WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมคด จาตศรพทกษ copyรัฐบาลเห็นชอบตั้งสนง.ขับเคลื่อนบริหารงานเขตเศรษฐกิจพิเศษ-ตั้งคกก.ศึกษาตั้ง Free trade zone ภาคตอ.

    นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เป็นประธาน ได้พิจารณาให้มีการจัดตั้งสำนักงานขับเคลื่อนการบริหารงานเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยให้มอบหมายให้นายวีรพงศ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) รับผิดชอบดำเนินการ และมอบหมายให้ไปจัดหาพื้นที่ในการจัดตั้งสำนักงานฯ และทำงานร่วมกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และกระทรวงคมนาคม เพื่อขับเคลื่อนและบริหารจัดการในเขตเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมด และให้มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์งานของเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

      "เหตุที่เร่งให้มีการจัดตั้งขึ้นมา เพราะในขณะนี้เศรษฐกิจโลกไม่ค่อยจะดี แต่กลับกลายเป็นโอกาสการลงทุนของประเทศไทย เพราะว่าพวกเราก็ทราบดีว่าดอกเบี้ยทั่วโลกต่ำมาก เงินเหล่านี้ต้องการไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพก็เริ่มมีการทยอยมาพบปะแวะเวียน ถ้าเขาจะมาหาเราตรงนี้เราเองต้องทำตัวเองให้พร้อม เราต้องรู้ในใจว่าอุตสาหกรรมเป้าหมายมีบริษัทไหนบ้าง เวลาเขามาจะได้ล็อคไว้เลย อีกด้านเป็นการเตรียมรับว่าหากเข้ามาจะให้เจอใครที่ไหนจะได้รวมศูนย์ตรงนี้และกระจายออกไปจึงต้องตั้งสำนักงานนี้ขึ้นมา"นายสมคิด กล่าว

      นายสมคิด กล่าวว่า ที่ประชุมฯ ยังได้พิจารณาให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมา 1 ชุด โดยมีนายกานต์ ตระกูลฮุน อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) เป็นหัวหน้าคณะ เพื่อไปออกแบบให้กลุ่มอุตสาหกรรมซุปเปอร์คลัสเตอร์มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยเล็งไปที่การพัฒนาในกลุ่มจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ที่จะเป็นส่วนต่อขยายไปยังท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุด ซึ่งมองว่าในพื้นที่นี้มีโครงสร้างพื้นฐานครบถ้วนและมีกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีคอลที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศ ซึ่งมีแนวคิดอยากจะให้มีการจัดทำในลักษณะเขตปลอดอากร (Free Trade Zone) คล้ายกับทางประเทศจีนเพื่อเป็นการดึงดูดนักลงทุนนอกเหนือจากการอำนวยความสะดวกและสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี

    นายสมคิด ยังกล่าวถึงกำหนดการเยือนประเทศศรีลังกา ระหว่างวันที่ 8-12 มีนาคมนี้ว่า ทางศรีลังกาต้องการให้ไทยเข้าไปลงทุนทั้งด้านอุตสาหกรรม ก่อสร้าง โรงแรม เกษตร และด้านอุปโภค ซึ่งไทยเห็นความสำคัญของศรีลังกา เนื่องจากศรีลังกามีการทำเขตการค้าเสรี (FTA) กับประเทศอินเดีย ซึ่งไทยหวังให้ศรีลังกาเป็นฐานในการลงทุนเพื่อต่อยอดไปยังประเทศอินเดีย และการเดินทางไปครั้งนี้ ได้มีตัวแทนนักธุรกิจรายใหญ่ร่วมคณะไปด้วย เช่น บมจ.ช.การช่าง (CK), บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD), บมจ.บ้านปู (BANPU), บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) เป็นต้น

   อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!