WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BOA Prasarnประสาร'กางแผนปฏิรูปศก. 20 ปีตั้งเป้าคนไทยมีรายได้ 3.9 แสนบาทต่อปี

     แนวหน้า : นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า คณะกรรมการอยู่ระหว่างการ จัดทำแผนปฏิรูปเศรษฐกิจไทย ระยะ 20 ปี เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและเพื่อประโยชน์ต่อการสร้างศักยภาพของภาคประชาชน รวมทั้งเป็นการกระตุ้นความเร็วในการเติบโตของไทย การกระจายโอกาสเศรษฐกิจฐานราก และการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งแผนปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจจะต้องเสร็จและส่งให้นายกรัฐมนตรี ในวันที่ 24 ธันวาคม 2560 และจะเห็นแผนอย่างชัดเจนภายในเดือนเมษายน 2561

     แผนปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศระยะ 20 ปี นอกจากมีเป้าหมายให้เศรษฐกิจไทย เติบโตแล้ว ยังต้องการให้ประชากรในประเทศมีงานทำ มีความมั่งมี ทำให้คนรากหญ้า มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยตั้งเป้าแผนระยะ 20 ปี ให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ ปานกลาง จากปัจจุบันรายได้ต่อคนอยู่ที่ 6,000 เหรียญสหรัฐต่อปี ตั้งเป้าในระยะ 20 ปี จะให้รายได้อยู่ที่ 12,000 เหรียญสหรัฐ ต่อคนต่อปี หรือกว่า 3.9 แสนบาทต่อปี หรือคิดเป็นกว่า 3 หมื่นบาทต่อคนต่อเดือน คิดเป็น 2 เท่าจากเดิม หรือเท่ากับ 100% ซึ่งอัตราเติบโตของรายได้จนถึง 20 ปี จะอยู่ที่ 5% ต่อปี

     "หลักคิดแบบเสรีนิยม การให้คนมั่งมี เรื่องภาษีเป็นเครื่องมือสำคัญ ถ้าใช้ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ ก็จะทำให้ด้อยลง ไม่ได้สร้างให้ยั่งยืน แต่ถ้าใช้เครื่องมือให้ตรงตามวัตถุประสงค์ จะทำให้ประเทศพัฒนา ที่สำคัญรายจ่ายประเทศต้องสัมพันธ์กับ รายได้ และการก่อหนี้ ต้องคำนึงถึงความยั่งยืนเป็นหลัก"

       นอกจากนี้ คณะกรรมการยังมี แนวคิดที่จะตั้งหน่วยงานเฉพาะขึ้นมาบูรณาการ แก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางของต่างประเทศเพื่อให้เหมาะสมกับไทยและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

     สำหรับ แผนปฏิรูปเศรษฐกิจไทยมีแนวคิดและหลักการเชิงยุทธศาสตร์ 3 ด้านคือ 1.กระตุ้นความเร็วในการเติบโตของไทย เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนใหม่ของการพัฒนาประเทศเพื่อสร้างรายได้ในระยะ 20 ปีข้างหน้า ช่วยทดแทนอุตสาหกรรมเก่าที่ลดบทบาทลง 2.กระจายโอกาสเศรษฐกิจฐานรากคือ วางแนวทางใหม่ของการพัฒนาประเทศ นำไปสู่ความสำเร็จของการพัฒนาเป็น กรอบสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชน ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน และระดับบุคคลต้องเพิ่มรายได้ให้กับทุกคนอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานที่ยากจน

     3.สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนเพื่อปรับปรุงกลไกที่มีอยู่และสร้างกลไกใหม่ให้กับการบริหารจัดการเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลกทั้งฐานข้อมูล หน่วยงานด้าน งบประมาณ การปฏิรูปนโยบายการคลัง ที่ต้องรักษาระดับความยั่งยืนทางการคลัง ตลอดจนความยั่งยืนของระบบประกันสังคม และประกันสุขภาพ และต้องปรับกรอบทางความคิด เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย

     คณะกรรมการได้เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ www.econreform.or.th ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2560

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!