WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Pประยทธ จนทรโอชา6นายกฯ คาดกระบวนการเลือกตั้งเริ่มต้นปีหน้า เตรียมการ 5 เดือน-ได้รัฐบาลอีก 3 เดือน

      พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า กระบวนการเลือกตั้งจะเริ่มต้นในปี 61 ถือเป็นการนับ 3 กระบวนการตามโรดแมพ โดยคาดว่าจะใช้เวลาเตรียมการเลือกตั้งราว 5 เดือน จากนั้นกว่าจะมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและจัดตั้งรัฐบาลใหม่คงต้องใช้เวลาอีกประมาณ 3 เดือน

      "ปีใหม่เริ่มตั้งกรรมการเลือกตั้ง การหาเสียง การเดินหน้าจัดการเลือกตั้ง การประชุมพรรค ก็ใช้เวลา 5 เดือนแล้ว กว่าจะมีการจัดตั้งรัฐบาลต้องมีการประชุมสภาก็อีก 2-3 เดือน อย่างมากอีก 3 เดือนกว่าจะได้รัฐบาล"นายกรัฐมนตรี กล่าว

     นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วมีความจำเป็นต้องยกร่างกฎหมายลูกรวม 10 ฉบับ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ให้ดำเนินการภายใน 8 เดือน ก่อนจะเริ่มกระบวนการเพื่อเข้าสู่การเลือกตั้งครั้งใหม่

    "ขอว่าหากจะดำเนินการใดๆ ก็น่าจะไปเริ่มในปีหน้า รวมถึงขั้นตอนการเลือกตั้งที่จะต้องเริ่มในปีหน้าด้วย โดยยังอยู่ในกรอบเวลาที่กำหนดไว้ที่จะต้องจัดทำกฎหมายลูกภายใน 8 เดือน และเริ่มกระบวนการไปสู่การเลือกตั้ง ทั้งเรื่องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง การสมัครรับเลือกตั้ง และรณรงค์หาเสียงในปีหน้า แต่ไม่ใช่เมื่อบอกว่าเริ่มในปีหน้าก็จะนับตั้งแต่วันที่ 1 เพราะต้องให้เวลากับฝ่ายต่างๆ ในการเตรียมการ"นายกรัฐมนตรี กล่าว

      สำหรับ กรณีที่มีการอ้างถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สิทธิเสรีภาพไม่ใช่การปล่อยให้ทุกคนจะทำสิ่งใดก็ได้ แต่ต้องไปดูว่ามาตราต่าง ๆ ในรัฐธรรมนูญต้องมีกฎหมายลูกเข้ามารองรับ เช่น ทุกคนต้องไม่ละเมิดกฎจราจร ต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ต้องไม่ทำให้เกิดปัญหาด้านความมั่นคง ไม่เกิดการยุยงปลุกปั่น จึงไม่สามารถมองเรื่องสิทธิเสรีภาพอย่างเดียวได้ เพราะอาจทำให้เกิดปัญหา

      พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ขอให้สื่อนำเสนอสิ่งที่ดีและทุกคนไม่ควรเรียกร้องในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะจะทำให้เกิดปัญหาเช่นเดิม และหากประเทศเสียหายก็จะไม่เกิดประโยชน์กับใคร และขออย่าให้มีการประท้วงตามสถานที่ราชการ เพราะไม่เกิดประโยชน์ และตนเองก็ไม่อยากบังคับใช้กฎหมาย วันนี้ทุกคนจึงต้องกลับมาดูว่าประเทศชาติมีปัญหาอะไรและตัวเองอยู่ในปัญหาหรือไม่ หากอยู่ในปัญหาก็จะต้องแก้ที่ตัวเองด้วย หากไม่อยู่ในปัญหาก็ต้องสนับสนุนให้เกิดการแก้ปัญหา

     "ทุกอย่างจะต้องแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง แม้แต่รัฐธรรมนูญ หากวันหน้ามีความจำเป็นก็ต้องมีการแก้ไขอีก เพราะรัฐบาลมีอำนาจในทางบริหาร และในวันข้างหน้าก็ต้องทำงานร่วมกับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอยู่แล้ว"พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

     พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึงปัญหาที่บริษัททัวร์ลอยแพลูกทัวร์ทำให้มีผู้โดยสารตกค้างที่สนามบินสุวรรณภูมินับพันคนว่า ได้สั่งการให้มีการตรวจสอบผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบทั้ง 2,000 คนแล้ว แต่ที่สำคัญมองว่าคนไทยเป็นคนเชื่อคนง่าย จึงอาจถูกหลอกลวงได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ควรจะต้องตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อน

     "สิ่งสำคัญอันหนึ่ง คนไทยเชื่อง่าย เวลาผมพูดแล้วไม่เชื่อ เวลาคนอื่นพูดแล้วก็โกง ผมไม่โกงเขา อย่าไปเชื่ออะไรง่ายๆ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

     พร้อมระบุว่า รัฐบาลต้องการจะเข้าไปดูแลปัญหาที่เกิดขึ้น แต่จะต้องพิจารณาตามข้อกฏหมายที่มีอยู่ ซึ่งกรณีนี้คงต้องมีการฟ้องร้องและไปต่อสู้คดีในชั้นศาลต่อไป

นายกฯ คาดหวังสถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้นหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

      พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงสถานการณ์บ้านเมืองหลังจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ว่า ส่วนตัวมีความคาดหวังว่าจะดีขึ้น และอยากให้ทุกคนใจเย็นลง เพราะถือเป็นการเริ่มนับหนึ่งของกระบวนการต่างๆ ตามโรดแมป ซึ่งขณะนี้บ้านเมืองก็เป็นไปอย่างเรียบร้อย แม้จะไม่ใช่ประชาธิปไตย 100% แต่จากผลสำรวจขององค์กรภายนอก ระบุว่าขณะนี้ภาพรวมเศรษฐกิจ การส่งออก และความเชื่อมั่นต่างชาตินั้นดีขึ้น

    "เป็นการนับหนึ่งตามขั้นตอนเดิม ตั้งแต่ปี 57 ประกาศไว้อย่างไรก็เป็นไปตามนั้น ก็อย่างที่บอกอาจจะมีคลาดเคลื่อนนิดหน่อย ก็คือในเรื่องของการมีพระราชพิธีเกิดขึ้น 2 พระราชพิธี ก็อย่างที่บอกการหาเสียงอะไรต่างๆ ก็ควรจะไปหลังนั้น แค่นั้นเอง หรือไปถามเขาดูสิ เขาไม่ยินยอมหรืออย่างไร เขาไม่มีความรู้สึกที่เสียใจกับเราหรือ"พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

     ส่วนกรณีที่ฝ่ายการเมืองเรียกร้องให้ลดการใช้มาตรา 44 นั้น นายกรัฐมนตรี ย้อนถามกลับว่า ทำไมไม่อยากให้มีการใช้มาตรา 44 จะกลัวทำไม เพราะการใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพื่อช่วยแก้ไขปัญหา โดยจะใช้เท่าที่จำเป็นและพยายามอย่างยิ่งที่จะไม่ให้ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากประเทศชาติไม่มีปัญหาก็ไม่จำเป็นต้องพิจารณาใช้อำนาจพิเศษ

      อินโฟเควสท์

นายกฯชี้ปัญหาของประเทศมี 3 เรื่อง วอนช่วยกันปรับตัว-เสียสละประโยชน์ส่วนน้อยเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่

    พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ 'ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน' ว่า ปัญหาของประเทศไทยมีไม่กี่เรื่อง อันแรกคือคำว่าประชาธิปไตยเป็นอย่างไรกับอนาธิปไตยเป็น อย่างไรก็ต้องทำความเข้าใจว่าควรจะเป็นอย่างไร เรื่องที่สอง คือ การลดความเหลื่อมล้ำ การสร้างความเป็นธรรม เศรษฐกิจและสังคม เรื่องที่สาม คือ การศึกษาที่ต้องสร้างหลักคิด แล้วก็ทำให้คนนั้นรู้จักคิดในสิ่งที่ดีทำความดี มีจิตสำนึกที่ดีเหล่านี้สามเรื่อง ผมว่าครอบคลุมในทุกปัญหานั่นแหละ เพราะฉะนั้นก็อยากให้ทุกคนนั้นได้เข้าใจร่วมกันแล้วก็แก้ปัญหาร่วมกัน

     ทั้งนี้ รัฐบาลจะแก้ปัญหาในเชิงนโยบายที่มีหลายประการด้วยกัน อาทิ ผังเมืองในการที่จะแก้ไขปัญหาน้ำหลาก น้ำท่วม ฝนแล้ง หรือว่าชุมชนเมืองที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย แต่มันมีผลกระทบกับประชาชนที่มีรายได้น้อย ถ้าเราไม่คำนึงถึงธรรมชาติของประเทศไทยที่สูงที่ต่ำทางน้ำไหลเหล่านี้ ก็ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ทุกคนไปบิดเบือนทั้งหมดคือ ไปปลูกในพื้นที่ปลูกบ้านในพื้นที่ไม่ควรจะอยู่ หรือไปบุกรุกป่าทำลายป่าเหล่านี้ ทำให้ทุกอย่างเป็นปัญหาที่รวมมาแล้วทำให้เกิดความเสียหาย เพราะฉะนั้นเราต้องร่วมมือกัน ระหว่างรัฐประชาชนให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

     ขณะเดียวกัน ก็ต้องลดความขัดแย้งไปด้วย และนับวันเรื่องการใช้พื้นที่ทำกินของประชาชนนับวันต้องมีมากขึ้น แต่ที่ดินเราก็น้อยลงทุกวัน ๆ เราจะทำอย่างไร สัดส่วนการใช้การถือครองที่ดินทำกินก็ลดลง บ้านเมืองก็แออัดมากขึ้น ไม่มีระเบียบกีดขวางการจราจร ทำถนนหนทางอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น แต่ทุกคนต้องการ จะแก้ด้วยอะไร ก็ต้องมาพูดคุยกันไม่อย่างนั้นอุปสรรคต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นมาแล้วก็บริหารจัดการอะไรไม่ได้เลย ภัยพิบัติต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นฝนตก ฝนแล้ง ดินถล่ม ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีปัญหาทั้งสิ้น ที่ไม่ค่อยถูก เพราะฉะนั้นเราต้องทำต้องร่วมกัน อย่าปล่อยปละละเลย เราใช้ประโยชน์จากธรรมชาติมากแล้ว

     "วันนี้ คงจะถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องช่วยกันปรับตัว คิดถึงการเสียสละประโยชน์ส่วนน้อยให้ได้ประโยชน์ส่วนใหญ่ แล้วก็ดูแลกันนะครับ หากทุกคนเอาแต่เรียกร้องก็ไม่รู้ว่าเท่าไหร่จะเพียงพอ ได้เท่านี้เอาเท่านั้น ได้เท่านั้นจะเอาต่อไป ทำนองนี้เรียกร้องให้พอเหมาะพอควร ไม่ว่าจะเรื่องของอะไรก็แล้วแต่ มีกติกาอยู่แล้วทั้งสิ้น แต่ทำอย่างไรจะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้ อันนี้ต่างหาก ถ้าเรียกร้องอย่างเดียวแล้วก็ให้ไปเรื่อย ๆ แล้ววันหน้าก็ไม่มีจะให้ วันนั้นบ้านเมืองก็เสียหายปั่นป่วนกลายเป็นอนาธิปไตยไปอีกไม่ใช่ประชาธิปไตยแล้ว เพราะฉะนั้นเรื่องการบริหารจัดการตนเองในแต่ละชุมชนนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่รัฐบาลให้ความสำคัญ"นายกฯกล่าว

     อินโฟเควสท์

นายกฯเผยรบ.มุ่งเน้นกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจสู่ภูมิภาคให้เจริญเติบโตด้วยตนเอง

    พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ 'ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน'ว่า รัฐบาลก็มุ่งเน้นจะกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจ กระจายความเจริญไปยังภูมิภาค กลุ่มจังหวัด จังหวัดแล้วก็ชุมชนหมู่บ้าน ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นจะต้องมีบทบาทในฐานะพ่อเมือง วันนี้เป็นข้าราชการทั้งสิ้น และทำงานต่างพระเนตรพระกรรณตามหน้าที่ตามภารกิจที่ได้ทรงมอบหมายไว้ให้ ก็จะต้องมีหน้าที่ในการกำกับดูแลหน่วยงานเจ้าหน้าที่จากทุกกระทรวงก็ขอความร่วมมือจากทุกกระทรวงด้วยนะครับว่า ต้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ขับเคลื่อนในจังหวัดในทุกมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความต้องการในพื้นที่ที่เรียกว่า area based ทั้งในระดับความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ต้องจบตั้งแต่ข้างล่างมาก่อน แล้วเสนอขึ้นมาข้างบนก็จะพิจารณาและอนุมัติลงไปแล้วก็เติมลงไปให้ในสิ่งที่มันเป็นโครงสร้างหรือเป็นเครือข่าย เพราะฉะนั้นในเรื่องของการกระจายความเจริญนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดก็จะต้องจัดทำแผนงานโครงการพัฒนาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ผมกล่าวไปแล้วคือ เป็นกลุ่มจังหวัด เป็นภูมิภาคตามนโยบายอย่างไร้รอยต่อ อาทิ ในเรื่องของเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 10 แห่งทั่วประเทศ จะเชื่อมโยงอย่างไรกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นศูนย์รวมศูนย์กระจายสินค้ากันบ้างหรือไม่ หรือการลงทุนประเภท อื่น ๆ ให้ตรงกับศักยภาพหรือทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ ทั้งคนไทยทั้งคนต่างประเทศที่จะมาลงทุนร่วมกัน

    ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่งเรากำหนดไว้เป็นโครงการระดับชาติ ที่เรียกว่า ECC และอีกเรื่องหนึ่งคือ ภาคใต้ ทำอย่างไรจะสงบสันติ มีการพัฒนา เรามีโครงการสามเหลี่ยมมั่นคง มั่นคั่ง ยั่งยืน และเรื่องของ Smart City อีกด้วย  ในทุกกิจกรรม ทุกกลุ่มงาน ทุกกระทรวง ต้องคิดตาม ทำงานด้วยการทำงานเชิงรุกด้วยวิสัยทัศน์ ด้วยการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เพื่อจะให้ทุกภาคนั้นได้มีการเจริญเติบโตด้วยตนเองในทุกมิติ ลดการผลิต ลดการตลาด ที่มีการแข่งขันหรือมีการผลิตที่ซ้ำซ้อน แล้วเราก็ไม่ผลิตหรือสร้างอะไรที่เกินความจำเป็น คือเรียกว่า กำหนด Demand Supply ให้ต้องกันให้สอดรับกันอย่างแท้จริงในทุกมิติ

      เรื่องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ของรัฐบาลนี้ สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่เราไปดูแล้วว่า การส่งออกเรามีปัญหา ส่งออกได้มากได้น้อย เราต้องไปดูว่าเรามีความพร้อม มีความเข้มแข็ง มีการเสริมสร้างในเรื่องนวัตกรรมหรือผลิตผลใหม่ ๆ ที่ออกไปแข่งขันการตลาดได้หรือยัง ความเข้มแข็งเพียงพอหรือไม่ มีขีดความสามารถในการแข่งขันกันหรือไม่เหล่านี้ทำให้การส่งออกเรามีปัญหา เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องคิดใหม่ว่า เราจะพึ่งพาการส่งออกแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้แล้ว ต้องเป็นทั้งฐานการผลิต ทั้งเป็น Trading Center คือผลิตเองใช้เอง อีกส่วนหนึ่งก็ผลิตส่งออกด้วยนวัตกรรมและภายในของเราเองก็สร้างความห่วงโซ่ สร้างความเข้มแข็งในห้วงโซ่การผลิตในประเทศและไปเชื่อมโยงกับ ห่วงโซ่ต่างประเทศ ทั้งจากการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ นักลงทุนไทยใน SMEs ของเรา Start-up และ e -Commerce ทั้งหมดมีการพัฒนาทั้งระบบ ก็ต้องใช้เวลา วันนี้หลายอย่างก็ออกมาแล้วไม่ว่าจะเรื่องของ e-Commerce บางกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นการใช้ e- Payment หรือ PromtPay ต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ออกมาตามลำดับ กติกาสากล พรบ. อำนวยความสะดวก การทำกิจกรรมต่าง ๆ ของการค้าการลงทุนก็ทำให้สะดวกมากขึ้นมีตั้งหลายสิบกิจกรรม

     อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!