WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

10เดอน

นายกรัฐมนตรีเผยในช่วง 10 เดือนของปีงบประมาณ 2558 ได้อนุมัติให้มีการส่งเสริมการลงทุน 1,923 โครงการ คิดเป็นเงินทุน 665,631 ล้านบาท มีรายได้จากการส่งออกกว่า 1,033,000 ล้านบาท

     นายกรัฐมนตรีเผยในช่วง 10 เดือนของปีงบประมาณ 2558 ได้อนุมัติให้มีการส่งเสริมการลงทุน 1,923 โครงการ คิดเป็นเงินทุน 665,631 ล้านบาท มีรายได้จากการส่งออกกว่า 1,033,000 ล้านบาท

   วันนี้ ( 23 พฤศจิกายน 2558) เวลา 14.30 น. ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดงานและกล่าวปาฐกถาในงานสัมมนา'อนาคตไทย ก้าวไกลด้วยคลัสเตอร์' โดยมี รัฐมนตรี ผู้บริหารระดับสูงภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการภาคเอกชน สถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย สื่อมวลชนเข้าร่วมจำนวนมาก

    ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถา ตอนหนึ่งว่า รัฐบาลได้เข้ามาบริหารประเทศ ทำหน้าที่เพื่อคนไทย และที่สำคัญเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักลงทุนเข้ามาร่วมลงทุนโดยมีการแก้กฎหมายที่สำคัญ ซึ่งรัฐบาลมองว่าหากประชาชนได้ประโยชน์รัฐบาลก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้ รัฐบาลพร้อมจะปรับปรุงและรับฟังปัญหาจากผู้ประกอบการ หากปัญหานั้นไม่ส่งผลต่ออนาคต โดยมุ่งส่งเสริมการแบ่งกลุ่มเป็นคลัสเตอร์ เพื่อผลักดันให้เกิดในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่รัฐบาลได้วางไว้ โดยจะขยายการลงทุนให้เกิดชุมชนเมืองในท้องถิ่น ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาเป็นยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่ ในระยะ 7 ปี (พ.ศ.2558 – 2564) โดยให้สิทธิประโยชน์พื้นฐานและเสริมสิทธิประโยชน์ตามคุณค่าของโครงการ เพื่อจูงใจให้นักลงทุนพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งในช่วง 10 เดือนของปี 2558 ได้มีการอนุมัติให้มีการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 1,923 โครงการ คิดเป็นเงินทุน 665,631 ล้านบาท ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการส่งออกประมาณ 1,033,000 ล้านบาท มีการใช้วัตถุดิบในประเทศมูลค่าประมาณ 709,000 ล้านบาท ก่อให้เกิดการลงทุนใน 20 จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวต่ำจำนวน 101 โครงการ เงินลงทุนรวม 44,626 ล้านบาท และก่อให้เกิดการลงทุนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 7 โครงการ เงินลงทุนรวม 2,337 ล้านบาท

     นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่า ในระยะแรกรัฐบาลได้กำหนดคลัสเตอร์เป้าหมายประกอบด้วย 6 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ 1) Super Cluster สำหรับกิจการที่ใช้เทคโนโลยีสูง และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (คลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วน คลัสเตอร์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ คลัสเตอร์อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คลัสเตอร์อุตสาหกรรมดิจิทัล) และ 2) คลัสเตอร์เป้าหมายอื่น ๆ (คลัสเตอร์เกษตรแปรรูป คลัสเตอร์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม) โดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมเป็นพิเศษในแต่ละคลัสเตอร์ 2 กลุ่ม คือ โครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคลัสเตอร์ และกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตที่มีความสำคัญสูง ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดมาตรการสนับสนุนเพื่อผลักดันให้เกิดการลงทุนในพื้นที่เป้าหมาย และช่วยยกระดับคลัสเตอร์ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น การให้สิทธิประโยชน์ การพัฒนาคนและเทคโนโลยี การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค และการสนับสนุนเงินทุน เป็นต้น

    สำหรับ การกำหนดคลัสเตอร์ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า รัฐบาลพิจารณาจากศักยภาพและพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต ซึ่งจะเน้นบริเวณพื้นที่ตอนใน โดยมุ่งส่งเสริมธุรกิจที่เป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น กิจการวิจัยและพัฒนา กิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและใช้แรงงานน้อย พร้อมกันนี้ได้มุ่งสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสถานประกอบการกับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ผ่านโครงการของภาครัฐ เช่น โครงการ Talent Mobility ซึ่งจะสนับสนุนให้บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของภาครัฐเข้าไปปฎิบัติงานในสถานประกอบการของภาคเอกชน และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการรายย่อยหรือ SMEs มีการวิจัยและพัฒนามากขึ้นเพื่อสร้างความเข้มแข็งเป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจของประเทศ

    โดยนายกรัฐมนตรีฝากให้ผู้ประกอบการ SMEs เรียนรู้และจัดทำระบบบัญชีเดียวเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ นอกจากนั้นเพื่อเป็นการช่วยให้ภาครัฐได้รับภาษีเงินได้เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ และยังส่งผลให้ภาคเอกชน ภาคประชาชนเข้าถึงมาตรการและความช่วยเหลือของภาครัฐได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!