WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1.AAA A AAIMFชื่นชม

IMF ชื่นชมเสถียรภาพ และบทบาทไทยในเวทีระหว่างประเทศ

      ณ ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล นางคริสตาลินา กอร์เกียวา (Mrs. Kristalina Georgieva) กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Managing Director, International Monetary Fund: IMF) เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเดินทางเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน สรุปสาระสำคัญการหารือ ดังนี้

      นายกรัฐมนตรีขอบคุณกรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนที่ไทยเป็นเจ้าภาพ การเข้าร่วมของกรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นประโยชน์กับประเทศสมาชิก และคู่เจรจา และขอบคุณที่มาเข้าเยี่ยมคารวะเป็นโอกาสให้ได้ฟังความคิดเห็นโดยตรง และยินดีที่ให้เกียรติมาเป็นเจ้าภาพร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในงานสัมมนานานาชาติระดับสูงในหัวข้อ “Emerging Markets in the New Normal: Dealing with Rising Domestic Leverage and the International Financial Cycles”

      กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศยินดีความสำเร็จการจัดการประชุดสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 ละการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องของไทย ชื่นชมบทบาทในเวทีระหว่างประเทศที่มีสนับสนุนความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความท้าทายในโลกปัจจุบันได้อย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสองประเด็นที่ชื่นชมมาก คือมีการหารือเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการร่วมมือกันด้านเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดในภูมิภาค ทั้งนี้ รัฐบาลไทยมีเสถียรภาพ จึงส่งผลดีต่อการพัฒนาสำคัญทางเศรษฐกิจ

        อย่างไรก็ดี ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่มีความท้าทายได้แก่การพัฒนาด้านการศึกษา และการพัฒนาแรงงาน ซึ่งรัฐบาลไทยยืนยันให้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเหล่านี้ โดยระบุในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งจะมีการตรวจสอบ ปรับปรุงทุก 5 ปี ตลอดจนให้ความสำคัญกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และความเท่าเทียมทางเพศ

        ทั้งนี้ ในส่วนของการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมกรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ชื่นชมบทบาทไทยในเวทีอาเซียนซึ่งมีผลสำเร็จที่เป็นแผนแม่บทอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยนายกรัฐมนตรีชี้แจงว่าในโอกาสที่ไทยเป็นประธานอาเซียน ได้ยืนยันชัดเจนที่จะลดการใช้พลังงานหลัก เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน ลดการเผาไหม้กาซ CO2 ลดการใช้ขยะ และลดขยะในทะเล ในตอนท้าย ทั้งสองฝ่ายชื่นชมแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสนใจจะศึกษา ถือว่าเป็นประโยชน์กับชาวโลก

IMF ชี้ไทยยังมีช่องใช้นโยบายการเงิน-ปัดให้ความเห็นประชุมกนง.พรุ่งนี้

 IMF แนะไทย-ทั่วโลก ใช้นโยบายการเงิน-การคลัง ที่มีเพื่อประคองเศรษฐกิจ ปัดให้ความเห็นเรื่องดบ.กนง.ในวันพรุ่งนี้ ย้ำไทยโชคดีที่มีช่องทางใช้นโยบายอีกมาก มองดบ.ต่ำ - สงครามการค้ายัง เป็นปัจจัยกระทบต่อการเติบโตทางศก.

  นางคริสตาลีนา กอร์เกียวา กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยภายหลังงานสัมมนานานาชาติระดับสูง ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงทั่วโลกนั้น เป็นผลจากความตึงเครียดทางการค้าที่สร้างแรงกดดันและต้นทุนต่อความเชื่อมั่นภาคธุรกิจและการลงทุน Brexit ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์

       “อยากให้ภูมิภาคอาเซียน และทั่วโลก เตรียมความพร้อมที่จะทำนโยบายร่วมกัน เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจโลกชะลอลงมากกว่าปัจจุบัน โดยขณะนี้เวลาที่เจอรัฐบาล จะบอกว่า ให้ทำสิ่งที่ทำได้ในการช่วยเศรษฐกิจ โดยให้ทำนโยบายการเงินและการคลังหากยังมีความสามารถหรือช่องว่างที่ทำได้”นางคริสตาลีนา กล่าว

     นางคริสตาลีนา กล่าวว่า สำหรับในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันพรุ่งนี้ ของธปท.นั้น คงไม่เหมาะสมหากจะให้ความเห็น แต่แนะนำว่า หากจะใช้นโยบายการเงินจะต้องระมัดระวัง เนื่องจากยังมีความเสี่ยงในระยะข้างหน้าที่ยังต้องติดตาม

     โดยยืนยันว่า ประเทศไทยโชคดี ที่มีช่องว่างที่จะดำเนินนโยบายการเงินและการคลังเหลือ รวมถึงมีทุนสำรองสูง จึงเป็นกันชนสำหรับรองรับความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่จะเกิดขึ้นได้

    “ไทยโชคดีที่มีนโยบายการเงิน การคลังเหลือที่จะใช้เพื่อประคองเศรษฐกิจ แต่จะใช้เมื่อไหร่ คงขึ้นอยู่กับผู้บริหารของประเทศ สำหรับนโยบายด้านการคลังนั้น ถือเป็นเรื่องดี แต่การดำเนินงานหรือกลไกในการใช้ต้องระมัดระวัง และต้องเพิ่มประสิทธิภาพ ไม่ใช่การหว่านเงินอย่างเดียว ต้องมีกลไกรองรับและให้เงินเข้ากระเป๋าประชาชนด้วย”นางคริสตาลีนา กล่าว

    นางคริสตาลีนา กล่าวว่า ประเทศไทยนั้น ยังเผชิญกับความท้าทายทั้งจากต่างประเทศและภายในประเทศ โดยด้านต่างประเทศ ยังมีเรื่องความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยฉุดรั้งต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ

     ในขณะเดียวกัน อัตราดอกเบี้ยในประเทศพัฒนาแล้วซึ่งอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน เร่งให้เกิดเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศและส่งผลต่อการแข็งค่าของเงินสกุลต่างๆอย่างรวดเร็ว และทำให้เป็นข้อจำกัดต่อขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน

  ด้านปัจจัยเสี่ยงต่างประเทศ ประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ทั้งจากภาวะอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำมาเป็นเวลา หนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง สังคมผู้สูงอายุ ความไม่เท่าเทียมในภูมิภาคต่างๆและความจำเป็นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้วย

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

ais 790x90GC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!