WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gณฐพร จาตศรพทกษคุมโบนัสบริษัทลูกรัฐวิสาหกิจ สั่งคิดตามผลดำเนินงาน บอร์ดรับสูงสุด 130,000 บ. โดดประชุมหักสูงสุด 75%

      ไทยโพสต์ : ทำเนียบฯ * ครม.คุมเข้มการจ่ายเงินโบนัสของบริษัทลูกรัฐวิสาหกิจ ชี้ให้คิดบนฐานของผลดำเนินงานเท่านั้น เชื่อแนวทางใหม่จะทำให้บอร์ดรับโบนัสลดลง ชี้บอร์ดได้รับเงินสูงสุดไม่เกิน 1.3 แสนบาท

       นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแนวทางการบริหารและกำกับดู แลรัฐวิสาหกิจและบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัส ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยกำหนดให้รัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทกำหนดแนวทางการประเมินบริษัทในเครือ 3 มิติ ทั้งด้านวัตถุประสงค์การจัดตั้ง ผลดำเนินงาน และแผนการบริหารจัดการองค์กร

     ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ พิจารณาการจ่ายโบนัสกรรมการ พนักงาน และลูกจ้างของบริษัทใน เครือที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐวิสาหกิจที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 158 แห่ง  แบ่ง เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์ 117 แห่ง และไม่ได้จดทะ เบียนในตลาดหลักทรัพย์ 41 แห่ง

       สำหรับ การกำหนดเงื่อนไขการจ่ายโบนัสนั้น ให้ประเมินจากผลดำเนินงานประจำปี ห้ามนำรายได้ส่วนอื่นมาประเมินร่วมด้วย ประกอบด้วย กำไรจากการเอาประกันประเภทต่างๆ ขององค์กร ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เงินกู้ และเงินลงทุนในหลักทรัพย์ของรัฐ ยกเว้นกรณีรัฐวิสาหกิจสถาบันการเงิน กำไรจากการขายที่ดิน อาคาร โรงงาน สิ่งปลูกสร้าง รวมถึงส่วนควบ กำไรจากการตีราคาทรัพย์สินใหม่ เงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาล ยกเว้นเงินอุดหนุนตามระบบ PSO และกำไรหรือขาดทุน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน จึงห้ามนำมารวมเป็นรายได้เพื่อจัดสรรโบนัสให้กับพนักงาน

     นายณัฐพร กล่าวว่า บริษัทที่จะจ่ายโบนัส จะต้องคำนวณบนฐานรายได้จากผลดำเนินงานเท่านั้น เช่น หากบริษัทในเครือมีกำไรไม่เกิน 100 ล้านบาท กำ หนดให้จัดสรรโบนัสให้กรรมการบริษัท 3% ของกำไรสุทธิ แต่ไม่เกิน 60,000 บาท และให้จัดสรรเพิ่มขึ้นตามขั้นบันได โดยในกรณีสูงสุดบอร์ดจะได้รับโบนัสไม่เกิน 130,000 บาท

     "ยอมรับว่า ข้อกำหนดดังกล่าวทำให้บอร์ดของบริษัทในเครือได้รับโบนัสลดลง สำหรับการจ่ายโบนัสให้กับพนักงาน กำหนดให้จ่ายในสัดส่วน 9% ของกำไรสุทธิ แต่ไม่เกิน 5 เท่าของเงินเดือน กรณีการจ่ายโบนัสวงเงิน 9% ของกำไรสุทธิต่ำกว่า 1 เท่าของเงินเดือน แต่มีกำไรสุทธิมากกว่า 1 เท่าของเงินเดือน ให้จ่ายในอัตรา 1 เท่าของเงินเดือน" นายญัฐพรกล่าว

      อย่างไรก็ตาม กรณีกำไรสุทธิน้อยกว่าเงิน 1 เดือน ให้เฉลี่ยจ่ายโบนัสตามสัดส่วนของกำไรสุทธิ และให้รัฐวิสาหกิจแม่รายงานผลการจัดสรรโบนัสให้กระทรวงการคลังรับทราบเพื่อส่งหนังสือเวียนให้ทราบต่อไป จากข้อกำหนดดังกล่าวพบว่า มีบริษัทที่เข้าเกณฑ์การจ่ายโบนัสในหลักการดังกล่าว 9 ราย ประกอบด้วย 1.บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ PEA ENCOM บริษัทในเครือของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2.บริษัท เอซีที โมบาย จำกัด บริษัทในเครือของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) 3.บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด หรือ DCAP บริษัทร่วมทุนระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) หรือ PTT การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)

        และ 4.บริษัท ไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น จำกัด บริษัทในเครือ ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด 5.บริษัท ไทยแลนด์ พริวเลจ คาร์ด จำกัด บริษัทในเครือของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. 6.บริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทในเครือของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 7.บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (ร.ฟ.ท.) 8.บริษัท โครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ จำกัด หรือ NBN และ 9.บริษัท โครง ข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ ข้อมูลอินเทอร์เน็ต จำกัด หรือ NGDC.

ครม.เคาะเกณฑ์โบนัสรสก.บอร์ดโดดประชุมเจอหักสูงสุด 75%

      แนวหน้า :  นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนัก นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบ หลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสกรรมการ พนักงาน และลูกจ้างของบริษัท ในเครือที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐวิสาหกิจ(รสก.) ที่เป็นผู้ถือหุ้น และได้จัดทำแนวทางการบริหารและกำกับรัฐวิสาหกิจและบริษัท ในเครือของรัฐวิสาหกิจ โดยปัจจุบันมีบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ (บริษัทลูก) 158 แห่ง ถือหุ้นโดยบริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจ 23 แห่ง แต่มีบริษัท 117 แห่ง ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่งจะให้เป็นไปตามเงื่อนไขและกลไกของตลาด ส่วนที่เหลือ อีก 41 แห่ง ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยพบว่า มีบริษัท ที่เข้าเกณฑ์การจ่ายโบนัสตามหลักเกณฑ์ใหม่นี้อยู่ 9 บริษัท

      สำหรับ เกณฑ์การจ่ายโบนัสกรณีที่มีกำไรไม่เกิน 100 ล้านบาท ให้จัดสรรโบนัสให้กรรมการที่ 3% ของกำไร แต่ไม่เกิน 60,000 บาท และให้จัดสรรตามขั้นบันได ไปจนถึงช่วงกำไรสุทธิตั้งแต่ 11,001-13,000 ล้านบาท ให้ได้รับโบนัสแต่ไม่เกิน 130,000 บาท ส่วน กำไรเพิ่มทุกช่วง 2,000 ล้านบาท ให้รับโบนัสเพิ่ม 10,000 บาท ขณะที่พนักงานให้จ่ายในอัตรา 9% ของกำไรสุทธิ แต่ไม่เกิน 5 เท่าของเงินเดือน กรณีวงเงิน 9% ของกำไรสุทธิ ต่ำกว่า 1 เท่าของเงินเดือน แต่มีกำไรสุทธิมากกว่า 1 เท่าของเงินเดือน ให้จ่ายในอัตรา 1 เท่าของเงินเดือน เป็นต้น และให้รัฐวิสาหกิจแม่รายงานผลการจัดสรรโบนัสให้กระทรวงการคลังรับทราบต่อไป

      นอกจากนี้ การจ่ายโบนัสให้ประธานกรรมการ จะได้รับโบนัสเพิ่มอีก 1 ใน 4 และรองประธานได้รับ เพิ่มอีก 1 ใน 8 ของกรรมการโดยให้จ่ายตามจำนวนที่มีสิทธิได้รับตามระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม หากกรรมการขาดประชุมเกิน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 6 เดือน ให้จ่ายโบนัสลดลง 25% หากขาดประชุมเกิน 6 เดือนแต่ไม่เกิน 9 เดือนให้จ่ายโบนัสลดลง 50% และขาดประชุมเกิน 9 เดือนขึ้นให้จ่ายโบนัสลดลง 75%

      อย่างไรก็ตาม การพิจารณาให้จ่ายโบนัสต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ 3 ด้าน คือ การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งและแผนยุทธศาสตร์ ผลการดำเนินงาน และการบริหารจัดการองค์กร โดยการจ่ายโบนัสให้นำเฉพาะกำไรจากผลดำเนินงานประจำปีเท่านั้น ห้ามนำรายได้ประกอบด้วย กำไรจากการเอาประกัน, ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เงินกู้ และเงินลงทุนในหลักทรัพย์ของรัฐ (ยกเว้นกรณีรัฐวิสาหกิจสถาบันการเงิน), กำไรจากการขายที่ดิน อาคาร โรงงาน สิ่งปลูกสร้าง รวมถึงส่วนควบ, กำไรจากการตีราคาทรัพย์สินใหม่, เงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาล ยกเว้นเงินอุดหนุนตามระบบ PSO และกำไรหรือขาดทุนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินตรา ซึ่งจะไม่นำมารวมเป็นรายได้เพื่อจัดสรรโบนัส

       สำหรับ 9 บริษัทที่เข้าหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสใหม่ ประกอบด้วย 1.บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ PEA ENCOM บริษัทในเครือของการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค, 2.บริษัท เอซีที โมบาย จำกัด บริษัท ในเครือของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), 3.บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด หรือ DCAP บริษัทร่วมทุนระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT บริษัท การไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน., 4.บริษัทไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น จำกัด บริษัทในเครือ ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

      ขณะที่ 5.บริษัท ไทยแลนด์ พริวเลจ คาร์ด จำกัด บริษัท ในเครือ ของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท., 6.บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทในเครือของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ., 7.บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือ รฟฟท., 8.บริษัทโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ จำกัด หรือ NBN และ 9.บริษัท โครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ ข้อมูลอินเทอร์เน็ต จำกัด หรือ NGDC

ครม.เห็นชอบหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสให้กรรมการ-ลูกจ้าง-พนักงานของบริษัทในเครือรสก. เบื้องต้น 9 แห่งเข้าเกณฑ์

      นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบแนวทางการบริหารและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจและบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัส ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

       ทั้งนี้ ในการพิจารณาจ่ายโบนัส ให้คำนวณจากกำไรที่เกิดจากผลการดำเนินงานประจำปี โดยห้ามนำรายได้ต่อไปนี้ไปจัดสรรโบนัส 1.กำไรจากการเอาประกัน 2 ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เงินกู้ และเงินลงทุนในหลักทรัพย์ของรัฐ (ยกเว้นกรณีรัฐวิสาหกิจสถาบันการเงิน 3.กำไรจากการขายที่ดิน อาคาร โรงงาน สิ่งปลุกสร้าง รวมถึงส่วนควบ 4. กำไรจากการตีราคาทรัพย์สินใหม่ 5.เงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาล ยกเว้นเงินอุดหนุนตามระบบ PSO และ 6. กำไรหรือขาดทุนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินตรา

      สำหรับ กำไรที่จะนำไปจ่ายโบนัสนั้น ได้กำหนดอัตราการจ่ายโบนัสกรรมการตามผลกำไรสุทธิของบริษัทในเครือว่า ถ้ากรณีมีกำไรสุทธิไม่เกิน 100 ล้านบาท ให้ได้รับโบนัส 3% ของกำไรสุทธิ แต่ไม่เกินคนละ 6 หมื่นบาท และให้จัดสรรเป็นขั้นบันไดตามลำดับจนถึงกรณีมีกำไรสุทธิมากกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท แต่ไม่เกิน 1.3 หมื่นล้านบาท กรรมการจะได้รับโบนัสคนละไม่เกิน 1.3 แสนบาท นอกจากนี้ ยังพิจารณาถึงหลักเกณฑ์กรรมการกรณีขาดการประชุมมากกว่า 3 เดือนแต่ไม่เกิน 6 เดือน ให้จ่ายโบนัสลดลง 25% แต่หากขาดประชุมเกิน 9 เดือน ให้จ่ายโบนัสลดลง 75%

      ส่วนหลักเกณฑ์การจ่ายโบนัสพนักงานให้จ่ายในอัตราไม่เกิน 9% ของกำไรสุทธิ แต่ไม่เกิน 5 เท่าของเงินเดือน

       ปัจจุบันมีบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจมีจำนวน 158 แห่ง  รัฐวิสาหกิจเป็นผู้ถือหุ้นมีสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ 23 แห่ง แบ่งเป็นบริษัท 117 แห่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพยฯ 41 แห่ง

      จากข้อกำหนดดังกล่าว มีบริษัทที่เข้าเกณฑ์การจ่ายโบนัสในหลักการดังกล่าว 9 ราย โดยการจัดทำหลักเกณฑ์ดังกล่าว จะช่วยให้บริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจมีแนวปฎิบัติในการจัดสรรโบนัส กรรมการ พนักงาน และลูกจ้างที่ชัดเจนและเป็นมาตรฐานเดียวกัน

                        อินโฟเควสท์

 

สคร. เตรียมชง `สมคิด` จัดทำแผน Big Data รัฐวิสาหกิจ หวังเก็บข้อมูลได้ตรงเป้าหมาย - กำหนดนโยบายชัดเจนมากขึ้น

      สคร. เตรียมชง 'สมคิด'จัดทำแผน Big Data รัฐวิสาหกิจ เบื้องต้นนำร่อง 3 กลุ่ม ทั้งสถาบันการเงิน สาธารณูปโภค และ การท่องเที่ยว หวังเป็นเครื่องมือช่วยออกนโยบายให้ตรงเป้าหมายมากขึ้น เบื้องต้นเล็งทำแอพพลิเคชั่นเก็บข้อมูล เชื่อช่วยลดงบลงทุนด้านข้อมูลของรัฐวิสาหกิจได้ดีขึ้น 

   นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. เปิดเผยว่า สคร.จะเสนอให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พิจารณาแผนการจัดทำฐานข้อมูลรวม หรือ Big Data ของรัฐวิสาหกิจ โดยเบื้องต้นจะนำร่องแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ  1.กลุ่มสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ที่จะดูแลนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเอสเอ็มอี 2.กลุ่มสาธารณูปโภค ที่จะดูแลการให้บริการของประชาชน และ 3.กลุ่มการท่องเที่ยวที่จะดูแลการพัฒนาภาคการท่องเที่ยว เพื่อให้รัฐวิสาหกิจเหล่านี้ นำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อออกนโยบายที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น

   สำหรับ การรวบรวมข้อมูลนั้น คาดว่าจะใช้เวลาในการรวบรวมข้อมูลอัฉริยะได้แล้วเสร็จภายใน 2-3 เดือนหลังจากนี้ และจะแพทฟอร์มแอปพลิชั่นกลาง ของแต่ละกลุ่ม เพื่อเปิดบริการให้กับประชาชนและหน่วยงานที่ได้รับประโยชน์มาใช้ในปีหน้าต่อไป ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ลดงบประมาณในการพัฒนาการวิเคราะห์ข้อมูลของแต่ละแห่งได้ และสามารถให้ข้อมูลกับภาครัฐในการออกนโยบายของรัฐได้อย่างตรงจุดมากขึ้น รวมถึงการให้บริการกับประชาชนได้สะดวกมากขึ้น ขณะเดียวกันยังสามารถลดงบประมาณการลงทุนด้านข้อมูลส่วนที่ซ้ำซ้อนของรัฐวิสาหกิจต่างๆ ได้ 

    นายเอกนิติ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวคิดเบื้องต้น คือ กลุ่มสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จะมีการนำข้อมูลของแต่ละธนาคารมารวมกัน เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่าปัจจุบันมีเอสเอ็มอีไทยส่วนใหญ่ อยู่ที่ไหน ต้องการขอสินเชื่อประเภทไหน และยังต้องการ หรือขาดสิ่งใด รวมถึงเอสเอ็มอีในกลุ่มอุตสาหกรรมไหนต้องการสิทธิประโยชน์ทางการเงินใดเป็นพิเศษแยกเป็นรายอุตสาหกรรมไป ซึ่งจะทำให้การออกนโยบายของรัฐต่อไปตรงจุดมากขึ้น ส่วนแอพลิเคชั่นของกลุ่มนี้จะทำให้เข้าไปเลือกความต้องการจากธนาคารได้ 

  ขณะที่กลุ่มสาธารณูปโภคนั้น หากรวมข้อมูลกันแล้ว ระหว่าง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งจะแอพลิเคชั่นกลางของหน่วยงานส่วนนี้ จะทำให้ประชาชนใช้บริการของการไฟฟ้าและประปาได้ในที่เดียว ซึ่งจะทำให้ประชาชนสะดวกมากขึ้น

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!