WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Payut1นายกฯ พร้อมช่วย SMEs สั่งหน่วยงานราชการเร่งติดตามการเบิกจ่าย

      พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการช่วยเหลือเอสเอ็มอีว่า ขณะนี้เอสเอ็มอียังไม่ขึ้นทะเบียนทุกราย อีกทั้งบางรายต้องการเงินแต่ไม่ยอมเสียภาษี จึงไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง เอสเอ็มอี ที่มีความพร้อมก็จะได้รับสินเชื่อจากธนาคารเอกชน ส่วนเอสเอ็มอีที่ยังไม่เข้มเข็ง รัฐบาลก็พยายามให้การช่วยเหลือผ่านธนาคารของรัฐ แต่ต้องยอมรับว่าบางกิจการมีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง หากรัฐบาลจะให้เงินช่วยเหลืออย่างเดียวก็ไม่สามารถมั่นใจได้ว่าเขาจะอยู่ได้หรือไม่ ซึ่งปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญคือปัญหาหนี้สินเดิมที่รัฐบาลและประชาชนกำลังแบกรับภาระ เราจึงพยายามจะไม่สร้างภาระให้ประเทศเพิ่ม ไม่อยากให้ประชาชนต้องมาใช้หนี้ในอนาคตอีก

   "ยืนยันว่า รัฐบาลจะพยายามอย่างเต็มที่ในการสร้างความเข้มแข็งและสนับสนุนธุรกิจทุกประเภทให้เดินหน้าไปได้โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงและมีมาตรการป้องกันความเสี่ยงหรือสร้างภูมิคุ้มการในภาคธุรกิจ และที่ผ่านมารัฐบาลไม่สามารถที่จะเดินหน้าปรับโครงสร้างภาษีได้ แต่ที่ต้องทำเพราะเรื่องภาษีถือเป็นรายได้หลักของรัฐรองจากภาคการส่งออก แม้ว่าประเทศไม่มีปัญหาเรื่องเงินสำรองก็ตามแต่จำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศด้วย"นายกรัฐมนตรี กล่าว

    นอกจากนี้ ได้สั่งการเร่งด่วนให้หน่วยงานราชการติดตามการเบิกจ่ายงบประมาณที่มีปัญหา เพราะที่ผ่านมาไม่มีการบริหารจัดการที่ดี บางพื้นที่ผู้รับเหมาก่อสร้างไม่เคยได้รับงาน จึงไม่มีการเตรียมความพร้อม แต่การบริหารจัดการของรัฐบาล พยายามกระจายงบประมาณให้เกิดโครงการในทุกพื้นที่ แต่ละพื้นที่จึงต้องบริหารจัดการงบประมาณที่ได้รับไปด้วยให้มีการสร้างงานอย่างทั่วถึง

                อินโฟเควสท์

คลัง’ชง‘ครม.’มาตรการช่วยกลุ่มSMEs

     แนวหน้า : ‘คลัง’ชง‘ครม.’มาตรการช่วยกลุ่ม SMEs ระบุ NPLพุ่งหลังเศรษฐกิจชะลอตัว

     นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง เปิดเผยว่ากระทรวงการคลังเตรียมเสนอมาตรการเพื่อช่วยเหลือและดูแลธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาและเห็นชอบภายในเดือนมิถุนายน 2558 ได้แก่ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 15,000 ล้านบาท ที่กระทรวงการคลังรับภาระดอกเบี้ย 3% และให้ผู้ประกอบการจ่ายเอง 4%, โครงการให้รัฐรับภาระค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ปีแรกในโครงการค้ำประกันสินเชื่อแบบ PGS (Portfolio Guarantee Scheme) ระยะที่ 5 เพิ่มอีก 50,000 ล้านบาท

    ทั้งนี้ ธุรกิจ SMEs ถือว่ามีความสำคัญต่อประเทศ โดยมีอยู่ประมาณ 2.7 ล้านราย เกิดการสร้างงานกว่า 11.4 ล้านราย หรือคิดเป็นกว่า 30% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) แต่ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประกอบกับยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เต็มที่ ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ทั้งการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนปรน รวมทั้งการค้ำประกันจาก บสย.ที่ให้ผู้ประกอบการสามารถขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (แบงก์รัฐ) และธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้สามารถต่อยอดธุรกิจได้ดีขึ้น

   นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ขณะนี้สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) กลุ่ม SMEs มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอ ทำให้กำลังซื้อลดลง ซึ่งอาจทำให้ SMEs บางรายไม่สามารถประกอบธุรกิจได้ ที่ผ่านมาแต่ละธนาคารได้ช่วยเหลือลูกค้าโดยการปรับโครงสร้างหนี้พักชำระหนี้ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ แต่เชื่อว่าหลังจากนี้สัญญาณSMEs จะดีขึ้น เนื่องจากทั้งภาครัฐและ บสย.รวมทั้งธนาคารได้หามาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs

    “สินเชื่อ SMEs ทั้งระบบ 4 เดือนแรกปี 2558 เติบโต 4-5% จาก 2557 ที่เติบโต 2 หลัก ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมา SMEs ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัว แต่เชื่อว่าหลังจากนี้สินเชื่อ SMEs จะกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้น แต่ก็ยอมรับว่าที่ผ่านมาธนาคารชะลอการปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการ เนื่องจากมีความเสี่ยงเกิด NPL”นายบุญทักษ์ กล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!