WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

จับตา การเมือง วิทยาศาสตร์ 'สังคม' กฎแห่ง อนิจจัง

จับตา การเมือง วิทยาศาสตร์ 'สังคม' กฎแห่ง อนิจจัง

 

 

 
 

มติชนออนไลน์ :  


    ไม่ว่าการเคลื่อนไหวของ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ไม่ว่าการเคลื่อนไหวของ นายสุจิต บุญบงการ ในเรื่องอันเกี่ยวกับ "รัฐธรรมนูญ"

   คล้ายกับ "รัฐธรรมนูญ" เป็น "ปัจจัย" สำคัญ

  ยิ่งการถกเถียงในเรื่องฐานที่มาของ "นายกรัฐมนตรี" พร้อมกับการประดิษฐ์สร้าง ส.ว. ภายใต้กระบวนการสรรหา 150 คน

  ประสานกับ ส.ส.ไม่จำเป็นต้องสังกัด "พรรค"

   ประสานกับการเปิดช่องให้ "นายกรัฐมนตรี" สามารถเข้าดำรงตำแหน่งได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส.

    คล้ายกับ "เปิดทาง" อัน "กว้างขวาง"

1 เป็นการประสานกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521 ที่อำนาจของ ส.ว.มีเหนือกว่า ส.ส. 1 เป็นการประสานกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2534 อันย้อนกลับไปสู่ยุครัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521 อีกครั้งหนึ่ง

เหล่านี้ "สะท้อน" อะไร

สะท้อนให้เห็นลักษณะ RETRO ประเภท "คืนวันอันเลิศแต่หนหลัง" หรือ "กู้ดโอลด์ เดย์" ในยุคแห่ง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หวนกลับมา

ตอกย้ำ "รัฐประหาร" อันไม่ "เสียของ"

กระบวนการของการ "ร่าง" รัฐธรรมนูญเช่นนี้เท่ากับเป็นการยอมรับในความผิดพลาดของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550

ยอมรับว่า "เสียของ" ใน "ประเด็น" นี้

ตรงประเด็นที่ยังติดในอิทธิพลทางความคิดของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 อันได้มาจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535

จากสถานการณ์เมื่อ "เดือนพฤษภาคม"

จึงต้องย้อนกลับไปยังรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2521 และตอกย้ำความจำเป็นของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2534

จำได้หรือไม่ว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.2534 ใครเป็น "คนร่าง"

ขณะเดียวกัน จำได้หรือไม่ว่า ทำไมจึงต้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2534 จำได้หรือไม่ว่าใครเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติม

กระนั้น หากทำความเข้าต่อสภาพ "ทางการเมือง" อย่างรอบด้านก็จะประจักษ์ว่า กฎกติกาอาจเป็น "เครื่องมือ" 1 ซึ่งสำคัญ แต่ปมเงื่อนของชัยชนะและความพ่ายแพ้ทางการเมืองยังมี "ปัจจัย" อื่นเข้ามามีส่วนอย่างทรงความหมาย

ปัจจัย "อื่น" นั่นแหละคือ "ตัวแปร" ปัจจัย "อื่น" นั่นแหละคือสิ่งที่ก่อให้เกิดภาวะพลิกผันแปรเปลี่ยน

ถามว่าวัตถุประสงค์ "มูลฐาน" ของการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 อันมี น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ เป็นประธาน คืออะไร

1 ต้องการให้พรรคการเมืองอ่อนแอ

1 ต้องการแยกสลายพรรคการเมืองอันเป็น "เป้าหมาย" ของการรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 มิให้ดำรงความเป็นพรรคใหญ่

เพื่อเปิดช่องทางให้ "พรรคประชาธิปัตย์"

ผลที่ตามมาในการเลือกตั้งเดือนธันวาคม 2550 คือ ชัยชนะเป็นของพรรคพลังประชาชนผลที่ตามมาในการเลือกตั้งเดือนกรกฎาคม 2554 คือ ชัยชนะเป็นของพรรคเพื่อไทย

พรรคเพื่อไทย พรรคพลังประชาชน คือ อวตารแห่งพรรคไทยรักไทย

รัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557 ยังดำรงความมุ่งหมายอยู่ที่พรรคเพื่อไทยอันเป็นอวตารของพรรคพลังประชาชน พรรคไทยรักไทย ไม่แปรเปลี่ยน และทำท่าจะเพิ่ม "พรรคประชาธิปัตย์" เข้าไปด้วย

เสียงต้านจึงมาจากทั้ง "เพื่อไทย" และ "ประชาธิปัตย์"

บรรดา ปัญญาชน นักวิชาการ "จิตอาสา" ที่เข้าไปเป็น "ลูกแหล่งตีนมือ" ให้กับกระบวนการ "ยึด" และ "สืบทอด" อำนาจอาจมากด้วยความมั่นใจ

กระนั้น บทเพลง "มันบ่แน่หรอกนาย" ก็ยังกระหึ่มอยู่

ทุกอย่างดำเนินไปเหมือนกับที่ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เคยอุปมาฉันใด อุปมัยฉันใดเอาไว้

ท่านอาจสามารถ "หมุนเข็ม" นาฬิกาให้หวนกลับไปได้ ตามที่ท่านปรารถนา แต่ก็มิอาจหลีกเลี่ยงความเป็นจริงอันเป็นธรรมชาติของ "นาฬิกา" ได้

นั่นก็คือ มันจะเดินและเดินมาถึง "ตรงนั้น" ที่ท่านเคยหยุดเสมอ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!