WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมคด จาตศรพทกษสมคิด บี้รีดรายได้ภาษีเพิ่มถมงบ 61 ขาดดุล-3 เดือนรู้ผลดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคธ.ค.ฟื้น

    ไทยโพสต์ * 'สมคิด'บี้สรรพากร-สรรพสามิต รีดภาษีเพิ่ม โปะงบปี 2561 ขาดดุล รายจ่ายมากขึ้น ขีดเส้น 3 เดือนสรุป ดัชนีเชื่อมั่นบริโภค ธ.ค.ปรับขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน อานิสงส์รัฐกระตุ้น ส่งออกฟื้น สินค้าเกษตรราคาดีขึ้น ลุ้นเศรษฐกิจทั้งปีโต 3.5-4%

     นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ 2 กรมภาษี คือ กรม สรรพากรและกรมสรรพสามิต เร่งหารายได้เข้ารัฐเพิ่มเติมจากเดิม โดยมอบหมายให้เร่งศึกษาการจัดเก็บรายได้จากภาษีเดิมที่มีอยู่ หรืออาจศึกษาภาษีใหม่ เพื่อรองรับการใช้จ่ายของประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

     เนื่องจากตัวเลขการจัดทำงบประมาณปี 2561 เบื้องต้นพบว่ารายได้ไม่สอดคล้องกับรายจ่าย แบ่งเป็นรายได้ 2.4 ล้านล้านบาท ส่วนรายจ่ายอยู่ที่ 2.7 ล้านล้านบาท ทำให้ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บราย ได้ให้มากกว่าเดิมที่เคยเสนอมา

     "ที่ผ่านมาทั้ง 2 กรมภาษี มีการศึกษาแนวทางการเพิ่มการจัดเก็บรายได้อยู่แล้ว ทั้งการเก็บจากของเดิม หรืออาจ จะศึกษาเก็บจากของใหม่เพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับรายจ่ายของรัฐที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยให้เวลา 3 เดือน ต้องได้ข้อ สรุปถึงแนวทางต่างๆ ว่าสามารถ จัดเก็บได้เพิ่มขึ้นอย่างไร เพราะรัฐบาลต้องใช้เงินเยอะมาก จึงได้มอบหมายให้กรมสรรพากร กับกรมสรรพสามิตไปหาแนวทาง การหารายได้มาว่าจะทำอย่างไร ให้เพิ่มขึ้น และให้นำมาเสนอให้ พิจารณาอีกครั้ง" นายสมคิดกล่าว

      ขณะที่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจปี 2560 กระทรวงการคลังได้ตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจไทยขยายตัวใกล้เคียง 4% ซึ่งทุกหน่วยงานต้องเร่งดำเนินการให้นโยบายต่างๆ สามารถขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง เพื่อให้นโยบายต่างๆ เกิด ผลมากที่สุด

     นายปรีดา โพธิ์ทอง อา จารย์ประจำศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยา ลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ดัชนี ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคประ จำเดือน ธ.ค.2559 ทุกรายการปรับตัวดีขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยว กับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 62.5 เพิ่มจาก 61.2 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำเท่ากับ 68.2 เพิ่มจาก 66.9 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเท่ากับ 90.3 เพิ่มจาก 88.8 ในเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา

      ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันเท่ากับ 52.1 เพิ่มจาก 50.8 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตเท่ากับ 82.5 เพิ่มจาก 81.1 ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ธ.ค.อยู่ที่ 73.7 เพิ่มจาก 72.3 ในเดือนก่อน

      "ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ดีขึ้นมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ การส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว โดยเดือน พ.ย.บวก 10% ราคาพืชผลทางการเกษตรปรับ ตัวดีขึ้น ทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน ประกอบกับการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในช่วงปลายปีคึกคัก จากมาตรการช็อปช่วยชาติที่รัฐบาลออกมาก่อนปีใหม่" นายปรีดากล่าว

     นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ กล่าวว่า คาดว่าในไตร มาส 1 เศรษฐกิจน่าจะขยายตัวได้ 3-3.5% ขณะที่การส่งออกที่คาดว่าจะดีขึ้นและทั้งปีน่าจะขยายตัว 1-3% นักท่องเที่ยวเริ่มกลับเข้าไทย คาดว่าไตรมาส 1 จะมีประมาณ 4.5-5 ล้านคน หากได้แรงหนุนจาก ภาครัฐในการเร่งเบิกใช้งบกลางปี จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจช่วงไตรมาส 1 และ 2 และจะโตโดดเด่นในปลาย ไตรมาส 2 ที่ประมาณ 3.3-3.7% และเป็นแรงหนุนให้เศรษฐกิจทั้งปีขยายตัวได้ 3.5-4.0%.

'สมคิด'บี้คลังขับเคลื่อนภารกิจหารายได้เพิ่ม-ดูแลผู้สูงอายุ-คนจน

      แนวหน้า : นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผย ภายหลังเป็นประธานการประชุมและมอบนโยบาย ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงการคลัง ว่า ปีนี้กระทรวงการคลังจะต้องเร่งขับเคลื่อนภารกิจสำคัญใหญ่ๆ ให้เกิดผลและรายงานให้ทราบในอีก 3 เดือน ประกอบด้วย เรื่องดูแลสังคมผู้สูงอายุ ที่ได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว เช่น สนับสนุนการจ้างงานผู้สูงอายุ, สินเชื่อที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ, ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุโดยให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เป็นผู้ดำเนินการหลักในการรวบรวมแพ็กเกจร่วมกับสถานพยาบาล ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ( ธอส.) การเคหะแห่งชาติ

     สำหรับ ภารกิจต่อมาเรื่องความเท่าเทียมต่อยอด จากการลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการของรัฐซึ่งจะใช้เป็น ฐานข้อมูลในการดำเนินการให้ประเทศไทยหลุดจาก กับดักรายได้ความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ หรือแนวคิด Negative Income Tax (NIT) และยังให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เร่งดำเนินการเรื่องสถาบันการเงินชุมชนและธนาคารที่ดิน มีลักษณะคล้ายกับบรรษัทบริหารสินทรัพย์ หรือเอเอ็มซี โดยให้เกษตรกรนำที่ดินมาแปลงเป็นเงิน มาพัฒนาเกษตรกรรมและมีเงินใช้จ่ายในชีวิตประจำวันตามข้อเสนอของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)

    "หลังจากนี้การช่วยเหลือในส่วนของสวัสดิการ จะระบุกลุ่มที่ชัดเจนจะต้องมีเงื่อนไข ว่าให้กลุ่มไหนและ ต้องการให้พัฒนาอะไรบ้าง เพื่อเกื้อกูลคนจนและดูแล กลุ่มที่มีที่ดินแต่ไม่มีเงินรวมถึงช่วงปลายเดือนมกราคมนี้ จะมีแคมเปญเรื่องแก้หนี้นอกระบบออกมา ซึ่งจะเป็น การดูแลทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้นอกระบบ ถือเป็นเรื่องหลัก ที่จะเข้ามาช่วยดูแลคนจน ไม่ให้ชาวบ้านไปกู้หนี้นอกระบบอีก"

     พร้อมกันนี้ ได้สั่งการให้กรมภาษีอย่างกรมสรรพากรและกรมสรรพสามิต หาแนวทางการจัดเก็บรายได้เพิ่มเติม หลังจากรายจ่ายมีอยู่ค่อนข้างสูง โดยเบื้องต้นปีงบประมาณ 2560 มีรายได้รวมอยู่ที่ 2.4 ล้านล้านบาท หากสามารถหารายได้เข้ามาได้เพิ่มขึ้นก็จะทำให้รายได้ของงบประมาณมีมากขึ้นด้วย "เชื่อว่าทั้งกรมสรรพากรและกรมสรรพาสามิตมีแนวทาง การจัดเก็บรายได้ตัวใหม่ๆ ให้มีประสิทธิภาพและรายได้ เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมายังไม่กล้าที่จะทำ"

      นอกจากนี้ สภาอุตสาหกรรมญี่ปุ่นได้ยื่น ข้อเสนอขอขยายเวลามาตรการทางภาษีส่งเสริม การลงทุน โดยกระทรวงการคลังจะพิจารณาขยายเวลาให้ แต่ต้องมีเงื่อนไขบางประการ เพื่อให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนจริง หลังจากมาตรการลงทุนสิ้นสุดไปเมื่อเดือนธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า โดยหากในปีนี้เอกชนเข้ามาลงทุนจะทำให้เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ถึง 4%

     "ปีนี้โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐมีอยู่จำนวนมาก การที่จะทำให้เศรษฐกิจไทย โตถึง 4% ภาคเอกชนจะต้องลงทุนด้วย จะหวังแค่การ ส่งออกคงเป็นไปไม่ได้ เพราะที่ผ่านมาสินค้าหลายอย่าง ทั้งข้าว ยางพารา อิเล็กทรอนิกส์ ไทยยังไม่ได้มีการพัฒนาเท่าที่ควร จึงต้องเร่งเพิ่มประสิทธิภาพ และอัพเกรดสิ่งที่มีอยู่ให้ได้ด้วย" นายสมคิด กล่าว

สมคิดจี้สรรพากร-สรรพสามิต ศึกษาเก็บภาษีเพิ่มดันรายได้เข้ารัฐสอดคล้องรายจ่าย

   นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมมอบนโยบายผู้บริหารกระทรวงการคลัง ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงการคลังว่า กระทรวงการคลังได้ตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจไทยขยายตัวไว้ใกล้เคียง 4% ซึ่งทุกหน่วยงานต้องเร่งดำเนินการให้นโยบายต่าง ๆ สามารถขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง เพื่อให้นโยบายต่าง ๆ เกิดผลมากที่สุด ถือเป็นส่วนสำคัญที่ผู้บริหารกระทรวงการคลังต้องดำเนินการ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยอยู่ระหว่างการปรับตัวไปในทิศทางที่ดี โดยทุกคนต้องทำงานหนักเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

    ขณะที่ได้สั่งการให้ 2 กรมภาษี ทั้งกรมสรรพากรและกรมสรรพสามิตเร่งหารายได้เข้ารัฐเพิ่มเติมจากเดิม โดยมอบหมายให้เร่งศึกษาการจัดเก็บรายได้จากภาษีเดิมที่มีอยู่ หรืออาจศึกษาภาษีใหม่เพิ่มเติม เพื่อรองรับการใช้จ่ายของประเทศที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยให้เวลา 3 เดือน  เนื่องจากตัวเลขการจัดทำงบประมาณปี 61 เบื้องต้นพบว่ารายได้ไม่สอดคล้องกับรายจ่าย แบ่งเป็นรายได้ 2.4 ล้านล้านบาท ส่วนรายจ่ายอยู่ที่ 2.7 ล้านล้านบาท ทำให้ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ให้มากกว่าเดิมที่เสนอมา

      นอกจากนี้ ทางนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง อยู่ระหว่างการพิจารณาต่ออายุมาตรการภาษีสนับสนุนเอกชนลงทุนโดยได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี 2 เท่าที่สิ้นสุดระยะเวลาไปเมื่อวันที่ 31 ธ.ค.59 แต่อาจมีเงื่อนไขบางอย่างให้ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติเพิ่มเติม โดยที่ผ่านมายอมรับว่ามีภาคอุตสาหกรรม ของญี่ปุ่นเสนอให้รัฐบาลต่ออายุมาตรการดังกล่าว เพราะเห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพ และภาพรวมเศรษฐกิจสามารถขยายตัวต่อเนื่อง

               อินโฟเควสท์

'สมคิด'สั่งกระตุ้นศก.จี้รัฐวิสาหกิจรีบลงทุนตั้งแต่ต้นปี

       แนวหน้า : นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ จะเรียกประชุมผู้บริหาร ระดับสูงของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีงบลงทุน ตั้งแต่ 2,000 ล้านบาท ขึ้นไปมาประชุม ในวันที่ 13 ม.ค. 2560 นี้

      นายสุธารักษ์ ธีร์จันทึก ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนรัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) เปิดเผยว่า  นายสมคิด เรียกประชุมเพื่อติดตามการเร่งรัด เบิกจ่ายงบลงทุนรวมทั้งติดตามปัญหาการเบิกจ่าย เพื่อดำเนินการแก้ไขเป็นวาระเร่งด่วนให้การเบิกจ่าย งบลงทุนได้ตามเป้าหมาย 95% ของกรอบวงเงินงบลงทุนรัฐวิสาหกิจในปี 2560 ทั้งสิ้น 3.7 แสนล้านบาท ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในปี 2560

     สำหรับ รัฐวิสาหกิจที่มีโครงการลงทุนเกิน 2,000 ล้านบาท ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.), บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เป็นต้น ซึ่งครอบคลุมเม็ดเงินส่วนใหญ่ของรัฐวิสาหกิจ

     อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ จะมีการเรียก ผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจที่งบลงทุนต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท ต่อไป เพราะรัฐบาลให้ความสำคัญกับการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง แม้ว่า งบลงทุนขนาดเล็กซึ่งจะต้องเบิกจ่ายให้ได้เร็วกว่างบลงทุนขนาดใหญ่

    ขณะที่การเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจในปี 2559 ช่วงปลายปี โดยเฉพาะในเดือนธ.ค. 2559มีการเบิกจ่ายได้สูงกว่า 3 หมื่นล้านบาท เนื่องจากส่วนใหญ่รัฐวิสาหกิจจะมีการเบิกจ่าย และกันงบไว้เป็นจำนวนมาก โดยทั้งปีรัฐวิสาหกิจทั้ง 45 แห่ง มีการเบิกจ่ายงบลงทุนมากกว่า 2.4 แสนล้านบาท จากงบลงทุนรัฐวิสาหกิจในปี 2559 ทั้งหมด 2.97 แสนล้านบาท

     อย่างไรก็ตาม ในปี 2559 ที่ผ่านมา บมจ. ท่าอากาศยานไทย มีการเบิกจ่ายงบลงทุน ที่ต่ำกว่า 50% จากงบลงทุนทั้งหมด 1 หมื่น ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากโครงการขยายสนามบินสุวรรณภูมิในเฟส 2 ไม่สามารถ ดำเนินการได้ เพราะติดขัดด้านการทำสัญญา ทำให้โครงการมีความล่าช้าออกไป แต่คาดว่า ทอท. จะนำแผนโครงการสุวรรณภูมิเฟส 2 มาดำเนินการต่อในปี 2560 นี้ ซึ่งจะมีเม็ดเงินลงทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาท

      นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวว่า ในปี 2560  จะมีโครงการโครงสร้าง พื้นฐานหรือเมกะโปรเจกท์ ของกระทรวงคมนาคม 1.7 ล้านล้านบาท เดินหน้าได้ 8-9 แสนล้านบาท จะมีการเบิกเงินลงทุน 1.6 แสนล้านบาท รวมกับโครงการลงทุนอื่นๆ ทำให้มีการเบิกจ่ายงบลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานในปีนี้ถึง 2.2 แสน ล้านบาท

    นอกจากนี้ จะมีเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจตามแผนปกติของปีหน้าอีก 3.6 แสนล้านบาท รวมกับเม็ดเงินที่รัฐวิสาหกิจเร่งลงทุนให้เร็วขึ้นอีก 6-7 หมื่นล้านบาท ทำให้มีเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจนี้อีกกว่า 4 แสนล้านบาท ที่จะลงทุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีนี้ และระยะยาว

      ขณะเดียวกัน ยังมีการลงทุนระยะกลาง และระยะสั้นจากงบเพิ่มเติมกลางปี 1.6 แสนล้านบาท ลงทุนในกลุ่มจังหวัดละ 6,000-7,000 ล้านบาท กระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจปีหน้าขยายตัวได้เพิ่มขึ้น 0.3-0.4%

      ด้านนายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การเร่งลงทุนของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ รวมถึงการทำงบประมาณกลางปีเพิ่มเติม จะทำสร้างความเชื่อมั่นทำให้ภาคเอกชนลงทุนเพิ่มในปีนี้ คาดว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนจากภาคเอกชน 2 แสนล้านบาท ทำให้เศรษฐกิจปีนี้ ขยายตัวได้ 4%ต่อปี  ซึ่งเป็นขั้นต่ำของการขยายตัวได้เต็มศักยภาพที่ 4-5% ต่อปี

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!