WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Pประยทธ จนทรโอชา1นายกฯระบุไทยมีความแข็งแกร่งทั้งฐานะด้านตปท.-ฐานะการคลัง สร้างความมั่นใจให้นลท.ใน-ตปท.

     พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ว่า ท่ามกลางปัญหาทางเศรษฐกิจเหล่านี้ ประเทศไทยยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เห็นได้จากค่าเงินที่อ่อนลงไม่มาก และราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่ได้ปรับลดลงมากนัก ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ประเทศของเราได้รับบทเรียนจากปี 40 ที่ทุกภาคส่วนของประเทศ ทั้งภาครัฐ เอกชน ธนาคารพาณิชย์ ต่างตั้งอยู่บนความพอเพียง มีความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน ส่งผลให้มีความเข้มแข็งในทุกภาคส่วน ที่สำคัญในด้านต่างประเทศ เรามีปริมาณเงินสำรองระหว่างประเทศในระดับสูง ล่าสุด ณ สิ้นเดือนสิงหาคม เงินสำรองระหว่างประเทศของไทยอยู่ที่เกือบ 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก เมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจของไทย และเมื่อเทียบกับหนี้ต่างประเทศของไทย พบว่าเรามีเงินสำรองระหว่างประเทศสูงกว่าหนี้ระยะสั้น ที่เป็นเงินตราต่างประเทศถึง 3.5 เท่า ซึ่งก็หมายถึงเรามีเงินตราต่างประเทศในระดับเกินพอ หากต้องการที่จะชำระหนี้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศในวันนี้ หนี้ต่างประเทศของรัฐบาล โดยได้ทยอยคืนจนเหลือเพียงร้อยละ 4 ของ GDP รวมทั้งพยายามปรับโครงสร้างให้เป็นการกู้ยืมระยะยาวมากขึ้น เป็นการกู้ภายในประเทศมากขึ้น

      ฐานะด้านต่างประเทศที่แข็งแกร่งนี้ เป็นผลมาจากการสะสมความมั่งคั่งของประเทศ การส่งออกสินค้าและบริการที่เติบโต สร้างรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้กับไทยได้อย่างต่อเนื่อง ภาคเอกชนและธนาคารพาณิชย์ที่มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง รวมถึงการดำเนินนโยบายภาครัฐอย่างระมัดระวัง มีวินัยทางการเงินการคลัง โดยจะเห็นได้ว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะของประเทศ เมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจอยู่ที่ประมาณร้อยละ 41 ซึ่งอยู่ในกรอบที่เรากำหนดไว้ และถือเป็นระดับที่ดีกว่าหลักเกณฑ์สากล ที่กำหนดว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะไม่ควรสูงเกินร้อยละ 60 ของขนาดเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ก็เพื่อไม่ให้เป็นภาระที่เกินตัวของภาครัฐ และที่ผ่านมาหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นของเรา ก็เป็นผลมาจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งจะเป็นการสร้างมูลค่าการลงทุนใหม่และเป็นประโยชน์ ให้กับประชาชนและภาคธุรกิจในอนาคต รวมทั้ง เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ในระยะยาวอีกด้วย

      ความแข็งแกร่งของฐานะด้านต่างประเทศ และฐานะการคลังของไทย รวมถึง อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศ นับว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้เศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม มหภาค หรือ Macro ที่เข้มแข็ง ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นผลดี และถือว่าเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับประเทศ จะช่วยให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมีความมั่นใจ จึงยังไม่เห็นภาพการไหลออกของเงินทุนอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในบางประเทศ และในทางที่กลับกัน อาจจะเห็นว่ามีนักลงทุนบางส่วนเคลื่อนย้ายเงินทุนจากประเทศตลาดเกิดใหม่อื่น ๆ เข้ามาในไทยอีกด้วย พร้อมเน้นย้ำว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะต้องดูแลให้ครบทุกมิติทุกระดับ ทั้งภาพเศรษฐกิจมหภาค และจุลภาคที่มีความเชื่อมโยงกัน ซึ่งในปัจจุบัน ระดับมหภาคของประเทศดีขึ้นอย่างชัดเจน โดยมีอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.9 ในปี 2557 โดยล่าสุดมาอยู่ที่ร้อยละ 4.7 ในครึ่งแรกของปีนี้ อีกทั้งยังมีความมั่นคงของฐานะด้านต่างประเทศ

      สิ่งที่สำคัญก็คือการกระจายการเติบโตในด้านมหภาคมาสู่จุลภาค มาสู่ประชาชน และธุรกิจรายย่อยผู้มีรายได้น้อยให้ได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลไม่เคยนิ่งนอนใจในการจะแสวงหาแนวทางและริเริ่มมาตรการใหม่ ๆ เพื่อนำมาดูแลในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องและจริงจัง เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้รับประโยชน์ร่วมกันอย่างทั่วถึงให้มากที่สุด

                  อินโฟเควสท์

ตีปี๊บศก.ไทยแกร่ง วางเป้าเบิกงบ 100%

     ไทยโพสต์ : พระราม 6 * 'สมคิด' ตีปี๊บเศรษฐกิจไทยสุดแกร่ง การเมืองชัด เสริมความเชื่อมั่น ขุนคลังลุ้นจีดีพีปีนี้โตแรงถึง 5% ด้านสำนักงบฯ ตั้งเป้าหมายสูงสุดเบิกจ่ายปี 62 ได้เต็มข้อ 100%

     นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2561 ปรับตัวขึ้นแรงนั้น ส่วนหนึ่ง เป็นผลมาจากการเมืองไทยมีความ ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งสะท้อนว่าแรง กดดันเรื่องการเมืองของไทยคลี่ คลายลง ทำให้นักลงทุนต่างชาติมีความมั่นใจต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาต่างชาติก็ไม่ได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทยเท่าไหร่ ส่วนใหญ่รู้แค่จะมีหรือไม่ มีการเลือกตั้งเท่านั้น นอกเหนือจาก การมองว่าไทยเป็นแหล่งที่ปลอด ภัยสำหรับการลงทุนของต่างชาติ

    "ด้านมหภาคของเราโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรามีความแข็งแรงทางด้านเศรษฐกิจ เรามีหนี้ระยะสั้นน้อย ทำให้ไทยไม่ได้รับผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจจากภายนอก" นายสมคิดกล่าว

     สำหรับ ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีหน้า เชื่อว่าต้องดีกว่าปีนี้ เนื่องจากรัฐบาลกำลังเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ อาทิ โครงการรถไฟฟ้า 2-3 สาย โครงการลงทุนวางระบบไอซีที โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ส่วนการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนในปีงบ 2562 จะต้องกำชับทุกหน่วยงานให้เร่งเบิกจ่ายให้ได้มากที่สุด

    นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.การคลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลยังพยายามทำให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวได้ถึง 5% ซึ่งหากเศรษฐกิจโตได้ในระดับดังกล่าวจะเป็นเรื่องดี

    ด้านนายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา ผู้อำนวยการสำนักงบประ มาณ เปิดเผยว่า การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2561 ที่กำลังจะสิ้นสุดในเดือน ก.ย.นี้ คาดว่ายอดการเบิกจ่ายงบประมาณภาพรวมจะทำได้ 96% ของงบประมาณ 2.9 ล้านล้านบาท สำหรับเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2562 ตั้งไว้ที่ 100% เพราะต้อง การให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการเบิก จ่ายทั้งงบประจำและงบลงทุนให้ได้มากที่สุด.

ขุนคลังการันตีศก.ไทยแกร่ง ค่าเงินอินโดป่วนไม่กระทบ จ่อชงครม.คืนแวตคนจน!

     ไทยโพสต์ * 'ขุนคลัง'มั่นใจพื้นฐานเศรษฐกิจไทยสุดแข็งแกร่ง ไม่สะท้านปัญหาค่าเงินอินโดนีเซียทรุดต่ำสุดในรอบ 20 ปี แจงพร้อมชง ครม.เคาะมาตรการคืนภาษีแวตคนจนสัปดาห์หน้า ด้าน ปลัดคลังฟุ้งปีงบ 2561 จัดเก็บรายได้ฉลุยตามเป้าหมาย สคร. ฟุ้ง 7 เดือนรัฐวิสาหกิจตะลุยเบิกจ่ายคึกคักโตพรวด 71% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

      นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.การคลัง เปิดเผยถึงกรณีปัญหาค่าเงินของอินโดนีเซียอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 20 ปี ว่า ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงกับ ประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบันไทยมีสถานะทางการคลังที่แข็ง แกร่ง เมื่อเทียบกับในหลายประ เทศในภูมิภาคเดียวกัน และที่ ผ่านมาไทยได้เตรียมความพร้อม ทั้งจากเงินกู้ในต่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำที่ 4% ของหนี้สาธารณะทั้งหมด และยังมองว่าหากมีเงินไหลออกไปบ้างคงไม่ได้เกิดปัญหากับประเทศไทย

     สำหรับ ความคืบหน้ามาตร การคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐ มนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้า โดยเบื้องต้นจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ พ.ย.2561-เม.ย.2562 คิดเป็นเวลา 6 เดือน ถือเป็นเฟสแรกที่จะเริ่มทำ ส่วนการดำเนินการในส่วนเฟสสองจะดำเนินการอย่างไร จะต้องประ ด้วยเมินผลจากเฟสแรกก่อน สำ หรับเงื่อนไขนั้น เปิดให้ผู้ถือบัตรสามารถเติมเงินในบัตรและนำไปใช้จ่ายซื้อสินค้าในร้านที่เสียภาษีแวต และจะได้รับเงินคืนภาษีไม่เกินเดือนละ 500 บาท โดยกรมบัญชีกลางจะจ่ายเงินคืนภาษีในบัตรให้ทุกวันที่ 15 ของทุกเดือน

        นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผย ว่า มาตรการคืนภาษีแวตนั้นจะให้กับผู้มีรายได้น้อยที่ถือบัตร สวัสดิการแห่งรัฐจำนวน 15 ล้านราย จะดำเนินการทั้งสิ้น 6 เดือนเท่านั้น ไม่ได้เป็นโครง การถาวร หรือโครงการระยะยาว เพราะติดช่วงเลือกตั้ง ตามที่รัฐบาลได้มีการประกาศไปก่อนหน้านี้ ดังนั้นระยะเวลาดำเนินโครงการคืนภาษีแวตจึงต้องอยู่ภายในกรอบดังกล่าวไปด้วย

        ปลัดกระทรวงการคลังยังกล่าวถึงภาพรวมการจัดเก็บรายได้ของปีงบประมาณ 2561 ว่า น่าจะทำได้เกินกว่าเป้าหมาย ที่ตั้งไว้เล็กน้อย โดยเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ภาพรวมอยู่ ที่ 2.9 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการจัดเก็บรายได้จากภาษีและอื่นๆ จำนวน 2.45 ล้านล้านบาท และการกู้เพื่อชดเชยขาดดุลจำนวน 4.5 ล้านล้านบาท โดยการจัดเก็บภาษีปีนี้ เป็นไปตามกรอบที่วางไว้ทั้งหมด และขณะนี้อยู่ระหว่างการจัด เตรียมข้อมูลเพื่อจัดทำงบประ มาณปี 2563

     นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ผลการเบิก จ่ายงบลงทุนสะสมของรัฐวิสาห กิจ 45 แห่ง ที่ สคร.กำกับดูแล โดยตรงในช่วง 7 เดือน ปี 2561 (ม.ค.-ก.ค.) อยู่ที่ 2.62 แสนล้านบาท ขยายตัว 71% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการลง ทุนที่เติบโตของรัฐวิสาหกิจเป็นผลมาจากการเร่งลงทุนของรัฐ วิสาหกิจที่มีโครงการลงทุนขนาด ใหญ่.

สศค. โรดโชว์ศักยภาพเศรษฐกิจไทย มั่นใจ GDP ทั้งปีโต 4.5% หวังดึงนลท.สิงคโปร์ลงทุนไทย

      นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เป็นหัวหน้าคณะเข้าร่วมกิจกรรมพบปะนักลงทุนต่างชาติ ที่จัดโดยบริษัท CLSA Pte Ltd. ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2561 เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยและการลงทุน พร้อมตอบข้อซักถามของนักลงทุนต่างชาติ อันจะเป็นการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและสิงคโปร์ รวมถึงดึงดูดการลงทุนของนักธุรกิจสิงคโปร์มาสู่ไทย

     โดยกิจกรรมพบปะนักลงทุนดังกล่าว แบ่งออกเป็น 5 ช่วง สำหรับการพบปะนักลงทุนทั้งหมด 5 กลุ่ม รวม 20 ราย โดยเป็นนักลงทุนจาก 1) บริษัท Daiwa Asset Management 2) บริษัท UBS 3) บริษัท Saga Tree Capital 4) บริษัท Franklin Templeton Investments 5) บริษัท Amundi 6) บริษัท Daiwa SB Investment Singapore 7) บริษัท CLSA และ 8) บริษัท Credit Suisse

        นายสุวิชญ ได้นำเสนอถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเศรษฐกิจสามารถขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 2561 เศรษฐกิจไทยขยายตัวที่ 4.9% และ 4.6% ในไตรมาสที่ 1 และ 2 ตามลำดับ โดยมีแรงสนับสนุนสำคัญจากการส่งออกทั้งสินค้าและบริการ รวมทั้งเริ่มมีสัญญาณการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนและรายได้เกษตรกรขยายตัวได้ดี พร้อมทั้งมีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมสูง ในขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง อัตราการว่างงานต่ำ หนี้สาธารณะอยู่ในกรอบที่กำหนด และมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพียงพอ จึงทำให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2561 จะขยายตัวได้ที่ 4.5% (ประมาณการ ณ เดือนกรกฎาคม 2561)

      นอกจากนี้ ยังได้มีการนำเสนอนโยบายสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาล เช่น 1) ยุทธศาสตร์ National e-Payment เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของไทยให้สอดรับกับเศรษฐกิจยุคดิจิทัล 2) แผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เพื่อยกระดับศักยภาพการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทย 3) นโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) เพื่อกระตุ้นการลงทุนในอุตสาหกรรมแห่งอนาคตซึ่งจะช่วยจุดประกายการเติบโตเศรษฐกิจรอบใหม่ 4) มาตรการส่งเสริมการร่วมลงทุนที่สำคัญ เช่น PPP Fast Track และ Thailand Future Fund รวมถึง 5) โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม 6) การประมูลพันธบัตรรัฐบาลในช่วงเดือนกันยายน และ 7) พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ซึ่งช่วยรักษาเสถียรภาพและความยั่งยืนทางการคลัง

       ทั้งนี้ นักลงทุนได้ให้ความสนใจในหลายประเด็น ทั้งสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ ได้แก่ การฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน ระดับหนี้ครัวเรือนกับผลกระทบต่อการบริโภค ภาคการท่องเที่ยวและการพึ่งพานักท่องเที่ยวจากจีน ราคาอสังหาริมทรัพย์ และสภาวะเศรษฐกิจภายนอก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย ได้แก่ ผลกระทบจากสงครามการค้า และผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ

       นอกจากนี้ นักลงทุนยังให้ความสนใจต่อนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย ที่จะเชื่อมโยงไทยเข้ากับยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative : BRI) ของจีน ความต่อเนื่องของการพัฒนา EEC ในอนาคต ความถี่ของการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ และรูปแบบการเก็บภาษีธุรกิจ e-Commerce ที่มีลักษณะข้ามพรมแดนมากขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงมาตรการรับมือสังคมผู้สูงอายุของไทย ก็เป็นประเด็นด้านความท้าทายที่นักลงทุนให้ความสำคัญเช่นกัน

     อย่างไรก็ตาม นักลงทุนมองว่าไทยควรหามาตรการสร้างกระจายรายได้เข้าไปในพื้นที่ชนบท ขณะเดียวกันไทยควรปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีความหลากหลาย เพื่อลดการพึ่งพาบางภาคส่วนมากจนเกินไป ได้แก่ การท่องเที่ยว โดยได้ยกตัวอย่างกรณีของสาธาณรัฐสิงคโปร์ว่าสามารถหันมาพึ่งพาความต้องการภายในประเทศให้มากขึ้น โดยพัฒนาอุตสาหกรรมด้านชีวเคมี หุ่นยนต์ และ FinTech เพื่อตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าว ทั้งนี้ นักลงทุนมองว่าสถานการณ์การย้ายฐานการผลิตของจีนมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นโอกาสทางธุรกิจของไทย เนื่องจากไทยมีโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ที่พร้อมกว่าประเทศเพื่อนบ้าน

                              อินโฟเควสท์

คลัง เผย ส.ค.61 สวทช.รับรองสตาร์ทอัพแล้ว 157 ราย-ยอดอนุมัติร่วมลงทุน 46 ราย กว่า 1.26 พันลบ.

    นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เผยความคืบหน้าการดำเนินการของคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ (National Startup Committee: NSC) ที่มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานฯ ประจำเดือนสิงหาคม 2561 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

               1.จำนวนวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ในประเทศไทย

               1.1 จำนวน Startup ที่ลงทะเบียนกับ http://startupthailand.org ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ จำนวน 1,700 ราย

               1.2 จำนวนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายใหม่ (SMEs/New Startup) ที่ขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 658) พ.ศ.2561 เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิของ SMEs/New Startup เป็นระยะเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2561 มียอดรวมของ SMEs/New Startup เข้ามาจดทะเบียนและยื่นขอรับการรับรองกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แล้วจำนวน 157 ราย ได้รับการรับรองจาก สวทช. แล้วจำนวน 103 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 3 ราย และได้ขอใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับกรมสรรพากรแล้วจำนวน 83 ราย

               1.3 จำนวน Startup ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ผ่านการร่วมลงทุนกับธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2561 มียอดรวมของการอนุมัติการร่วมลงทุนใน Startup แล้ว 46 ราย วงเงินรวม 1,263.7 ล้านบาท โดยมี Startup 12 ราย ที่ได้มีการร่วมลงทุนแล้ว คิดเป็นเงินร่วมลงทุน 302.4 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว มีกิจการ Startup ที่ได้รับอนุมัติการร่วมลงทุนเพิ่มจำนวน 2 ราย วงเงิน 51.4 ล้านบาท และมีการร่วมลงทุนเพิ่มขึ้น 26.4 ล้านบาท

               2.จำนวนกลุ่มนักลงทุนในประเทศไทย

               2.1 จำนวนกลุ่มนักลงทุนที่ลงทะเบียนกับ Web Portal ปัจจุบันมีกลุ่มนักลงทุนเข้าลงทะเบียนบนเว็บไซต์ http://startupthailand.org แล้วจำนวน 400 ราย

               2.2 กิจการเงินร่วมลงทุน (Venture Capital: VC) และทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน (Private Equity Trust: PE Trust) ที่ขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 636) พ.ศ.2560 เพื่อขอรับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินปันผลและรายได้จากการโอนหุ้นของบริษัทเป้าหมายเป็นระยะเวลา 10 รอบระยะเวลาบัญชี ในเดือนสิงหาคม 2561 พบว่า ผู้จดแจ้งการเป็น VC และ PE Trust กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ มีจำนวนทั้งสิ้น 32 ราย

      สำหรับ ความคืบหน้าการยกร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น พ.ศ. .... สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติในฐานะหน่วยงานหลักในการยกร่างพระราชบัญญัติฯ ได้จัดให้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เป็นระยะเวลา 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม - 14 กันยายน 2561

     อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!