WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

6-4-6-4

'เสียไก่-วัฒนา'โวย มือมืดชก ซัดปมการเมือง พท.ค้านทหารปธ.กรธ. 'บิ๊กจิระ'พร้อมถ้าถูกทาบ นักวิชาการแนะตั้งสสร. รบ.จ่อแก้รธน.ชั่วคราว รับมือประชามติไม่ผ่าน

      'วัฒนา เมืองสุข'โวยถูกชายหัวเกรียนบุกต่อยท้ายทอย ขณะกำลังจะขึ้นรถกลับออกจากสนามซ้อมบอลเมืองทองธานี ซัดสาเหตุมาจากเรื่องการเมืองแน่ กลุ่มประชาธิปไตยใหม่จัดสัมมนารัฐธรรมนูญ จี้คสช.วางมือให้ตัวแทนประชาชนเข้ามาร่าง 'จาตุรนต์'สับแหลกสูตร 6-4-6-4 เปิดทางสืบทอดอำนาจไม่จบสิ้น อาจารย์นิติราษฎร์เสนอยกเลิกรธน.ชั่วคราว ประกาศใช้ฉบับ 40 เลือกตั้งส.ส.ร. ลั่นไม่ร่วมยกร่าง เพื่อไทยหนักใจหากทหารนั่งประธาน กรธ. 'พล.อ.จิระ'พร้อมเป็นถ้ามีการทาบทาม 'บิ๊กจิน'ชี้ถกร่วมครม.-คสช. 22 ก.ย. ชัดเจนเรื่องแก้รธน.ชั่วคราว เตรียมแผนรองรับประชามติไม่ผ่าน ฝ่ายมั่นคงจับตาคนเห็นต่างรัฐบาล 'วีรชน'เมินฮิวแมนไรต์วอตช์จี้ปล่อยตัว'พิชัย-การุณ'


วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558 ปีที่ 25 ฉบับที่ 9055 ข่าวสดรายวัน

 


เสวนา - นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย ร่วมเวทีเสวนาหัวข้อ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช?" จัดโดยกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ ที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 12 ก.ย.

ปชต.ใหม่จี้คสช.เลิกยุ่งรธน.
     เวลา 13.00 น. วันที่ 12 ก.ย. ที่อาคารสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กลุ่มประชา ธิปไตยใหม่จัดเสวนาในหัวข้อ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช?" ผู้ร่วมบรรยายประกอบด้วย นายรังสิมันต์ โรม แกนนำกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ นายปิยะบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มนิติราษฎร์ และนายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย โดยมีประชาชนสนใจเข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก
     นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกคว่ำไปทำให้สูญเสียงบประมาณเป็นพันล้าน สูญเสียเวลา แต่สิ่งที่ได้สังคมไทยกลับไม่ได้ก้าวหน้าไปไหน ถึงเวลาแล้วหรือยังที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต้องวางมือจากการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยให้ตัวแทนประชาชนเป็นคนร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้รัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้นเป็นประชา ธิปไตยมากที่สุด
      นายปิยะบุตรกล่าวว่า กระบวนการทำรัฐธรรมนูญใหม่มีหลายวิธี เช่น วิธีการนอกระบบ คือการรัฐประหาร ซึ่งประเทศไทยติดลำดับต้นๆ ของโลกที่มีการรัฐประหาร เป็นประเทศที่ใช้รัฐธรรมนูญเยอะมาก ขณะที่วิธีการในระบบคือ แก้รัฐธรรมนูญเก่า ซึ่งเป็นวิธีการตามระบบไม่มีรัฐประหาร และวิธีการแทรกแซงจากภายนอก ส่วนกระบวนการทำรัฐธรรมนูญใหม่มี 2 รูปแบบ คือกระบวนการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่ยึดโยงประชาชน ชนชั้นนำร่างกันเอง กระบวนการแบบนี้ไม่มีแนวคิดชี้นำแต่แรกว่าต้องร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย กรณีของไทยรัฐธรรมนูญหลายฉบับก็ผ่านกระบวนการร่างที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

ปิยะบุตร ชี้ร่างใหม่ก็เหมือนเดิม
      นายปิยะบุตร กล่าวว่า ส่วนรูปแบบที่ 2 คือ กระบวนการที่เป็นประชาธิปไตย โดยมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อให้เกิดการยึดโยงประชาชน ขณะที่การร่างต้องมีระยะเวลาที่แน่นอน หากไม่เสร็จต้องมีการรับผิดชอบตามมา ส่วนเนื้อหาต้องดูว่าได้มาตรฐานความเป็นเสรีประชาธิปไตยหรือไม่ คือมีการเลือกตั้งที่ได้มาตรฐาน รัฐบาลมีวาระตามกำหนด องค์กรที่ใช้อำนาจมากต้องมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุล ทั้งนี้ ในยุคปัจจุบันเนติบริกรที่มาทำหน้าที่ร่างรัฐธรรม นูญต้องมีความสามารถในการเขียนให้รัฐธรรรมนูญดูหน้าตาหล่อ สวย ขณะที่เนื้อในไม่ได้ดีอย่างที่เห็น หากอยากรู้ว่าวัตถุ ประสงค์ของการรัฐประหารครั้งนั้นๆ ว่าคืออะไรให้ดูรัฐธรรมนูญฉบับหลังรัฐประหาร เพราะจะเป็นการปรับดุลอำนาจ และถ้าคณะรัฐประหารไม่ต้องการประชาธิปไตย หน้าตาขององค์กรต่างๆ ในรัฐธรรมนูญก็จะไม่เป็นประชาธิปไตย
    นายปิยะบุตร กล่าวว่า เชื่อว่าร่างรัฐธรรม นูญใหม่จะไม่แตกต่างจากร่างที่ถูกคว่ำไป จะยังมีมาตราที่รองรับการทำรัฐประหารว่าสิ่งที่ทำมาไม่มีความผิดอะไรเลย อำนาจศาลรัฐธรรมนูญมากเท่าเดิม การแก้ไขรัฐธรรม นูญจะแก้ไขได้ยากมาก ที่มาส.ว.ก็จะเหมือนเดิมคือมาจากการเลือกตั้งเป็นส่วนน้อย ทั้งนี้ โจทย์ใหญ่ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรม นูญ (กรธ.) คือการทำอย่างไรให้องค์กรแบบคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญได้แนบเนียนกว่าเดิม และหากร่างออกมาแล้วหัวใจของรัฐธรรมนูญยังออกมาเหมือนเดิม ตนเชื่อว่าคงไม่ใช่เรื่องของรัฐธรรมนูญแล้ว แต่เป็นกระบวนการที่ขยายอายุตัวเองออกไปเรื่อยๆ

เสนอสูตรเร็วกว่า 6-4-6-4
       นายปิยะบุตรกล่าวว่า ขอเรียกภาวะที่เป็นอยู่ขณะนี้ว่าภาวะหนีเสือ ซึ่งหากรับร่างรัฐธรรมนูญไปก่อนก็จะไปเจอจระเข้ คือรัฐธรรมนูญที่เขาเขียนไว้ ที่อยากแก้ไขก็แก้ไม่ได้ ดังนั้นเราต้องไปให้พ้นจากสิ่งที่รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 กำหนดอยู่ ตนเสนอว่าต้องเลิกกระบวนการที่ออกแบบมาทิ้งทั้งหมด ขั้นแรก ต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ทั้งหมดไปก่อน แล้วเอารัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาประกาศใช้ใหม่ทันที แต่ใช้เพียงชั่วคราว เพื่อเปิดทางให้มีส.ส.ร.โดยมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่งโรดแม็ปแบบนี้เร็วกว่าแบบ 6-4-6-4 แน่นอน
     นายปิยะบุตร กล่าวว่า นอกจากนี้ ตนเชื่อว่าความขัดแย้งจะไม่จบภายใต้รัฐธรรมนูญของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช.เพราะเขาไม่ได้กำจัดความขัดแย้ง เพียงให้แต่ยาแก้ปวดคือระงับความขัดแย้งแต่ไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ ซึ่งคงไม่มีใครแก้ไขได้ เพราะความคิดความเชื่อทางการเมืองไม่มีทางตรงกัน ถือเป็นเรื่องปกติของสังคมไทยที่เป็นประชาธิปไตย แต่ระบอบประชาธิปไตยสามารถทำให้ความขัดแย้งไม่อันตรายได้ ดังนั้น วิธีการที่จะขจัดความขัดแย้งคือเปิดพื้นที่การแสดงความคิดเห็นให้มากขึ้น
     นายปิยะบุตร กล่าวว่า ส่วนคำถามที่ว่าคณะนิติราษฎร์จะเข้าไปร่วมร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ขอตอบเลยว่านิติราษฎร์ไม่มีทางไปทำรัฐธรรมนูญกับคณะรัฐประหารได้แน่นอน

จาตุรนต์ชี้พิรุธสืบทอดไม่จบสิ้น
      ด้านนายจาตุรนต์ กล่าวว่า ร่างรัฐธรรม นูญที่ถูกคว่ำไปมีความเป็นเผด็จการที่สุด เลวร้ายที่สุดตั้งแต่เคยมีรัฐธรรมนูญมา คปป.คือส่วนที่ทำให้เห็นชัดเจนว่ามีความพยายามสืบทอดอำนาจจากคสช.และผู้ใกล้ชิด แต่ถึงไม่มี คปป.ก็เป็นร่างที่รับไม่ได้ เพราะกำหนดให้ผู้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจเหนือประชาชน เปิดทางให้มีนายกฯ คนนอก ส.ว.ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่กลับให้อำนาจถอดถอนทุกคนได้หมด ทำให้รัฐบาลอ่อนแอไม่สามารถตอบสนองประชาชนได้ เพราะต้องทำตามแผนปฏิรูปที่ สปช.ร่างขึ้น ที่ร่างรัฐธรรมนูญออกมาขนาดนี้เพราะจุดเริ่มต้นมาจากการรัฐประหาร กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญจึงไม่เป็นประชาธิปไตย ที่มาองค์ประกอบจึงได้คนที่ไม่มีจิตใจฝักใฝ่เรื่องประชาธิปไตย อีกทั้งเวลาร่างก็ไม่ได้เปิดให้มีการแสดงความเห็นอย่างเสรี
     นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ที่ร่างรัฐธรรมนูญถูกคว่ำมาจากสาเหตุอะไรนั้นไม่ชัดเจน แต่เสียงคัดค้านหรือเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้มีอำนาจนำไปพิจารณา ถ้าไม่มีการปรับปรุงแก้ไข กติกา เกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เราก็จะเจอทางที่เลวกับเลวมากอยู่ดี


ร่วมเวที - นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช. และนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ตัวแทนกลุ่ม กปปส. ร่วมเวทีสัมมนาเรื่อง "พลเมืองร่วมปฏิรูปประเทศ" ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กทม. เมื่อวันที่ 12 ก.ย.


     นายจาตุรนต์ กล่าวว่า เดิมเข้าใจว่าจะใช้เวลาปีเศษๆ จะมีการเลือกตั้ง ตอนนี้ผ่านมาแล้วปีครึ่งก็ยังไม่เสร็จ แล้วมาพูดถึงสูตร 6-4-6-4 อย่างนี้เป็นการเขียนรัฐธรรมนูญแบบเปิดปลายอาจเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ ต้องตั้งคำถามว่าที่จะร่างกันไปต่อไปนี้จะไม่เกิดการร่างแล้วจงใจให้คว่ำ ต้องดูร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวเรื่องการลงประชามติ ถ้าหากร่างไปแล้วไม่อยากให้ผ่านก็จะเกิดการตีความว่าเสียงประชามติต้องเกินครึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ คสช.ก็จะอยู่กันไปเรื่อยๆ จะมีค่าใช้จ่ายสูงต่อประชาชนทั้งประเทศ เพราะไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่มีใครบอกได้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไร

 

ต้องเริ่มจากแก้กติกาทำรธน.
   นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ต้องตั้งหลักกันไม่ใช่คิดว่าอย่างไรก็ได้ขอให้มีการเลือกตั้งเร็วที่สุด เพราะเลือกตั้งเร็วภายใต้กติกาที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเลยก็ไม่เป็นประโยชน์ แต่หากจะให้อยู่ภายใต้บรรยากาศบ้านเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยก็เป็นไม่ได้ ถ้าจะร่างกันใหม่คสช.ไม่ควรเป็นคนกำหนดทั้งกติกาต่างๆ ไปจนถึงเนื้อหาสาระ และการที่ กรธ.ต้องมีแนวคิดเหมือนคสช.ก็ไม่น่ายกมาเป็นเงื่อนไขข้อแรก ถ้าจะได้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยต้องให้ประชาชนร่าง ส่วนเรื่องส.ส.ร.ตนและพรรคการเมืองได้เสนอก่อนหน้านี้นานแล้ว สิ่งที่ตามมาคือต้องมีเสรีภาพ ทุกฝ่ายต้องแสดงความคิดเห็นได้ ต้องให้มีการลงประชามติที่เสรีแสดงความเห็นได้ รณรงค์ได้และยุติธรรม
      นายจาตุรนต์ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า การแต่งตั้ง กรธ. โดยคสช. ซึ่งมีชื่อปรากฏออกมาตามสื่อมวลชนนั้น ไม่ทราบว่าเป็นรายชื่อที่เป็นของจริงหรือไม่ อย่างไรก็ตามไม่ว่าใครจะเข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้หากกระบวนถูกจำกัดและตีกรอบก็ยากที่จะทำรัฐธรรมนูญให้เป็นที่ยอมรับหรือเป็นประชาธิปไตย ส่วนข้อเสนอของตนที่ให้ผู้มีอำนาจคือ คสช. และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวว่าด้วยกรอบการทำร่างรัฐธรรมนูญนั้น ถือเป็นงานยาก เพราะจุดที่จะนำไปสู่การตัดสินใจยังไม่เกิดขึ้น แต่เชื่อว่าหากไม่มีการแก้ไขกติกาทำรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม หรือให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นได้อย่างหลากหลาย จุดที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในบ้านเมืองอาจเกิดขึ้นได้ และไม่สามารถประเมินได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่ความขัดแย้งผ่านการชุมนุมบนท้องถนนหรือไม่

พล.อ.จิระยังไม่มีใครทาบทาม
     พล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ อดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญ และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงกระแสข่าวที่มีชื่อติดโผเป็นประธาน กรธ. ว่า ไม่ทราบเรื่องเลยว่ามีชื่อออกมาเช่นนี้ได้อย่างไร และที่สำคัญมีชื่อว่าเป็นตัวเก็งประธาน กรธ.ด้วย มองว่าในประเทศไทยยังมีคนที่เก่งกว่าตนอีกมาก อย่างนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานวุฒิสภา หรือทุกคนที่มีชื่อติดโผ และที่สำคัญยังไม่มีใครติดต่อทาบทามมา แต่หากมีการติดต่อทาบทามเข้ามาก็ยินดีที่จะทำหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นทั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และ กรธ.

สปช.ทำใจโอกาสน้อยนั่งสปท.
     นายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า ยังไม่มีใครทาบทามตนเข้ามาว่าจะให้เป็นสปท. และที่สำคัญตนเป็นคนที่โหวตรับร่างรัฐธรรมนูญ เขาอาจไม่ทาบทามก็ได้
     พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาส อดีต สปช. กล่าวว่า ตนไม่ได้รับการติดต่อใดๆ หรือทาบทามให้เป็น สปท. เข้าใจว่าการจะได้เข้าไปทำหน้าที่ในสปท.อาจเป็นเรื่องยาก เพราะอดีตสปช.ที่จะได้เข้าไปก็มีโควตาน้อยมากเพียง 1 ใน 5 สำหรับตนทำหน้าที่อะไรก็ได้ ไม่ได้คาดหวังว่าจะได้เข้าไปหรือไม่ได้เข้า ตนสามารถวิเคราะห์ให้ความเห็นข้างนอกได้ ซึ่งได้เดินหน้าเรื่องการปรองดอง โดยขณะนี้ได้ลงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้ต่อไป

พท.ห่วงทหารนั่งประธานกรธ.
     นายสามารถ แก้วมีชัย คณะทำงานกฎหมาย พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกระแสข่าว พล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ เป็นหนึ่งในแคนดิเดตประธาน กรธ. หลังบุคคลที่มีรายชื่อ อาทิ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานรัฐสภา นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปฏิเสธที่จะเข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าว ขณะที่นายอมร จันทรสมบูรณ์ อดีตเลขาฯ กฤษฎีกา มีอาการป่วย ว่า ในภาวะที่บ้านเมืองไม่ปกติ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีฝ่ายทหารเข้ามาร่วมในการทำงานด้านต่างๆ รวมถึงกรธ.เพื่อเป็นหูเป็นตาให้กับฝ่ายผู้มีอำนาจ
      นายสามารถ กล่าวว่า ส่วนที่มีชื่อของอดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญ ที่คาดว่าจะเข้ามาร่วมในกรธ.จึงเป็นเรื่องธรรมดา เพราะเป็นบุคคลที่ผ่านการทำงานซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย ไม่ได้มาจากกำลังรบจึงไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไร หากเข้ามาเป็นกรรมการเพื่อแสดงความเห็นในแง่มุมอื่นๆ เช่น เรื่องมั่นคงหรือประเด็นที่เกี่ยวกับศาล แต่หากเข้ามานั่งเป็นประธานกรธ.ควบคุมการประชุมยกร่างรัฐธรรมนูญ ยอมรับว่าน่าเป็นห่วงและหนักใจแทน และไม่ง่ายที่ใครจะมาทำหน้าที่ดังกล่าว เพราะนอกจากจะต้องมีความรู้ในทางกฎหมายแล้ว ควรมีประสบการณ์ และมีทักษะที่ทันกับสถานการณ์ในการควบคุมการประชุม ที่อาจมีข้อถกเถียง การแลกเปลี่ยนความเห็นในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้บรรยากาศเป็นไปอย่างราบรื่นได้หรือไม่
      นายสามารถกล่าวว่า คุณสมบัติของประธานกรธ.ต้องคุมการประชุมให้เรียบร้อย คนที่เข้ามาต้องมีศักยภาพ มีทักษะในการทำหน้าที่ ต้องทันเกม แม่นกฎหมายและข้อบังคับการประชุม รู้รอบ รู้กว้าง มีบารมี ที่สำคัญต้องเป็นยอมรับของภาคส่วนอื่นๆ ไม่ใช่แค่เรียกคนมาประชุม ทำหน้าที่เปิดและปิดประชุมเท่านั้น มิเช่นนั้นอาจถูกลองของได้ ดังนั้น หากจะมาร่วมในกรธ.ไม่น่าเป็นปัญหา แต่ถึงกับมานั่งเป็นประธานเองน่าก็น่าห่วง เพราะแม้จะมีความรู้กฎหมาย แต่ประสบการณ์ในแง่มุมการเมืองต้องเจอกับบุคคลที่ต่างก็มีความรู้กันทั้งนั้น จะควบคุมบรรยากาศให้ราบรื่นได้หรือไม่

สปช.คว่ำร่างรธน.โต้ต่อรอง
      นายวันชัย สอนศิริ อดีต สปช. ที่ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกระแสข่าวอดีตสมาชิก สปช. 44 คน ที่ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ จะได้รับการคัดเลือกให้มาเป็นสมาชิก สปท.ว่า ไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวปล่อยหรือไม่ เพราะการแต่งตั้ง สปท.เป็นหน้าที่ของพล.อ.ประยุทธ์โดยตรง เชื่อว่านายกฯ จะคัดเลือกมาจากทั้งสปช.ฝ่ายที่ลงมติรับและไม่รับร่างรัฐธรรมนูญให้มาทำงานเป็น สปท. แต่ไม่รู้ว่าจะมีอดีต สปช.กี่คน

ขอโควตา 100 ที่นั่ง
     นายเอกราช ช่างเหลา อดีต สปช.ขอนแก่น ที่ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ไม่เข้าใจว่ากระแสข่าวมีอดีต สปช. 44 คน เกรดเอ ที่ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญจะได้เป็น สปท.นั้น ออกมาได้อย่างไร
     "ผมได้โทรศัพท์ไปพูดคุยกับพล.อ.ฐิติวัจน์ กำลังเอก อดีต สปช.ที่ถูกระบุว่าเป็นผู้เคลื่อนไหวแล้วได้รับคำยืนยันว่าไม่เคยได้ยินข่าวนี้มาก่อน และไม่ใช่เรื่องจริง เพราะการลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของอดีต สปช. 135 คน เป็นการทำเพื่อประเทศจริงๆ ไม่มีเงื่อนไขต่อรองใดๆ อย่างไรก็ตามส่วนตัวมองว่าถ้ามีอดีต สปช.ทั้งฝ่ายรับและไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเข้าไปเป็น สปท. ก็ไม่ใช่เรื่องน่าเกลียด เพราะจะได้ช่วยสานงานต่อเรื่องการปฏิรูปด้านต่างๆ ที่กมธ.ปฏิรูปแต่ละชุดส่งให้รัฐบาลดำเนินการ จะช่วยให้การขับเคลื่อนการทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพราะได้คนที่รู้งานอยู่แล้วมาทำ ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ทั้งนี้ เห็นว่าอย่างน้อยควรมีอดีต สปช.ไปเป็นสปท. 100 คน เพื่อกระจายไปอยู่ใน กมธ.ปฏิรูปชุดต่างๆ ของ สปท.

แก้รธน.ชั่วคราว-รอครม.หารือ
     พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้า คสช. ให้สัมภาษณ์ที่ดิ เอ็มโพเรียม กรณีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมายออกมาระบุว่าอาจมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวเพื่อกำหนดความชัดเจนในการออกเสียงประชามติ รวมถึงมีแผนรองรับหากการทำประชามติไม่ผ่านจะหยิบรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งขึ้นมาปรับปรุงว่า เรื่องนี้จะมีความชัดเจนในการประชุมร่วม ครม. และ คสช. ในวันที่ 22 ก.ย. ส่วนตัวยังไม่ทราบรายละเอียด รวมถึงยังไม่ทราบบุคคลที่จะเข้ามาเป็น กรธ. 21 คน เรื่องนี้นายกฯ จะเป็นผู้ที่ชี้แจงได้ดีที่สุด
    พล.อ.อ.ประจิน กล่าวถึงสถานการณ์การเมืองขณะนี้ ที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มการเมืองโดยเฉพาะข้อเสนอการร่างรัฐธรรมนูญ และการแก้ปัญหาความขัดแย้งว่า ขณะนี้รัฐบาลและคสช. มีความจำเป็นต้องขับเคลื่อนประเทศตามโรดแม็ปที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้นอยากให้ทุกคนเข้าใจสถานการณ์ของประเทศ ขณะเดียวกันรัฐบาลพร้อมรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วน

รบ.จับตาคนเห็นต่าง
     นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีฝ่ายการเมืองวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลว่า ฝ่ายความมั่นคงยังติดตามการแสดงความคิดเห็นของกลุ่มต่างๆ ที่ปรากฏทางเว็บไซต์และสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง รวมถึงความเคลื่อนไหวในพื้นที่ต่างๆ จึงขอให้ฝ่ายการเมืองทำตามข้อตกลงที่เคยพูดคุยตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ ขณะนี้รัฐบาลพยายามเดินหน้าทำงานตามโรดแม็ปควบคู่ไปกับการดูแลความสงบเรียบร้อย เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะสามารถขับเคลื่อนการบริหารงานเพื่อให้บ้านเมืองเกิดความสงบและเดินไปข้างหน้าได้

ให้หยุดวิจารณ์รัฐบาล-คสช.
    พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการควบคุมตัวนักการเมืองที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลว่า เชื่อว่าเรื่องนี้จะไม่ทำให้ประชาชนมองรัฐบาลแง่ลบ เพราะไม่ใช่การเชิญหรือควบคุมตัวนักการเมืองที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์เป็นครั้งแรก และการดำเนินการ ดังกล่าวไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของใครคนใดคนหนึ่ง รัฐบาลต้องการขอความร่วมมือจากบุคคลเหล่านั้นเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง รัฐบาลและคสช.ทำเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม จึงขอความร่วมมือให้หยุดแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ในช่วงเวลานี้ไปก่อน เมื่อเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งทุกอย่างก็จะกลับเป็นไปเป็นปกติ
     รองโฆษกรัฐบาล กล่าวว่า เวลานี้เราต้องการสร้างบรรยากาศของความสงบเรียบร้อยเพื่อประชาชนทุกคน ที่ผ่านมาการเชิญนักการเมืองที่ออกมาวิจารณ์รัฐบาลไม่ได้เหมารวมทั้งหมด แต่จะเลือกเฉพาะคนที่ออกมาพูดจนอาจก่อให้เกิดความแตกแยก ยืนยันว่าไม่ได้มองคนที่เห็นต่างเหล่านี้เป็นศัตรู ไม่มีเรื่องส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง หากใครที่มองเห็นประโยชน์ของส่วนรวมก็จะสามารถแยกแยะออกว่าอะไรผิดอะไรถูก แต่คนที่แยกแยะไม่ออกนั้นส่วนใหญ่มักจะเอาประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่ตั้ง

เมินฮิวแมนไรต์ฯจี้ปล่อยพท.
     เมื่อถามกรณีองค์กรฮิวแมนไรต์วอตช์ เรียกร้องให้ปล่อยตัวสมาชิกพรรคเพื่อไทย ทั้งนายการุณ โหสกุล และนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรมว.พลังงาน และคณะทำงานเศรษฐกิจ พล.ต.วีรชนกล่าวว่า คงไม่ต้องชี้แจงอะไรกับฮิวแมนไรต์วอตช์ เรามีกฎกติกาของเรา และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นเป็นเรื่องของกฎหมาย เราใช้กฎหมายอย่างสมเหตุสมผล รัฐบาลเข้าใจฮิวแมนไรต์วอตช์ว่าต้องทำตามบริบทของตัวเอง แต่เรื่องนี้ต้องมีการทำความเข้าใจระหว่างกันมากขึ้น องค์กรระหว่างประเทศก็ต้องเข้าใจในบริบทของประเทศไทยและเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ ให้มากขึ้นด้วย
     พล.ต.วีรชน กล่าวว่า การเชิญตัวบุคคลต่างๆ เป็นไปตามกติกา สังคมเรามีกติกาก็ว่าไปตามกติกา เชื่อว่าการเรียกร้องของฮิวแมนไรต์วอตช์ จะไม่ทำให้พล.อ.ประยุทธ์ รู้สึกกดดันในช่วงเวลาที่ต้องเดินทางไปร่วมประชุมยูเอ็นที่สหรัฐ วันที่ 23 ก.ย.นี้ คนที่ไม่ทำตามกติกาก็ต้องถูกดำเนินการอย่างที่วางไว้ สำหรับองค์กรต่างๆ ที่ออกมาเรียกร้องเราสามารถชี้แจงได้ หากเขาออกมาเรียกร้องโดยไม่ดูรายละเอียดก็ถือเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะการเรียกร้องต้องดูว่าได้ศึกษาถึงบริบทของเหตุการณ์หรือสถานการณ์อย่างดีแล้วหรือไม่

ชี้พฤติกรรมไม่ถึงขั้นกักตัว 
     นายชวลิต วิชยสุทธิ์ รักษาการรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวกรณีฮิวแมนไรต์วอตช์ เรียกร้องให้เปิดเผยสถานที่คุมตัวนายพิชัยและนายการุณ พร้อมขอให้ปล่อยตัวว่า เป็นสิทธิของแต่ละคนที่สามารถแสดงความคิดเห็นตามวุฒิภาวะของตัวเองที่จะคิดและตัดสินใจได้เองว่าเรื่องใดเหมาะหรือไม่เหมาะสม และอยู่ในจุดที่สามารถทำได้หรือไม่ กรณีที่เกิดขึ้นมองว่าไม่มีอะไรที่รุนแรงจนเกิดความเสียหายต่อความมั่นคง จึงไม่ถึงกับต้องนำตัวไปกักขังเหมือนกับบุคคลที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ซึ่งการดำเนินการในลักษณะนี้จะยิ่งส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์การบริหารของรัฐบาล ส่วนการเรียกร้องขององค์กรเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ถือเป็นขอบเขตการทำงานของเขาและต้องขอบคุณที่ออกมาให้ความสำคัญกับการแสดงออกตามสิทธิของตัวเอง
      นายชวลิตกล่าวถึงการพิจารณาบุคคลทำหน้าที่ กรธ. ที่ปรากฏรายชื่อขณะนี้ว่า พรรคเพื่อไทยเฝ้าติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง แต่ให้ความสำคัญกับสาระและเนื้อหาที่จะยกร่างฯ ที่ต้องเป็นประชาธิปไตยและมีความยึดโยงกับประชาชน มากกว่าจะยึดติดที่ตัว กรธ.

จตุพรอัดไม่จริงใจปฏิรูป
    เวลา 13.00 น. ในงานสัมมนาสาธารณะ "พลเมืองร่วมปฏิรูปประเทศ" ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถ.สามเสน มีนายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ อดีตคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขานุการมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศ เข้าร่วม
      นายจตุพรกล่าวว่า คำว่าปฏิรูปเป็นนามธรรมแต่สิ่งที่ปฏิรูปจริงๆ ไม่มีวันหมด การปฏิรูปคือการเปลี่ยนแปลงที่หยุดไม่ได้ ต้องปฏิรูปไปจนวันตาย เพียงแต่เรายังเดินไปไม่ถึงจุดนั้น วันนี้สิ่งสำคัญคือคำว่าปฏิรูปอย่าเป็นเพียงแค่คำพูด เหมือนกับคำว่าสมานฉันท์กับคำว่าปรองดอง เป็นคำหลอกลวงที่เอาไว้โกหกกัน เพราะที่ผ่านมาพอเริ่มพูดคำว่าสมานฉันท์เมื่อไรก็เหมือนจะฆ่ากันทุกที

แป๊ะสั่งคว่ำรธน.
    นายจตุพร กล่าวว่า ปัญหาของผู้มีอำนาจคือก่อนมาเป็นรัฐบาลกับเป็นรัฐบาลแล้วแตกต่างกัน ก่อนเป็นทุกอย่างสวยงาม แต่พอมาเป็นรัฐบาลแล้ว อยากฟังแต่สิ่งดีๆ แม้แต่รัฐบาลคืนความสุข ก็เหมือนกันที่ทุกวันนี้ไม่กล้าเปิดเพลงคืนความสุขแล้ว ไหนๆ มาพูด 3 ชั่วโมงแล้วจะไปอยู่ในบางที่ 7 วันก็คุ้ม เพราะความชอบฟังแต่สิ่งดีๆ หน่วยงานข่าวเลยรายงานแต่เรื่องดีๆ ให้ฟัง รัฐบาลนี้โชคดีไม่เหมือนพล.อ.สุจินดา คราประยูร ที่มีโอกาสโกหกแค่ครั้งเดียว แต่สมัยนี้พล.อ.บางคนโกหกได้หลายครั้ง ดูได้จากการร่างรัฐธรรมนูญไม่อยู่กับร่องกับรอย กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 36 คน หล่นมาจากเรือแป๊ะ และไม่มีใครคว่ำรัฐธรรมนูญได้ถ้าแป๊ะไม่สั่ง ต้มกันหมด สะท้อนให้เห็นว่าไม่มีความจริงใจที่จะปฏิรูป ร่างร้อยครั้งก็จะคว่ำร้อยครั้ง อย่างวันนี้เป็นการเปิดพื้นที่ให้แสดงความคิดเห็น แม้ไม่มีทหารแต่ตำรวจพรึบ ดังนั้น รัฐบาลต่อให้มีอำนาจแค่ไหนแต่ใจแคบก็ไปไม่ได้ เพราะความแตกต่างไม่ใช่ความแตกแยก

คืนปชต.ต้องคืนเต็ม 100
      นายจตุพร กล่าวว่า ช่วงนี้พรรคการเมืองต้องใช้เวลาในการปฏิรูปตัวเอง พรรคเพื่อไทยต้องปฏิรูป ส่วนพรรคประชาธิปัตย์จะปฏิรูปหรือไม่ไม่รู้ เพราะถ้าต่างฝ่ายต่างไม่ยกระดับเปลี่ยนแปลง ไม่มีทางพ้นวงจรอุบาทว์ไปได้ และต้องเป็นเครื่องมือให้เกิดการรัฐประหารต่อไป เช่นเดียวกับ นปช. ก็ต้องปฏิรูปตัวเอง ดังนั้น เราต้องรู้จักตัวเองและต้องไม่คิดว่าเราถูกทุกเรื่อง ต้องยอมรับข้อดีข้อด้อยและยอมรับความจริง ถ้าพรรคการ เมืองใดไม่เปลี่ยนแปลง ประชาชนที่เขาเปลี่ยนแปลงเขาจะเปลี่ยนนักการเมืองเอง เมื่อไรไม่รู้เพราะไม่รู้ว่าจะเลือกตั้งเมื่อไร
     นายจตุพร กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์จะอยู่ชั่วกัลปาวสานก็ไม่สน ถ้าจะคืนอำนาจประชาธิปไตยต้องคืนให้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ เอาไป 100 คืนมา 30 อย่าคืน ถ้าไม่ครบก็ไม่ต้องคืน อย่าคืนแบบมี คปป. ถ้าไม่พร้อมคืนประชาธิปไตยก็อย่ามีการเลือกตั้ง เพราะคนไทยทนได้ทุกอย่าง เสียอะไรได้ทุกอย่าง ยกเว้นเสียรู้ และตนประกาศชัดว่าถ้าร่างรัฐธรรมนูญใหม่ประเด็นแรกที่นายกฯ ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ตนไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง

นักการเมืองอย่าร่วมกรธ.
     นายจตุพร กล่าวว่า วันนี้ผู้มีอำนาจและบรรดานักคิดทั้งหลายคิดแทนประชาชน แต่ไม่เคยถามประชาชนว่าต้องการอะไร ถ้า นายกฯ คิดว่าทุกอย่างต้องเสร็จในสมัยของตนเอง ตายไปแล้วเกิดใหม่ก็ไม่เสร็จ หากจะบอกว่ารัฐบาลนี้ทำเสร็จแล้วทุกเรื่อง อนาคตจะมีรัฐบาลทำไม ในโลกความเป็นจริงต้องคิดแบบนี้ ปฏิรูปทุกเรื่องไม่มีวันหมด ไม่มีวันเสร็จ ส่วนจะเสร็จในรัฐบาลของใครก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ดังนั้นเราต้องตกลงกันว่าจะปฏิรูปเรื่องอะไรแล้วกลับไปถามประชาชนแต่อย่าโกงประชามติ
    ส่วนว่า หากเปิดโอกาสให้นักการเมืองเข้าไปเป็น กรธ. เพื่อร่วมร่างรัฐธรรมนูญด้วยนั้น นายจตุพรกล่าวว่า นักการเมืองต้องไม่เข้าไปร่วมร่างรัฐธรรมนูญ เพราะมีส่วนได้ส่วนเสียและถือว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่สามารถให้ความเห็นได้

กปปส.ชูปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง
     นายเอกนัฏ กล่าวว่า ยืนยันว่า กปปส. กับ นปช.ไม่ได้รบกัน เราไม่ได้มีปัญหาในตัวบุคคล การที่ออกมาต่อสู้มีประเด็นว่าต่อสู้เพื่ออะไร ซึ่งเห็นว่าควรเปิดเวทีให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมเพราะเชื่อว่าทุกคนหวังดีกับประเทศและอยากเดินหน้าไปสู่อนาคต ขอย้ำว่า กปปส.ให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ไม่ใช่เลื่อนการเลือกตั้ง ถ้าหลังการเลือกตั้งแล้วปฏิรูปก็จะมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะรัฐบาลมีอำนาจ มีข้าราชการในมือ การปฏิรูปจึงต้องทำในวันนี้

"วัฒนา"อ้างโดนหัวเกรียนต่อย
       นายวัฒนา เมืองสุข อดีตรมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) แกนนำพรรคเพื่อไทย เผยว่าเมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. วันที่ 12 ก.ย. ระหว่างที่ตนเสร็จสิ้นกิจกรรมซ้อมฟุตบอลที่สนามซ้อมเมืองทองธานี ร่วมกับรุ่นพี่และรุ่นน้องโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ซึ่งมีกิจกรรมเตะฟุตบอลกันประจำทุกวันเสาร์ ระหว่างเดินมาที่ลานจอดรถข้างสนามซ้อมเพื่อขับกลับบ้าน ขณะเปิดประตูมีชายฉกรรจ์ผมเกรียนสูงประมาณ 175 ซ.ม. สวมเสื้อกีฬาสีชมพูและสวมกางเกงขาสั้น เข้ามาลอบทำร้ายตนเองทางด้านหลัง วิ่งเข้ามาทำร้ายร่างกายโดยใช้กำปั้นต่อยที่ท้ายทอยตน 2-3 ครั้งก่อนวิ่งหลบหนีไปขึ้นรถที่รออยู่
       นายวัฒนา กล่าวว่า ตนรู้สึกปวดคอนิดหน่อย ไม่ได้ไปหาหมอแต่ขับรถกลับบ้านเลยและไม่ได้เข้าแจ้งความเพราะรู้สึกเสียเวลาและไม่มีประโยชน์ที่จะไปแจ้งความในยุคมืดขณะนี้ ไม่ว่าบุคคลที่ทำร้ายจะเป็นใครก็ตาม คงไม่เอาเรื่องเพราะไม่เชื่อถือกระบวนการยุติธรรมขณะนี้ และคงไม่มีการต้องเพิ่มรปภ.อะไร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นครั้งแรกในชีวิตเพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีเรื่องกับใครและอยู่ในที่เปิดเผยมาตลอด ไปไหนก็เดินทางคนเดียว เมื่อทุกคนทราบเรื่องต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์ว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากเรื่องการเมือง เนื่องจากตนไม่มีปัญหาส่วนตัวกับใคร แต่ในระยะหลังได้ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างหนักหน่วง ขอฝากคนที่ลอบกัดและไม่ยอมเปิดเผยตัว ซุกหัว หลบหาง ตนพร้อมเปิดหน้าสู้ แต่วิธีการเช่นนี้มันลอบกัด

 

อดีตปลัด-บิ๊กขรก.พรึบ จองสปท. 'พลังงาน'ส่งอื้อ 20 ชื่อ ให้'บิ๊กโย่ง'คัดรอบแรก'วิบูลย์-นรชิต-พรทิพย์' ติดโผกระทรวงชงคสช. เช็ควุ่น 44 สปช.ได้ไปต่อ อมรปัดกรธ.ดันคนแทน

    วงเสวนาถกรัฐธรรมนูญ แนะโละทิ้งกระบวนเก่า ให้ประชาชนเป็นคนยกร่าง คสช.ต้องไม่ยุ่งเกี่ยว 'จตุพร'ลั่นถึงเวลาต้องคืน ปชต.ให้ครบ 100% 'จิระ'ปัดถูกทาบเป็นประธาน กรธ. 'หมอพรทิพย์-เกษมสันต์'ลุ้นนั่ง สปท.

มติชนออนไลน์ :

ร่างรธน. - นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี ร่วมเสวนา "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช?" จัดโดยขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 


เผชิญหน้า - นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. และนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขานุการมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ร่วมเวทีเสวนา พลเมืองร่วมปฏิรูปประเทศ ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 12 กันยายน

 

@ "อ๋อย"ร่วมวงถกรัฐธรรมนูญ

       เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 12 กันยายน ขบวนการประชาธิปไตยใหม่จัดเสวนา "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช?" ที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ โดยมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี นายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ. และ 1 ในนักกฎหมายกลุ่มนิติราษฎร์ นายรังสิมันต์ โรม ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ และนายคมสันต์ จันทร์อ่อน เครือข่ายสลัมสี่ภาคร่วมเสวนา 

ทั้งนี้ มีเจ้าหน้าที่มีทหารหลายนายเดินทางมาดูความเรียบร้อย โดยระบุว่ามีความเป็นห่วงเรื่องที่จะคุยกัน จึงมาดูแลความเรียบร้อยและสังเกตการณ์เท่านั้น

      นายจาตุรนต์ กล่าวตอนหนึ่งว่า จุดเริ่มต้นของร่างรัฐธรรมนูญ ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีมติไม่รับนั้นมาจากการรัฐประหาร แล้วกระบวนการร่างไม่เป็นประชาธิปไตย มีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวอยู่แล้วว่าต้องมีสาระสำคัญอะไรบ้าง เช่น การกำหนดคุณสมบัติฝ่ายการเมือง ที่สำคัญคือ เรื่องการปฏิรูปที่ต้องทำให้เกิดผลหลังการเลือกตั้ง เมื่อยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จมีการส่งให้ สปช. คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา จากนั้นคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) เป็นการร่างแบบปิดประตูตีแมว 

@ แนะคสช.ไม่ควรกำหนดกติกา

      "ต้องทำความเข้าใจว่าสังคมไทยที่ผ่านมาเราเจอทางสองแพร่งอยู่เรื่อยๆ เรามีทางเลือกระหว่างเลวกับเลวมาก พอจะถึงจุดที่เลวมาก เราบอกว่าไม่เอา ก็กลับมาจุดที่เลว กติกาที่เขียนสูตร 6-4-6-4 คนก็ตกใจแล้ว ตอนแรกคนเข้าใจว่า ปีเศษแล้วจะเลือกตั้ง ตอนนี้บอกว่าอีก 20 เดือน เป็นตัวเลขสมมุติ เขาเขียนรัฐธรรมนูญชั่วคราวไว้แบบเปิดปลาย แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าที่จะร่างกันต่อไปนี้จะไม่เกิดการร่างที่จงใจให้คว่ำอีก" นายจาตุรนต์กล่าว

     นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ถ้าจะร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่ คสช.ไม่ควรเป็นคนกำหนดกติกา รวมถึงเนื้อหาสาระ ความคิดที่ว่าจะตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่มีความคิดสอดคล้องกับ คสช.ไม่ควรถูกยกมา ถ้าจะได้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยต้องให้ประชาชนร่าง สิ่งสำคัญที่ตามมา ต้องมีเสรีภาพทุกฝ่าย ต้องมีการลงประชามติที่เสรียุติธรรม

@ เปิดให้ประชาชนร่างรธน.เอง

      นายรังสิมันต์กล่าวว่า บางคนอาจบอกว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ถูกคว่ำดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา แต่คนที่พูดไม่ได้มาจากประชาชน พูดโดยอ้างอิงจากโพลที่อ้างอิงใครไม่รู้ การพูดถึงรัฐธรรมนูญที่ตกไปแล้วอาจไม่มีความหมายอะไร แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำให้เห็นว่าสูญเสียอะไรไปบ้าง สูญเสียเงินกว่าพันล้านบาท เสียเวลากว่า 16 เดือน แล้วสังคมไทยก้าวไปข้างหน้าหรือไม่

      นายรังสิมันต์กล่าวว่า ตราบใดที่รัฐธรรมนูญไม่ได้มาจากประชาชน ไม่สามารถยอมรับได้ ต่อให้เนื้อหาเขียนดีแค่ไหน เพราะสิ่งสำคัญที่ควรให้คุณค่าแก่รัฐธรรมนูญ คือรัฐธรรมนูญต้องมาจากประชาชน ในแง่เนื้อหาทั้งเรื่อง ส.ว.และรัฐมนตรี ไม่ได้ทำให้ประชาชนมีสิทธิใดมากขึ้นเลย ดังนั้นขอย้ำข้อเสนอของกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ว่า คสช.ต้องปล่อยให้ประชาชนเป็นคนร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้รัฐธรรมนูญในอนาคตเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด

@ เสนอโละทิ้งของเก่า-ตั้งสสร.

       นายปิยบุตรกล่าวว่า คาดว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะออกมา อาจไม่ได้เปลี่ยนไปจากร่างที่เพิ่งตกไป บทบัญญัติที่ยังอยู่แน่ คือการรับรองผลพวงของการรัฐประหารครั้งนี้ ไม่งั้นจะโดนฟ้องเช็กบิลย้อนหลัง จะอยู่ในมาตราสุดท้ายเหมือนเดิมคือ สิ่งที่คณะรัฐประหารทำมาไม่มีความผิด ประกาศคำสั่งที่เคยออกมาจะถูกรับรองในรัฐธรรมนูญใหม่ตลอดกาล โดย กรธ.ต้องคิดว่า จะสร้างองค์กรแบบ คปป.อย่างไรให้แนบเนียนกว่าเดิม แล้วถ้าร่างใหม่ก็อนุมานได้เลยว่าจะมีการล้มรัฐธรรมนูญอีก ร่างแล้วล้มไปเรื่อยๆ นี่ไม่ใช่กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ แต่เป็นกระบวนการขยายอายุตัวเองไปเรื่อยๆ หากรับไปแล้วก็จะเจอจระเข้ตัวใหม่คือรัฐธรรมนูญที่รับมาจะแก้รัฐธรรมนูญไม่ได้ 

      "ผมเสนอว่าต้องเลิกกระบวนการนี้ทั้งหมด ขั้นแรกยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2557 ทั้งฉบับ ทำให้มาตรา 44 มาตรา 35 หายไป กระบวนการยกร่างมาตรา 36-37 หายไป ง่ายที่สุดเอารัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาประกาศใช้ใหม่ทันทีแบบชั่วคราว เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร. (สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ) ทั้งหมด แล้วไม่ต้องทำนาน แค่ 3 เดือนพอ ให้ชอบธรรมทางประชาธิปไตยสูงที่สุด ผ่านประชามติประกาศใช้ เลือกตั้งใหม่ ได้รัฐบาลใหม่ โรดแมปนี้เร็วกว่าสูตร 6-4-6-4 แน่นอน" นายปิยบุตรกล่าว (อ่านรายละเอียด น.2)

       นายปิยบุตรยังตอบคำถามกรณีหากกลุ่มนิติราษฎร์ถูกเชิญเข้าร่วมเป็น กรธ.ว่า ข้อเสนอของนิติราษฎร์ตั้งแต่ปี 2553 ตอบอยู่แล้วว่ากลุ่มนิติราษฎร์ไม่มีทางไปร่วมทำรัฐธรรมนูญกับคณะรัฐประหารแน่นอน

@ สลัมสี่ภาคชี้ไม่ส่งเสริมปชต.

    นายคมสันต์กล่าวว่า ธงแรกที่เครือข่ายสลัมสี่ภาคตั้งคือ ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร การที่ คสช.พยายามหากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญการันตีตัวเองว่าจะนำพาประเทศสู่ประชาธิปไตยนั้นไม่เห็นด้วยโดยกระบวนการ เพราะที่ผ่านมาทั้งการแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สปช. ไม่ได้มีการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนแม้แต่น้อย แล้วในกระบวนการยกร่างฯไม่ได้อ้างอิงรากหญ้าอย่างแท้จริง 

      นายคมสันต์กล่าว่า เครือข่ายสลัมสี่ภาคเห็นว่าเนื้อหารัฐธรรมนูญที่ผ่านมาไม่ได้ส่งเสริมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง อย่างเรื่องสิทธิการชุมนุม อาจเขียนไว้สวยหรู แต่ปรากฏว่าระหว่างนี้กลับออก พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะออกมา เป็น พ.ร.บ.ที่ลิดรอนสิทธิการชุมนุมของประชาชน และในหมวดสิทธิต่างๆ ไม่มีเรื่องสิทธิที่อยู่อาศัย การพัฒนาที่อยู่อาศัยตามวิถีชีวิตประชาชนถูกละเลย

@ อดีตกมธ.แนะปฏิรูป 5 เรื่อง

ส่วนที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อเวลา 13.00 น. มีการสัมมนาสาธารณะหัวข้อ "พลเมืองร่วมปฏิรูปประเทศ" โดยมีนายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ อดีต กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขานุการมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ร่วมเสวนา โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบสลับกันมาร่วมสังเกตการณ์ แต่ไม่มีเหตุการณ์วุ่นวายใดๆ เกิดขึ้น 

      ทั้งนี้ นายบัณฑูรกล่าวตอนหนึ่งว่า คิดว่าพรรคการเมืองต้องตอบโจทย์ โดยทำให้ตัวเองเป็นตัวแทนของประชาชนจริงๆ ทุกวันนี้ ถ้าตัดเรื่องสีออกไป ทั้งสองฝั่งมีปัญหาที่เป็นจุดร่วมเดียวกันทั้งนั้น และในความเห็นส่วนตัว สิ่งที่จะต้องเดินหน้าแก้ไขต่อไปมี 5 เรื่อง คือ 1.การบริหารราชการแผ่นดิน 2.การกระจายอำนาจ 3.การเข้าสู่อำนาจทางการเมือง และกำกับการใช้อำนาจทางการเมือง 4.กระบวนการยุติธรรม และ 5.การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ถ้าทำ 5 เรื่องนี้ได้ก่อน การผลักดันเรื่องการปฏิรูปอื่นๆ ก็จะเดินได้ 

@ "ตู่"แนะรัฐบาลใจแคบไม่ได้

นายจตุพรกล่าวว่า ไม่มีประชาชนคนใดอยากมาบนท้องถนน การมาลงท้องถนนคือ การไม่มีทางเลือก และคนที่เป็นรัฐบาล ไม่ว่ามาจากการเลือกตั้ง หรือมาแบบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช. จะมองปัญหาของชาวบ้านว่าออกมาเพื่อโค่นล้มตัวเอง ซึ่งเป็นโรคของคนเป็นผู้นำ ของคนมีอำนาจ โรคนี้ออกจากตำแหน่งเมื่อไรก็หายทันที ปัญหาของผู้มีอำนาจคือ ก่อนมาเป็นรัฐบาลกับเป็นรัฐบาลแล้วแตกต่างกัน เพราะก่อนเป็นทุกอย่างสวยงาม แต่พอมาเป็นรัฐบาลแล้วอยากฟังแต่สิ่งดีๆ

       "คำว่าปฏิรูปเป็นนามธรรม แต่การปฏิรูปจริงๆ ไม่มีวันหมด การปฏิรูปคือการเปลี่ยนแปลงที่หยุดไม่ได้ ต้องปฏิรูปไปจนวันตาย เพียงแต่เรายังเดินไปไม่ถึงจุดนั้น วันนี้คำว่าปฏิรูปอย่าเป็นเพียงแค่คำพูด เหมือนกับคำว่าสมานฉันท์กับคำว่าปรองดอง เป็นคำหลอกลวงที่เอาไว้โกหกกัน" นายจตุพรกล่าว และว่า การเปิดพื้นที่ให้แสดงความคิดเห็นวันนี้ แม้ไม่มีทหาร แต่ตำรวจพรึบ ดังนั้น รัฐบาลต่อให้มีอำนาจแค่ไหน แต่ใจแคบไปไม่ได้ 

@ คืนประชาธิปไตยต้องให้ครบ

     นายจตุพรกล่าวว่า ช่วงนี้พรรคการเมืองต้องใช้เวลาในการปฏิรูปตัวเอง ถ้าไม่ยกระดับเปลี่ยนแปลง ก็จะไม่มีทางพ้นวงจรอุบาทว์ไปได้ ต้องเป็นเครื่องมือให้เกิดการรัฐประหารต่อไป เช่นเดียวกับ นปช.ที่ต้องปฏิรูปตัวเองเช่นกัน ทั้งนี้ ไม่รู้ว่าจะมีการเลือกตั้งเมื่อไร แต่ถ้าจะคืนประชาธิปไตยต้องคืนให้ครบ 100% เอาไป 100 คืนมา 30 ก็อย่าคืน อย่าคืนแบบมีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปรองดองและการปฏิรูปประเทศ (คปป.) ถ้าไม่พร้อมคืนประชาธิปไตยก็อย่ามีการเลือกตั้ง เพราะคนไทยทนได้ทุกอย่าง เสียอะไรได้ทุกอย่าง ยกเว้นเสียรู้ 

     "ผมประกาศชัดว่าถ้าร่างรัฐธรรมนูญใหม่ประเด็นแรกที่นายกฯไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ผมไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง" นายจตุพรกล่าว และว่า นักการเมืองไม่ควรมีส่วนร่วมร่างรัฐธรรมนูญ เพราะมีส่วนได้ส่วนเสียและถือว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน 

@ "ขิง"ยันให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

      นายเอกนัฏกล่าวว่า ถ้าเรียนรู้จากอดีตทุกครั้งที่มีการเดินบนท้องถนน ก็จะไม่กลับไปเป็นแบบเดิม และการปฏิรูปเป้าหมายสำคัญคือ การมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งนี้ ยืนยันว่า กปปส.กับ นปช.ไม่ได้รบกัน ไม่ได้มีปัญหาในตัวบุคคล การที่ออกมาต่อสู้ มีประเด็นว่าต่อสู้เพื่ออะไร ซึ่งเห็นว่าควรเปิดเวทีให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม เพราะเชื่อว่าทุกคนหวังดีกับประเทศ อยากเดินหน้าไปสู่อนาคต และขอย้ำว่า กปปส.ให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง ไม่ใช่เลื่อนการเลือกตั้ง 

     "หลังการเลือกตั้งแล้วปฏิรูปก็จะมีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะรัฐบาลมีอำนาจ มีข้าราชการในมือ การปฏิรูปจึงต้องทำในวันนี้ ส่วนรัฐธรรมนูญที่จะร่างขึ้นมาใหม่นั้น เรามองในมุมการปฏิรูปและกลไกในการแก้ปัญหาและวิกฤต" นายเอกนัฏกล่าว 

@ "อมร"ปฏิเสธนั่งประธานกรธ.

    นายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์ อดีต สปช. กล่าวว่า ยังไม่มีใครทาบทามให้เป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และที่สำคัญคือ เป็นคนที่โหวตรับร่างรัฐธรรมนูญ จึงอาจจะไม่ได้รับทาบทามก็ได้ ทั้งนี้ ไม่สามารถคาดการณ์หรือคาดหมายอะไรล่วงหน้าได้ จึงไม่สามาถตอบอะไรได้ 

     พล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ อดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญ และอดีต สปช. กล่าวถึงกระแสข่าวที่มีชื่อติดโผเป็นประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ว่าไม่ทราบเรื่องเลยว่ามีชื่อออกมาเช่นนี้ได้อย่างไร โดยมองว่าในประเทศไทยยังมีคนที่เก่งกว่าอีกมาก อย่างนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานรัฐสภา หรือทุกคนที่มีชื่อติดโผ และที่สำคัญยังไม่มีใครติดต่อทาบทามมา แต่หากมีการติดต่อทาบทามเข้ามาก็ยินดีที่จะทำหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็น สปท.หรือ กรธ.

      รายงานข่าวแจ้งว่า นายอมร จันทรสมบูรณ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่มีกระแสข่าวได้รับการทาบทามให้เป็นประธาน กรธ.นั้น ล่าสุดนายอมรได้ปฏิเสธและแนะนำให้ผู้อื่นเข้ารับตำแหน่งแทนแล้ว ทั้งนี้ นายอมรยังนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี

@ "วันชัย"สงสัย 44 สปท.ข่าวปล่อย

      นายวันชัย สอนศิริ อดีต สปช. ที่ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกระแสข่าวอดีต สปช.ที่ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ จะได้รับการคัดเลือกจำนวน 44 คน ให้มาเป็น สปท. ว่าไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวปล่อยหรือไม่ เพราะการแต่งตั้ง สปช.เป็นหน้าที่ของหัวหน้า คสช.โดยตรง เชื่อว่าจะคัดเลือกมาจากทั้ง สปช. ฝ่ายที่ลงมติรับและไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ แต่ไม่รู้ว่าจะมี สปช.กี่คนที่ได้รับการคัดเลือก แต่ยืนยันว่าอดีต สปช.ทั้ง 135 คนที่ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ไม่เคยต่อรองหรือสนใจจะได้เป็น สปท. ทุกคนที่ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเพราะเห็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างแท้จริง 

        "หากอดีต สปช.คนใดได้เป็น สปท.ก็ดีใจด้วยที่มีโอกาสทำงานต่อเนื่องเพื่อประเทศ แต่ใครที่ไม่ได้เป็นขอให้ภาคภูมิใจว่าที่ผ่านมามีโอกาสปฏิบัติภารกิจเพื่อประเทศจนเสร็จสมบูรณ์ ส่วนผมยืนยันว่าไม่เคยได้รับการติดต่อทาบทามให้ทำงานต่อในตำแหน่งใดๆ ทั้งสิ้น" นายวันชัยกล่าว

     นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีต สปช.ที่ลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ไม่ทราบว่ากระแสข่าว 44 อดีต สปช.ที่ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญจะไปเป็น สปท. เป็นเรื่องจริงหรือไม่ แต่ส่วนตัวเห็นว่าควรมีอดีต สปช.ในคณะกรรมาธิการปฏิรูปทั้ง 18 คณะ อย่างน้อยคณะละ 1 คน เข้าไปร่วมเป็น สปท.ด้วย เพื่อเป็นการต่อยอดพิมพ์เขียวการปฏิรูปประเทศไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างรวดเร็ว

@ "เอกราช"แนะ 100 สปช.นั่งสปท.

นายเอกราช ช่างเหลา อดีต สปช.ขอนแก่น ที่ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ไม่เข้าใจว่า กระแสข่าวอดีต สปช. 44 คน เกรดเอ ที่ลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญจะได้เป็น สปท. ออกมาได้อย่างไร ดูแล้วน่าจะเป็นการดิสเครดิตอดีต สปช.ฝ่ายไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สอดรับกับข่าวที่ออกมาก่อนหน้านี้ว่า อดีต สปช.กลุ่มไม่รับร่างรัฐธรรมนูญจะได้นั่งเป็น สปท.ต่อไป 

      "ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะผมได้โทรศัพท์ไปพูดคุยกับ พล.ท.ฐิติวัจน์ กำลังเอก อดีต สปช.ที่ถูกระบุว่าเป็นผู้เคลื่อนไหว ก็ได้รับคำยืนยันว่าไม่เคยได้ยินข่าวนี้มาก่อน และไม่ใช่เรื่องจริง เพราะการลงมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของอดีต สปช. 135 คน เป็นการ ทำเพื่อประเทศจริงๆ ไม่มีเงื่อนไขต่อรองใดๆ" นายเอกราชกล่าว และว่า ถ้ามีอดีต สปช.ทั้งฝ่ายรับและไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเข้าไปเป็น สปท.ก็ไม่ใช่เรื่องน่าเกลียด เพราะจะได้ช่วยสานงานต่อเรื่องการปฏิรูปด้านต่างๆ อย่างไรก็ตามเห็นว่า ควรมีอดีต สปช.ไปเป็น สปท. 100 คน เพื่อกระจายไปอยู่ในคณะกรรมาธิการปฏิรูปชุดต่างๆ ของ สปท.

@ "นิพิฏฐ์"ให้เชิญการเมืองร่วม

       นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวว่า คิดว่า กรธ.ทั้ง 21 คน จำเป็นต้องมี 2 ส่วนคือ 1.ผู้มีความรู้ด้านกฎหมายมหาชน กฎหมายรัฐธรรมนูญ มีความรู้ด้านรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ ทั้งนี้เพื่อเข้ามาดูในแง่ของทฤษฎีทางการเมือง และกฎหมาย 2.ผู้ที่มีประสบการณ์จริงในระบบการเลือกตั้ง อาจเคยเป็น ส.ส.หรือไม่ก็ได้ เช่น อยู่ในพรรคการเมืองในฐานะที่ปรึกษา เป็นต้น เพื่อเข้ามาช่วยดูในเรื่องบริบททางการเมืองในประเทศให้ตรงกับความเป็นจริง เนื่องจากเห็นว่าการที่ สปช.คว่ำร่างรัฐธรรมนูญไปนั้น เป็นเพราะเขียนรัฐธรรมนูญตามทฤษฎีมากเกินไป 

      "ทุกพรรคการเมืองพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่ต้องเริ่มต้นที่มาตรา 1 แต่เอารัฐธรรมนูญ ปี 2540 ปี 2550 และที่ถูกคว่ำไปมาปรับใหม่ เพราะรัฐธรรมนูญปี 2540 และปี 2550 ถือว่าดีที่สุด ผมว่าใครร่างออกมาได้ดีกว่านี้ เขาคนนั้นเป็นปรมาจารย์แล้วแหละ" นายนิพิฏฐ์กล่าว

@ "เอกชัย"แนะสรรหาจาก 4 กลุ่ม

      พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ อดีต สปช.ที่งดออกเสียงในการลงมติร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ไม่ได้รับการติดต่อใดๆ หรือทาบทามให้เป็น สปท. และเข้าใจได้ว่าการที่จะได้เข้าไปทำหน้าที่นั้นอาจเป็นเรื่องยาก เพราะ สปช.เก่าที่จะได้เข้าไปมีโควต้าน้อยมาก 1 ใน 5 สำหรับตนทำหน้าที่อะไรก็ได้ ไม่ได้คาดหวังจะได้เข้าไปหรือไม่ได้เข้า 

      "การสรรหา สปท.นั้น ผมเคยวิเคราะห์ว่า 1.ควรมี สปช.เก่าเข้าไปทำหน้าที่ แต่ไม่ต้องมาก โดยอาจจะมีการเลือก สปช.จากทุกคณะ 2.ควรให้กลุ่มการเมืองเข้ามาทำหน้าที่ด้วย 3.กลุ่มราชการ ซึ่งเท่าที่ทราบมีการให้แต่ละกระทรวงส่งคนเข้ามากระทรวงละ 5 คน 4.กลุ่มเอ็นจีโอ" พล.อ.เอกชัยกล่าว 

@ "วิบูลย์-เกษมสันต์"ลุ้นนั่งสปท.

       ผู้สื่อข่าวรายงานกรณีนายกรัฐมนตรีให้กระทรวงต่างๆ ส่งรายชื่อข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถกระทรวงละ 5 คน เพื่อนำไปพิจารณาคัดเลือกเป็น สปท.ว่า ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย คาดว่า 1 ใน 5 ที่จะได้รับการเสนอชื่อคือ นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่จะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายนนี้ 

     นายเกษมสันต์ จิณณวาโส ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ให้สัมภาษณ์ว่า ทราบชื่อเป็น 1 ใน 5 รายชื่อที่กระทรวงได้เสนอชื่อไป ส่วนอีก 4 คน ไม่ทราบว่ามีใครบ้าง และเท่าที่ได้พูดคุยกับผู้ใหญ่ของกระทรวงอื่นๆ ทราบมาว่าบางกระทรวงส่งรายชื่อไปถึง 18 คนก็มี 

@ "บิ๊กต๊อก"ชง"พรทิพย์"นั่งสปท.

พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึง กรณีการเสนอรายชื่อจากกระทรวงยุติธรรม จำนวน 5 คน เพื่อให้ คสช.คัดเลือกเป็น สปท.ว่าได้เสนอรายชื่อไปเรียบร้อยแล้ว เป็นบุคคลทั้งในและนอกกระทรวง แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นใครบ้าง บอกได้เพียงว่าเป็นบุคคลที่คิดว่าจะนำสิ่งที่ตนต้องการปฏิรูป หรือขับเคลื่อนกระทรวงยุติธรรมและกระบวนการยุติธรรมไปในทิศทางที่เหมาะสม 

ข่าวแจ้งว่า 1 ใน 5 ชื่อที่ พล.อ.ไพบูลย์เสนอชื่อไปนั้นคือ พญ.คุญหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ที่จะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายนนี้ 

      ข่าวแจ้งว่า สำหรับสำหรับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) มีรายงานข่าวได้เสนอชื่อ พล.ต.อ.เรืองศักดิ์ จริตเอก รอง ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน ผบช.ภ.1 ที่จะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายนนี้

@ "คุรุจิต"ส่ง 20 ชื่อให้รมต.เฟ้น

     นายคุรุจิต นาครทรรพ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงเสนอชื่อบุคคลเข้ารับคัดเลือกเป็น สปท.ว่า ได้ส่งชื่ออดีตข้าราชการ อดีตผู้บริหารรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงพลังงาน ทั้ง 2 คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รวมประมาณ 20 รายชื่อ ให้ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน คัดเลือกอีกครั้งหนึ่ง 

     ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อยู่ระหว่างคัดเลือกอดีตข้าราชการของกระทรวงที่เกษียณอายุแล้วเป็น สปท. คาดว่าจะมีความชัดเจนและส่งรายชื่อให้นายกรัฐมนตรีได้ในสัปดาห์หน้า

      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศได้มีการเสนอชื่อนายนรชิต สิงหเสนี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ที่กำลังจะเกษียณอายุราชการวันที่ 30 กันยายนนี้ เข้ารับการคัดเลือกเป็น สปท.

@ "บัวแก้ว"เชิญทูตฟังโรดแมป

     นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า จะเชิญคณะทูตานุทูตและองค์การระหว่างประเทศในไทยมารับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับโรดแมปและพัฒนาการทางการเมืองที่เกิดขึ้นในวันที่ 16 กันยายนนี้ ที่กระทรวงการต่างประเทศ แม้ว่าปัจจุบันจะไม่มีการสอบถามถึงเรื่องที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการลงคะแนนของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แต่กระทรวงการต่างประเทศเห็นว่าควรเปิดช่องทางในการสื่อสาร หากมีคำถามหรือข้อสงสัยใดๆ ก็พร้อมจะตอบ ในอนาคตจะมีการดำเนินเช่นนี้อีก โดยจะดูเป็นเรื่องๆ ไป

@ "วีรชน"แจงคุมตัว"การุณ-พิชัย"

    พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีองค์การสิทธิมนุษยชน ฮิวแมน ไรต์ส วอตช์ เรียกร้องให้ปล่อยตัวนายการุณ โหสกุล อดีต ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย (พท.) และนายพิชัย นริพทะพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ทหารเชิญตัวไปปรับทัศนคติว่า คงไม่ต้องชี้แจงอะไรกับฮิวแมน ไรต์ส วอตช์ อย่างไรก็ตามรัฐบาลเข้าใจฮิวแมน ไรต์ส วอตช์ว่าต้องทำตามบริบทของตัวเอง ขณะเดียวกันองค์กรระหว่างประเทศเองก็ต้องเข้าใจในบริบทของประเทศไทยและเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ ให้มากขึ้นด้วย

    "การเชิญตัวเป็นไปตามกติกา สังคมเรามีกติกา เราว่าไปตามกติกาและมีความชัดเจน ทั้งนี้เชื่อว่าการเรียกร้องของฮิวแมน ไรต์ส วอตช์ จะไม่ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.รู้สึกกดดัน ที่จะต้องเดินทางไปร่วมประชุมสหประชาชาติที่สหรัฐในเร็ววันนี้ เพราะคนที่ไม่ทำตามกติกาก็ต้องถูกดำเนินการอย่างที่วางไว้" พล.ต.วีรชนกล่าว

@ "ชวลิต"ชี้ไม่ถึงขั้นต้องกักขัง

     นายชวลิต วิชยสุทธิ์ รักษาการรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า เรื่องของนายพิชัยและนายการุณนั้น มองว่าไม่มีอะไรที่รุนแรงจนเกิดความเสียหายต่อความมั่นคง จึงไม่ถึงกับต้องนำตัวไปกักขังเหมือนกับบุคคลที่เป็นภัยต่อความมั่นคง โดยการดำเนินการในลักษณะนี้จะยิ่งส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์การบริหรของรัฐบาล ส่วนการเรียกร้องขององค์กรเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนนั้นถือเป็นขอบเขตการทำงานของเขา และต้องขอบคุณทีออกมาให้ความสำคัญกับการแสดงออกตามสิทธิของตัวเอง

@ ฝ่ายมั่นคงจับตาสื่อ-เว็บไซต์

      นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีที่มีผู้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลว่า ฝ่ายความมั่นคงมีการติดตามดูการแสดงความคิดเห็นของกลุ่มต่างๆ ทั้งในเว็บไซต์ รวมถึงสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อยากให้ฝ่ายการเมืองช่วยทำตามข้อตกลง ที่เคยตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากรัฐบาลพยายามที่จะเดินหน้าโรดแมปอยู่ รัฐบาลมีวิธีการดูแลความสงบเรียบร้อย เพื่อให้มั่นใจว่าบ้านเมืองจะเกิดสงบขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ ส่วนการเคลื่อนไหวในพื้นที่ต่างๆ เท่าที่ทราบฝ่ายความมั่นคงก็มีการจับตาดูอยู่ด้วยเช่นกัน

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!