WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

นายกฯประชุมกนพ. เล็งเปิดเขตศก.พิเศษแม่สอด เป็นแห่งแรก

     พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.)ครั้งที่ 1/2558 ว่า เป็นการหาความชัดเจนหลังจากมีการประกาศพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 5 แห่ง ว่าในพื้นที่ทั้งหมดไม่ใช่ใครก็ได้จะมาได้ประโยชน์ จะไปซื้อที่ดินแล้ววันหนึ่งที่ดินขึ้นราคาแล้วขาดทุนก็ช่วยไม่ได้ ซึ่งได้บอกว่าจะให้บริษัทหรือกิจการที่เข้ามาในกติกา ของการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน จะมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ไม่ใช่ทั้งหมดไปซื้อที่แล้วให้คนมาเช่า วันหน้าก็โดนเก็บภาษีอีก

  โดยในปีนี้จะมีการเปิดพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษที่อ.แม่สอด จังหวัดตาก ก่อน โดยตรงไหนที่พร้อมจะเริ่มทำก่อน เช่นเป็นศูนย์กระจายสินค้าเป็นโกดัง เพราะถ้าทำเป็นโรงงานนั้นยังไม่แล้วเสร็จ เพราะฉะนั้นเราต้องแก้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจในข้อตกลงการค้า ซึ่งเราต้องหาพื้นที่ควบคุมให้ได้ก่อน คือไปตั้งด่านรับซื้อสินค้ามาแล้วไม่ต้องนำเข้ามาในประเทศให้เป็นปัญหา

  นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า การทำพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษไม่ใช่นำโรงงานเข้ามาแล้วเสร็จเลย ต้องมีไฟฟ้า ประปาซึ่งเส้นทางคมนาคมใช้เงินอีกกว่าแสนล้านบาท ก็ยังไม่รู้จะพอหรือไม่ ยังไม่รวมรถไฟและท่าเรือ ซึ่งต้องใช้เวลาถึงปี 2565 ทั้งนี้ระยะแรกคือกำหนดพื้นที่ให้เห็นคร่าวๆ ว่ามีพื้นที่ใดบ้าง ซึ่งไม่ใช่ว่าราคาในพื้นที่นั้นจะขึ้นทั้งหมด เพราะเป็นแค่จุดเดียว โดยวันนี้ถ้าจะให้เกิดขึ้นก่อนต้องใช้พื้นที่ของรัฐและสาธารณะประโยชน์ เพื่อชักจูงให้บริษัทของเราและต่างชาติมาลงทุนไม่เช่นนั้นไปซื้อที่ไม่ไหว

 เพราะราคาที่ดินในเขตเศรษฐกิจพิเศษจะขึ้นจาก 5 เป็น 10 เปอร์เซนต์ เราต้องลดลงมาให้เขาซื้อได้ เราจะไปไหนไม่ได้ ภาคเอกชนต้องช่วยเรา ประชาชนที่มีที่เยอะต้องช่วยเรา ถ้าเก็บที่ไว้มาก วันหน้าก็เสียภาษีมาก แบบนี้ถึงจะเรียกว่า เป็นการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ กระจายที่ดินที่ถือครอง จะให้เราไปยึดที่ดินแล้วแจกคนจนนั้นทำไม่ได้

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

รมช.คมนาคม เผยปีนี้ได้เห็นเขตศก.พิเศษแห่งแรกใน อ.แม่สอด เอกชนขานรับ

      นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ(กนพ.)ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมอบนโยบายให้เร่งรัดการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษให้เห็นเป็นรูปธรรม โดยคาดว่าจะได้เห็นการจัดตั้งแห่งแรกที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ภายในปีนี้ และที่เป็นไปได้ตามมา คือ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว พร้อมทั้งเพิ่ม จ.หนองคาย เป็นอีกหนึ่งจังหวัดนำร่องระยะแรกในการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อรองรับการเชื่อมต่อโครงการรถไฟรางมาตราฐาน กรุงเทพฯ- หนองคาย และเชื่อมต่อไปยังประเทศจีน

     ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการกิจการเป้าหมายที่จะลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยดำเนินการให้สอดคล้องกับการประกาศนโยบายที่จะส่งเสริมการลงทุนในอีก 10 ปีข้างหน้า และให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกันหารือ

    อย่างไรก็ตาม ทางคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จะมีการพิจารณาให้สิทธิประโยชน์เป็นกรณีพิเศษใน 3 ประเภทหลัก ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ศูนย์กลางการค้าและกระจายสินค้า และร้านค้าปลอดอากร ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่ได้รับถือว่ามีความใกล้เคียงกับสิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบการที่ลงทุนในจังหวัดที่มีความยากจน 20 จังหวัด หรือใกล้เคียงกับสิทธิประโยชน์การลงทุนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้

     นายอาคม กล่าวว่า ขณะนี้มีภาคเอกชนขนาดใหญ่ที่แสดงความสนใจลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามแนวนโยบายของรัฐบาลแล้ว ได้แก่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ เครือสหพัฒนพิบูล และ บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชั่น(AMATA) เป็นต้น

   เครือเจริญโภคภัณฑ์ สนใจลงทุนในอุตสาหกรรมสินค้าแปรรูปและระบบโลจิสติส โดยเฉพาะ จ.สระแก้ว และ อ.แม่สอด, ไทยเบฟเวอเรจ สนใจตั้งศูนย์กระจายสินค้า , เครือสหพัฒนพิบูลสนใจลงทุนผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค และ AMATA สนใจตั้งนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งบริษัทเหล่านี้จะมีส่วนช่วยให้การดำเนินการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษทำได้เร็วขึ้น หากมีแผนการลงทุนชัดเจน เพราะช่วยส่งเสริมด้านการค้า รวมถึงความพร้อมในการกระจายสินค้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้ด้วย

   นอกจากนี้ ที่ประชุมได้กำหนดกิจการเป้าหมายในส่วนสินค้าเกษตรที่จะส่งเสริมการรับซื้อผลผลิตจากประเทศเพื่อนบ้านและนำมาแปรรูปเพื่อส่งออกต่อไป ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเป็นผู้ดำเนินการ

   ส่วนการกำหนดและจัดหาพื้นที่จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษจะกำหนดอำเภอหรือตำบล ที่มีความเหมาะสม โดยมอบให้ รมว.มหาดไทย ในฐานะที่ดูแลผังเมืองไปจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดูความพร้อมก่อนเสนอให้นักลงทุนที่มีความสนใจ และเปิดโอกาสให้นักลงทุนหาพื้นที่นอกเหนือจากที่รัฐประกาศไว้ด้วย ซึ่งหากมีความเหมาะสมรัฐพร้อมสนับสนุนและประกาศให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ

   ขณะเดียวกัน ที่ประชุมเห็นชอบแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกาการใน 5 จังหวัดนำร่อง โดยตั้งงบประมาณประจำปี 2558 จำนวน 45 โครงการ วงเงิน 2,622 ล้านบาท และในปี 2559 จำนวน 79 โครงเร วงเงิน 7,924 ล้านบาท

   นายอาคม กล่าวว่า ที่ประชุมมอบหมายให้กระทรวงแรงงานจัดระบบแรงงานต่างด้าวที่จะเข้ามาทำงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมถึงการดูแลค่าแรงและสวัสดิการให้กับแรงงานต่างด้าวด้วย อีกทั้งต้องเตรียมการเรื่องการจัดระบบสาธารณสุข การศึกษา ความปลอดภัยของแรงงานและนักท่องเที่ยวด้วย

 อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!