการเชิญตัวนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว.พลังงาน และนายการุณ โหสกุล อดีต ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย (พท.) เข้าค่ายทหารเพื่อปรับทัศนคติ ว่า หากวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลเชิงสร้างสรรค์ ตนรับอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่สร้างสรรค์ ก็ไม่ค่อยรับ แต่การพูดมีแนวโน้มที่จะสร้างความไม่เข้าใจและสร้างความเข้าใจผิด มันมีกฎหมายหรือไม่ กฎหมายปกติเองก็มีเรื่องที่นำไปสู่สถานการณ์ความไม่สงบเรียบร้อย ที่ผ่านมาปัญหาเกิดขึ้นเพราะคนไม่เคารพกฎหมาย จึงกล้าแสดงออกในทุกๆ เรื่อง และรัฐบาลก็ไม่ได้ยุติในสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้อยากใช้กฎหมายกับคนที่ตรงข้ามตน แต่ใช้กฎหมายกับคนที่ทำความผิด ใครผิดก็เอาทั้งนั้นนั่นแหละ ไม่ว่าจะใครทั้งนั้น

     เมื่อถามว่า กรณีนายพิชัยถูกเรียกตัวถึง 7 ครั้งแล้ว จะดำเนินการอะไรเด็ดขาดหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ก็ให้อภัยมา 6-7 ครั้งแล้วไง ครั้งที่ 7 นี้อาจจะไม่ให้ก็ได้ ถ้ามันพูดกันไม่รู้เรื่อง คราวหน้าก็ต้องดำเนินคดี เพราะมันผิดกฎหมายอยู่แล้ว และวันข้างหน้าอย่ามาว่าต้องขึ้นศาลหรือได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ เพราะให้โอกาสมาแล้วหลายครั้ง เมื่อถามว่า แสดงว่ากรณีที่วิจารณ์ซ้ำซาก จะตั้งข้อหาเพื่อดำเนินคดีใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า "ไม่ใช่ตั้งข้อกล่าวหา มันมีข้อหาอยู่แล้ว แต่มีการให้อภัยด้วยความเมตตา ไปอ่านสามก๊กดู เขาให้อภัยกันมา 7 ครั้งแล้ว ครั้งที่ 7 เขาก็ยอมปฏิบัติตาม ไม่งั้นเบ้ง

เฮ็กก็ถูกตัดคอไปแล้ว" 

ลั่นเชิญคุยทุกคนพูดทำแตกแยก

      เมื่อถามว่ายังมีบุคคลที่เข้าข่ายเช่นนี้อีกหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ก็ทุกคนนั่นแหละที่ออกมาพูดให้เกิดความแตกแยก และให้ร้ายรัฐบาลในสิ่งที่รัฐบาลไม่ได้ทำให้คนอื่นเดือดร้อน อย่ามาติติงในสิ่งที่ตัวเองก็ไม่ได้ทำมา แล้วมาสอนตน ถ้าทำแล้วไม่ได้ผลอย่ามาสอน อย่ามาแนะนำ กลับไปดูบ้างที่ทำกันมานั้นเป็นอย่างไร และตนต้องเข้ามาแก้ แล้วสื่อจะปล่อยให้คนเหล่านี้มาพูดติติงตนอย่างนั้นหรือ สังคม ประชาชนจะฟังตามแล้วก็เชื่อเข้าสักวันว่าไอ้คนนี้มันเก่ง เศรษฐกิจวันนี้มันแย่ เพราะไม่ทำอย่างที่คนคนนั้นพูด ทั้งๆ ที่ปัญหาเศรษฐกิจวันนี้มันเกิดจากอดีตแล้วไม่ได้รับการดูแล 

     พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงการควบคุมนายการุณอีกครั้งว่า จะควบคุมตัวตามที่กฎหมายกำหนด เบื้องต้น 7 วัน หลังจากนั้นตำรวจจะเป็นผู้พิจารณาข้อกล่าวหา ซึ่งมันชัดเจนอยู่แล้ว เมื่อถามว่าแล้วจะตั้งข้อหาอะไรกับนายการุณ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ก็ข้อหาทำให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง การดำเนินคดีจะใช้กฎหมายปกติ เนื่องจากคำพูดคำจาของนายการุณนั้นผิด

"บิ๊กป้อม"ชี้ถ้าใครเข้าใจเร็วกลับเร็ว

    ที่ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ดอนเมือง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีที่ทหารเชิญตัวนายพิชัยและนายการุณเข้าค่ายทหารเพื่อปรับทัศนคติว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังทำงานอยู่ ขอให้หยุดพูดช่วงนี้ก่อน เพราะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน การพูดให้ร้ายนายกฯ รัฐบาล และ คสช.นั้นยังไม่ใช่เวลา อย่าเพิ่งมาให้ร้าย ดังนั้น ต้องเรียกมาชี้แจงเพื่อปรับความเข้าใจ ถ้าเข้าใจเร็วก็กลับเร็ว หากเข้าใจช้าก็กลับช้า 

     เมื่อถามว่า มีแนวโน้มจะเชิญใครอีกบ้าง พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ใครพูดผิด พูดให้ร้ายในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงก็เชิญมาหมด เมื่อถามว่า จะมีการเปิดเผยชีวิตของนักการเมืองที่อยู่ในค่ายทหารหรือไม่ พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า รับรองว่าเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างดี และไม่ได้ทำอะไร เพียงแค่ปรับสมองอย่างเดียวด้วยการพูดคุยกัน ส่วนที่มีฝ่ายการเมืองเรียกร้องให้เปิดเผยที่อยู่ในค่ายทหารนั้น คิดว่าไม่จำเป็น เพราะเหมือนกับอยู่บ้าน เพียงแต่เชิญมาพูดคุย ไม่ได้นำตัวไปทารุณ ไม่ต้องกังวล ตนรับรอง เมื่อถามว่า ตอนนี้ดูเหมือนว่า คสช.ดุขึ้น พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ไม่ได้ดุ คสช.ทำเหมือนเดิม ขอให้ไปดูประเทศอื่นว่าเขาทำแบบนี้หรือไม่ เราพยายามทำให้เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด

เมีย"เก่ง"ขอ"คสช."ให้เยี่ยมสามี 

      นางพิมพ์ชนา โหสกุล ภรรยานายการุณ กล่าวหลังนายการุณถูกควบคุมตัวไปปรับทัศนคติเป็นวันที่ 2 ว่า ยังไม่ได้รับการติดต่อจากนายการุณหรือทางการว่านำตัวนายการุณไปที่ใด เพราะหลังจากวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา นายการุณเดินทางไปเข้าพบทหารที่กองทัพภาคที่ 1 ด้วยตัวเอง ไม่ได้ถูกควบควบคุมตัวไป จากนั้นโทรศัพท์มาหาตนบอกให้เก็บเสื้อผ้าสำหรับ 7 วันให้ไปส่งที่กองทัพภาคที่ 1 ทั้งนี้ ได้พูดคุยกับนายการุณเพียงสั้นๆ ว่า ไม่รู้ว่าทหารจะนำตัวไปไหน ทีแรกเข้าใจว่าเรียกไปคุยแล้วปล่อยตัวกลับ แต่นายการุณบอกว่าคุยกันไม่เข้าใจทหารเลยขอให้อยู่ต่อ ก็จำเป็นต้องอยู่ ก่อนจะบอกให้ตนนำเสื้อผ้าไปให้ 

"รู้สึกสับสนมากกับเรื่องที่เกิดขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมานายการุณไม่ได้ทำผิดหรือไปท้าทายอะไร คสช.เลย อยากเรียกร้องไปยัง คสช.ว่าต้องการทราบที่อยู่ของสามีและอยากเข้าไปเยี่ยม หากไม่มีอะไรร้ายแรงก็ควรแจ้งให้ทราบว่าสามีเป็นอย่างไรบ้าง ตอนนี้ไม่รู้

ชะตากรรมเลย ลูกๆ ก็เป็นห่วงคุณพ่อของเขา คนที่เรียนอยู่เมืองนอกเขาก็ติดต่อมาอยากทราบว่าพ่อเป็นอย่างไรบ้าง" นางพิมพ์ชนากล่าว 

ฮิวแมนไรต์สจี้คสช.ปล่อยตัว

      วันเดียวกัน องค์การสิทธิมนุษยชนฮิวแมน ไรต์ส วอตช์ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เรียกร้องให้รัฐบาลไทยเปิดเผยที่อยู่ของนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ถูกทางการไทยควบคุมตัวไปเมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา โดยนายแบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการฮิวแมน ไรต์ส วอตช์ประจำภูมิภาคเอเชียระบุในแถลงการณ์ว่า "รัฐบาลไทยยังคงใช้อำนาจเบ็ดเสร็จในการจับกุมคุมขังในสถานที่ไม่เปิดเผยตามอำเภอใจ ในการข่มขู่และปิดปากผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์การปกครองของรัฐบาลโดยสันติ การที่รัฐบาลใช้อำนาจเข้มงวดมากขึ้นนี้ ทำให้บรรยากาศของความกลัวตึงเครียดรุนแรงยิ่งขึ้น" 

นายอดัมส์ยังระบุว่า "คำมั่นสัญญาของรัฐบาลว่าจะเคารพสิทธิมนุษยชนได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไร้ความหมาย พล.อ.ประยุทธ์ควรจะสั่งให้ยกเลิกการจับกุมคุมขังโดยใช้อำนาจเบ็ดเสร็จและปล่อยตัวผู้ที่ไม่ควรถูกจับกุมโดยทันที" 

เคาะ"นครินทร์"นั่งตลก.ศาลรธน.

     ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการประชุมคณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีนายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานเพื่อพิจารณาเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น จำนวน 1 คน แทน นายเฉลิมพล เอกอุรุ ครบวาระการดำรงตำแหน่ง เนื่องจากอายุครบ 70 ปี โดยคัดเลือกจากผู้ที่สนใจเข้ารับการสรรหา 10 คน ประกอบด้วย 1.นายสมภพ ระงับทุกข์ อดีตรองปลัดกรุงเทพฯ 2.นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีต กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ 3.นายปัญญา อุดชาชน เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ 4.นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ 5.นายสนธิ เตชานันท์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา 6.พล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ อดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญ 7.นายเชาวนะ ไตรมาศ อดีตเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ 8.นายวีรวิทย์ วิวัฒนวานิช อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน 9.นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ และ 10.นายวิทยา พานิชพงศ์ อดีตผู้ว่าฯปัตตานี 

      ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ (กรรมการทั้งหมด 3 คน มีนายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. และนายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต.)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนเริ่มประชุมคณะกรรมการสรรหาฯตัดชื่อนายสนธิออก เนื่องจากขาดคุณสมบัติ เพราะเป็นสมาชิกพรรคการเมือง ทั้งนี้ หลังจากพิจารณาลับกว่า 30 นาที ผลปรากฏว่าที่ประชุมลงมติเลือกนายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยได้คะแนนเสียง 2 คะแนน ขณะที่นายวิทยา ได้คะแนนรองลงมา คือ 1 คะแนน สำหรับขั้นตอนต่อจากนี้ คณะกรรมการสรรหาฯจะนำรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเสนอต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อตรวจสอบประวัติ ความประพฤติและพฤติกรรมทางจริยธรรม ก่อนจะส่งให้ที่ประชุม สนช.พิจารณาให้เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบต่อไป 

ป.ป.ช.แจ้งข้อกล่าวหา"บิ๊กโอ๋"

      ขณะที่ นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวว่า คณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงกรณีร้องเรียน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ และ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กรณีปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แทรกแซงการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล ประจำปี 2555 ซึ่งเสนอให้ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม โดยไม่ถูกต้องตามข้อบังคับและกฎหมายนั้น มีการแจ้งข้อกล่าวหาต่อ พล.อ.อ.สุกำพลแล้ว และนัดให้มาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายในวันที่ 28 กันยายน ซึ่ง พล.อ.อ.สุกำพลมาขอดูเอกสารและสำนวนในส่วนที่ขอดูได้ ก่อนจะเข้าชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ในส่วนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในชั้นนี้ยังไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหา

      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีดังกล่าวสืบเนื่องมาจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์และ พล.อ.อ.สุกำพล เรียกประชุมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ปลัดกระทรวงกลาโหม โดยเสนอให้ พล.อ.ทนงศักดิ์ เป็นปลัดกระทรวงกลาโหม ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับและกฎหมาย โดย พล.อ.อ.สุกำพลมีคำสั่งให้ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อม พล.อ.ชาตรี ทัตติ รองปลัดกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.พิณภาษณ์ สริวัฒน์ เจ้ากรมเสมียนตราในขณะนั้น ไปช่วยราชการสำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อให้ พล.อ.ทนงศักดิ์ ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม

"ปนัดดา"ลาออกปลัดสปน. 

     ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ และปลัดสำนักนายกฯ (สปน.) กล่าวว่า ได้ลาออกออกจากราชการในตำแหน่งปลัดสำนักนายกฯกับนายกฯแล้ว โดยจะมีผลอย่างเป็นทางการวันที่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป ตามนโยบายของนายกฯที่สั่งการต่อที่ประชุม ครม.ว่า ครม.ชุดใหม่ ต้องไม่มีตำแหน่งข้าราชการประจำอีกตำแหน่งหนึ่ง โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!