WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

'นักวิชาการ'ประเมินการเมืองไทยปี 58 ฝ่าด่าน'เศรษฐกิจ การเมือง'

 

'นักวิชาการ'ประเมินการเมืองไทยปี 58 ฝ่าด่าน'เศรษฐกิจ การเมือง'

     เหตุการณ์รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ถึงปัจจุบัน ทำให้บริบท การเมืองไทยŽ ต้องเผชิญปัญหาเฉพาะหน้าหรือปัญหาระยะยาว โดยแต่ละมุม นิติศาสตร์-รัฐศาสตร์-เศรษฐศาสตร์Ž ล้วนเป็นบทพิสูจน์ศักยภาพ ถึงหน้าที่ต้องทำเพื่อชาติบ้านเมือง รัฐบาล-คสช.Ž เป็นอย่างยิ่ง


     เริ่มที่มุมด้านกฎหมาย ยอดพล เทพสิทธา อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ ม.นเรศวรวิเคราะห์บริบทการร่างรัฐธรรมนูญ ในปี 2558 ว่า ในกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญที่เหล่าคณะยกร่างฯ กำลังจะผลักดันให้นายกรัฐมนตรีของประเทศไม่จำเป็นต้องมาจากสภาผู้แทนราษฎร จะทำให้เกิดผลระบบรัฐสภาไทยที่ใช้กันมาอย่างยาวนานล้มเหลวโดยสิ้นเชิง เพราะจะทำให้อำนาจบริหารไม่เกี่ยวข้องยึดโยงกับประชาชนตามหลักการ ในขณะเดียวกันจะทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีอำนาจใดๆ ที่จะตรวจสอบ ถอดถอนฝ่ายบริหารได้เลย เป็นแค่การแสดงความเห็นผ่านการตั้งกระทู้ถามเพียงเท่านั้น 

   หากแต่สิ่งที่น่าเศร้าสลดใจ บุคคลผู้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการร่างรัฐธรรมนูญมาหลายฉบับ ผ่านเหตุการณ์สำคัญมาหลายเหตุการณ์ เห็นความสูญเสีย การพลีชีพของพี่น้องประชาชนบนท้องถนนด้วยการเรียกร้องนายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส. ผ่านการเลือกตั้ง เมื่อครั้งพฤษภาประชาธรรมปี 2535 ซึ่งคนอย่าง นายบวรศักดิ์อุณวรรณโณ น่าจะเอาบทเรียนอดีตแห่งความผิดพลาด และความสูญเสียของนายกฯที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมาเป็นตัวแบบ ทว่าสิ่งที่กระทำดำเนินการอยู่นี้ล้วนเป็นการออกแบบรัฐธรรมนูญที่ย้อนยุค ดึงเอาสังคมไทยกลับไปในรัฐธรรมนูญปี 2521 เลยทีเดียวŽ ยอดพลระบุ 

นอกจากนี้ ยอดพลเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นอย่างไร สุดท้ายแล้วแนวคิดดังกล่าวคงน่าจะผ่านไปได้ มิหนำซ้ำมันยังเป็นการปูทางให้คนนอกที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเข้าสู่ปริมณฑลทางการเมือง ที่ร้ายไปกว่านั้นสมมุติถ้ามีการโหวตกันในสภา ส.ส.อาจไปเลือกเอานายทุนผู้มีอิทธิพลสูงมาเป็นนายกรัฐมนตรี นี่แหละจะสร้างภาวะที่เลวร้ายกว่า ระบอบทักษิณŽ ที่มักจะกล่าวอ้างกันเสมอ

เมื่อเป็นเช่นนี้ทิศทางต่อไปจะเป็นอย่างไร สังคมไทยจะรับรัฐธรรมนูญไปใช้ด้วยหรือไม่ นักนิติศาสตร์วิเคราะห์ว่า ประชามติถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะให้ประชาชนตัดสินใจว่าจะรับหรือไม่รับหลักการของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ว่าจะรัฐบาล ครม. คสช. สนช. สปช. และ กมธ. ยังไม่พูดถึงกระบวนการตรงนี้อย่างจริงๆ จัง คิดว่าเป็นสิ่งที่ดำเนินการไม่ยาก ทั้งนี้เชื่อว่าน่าจะไม่มี อย่างไรก็ตามก็ต้องติดตามกันต่อไป หากแต่

สิ่งที่สำคัญที่สุดจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นหรือไม่ กลางปี 2559 ซึ่งการเลือกตั้งเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้
 จะฉุดรั้งอย่างไรก็รัฐบาล คสช.ต้องจัดการเลือกตั้งให้ได้ หลีกหนีไม่พ้น เพียงแต่ทุกวันนี้ยังไม่รู้เลยร่างรัฐธรรมนูญกันไปถึงไหนแล้ว แต่สิ่งที่อยากจะทิ้งท้ายว่าการเลือกตั้งไทยหลังรัฐธรรมนูญจะสงบ ปรองดอง ตามปรารถนาของ คสช.หรือไม่นั้น เป็นความรุนแรงระลอกใหม่ 

เกิดขึ้นได้ในขณะที่มุมมองด้านเศรษฐกิจ อย่าง 

ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ แห่งมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นว่า มองว่าอัตรา จีดีพี ของไทยจะโตขึ้น 4% ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี เพราะที่ผ่านมานั้นไม่ว่าจะธุรกิจการค้า การส่งออก การท่องเที่ยวของบ้านเราอยู่ในช่วงชะลอตัว ภาวการณ์ลดตัวต่ำสุดของราคาพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะข้าวกับยางพารา และถือเป็นเหตุการณ์ที่ราคาตกที่สุดในรอบ 40 ปีก็ว่าได้ จนนำมาซึ่งกำลังซื้อของเกษตรกรไม่มี ภาวะหนี้สินครัวเรือน จนส่งผลพวงมาให้ภาคการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้น ทว่าในช่วงปลายปีนั้นได้เกิดอัตราราคาน้ำมันโลกถูกลงอย่างมาก จนเป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้ประชาชนมีกำลังจะซื้อได้บ้าง เป็นสัญญาณที่ดีทางเศรษฐกิจ หากแต่เฉพาะแค่ 6 เดือนแรกเท่านั้นที่ภาวะเศรษฐกิจเป็นเช่นนี้เพราะรัฐบาลบริหารประเทศภายใต้กฎอัยการศึก

ธนวรรธน์มองว่าอัยการศึกถือเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นปัจจัยหลักในช่วงแรกๆแต่ตอนนี้มิใช่ปัจจัยหลักแล้ว เพราะประเทศไม่มีความรุนแรง ประชาชนในประเทศไม่มีความเครียด จนทำให้เริ่มมีชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนบ้าง ทั้งนี้สิ่งที่จะเป็นหลักประกัน และประโยชน์ที่สุดต่อเศรษฐกิจไทย ถ้าประเทศเกิดการเลือกตั้งเมื่อใดก็น่าจะเป็นประโยชน์ที่สุด ผมคิดว่าสิ่งที่รัฐบาล และ คสช.ควรจะดำเนินการเพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ คือ เร่งโครงการสร้างการคมนาคมเพื่อรองรับการค้าและการลงทุนให้มีประสิทธิภาพ สร้างบรรยากาศประเทศให้เอื้อต่อการส่งออก ฟื้นฟูการท่องเที่ยว และส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าชายแดน และควรลงทุนเศรษฐกิจดิจิตอล และควรประมูล 4จี โดยเร็ว 

ถ้ารัฐบาล และ คสช.ทำสิ่งเหล่านี้ได้ก็น่าจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจของชาติมีนิมิตหมายดีขึ้นได้ อย่างใดก็ตาม ปัจจัยทางกฎหมาย ปัจจัยทางเศรษฐกิจก็มีความสำคัญ หากแต่ทางด้านการเมือง ถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จำต้องขบคิด เสมือนเป็นปัจจัยที่ชี้เป็นชี้ตายอำนาจรัฐบาล-คสช.ได้ 

ขณะที่ เกษม เพ็ญภินันท์ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา แห่งคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ปัญหาการเมืองนี้เป็นภาวะสืบเนื่องปีนี้ ที่สะสางไม่เสร็จตั้งแต่ปีที่แล้ว ทั้งการร่างรัฐธรรมนูญ ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาการไม่มีมาตรการช่วยเหลือชัดเจน ไม่มีเยียวยา ของประชาชนที่ได้รับภัยพิบัติจากธรรมชาติ และโจทย์ใหญ่ คือ ความถดถอยทางเศรษฐกิจ จีดีพีไม่โต อันจะทำให้การจับจ่ายใช้สอยน้อยลง ทั้งนี้ต้องเข้าใจว่าการเข้ามาของ คสช. ไม่ได้แก้ไขปัญหา เพื่อไประงับวิกฤต หากแต่เป็นการไม่ให้ระบบแก้ไขจัดการด้วยตัวมันเอง ฉะนั้นร่างรัฐธรรมนูญที่ออกแบบที่สำคัญคือ การวางหลักเกณฑ์จะตอบโจทย์อะไร ตอบโจทย์วิกฤต หรือสภาวะปกติ ซึ่งคิดว่าการร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้จะใช้วิกฤตเป็นการตอบโจทย์ พยายามดึงทุกอย่างไปหาสภาวะยกเว้น ซึ่งไม่ได้วางกรอบบนสภาวะปกติเพื่อให้ระบบที่มีอยู่จัดการเอง สิ่งนี้จะเป็นการวิจารณ์จากคนที่ต้องการประชาธิปไตย

แปลง่ายๆ จะเอาสิ่งที่อยู่นอกกติกาให้มาอยู่ในกติกา ผ่านรัฐธรรมนูญ ด้วยการพยายามทำสิ่งที่อยู่เหนือกติกาให้มาอยู่ในกติกา แต่สุดท้ายแล้ว เพื่อจำกัดการเมืองของภาคประชาชน ภายใต้คนที่มีบทบาทนำทางการเมือง คนกลุ่มนี้จะแปรสภาพเพื่อมาควบคุมประเทศŽ เกษมกล่าว และว่า ถ้ามองอนาคตประเทศหลังจากนี้ไป คสช.จะแปลงกายมาเป็นคณะกรรมการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ มันผิดหลักการที่สุด

คิดเช่นไรให้คนที่ฉีกรัฐธรรมนูญ จริงๆ แล้วประชาชนต้องพิทักษ์รัฐธรรมนูญต่างหาก

เกษมได้วิเคราะห์ต่อไปถึงทิศทางการเมืองไทย ว่า ตอนนี้เค้าลางที่สำคัญ คือ รัฐสภาในอนาคต ไม่ใช่ว่า ใครมาเป็นรัฐบาลแล้วมาคุมเสียงรัฐสภา แต่สิ่งที่ย้ำคือ การเมืองไทยครั้งนี้จุดโฟกัสมิใช่อยู่ที่รัฐบาล หากแต่อยู่ที่รัฐสภามากกว่า เพราะว่าซ้อนกันสองเรื่อง คือ ประเด็นแรกไม่สามารถกล่าวได้ ณ ที่นี้ กับประเด็นถัดมาตัวรัฐสภาที่กำหนดรัฐบาล 

ประกอบกับประเด็นสภาท้องถิ่นก็จะกลายเป็นกรณีใหญ่ที่จะเป็นแรงต้านเกิดขึ้น เพราะว่าการที่ คสช.ออกคำสั่ง มาตรา 44 ไปชะลอกระบวนการในท้องถิ่น ให้คนที่อยู่ในอำนาจยังรักษาการในตำแหน่งต่อไป 

ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้คนพวกนี้จัดการเพื่อตนเอง ในขณะที่อีกกลุ่มที่แพ้การเลือกตั้งครั้งก่อนไม่มีโอกาสเข้ามาในการแข่งขัน ก็จะเกิดภาวะแรงต้านอย่างหนักในท้องถิ่น และในที่สุดจะแปรสภาพเป็นความสั่นคลอนในระยะยาวได้

ผมคิดว่าการเมืองต่อไป เราจะไม่เห็นความเข้มแข็งภาคประชาชน แต่เห็นปัญหารัฐราชการจะมีมากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพความต่างระหว่างรัฐบาลประชาธิปไตย กับรัฐราชการ เพราะด้อยศักยภาพ นี่คือภาพใหญ่ที่จะเกิดขึ้น ถามว่าจะนำไปสู่ความรุนแรงหรือไม่ยังไม่เห็น จึงยังพูดไม่ได้ ผมไม่สามารถคาดการณ์ได้ สุดท้ายแล้วการเมืองไทยมีจุดจบไม่สวยแน่นอน แต่ว่าสังคมเราจะเดินไปถึงจุดนั้นเมื่อใดŽ เกษมระบุ

สำหรับทางออกจากปมแห่งความขัดแย้ง เกษมตอบว่า ทางออกควรผลักไปสู่การเลือกตั้ง เพื่อได้ผู้นำตามครรลองประชาธิปไตย หากแต่ปัญหาคือ การเลือกตั้งบนพื้นฐานตัวแทนคนส่วนใหญ่ มิใช่เลือกตั้งครึ่งหนึ่ง สรรหาครึ่งนี้ นี่ไม่ใช่การเลือกตั้ง สุดท้ายคนที่กุมกติกาไม่ใช่ตัวแทนประชาชน เป็นเพียงกุมคณาธิปไตยที่เข้ามาคุมเกมรัฐสภาเพียงเท่านั้น ท้ายที่สุดก็อาจหนีไม่พ้นความรุนแรง

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงทรรศนะของนักวิชาการ 3 มุม 3 สไตล์ ที่วิเคราะห์ทิศทางการเมืองไทยในปี 2558 จึงเป็นเสียงที่ไม่ควรมองข้าม หากแต่เป็นสิ่งที่ รัฐบาล-คสช.Ž ควรพิจารณา เพื่อป้องกันไม่ให้โรดแมปที่วางไว้ล้มเหลวได้ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!