WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมคด จาตศรพทกษ copyสมคิด ผุดคณะทำงานดึง FDI โวม.ค.ลงทุนเพิ่ม 2 เท่าตัว อมตะลั่นพร้อมสนับสนุน

     ไทยโพสต์ : พระราม 6 * สมคิดตั้ง 4 คณะทำงานย่อย ดึงซีอีโอระดับหัวกะทิช่วยขับเคลื่อนจูงใจต่างชาติ ลงทุนกลุ่มธุรกิจเป้าหมาย อาหาร การเกษตรขั้นสูง เทคโนโลยีชีวภาพ พร้อมโชว์ เดือน ม.ค.มียอดเอฟดีไอกว่า 20,000 ล้าน เพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว ด้านอมตะลั่นพร้อมหนุนนโยบายรัฐ

     นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยภายหลังหารือการประชุมติดตามความคืบหน้าคณะอนุกรรมการทุกคลัสเตอร์ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนว่า ได้ตั้งคณะทำงานย่อย 4 กลุ่ม มีทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อเร่งดึงนักลงทุนให้ตรงตามเป้าหมาย ให้เห็นผลแรงและเร็ว คือ กลุ่มอาหาร การเกษตรขั้นสูง เทคโนโลยีชีวภาพ

     ทั้งนี้ เป้าหมายคือ ต้องทำให้เอกชนรายสำคัญของโลก เข้ามาลงทุนในอุตฯ เป้าหมายของไทย ดังนั้น การประชุมครั้งนี้ เพื่อต้องการให้รัฐบาลและเอกชนทุกคนเร่งเดินหน้าเปิดแนวรุกด้านการลงทุนให้ตรงเป้าหมาย และเห็นผลโดยเร็วขึ้น

      อย่างไรก็ตาม ขณะนี้นักลงทุนต่างชาติที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่แสดงความสนใจลงทุนในไทย เช่น นักลงทุนรายใหญ่ของรัสเซีย 3-4 รายที่ได้ชักชวนสนใจเข้ามาลงทุนช่วง 1-2 เดือนจากนี้ และตัวเลขขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) เดือน ม.ค. อยู่ที่ 20,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2 เท่าตัว จึงเป็นสัญญาณที่ดีที่จะจัดมาตรการเพื่อกระตุ้นเร่งดึงกลุ่มธุรกิจในต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น

     "การตั้งคณะทำงานย่อยนั้น ประกอบด้วยรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) หน่วยงานภาครัฐ เอกชน รวมถึงมหาวิทยาลัย ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมไฮเทค ประสาน นายกานต์ ตระกูลฮุน อดีตผู้บริหาร SCG และนายประเสริฐบุญสัมพันธ์ อดีตผู้บริหาร ปตท. เข้ามาร่วมกลุ่ม ซึ่งจะมีการประชุมร่วมกันเดือนละครั้ง โดยตั้งเป้าภายในปีนี้ให้ สามารถดำเนินการทุกกลุ่ม และ จัดตั้งทีมเข้าไปหากลุ่มนักลงทุนต่างชาติเชิงรุก เพื่อเชิญชวนเข้ามาลงทุนในไทย และในอนา คตจะขยายไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มขึ้น นายสมคิดกล่าว

    นางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่าต้องการที่จะให้กลุ่มบริษัททางภาคเอกชนเข้ามาช่วยชักจูง และติดต่อประสานงานกับธุรกิจรายใหญ่ที่จะนำเข้ามาลงทุน เพื่อให้ทราบความต้องการของกลุ่มผู้ประกอบการนั้นๆ และมอบหมายให้กลุ่มที่ดูแลของแต่ละประเภทคัดเลือกผู้ประกอบการ รายใหญ่ที่พร้อมจะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย จากข้อมูลของ BOI ที่มีอยู่ทั้งหมด 600 ราย ทั้งนี้ ยังเปิดเผยว่า ในปัจจุบันมีการออกไปทำการติดต่อเพื่อ ชักจูงแล้วในประเทศหลักๆ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย

     นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นิคมอมตะ นั้น พร้อมรองรับการลงทุนอุตสาหกรรมเศรษฐกิจดิจิทัล อาทิ ด้านระบบ Software ที่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว มีสถานที่ บุคลากร และระบบต่างๆ ที่มีความพร้อม รวมถึงอุตสาหกรรมที่มูลค่าสูง อาทิ อุตสาหกรรมไฮเทค การวิจัยและพัฒนา R&D ซึ่งจะสามารถรองรับนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ยุโรป และสหรัฐ อเมริกา ที่มีแนวโน้มสนใจเข้ามาลงทุนได้ โดยอมตะพร้อมที่จะเจรจา พูดคุยกับนักลงทุนต่างชาติ

'สมคิด'สั่งตั้งทีมเฉพาะกิจดึงนักลงทุน ออกเดินสายเจรจาประเทศกลุ่มเป้าหมาย

      แนวหน้า : 'สมคิด'สั่ง ตั้งคณะทำงานเชิงรุก "น็อค ดอร์" ผนึกภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ ร่วมทำงาน ออกเดินสายชักจูงนักลงทุนต่างชาติ หวังดึง 4 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ เข้ามาลงทุนไทยเร็วขึ้น

     นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวภายหลังการประชุมติดตามผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต หรือ S-Curve ว่า ที่ประชุมมีมติตั้งคณะทำงาน 1 ชุด ซึ่งจะมีนางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม เป็นประธาน เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนของอุตสาหกรรมใหม่ 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) อาหาร เกษตรชั้นสูง และชีวภาพ 2) เศรษฐกิจดิจิตอล 3) อุตสาหกรรมไฮเทค เช่น หุ่นยนต์ เครื่องมือทางการแพทย์ ปิโตรเคมี และ 4) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (ดิจิตัลอีโคโนมี) เช่น แอนิเมชั่น โรงภาพยนตร์ เป็นต้น โดยทั้ง 4 กลุ่มจะมีรองเลขาธิการ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ และผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน เป็นผู้กำกับดูแลและให้คำปรึกษา

      "เบื้องต้นเริ่มมีความชัดเจนเกี่ยวกับผู้เชี่ยวชาญที่จะมาประจำบางกลุ่มแล้ว อาทิ กลุ่มไฮเทค ได้ประสานให้นายกานต์ ตระกูลฮุน อดีตผู้บริหาร SCG และนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตผู้บริหาร ปตท. เข้ามาร่วมกลุ่ม โดยจะจัดการประชุมเดือนละครั้ง ตั้งเป้าว่าภายในปีนี้จะดำเนินการได้ครบทั้ง 4 กลุ่ม และเห็นนักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งอาจพิจารณาขยายไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ หลังจากนี้มีแผนเชิญการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเข้ามาหารือเรื่องพื้นที่จัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อรองรับนักลงทุนในอนาคตด้วย"นายสมคิดกล่าว

     แผนงานดังกล่าวถือเป็นการดำเนินงานเชิงรุก เพื่อช่วยบีโอไอ ขับเคลื่อนการลงทุนในประเทศไทย หลังมีสัญญาณว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือ FDI ปรับตัวดีขึ้น โดยในเดือนมกราคม 2559 ที่ผ่านมา มีมูลค่า FDI สูงกว่า 2 หมื่นล้านบาท เพิ่ม 2 เท่าตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งจากการโรดโชว์ในต่างประเทศหลายครั้ง พบว่ายังมีอุตสาหกรรมไฮเทคอีกมาก ที่ต้องการเข้ามาลงทุนในไทย แต่ยังติดปัญหาบางอย่างที่ทำให้ชะลอเข้ามาลงทุนในไทย ดังนั้นจึงมอบหมายให้ตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินนโยบายเชิงรุกมากขึ้นและตอบสนองนักลงทุนได้โดยตรง

     "แม้ไทยจะเสียเปรียบประเทศเพื่อนบ้านเรื่องค่าแรงที่สูงกว่า แต่เรามีอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งเป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมทุกประเภทที่แข็งแกร่ง จึง มั่นใจว่าไทยจึงยังเป็นประเทศเป้าหมายที่ผู้ประกอบการ สนใจเข้ามาลงทุนอยู่ เพียงแต่ต้องหานโยบายหรือมาตรการที่รองรับในอุตสาหกรรมแต่ละประเภทเจาะจง เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุน และเดินทางไปชักจูงด้วยตนเองและคณะและต้องให้เอกชนที่มีพันธมิตรในต่างประเทศ หรือมีเครือข่ายช่วยเหลืออีกทางหนึ่งในการติดต่อประสานงานว่า นักลงทุนต้องการอะไรเพิ่มเติม"นายสมคิดกล่าว

     ด้านนางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจากนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ให้เป็นประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจ น็อค ดอร์ (Knock Door) เพื่อชักจูงนักลงทุนต่างชาติให้มาลงทุนมากขึ้น โดยเน้นเข้าไปชักจูงถึงแต่ละประเทศซึ่งขณะนี้ได้ สั่งการให้บีโอไอกำหนดนักลงทุนเป้าหมายชัดเจนขึ้นจากเดิมมีอยู่ 600 บริษัท ใน 9 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย และนำกลับมาเสนอภายใน 1-2 วัน เพื่อให้เอกชนช่วยพิจารณาแนวทางการเจาะตลาดที่เห็นผลเป็นรูปธรรม โดยสัปดาห์หน้าจะนัดภาคเอกชนเข้ามาหารือร่วมกันอีกครั้ง

    นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน กล่าวว่า ปัจจุบันผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของไทยขยายตัวน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นการจะทำให้ประเทศไทยมีเศรษฐกิจดีขึ้น และมีการเข้ามาลงทุนเพิ่มภาครัฐควรดำเนินนโยบายเชิงรุกเพิ่มมากขึ้น โดยเข้าไปชักจูงถึงประเทศนั้นๆ โดยตรง โดยเฉพาะประเทศที่มีกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ทั้ง 4 กลุ่ม ที่รองนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายไว้

     "ในส่วนของอมตะมองว่าซอฟต์แวร์เป็นกลุ่มที่ไทยมีศักยภาพเพียงพอ ซึ่งอมตะเองก็มีบริษัทพันธมิตรใหญ่ๆ ที่มีศักยภาพและพร้อมลงทุนจำนวนมาก อาทิ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี ยุโรป สหรัฐ เป็นต้น แต่ภาครัฐต้องมีมาตรการมาสนับสนุนเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่บีโอไอให้เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับนักลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งเราพร้อมที่จะทำงานร่วมกับภาครัฐ "นายวิกรมกล่าว

จูงใจยักษ์ใหญ่ลงทุนไทย 'สมคิด' ตั้งเอกชนทำงานร่วม 'บีโอไอ'

      'สมคิด' เครื่องร้อนตั้ง 4 คณะทำงานย่อยร่วมกับ 'บีโอไอ'ดึง 'บิ๊กซีอีโอสถาบันศึกษา'ระดมสมองออกแพ็กเกจบุกเคาะประตูนักลงทุนต่างชาติยักษ์ใหญ่เฉพาะรายลงทุนไทย หวังผลแรงเร็วในปีนี้

     นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังหารือการประชุมติดตามความคืบหน้าคณะอนุกรรมการทุกคลัสเตอร์ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชนว่า ได้แต่งตั้งคณะทำงานย่อย 4 กลุ่ม มีทั้งภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อเร่งดึงนักลงทุนให้ตรงตามเป้าหมาย ให้เห็นผลแรงและเร็ว คือ กลุ่มอาหาร การเกษตรขั้นสูง เทคโนโลยีชีวภาพ มีนายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานหอการค้าไทย รับผิดชอบ, กลุ่มดิจิตอล อีโคโนมี มีนายสุชชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รับผิดชอบ, กลุ่มอุตสาหกรรมไฮเทค ปิโตรเคมี เครื่องมือแพทย์ มีนายกานต์ ตระกูลฮุน อดีตผู้บริหาร เครือเอสซีจี รับผิดชอบ นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานคณะกรรมการ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. กลุ่มครีเอทีฟ แอนิเมชั่น ภาพยนตร์ มีนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ รับผิดชอบ

      นายสมคิด กล่าวว่า เป้าหมายการทำงานของตนคือ ต้องทำให้เอกชนรายสำคัญของโลกเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ไม่อยากให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โดดเดี่ยว อยากให้เอกชนที่มีคอนเนคชั่นเข้ามาช่วย สาเหตุที่เรียกประชุมครั้งนี้ เพราะต้องการให้รัฐบาลและเอกชนทุกคน เร่งเดินหน้าเปิดแนวรุกด้านการลงทุนให้ตรงเป้าหมาย และเห็นผลแรงและเร็วขึ้น เพราะขณะนี้นักลงทุนต่างชาติ ที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่แสดงความสนใจลงทุนในไทย เช่น นักลงทุนรายใหญ่ของรัสเซีย 3-4 รายที่ผมได้ชักชวน สนใจเข้ามาลงทุนช่วง 1-2 เดือนจากนี้ และตัวเลขขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศเดือน ม.ค. อยู่ที่ 20,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2 เท่าตัว

     สำหรับ อีกภารกิจที่สำคัญ คือการเตรียมความพร้อมพื้นที่ลงทุน พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมต้องพร้อม ครบวงจร ทั้งสาธารณูปโภคที่จำเป็น และมหาวิทยาลัยในการเสริมความพร้อมลงทุน ส่วนเงื่อนไขการลงทุนที่บางฝ่ายระบุว่า ไทยมีอุปสรรคมาก หากเทียบกับเวียดนาม ประเด็นนี้ต้องการให้มองว่า ประเทศไทยมีความแข็งแรงมากกว่าเพราะเป็นฐานการลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ทั้งในแหลมฉบัง มาบตาพุด ซึ่งอุตสาหกรรมนี้จะส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกมากมาย

     ขณะเดียวกัน จากผลตอบรับของนักลงทุน ทำให้เห็นว่าทีมทำงานของไทยต้องปรับตัว ไม่ใช่ประกาศให้เข้ามาและรอลงทุนเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องกำหนดเป้าหมาย และออกไปเชิญชวนให้เข้ามาลงทุนในไทยให้ได้

     นางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันคณะทำงานขับเคลื่อนการลงทุนได้กำหนดจำนวนนักลงทุนใน 9 คลัสเตอร์ มีกลุ่มเป้าหมาย 600 บริษัท แต่นายสมคิดต้องการให้เจาะในกลุ่มนี้ให้เร็วขึ้น จึงได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมา 4 ชุดย่อย เพื่อทำงานให้ตรงกลุ่มเป้าหมายเร็วขึ้น โดย ให้บีโอไอพิจารณารายละเอียดของการทำงานและกลับมานำเสนอเพื่อออกแพ็กเกจชักจูงการลงทุนลักษณะเคาะประตูบ้าน (น็อกดอร์) ให้ตรงเป้าหมายที่สุด

      นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาคเอกชนได้หารือถึงอุปสรรค และแนวทางที่ต้องการขับเคลื่อนร่วมกับภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยภาครัฐนั้นต้องการให้ภาคเอกชนเข้ามาช่วยขับเคลื่อนการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในไทย สำหรับนิคมอมตะพร้อมรองรับการลงทุนด้านดิจิตอล โดย เฉพาะระบบซอฟต์แวร์ เพราะมีสถานที่ บุคลากร และระบบต่างๆที่มีความพร้อม รวมถึงอุตสาหกรรมมูลค่าสูง เช่น อุตสาหกรรมไฮเทค การวิจัยและพัฒนา โดยนักลงทุนต่างชาติที่รู้จักและจะชวนให้เข้ามาลงทุน เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ ยุโรป และสหรัฐฯ.

              ที่มา : www.thairath.co.th

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!