WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมคด จาตศรพทกษ copyสมคิด ย้ำร่วมทุนรถไฟไทย-จีนไม่มีเปลี่ยนแปลง,รมว.คลัง คาดเซ็นลงทุนขนาดใหญ่กว่า 9 แสนลบ.ในปีนี้

     นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การขับเคลื่อนการใช้จ่ายของภาครัฐตามโครงการต่างๆ ถือว่ามีความคืบหน้าไปพอสมควร และได้เร่งรัดให้การทำสัญญาจะต้องเกิดขึ้นภายในไตรมาสแรกของปีนี้ หรืออย่างช้าไม่เกินครึ่งปีแรก เพื่อให้เม็ดเงินสามารถไหลลงสู่ระบบได้เร็วที่สุด

     "ค่อนข้างมั่นใจว่าโครงการทั้งในส่วนของทางหลวง รถไฟทางคู่ การพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ จะได้เห็นอย่างแน่นอนในปีนี้ แต่น้ำหนักของเงินจะไปอยู่ในครึ่งปีหลังเป็นส่วนใหญ่ ก็จะเร่งรัดโครงการอื่นๆ ทั้งโครงการของมหาดไทย ให้เร่งขึ้นมาในไตรมาส 2 เป็นอย่างช้า เพื่อให้เกิดความสมดุลของเงินที่จะลงไปสู่ระบบ" นายสมคิด กล่าว

     รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมินว่าปีนี้เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ราว 3.5% นั้น ตนเองไม่ได้ให้ความสำคัญกับตัวเลข GDP มากนัก สิ่งสำคัญคือ โครงการที่ตั้งเป้าไว้ต้องเดินไปข้างหน้าได้ทุกโครงการ ทีมเศรษฐกิจได้เข้ามาเพื่อช่วยไม่ให้เศรษฐกิจทรุดต่ำไปอีก และพยายามประคองให้ผ่านพ้นช่วงที่เศรษฐกิจโลกไม่ดีไปให้ได้อย่างปลอดภัย และวางรากฐานต่อๆไปไว้

      "feedback ค่อนข้างดี เราเตรียมตัวมาพอสมควรแล้ว ไม่อยากให้ตื่นตกใจไปกับเศรษฐกิจโลกเท่าไร ดีกว่าที่เราไม่ได้เตรียมอะไรเลย นี่เราเตรียมแล้ว และเร่งให้มันเกิด คิดว่าน่าจะทำได้ด้วยดี" นายสมคิดกล่าว

      โดยวันที่ 28 ม.ค.นี้ นายอภิศักดิ์ ตันตัวรวงศ์ รมว.คลัง และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม จะเดินทางไปประเทศจีน เพื่อหาข้อสรุปที่ชัดเจนในส่วนประเด็นที่ยังค้างอยู่สำหรับโครงการลงทุนก่อสร้างรถไฟ สายหนองคาย-กรุงเทพฯ โดยยืนยันว่าจะมีการร่วมลงทุนระหว่างไทยกับจีนเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

     "เส้นรถไฟหนองคาย-กรุงเทพฯ เป็นเส้นที่เราจะทำกับจีนแน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ฉะนั้นเราต้องการจะสรุปข้อที่ยังแตกต่างอยู่ให้เร็วเพื่อที่จะได้เริ่มต้นโครงการกันได้เร็ว ไม่มีโครงการไหนเปลี่ยนแปลง" นายสมคิด กล่าว

     ด้านนายอภิศักดิ์ กล่าวว่า ในการประชุมขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนนั้น ในส่วนที่มีความคืบหน้าของภาครัฐ คือ การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการของกระทรวงคมนาคม โดยมีการประเมินว่าในปีนี้จะมีโครงการที่สามารถเซ็นสัญญาได้กว่า 9 แสนล้านบาท

     โดยในส่วนของโครงการที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีก่อน ทั้งทางหลวง รถไฟทางคู่ สนามบินสุวรรณภูมิ และท่าเรือแหลมฉบังทั้งหมดนั้น คาดว่าในปีนี้จะสามารถเบิกเงินงบประมาณได้ราว 66,800 ล้านบาท ซึ่งจะเติมเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ แต่ทั้งนี้ยังไม่รวมโครงการของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ที่ ครม.มีมติอนุมัติไป 15,000 ล้านบาทเมื่อสัปดาห์ก่อน และโครงการลงทุนของหน่วยงานอื่นๆ สำหรับการลงทุนในส่วนของภาคเอกชนนั้น ตามที่รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นโดยการให้สิทธิประโยชน์ในการลงทุนผ่านบีโอไอไปแล้วนั้น มีการประเมินว่ามาตรการนี้จะทำให้ภาคเอกชนมีการลงทุนภายในปีนี้ถึง 7 แสนล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 2 แสนล้านบาท จากปกติที่ภาคเอกชนมีการลงทุนในแต่ละปีประมาณ 5 แสนล้านบาท ซึ่งจะเป็นตัวเสริมทำให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้มากขึ้น

    นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้มีการหารือถึงการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวม ซึ่งถือว่ามีความคืบหน้าในการเบิกจ่ายค่อนข้างดี โดยเฉพาะโครงการขนาดเล็กที่วงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท ที่มีการเบิกจ่ายไปแล้วถึงกว่า 90%

     "จะเห็นว่ามาตรการทั้งหมดที่เราเดินมาอยู่ในวิสัยที่ค่อนข้างดี และมีการขับเคลื่อนได้ตามแผน อันไหนที่ยังช้ากว่าแผน ท่านรองนายกฯ ก็กำชับให้แต่ละหน่วยงานกลับไปดู โดยเน้นว่าช่วงนี้ ข้าราชการและทุกหน่วยงานต้องเร่งขึ้นมา เพราะเราทราบกันแล้วว่าสถานการณ์ต่างประเทศมีความไม่แน่นอนสูง ฉะนั้นเราต้องดูแลตัวเอง ทำให้ตัวเราเข้มแข็ง ไม่ว่าที่อื่นจะเกิดอะไรขึ้นเราต้องสามารถดูแลตัวเองได้ก่อน" นายอภิศักดิ์ กล่าว

อินโฟเควสท์

สมคิด สั่งเร่งทุกโครงการรัฐฯ เดินหน้า ด้าน'รมว.คลัง' คาดปีนี้ทำสัญญาลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่ากว่า 9 แสนลบ.

   'สมคิด' ยันไม่ให้ความสำคัญกับจีดีพี แม้ธปท.-สภาพัฒน์จะมองที่ 3.5% ย้ำต้องการให้ศก.ผ่านพ้นวิกฤต - ทุกโครงการรัฐฯ เดินหน้า ยันรถไฟไทย-จีน สายหนองคาย-กรุงเทพ ยังเดินหน้าตามแผน  สั่งมหาดไทย-คลัง ศึกษาแผน นำเงินภาษีท้องถิ่น 3 แสนลบ.กระตุ้นศก. ด้านรมว.คลังคาดปีนี้ทำสัญญาโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่ากว่า 9 แสนลบ. เบิกจ่ายงบฯ ได้ 6.68 หมื่นลบ. ประเมินมาตรการรัฐ-บีโอไอ จะดันเอกชนลงทุนปีนี้แตะ 7 แสนลบ.เพิ่มขึ้นจากปี 58 ที่ลงทุน 5 แสนลบ.

   นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศ ครั้งที่ 1/2559 ว่าวันนี้ได้มารับทราบความคืบหน้าการขับเคลื่อนการใช้จ่ายโครงการต่างๆของภาครัฐ ซึ่งรัฐบาลจะเร่งเดินหน้าโครงการลงทุนขนาดใหญ่ภายในไตรมาส 2 ของปีนี้ เนื่องจากภาครัฐได้เตรียมความพร้อมมากพอสมควร

     ทั้งนี้ ไม่อยากให้ตื่นตกใจกับสถานการณ์เศรษฐกิจในต่างประเทศ ส่วนมาตรการการลงทุนต่างๆนั้น จะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ขยายตัวได้เท่าไหร่นั้น ยืนยันว่าไม่ได้ให้ความสำคัญกับตัวเลขจีดีพี แต่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. มองว่าจีดีพีปีนี้จะอยู่ที่ 3.5% ซึ่งขณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างเดินหน้ามาตรการต่างๆให้ขับเคลื่อนไปได้ เพื่อให้จีดีพีเป็นไปตามที่ประเมินกันไว้

      "จะพยายามเร่งผลักดันให้ได้ภายในไตรมาส 2 เป็นอย่างช้า ในทุกโครงการ ทั้งในเรื่องของรถไฟรางคู่ รถไฟไทย-จีน เส้นทางหนองคายกรุงเทพ ที่จะเดินหน้าอย่างเต็มที่ตามแผนไม่มีเปลี่ยนแปลง  เราไม่อยากให้ตื่นตกใจกับเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้น และผมไม่ได้ให้ควมสำคัญกับจีดีพีว่าจะต้องโตเท่าไหร่ แต่เราต้องทำให้ทุกตัวฝ่าอุปสรรคไปได้ โดยโครงการทั้งหลายให้เดินหน้าไปได้ทุกโครงการ ผมเรียนท่านแล้วว่าต้องการไม่ให้เศรษฐกิจทรุดตัวต่ำ"นายสมคิด กล่าว

   นายสมคิด กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีในส่วนของภาษีท้องถิ่น หรือ อปท. ที่ปัจจุบันมีเงินสะสมในกองทุนอยู่ที่ 300,000 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมา ไม่สามารถดำเนินการใช้ประโยชน์อะไรได้ เนื่องจากมีระเบียบที่ทำให้ใช้จ่ายยาก ใช้จ่ายไม่ได้ ทางกระทรวงการคลัง จึงได้มีการหารือกับกระทรวงจึงได้มีการหารือกับกระทรวงมหาดไทย เพื่อหามีวิธีการผ่อนคลายให้เอาเงินเหล่านี้มาใช้ในโครงการที่เป็นประโยชน์ เช่น การพัฒนาว่าด้วยการท่องเที่ยวท้องถิ่น พัฒนาสินค้าชุมชน เพื่อพัฒนาความเจริญจากข้างล่าง ต้องใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยมองว่าจะสามารถทำให้จีดีพีในปีนี้ ขยายตัวได้ถึง 3% จากมาตรการดังกล่าวข้างต้น

    นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการประชุมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการลงทุน ขณะนี้มีความคืบหน้าในการลงทุนพอสมควร โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่กระทรวงคมนาคม โดยในปีนี้ประเมินว่าจะมีงบที่จะลงทุน และทำสัญญาได้ 900,000 กว่าล้านบาท โดยป็นเงินที่เบิกจ่ายได้จริงของโครงการที่ทำสัญญาแล้ว ประกอบด้วย ทางหลวง รถไฟรางคู่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งคาดว่าจะเบิกจ่ายได้ 66,800 ล้านบาท โดยทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นเฉพาะโครงการใหญ่ ยังไม่นับรวมโครงการไอซีที ที่จะมีเติมลงไป 15,000 ล้านบาท

    ส่วนของภาคเอกชนที่มีการกระตุ้นผ่านมาตรการของรัฐบาล และจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ รวมของกระทรวงการคลังที่ออกมาตรการว่าจะได้รับการหักภาษีได้สองเท่า เบื้องต้นประเมินว่า จากมาตรการดังกล่าวข้างต้นนั้น จะช่วยให้เอกชนเกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น 200,000 ล้านบาท จากปกติเอกชนจะลงทุนปีละ 500,000 ล้านบาท โดยในปีนี้จะทำให้เอกชนลงทุนอยู่ที่ 700,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตมากขึ้น ขณะที่การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐออกมาดี ทั้งโครงการขนาดเล็ก 1 ล้านบาท ที่ขณะนี้เบิกจ่ายได้ 90% ซึ่งเป็นผลดี โดยจะมีการเร่งรัดต่อไป ด้านสำนักงบประมาณจะมีการเร่งรัดโครงการที่ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาทให้เกิดเร็วขึ้น โดยมาตรการทั้งหมดที่เดินมา อยู่ในวิสัยที่ดี และมีการขับเคลื่อนไปได้ตามแผนที่วางไว้

    "อันไหน หรือ โครงการใดที่ช้ากว่าแผน รองนายกรัฐมนตรีได้สั่งกำชับ แต่ละหน่วยงานให้กลับไปดู ช่วงนี้ข้าราชการ หน่วยงานต้องเร่งตัวเอง เราทราบว่าสถานการณ์ต่างประเทศมีความไม่แน่นอนสูง ต้องทำตัวเองให้เข้มแข็ง"นายอภิศักดิ์ กล่าว

     ทั้งนี้ ยืนยันว่า เงินทั้งปีที่ลงในระบบปีนี้ ไม่ใช่แค่จากการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ แต่ยังมีโครงการในส่วนของกระทรวงอื่นๆด้วย ที่พยายามขับเคลื่อนให้เร็วและเป็นไปตามแผน ส่วนอื่นก็เบิกจ่ายได้ตามปกติ แต่ช่วงนี้ทุกหน่วยงานรับทราบให้เร่งทุกอัน ให้เบิกจ่ายได้  ในส่วนของกระทรวงมหาดไทยจะหารือในส่วนของการนำงบประมาณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท.นั้น จะมีการนำเงินในส่วนงบดังกล่าวไปพัฒนาท้องถิ่น เช่น เน้นการท่องเที่ยวในส่วนของท้องถิ่น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยว อาจมีการแก้ไขในส่วนของกฎระเบียบของกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

คมนาคมลุย 14 เมกะโปรเจกท์ รับ'59 ปีแห่งการลงทุน อุตฯดันกองทุนหมื่นล.

   แนวหน้า : 'คมนาคม'เดินหน้าโครงการพื้นฐาน รับปีแห่งการลงทุน แล้ว ขณะที่ กระทรวงอุตฯ ดันแผนจัดตั้งกองทุนเพิ่มขีดความสามารถฯเสริมเขี้ยวเล็บให้เอกชน มั่นใจเริ่มมีผล ไม่เกินมี.ค.

   นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยแผนดำเนินการโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่(เมกะโปรเจกท์)ในปี 2559 ว่า โครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่สามารถเริ่มประกวดราคาได้ในปี 2559 เริ่มตั้งแต่ต้นปีถึงกลางปี 2559 มีทั้งหมด 14 โครงการ วงเงิน 1,610,078 ล้านบาท ได้แก่ 1.รถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 2.รถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-หัวหิน 3.รถไฟทางคู่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 4.รถไฟทางคู่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ 5.รถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร (รถไฟไทย-จีน) ช่วงหนองคาย-ขอนแก่น-นครราชสีมา-แก่งคอย-กรุงเทพฯ และแก่งคอย-มาบตาพุด

   6.รถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน ช่วงกรุงเทพฯพิษณุโลก-เชียงใหม่(รถไฟไทย-ญี่ปุ่น) 7.รถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน ช่วงกรุงเทพฯ-หัวหิน 8.รถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน สายกรุงเทพฯ-ระยอง 9.รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ- มีนบุรี 10.รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี 11.รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง 12.รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสันหัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อหัวลำโพง 13.รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ และ14.มอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี

     ด้านนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าในปีนี้ ทางกระทรวงคมนาคมจะเดินหน้าโครงการลงทุนตามแผนของรัฐบาลและตามแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง (Action Plan) ระยะเร่งด่วน ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางถนนสู่รูปแบบการขนส่งทางราง และทางน้ำมากขึ้น

     ด้านนายอาทิตย์ วุฒิคะโร ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการ จัดตั้ง กองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อให้ปี 2559 เป็นปีแห่งการลงทุนว่า กองทุนนี้มีวงเงิน 10,000 ล้านบาท โดยที่ผ่านมา กระทรวงการคลัง ในฐานะผู้จัดทำรายละเอียดกองทุนฯเสนอร่าง พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) กองทุนเพิ่มขีดความในการแข่งขันสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อเดือนธ.ค. 2558 แล้ว ล่าสุด ตามขั้นตอนกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างหารือและพิจารณารายละเอียดร่วม กับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หากพิจารณาเสร็จเรียบร้อย คาดว่าจะส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ออกเป็นกฎหมายเพื่อบังคับใช้ต่อไป ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะผู้รับผิดชอบกองทุนฯ ก็พร้อมจะใช้ เครื่องมือดังกล่าวในการดึงดูดนักลงทุนเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้

      รายงานข่าวจากกระทรวง อุตสาหกรรมแจ้งว่า ตามขั้นตอนการออกกฎหมาย คือ พ.ร.บ.กองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อใช้ในการดูแลกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย นั้น คาดว่าทางกระทรวงการคลังและ กฤษฎีกาน่าจะพิจารณาและออกเป็น กฎหมายมีผลบังคับใช้ได้ภายใน ไตรมาสแรกของปีนี้ (มกราคม-มีนาคม 2559) เพราะถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญ ต่อการดึงดูดการลงทุนหากรัฐบาลต้องการ ให้ปี 2559 เป็นปีแห่งการลงทุนโดย สนับสนุนค่าใช้จ่ายการลงทุน ค่าใช้จ่ายในการทำวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมและใช้จ่ายบุคลากร ฯลฯ

'ไทย-จีน'สร้างแน่รถไฟลุยพค.ปีหน้า/งบ 5 แสนล.

     แนวหน้า : นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 9 ร่วมกับนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน หัวหน้าคณะผู้แทนของจีน ได้ติดตามความคืบหน้าโครงการและหาข้อสรุปในการก่อสร้างโครงการ ซึ่งในการออกแบบโครงการก่อสร้างในช่วงที่ 2 เส้นทาง แก่งคอยมาบตาพุด และช่วงที่ 4 เส้นทาง นครราชสีมา-หนองคาย มีความคืบหน้าประมาณ 50%

    ในส่วนของช่วงที่ 1 เส้นทาง กรุงเทพฯ-แก่งคอย และช่วงที่ 3 เส้นทาง แก่งคอย-นครราชสีมา ขณะนี้ มีความคืบหน้าประมาณ 80% คาดว่าจะออกแบบแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค.นี้ และจะเสนอแบบต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้ในช่วงต้นปีหน้า และคาดว่าจะสามารถ ดำเนิการก่อสร้างได้ในเดือน พ.ค. 2559

      ทั้งนี้ ในส่วนงบประมาณการก่อสร้างเบื้องต้นประมาณ 500,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากแผนงานเดิมประมาณ 100,000 ล้านบาท โดยงบประมาณที่เพิ่มขึ้นมาจากการ ก่อสร้างสถานีบ้านภาชี เพิ่มจากแผนงานเดิม แต่ได้มีการ มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษาของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ทบทวนต้นทุนการก่อสร้างอีกครั้ง ซึ่งอาจจะมีการ ปรับลดลง เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับลดลงทำให้วัสดุก่อสร้างบางรายการปรับลดลง

'หูกวาง' ชี้ชัดรถไฟไทย-จีน โครงการยันราบรื่นเดินหน้าต่อ

     บ้านเมือง : โครงการรถไฟไทย-จีน ถือเป็นโครงการในความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมา ก็ได้มีการเดินหน้าโครงการถึงขั้นที่มีพิธีสำคัญ ร่วมกัน คือ พิธีเริ่มต้นโครงการ หรือเรียกว่าปักธง สัญญาลักษณ์ และเตรียมพร้อมที่จะหารือร่วมกันเป็นครั้งที่ 10

   ภายหลังที่ประเทศไทย และประเทศจีน ได้มี การประชุมร่วมกันเพื่อจะร่วมมือลงทุนรถไฟ ไทย-จีน จนถึงขั้นประกอบพิธีสำคัญร่วมกันอย่าง การปักธง สัญญาลักษณ์ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา ที่สถานีเชียงรากน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งเป็นเส้นทางสำคัญที่จะกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป  

      อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีกระแสออกมาว่าโครงการก่อสร้างรถไฟ ไทย-จีนนั้น อาจจะไม่ เดินหน้าต่อ ที่สุดท้ายก็ได้รับคำตอบที่ชัดเจนจาก นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคม กล่าวยืนยันว่า ไทยยังคงเดินหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน เส้นทางหนองคายนครราชสีมา-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทาง 845.27 กิโลเมตร และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทาง 118.14 กิโลเมตรกับจีนต่อไป ไม่ได้มีแนวคิดจะยกเลิกการเจรจากับจีนและมอบโครงการให้ประเทศญี่ปุ่นรับผิดชอบแทน ตามที่มีกระแสข่าวมาจากกระทรวงการคลังก่อนหน้านี้ว่าไทยจะมอบโครงการดังกล่าวให้ญี่ปุ่นเพราะเจรจากับฝ่ายจีนมาถึง 9 ครั้งแล้วยังไม่ได้ข้อยุติ ซึ่งล่าสุดนายหวัง หย่ง มนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ระบุระหว่างพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ ว่าจะยอมคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ไทยที่ 2% จากที่เคยเจรจาไว้ที่ 2.5%

     "เรายืนยันว่า เราเดินหน้าการเจรจากับจีนต่อไป โดยการหารืออย่างเป็นทางการครั้งที่ 10 น่าจะจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง หลังช่วงตรุษจีนนี้ และล่าสุดคุณหวัง หย่ง ก็พูดต่อหน้ารองนายกรัฐมนตรีเลยว่าจะยอมลดดอกเบี้ยให้เราแล้วมาอยู่ที่ 2% ตามที่ไทยต้องการ"

     ส่วนในการหารือกับฝ่ายจีนอย่างเป็นทางการครั้ง ที่ 10 นี้ รัฐบาลได้มอบหมายให้ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทาง ร่วมคณะเพื่อเจรจาในครั้งนี้ด้วย โดยระบุใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1.เจรจาให้จีนมีสัดส่วนการลงทุนในโครงการมากขึ้น 2.สัดส่วนการลงทุนดังกล่าวต้องครอบคลุมตั้งแต่งานก่อสร้าง และ 3.ไทยสามารถเลือกแหล่งเงินลงทุนได้ว่าจะกู้ในประเทศ หรือกู้จากจีน

     สำหรับ สัดส่วนการลงทุนที่ต้องมีการจัดตั้งเป็นบริษัทร่วมทุนไทย-จีนแบบนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle : SPV) นั้น จีนจะต้องลงทุนในสัดส่วนที่มากกว่าไทย โดยอาจอยู่ที่ 60:40 หรือ 70:30 แต่ต้องเป็นเจ้าของโครงการร่วมกัน รวมทั้งต้องมีการพิจารณาเรื่องสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินด้วย โดยบริษัทร่วมทุนอาจต้องจ่ายค่าสิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดิน หรืออาจใช้ที่ดินเป็นทุน ซึ่งขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาโครงการอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียดการร่วมทุน รวมทั้งประเมินมูลค่าการก่อสร้าง ซึ่งจะพยายามสรุปให้ได้ก่อนนำข้อมูลไปหารือกับจีนในครั้งที่ 10 นี้

     ส่วนการกำหนดการเริ่มก่อสร้าง ขณะนี้ยังคงเป็นเดือนพฤษภาคม 2559 ตามที่เคยวางแผนไว้ ส่วนเรื่องการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) นั้น ยอมรับว่ายังดำเนินการไม่เสร็จสิ้น โดยเฉพาะล่าสุดจะมีการเพิ่มสถานีบ้านภาชีเข้ามาอยู่ในโครงการรถไฟไทย-จีนด้วย จากเดิมสถานีนี้จะอยู่ในโครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่น เนื่องจากฝ่ายญี่ปุ่นต้องใช้เวลาศึกษาอีกนานพอควร

    อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะได้รับการอนุมัติ EIA  ในบางช่วงได้ทันการเริ่มงานก่อสร้างพฤษภาคมนี้  สำหรับแผนระยะเวลาการก่อสร้างแบ่งออกเป็น  4 ช่วงสัญญา ประกอบด้วย การก่อสร้างระยะแรกจะมีอยู่ 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กิโลเมตร และช่วงที่ 3 แก่งคอยนครราช สีมา ระยะทาง 138.5 กิโลเมตรและช่วงที่ 4 นคราชสีมา-หนองคาย

     "การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 โดยกระทรวงคมนาคมจึงเร่งรัดผลักดันโครงการรถไฟไทย-จีน ขนาดทางมาตรฐานให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่ายเส้นทางรถไฟของไทยกับอาเซียนเชื่อมต่อไปยังจีนตอนใต้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายคุนหมิง-สิงคโปร์ และสอดรับกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ที่จะมีการเชื่อมโยงทางด้านเศรษฐกิจและประชาชน อย่างไรก็ตาม สำหรับการก่อสร้างโครงการดังกล่าวนั้น คาดว่าจะสามารถเริ่มโครงการก่อสร้างตามแผนที่กำหนดได้ประมาณเดือนพฤษภาคม 2559 โดยจะสามารถสรุปรายละเอียดได้ประมาณกุมภาพันธ์นี้

     นอกจากนี้ อยากจะมีการเสนอให้ทางจีนลงทุนเรื่อง การเดินรถ อาณัติสัญญาณ เพื่อให้เป็นการลงทุนในสัดส่วนที่ดีขึ้น ส่วนเรื่องของรายละเอียดดอกเบี้ยนั้นจะต้องสรุปเรื่องของการลงทุนก่อนจึงจะสามารถสรุปดอกเบี้ยได้ ซึ่งเรื่องนี้คณะกรรมการจะต้องสรุปอีกรอบโดยคาดว่าน่าจะเสร็จประมาณไตมาส 1 ของปี 2559 นี้"

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!