WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCสวทย เมษนทรย copyรมว.สำนักนายกฯ ยัน พรก.แรงงานต่างด้าวไม่กระทบอีอีซี เชื่อจะทำระบบแรงงานไทยเป็นสากลมากขึ้น

     รมว.สำนักนายกฯ ยันพ.ร.ก.แรงงานต่างด้าวไม่กระทบอีอีซี หวังเปิดศูนย์ดึงผู้เชี่ยวชาญต่อยอดอุตสาหกรรมเป้าหมาย เชื่อจะทำระบบแรงงานไทยเป็นสากลมากขึ้น

     นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวในโอกาสเป็นประธานเปิดศูนย์บุคลากรทักษะ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) หรือ STC จัดขึ้นที่ศูนย์ประสานการบริการด้านการลงทุน อาคารจามจัตุรัสจามจุรี ว่าศูนย์จะเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อบริการรับรองผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกด้านวีซ่าและใบอนุญาตทำงานที่บริษัทประสงค์จะนำเข้ามาทำงานในไทย ทั้งกรณีการทำงานในบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

      นอกจากนี้ ยังช่วยให้บริษัททั้งไทยและต่างชาติที่ดำเนินธุรกิจในไทยโดยเฉพาะการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) สามารถเข้าถึงบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญรองรับนโยบายประเทศไทย 4.0 ได้

 "ส่วนตัวมั่นใจว่าการดำเนินงานของศูนย์จะไม่ขัดแย้งกับการบังคับใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.). การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 แต่จะยิ่งทำให้ระบบและกระบวนการของไทยมีมาตรฐานเป็นสากลมากขึ้น ซึ่งขณะนี้นายกรัฐมนตรีอยู่ระหว่างหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการทบทวนรายละเอียดบางประเด็นในพ.ร.ก.ที่เป็นอุปสรรคกับอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือให้เหมาะสมโดยเร็ว เพื่อไม่ให้ภาคธุรกิจช็อกไปมากกว่านี้ โดยเฉพาะผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) เพื่อร่วมกันหาทางออกในช่วงที่ไทยกำลังเปลี่ยนผ่าน ที่ต้องมีเวลาให้ภาคเอกชนปรับตัว"นายสุวิทย์ กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

สนช.มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบพ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว แก้ปัญหาแรงงานเข้าระบบให้ถูกต้อง

    ที่ประชุมสภานิติบัญญติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเป็นเอกฉันท์ด้วยคะแนนเสียง 177 เสียง งดออกเสียง 11 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง เห็นชอบให้อนุมัติ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 มีผลใช้บังคับเป็น พ.ร.บ.

     นายสุพันธุ์ มงคลสุธี สมาชิก สนช. กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้จะช่วยแก้ปัญหาแรงงาน จากปัจจุบันมีแรงงานที่ขึ้นทะเบียนถูกต้อง 1.3 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ขณะที่แรงงานจำนวนมากเกือบ 3 ล้านคนอยู่ในอุตสาหกรรมเล็กรองลงมา การจะนำแรงงานนี้เข้าสู่ระบบเรื่องสำคัญคือการอำนวยความสะดวก จากประสบการณ์ขึ้นทะเบียน 1 วันเต็มๆ ได้เพียงแค่บัตรคิวซึ่งเป็นปัญหา

      โดยแรงงานส่วนนี้จะเข้ามาทำงานแทนคนไทยที่ขาดไป เสริมให้เศรษฐกิจแข็งแรง การแก้ปัญหาการขึ้นทะเบียน คือการอำนวยความสะดวก ทั้งการเอาเทคโนโลยีมาใช้ หรือใช้เอาท์ซอร์ส ให้เอกชนเข้ามาทำงานซึ่งเชื่อว่าจะทำได้ดี โดยให้มองแรงงานเหล่านี้เป็นลูกค้า อย่ามองว่าเป็นผู้สร้างปัญหา

     ด้านพล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงาน กล่าวว่า หลักการและเหตุผลของการออก พ.ร.ก.ฉบับนี้ สืบเนื่องจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2 ฉบับ ทั้ง พ.ร.บ.การทำงานคนต่างด้าว พ.ศ.2551 และ พ.ร.บ.การนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ.2559 ไม่สอดคล้องครอบคลุมการทำงานต่างด้าวทั้งระบบ ทำให้ไม่สามารถป้องกันปัญหาแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วนจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งการออก พ.ร.ก.ฉบับนี้คำนึงถึงประโยชน์ของความมั่นคงของชาติ เศรษฐกิจ สังคม สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และทำให้การแก้ปัญหาเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

     นายวรานนท์ ปีตินันท์ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า เวลานี้ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวให้ถูกต้องทั้งเพิ่มจำนวนศูนย์ และจัดหาเจ้าหน้าที่มาดำเนินการเพื่อให้ระยะเวลาการดำเนินการไม่นานเกินไป รวมทั้งประสานกับประเทศเมียนมา กัมพูชา และ สปป.ลาว เพื่อให้ข้อมูลรายละเอียดกับมาตรการที่ออกมา

     อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการดำเนินการจะใช้เวลาไม่เกิน 1 วันสำหรับการพิสูจน์สัญชาติ สำหรับใช้ในประเทศไทยมีอายุ 4 ปี เพื่อให้แรงงานต่างด้าวนำไปขอวีซ่ากับ ตม. เพื่อมาขอใบอนุญาตทำงาน กับกรมการจัดหางาน ขณะที่ขั้นตอนการตรวจโรคจะต้องไปตรวจกับทางโรงพยาบาลรัฐ เพื่อเข้าสู่ระบบประกันสังคม โดยค่าใช้จ่ายธรรมเนียมทั้งหมดรวม 1,500 บาท ไม่ใช่เสียหลายๆหมื่นอย่างที่กังวลกัน

    สำหรับ ข้อเสนอต่างๆ นั้นจะรับไปพิจารณา เช่น การนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้นั้น ก่อนสิ้นปีจะได้เห็น Virtual Work Permit สำหรับแรงงานที่มีสมาร์ทโฟนที่จะอำนวยความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น นอกจากนี้ได้ย้ำเจ้าหน้าที่แล้ว หากพบการทุจริตจะดำเนินการอย่างเฉียบขาดจริงจัง

นายกฯ ยันไม่ทบทวนหรือยกเลิกพ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว ชี้ขยายเวลาให้ 6 เดือนเพื่อขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกม.

      พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงการออกคำสั่งตามมาตรา 44 เพื่อชะลอการบังคับใช้ พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ใน 4 มาตรา ออกไปอีก 6 เดือน ว่า เพื่อต้องการให้ขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งผู้ประกอบการเองก็ต้องให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการจัดระเบียบแรงงานของตนเอง หากยังดำเนินการแบบเดิมก็จะส่งผลตามมาได้ ดังนั้นทุกคนจะต้องปรับตัวและปฎิบัติตามกฎหมาย

     สำหรับ ข้อกังวลของผู้ประกอบการที่เกรงว่าจะขาดแคลนแรงงานนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังมีแรงงานใหม่ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้รอการจ้างงานอยู่ ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการจะพิจารณาว่าจะรอแรงงานเดิมหรือจะจ้างใหม่ แต่หากจะยังให้แรงงานเดิมก็ต้องไปขึ้นทะเบียนให้ถูกกฎหมาย เรื่องนี้รัฐบาลมีความจำที่จะต้องดำเนินการให้ถูกต้อง เพราะจะส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ และต้องแก้ปัญหา

     นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากไม่ทำในรัฐบาลนี้ก็ไม่มั่นใจว่ารัฐบาลต่อไปจะทำหรือไม่ และจะไม่มีการทบทวนหรือยกเลิกกฎหมาย เพราะได้ให้เวลาในการไปดำเนินการนานถึง 6 เดือน เรื่องนี้รัฐบาลใช้เวลาแก้ปัญหามานานถึง 3 ปี ปัญหาก็ยังไม่หมด แต่ผู้ประกอบการมีความพยายามที่จะอาศัยช่องว่างของกฎหมายหลบเลี่ยง ซึ่งหากยอมรับแก้ไขกระทรวงแรงงานก็พร้อมให้ความช่วยเหลือ ส่วนบทลงโทษปรับที่สูงมากนั้นได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงานไปพิจารณาความเหมาะสม โดยมอบแนวทางไปแล้ว

      ส่วนกรณีที่คณะกรรมการ IUU จะเดินทางมาประเมินผลการแก้ปัญหาประมงผิดกฎหมายของไทยนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องนี้ส่วนตัวไม่สามารถทราบผลการประเมินได้ แต่รัฐบาลพยายามนำข้อสังเกตของ IUU มาแก้ปัญหาให้ดีที่สุด ส่วนจะได้ผลเต็มร้อยหรือไม่ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการที่จะประเมิน พร้อมย้ำว่า ที่ผ่านมาไม่มีการแก้ปัญหาที่สะสมมานาน และยืนยันว่ารัฐบาลนี้ไม่ต้องการไล่ล่าหรือทำเพื่อส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจให้เดือดร้อน

   อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!