WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gวษณ เครองามตั้ง'ลูกมีชัย'ช่วยคสช. วิษณุปัดจุ้นคดี ฟิลลิปมอร์ริส รมต.แจงม.44 โละบอร์ดสปส.

     บิ๊กตู่ เซ็นตั้งลูกสาวมีชัย นั่งรองเลขาฯในคสช. รมว.แรงงานแจง ใช้ม.44 โละบอร์ดประกันสังคม เพื่อความรวดเร็วในการบริหาร 'กรธ.'ยังถกหมวดองค์กรอิสระ จ่อดึงใบเหลืองให้ศาลตัดสิน แต่ให้กกต. คนเดียวสั่งงดลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งได้ ยันจัดสรรปันส่วนผสม-ไม่ซับซ้อน นิวัฒน์ธำรงให้ปากคำคดีข้าว ยัน'ปู'ไม่ได้ละเลย ให้มีทุจริต ส่วนข้าวเสียโกดังต้องรับผิดชอบ 'วิษณุ'โต้วุ่น อ้างกฎหมาย ปัดแทรกแซงคดี ฟิลลิปมอร์ริส

วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ปีที่ 25 ฉบับที่ 9113 ข่าวสดรายวัน

สปท.วางแนวอภิปราย'ร่างรธน.'

     เมื่อวันที่ 9 พ.ย. ที่รัฐสภา ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เป็นประธานการประชุม สปท. ก่อนเข้าสู่วาระ นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกสปท. ขอหารือถึงแนวทางอภิปรายแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ในการประชุมสปท.ในวันที่ 10 พ.ย. นี้ว่าจะดำเนินการอย่างไรให้ถูกต้องและเป็นผลมากที่สุด

      ร.อ.ทินพันธุ์ชี้แจงว่า นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ได้ประสานให้สปท.เสนอความเห็นในกรอบร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนเห็นว่ารายงานของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้เสนอครม. จะมี 8 วาระพัฒนาที่น่าจะได้ดำเนินการต่อ และควรฝากให้กรธ.บรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งดำเนินการต่อ เพราะการปฏิรูปประเทศจะจบลงแค่แม่น้ำ 5 สายไม่ได้ หากสมาชิกมีประเด็นเพิ่มเติม ก็เสนอได้ และในวันที่ 12 พ.ย. จะประชุมคณะกรรมการประสานงาน (วิป) สปท. เพื่อกำหนดแนวทางดำเนินงานของสปท.

"กษิต"ชงไฟเขียวพรรคถกปฏิรูป

      นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสปท.คนที่ 1 ชี้แจงว่า แนวทางการอภิปรายจะเป็นอิสระ ไม่ได้ผูกมัด โดยสมาชิกจะรวบรวมทุกประเด็นเป็นข้อเสนอส่ง กรธ. และหน้าที่อีกประการของสปท.คือ ร่วมกันจัดทำยกร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ หมายรวมถึงพ.ร.บ.ที่เกี่ยวกับการเงินที่ต้องส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา โดย จะมีวิป 2 ชุดเป็นคนกลางประสานงาน คือ วิปร่วมระหว่างครม. สปท. และสนช. และ วิปร่วมระหว่างสนช. กรธ.และสปท. ทั้งนี้ การอภิปรายต้องคำนึงถึงกฎหมายในการปฏิรูปประเทศและสิ่งที่ควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งความคิดเห็นของสมาชิกทั้งหมดจะรวบรวมและส่งกรธ.ต่อไป

      นายกษิต ภิรมย์ สมาชิก สปท. หารือว่า ตนพูดในฐานะตัวแทนพรรคการเมืองที่มี สมาชิกในสปท.กว่า 10 คน เพื่อให้ทุกส่วนมีส่วนร่วมปฏิรูป ขอเสนอให้ประธานสปท.ประสานรัฐบาลอนุญาตให้พรรคประชุมในสถานที่ของตนเอง เพื่อหารือเรื่องการปฏิรูป โดยจะมอบให้ตนมาชี้แจงในสปท.หรือส่งข้อคิดเห็นไปยังรัฐบาลก็ได้ และจะไม่มีการ กวนเมือง หรือบิดเบือนข้อเท็จจริง หากมีการกวนเมืองก็ต้องลงโทษ พรรคก็ต้องรับโทษไป

     พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกสปท. เสนอว่า การอภิปรายข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญนั้น อยากให้สมาชิกซึ่งรู้อยู่แล้วว่าตนเองสนใจด้านใดให้พูดเรื่องนั้นๆ ว่าควรบรรจุเรื่องใดในรัฐธรรมนูญบ้าง จะเป็นประโยชน์กับการร่างรัฐธรรมนูญมากกว่า

กรธ.จ่อยกใบเหลืองให้ศาลชี้

     วันเดียวกัน นายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษก กรธ. แถลงความคืบหน้าการร่างรัฐธรรมนูญ ในส่วนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่า เบื้องต้นที่ประชุมจะคงให้กกต.มีอำนาจให้ใบเหลืองเพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ได้ ในกรณีที่มีหลักฐานเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งไม่ได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม เพื่อให้ใบแดงเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งบุคคลนั้น จะต้องผ่านให้ศาลฎีกาวินิจฉัย โดยประเด็นนี้ยังไม่ใช่ข้อสรุป เนื่องจากทางกกต.ก็เสนอว่า อยากให้คงอำนาจการแจกใบแดงของกกต.ไว้ แต่ยังมีกรธ.เห็นว่า หากจะต้องมีการตัดสิทธิเลือกตั้ง ควรกำหนดให้เป็นอำนาจของฝ่ายตุลาการ แต่ให้ กกต. มีอำนาจไต่สวนและสั่งให้ออกเสียงประชามติใหม่ได้ เฉพาะเกิดกรณีการออกเสียงประชามติเป็นไปไม่ชอบด้วยกฎหมาย

      นายอมร กล่าวว่า ขณะเดียวกัน ให้กกต. มีอำนาจสามารถสั่งงดการลงคะแนนในรายหน่วยเลือกตั้งและให้มีการลงคะแนนใหม่ได้ หากพบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น โดยที่ผ่านมาจะต้องรอมติของกกต.ทั้ง 5 คน จึงจะสั่งงดการลงคะแนน ทำให้เกิดการทุจริตได้ การกำหนดอำนาจแบบใหม่นี้ เกิดจากกรธ.ต้องการเน้นการป้องกันการทุจริตเชิงรุก โดยให้อำนาจ กกต.เพียงคนเดียวที่พบเห็นการทุจริตซึ่งหน้าก็สามารถสั่งงดการลงคะแนนได้ทันที ซึ่งการทุจริตที่จะสามารถสั่งปิดหน่วยได้นั้น จะต้องเกิดขึ้นอย่างชัดแจ้ง อย่างไรก็ตาม เมื่อหารือถึงประเด็นนี้ กรธ.มีการยกตัวอย่างถึงเหตุการณ์ การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ.57 ที่มีปัญหาด้วย แต่ไม่ใช่สาระสำคัญกับการให้อำนาจนี้แก่กกต.

ยันจัดสรรปันส่วนผสม-ไม่ซับซ้อน

      โฆษกกรธ. กล่าวว่า ส่วนที่ถูกตั้งคำถามว่า เกณฑ์การทุจริตจะต้องเป็นอย่างไร จึงจะสั่งปิดหน่วยเลือกตั้งได้นั้น ตนมองว่ากลไกการได้มาของกกต. ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด จะมารองรับการใช้ดุลพินิจได้เอง ส่วนรายละเอียดว่า เมื่อสั่งปิดหน่วยเลือกตั้งนั้นแล้ว จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายในกี่วัน กรธ.ยังไม่ได้ลงรายละเอียด แต่หากดูตามข้อกำหนดเดิม กกต.ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ภายใน 90 วัน ส่วนปัญหาที่ว่า หากปิดหน่วยเลือกตั้งแล้วจะมีผลต่อการรับรอง ส.ส.หรือไม่ ประเด็นนี้อนุกรรมการศึกษาโครงสร้างอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติได้มีการหารือว่า อาจต้องมีการปรับเกณฑ์เดิมที่วางไว้ว่า จะเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรนัดแรกได้ต่อเมื่อ กกต. รับรอง ส.ส. เกิน 95 เปอร์เซ็นต์ แต่ครั้งนี้อาจจะลดเกณฑ์ดังกล่าวให้น้อยลง เนื่องจากเป็นเกณฑ์ที่สูงเกินไป เพราะ กกต.อาจมีปัญหาในการรับรองผลได้

     นายอมร กล่าวอีกว่า สำหรับคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระนั้น ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อยุติ แต่มีแนวโน้มว่า อาจจะกำหนดโครงสร้างคณะกรรมการสรรหา ให้มาจากตัวแทนของแต่ละองค์กร ซึ่งอาจจะไม่ตายตัวว่า คณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระแต่ละชุดจะเป็นคนเดียวกัน ขณะที่การเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ที่ยังมีความกังวลว่า หากจำนวน ส.ส.ส่วนเกินกว่าจำนวนที่กำหนดจะทำอย่างไร ทางกรธ. ก็พิจารณาแล้วหวังว่า จะใช้การคำนวณไม่ซับซ้อน เปรียบเทียบในลักษณะบัญญัติไตรยางศ์ ที่คิดจากฐานของส.ส.บัญชีรายชื่อที่กำหนดให้มี 150 คน ยืนยันว่า กรธ.ต้องการความเป็นธรรมให้กับทุกพรรค การเมือง ไม่ใช่ช่วยเหลือพรรคการเมืองใด ส่วนกรณีที่บางพรรคการเมืองมีศักยภาพส่ง ผู้สมัคร ส.ส.เขตที่ไม่ครบทุกเขตนั้น กรธ. จะไม่เขียนบทบังคับให้ดำเนินการใดๆ เพราะต้องการให้พรรคการเมืองต่างๆ มีการพัฒนาภายในพรรคตามศักยภาพที่พึงมี

แห่ยื่นเสนอแนะ'กรธ.'

      ที่รัฐสภา นายประเสริฐ บุญชัยสุข เลขาธิการพรรคชาติพัฒนา เข้ายื่นหนังสือข้อเสนอแนะการร่างรัฐธรรมนูญ ต่อนายอมร วาณิชวิวัฒน์ โฆษกกรธ. โดย นายประเสริฐ กล่าวว่า อยากเห็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ สั้นกระชับชัดเจน ยึดโยงประชาชน เป็นไปตามหลักประชาธิปไตยสากล คำนึงถึงสภาวการณ์ในประเทศและต่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และสอดคล้องตามเจตนาการปฏิรูป ทั้งนี้ ต้องยึดหลักความเป็นธรรมและเป็นกลาง ขณะที่ระบบเลือกตั้งควรมีทั้งแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ นอกจากนี้ในเรื่องการทุจริต เห็นว่าน่าจะตั้งแผนกคดีของศาลอาญาขึ้นมาเฉพาะ เปิดให้ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิหาหลักฐานชี้แจงอย่างเต็มที่

      นายสุวัฒน์ นวลขาว นายกสมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต พร้อมด้วยนายมนูญ พรรณลีวรรณ ประธานที่ปรึกษาสมาคม เข้ายื่นข้อเสนอให้แยกบทบาทหน้าที่ของส.ส. ทั้งส.ส.เขตและส.ส.บัญชีรายชื่อ ออกจากกันเด็ดขาด ส.ส.เขตไม่สังกัดพรรค ทำหน้าที่ออกกฎหมายไม่ยุ่งเกี่ยวกับการบริหาร ส.ส.บัญชีรายชื่อสังกัดพรรคทำหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาการบริหาร ตรวจสอบนโยบายและควบคุมการบริหารของรัฐบาล ส่วนส.ว.มาจากการ กลั่นกรองผ่านคณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัด มีหน้าที่เพียงกลั่นกรองกฎหมายผ่านข้อเสนอแนะ และควรให้ส.ว.มีหน้าที่สรรหาคณะกรรมการองค์กรอิสระ

     ด้านพุทธอิสระ เข้ายื่นหนังสือเรียกร้องให้ผลักดันการปฏิรูปวงการคณะสงฆ์และกิจการพระพุทธศาสนา ต่อนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ.

มีชัยลั่นต้องบังคับทุกคนมีคุณธรรม

      ด้านนายมีชัยกล่าวว่า ขอบคุณที่ห่วงใย ประเด็นการปฏิรูปพุทธศาสนา กรธ.ก็ตระหนักเช่นกันว่าศาสนาพุทธตกอยู่ในอันตราย จากปัจจัยภายในและภายนอก จึงจำเป็นต้องกำหนดหน้าที่เพื่อแก้ปัญหา เบื้องต้นกรธ.ได้ร่างเนื้อหารัฐธรรมนูญไว้แล้วว่า จะกำหนดให้ฝ่ายฆราวาสเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้การปฏิรูปแก้ปัญหามีความหนักแน่น ส่วนประเด็นจริยธรรม คุณธรรม กรธ.มองว่าทุกภาคส่วนในสังคมต้องเป็นเจ้าภาพร่วมกันกำหนด ซึ่งต้องมีข้อบังคับว่าทุกองคาพยพต้องอยู่ภายใต้คุณธรรมและจริยธรรม ที่ร่วมกันกำหนดขึ้น หากใครฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษ ไม่สามารถกลับมาได้อีกตลอดชีวิต เช่นเดียวกับการทุจริตการซื้อสิทธิ์ขายเสียงการเลือกตั้ง ที่กรธ.กำหนดให้ตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต ทั้งหมดนี้คือ 3 ประเด็นที่กรธ.คิดออกในตอนนี้

     นายมีชัย กล่าวว่า ประเด็นการปฏิรูปเป็นทั้งเรื่องของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายทั่วไป ตนพร้อมให้คำปรึกษา หากมีประเด็นปฏิรูปที่เกี่ยวกับกฎหมาย ก่อนส่งให้สนช.ที่รับผิดชอบหน้าที่นี้ดำเนินการต่อไป

เด็กปชป.ก็ยื่นเสนอ 4 ข้อ

     ด้านนายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส. กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะอดีตประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภา ผู้แทนราษฎร เข้ายื่นหนังสือเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ ต่อนายมีชัย 4 เรื่อง โดยนายวิลาศกล่าวว่า พบว่ายังมีปัญหาปราบปรามการทุจริตอย่างน้อย 4 กรณีคือ 1.ขอให้กรธ.พิจารณากำหนดระยะเวลาให้องค์กรอิสระ ทุกองค์กร ที่มีหน้าที่ป้องกันปราบปรามการทุจริต มีระเบียบรองรับโดยระบุระยะเวลาขั้นตอนการพิจารณาให้ชัดเจน เพื่อมิให้พยานและหลักฐานถูกทำลาย ถูกข่มขู่ หรือถูกซื้อเพื่อให้กลับคำให้การ

      2.ประชาชนที่จะร่วมป้องกันการโกง สามารถเข้าถึงพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารทางราชการ พ.ศ.2540 แม้จะทำเรื่องขอข้อมูลแต่ไม่มีการกำหนดระยะเวลาส่งกลับข้อมูลให้ทราบ ซึ่งยังล่าช้า ไม่เป็นบรรทัดฐาน 3.การเปิดหลักสูตรอบรมเพื่อรับประกาศนียบัตรขององค์กรอิสระ อาทิ กกต. และศาล ไม่มีความจำเป็น 4.ขอเสนอให้เพิ่มอำนาจของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ให้มีอำนาจเหมือนป.ป.ช.

     ด้านนายมีชัยกล่าวว่าจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมไว้พิจารณาต่อไป

เทือกชี้นักการเมืองต้องยึดกติกา

      วันเดียวกัน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย กล่าวถึงระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมของ กรธ. ว่า ต้องยอมรับความจริงว่าไม่มีใครเขียนรัฐธรรมนูญให้ตรงกับความต้องการของแต่ละคนได้ ตนเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไว้วางใจนายมีชัย ซึ่งตนสบายใจที่นายมีชัยยอมเสียสละมารับหน้าที่นี้ ทั้งนี้ตนไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งที่จะให้ประชาชนกาบัตรใบเดียว แต่เรื่องใหญ่ คือต้องทำให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ ยุติธรรม ระบบแบบเดิมที่ให้ประชาชนเลือกผู้แทนเขตละ 1 คน คนสอบตกกลับไปอยู่บ้าน แบบนี้ตรงไปตรงมา ประชาชนเข้าใจง่ายที่สุด แต่ตอนนี้มีความคิดเสียดายคะแนนของคนที่สอบตก ดังนั้นไม่ว่าจะคิดกันอย่างไร อย่าให้ประชาชนต้องพกคอมพิวเตอร์ไปคำนวณคะแนนจนกว่าจะรู้ผลเลือกตั้ง เพราะประชาชนไม่ได้ลงลึกซึ้งถึงขนาดนั้น

      เมื่อถามว่า มีนักการเมืองบางคนคัดค้านระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ นายสุเทพกล่าวว่า อยากให้นักการเมืองทำใจให้กว้าง ตัวเองเปรียบเสมือนนักกีฬา ไม่ต้องวิตกกังวลว่าเขากำหนดกฎเกณฑ์กติกาอย่างไร ถึงเวลาก็ลงแข่งขันตามกฎกติกา ข้อสำคัญคือกฎเกณฑ์ กติกาต้องยุติธรรม คนเล่นต้องเล่นอย่างขาวสะอาด สิ่งสำคัญไม่ใช่เรื่องรูปแบบการเลือกตั้งหรือวิธีเลือกตั้ง แต่จะทำอย่างไรให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบการเลือกตั้งจัดเลือกตั้งที่ยุติธรรมให้ได้ เมื่อกติกาออกมาอย่างไรก็ควรยอมรับ ส่วนส.ส.บัญชีรายชื่อถือว่ามีประโยชน์น้อยมากสำหรับประชาชน สำหรับการเพิ่มบทบาท กกต. หากจะมีกกต.อย่างที่เป็นมาก็ไม่ควรมีดีกว่า แต่ถ้าจะมี ควรมีหน้าที่สืบสวนสอบสวนจับกุมดำเนินคดีผู้ที่ทุจริตเลือกตั้ง ซึ่งตนเห็นด้วยกับการตัดสิทธิผู้ทุจริตเลือกตั้งตลอดชีวิต

พท.ชี้ปัญหาอยู่ที่คนไม่รับกติกา

     นายวรชัย เหมะ อดีตส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในประเทศเมียนมา ส่งผลให้กระแสความเป็นประชาธิปไตยแรงขึ้นอีกครั้ง ขณะที่คนไทยก็อยากเห็นประเทศไทยมีการเลือกตั้งโดยเร็ว แต่รัฐธรรมนูญยังไม่ถึงไหน กรธ.ได้แต่โยนหินถามทาง เช่น ระบบการเลือกตั้งใบเดียว สูตรการคำนวณ ส.ส.ที่แสนจะพิสดาร คนเลือกตั้งแพ้แต่ได้เป็นส.ส.บัญชีรายชื่อ เสมือนกีดกันพรรคเพื่อไทย ขณะที่ประเด็นสำคัญ เช่น ที่มาของนายกฯ ที่มาส.ว.ก็ยังไม่ชัดเจ ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่

      นายวรชัย กล่าวว่า หากนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.ยังออกแบบหรือร่างรัฐธรรมนูญอยู่แบบนี้ ก็เขียนห้ามคนในเครือข่ายของพรรคเพื่อไทยลงสมัครรับเลือกตั้งไปเลย จะได้ไม่ต้องมาแก้ตัวหรืออ้อมค้อมกันอยู่แบบนี้ ตัดปัญหาไปเลย เพราะประเทศเสียเวลามามากแล้ว จะได้รู้กันว่าคนที่อยู่ฝ่ายประชาธิปไตย ประชาชนเคยเลือกตั้งเข้ามา จะไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้

       "ปัญหาที่ผ่านมาไม่ได้อยู่ที่ระบบ แต่อยู่ที่คนที่ไม่ยอมรับกติกา แพ้เลือกตั้งแล้วสร้างสถานการณ์ ตรงนี้เป็นปัญหาที่กรธ.ต้องหาทางแก้ไข นายมีชัยเป็นถึงมือกฎหมายระดับชาติ หากตั้งใจแก้ปัญหาของประเทศจริง ขอให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นหลักตามสากล เช่น ที่มานายกฯ ต้องเป็นส.ส.มาจากการเลือกตั้งเพื่อยึดโยงกับประชาชน ที่มาของ ส.ว.ก็ควรมาจากการเลือกตั้งด้วย ระบบการเลือกตั้งควรใช้แบบรัฐธรรมนูญปี"40 และ 50 เลือกตั้งระบบเขต 1 ใบและระบบปาร์ตี้ลิสต์อีก 1 ใบ อย่าทำอะไรที่ผิดเพี้ยนจากเดิม ทำดีเพื่อประเทศเป็นครั้งสุดท้าย" นายวรชัยกล่าว

พท.ชี้คดีทุจริตอืดอื้อ-ลุยเร่งรัด

      ด้านพล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ตามที่พรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งสำนักงานปราบโกง (สปก.) เมื่อครั้งการเมืองอยู่ในห้วงเวลาปกติ โดยมี น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ อดีตรมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้อำนวยการศูนย์ เพื่อรวบรวม ติดตาม ตรวจสอบ กำหนดมาตรการที่จำเป็นและเหมาะสมในการดำเนินการกับการกระทำและโครงการที่อยู่ในข่ายทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งในอดีตได้ดำเนินการหลายเรื่องสำคัญ และยื่นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบคดีต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

      ทั้งนี้ สถานการณ์ปัจจุบัน มีหลายโครงการที่อยู่ในขั้นไต่สวนตรวจสอบขององค์กรที่เกี่ยวข้อง พบว่ามีความล่าช้า ผิดปกติ มีลักษณะเลือกปฏิบัติ จึงเห็นเป็นความจำเป็นที่จะรื้อฟื้นการทำงานของสปก.ขึ้น เพื่อเร่งรัด ติดตาม โครงการที่มีการทุจริตและอยู่ในระหว่างการตรวจสอบขององค์กรอิสระ เช่น ป.ป.ช. โดยในขั้นแรกจะติดตามคดีสำคัญๆ ที่ถูกพูดถึงในลักษณะที่มีการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างชัดเจน เป็นเหตุให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณอย่างมหาศาล แต่มีความล่าช้าผิดปกติ เช่น โครงการจีที 200 โครงการก่อสร้างโรงพักทดแทน 396 แห่ง โครงการประกันราคาข้าว โครงการจัดซื้อเรือเหาะ เป็นต้น โดยจะตรวจสอบและมอบหมายให้มีคณะทำงานติดตามเรื่องอย่างเร่งด่วน ต่อไป

วิษณุชี้รบ.ไม่ขวาง-พท.ปราบโกง

     ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ให้สัมภาษณ์กรณีพรรคเพื่อไทย จะฟื้นสำนักงานปราบโกง (สปก.) เพื่อตรวจสอบคดีทุจริตที่รัฐดำเนินการล่าช้า ว่า ตั้งได้ รัฐบาลไม่ว่าอะไร และถือว่าไม่ผิดกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุม หากพรรคไม่ตั้งสำนักงานนี้บังหน้าเพื่อกิจกรรมทางการเมือง รัฐบาลก็พร้อมจะส่งเสริม ถือเป็นสิ่งที่ดี แต่หากดำเนินการแล้วต้องห้ามเข้าข่ายการชุมนุม ตั้งเพื่อบังหน้าเพื่อก่อความไม่สงบก็ไม่สามารถทำได้

    นายวิษณุ ยังกล่าวถึงการขยายเวลาสอบเพิ่มเติมพยานคดีโครงการรับจำนำข้าวของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อความรับผิดทางละเมิดของกระทรวงการคลังว่า ทราบว่าขยายเวลาออกไปอีก 1 เดือน และสิ้นสุดวันที่ 30 พ.ย. ส่วนกรณีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตรมว.พาณิชย์ เข้าให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการไต่สวนความรับผิดทางแพ่งเพื่อพิจารณาค่าเสียหายคดีโครงการรับจำนำข้าว ที่กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ นั้น ตนไม่ทราบว่านายนิวัฒน์ธำรง เดินทางไปทำไมทั้งที่สำนวนสอบของกระทรวงพาณิชย์เสร็จสิ้นแล้ว

      นายวิษณุยังกล่าวถึงกรณีฝ่ายการเมืองเรียกร้องให้กรธ. ทบทวนแนวคิดกาบัตรเดียวในการลงคะแนนเลือกตั้ง ว่า ไม่เป็นปัญหา หากประชาชนที่เข้าไปเลือกไม่กาเบอร์ใดเลย กกต.ก็ไม่นำคะแนนมานับเพราะไม่มีอะไรจะให้มานับ ส่วนกรณีคนที่อยากเลือกพรรคกับตัวบุคคลคนละพรรคกัน มองว่าไม่เป็นไร เพราะหากไม่กาก็ไม่มีอะไรที่เป็นคะแนนมานับ แต่ขึ้นอยู่กับกติกาว่ากกต.บังคับอย่างไร เชื่อว่าไม่มีอะไรมาบังคับได้ ปล่อยให้เป็นอิสระในการลงคะแนน ซึ่งกติกาใหม่ที่กรธ.จะร่าง เข้าใจว่าทุกพรรคจะอยู่ในใบเดียว ไม่ใช่ในลักษณะพรรคละใบ ดังนั้นบัตรเลือกตั้งก็จะยาวกว่าเดิมเท่านั้น 

นิวัฒน์ธำรงให้ปากคำคดีข้าว

      ที่กระทรวงพาณิชย์ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตรองนายกฯ และรมว.พาณิชย์ เข้าให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดในโครงการรับจำนำข้าว โดยมีนายจิรชัย มูลทองโร่ย หัวหน้าผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

       จากนั้นนายนิวัฒน์ธำรง เปิดเผยว่า ตนได้ให้ข้อมูล 12 ประเด็นที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ไม่ได้ปล่อยปละละเลยให้เกิดความเสียหายในโครงการรับจำนำข้าว เพราะการดำเนินการโครงการนี้อยู่ภายใต้หลักพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.)ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ที่จะต้องประเมินความคุ้มค่าของโครงการต่อชาวนา ระบบเศรษฐกิจ การเก็บภาษี และสังคม มากกว่าเรื่องกำไรขาดทุน ซึ่งมีหน่วยงานประเมินความคุ้มค่าตามกฎหมาย 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนัก งบประมาณ ซึ่งทั้งสองหน่วยงานได้ประเมินโครงการ ให้ข้อมูลและให้ความเห็นชอบโครงการรับจำนำข้าวมาตลอด

ยัน"ปู"ไม่ได้ละเลยให้มีทุจริต

      นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า ตนมาให้ข้อมูลครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ครั้งแรกใช้เวลา 2 ชั่วโมงรวม 5 ชั่วโมง หลักๆ สอบถามถึงความเสียหายจากการละเมิด ซึ่งได้ชี้แจงว่าทำตามข้อกฎหมายแล้ว ซึ่งโครงการรับจำนำอยู่ภายใต้ข้อกฎหมายมากกว่า 10 ฉบับและพ.ร.ฎ.นี้เป็นฉบับหนึ่งที่รัฐบาลขณะนั้นถือปฏิบัติ รวมถึงบอกว่าโครงการรับจำนำข้าวให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจในทางตรงและทางอ้อมหลายประการ ไทยใช้เงินในโครงการรับจำนำเพียง 6 แสนล้านบาทสำหรับโครงการ 3 ปี ซึ่งน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั้งสหรัฐที่ใช้มากกว่า 2.6-2.7 ล้านล้านบาท ต่อปี ญี่ปุ่นใช้ 2 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งคณะกรรมการได้ขอให้ส่งเอกสารข้อมูลเพิ่มเติม

      นายนิวัฒน์ธำรง กล่าวว่า หากพิจารณาประโยชน์ที่เกิดขึ้นต่อชาวนาและประเทศ พบว่าทำให้ชาวนามีเงินเพิ่มต่อปี ประมาณ 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งเพิ่มการหมุนเวียนเงินในระบบ 2-7% รวมถึงทำให้มีเงินเพิ่มในระบบเศรษฐกิจ 3.5 ถึง 7 แสนล้านบาท ส่งผลให้ จีดีพีของประเทศดีขึ้น และทำให้รัฐบาลเก็บภาษีได้มากขึ้น ทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีนิติบุคคลอีกด้วย ส่วนมาตรการป้องกันการทุจริต ยืนยันว่าอดีตนายกฯไม่ได้ปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริต โดยได้วาง 4 มาตรการคือ การป้องกัน ตรวจสอบ ลดความเสี่ยง และปราบปรามการทุจริตอย่างจริงจัง หากพบว่ามีการทุจริตในระดับอื่นก็ต้องว่าเป็นบุคคลไป และจะต้องให้ความเป็นธรรม ถ้าทุจริตจริงต้องดำเนินคดีทางกฎหมายต่อไป

ชี้ข้าวเสียโกดังต้องรับผิดชอบ

      อดีตรมว.พาณิชย์กล่าวว่า ส่วนการระบายข้าวได้ชี้แจงว่า ก่อนหน้านี้ใช้วิธีระบายแบบยกคลัง โดยให้เอกชนไปดูสภาพข้าวก่อนเสนอราคา ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมเนื่องจากข้าวมีจำนวนมากถึง 18 ล้านตัน อยู่ในคลังสินค้ามากกว่า 1,000 แห่งทั่วประเทศ หากรัฐบาลจะตรวจสอบสต๊อกก่อนพิจารณาระบายจะเสียเวลา และส่งผลต่อสภาพข้าวที่จะเสื่อมสภาพลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสภาพข้าวในคลังรัฐบาลสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากเจ้าของโกดัง หรือเซอร์เวเยอร์ได้ตามสัญญาที่ทำไว้กับเอกชนอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องตรวจสภาพอีก ทำให้การระบายข้าวขณะนั้นดำเนินการได้เฉลี่ยเดือนละ 1 ล้านตัน ส่วนราคาขายก็เป็นไปตามวิธีคำนวณที่เชื่อว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันก็ใช้วิธีเดียวกันนี้อยู่แล้ว คือคำนวณจากราคาตลาดและกำหนดไว้เป็นราคาขั้นต่ำ หากเอกชนเสนอมาสูงกว่าก็เจรจาต่อรองจนได้ราคาที่เหมาะสมจึงจะอนุมัติขายนั่นเอง

'บิ๊กตู่'เซ็นตั้งทีมงานคสช.

       วันที่ 9 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 15/2558 เรื่องแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานใน คสช. มีเนื้อหาว่า ตามที่มีประกาศ คสช. ฉบับที่ 93/ 2557 ลงวันที่ 17 ก.ค. 2558 เรื่องการกำหนดอัตราตำแหน่งและค่าตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานในคสช.นั้น เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจของ คสช. และการสนับสนุนภารกิจของรัฐบาลเรียบร้อย จึงให้เปลี่ยนแปลงการแต่งตั้งบุคคลปฏิบัติงานใน คสช.ตามคำสั่ง คสช.ที่ 113/2557 เรื่องการแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานใน คสช.ลงวันที่ 5 ส.ค. 2557 และคำสั่งคสช.ที่ 124/2557 เรื่อง แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานในคสช.ลงวันที่ 22 ต.ค. 2557 ดังนี้

       รองเลขาธิการประจำผู้ดำรงตำแหน่งใน คสช. 14 ราย ได้แก่ พล.อ.อาทร โลหิตกุล เป็นรองเลขาธิการฯ ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ, พล.ต.อนุศิษฐ์ ศุภธนิต เป็นรองเลขาธิการฯ ของพล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร, พล.ร.อ.บรรจบ ปรีชา เป็นรองเลขาธิการฯ ของพล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย, พล.อ.ท. สุรศักดิ์ หมู่พยัคฆ์ เป็นรองเลขาธิการฯ ของพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง

      พล.อ.มงคล เผ่าพงษ์คล้าย เป็นรองเลขาธิการฯ ของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว, พล.ท.จารุวุฒิ ศิระพลานนท์ เป็นรองเลขา ธิการฯ ของพล.อ.อุดมเดช สีตบุตร, พล.ท. เยาวดนัย ภู่เจริญยศ เป็นรองเลขาธิการฯ ของ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา, พล.อ.ฐิตินันท์ ธัญญสิริ เป็นรองเลขาธิการฯ ของพล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา

       พล.อ.พรพิพัฒน์ เบญญศรี เป็นรองเลขา ธิการฯ ของ พล.อ.สมหมาย เกาฏีระ, พล.ร.อ.ชุมพล วงศ์เวคิน เป็นรองเลขาธิการฯ ของพล.ร.อ.ณะ อารีนิจ, พล.อ.อ.มณฑล สัชฌุกร เป็นรองเลขาธิการฯ ของพล.อ.อ. ตรีทศ สนแจ้ง, พ.ต.อ.รุ่งโรจน์ สายันประเสริฐ เป็นรองเลขาธิการฯ ของพล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา

ดึงลูก'มีชัย'ช่วยงานคสช.

    นางมยุระ ช่วงโชติ ลูกสาวของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นรองเลขาธิการฯ ของนายมีชัย และพล.อ.ชีวัน โหละบุตร เป็นรองเลขา ธิการฯ ของพล.อ.ธีรชัย นาควานิช

   ส่วนที่ปรึกษาประจำผู้ดำรงตำแหน่งใน คสช. 14 ราย ได้แก่ พล.อ.อมรฤทธิ์ แพทย์เจริญ เป็นที่ปรึกษาฯ พล.อ.ประวิตร, พล.อ.ประภาณ สุวรรณวัฒน์ เป็นที่ปรึกษาฯ พล.อ.ธนะศักดิ์, พล.ร.อ.มานิตย์ สูนนาดำ เป็นที่ปรึกษาฯ พล.ร.อ.ณรงค์

    พล.อ.อ.วิโรจน์ นิสยันต์ เป็นที่ปรึกษาฯ พล.อ.อ.ประจิน, พล.ต.ต.เกรียงศักดิ์ อรุณศรีโสภณ เป็นที่ปรึกษาฯ พล.ต.อ.อดุลย์, พล.อ. ระพีศักดิ์ ธนะพัฒน์ เป็นที่ปรึกษาฯ พล.อ. อุดมเดช, พล.ต.ทรงศักดิ์ สหสมโชค เป็น ที่ปรึกษาฯ พล.อ.ไพบูลย์, พล.อ.เด่นดวง ทิมวัฒนา เป็นที่ปรึกษาฯ พล.อ.ปรีชา, พล.อ. สุรสิทธิ์ ถาวร เป็นที่ปรึกษาฯ พล.อ.สมหมาย

    พล.ร.อ.บุญชัย มรินทร์พงษ์ เป็นที่ปรึกษาฯ พล.ร.อ.ณะ, พล.อ.อ.วิจิตร์ จิตร์ภักดี เป็นที่ปรึกษาฯ พล.อ.อ.ตรีทศ, พล.ต.อ. อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช เป็นที่ปรึกษาฯ พล.ต.อ.จักรทิพย์, พล.ต.ต.ไพศาล เชื้อรอด เป็นที่ปรึกษาฯ นายมีชัย, พล.ต.ม.ล.เพิ่มวุทธิ์ สวัสดิวัตน์ เป็นที่ปรึกษาฯ พล.อ.ธีรชัย

    พ.อ.วินธัย สุวารี เป็นโฆษกประจำ คสช. พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง เป็น รองโฆษกประจำ คสช. และพล.ต.วิระ โรจนวาศ นายคนันท์ ชัยชนะ น.ส.ณัชฐานันท์ รูปขจร น.ส. ปถมาภรณ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต เป็นประจำ คสช.

   ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2558 เป็นต้นไป สั่ง วันที่ 30 ต.ค. ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!