WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

8กลม 99954

'บิ๊กป้อม'ยืนยันสูตรสปท. แบ่ง 8 กลุ่ม จัดโควต้าให้พรรคใหญ่ หั่น'โรดแมป'เหลือ 18 ด. 'วิษณุ'ยังหนุนใส่'คปป.''บิ๊กตู่'กินข้าวสื่อชื่นมื่น คุกแกนนปช.บุกบ้านป๋า 'ประวิตร'ลาออก'เนชั่น'

      'บิ๊กตู่'ร่วมหม่ำข้าวเที่ยงสื่อ ยันไม่เป็นนายกฯคนนอก 'วิษณุ'แจงขั้นตอนลดสูตรƌ-4-6-4' เหลือ 18 เดือน แย้มร่างรัฐธรรมนูญใหม่อาจมี คปป.อีก ระบุตัวบุคคลฝ่ายการเมืองร่วมนั่ง สปท. เน้นตัวแทนพรรคใหญ่เข้าร่วม 'บิ๊กป้อม'รับสัดส่วนโควต้าสมาชิกสภาปฏิรูปเป็นตามโผ

ร่วมวง - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ร่วมวงรับประทานอาหารกลางวันกับสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล พร้อมให้สัมภาษณ์ถึงการร่นระยะเวลาโรดแมป เมื่อวันที่ 16 กันยายน 

 

มติชนออนไลน์ :

แจงโรดแมป - คณะทูตานุทูตประเทศต่างๆ ประจำประเทศไทยรับฟังคำชี้แจงของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับโรดแมปสู่การเลือกตั้งและกระบวนทางการเมืองไทย ภายหลังจาก สปช.โหวตคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ที่กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 

 


@ บิ๊กตู่ควง 2 รมต.หม่ำข้าวกับสื่อ

    เมื่อวันที่ 16 กันยายน ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ พล.อ.วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับสื่อมวลชนประจำทำเนียบ ถือเป็นครั้งที่ 4 หลังเข้ามารับตำแหน่ง มีรายการอาหารประกอบด้วย ข้าวเหนียว ไก่ย่างเขาสวนกวาง ข้าวขาหมูตรอกซุง ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟวัดแขก ขนมจีนแกงเขียวหวานปลากรายป้าน้อย ถนนดินสอ ขนมลอดช่อง ไอศกรีมมหาชัย ผลไม้ เป็นต้น

@ หยอกงอนแล้ว-รับเกรงใจภริยา 

      พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "วันนี้เกือบจะไม่ได้ลงมาร่วมกินอาหารด้วยแล้ว เพราะยังรู้สึกงอนๆ อยู่ แต่จริงๆ ไม่ใช่หรอก ถ้าไม่ได้พูด ไม่เห็นหน้ากันก็คิดถึง เรามันคู่กันต่างคนต่างขาดกันไม่ได้ ถ้าไม่ได้พูดหรือโต้เถียงกันก็ปวดท้อง แต่ถ้าให้โมโหมากๆ เส้นโลหิตในสมองก็แตก แต่โชคดีที่คนข้างๆ ทั้งนายสมคิด พล.อ.สุรศักดิ์ และ พล.อ.วิลาศ เป็นคนใจเย็น มีผมใจร้อนอยู่คนเดียว" เมื่อถามว่าเวลานายกฯ

      ใจร้อนและเผลอหลุดคำพูดต่างๆ ออกมา ภริยาดุบ้างหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวยอมรับว่า "ผมดุก่อนแต่พอเขาดุมาผมก็สู้ไม่ได้ เขาเป็นอาจารย์ ผมเป็นลูกศิษย์ พอเวลาภรรยาผมดุผมก็เงียบ" ผู้สื่อข่าวชายจึงกระเซ้าว่า เจอแล้วคนที่นายกฯกลัวที่สุดในประเทศ นายกฯหันมาย้อนถามกลับว่า แล้วไม่กลัวหรือ ต้องเกรงใจด้วยนะ คือในบ้านมันควรจะไม่มีอะไร โมโหก็ไม่ได้อยู่แล้ว ยิ่งวันนี้เราโมโหอะไรไม่ได้เลย พอเข้าบ้านก็อยากให้บ้านสงบสุขสบายใจ

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ในงานการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นจีเอ) ในวันที่ 23 กันยายน-1 ตุลาคม จะพบสื่อต่างประเทศหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ย้อนถามว่า "เขาจะมาพบผมหรือไม่เล่า ถ้าพบได้ก็จะพบ ให้เขาทำเรื่องมา ถ้าพบก็พบ แต่ไม่รู้จะมีเวลาหรือเปล่า ไม่เคยกลัวนักข่าวอยู่แล้ว ส่วนหัวข้อที่จะไปพูดที่การประชุมยูเอ็นนั้น เขามีให้มา 4-5 ข้อ แต่ผมได้เลือก 2 หัวข้อที่ตรงกับของเรา คือเรื่องการแก้ปัญหาความยากจน และความยั่งยืน"

@ ชี้ปล่อยตัวต้องทำตามสัญญา

      เมื่อถามถึงกรณีการปล่อยตัวกลุ่มนักการเมือง หลัง คสช.เรียกควบคุมตัวไปปรับทัศนคติ นายกฯกล่าวว่า หลังจากนี้ สัญญาอะไรก็ต้องทำตามสัญญากันบ้าง เขาบริหารราชการมาด้วยกัน แล้ววันนี้ประเทศชาติมีปัญหา เขาก็ต้องใช้เวลาไปแก้ปัญหาในช่วงเวลาของเขา วันนี้ไม่ใช่เวลาของเขา ไม่ใช่วันที่เลือกตั้ง ถ้าเลือกตั้งชนะก็เข้ามา แล้วจะมาพูดทำนองให้ร้ายรัฐบาลไม่ได้ เพราะตนไม่ห่วงว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่ห่วงว่าประชาชนจะตื่นตระหนก ถามว่าจะทำง่ายๆ แจกเงินแล้วก็เลิก มานั่งคอย แล้วแจกใหม่อีก ตนไม่ได้ทำงานแบบนั้น 

@ ยันไม่มาเป็นนายกฯคนนอก 

    เมื่อถามว่าถ้าได้นักการเมืองหน้าเดิมกลับมาจะทำอย่างไร นายกฯกล่าวว่า จะให้ทำอย่างไรได้ อำนาจเป็นของทุกคนในการเลือกตั้ง เมื่อถามย้ำว่า ทหารจะเข้ามาอีกในอนาคตหรือไม่ นายกฯกล่าวว่า ไม่มีแล้ว เพราะสถานการณ์เปลี่ยน โลกล้อมประเทศอยู่ใครจะเข้ามาก็ต้องพยายามไม่ให้เกิดขึ้นอีก หากเกิดสถานการณ์เหมือนเดิมอีกก็ไม่เกี่ยว กลับบ้านแล้ว เรื่องทุกอย่างขึ้นอยู่กับทุกคน ไม่ต้องมากลัวนายกฯคนนอก ตนไม่เป็นแน่นอน 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ถ้ามีประชาชนเรียกร้อง นายกฯกล่าวว่า ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะรู้ทำอะไรได้แค่ไหน ฉะนั้นถ้าทำสำเร็จก็จบ ถ้าไม่เสร็จก็หาคนมาทำใหม่

@ รับยังไม่มีชื่อปธ.กรธ. 

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวถึงความเป็นไปได้ในการเลื่อนระยะเวลาโรดแมป 6-4-6-4 ว่า เป็นสิ่งที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯประเมินให้ฟังในฐานะนักกฎหมาย ไม่สามารถพูดแทนได้ ซึ่งบอกแล้วว่ารัฐธรรมนูญประกาศใช้ออกไปได้ใช้เวลา 20 เดือน หรือน้อยกว่านั้น แต่ถ้าประเด็นรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ก็คิดไม่ออกเหมือนกันว่าจะทำอย่างไร เมื่อถามว่าเวลา 20 เดือนตามโรดแมป จะมีการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม 2560 ใช่หรือไม่ นายกฯกล่าวว่า ใช่มั้ง จำไม่ได้แล้ว ก็นับไปสิ 20 เดือน เขากำหนดไว้แล้วกรกฎาคม 2560 ถ้ามันเร็วกว่านั้นได้ ในการตัดทอนแต่ละขั้น ลดไปได้อย่างละครึ่งเดือนบ้าง รวมกันกี่เดือนก็ไม่รู้

เมื่อถามว่า โควต้าสัดส่วนสมาชิกสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ (สปท.) เป็นอย่างไร นายกฯกล่าวว่า ปรับทุกวัน ส่วนชื่อประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ตอนนี้ยังไม่มี

@ แย้มลด6-4 6-4 เหลือ 18 เดือน

      ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่จะร่นหรือลดโรดแมปเลือกตั้งตามสูตร 6-4 6-4 ลงให้น้อยกว่า 20 เดือนว่า ดำเนินการไม่ยาก เพราะตามสูตร 6-4 6-4 ใน 6 เดือนแรกคือ การร่างรัฐธรรมนูญและรับฟังความเห็น หากใช้เวลาร่างให้เร็วขึ้นจะลดเหลือ 5 เดือนได้ ส่วน 4 เดือนถัดไปคือการทำประชามติ เชื่อว่าจะลดเวลาได้ครึ่งเดือน จากนั้นเข้าสู่กระบวนการทำกฎหมายลูกโดยใช้เวลา 6 เดือน ประกอบด้วยใช้เวลายกร่างกฎหมาย 2 เดือน เข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) 3 เดือน จากนั้นส่งศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบ 1 เดือน กระบวนการนี้อาจลดลงจนเหลือ 5 เดือนได้ โดยนำคนจาก สนช.มาช่วยร่าง เพราะกระบวนการนี้จะช้าหรือเร็วอยู่ที่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) หาก กมธ.ไม่เคยเห็นกฎหมายลูกดังกล่าวเลย อาจจะดูทุกตัวอักษร ดังนั้น เมื่อนำ สนช.ซึ่งเป็น กมธ.ด้วยมาร่วมร่างทุกอย่างก็จะเร็วขึ้น 

     อย่างไรก็ตาม แม้ขั้นตอนสุดท้ายคือการเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง จะไม่สามารถลดเวลาลงได้ เพราะต้องใช้เวลานักการเมืองหาเสียง แต่เชื่อว่าโดยรวมจะสามารถย่นเวลาจากนี้ 20 เดือน เป็น 18 เดือนได้ไม่ยาก

@ เผย"มีชัย"บอกไม่อยากนั่งกรธ.

      นายวิษณุ กล่าวถึงการสรรหาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ว่าไม่ได้เป็นผู้รวบรวมรายชื่อ จึงตอบไม่ได้ว่าจะมีใครบ้าง เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี แม้แต่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็เชื่อว่าไม่รู้ เมื่อถึงเวลานายกฯจะปรึกษากับใครบางคนแล้วแต่งตั้ง

      ผู้สื่อข่าวถามว่าใน กรธ.นอกจากนักกฎหมายแล้วควรเป็นใครบ้าง นายวิษณุกล่าวว่า นักกฎหมาย นักรัฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ นักพัฒนาสังคม นักประวัติศาสตร์ เมื่อครั้ง กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ก็มีนักกฎหมายเพียงไม่กี่คน และนักการต่างประเทศก็มีความจำเป็น ถ้าเป็นนักกฎหมายระหว่างประเทศยิ่งดี เพราะจะช่วยดูในเรื่องที่เกี่ยวกับสนธิสัญญาระหว่างประเทศ หรือนักการเมืองน้ำดีที่วางมือทางการเมืองแล้วก็ยิ่งดี เช่น นพ.กระแส ชนะวงศ์ อดีต กมธ.ยกร่างฯ แต่ครั้งนี้ยังนึกไม่ออก ส่วนนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ไม่อยากนึกถึงเพราะเคยบอกว่าไม่อยากจะเป็น หรือกรณี พล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ อดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญ มีความเหมาะสมเป็นประธาน กรธ.หรือไม่นั้น ไม่กล้าพูดว่าเหมาะสมหรือไม่ เพราะจะกลายเป็นการชี้นำ แต่ พล.อ.จิระเป็นเจ้ากรม พระธรรมนูญเก่า เป็นทหารนักกฎหมายที่เก่ง 

      เมื่อถามถึงกรณีเคยเปรียบกับเรื่องรามเกียรติ์เกี่ยวกับการยกเมืองพี่ให้กับน้องนั้น หมายรวมถึงนายมีชัยด้วยหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ตนเป็นญาติกับนายบวรศักดิ์ แต่นายมีชัยนั้นไม่ได้เป็นญาติกัน

@ แย้มร่างใหม่อาจมีคปป.อีก

     เมื่อถามว่าในวันที่ 22 กันยายน จะได้รายชื่อ กรธ.ใช่หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า เท่าที่ฟังดู อาจจะได้รายชื่อแต่ยังไม่ประกาศ เพราะวันที่ 23 กันยายน นายกฯไปต่างประเทศไม่อยู่ และนายกฯบอกว่าถ้าได้แล้ว ประกาศได้ก็ประกาศ แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องรอการตอบรับก็ไม่เป็นไร ถือว่าได้รายชื่อแล้ว รอให้นายกฯกลับมาลงนามแล้วประกาศก็ได้ แต่ควรก่อนวันที่ 6 ตุลาคม ตามกำหนด เมื่อประกาศแล้วจะนับเวลาทันที 180 วันในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ แม้จะห้ามผู้ที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองภายใน 3 ปีมาเป็น กรธ. แต่สามารถเปิดรับความคิดเห็นได้ และควรจะเปิดกว้างให้มากกว่าที่ผ่านมา 

      เมื่อถามว่า การมีองค์กรมาคอยควบคุมรัฐบาล จะถูกมองว่าไม่เป็นประชาธิปไตยเหมือนกับที่มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ (คปป.) ก่อนหน้านี้หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ถ้าครอบงำรัฐบาลถือว่าไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ที่ผ่านมาไม่เห็นว่าเป็นการครอบงำ เพราะถ้าสงสัยอะไรให้ถามไป แล้วให้ตอบว่าถูกหรือผิด ถ้าผิดจะได้ไม่ต้องทำ ทุกวันนี้หากไม่มีอะไรมาตอบคำถามถูกหรือผิด ก็ไม่รู้ พอทำไปหากผิดขึ้นมาอาจจะนำไปสู่การถอดถอน บ้านเมืองจะเกิดช่องว่าง หรือบางครั้งเมื่อไม่มีคนตอบเลย ไม่มีใครกล้าทำทั้งที่ความจริงเป็นสิ่งที่ถูกทำให้พลาดโอกาสอย่างน่าเสียดาย ก่อนหน้านี้เคยนึกว่าไม่ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ แต่เพราะกลัวจะถูกกล่าวหาว่าครอบงำจึงถามสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่สำนักงานกฤษฎีกาก็ไม่กล้าตอบเรื่องรัฐธรรมนูญ เพราะกลัวหน้าแตก เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญเห็นแย้ง ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้ว เมื่อไม่ตอบรัฐบาลและองค์กรอิสระก็ไม่มีที่พึ่ง ดังนั้น จึงไม่คิดว่าเป็นการครอบงำ ยกร่างใหม่ก็อยากให้มีอันนี้อีก

@ ชี้ยำรธน.3 ฉบับช่วยยกร่างเร็ว 

     เมื่อถามว่าการร่างรัฐธรรมนูญให้เร็วจะใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาเป็นตัวตั้ง นายวิษณุกล่าวว่า ถ้าหยิบฉบับใดฉบับหนึ่งขึ้นมาเลยก็เร็ว ทำเพียง 7 วันสามารถเสร็จได้ แต่จะตอบโจทย์อื่นไม่ได้ เช่น หยิบรัฐธรรมนูญปี 2550 ขึ้นมา แล้วจะยึดอำนาจทำไม นายบวรศักดิ์ซึ่งมีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญปี 2540 ก็ยังไม่หยิบฉบับดังกล่าวมาใช้ หาก กรธ.ไปยกปี 2540 ขึ้นมาจะอธิบายกับสังคมอย่างไร ดังนั้น จึงควรหยิบบางส่วนของ 2540 และ 2550 และร่างของปี 2558 ที่แก้ปัญหาบางอย่างแล้ว นำส่วนดีของแต่ละฉบับเข้ามา ตรงนี้เป็นความเห็นส่วนตัวที่จะทำให้เร็วขึ้นได้และออกมาดูดีด้วย

      นายประสพสุข บุญเดช อดีตที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ระบุว่า หากร่างรัฐธรรมนูญที่จะร่างใหม่ทำประชามติไม่ผ่าน จะนำส่วนดีของรัฐธรรมนูญปี 2540 ปี 2550 และร่างของ กมธ.ยกร่างฯมาผสมผสานเพื่อยกร่างใหม่ว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่เชื่อว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับของ กรธ.น่าจะผ่านประชามติได้ เพราะ กรธ.น่าจะนำเอาเนื้อหาสาระที่ดีมาบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนประเด็นที่เป็นจุดบกพร่องหรือข้อโต้แย้งกันในสังคม คงจะตัดทิ้งเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา 

@ "วิษณุ"แจงคณะทูตเลือกตั้งมิ.ย.60 

      ต่อมาที่กระทรวงการต่างประเทศ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวชี้แจงต่อคณะทูตานุทูต 66 ประเทศถึงโรดแมปและกระบวนทางการเมืองไทยว่า การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามโรดแมปต่อจากนี้ คือ 6-4 6-4 การเลือกตั้งน่าจะมีขึ้นในเดือนมิถุนายน 2560 และหลังจากนั้นจะมีการตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้นภายใน 1 เดือน คือในกรกฎาคม 2560 อย่างไรก็ตาม หากพูดตามโรดแมป 6-4 6-4 หรือระยะเวลา 20 เดือนหลังจากนี้ อาจจะดูยาวนานเกินไป แต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องนั้นสามารถย่นระยะเวลาในการดำเนินการโรดแมปแต่ละขั้นตอนให้สั้นลงได้ โดยคาดว่าโรดแมปอาจจะเหลือประมาณ 16-18 เดือน

@ แจงไอพียูสภาไทยทำงานเต็มที่

     นายวิษณุ ให้สัมภาษณ์อีกครั้งภายหลังนายซาเบร์ โฮซเซน เชาว์ดรี ประธานสหภาพรัฐสภา (ไอพียู) เข้าพบในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการว่า นายซาเบร์ได้แสดงความเข้าใจในสถานการณ์การเมืองไทย และได้แจ้งต่อนายซาเบร์ว่าแม้ขณะนี้จะเป็นยุคของสภาที่มาจากการแต่งตั้ง แต่สมาชิกสภายังสามารถทำหน้าที่ได้ด้วยการทำงานใกล้ชิดกับประชาชน สามารถรับฟังความเห็นจากประชาชน 

      ตนเคยทำงานกับรัฐบาลจากการเลือกตั้ง วันนี้มาอยู่ในรัฐบาลจากการแต่งตั้ง อาจเทียบกันไม่ได้ แต่สภาในยุคปัจจุบันก็ทำหน้าที่อย่างเต็มที่และไม่ได้อนุโลมหรือผ่อนปรนตามรัฐบาลทุกครั้ง เพียงแต่ท่าทีจะนุ่มนวลกว่าเท่านั้น 

      นายวิษณุ ยังกล่าวถึงกรณีนายมาร์ค เคนท์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย เผยแพร่ข้อความผ่านบล็อกของกระทรวงต่างประเทศสหราชอาณาจักร ทำนองว่าประชาธิปไตยของไทยดูห่างไกลออกไปกว่าเดิมว่า ได้อ่านแล้วถือว่าดี เป็นการแสดงความเห็นกลางๆ ตามภาษาของคนที่เป็นห่วง ซึ่งไทยก็มีความเป็นห่วงเรื่องนี้เช่นกัน และจะพยายามทำให้ดีที่สุด เหมือนนายซาเบร์ในครั้งแรกยังไม่เข้าใจสถานการณ์ไทยว่าทำไมต้องยืดระยะเวลารัฐบาลนี้ไปอีก 20 เดือน แต่หลังจากได้ชี้แจงก็เกิดความเข้าใจไทยมากขึ้น 

@ ดึงตัวแทนพรรคใหญ่ร่วมสปท.

     เมื่อถามถึงสัดส่วนพรรคการเมืองที่จะเข้ามานั่งใน กรธ. นายวิษณุกล่าวว่า ใน กรธ.ไม่มีสัดส่วนของพรรคการเมือง ไมเหมือนกับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ซึ่งมีการเชิญพรรคการเมืองเข้าร่วมบ้างบางส่วนแล้ว โดยจะเน้นไปที่พรรคการเมืองใหญ่ที่มีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนพรรคใดจะไม่ส่งเข้าร่วมก็ไม่เป็นไร สำหรับสัดส่วนการคัดสรร กรธ. คณะรัฐมนตรี (ครม.) คงไม่เสนอความเห็นใด โดยตนอาจเป็นตัวประสานหากรัฐบาลจะดึงใครเข้ามา แต่ยังไม่ขอเปิดเผยในขณะนี้ เพราะเกรงว่าบุคคลนั้นจะปฏิเสธไม่เข้าร่วม

@ "ชูศักดิ์"แนะร่างอย่าเกิน 3 เดือน

     นายชูศักดิ์ ศิรินิล หัวหน้าคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิด พล.อ.ประยุทธ์ว่า การนำรัฐธรรมนูญปี 2540 ปี 2550 และร่างรัฐธรรมนูญของ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญมาเป็นต้นแบบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นเรื่องที่ทำได้ แต่ปัญหาคือจะปรับให้เข้ากันอย่างไร และจะเลือกเอาส่วนใดมาใช้ ขึ้นอยู่กับการกำหนดโครงสร้างรัฐธรรมนูญของผู้ร่างว่า ต้องการให้ทิศทางของประเทศเดินไปอย่างไร 

      ทั้งนี้ หากจะนำรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับมาพิจารณาเพื่อยกร่างฉบับใหม่ ผู้ร่างต้องยอมรับถึงข้อดีของรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 เสียก่อน เพื่อนำเอาส่วนนั้นมากำหนดเป็นโครงสร้างของรัฐธรรมนูญ แต่ส่วนใดที่ขาดหายไป หรือยังเป็นจุดอ่อนก็นำเอาเนื้อหาของร่างฉบับที่ตกไปเสริมเข้าไป แต่ต้องเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ยอมรับได้ เช่น ระบบเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ใช้ระบบเดียวกัน แต่ต่างกันที่จำนวน ส.ส. เป็นระบบที่สร้างความเข้มแข็งให้กับรัฐบาลถือเป็นเรื่องดี การจะมาเปลี่ยนระบบใหม่ทำให้รัฐบาลอ่อนแอ จึงไม่ถูกต้อง หรือเรื่องการตรวจสอบอำนาจรัฐ ในรัฐธรรมนูญปี 2550 ก็ได้แก้ไขจุดอ่อนของปี 2540 มาแล้ว ถือว่าใช้ได้ แต่จะเอาระบบตรวจสอบตามร่างฉบับที่ตกไป ชนิดที่รัฐบาลทำอะไรไม่ได้ เป็นรัฐบาลเป็ดง่อย ก็ไม่ควร หรือกรณีการเปิดโอกาสให้บุคคลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเป็นนายกฯ เป็นความคิดที่สวนทางกับการตกผลึกของประชาชนมาแล้ว 

      นายชูศักดิ์ กล่าวว่า ประเด็นสำคัญ ต้องจัดวางโครงสร้างให้การใช้อำนาจทั้ง 3 ส่วน นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ มีความเชื่อมโยงกับอำนาจของประชาชนด้วย และมีการถ่วงดุลอำนาจในระดับที่เหมาะสม ทั้งหมดขึ้นอยู่ที่ว่าผู้ยกร่างต้องเปิดใจกว้าง ยอมรับฟังความเห็นจากฝ่ายต่างๆ ด้วย นอกจากนี้การร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่ควรใช้เวลานานเกิน 3 เดือน เพราะมีต้นแบบอยู่แล้ว

@ บิ๊กป้อมรับมีโควต้าสปท.ตามโผ 

       พล.อ.ประวิตรให้สัมภาษณ์ถึงสัดส่วนที่นั่ง สปช.ที่กำหนดโควต้า สปช.เก่า 60 คน ทหาร 50 ที่นั่ง ที่เหลือกระจายเป็นโควต้าอดีตข้าราชการ 20 คน ข้าราชการประจำ 20 คน นักกฎหมาย 10 คน นักวิชาการ 10 คน นักธุรกิจ 10 คน และอื่นๆ 20 คน ตามการเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ "มติชน" ว่า "นั่นแหละใช่ ประมาณนั้น มีทหาร มี สปช.เดิม มีภาคการเมือง โดยมีคุณสมบัติว่าให้ฝ่ายการเมืองส่งมา ส่งมาจากแต่ละพรรค แล้วมาคัดดู เอาพอประมาณ ไม่ได้เอามาก ซึ่งก็มีส่งมากันบ้างแล้ว และมีจากนักวิชาการ และหลากหลายอาชีพ มีนักกฎหมายเข้ามาด้วย เพราะเรื่องการปฏิรูปต้องมีนักกฎหมายมาช่วย" 

เมื่อถามว่าเอกอัครราชทูตประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ มีความเป็นห่วงประชาธิปไตยของไทย พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ประชาธิปไตยของไทย อย่างนี้คิดว่าก็ดีที่สุดแล้ว ทำให้เกิดความสงบและพยายามทำประชาธิปไตย และไม่เห็นว่านายกฯใช้อำนาจอะไรมากมาย โดยพยายามทำให้ทุกส่วนเป็นประชาธิปไตยอยู่แล้ว ไม่ใช่เวลาจะมาทำให้เกิดความขัดแย้ง

@ ค้านอดีตกมธ.ยกร่างนั่งกรธ.

     ที่รัฐสภา นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าว พล.อ.ประยุทธ์มอบหมายให้คัดเลือก สนช.ที่จะเข้าไปเป็น กรธ.ว่า ข่าวก็ว่ากันไป แต่นายกฯไม่ได้มอบหมายให้ทำหน้าที่คัดเลือกเลย ส่วนจะมีสมาชิก สนช.เข้าไปเป็น กรธ.หรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของนายกฯ แต่มองว่า สนช.ทั้ง 5 คนที่เคยเป็น กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญมาแล้ว ไม่ควรเข้ามาทำหน้าที่อีก แต่ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกฯ 

เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรีระบุว่าจะไม่ให้ตัวแทนพรรคการเมืองเข้าร่วม กรธ.ด้วย นายพรเพชรกล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดเงื่อนไขบุคคลที่จะเป็น กรธ.ไว้เหมือนกับ กมธ.ยกร่างฯ ซึ่งกำหนดบุคคลเป็น กมธ.ยกร่างฯไว้อย่างไรก็ต้องห้ามเช่นกัน 

@ เฟ้นส่งชื่อ 3 สนช.นั่งกรธ.

      ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวกรณี สนช.จะส่งตัวแทนไปร่วมเป็น กรธ.ว่า ในช่วงที่ผ่านมานายพรเพชรได้เริ่มติดต่อทาบทามสมาชิก สนช.บางส่วนให้ไปร่วมเป็น กรธ. อาทิ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ นายกล้านรงค์ จันทิก น.ส.พรทิพย์ จาละ นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน เนื่องจากเป็นผู้มีคุณสมบัติเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย มีประสบการณ์ทำงานในการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่บุคคลเหล่านี้ยังแบ่งรับแบ่งสู้ ทำให้นายพรเพชรยังต้องรอคำตอบที่ชัดเจนก่อนส่งรายชื่อตัวแทน สนช. 3 คน ไปให้ พล.อ.ประยุทธ์ต่อไป 

      นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิก สนช. กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า สนช.ยังไม่มีการหารือเรื่องการส่งตัวแทนไปเป็น กรธ. คาดว่านายพรเพชรจะเป็นผู้คัดเลือกเองทั้งหมด จากเดิมที่ให้สมาชิก สนช.ลงมติคัดเลือก ส่วนตัวมองว่าสมาชิก สนช.ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมไปเป็น กรธ. คือนายชูเกียรติ นายทวีศักดิ์ และ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม เพราะมีความรู้และความสามารถทางด้านกฎหมาย นอกจากนี้ทั้ง 3 คนเคยสมัครเป็น กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญในครั้งก่อน แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก

@ สดศรีจี้แก้รธน.ชั่วคราวให้ชัด

     นางสดศรี สัตยธรรม อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะหารือเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 37 วรรค 7 เรื่องการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 22 กันยายนนี้ ว่า มีความจำเป็นต้องปรับแก้ไขมาตรา 37 วรรค 7 เกี่ยวกับการโหวตรับร่างรัฐธรรมนูญให้เกิดความถูกต้องและชัดเจน เพราะข้อความที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) เวลานี้กำหนดให้ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านประชามติได้ ต้องได้เสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงนั้น จะแปรความหมายเป็นเสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิไม่ได้ เนื่องจากมีความหมายแตกต่างกัน ดังนั้น ควรปรับแก้ไขข้อความให้เกิดความชัดเจน เพราะหาก กรธ.ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ต้องมีการทำประชามติทันที และอยากเสนอด้วยว่าควรเขียนเพิ่มเติมว่า หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการทำประชามติ จะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป จะหยิบยกเอารัฐธรรมนูญ ปี 2540 หรือ 2550 มาใช้ หรือจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่เป็นครั้งที่ 3 ก็ต้องเขียนระบุไว้ให้ชัดเจนด้วย 

        นายตวง อันทะไชย สมาชิก สนช. กล่าวถึงการแก้ไขประเด็นความชัดเจนเรื่องประชามติในรัฐธรรมนูญชั่วคราวว่า เห็นด้วยที่จะมีการแก้ไขให้เกิดความชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดการตีความคะแนนเสียงประชามติว่า จะมาจากเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิ หรือผู้มาใช้สิทธิ อีกทั้งขณะเดียวกันรัฐธรรมนูญชั่วคราว แก้ไขเพิ่มเติมปี 2558 ก็ไม่ได้บัญญัติไว้ว่า หากประชามติไม่ผ่านอีกจะทำอย่างไร จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรแก้ไข

@ ปชป.ขอคสช.รับฟังความเห็น

      นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก ปชป. ให้สัมภาษณ์กรณี คสช.เรียกบุคคลที่แสดงความเห็นต่างทางการเมืองเข้าไปปรับทัศนคติว่า เวลานี้อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะใช้เป็นกติกาให้ทุกคนในประเทศปฏิบัติตาม คสช.และรัฐบาล ดังนั้น คสช.ควรเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายแสดงความเห็น เพราะถ้าปิดกั้นอาจทำให้คนรู้สึกอึดอัด หากแสดงความเห็นเพราะหวังดีต่อประเทศด้วยใจบริสุทธิ์ ก็ไม่ควรไปปิดกั้น และถ้ายังปิดกั้นชนิดที่ว่าใครพูดอะไรโดนเรียกไปปรับทัศนคติหมด จะยิ่งส่งผลเสียกับรัฐบาลเอง จนอาจกระทบต่อการทำประชามติในอนาคตได้ 

@ วรชัยถามบิ๊กตู่ส่งทหารมาบ้าน

       นายวรชัย เหมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า เมื่อช่วงเวลาประมาณ 11.30 น. วันที่ 16 กันยายน มีทหารแต่งชุดลายพรางรวม 6 นาย เดินทางมาที่บ้านพักจังหวัดสมุทรปราการ โดยจอดรถซุ่มไว้ข้างบ้าน โดยถามคนในบ้านว่าตนหายไปไหน เมื่อคนที่บ้านบอกว่าออกไปต่างจังหวัด ทหารกลุ่มดังกล่าวได้เข้ามาถ่ายรูปรถยนต์และบ้านพักจากนั้นเดินทางกลับไป โดยไม่ยอมแจ้งสังกัด อ้างแต่เพียงว่าเจ้านายให้มาเยี่ยม สิ่งที่เกิดขึ้นสร้างความตื่นตระหนกให้กับเพื่อนบ้านที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงอย่างมาก ถือเป็นการคุกคามสิทธิของประชาชนหรือไม่ 

      อยากถาม พล.อ.ประยุทธ์ ส่งทหารมาที่บ้านของผมทำไม เพื่ออะไร หากอยากจะจับตัวหรือจะเรียกไปเพื่อปรับทัศนคติ ก็แค่ให้ทหารโทรเข้ามาหาผมก็ได้ ผมก็พร้อมจะไปรายงานตัวทันที แต่ไม่จำเป็นต้องทำแบบนี้เลย นายวรชัยกล่าว

@ "ประวิตร"ลาออก"เนชั่น"

      ด้านนายประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส เครือเนชั่น ซึ่งได้รับการปล่อยตัวจากถูกเรียกปรับทัศนคติจากการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล เปิดเผยว่า ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นพนักงานตำแหน่งผู้สื่อข่าวอาวุโสในกลุ่มเครือเนชั่นแล้ว โดยจะมีผลในสิ้นเดือนกันยายนนี้ เนื่องจากมีแรงกดดันจากหลายฝ่ายมายังผู้บริหาร ต่อประเด็นการทำหน้าที่ ยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้องกับกระแสข่าวกรณีนายกนก รัตน์วงศ์สกุล เพื่อนร่วมวิชาชีพในเครือเดียวกันออกมาแสดงความคิดเห็นทางโซเชียลมีเดียถึงความไม่พอใจการเคลื่อนไหวของตน 

        นายประวิตรยังได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว Pravit Rojanaphruk ระบุว่า "ผมตัดสินใจลาออกจาก นสพ.เดอะเนชั่นแล้ว หลังจากพูดคุยกับผู้บริหารเพื่อลดแรงกดดันจากทุกทิศต่อองค์กรที่ผมรัก เหลือเพียงค่าชดเชยที่ยังต้องต่อรองเพื่อให้เป็นธรรม ขอบคุณ นสพ.เดอะเนชั่น สำหรับเวลา 23 ปีที่อยู่ร่วมกัน" 

นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล กรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ที่ให้ความสำคัญในบทบาทของสมาคมสื่อ โดยเฉพาะบทบาทในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทย แต่การกล่าวโทษว่าสื่อไม่มีจรรยาบรรณ อีกทั้งสมาคมสื่อก็ไม่มีความสามารถที่จะควบคุมดูแลกันได้นั้น เป็นคนละเรื่อง คนละประเด็นกัน เพราะข้อกล่าวหาว่าสื่อเขียนข่าวให้ดูรุนแรงขึ้น หรือคำชื่นชมสื่อที่เขียนข่าวดีแล้ว ในความเห็นของนายกฯไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่นประเทศไทยมากกว่าข้อเท็จจริงในผลงานของรัฐบาล หรือประสิทธิภาพในการบริหารประเทศของผู้นำเอง

"ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้บิดเบือนไม่ได้ พูดให้คนเชื่อไม่ได้ เขียนให้คนเชื่อไม่ได้ ถ้าไม่ได้มาจากความเป็นจริง หลักจริยธรรมเราชัดเจนว่า การเขียนข่าวต้องยึดถือข้อเท็จจริง ถูกต้องแม่นยำ และครบถ้วน ประการสำคัญต้องให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย สมาคมสื่อไม่อาจก้าวล่วงเข้าไปในการทำงานของสื่อใดๆ หากพวกเขาละเมิดหลักการนี้ ก็เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคข่าวสาร สังคมทั่วไปจะตรวจสอบเอง" นายจักร์กฤษกล่าว

@ จำคุกแกนนปช.คดีบุกบ้านสี่เสาฯ

      เมื่อวันที่ 16 กันยายน ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ฟ้องนายนพรุจ หรือนพรุฒ วรชิตวุฒิกุล นายวีระศักดิ์ เหมะธุลิน นายวันชัย นาพุทธา นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และแกนนำ นปช. ได้แก่ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท และ นพ.เหวง โตจิราการ เป็นจำเลยที่ 1-7 ฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป โดยมีมีดดาบ มีดดายหญ้า มีดปลายแหลม มีดพก หลายเล่มเป็นอาวุธ ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายและกระทำการให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยมีจำเลยกับพวกซึ่งยังไม่ได้ตัวมาฟ้องเป็นหัวหน้าและมีหน้าที่สั่งการ ใช้ ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางและทำร้ายเจ้าพนักงาน กรณีเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2550 แกนนำและแนวร่วม นปช. นำขบวนผู้ชุมนุมหลายพันคนจากเวทีปราศรัยเคลื่อนจากสนามหลวง ไปยังบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เพื่อกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง

โดยวันนี้จำเลยที่ 1-3 และ 5-7 เดินทางมาศาล ขณะที่นายวีระกานต์ จำเลยที่ 4 มอบให้ผู้แทนนำใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลตำรวจยื่นต่อศาล เพื่อขอเลื่อนฟังคำพิพากษาออกไปก่อน เนื่องจากมีอาการป่วยเลือดออกในลำไส้ ศาลสอบถามโจทก์แล้วไม่คัดค้าน พิจารณาแล้วอนุญาตให้เลื่อนอ่านคำพิพากษาเฉพาะของจำเลยที่ 4 ออกไปเป็นวันที่ 30 กันยายน และให้อ่านคำพิพากษาของจำเลยที่เหลือในวันนี้ 

      ศาลพิเคราะห์คดีแล้วมีคำพิพากษาว่า นายนพรุจ จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ จำคุก 4 ปี ส่วนนายวีระกานต์ นายณัฐวุฒิ นายวิภูแถลง และ นพ.เหวง จำเลยที่ 4-7 มีความผิดฐานมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญ โดยกระทำความผิดเป็นหัวหน้า ลงโทษจำคุกคนละ 3 ปี ฐานเมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมให้เลิก แต่ไม่เลิก จำคุกคนละ 2 ปี และฐานเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน จำคุกคนละ 1 ปี 6 เดือน รวมเป็น 6 ปี 6 เดือน แต่ในทางพิจารณาเป็นประโยชน์อยู่บ้าง ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 2 ปี 8 เดือน และให้จำคุกจำเลยที่ 4-7 คนละ 4 ปี 4 เดือน ยกฟ้องจำเลยที่ 2-3 

      ต่อมาเวลา 12.30 น. ทนายความและญาติของจำเลยได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสด คนละ 500,000 บาท ขอปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้ง 4 คน ระหว่างอุทธรณ์คดี ต่อมาศาลพิจารณาอนุมัติให้ประกันตัว

 

วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558 ปีที่ 25 ฉบับที่ 9059 ข่าวสดรายวัน


ตัดสินคดีบ้าน'ป๋า' จำคุก4ปี ณัฐวุฒิ-วีระ-เหวง  
ไม่รออาญา-ได้ประกัน วิษณุแจงโรดแม็ป'ทูต' เล็งหั่นเหลือ 16-18 ด. ป้อมชี้สปท.มีทหาร 50


กินข้าวสื่อ - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ร่วมโต๊ะอาหารกลางวันกับสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ที่บริเวณห้องโถง ตึกสันติไมตรี เมื่อวันที่ 16 ก.ย.

 

      คดีล้อมบ้าน 'สี่เสาเทเวศร์' ศาลสั่งคุก 4 ปี ไม่รอลงอาญา'วีระ-เต้น-เหวง-วิภูแถลง' ก่อนให้ประกัน วิษณุแจงคณะทูตปมโรดแม็ป 20 เดือน เผยหั่นเวลาได้ น่าจะเหลือ 16-18 เดือน แจงทูตผู้ดีชี้ไทยห่างปชต. แค่เป็นห่วง พร้อมย้ำรธน.ยังต้องมี'คปป.' บิ๊กป้อมยอมรับโควตา 'สปท.' มี 50 ทหารร่วมนั่ง บิ๊กตู่ใช้ ม.44 ต่ออายุ 'ปานเทพ'จนกว่าจะสรรหาป.ป.ช.ใหม่

 

'บิ๊กตู่'หม่ำมื้อเที่ยงร่วมกับสื่อ

     เมื่อวันที่ 16 ก.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

      ทั้งนี้ คาดว่าจะหารือทั้งมาตรการรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง แนวทางปฏิบัติงานตามมาตรการและยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น และการพิจารณาอนุมัติแบ่งกลุ่มประเภทของอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 7 กลุ่ม เช่น อุตสาหกรรมไอที ชิ้นส่วนยานยนต์ สิ่งทอ แปรรูปสินค้าเกษตร เครื่องใช้ไฟฟ้า ปิโตร เคมี และสินค้าพิเศษ รวมทั้งขอให้เพิ่มมาตรการเข้มงวดในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่มีพื้นที่จังหวัดติดต่อกับชายแดน เช่น เชียงใหม่ สระแก้ว เนื่องจากมีด่านเข้า-ออกสำคัญด้วย

       จากนั้นที่ตึกสันติไมตรี พล.อ.ประยุทธ์ นายสมคิด ร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับสื่อมวลชนประจำทำเนียบ ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 4 หลังรับตำแหน่งอย่างเป็นทางการสำหรับอาหารกลางวันครั้งนี้ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้จัดข้าวเหนียว ไก่ย่างเขาสวนกวาง ข้าวขาหมูตรอกซุง ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟวัดแขก ขนมจีนแกงเขียวหวานปลากรายป้าน้อย ถนนดินสอ ลอดช่องวัดเจษ ไอศกรีมมหาชัย ผลไม้

เล่าอดีตสมัยยังเด็ก

      พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวระหว่างร่วมรับประทานอาหารตอนหนึ่งว่า วันนี้อยากทานอะไรเปรี้ยวๆ เป็นคนที่ทานง่าย ตั้งแต่เด็ก พ่อสอนให้ทำทุกอย่างตั้งแต่รีดผ้า แต่วันนี้มีคนมาคอยดูแลให้ จะได้มีแรงทำงานต่างๆ ให้กับประเทศ ไม่เคยคิดทำเพื่อตัวเอง และยอมรับว่าพ่อเป็นคนดุ ถ้าไม่ดุป่านนี้เสียคนไปแล้ว ถ้าทำผิดก็ตี ส่วนแม่ใจดีซึ่งตอนนี้ป่วยเป็นไปตามวัย 92 ปี สำหรับตนสอนลูกก็มีตีบ้าง แต่ตอนนี้โตแล้ว ซึ่งสอนเราไปในตัวและทบทวนด้วยว่าลูกยังคิดไม่เหมือนเรา แล้วจะให้คนอื่นมาคิดแบบเราทั้งหมดคงไม่ได้ สิ่งที่เราพูดและรัฐบาลทำ อาจจะไม่ถูกใจใครก็ได้ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ร่วมมือแล้วมันจะได้ได้อย่างไร ฉะนั้นต้องไปหาทางออกมา

"ปัญหามันผูกพันกับคนทั้งประเทศ ถ้าคุยกันรู้เรื่อง ป่านนี้ไปได้ตั้งนานแล้ว อย่ามัวแต่คิดเรื่องตัวเอง แต่โทษไม่ได้ เขายังยากจนอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องปวดหัวให้ทั้งผมและคุณสมคิด มานั่งคิดแก้ปัญหาอยู่ขณะนี้ คิดตลอดวันตลอดคืน จนท่านสมคิดเป็นห่วง ไม่อยากให้เครียด แต่สิ่งที่ผมเป็นห่วงมากคือเวลาข่าวออกไปต่างประเทศแล้วมันแก้ลำบาก ความเป็นจริงเราควรแก้ปัญหาของเรา" นายกฯ กล่าว

เผยอีกเมียดุ-ที่บ้านห้ามโมโห

     พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันนี้เกือบไม่ได้ลงมาร่วมทานอาหารด้วยแล้วเพราะยังรู้สึก งอนๆ อยู่ ตนโชคดีที่คนข้างๆ ทั้งนายสมคิด พล.อ.สุรศักดิ์ และพล.อ.วิลาศ เป็นคนใจเย็น มีตนใจร้อนอยู่คนเดียว

เมื่อถามว่าเวลานายกฯ ใจร้อน เผลอหลุดคำพูดต่างๆ ออกมา ภริยาดุหรือตำหนิบ้างหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ตนดุก่อน แต่พอเขาดุมาตนก็สู้ไม่ได้ ก็เงียบ เขาเป็นอาจารย์ ตนเป็นลูกศิษย์

       ผู้สื่อข่าวกระเซ้าว่าเจอคนที่นายกฯ กลัวที่สุดในประเทศ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ไม่กลัวหรือ ต้องเกรงใจด้วย ในบ้านโมโหไม่ได้อยู่แล้ว ยิ่งวันนี้เราโมโหไม่ได้เลย พอเข้าบ้านเราอยากให้บ้านเราสงบสุขสบายใจ

ลั่นพร้อมแจงในเวทียูเอ็น

     เมื่อถามว่าในงานประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นจีเอ) ในวันที่ 23 ก.ย. - 1 ต.ค. นี้จะพบสื่อต่างประเทศหรือไม่ พล.อ. ประยุทธ์กล่าวว่า ถ้าพบได้ก็พบ ให้เขาทำเรื่องมา แต่ไม่รู้จะมีเวลาหรือเปล่า ไม่เคยกลัวนักข่าวอยู่แล้ว ส่วนหัวข้อที่จะพูดในการประชุมยูเอ็นนั้น เลือก 2 หัวข้อที่ตรงกับของเรา คือการแก้ปัญหาความยากจนและความยั่งยืน

     เมื่อถามว่า การเดินหน้าตามโรดแม็ปจะพูดให้ประชาคมโลกฟังในเวทียูเอ็นหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ไม่อยู่ในวาระ จะพูด 2-3 ประโยคก็ไม่ได้เพราะไม่ได้อยู่ในวาระ เราก็พูดแค่ว่าเราทำเต็มที่ขับเคลื่อนประเทศ ไทยไปสู่การเป็นประชาธิปไตย ทุกอย่างตามโรดแม็ป ตนไม่ได้อยากครองอำนาจ

"ผมมาทำให้ ซึ่งเพื่อนผมก็มาลำบากกับผมด้วย รัฐมนตรีทุกคนเขาไม่ได้มาขอผมเป็นซักคน ผมเป็นคนเลือกเขาเอง ไม่มีใครมาวิ่งเต้น ผมดูว่าใครดีก็เชิญเขามา ที่ผ่านมาปัญหามันเยอะ วันนี้ยังเยอะอยู่ ลงไปจับข้างล่างก็เยอะกว่าเดิมอีก ผมอยากให้บ้านเราสงบสุข กลับไปนั่งดูทีวีอย่างสบายใจ ทุกวันนี้ดูทีวีไปก็เขียนงานไป กลัวจะลืม ไม่ทันเวลา ต้องการให้ดูว่าเราทำงานให้เร็ว ให้เสร็จ ถ้าอยากอยู่ในอำนาจนาน ก็ทำไปเรื่อยๆ ทำติ๊งต๊องไปเรื่อยๆ ไม่ต้องสั่งมาก ประชุมครม.ชั่วโมงเดียวก็เสร็จแล้ว นี่พูด 3-4 ชั่วโมง เริ่มเป็นร้อยเรื่องให้ไปถามข้าราชการว่าวันนี้เป็นอย่างไรบ้าง ต่างกันหรือไม่ ผมไม่ได้ว่าใครดี ไม่ดี ผมขี้เกียจทะเลาะกับคนแล้ว ส่วนตัวไม่ได้รังเกียจรังงอนใคร ไม่คิดไปสร้างฐานอำนาจ" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

ย้ำต้องไม่ให้เกิดปฏิวัติอีก

      ผู้สื่อข่าวถามว่า โรดแม็ปยืดเวลาไปอีก 20 เดือน คนจะเบื่อหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ไม่ต้องมาเบื่อตน ทุกวันนี้ก็เบื่อตัวเองอยู่แล้ว ปัญหาทับซ้อน พร้อมส่งต่อให้คนในวันหน้า แต่ต้องถามว่าเขาจะทำหรือไม่ ส่วนโควตาสัดส่วนสภารับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ตนปรับทุกวัน และตอนนี้ยังไม่มีประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)

      เมื่อถามว่าทหารจะเข้ามาอีกในอนาคตหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ไม่มีแล้ว เพราะสถานการณ์เปลี่ยน โลกล้อมประเทศอยู่ ใครจะเข้ามา ต้องพยายามไม่ให้เกิดขึ้นอีก หากเกิดสถานการณ์เหมือนเดิมอีกก็ไม่เกี่ยว กลับบ้านแล้ว เรื่องทุกอย่างขึ้นอยู่กับทุกคน ไม่ต้องมากลัวนายกฯคนนอก ตนไม่เป็นแน่นอน ตนรู้ทำอะไรได้แค่ไหน ถ้าทำ เสร็จก็จบในห้วงที่ตนอยู่ ถ้าไม่เสร็จก็หาคนมาทำใหม่ ส่วนการร่นระยะเวลาโรดแม็ป นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ประเมินให้ฟังในฐานะนักกฎหมายว่าลดได้แค่ไหน ก็บอกไปว่าลดได้ก็ลด ไม่ใช่ตนไปสั่ง แต่ถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ก็คิดไม่ออกเหมือนกันว่าจะทำอย่างไร

ด้านนายสมคิด ให้สัมภาษณ์ถึงข้อกังวลที่เข้ามาในช่วงนี้ว่า ไม่กังวล เพราะเข้ามาทำเพื่อประเทศชาติ และเพื่อนายกฯ

ย้ำเข้ามายุติขัดแย้ง

       ที่โรมแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวมอบนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนประเทศไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่แก่ผู้ว่าฯใหม่ ของกระทรวงมหาดไทย โดยใช้เวลายาวนานถึง 2 ชั่วโมง โดยมีพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย และนายสุธี มากบุญ รมช.มหาดไทย ต้อนรับ

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ไม่ได้อยากจะอยู่เลย ไม่รู้ว่าถูกหรือผิดที่เข้ามาทำงานตรงนี้ ครั้งแรกเข้ามาเพราะมีความจำเป็น ถ้าตัดสินใจช้าไปนิดเดียวการต่อสู้ของคนทั้งสองฝ่ายจะเกิดขึ้นทันที เหตุการณ์แตกต่างจากปี 2553 เมื่อปี 2553 ตนก็ทำหน้าที่ตรงนั้น เป็นผู้แทนทหารร่วมมือกันแก้ปัญหา ครั้งนั้นเป็นการกระทำของคนฝ่ายหนึ่งกับราชการ ใช้อาวุธยิงเข้าคลังน้ำมัน กระทรวงกลาโหม วัดพระแก้ว แล้วกล่าวหาว่าทหารเป็นคนยิงเอง จะบ้าหรือทหารไม่ทำอยู่แล้ว ก็ติดคุกติดตะรางกันไปบ้างแล้ว รวมทั้งเรื่องล้มการประชุมอาเซียน ขายขี้หน้ามาถึงทุกวันนี้ แต่เหตุการณ์เมื่อปี 2556-2557 แตกต่างกัน ตนพยายามจะพูดให้เบาที่สุด แต่จำเป็นต้องพูดเพื่อหยุดความขัดแย้งให้ได้ ถ้าตนช้าแล้ว 2 ฝ่ายตีกันเมื่อไรก็ต้องเอากำลังมาสู้กับคนทั้ง 2 ฝ่าย แต่วันนี้เราก็ผ่านมาได้แล้วอย่าให้กลับไปยืนอยู่ที่เดิม กันอีก

ลั่นไม่เอาปชต.แบบนักการเมือง

      "วันนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องของประชาธิปไตยแบบเดิมที่ทหารรบกับประชาชน แต่วันนี้เป็นเรื่องของประชาชน 2 ฝ่ายขัดแย้งกัน เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องทำ เจอมาตรา 44 ถึงได้เลิกกันไป พอเลิกมาตรา 44 จะเกิดอะไรขึ้น ก็มาใหม่อีก ถ้าไม่ทำวันนี้ให้เข้มแข็ง วันนี้ผมยังไม่ได้ทำให้ตายสักคน ถ้าตายก็ตายด้วยปาก เพราะออกมาโวยวายกันทุกวัน เขาห้ามก็ยังทำเพราะรู้เราไม่ทำร้าย แต่ต่อไปนี้จะใช้กฎหมายทุกกฎหมายที่มีอยู่ ให้ความเป็นธรรมด้วย อย่ามาโวยวายอีก" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ในส่วนของรัฐธรรมนูญตัวหลักต้องเป็นประชาธิปไตย เป็นสากล ส่วนบทเฉพาะกาลต้องมาดูว่าควรต้องมีอะไรหรือเปล่า ในช่วงสถานการณ์ที่ต้องทำให้ประเทศมีเสถียรภาพทำอย่างไรไม่ให้ฝ่ายการเมืองมาทาบทับอำนาจข้าราชการ ทุกคนต้องช่วยกันคิด ตนเป็นทหารคิดอะไรมาคนไม่ค่อยไว้วางใจ รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะออกได้หรือไม่อยู่ที่ประชาชน ถ้าจะออกมาเป็นประชาธิปไตยอย่างที่เขาต้องการตนไม่ยอมอยู่แล้ว ยืนยันเจตนารมณ์ ถ้ามาแล้วยอมจะมาทำไม จะลงทุนขนาดนี้ทำไม

ห่วงม็อบต้าน-เชียร์ตีกันที่สหรัฐ

      "ต่างประเทศมาถามผมว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย ก็อธิบายไปไม่โทษใคร มันเกิดความขัดแย้ง แต่เขากลับบอกว่าได้ข่าวอีกแบบ คือผมกลายเป็นเผด็จการทหาร มันไม่ใช่เลย นี่คือข้อมูลที่ต่างประเทศได้มา เห็นว่าจะมีการไปต่อต้านผมที่นิวยอร์ก ยิ่งต้านก็ยิ่งไป ไม่กลัวอยู่แล้ว คิดว่าทางอเมริกาคงไม่ปล่อยให้ผมตายหรอก แต่ห่วงว่าอเมริกาจะมีปัญหาเพราะมีการระดมคนไปช่วยผมที่นิวยอร์กแล้ว มันจะตีกันหน้ายูเอ็นหรือเปล่าก็ไม่รู้" พล.อ. ประยุทธ์กล่าว


แจงโรดแม็ป - นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงโรดแม็ปและกระบวนทางการเมืองไทย ตามสูตร 6-4-6-4 รวมระยะเวลา 20 เดือน ต่อคณะทูตจาก 66 ประเทศ เป็นเอกอัครราชทูต 31 ประเทศ และ 11 ผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ ที่กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 16 ก.ย.

 

     พล.อ.ประยุทธกล่าวอีกว่า มีอีกหลายเรื่องที่เป็นปัญหาพูดไปก็หาว่ารังแก ชี้นำ แต่มันเสียจริงๆ ตนไปต่างประเทศเขาถามว่าไทยจะมีโครงการจำนำข้าวอีกหรือไม่ เพราะทำให้ราคาเสียหาย ถามว่าประชาชนได้ไหม ได้แต่ได้เท่าไร ได้แค่ไหน ที่เหลือเสียหรือเปล่าไม่รู้ กำลังสอบ อย่างไรก็ต้องมีคนรับผิดชอบ ตนห่วงข้าราชการที่อยู่ในกระบวนการ

กสม.จี้รบ.เคารพสิทธิมนุษยชน

      วันเดียวกัน นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวถึงรัฐบาลดำเนินการกับผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 มาตรา 4 รัฐบาลยังให้การยืนยันว่าสิทธิเสรีภาพเสมอภาค หมายความว่า เสรีภาพแสดงความเห็นต่าง หรือเสรีภาพของสื่อยังได้รับการคุ้มครองอยู่ ดังนั้น รัฐบาลต้องทำให้เห็นจริงจังในเรื่องการคงไว้ของการปกครองประชาธิปไตย หากการแสดงความเห็นทำให้เกิดความเสื่อมเสียบุคคล ส่วนรวมก็ควรให้กระบวนการยุติธรรมหรือศาลเป็นคนตัดสิน หากละเมิดความสงบเรียบร้อยก็ต้องว่ากันตามหลักฐาน แต่ถ้าใช้อำนาจเผด็จการทำให้เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ ขัดแย้งบานปลายมากขึ้น

"การเชิญไปในสถานที่ จำกัดเสรีภาพ พูดคุยปรับทัศนคติ ผลออกมาจะใช้ได้จริงหรือไม่ก็ไม่ทราบ แต่ทำให้เขาสิ้นอิสรภาพไปชั่วขณะหนึ่ง รัฐบาลควรใช้เวลาช่วงนี้ทำความเข้าใจ เพราะการใช้อำนาจเด็ดขาดแก้ปัญหาไม่ได้หมด ต้องใช้ธรรมะ ยึดหลักการสิทธิมนุษยชน จะทำให้รัฐบาลได้ชัยชนะ" นพ. นิรันดร์กล่าว

วิษณุแจงโรดแม็ปต่อคณะทูต

     ที่ห้องนราธิป กระทรวงการต่างประเทศ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ชี้แจงโรดแม็ปและกระบวนทางการเมืองไทยต่อคณะทูตจาก 66 ประเทศ โดยเป็นเอกอัครราชทูต 31 ประเทศ และผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ อีก 11 แห่ง โดยใช้เวลาชี้แจงกว่า 1 ชั่วโมงถึงโรดแม็ปใหม่ที่ต้องใช้เวลา 20 เดือนในการร่างรัฐธรรมนูญ ทำประชามติ ออกกฎหมายลูก และจัดการเลือกตั้งตามสูตร 6-4-6-4 ทั้งนี้โรดแม็ป 6-4-6-4 อาจดูยาวนานเกินไป ซึ่งแต่ละส่วนสามารถย่นระยะเวลาดำเนินการแต่ละขั้นตอนให้สั้นลงได้ คาดว่ากรอบเวลาโรดแม็ปอาจเหลือ 16-18 เดือน จากนั้นเปิดให้คณะทูตซักถามโดยไม่ให้ผู้สื่อข่าวร่วมรับฟังในช่วงนี้

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์หลังชี้แจงโรดแม็ปว่า การบรรยายสรุปครั้งนี้เป็นไปตามที่คณะทูตานุทูต แสดงความสนใจในโรดแม็ปของประเทศ รวมถึงการดำเนินการของรัฐบาล จึงให้นายวิษณุมาชี้แจงให้คณะทูตานุทูตทราบ

ชี้ทูตผู้ดีแค่ห่วงไทยห่างปชต.

     นายวิษณุ ให้สัมภาษณ์กรณีนายมาร์ค เคนท์ เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย เผยแพร่ข้อความผ่านบล็อกของกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร ระบุประชาธิปไตยของไทยดูห่างไกลออกไปกว่าเดิมว่า อ่านแล้วถือว่าดี เป็นการแสดงความเห็นแบบกลางๆ ตามภาษาของคนที่ห่วงเรา รัฐบาลจะพยายามส่งสัญญาณกลับไปว่าขอบคุณในความเป็นห่วง และไทยก็ห่วงในเรื่องนี้เช่นกัน เราจะทำให้ดีที่สุด เหมือนที่นายซาเบร์ โฮซเซน เชาว์ดรี ประธานสหภาพรัฐสภา (ไอพียู) ที่ท่าทีในครั้งแรกยังไม่เข้าใจสถานการณ์ไทยว่าทำไมต้องยืดเวลารัฐบาลไปอีก 20 เดือน แต่หลังจากชี้แจงเหตุผลก็เข้าใจไทยมากขึ้น เพราะตนบอกไปว่า 20 เดือนต่อจากนี้ไม่มีอะไรต้องเสียเวลา รัฐบาลจะทำให้กระชับลง 2 เดือนเป็นอย่างน้อย ถือเป็นเจตนารมณ์ของรัฐบาลนี้

"เขาไม่ได้ห่วงเรามากกว่าประเทศอื่น แต่ต้องพยายามเข้าใจสถานการณ์ทางการเมืองของแต่ละประเทศ ส่วนที่ผมจะไปชี้แจงกับทูตประเทศต่างๆ ถือเป็นวงรอบปกติ ไม่อยากให้ทูตประเทศต่างๆ รับรู้สถานการณ์ผ่านสื่อเพียงอย่างเดียว เราจำเป็นต้องชี้แจงด้วยตัวเอง ที่สำคัญไม่อยากให้สูตร 6-4-6-4 ถูกต่างชาติตีความว่ายืดเวลา เราจึงต้องอธิบายกับเขาเอง" นายวิษณุกล่าว

เผยลดโรดแม็ปได้ 2 เดือน

     นายวิษณุ กล่าวถึงกรณีพล.อ.ประยุทธ์ให้ร่นระยะเวลาร่างรัฐธรรมนูญนำไปสู่การเลือกตั้งให้สั้นลงว่า ไม่ยาก ตามสูตร 6-4-6-4 คือ 6 เดือนแรก ร่างรัฐธรรมนูญและรับฟังความคิดเห็น หากใช้เวลาร่างให้เร็วขึ้นก็ลดให้เหลือ 5 เดือนได้ 4 เดือนต่อไปคือการทำประชามติ เชื่อว่าจะย่นเวลาลดได้ครึ่งเดือน จากนั้นเข้าสู่กระบวนการทำกฎหมายลูก ใช้เวลา 6 เดือน แบ่งเป็นใช้เวลายกร่างกฎหมาย 2 เดือน จากนั้นนำเข้าสภาพิจารณา 3 เดือน จึงส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบอีก 1 เดือน ดังนั้นกระบวนการนี้อาจลดลงจนเหลือ 5 เดือนได้ โดยนำคนจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มาช่วยร่าง

นายวิษณุกล่าวต่อว่า กระบวนการนี้จะช้าหรือเร็วก็อยู่ที่การพิจารณาของกรรมาธิ การ(กมธ.) ถ้ากมธ.ไม่เคยเห็นกฎหมายลูกเลยก็อาจดูทุกตัวอักษร แต่หากนำสนช.มาร่วมร่างทุกอย่างก็จะเร็วขึ้น แม้ขั้นตอนสุดท้ายคือการเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง ที่ไม่สามารถย่นเวลาลงได้เพราะต้องใช้เวลานักการเมืองหาเสียง แต่เชื่อว่าโดยรวมจะย่นเวลาจากนี้ 20 เดือน เป็น 18 เดือนได้ไม่ยาก

แจงเหตุยำรวมรธน. 3 ฉบับ

      นายวิษณุ กล่าวอีกว่า ถ้าคนร่างเริ่มจากศูนย์ก็ต้องใช้เวลาเต็ม 6 เดือน แต่ถ้าเริ่มจากฉบับอื่นเป็นหลักก็จะเร็วขึ้นมาก และถ้าหยิบฉบับใดฉบับหนึ่งขึ้นมาเลยจะเร็ว 7 วันก็เสร็จ แต่จะตอบโจทย์อื่นไม่ได้ เช่น ถ้าหยิบรัฐธรรม นูญปี"50 ขึ้นมาแล้วจะยึดอำนาจทำไม และนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานกมธ.ยกร่างฯ ซึ่งมีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญปี"40 ยังไม่หยิบฉบับดังกล่าวมาใช้แล้วชุดใหม่จะไปยกปี"40 มาจะอธิบายกับสังคมได้อย่างไร จึงควรหยิบบางส่วนของฉบับปี"40 ปี"50 และร่างของปี" 58 ที่แก้ปัญหาบางอย่าง นำส่วนดีๆ ของแต่ละฉบับเข้ามา ซึ่งเเห็นว่าจะทำให้เร็วขึ้นได้และออกมาดูดีด้วย

นายวิษณุกล่าวถึงการสรรหากรธ. ว่า ตนไม่ได้เป็นผู้รวบรวมรายชื่อ จึงตอบไม่ได้ว่ามีใครบ้าง ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายกฯ แม้แต่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กลาโหม ก็เชื่อว่าไม่รู้เรื่องนี้ คิดว่านายกฯ พิจารณาอยู่ เมื่อถึงเวลาจะปรึกษากับใครบางคนแล้วแต่งตั้ง

ชงดึงนักการเมืองน้ำดีร่วมร่าง

     นายวิษณุกล่าวด้วยว่า กรธ.นอกจากมีนักกฎหมายแล้ว ควรมีนักรัฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ นักพัฒนาสังคม นักประวัติ ศาสตร์ และนักการต่างประเทศก็จำเป็น ถ้าเป็นนักกฎหมายระหว่างประเทศก็ยิ่งดี จะช่วยดูเรื่องสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ส่วนนักการเมืองน้ำดีที่วางมือทางการเมืองไปแล้วก็ยิ่งดี อย่างนพ.กระแส ชนะวงศ์ อดีตกมธ.ยกร่างฯ แต่ครั้งนี้ยังนึกไม่ออก ส่วนคนรุ่นใหม่ก็อยากให้มี แต่ต้องพูดให้เข้าหูนายกฯ ส่วนนายมีชัย ฤชุพันธุ์ นั้นไม่อยากนึกถึงเพราะเคยบอกกับตนว่าไม่อยากเป็น และรายชื่อต่างๆ ก็ ไม่อยากพูดเพราะกลัวจะชี้นำ

     เมื่อถามถึงชื่อพล.อ.จิระ โกมุทพงศ์ อดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญ เหมาะสมเป็นประธานกรธ.หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ไม่กล้าพูดเพราะจะกลายเป็นการชี้นำ พล.อ.จิระเป็น เจ้ากรมพระธรรมนูญเก่า เป็นทหารนักกฎหมายที่เก่ง และเคยทำกฎหมายร่วมกันมาบางฉบับ

ชี้"กรธ."ต้องรับฟังให้มากขึ้น

     ผู้สื่อข่าวถามว่า ในวันที่ 22 ก.ย.นี้ จะได้รายชื่อกรธ.หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า เท่าที่ฟังดู อาจได้รายชื่อแต่ยังไม่ประกาศ เพราะวันที่ 23 ก.ย. นายกฯ ไม่อยู่ และนายกฯบอกว่าถ้าได้แล้ว ประกาศได้ก็ประกาศ หากจำเป็นต้องรอการตอบรับก็ไม่เป็นไร ถือว่าได้รายชื่อแล้ว รอให้นายกฯ กลับมาเซ็นแล้วประกาศ ส่วนจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่นั้นก็เป็นไปได้หากมีการถอนตัว ทั้งนี้หากจะประกาศรายชื่อควรประกาศก่อนวันที่ 6 ต.ค. ตามกำหนด ตนบอกกับที่ประชุมว่าให้เผื่อเวลาไว้ดีกว่า และเมื่อประกาศแล้วจะนับเวลาทันที 180 วัน

    "ทั้งนี้ แม้จะห้ามผู้ที่เป็นสมาชิกพรรค การเมืองภายใน 3 ปีมาเป็น กรธ. แต่การเปิดรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองนั้นทำได้ และควรเปิดกว้างให้มากกว่าที่ผ่านมา" นายวิษณุกล่าว

      นายวิษณุกล่าวด้วยว่า สัดส่วนการคัดสรร กรธ.นั้น ครม.คงไม่เสนอความเห็นใด ตนอาจเป็นผู้ประสานหากรัฐบาลจะดึงใครเข้ามาแต่ไม่ขอเปิดเผยในขณะนี้ เพราะเกรงบุคคลนั้นจะปฏิเสธไม่เข้าร่วมก่อน ส่วน สปท.เห็นว่าเชิญพรรคการเมืองเข้าร่วมบ้างบางส่วน เน้นพรรคใหญ่ที่มีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนพรรคใดจะไม่ส่งเข้าร่วมก็ไม่เป็นไร

ยังหนุนให้มี"คปป."

    เมื่อถามว่าการมีองค์กรมาคอยควบคุมรัฐบาล เช่นเดียวกับกรณีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ(คปป.) จะถูกมองว่าไม่เป็นประชาธิปไตย นายวิษณุกล่าวว่า ถ้าครอบงำรัฐบาลถือว่าไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ที่ผ่านไม่เห็นว่าครอบงำรัฐบาล เพราะถ้าสงสัยอะไรให้ถามไป ให้เขาตอบว่าถูกหรือผิด ถ้าผิดจะได้ไม่ทำ ถ้าถูกก็เดินหน้า ทุกวันนี้ถ้าไม่มีอะไรมาตอบคำถามถูกหรือผิด มันจะนำไปสู่การถอดถอน บ้านเมืองก็เกิดช่องว่าง หรือบางครั้งเมื่อไม่มีคนตอบ เลยไม่มีใครกล้าทำทั้งที่เป็นสิ่งที่ถูก เราเลยพลาดโอกาสอย่างน่าเสียดาย

      "ก่อนหน้านี้เคยนึกว่าไม่ต้อง ให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ เพราะกลัวจะถูกกล่าวหาว่าครอบงำเลยถามสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ก็ไม่กล้าตอบเรื่องรัฐธรรมนูญ เพราะกลัวหน้าแตกเนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญเห็นแย้งซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้ว เมื่อไม่ตอบ รัฐบาลและองค์กรอิสระก็ไม่มีที่พึ่ง ผมจึงไม่คิดว่าครอบงำ ร่างใหม่ตนก็อยากให้มีอันนี้อีก" นายวิษณุกล่าว

"ป้อม"รับ 50 ทหารนั่งสปท.

      พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงข่าวสัดส่วนทหาร 50 สปช. 60 ฝ่ายการเมือง ฝ่ายวิชาการ และภาคส่วนต่างๆ ในสปท. ว่า ใช่ประมาณนั้น มีทหาร มีสปช.เดิม มีภาคการเมืองโดยมีคุณสมบัติว่าให้ฝ่ายการเมืองส่งมา ส่งมา จากแต่ละพรรค แล้วเรามาคัดดู เอาแค่พอประมาณ ซึ่งมีส่งมาบ้างแล้ว และมีจากนักวิชาการ และหลากหลายอาชีพ รวมทั้งมีนักกฎหมายด้วย เพราะเรื่องการปฏิรูปต้องมีนักกฎหมายมาช่วย นายกฯ ก็บอกแล้วว่าการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อนาคตเรามองประเทศเราเป็นอย่างไร ต้องมาดู กำหนดให้ประเทศเป็นอย่างไร เราต้องทำให้ได้ ถ้ากำหนดแล้วทำไม่ได้มันก็เท่านั้น แป๊ะเอี่ยเท่านั้น


คดีบ้านป๋า - นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ พร้อมแกนนำ นปช. ถูกพาเข้าห้องควบคุมใต้ถุนศาลอาญา หลังศาลพิพากษาจำคุก 4 ปี 4 เดือน ไม่รอลงอาญา คดีบุกบ้านพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อปี 2550 ก่อนได้ประกันตัว เมื่อ 16 ก.ย.

 

     ผู้สื่อข่าวถามว่าทูตสหรัฐ อังกฤษ เป็นห่วงประชาธิปไตยของไทย พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า ประชาธิปไตยของไทย อย่างนี้คิดว่าก็ดีที่สุดแล้ว เราทำให้เกิดความสงบและพยายามทำประชาธิปไตย นายกฯ ไม่ได้ใช้อำนาจมากมาย เขาพยายามทำให้ทุกส่วนเป็นประชาธิปไตยอยู่แล้ว ไม่ใช่เวลามาทำให้เกิดความขัดแย้ง มาพูดจาให้ร้าย อย่างนี้ไม่ได้ ต้องให้มาคุยกัน ทำให้เป็นปกติดีกว่าและในเมื่อเข้ามาแล้วเราต้องการวางพื้นฐาน สร้างประเทศให้เกิดความมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง ถ้าทุกคนช่วยกันก็ไปได้ อย่าไปให้ร้ายกัน ถ้าให้ร้ายก็ไปไม่ได้

หยุยชี้"พรเพชร"จัดเอง"3 กรธ."

      นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกสนช. กล่าวว่า จะมีสนช.ไปเป็นกรธ. 3 คน แต่สนช.ยังไม่มีการหารือว่าจะส่งใคร คาดว่า นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช.จะเป็นผู้คัดเลือกเองทั้งหมด จากเดิมให้สมาชิกสนช.ลงมติคัดเลือก ส่วนตัวมองว่าสมาชิกสนช.ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นกรธ.คือ นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ นายทวีศักดิ์ สูทกะวาทิน และพล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม เพราะมีความรู้ ความสามารถด้านกฎหมาย อีกทั้งทั้ง 3 คน เคยสมัครเป็นคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรม นูญในครั้งก่อน แต่ไม่ได้รับคัดเลือก

     ผู้สื่อข่าวรายงานถึงความเคลื่อนไหวกรณีที่สนช.จะส่งตัวแทนร่วมเป็นกรธ. ว่า ช่วงที่ผ่านมานายพรเพชร เริ่มติดต่อทาบทามสมาชิกสนช.บางส่วนให้ร่วมเป็นกรธ. อาทิ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ นายกล้านรงค์ จันทิก คุณพรทิพย์ จาละ นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ นายทวีศักดิ์ สูทกะวาทิน เนื่องจากมีคุณสมบัติเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย มีประสบการณ์ทำงานยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่บุคคลเหล่านี้ยังแบ่งรับแบ่งสู้ ทำให้นายพรเพชร ยังต้องรอคำตอบที่ชัดเจนก่อนส่งรายชื่อตัวแทนสนช. 3 คน ให้นายกฯ

ปธ.สนช.โต้ไม่ได้คัดเลือก

       นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสข่าวที่พล.อ.ประยุทธ์ มอบหมายให้คัดเลือกสนช.ที่จะเข้าไปเป็น กรธ.ว่า นายกฯไม่ได้มอบหมายให้ตนทำหน้าที่คัดเลือก ส่วนจะมีสนช.เข้าไปเป็นกรธ.หรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของนายกฯ ตนไม่ต้องไปแนะนำอะไร แต่มองว่า สนช.ทั้ง 5 คนที่เคยเป็นกมธ.ยกร่างฯแล้วไม่ควรเข้ามาเป็นอีก แต่ทั้งหมดนี้ขึ้นกับการตัดสินใจของนายกฯ ส่วนประเด็นข้อถกเถียงในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดทำประชามตินั้นคงต้องมีการแก้ไขต่อไป แต่ข้อเท็จจริงประเด็นนี้มีความชัดเจนอยู่แล้ว

เมื่อถามว่า พล.อ.ประยุทธ์ระบุว่าไม่ให้ตัวแทนพรรคการเมืองเข้าร่วมกรธ.ด้วย นายพรเพชรกล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนดเงื่อนไขบุคคลที่จะเป็นกรธ.ไว้เหมือนกับกมธ.ยกร่างฯ ซึ่งข้อห้ามกำหนดไว้ในกมธ.ยกร่างฯอย่างไรก็ต้องห้ามเช่นกัน ส่วนการร่นระยะเวลาของโรดแม็ป ไม่มีผลต่อสนช. ก็ทำงานตามปกติอย่างเต็มที่

"สนช."ปรับงานรับโรดแม็ป

    นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสนช. คนที่ 2 กล่าวว่า นายกฯ เน้นย้ำถึงเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยว่า ต้องเป็นสากล หรือสิ่งใดที่เป็นประเด็นสำคัญ ขอให้ใส่ไว้ในบทเฉพาะกาลแทน และวันที่ 19 ก.ย.นี้ สนช.จะจัดสัมมนาขึ้น โดยนายวิษณุจะบรรยายเรื่องโรดแม็ปของรัฐบาล และคสช. ให้สมาชิกสนช.รับฟังเพื่อนำสาระกลับมาปรับการทำงานให้สอดคล้องกับโรดแม็ปใหม่

     น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกสปช. กล่าวถึงการกำหนดสัดส่วนสมาชิกสปท. ที่ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการในตำแหน่ง อดีตข้าราชการ และทหารมากถึง 90 คน ว่า ควรลดสัดส่วนที่มาจากฝ่ายราชการ เพราะปัญหาการปฏิรูปประเทศที่ผ่านมาไม่สามารถขับเคลื่อนงานได้นั้น ฝ่ายข้าราชการเป็นอุปสรรคสำคัญ และที่ให้ข้าราชการปัจจุบันรับตำแหน่งจะทำงานขับเคลื่อนได้จริงหรือไม่ เพราะมีงานประจำทำอยู่ อีกทั้งรับค่าตอบแทนได้ทั้ง 2 ทางคือ สปท. และตำแหน่งราชการด้วย หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่ควรมีสปท.เพราะสิ้นเปลืองงบประมาณ ทั้งนี้ควรปรับสัดส่วนให้มีภาคประชาสังคม และตัวแทนของคนในกลุ่มต่างๆ

นิรันดร์ขอ 100 ที่นั่งให้สปช.

     นายนิรันดร์ พันทรกิจ อดีตสปช.กล่าวถึงสัดส่วนที่นั่งของสปท. 200 คน ซึ่งจะแบ่งที่นั่งให้อดีตสปช.60 คน ว่า ไม่ทราบว่าข่าวนี้มาจากไหน แต่ส่วนตัวยืนยันว่าอยากให้มีสัดส่วนของอดีตสปช.100 คน เพราะเห็นว่า อดีตสปช.หลายคน จะเป็นผู้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การปฏิรูปได้เป็นอย่างดี และสัดส่วนอีก 100 คนนั้น ควรมาจากข้าราชการกระทรวง ทบวง กรม และนักการเมือง เพราะการทำงานด้านปฏิรูป โดยเฉพาะด้านการเมือง เราต้องให้ผู้เล่นเข้ามา เขาถึงจะรู้ดีที่สุดว่าควรจะปฏิรูปอะไร ซึ่งขณะนี้ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคออกมาระบุแล้วว่าไม่มีปัญหา หากจะมีคนในพรรคเข้าร่วมเป็น สปท. เพียงแต่ไม่ได้มาในนามพรรคเท่านั้น

     นายนิรันดร์ กล่าวว่า ไม่ทราบว่าสัดส่วนของนักธุรกิจเอกชนที่มีเพิ่มเข้ามา 10 ที่นั่งนั้นมาจากไหน แต่เห็นว่าน่าจะเป็นเรื่องที่ดี เพราะภาคเอกชนคงช่วยได้ในเรื่องการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ เชื่อว่านายกฯ น่าจะมีคณะทำงานที่ช่วยคัดกรองสัดส่วนคนเหล่านี้ไว้อยู่แล้ว และคงไม่มีใครไปก้าวล่วงได้ ซึ่งส่วนตัวแล้วขณะนี้ยังไม่มีการทาบทามจากฝ่ายใดๆ เพื่อให้ไปเป็นสปท.

มาร์คยันไม่ห้ามปชป.นั่ง"สปท."

     นายวันชัย สอนศิริ อดีตสปช. กล่าวถึงโควตาสปท. ว่า จะจัดสรรจำนวนโควตาให้อดีตสปช.เท่าไรก็ได้ เป็นอำนาจของนายกฯ ซึ่งพิจารณาจากแนวทางการปฏิรูปว่าจะขับเคลื่อนอย่างไรถึงจะเหมาะสมที่สุด และท่านรู้ดีว่าจะจัดสรรคนอย่างไร จะใช้ใครจำนวนเท่าไร อดีตสปช.คนใดทำงานดีและรู้ดีถึงปัญหาเก่าๆ ในสปช. เชื่อว่านายกฯ คงจะมีแผนอยู่แล้ว ส่วนโควตาของนักการเมืองถ้าเข้ามาช่วยงานปฏิรูปก็ได้เลยไม่ขัดขวาง แต่ถ้าคิดเข้ามาขวาง ปั่นป่วน หรือหาประโยชน์ คนเหล่านี้อย่าคิดเข้ามาเลยดีกว่า เพราะจะเป็นตัวถ่วงในการพัฒนาประเทศ

     ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กล่าวถึงนายกฯ จะเชิญนักการเมืองให้เข้าร่วมสปท. ว่า ตนเห็นว่าสปท.มีบทบาทรวบรวมกลั่นกรองความคิดที่มีการนำเสนอในการปฏิรูปทั้งหมด เพื่อส่งต่อให้ผู้ที่มีอำนาจ และเห็นว่าใครก็เข้าไปร่วมได้ เพื่อให้สังคมมีการปฏิรูป และในแง่การเมืองก็ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ความคิดเห็นส่วนตัวสมาชิกคนไหนที่สนใจการปฏิรูปประเทศก็ให้ชื่อได้ ส่วนเรื่องโรดแม็ป รัฐบาลไม่ควรพูดอะไรล่วงหน้า ต้องดูกรธ. 21 คนเข้ามาทำงานก่อน จะรู้เองว่าจำเป็นต้องใช้เวลา 6 เดือนหรือไม่ เราต้องดูตามสาระมากกว่าระยะเวลา ทั้งนี้ กรธ. 21 คน ต้องเปิดกว้างให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ที่สุดแล้วประชาชนเป็นคนให้ความเห็นชอบ ขอฝากกรธ.ต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชนไว้ก่อน

      ขณะที่นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขานุการมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย กล่าวถึงกรณีกลุ่มการเมืองร่วมเป็นสปท.ได้ ว่า ยังไม่ทราบท่าทีของคสช. แต่ถ้าเป็นจริงคงเป็นความหวังดีที่จะให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งเราสนับสนุนแนวทางนี้ เห็นว่าทุกฝ่ายควรให้ความร่วมมือ ในส่วนของมูลนิธิมวลมหาประชาชนฯ ซึ่งเป็นตัวแทน กปปส.คงจะพิจารณาหากติดต่อมาให้เข้าร่วม สปท.

พท.มึนยำรวม"รธน." 3 ฉบับ

      นายชูศักดิ์ ศิรินิล หัวหน้าคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการนำรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ปี 2550 และร่างรัฐธรรมนูญปี 2558 มาเป็นต้นแบบว่า ทำได้ แต่ปัญหาคือจะปรับให้เข้ากันอย่างไร และจะเลือกเอาส่วนใดมาใช้ แต่ละฉบับต่างมีข้อดีข้อเสีย ถ้านำทั้ง 3 ฉบับมาพิจารณายกร่างฉบับใหม่ ผู้ร่างต้องยอมรับถึงข้อดีของฉบับปี 2540 และ 2550 ก่อน เพื่อนำเอาส่วนนั้นมากำหนดเป็นโครงสร้างรัฐธรรมนูญ แต่ส่วนใดที่ขาดหายไปหรือยังเป็นจุดอ่อนก็นำเอาเนื้อหาของร่างฉบับที่ตกนั้นเสริมเข้าไป แต่ต้องเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ยอมรับได้ เช่น ระบบเลือกตั้งส.ส. ซึ่งฉบับปี 2540 และ 2550 ใช้ระบบเดียวกัน แต่ต่างกันที่จำนวนส.ส.ระบบนี้ใช้เลือกตั้งมาหลายครั้ง สร้างความเข้มแข็งให้กับรัฐบาล ถือเป็นเรื่องดี ประชาชนคุ้นเคย

     นายชูศักดิ์ กล่าวอีกว่า การจะเปลี่ยนระบบใหม่ที่ทำให้รัฐบาลอ่อนแอจึงไม่ถูกต้อง หรือการตรวจสอบอำนาจรัฐ ซึ่งปี 2550 ได้แก้ไขจุดอ่อนของปี 2540 มาแล้วถือว่าใช้ได้ แต่จะเอาระบบตรวจสอบตามร่างฉบับที่ตกไปชนิดที่รัฐบาลทำอะไรไม่ได้ เป็นรัฐบาลเป็ดง่อยนั้นก็ไม่ควร ส่วนการเปิดให้บุคคลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเป็น      นายกฯ เป็นความคิดที่สวนทางกับการตกผลึกของประชาชนมาแล้ว 

นายชูศักดิ์กล่าวต่อว่า ข้อสำคัญคือ ต้องจัดวางโครงสร้างให้การใช้อำนาจทั้ง 3 ส่วน ทั้งนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ เชื่อมโยงกับอำนาจของประชาชนด้วย มีการถ่วงดุลอำนาจในระดับที่เหมาะสม ต้องยอมรับหลักการว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ไม่ควรวางกฎเกณฑ์เพื่อกีดกันบุคคลไม่ให้เข้าสู่การเมืองเข้มงวดเกินไป องค์กรใดที่ตั้งขึ้นแล้วจะทำให้เกิดปัญหาต่อการบริหารและเกิดความขัดแย้งก็ไม่ควรมี ซึ่งทั้งหมดขึ้นอยู่กับผู้ยกร่างต้องเปิดใจกว้าง ยอมรับฟังความเห็นจากฝ่ายต่างๆ ด้วย ไม่ปิดกั้นเหมือนการร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา และไม่ควรใช้เวลานาน ไม่ควรเกิน 3 เดือน เพราะมีต้นแบบอยู่แล้ว

วรชัยโวยทหารคุกคามถึงบ้าน

     นายวรชัย เหมะ อดีตส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เมื่อเวลา 11.30 น. ของวันนี้ มีทหารแต่งชุดลายพรางรวม 6 คน มาที่บ้านพักของตนที่จ.สมุทรปราการ จอดรถซุ่มไว้ข้างบ้าน จากนั้นมาถามคนในบ้านว่าตนหายไปไหน เมื่อคนที่บ้านบอกว่าตนไม่อยู่ ออกไปต่างจังหวัด ทหารกลุ่มดังกล่าวได้เข้ามาถ่ายรูปรถยนต์ บ้านพักของตน ก่อนเดินทางกลับ โดยไม่ยอมแจ้งสังกัด อ้างแต่ว่าเจ้านายให้มาเยี่ยม สิ่งที่เกิดขึ้นสร้างความตื่นตระหนกให้กับเพื่อนบ้านที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงมาก ถือเป็นการคุกคามสิทธิของประชา ชนหรือไม่

    "อยากถามพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช.ว่าส่งทหารมาที่บ้านของผมทำไม เพื่ออะไร หากอยากจับตัวหรือเรียกไปปรับทัศนคติ แค่ให้ทหารโทร.เข้ามาหาผมก็ได้ ผมพร้อมไปรายงานตัวทันที แต่ไม่จำเป็นต้องทำแบบนี้เลย"นายวรชัยกล่าว

ศาลชี้คดีนปช.ล้อมบ้าน"ป๋า"

    เวลา 10.30 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 813 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ.3531/2552 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ฟ้อง 1.นายนพรุจ หรือนพรุฒ วรชิตวุฒิกุล 2.นายวีระศักดิ์ เหมะธุลิน 3.นายวันชัย นาพุทธา 4.นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธาน นปช. 5.นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ 6.นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท 7.และนพ.เหวง โตจิราการ แกนนำนปช. เป็นจำเลยที่ 1-7 ในความผิดฐาน มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปดังกล่าว มีมีดดาบ มีดดายหญ้า มีดปลายแหลม มีดพกหลายเล่มเป็นอาวุธ ร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายและกระทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยมีจำเลยกับพวกซึ่งยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง เป็นหัวหน้าและมีหน้าที่สั่งการ ใช้, ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังขู่เข็ญ และจำเลยที่ 1 ได้ใช้ไม้เสาธงตีประทุษร้ายร่างกาย ร.ต.อ.ทวีศักดิ์ นามจันทร์เจียม เป็นเหตุให้กระดูกข้อมือแตกเป็นอันตรายสาหัส ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา

   เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้ผู้ที่มั่วสุมเลิกไปแล้วไม่เลิก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง, 215, 216 ประกอบมาตรา 33, 83 และ 91 กรณีเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2550 แกนนำ และแนวร่วม นปช. นำขบวนผู้ชุมนุมหลายพันคน จากเวทีปราศรัยเคลื่อนที่สนามหลวง ไปยังบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เพื่อเรียกร้องกดดันให้ลาออกจากตำแหน่ง

คุก"วีระ-เต้น-เหวง-วิภูแถลง"

    วันนี้จำเลยที่ 1-3 และ 5-7 เดินทางมาศาล ขณะที่นายวีระกานต์ จำเลยที่ 4 มอบให้ผู้แทนนำใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลตำรวจยื่นต่อศาล เพื่อขอเลื่อนฟังคำพิพากษาออกไปก่อน เนื่องจากมีอาการป่วยเลือดออกในลำไส้ ศาลสอบถามโจทก์แล้วไม่คัดค้าน พิจารณาอนุญาตให้เลื่อนอ่านคำพิพากษาเฉพาะจำเลยที่ 4 เป็นวันที่ 30 ก.ย. เวลา 09.00 น. และให้อ่านคำพิพากษาของจำเลยที่เหลือในวันนี้

    ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ขณะเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ได้เข้าจับกุมกลุ่มแกนนำที่อยู่บนรถ ซึ่งผู้ชุมนุมได้ขัดขวางโดยใช้เก้าอี้และอิฐปาใส่เจ้าหน้าที่ ไม่ใช่การป้องกันตัวตามที่จำเลยกล่าวอ้าง และพิจารณาคำปราศรัยของแกนนำแล้วเห็นว่า ไม่มีเจตนาที่จะห้ามปรามผู้ชุมนุมอย่างจริงจัง แม้จำเลย 4-7 ไม่ได้ลงมือเอง แต่ได้ปราศรัยข้อความชักชวน ย่อมถือว่าจำเลยที่ 4-7 มีความผิดฐานยุยงให้ผู้อื่นต่อสู้ขัดขวาง จึงพิพากษาจำคุก นายวีระกานต์ นายณัฐวุฒิ นายวิภูแถลง และนพ.เหวง จำเลยที่ 4-7 คนละ 4 ปี 4 เดือน โดยไม่รอลงอาญา

ยื่น 5 แสนประกันตัว

      ส่วนนายนพรุจ จำเลยที่ 1 พิพากษาว่ามีความผิดฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ พิพากษาจำคุก 2 ปี 8 เดือน และให้ยกฟ้องนายวีระศักดิ์ และนายวันชัย ซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 และ 3 เนื่องจากหลักฐานยังมีข้อสงสัยว่าร่วมกระทำผิดหรือไม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังศาลอ่านคำพิพากษา ทนายความและญาติของจำเลย ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสด คนละ 5 แสนบาท ขอปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้ง 4 คน ระหว่างอุทธรณ์คดี โดยศาลอาญาอนุญาตให้จำเลยทั้งสี่ประกันตัว โดยตีราคาประกันคนละ 5 แสนบาท พร้อมกำหนดเงื่อนไข ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล

มาร์คเป็นพยานคดีฟ้อง"รบ.ปู"

      ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯ ให้สัมภาษณ์หลังเป็นพยานในคดีกล่าวหา รัฐบาลน.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ออกพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน พ.ศ. หรือพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ว่า มาให้ถ้อยคำในฐานะพยาน และให้ถ้อยคำเหมือนครั้งที่ไปศาลรัฐธรรมนูญ ระบุประเด็นปัญหาในทางกฎหมาย ซึ่ง ป.ป.ช.จะไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไป

เมื่อถามว่าทราบกรณีป.ป.ช.ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน กรณีกล่าวหาครม.นายอภิสิทธิ์ ซื้อขายมันสำปะหลังแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) โดยมิชอบแล้วหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า รับทราบคำสั่งแต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวนแล้ว แต่ขณะนี้ ป.ป.ช.ยังไม่ได้ติดต่อมา เมื่อถามว่าใครในครม.เป็นผู้เสนอให้ซื้อขายมันสำปะหลังแบบจีทูจี นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ เมื่อถามย้ำว่าใช่นาง พรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ขณะนั้นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวเลี่ยงว่า ต้องดูประเด็นที่ป.ป.ช. สอบก่อนว่าเป็นเรื่องที่เสนอโดยมติ ครม.

ยันไม่กังวลคดี "99ศพ"

     ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีให้ถ้อยคำเป็นลายลักษณ์อักษรต่อองค์คณะไต่สวน ป.ป.ช. กรณีถูกกล่าวหาสั่งสลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า หลังให้ถ้อยคำเป็นลายลักษณ์อักษรไปแล้ว และยื่นพยาน 2 ปาก คือนายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสมช. และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ขณะนั้น ทราบว่ามีพยานบางรายเข้าให้ถ้อยคำแล้ว ขณะนี้ยังไม่ได้รับการติดต่อจากป.ป.ช. ว่าต้องเข้าให้ถ้อยคำด้วยตัวเองต่อองค์คณะไต่สวนหรือไม่

นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ทั้งนี้ อยากให้มีบทสรุปโดยเร็วเพราะยืดเยื้อมานาน และพร้อมรับคำตัดสินของ ป.ป.ช. หากผิดจริงก็พร้อมสู้กรณีถูกถอดถอนในชั้นสนช. ทั้งนี้ไม่กังวลและยืนยันว่าทำหน้าที่โดยสุจริต ถ้าไม่ทำอย่างนั้นก็นึกไม่ออกว่าต้องทำอย่างไร เพื่อรักษากฎหมายและหลักการ

ปปช.ลั่นใกล้สรุปสลาย"แดง"

     นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานป.ป.ช. กล่าวถึงความคืบหน้าในการไต่สวนกรณีกล่าวหาให้ถอดถอนนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ สั่งสลายการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 ว่า ขณะนี้พยานต่างๆ ได้มาให้ถ้อยคำครบทั้งหมดแล้ว คาดว่าเจ้าหน้าที่จะรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในเร็วๆ นี้ เชื่อว่าจะแล้วเสร็จภายในวาระการดำรงตำแหน่งของตน โดยจะรักษาการต่อไปอีก 2-3 เดือน

ม.44 ต่ออายุ"ปานเทพ"

     วันเดียวกันนี้ ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 28/2558 เรื่อง ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ตามที่มีคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 12/2558 ลงวันที่ 8 พ.ค. 2558 กำหนดให้นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ เป็นประธานป.ป.ช.ต่อไปจนถึงวันที่ 21 ก.ย. 2558 นั้น บัดนี้กรรมการป.ป.ช.อีก 4 คน ได้แก่ นายประสาท พงษ์ศิวาภัย นายภักดี โพธิศิริ นายวิชา มหาคุณ และนายวิชัย วิวิตเสวี จะครบวาระในวันที่ 21 ก.ย.นี้เช่นกัน แต่จะยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามมาตรา 12 วรรคสอง แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยป.ป.ช. พ.ศ.2542 จนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่

ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของป.ป.ช.เรียบร้อย มีประสิทธิภาพ จึงเห็นสมควรให้ประธานป.ป.ช.อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปด้วยเช่นกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 หัวหน้าคสช.โดยความเห็นชอบของคสช.จึงมีคำสั่งให้ นายปานเทพปฏิบัติหน้าที่ประธานป.ป.ช.ต่อไปจนกว่าประธานกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

วิษณุ เผยมีตัวเลขฟ้องแพ่งข้าวแล้ว

     ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าวในสมัยรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ว่า จะฟ้องร้องเฉพาะตัวบุคคลที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวโทษเท่านั้น

เมื่อถามว่าจำเป็นต้องเรียกค่าเสียหายกับครม.ทุกชุดของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า คนอื่นที่ป.ป.ช.ไม่ได้กล่าวโทษจะไปเรียกค่าเสียหายไม่ได้ ส่วนตัวเลขที่จะเรียกเก็บมูลค่าความเสียหายนั้นขณะนี้ได้แล้ว แต่ยังไม่ขอเปิดเผย

ผู้ตรวจชี้"ปื๊ด"ไม่ใช่จนท.รัฐ

     วันเดียวกัน นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติไม่รับเรื่องร้องเรียนที่นายเฉลิมศักดิ์ กาญจนศิราธิป ทนายความขอให้ตรวจสอบจริยธรรมนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญขณะนั้น กรณีพูดจาโน้มน้าวให้สมาชิกสปช.ลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ และตรวจสอบการกระทำของสปช.ที่เป็นกมธ.ยกร่างฯ กรณีการลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญว่าขัดแย้งกันแห่งผลประโยชน์ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ รวมถึงการกระทำของกมธ.ยกร่างฯ ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 275 และมาตรา 276 เอื้อประโยชน์ให้กับสปช.ที่ดำรงตำแหน่งกมธ.ยกร่างฯ หรือไม่

"เนื่องจากตรวจสอบแล้วพบว่า ประธานและกมธ.ยกร่างฯ รวมถึงสปช. ไม่ได้มีฐานะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา 4 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน พ.ศ.2552 ประกอบมาตรา 4 พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 2542 ดังนั้น ประเด็นที่ร้องเรียนมานั้นจึงไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน"นายรักษเกชากล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!