WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

002สนช.มีมติ 159:27 ถอดถอนสุกำพลออกจากตำแหน่ง ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี

    ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติถอดถอน พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต อดีต รมว.กลาโหม ออกจากตำแหน่ง กรณีแทรกแซงการแต่งตั้งปลัดกระทรวงกลาโหม ด้วยคะแนน 159 ต่อ 27 เสียง ไม่ออกเสียง 1 เสียง บัตรเสีย 1

     การลงคะแนนของ สนช.ใช้วิธีการลงคะแนนในคูหาเรียงลำดับตัวอักษร ซึ่งบุคคลที่จะถูกถอดถอนจะต้องได้รับเสียง 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือ 131 เสียงขึ้นไป ซึ่งหลังจากใช้เวลาลงคะแนนและนับคะแนนไปกว่า 1 ชั่วโมง ที่ประชุม สนช.ได้มีมติถอดถอน พล.อ.อ.สุกำพล ออกจากตำแหน่ง ซึ่งผลดังกล่าวแม้ พล.อ.อ.สุกำพล จะไม่ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีแล้ว แต่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี

    สำหรับ พล.อ.อ.สุกำพล เป็นผู้ที่ถูก สนช.ลงมติถอดถอนเป็นคนที่ 6 แล้ว ซึ่งหลังจากนี้ สนช.จะแจ้งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ในฐานะผู้ถูกกล่าวหา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบต่อไป

สุกำพล แถลงปิดคดี ยันไม่ได้ใช้อำนาจแทรกแซง/สนช.นัดลงมติถอดถอนหรือไม่...

    นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นประธานการประชุมรับฟังคำแถลงปิดสำนวนด้วยวาจาในคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต อดีตรมว.กลาโหมว่าแทรกแซงการแต่งตั้งปลัดกระทรวงกลาโหม โดยที่ประชุม สนช. กำหนดนัดลงมติถอดถอนหรือไม่ถอดถอน พล.อ.อ.สุกำพล ในวันที่ 16 ก.ย. นี้

      น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. แถลงปิดสำนวนว่า การดำเนินการของ พล.อ.อ.สุกำพล ถือว่าการกระทำดังกล่าวไม่เป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติ ส่วนกรณีที่ พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวอ้างว่า พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็นปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นรุ่นน้องซึ่งจะสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นนั้น เห็นว่าจะเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือของ พล.อ.อ.สุกำพล เอง

      ด้านพล.อ.อ.สุกำพล กล่าวยืนยันว่า ปฏิบัติตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการกระทรวงกลาโหม และข้อบังคับกระทรวงกลาโหม และตามธรรมเนียมการแต่งตั้งข้าราชการกระทรวงกลาโหมทุกขั้นตอน โดยจัดประชุม 2 ครั้งเพื่อพิจารณาแต่งตั้งปลัดกระทรวงกลาโหมตำแหน่งเดียวเพื่อให้ทันเวลา ซึ่งได้เสนอชื่อพล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน เป็นปลัดกระทรวงกลาโหม โดยมี พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ในขณะนั้นเพียงคนเดียวที่เสนอชื่อพล.อ.ชาตรี ทัตติ และการที่ไม่ให้พล.อ.พิณภาษณ์ สริวัฒน์ เจ้ากรมเสมียนตราเข้าร่วมประชุม เพราะเป็นแค่ผู้ช่วยเลขานุการ ไม่มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุม และต้องการรักษาความลับการประชุมเอาไว้ ซึ่งการประชุมได้ยึดข้อบังคับว่าให้คณะกรรมการสามารถกำหนดนโยบายเพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับ และกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีอำนาจเสนอชื่อบุคคลที่ขึ้นตรงกับกระทรวงกลาโหมได้ และสามารถเสนอชื่อใครก็ได้ ซึ่งผู้บัญชาการเหล่าทัพได้ให้ถ้อยคำต่อป.ป.ช.ว่าคณะกรรมการชุดดังกล่าวสามารถที่จะเสนอชื่อใครที่นอกเหนือจากที่มีการเสนอขึ้นมาก็ได้

   "ขอยืนยันอีกครั้งว่า การประชุมในวันนั้นเป็นการประชุมที่ถูกต้องทุกประการ ผู้บัญชาการเหล่าทัพได้ให้ปากคำว่าการประชุมวันนั้นถูกต้องทุกประการ แต่ป.ป.ช.เพิกเฉย คำกล่าวหาของป.ป.ช.ที่กล่าวหาว่าผมแทรกแซงนั้น มีคนร่วมประชุม 6 คน ผมออกเสียงแค่เสียงเดียวเท่านั้น ไม่มีใครมีอำนาจสั่งการได้"พล.อ.อ.สุกำพล กล่าว

  อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!