WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กนง.มีมติ 4 ต่อ 3 ลดอัตราดอกเบี้ย 0.25%, เตรียมปรับลดเป้า GDP ปีนี้

     ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในการประชุมครั้งที่ 2/2558 วันที่ 11 มีนาคม 58 มีมติ 4 ต่อ 3 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 มาที่ร้อยละ 1.75 จากเดิมร้อยละ 2.00 โดยให้มีผลทันที

     นายเมธี สุภาพงษ์ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ในการตัดสินนโยบายคณะกรรมการฯ ประเมินว่าแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอ่อนแรงกว่าที่ประเมินไว้โดยแรงกระตุ้นจากภาคการคลังต้องใช้เวลากว่าจะเห็นผลชัดเจน และอัตราเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำไปอีกระยะหนึ่ง ภายใต้ภาวะดังกล่าว กรรมการ 4 คนเห็นว่านโยบายการเงินควรผ่อนคลายเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มแรงสนับสนุนให้เศรษฐกิจ และช่วยพยุงความเชื่อมั่นของภาคเอกชน

  อย่างไรก็ดี กรรมการ 3 คนประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ผ่อนปรนเพียงพอในการสนับสนุน

    การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และควรรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินไว้สำหรับเวลาที่จำเป็นและมีประสิทธิผลมากกว่าปัจจุบัน

    ทั้งนี้ การกระตุ้นเศรษฐกิจในปัจจุบันควรอาศัยแรงขับเคลื่อนด้านการคลังมากขึ้น โดยเฉพาะการดำเนินการตามแผนการลงทุนของภาครัฐในระยะต่อไป คณะกรรมการฯ จะติดตามพัฒนาการของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดและพร้อมที่จะดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว

    นายเมธ กล่าวว่า สำหรับประเด็นที่คณะกรรมการฯ ให้ความสำคัญในการตัดสินนโยบาย คือ มองว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2557 และเดือนมกราคม 2558 ยังคงฟื้นตัวค่อนข้างช้า โดยมีแรงส่งทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนน้อยกว่าคาด ส่วนหนึ่งเนื่องจากความเชื่อมั่นของภาคเอกชนลดลง เศรษฐกิจในระยะต่อไปยังมีแนวโน้มฟื้นตัวในอัตราต่ำกว่าที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน สำหรับการส่งออกสินค้าคาดว่าจะทยอยฟื้นตัวใกล้เคียงกับที่คาด แต่มีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าโดยเฉพาะจีน ขณะที่การท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องซึ่งจะช่วยชดเชยอุปสงค์ในประเทศได้บางส่วน

    ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2558 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงและติดลบตามราคาน้ำมันโลกที่อยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าและบริการส่วนใหญ่ยังปรับเพิ่มขึ้น สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เป็นบวก มองไปข้างหน้า แรงกดดันด้านเงินเฟ้อคาดว่าจะยังอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับที่คณะกรรมการฯ ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน สำหรับเสถียรภาพระบบการเงินยังอยู่ในเกณฑ์ดีแต่ต้องติดตามผลกระทบจากความเสี่ยงที่อาจสะสมจากพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่า (Search for yield) ภายใต้ภาวะอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่อยู่ในระดับต่ำมาเป็นเวลานาน

       นายเมธี กล่าวว่า การที่ กนง.ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% ในครั้งนี้ ไม่ได้เป็นเพราะแรงกดดันจากที่ประเทศข้างเคียงในภูมิภาคปรับลดดอกเบี้ยลง ซึ่งการที่แต่ละประเทศปรับลดดอกเบี้ยก็เป็นผลมาจากข้อมูลเศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกันไปและต่างก็มีเหตุผลของตัวเองในการปรับลดดอกเบี้ย ซึ่งการที่ไทยปรับลดดอกเบี้ยก็มีสาเหตุจากความจำเป็นของไทยเอง ไม่ได้เกิดจากแรงกดดันแต่อย่างใด โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของไทยถือว่าอยู่ในระดับที่เกือบต่ำสุดในภูมิภาค เป็นรองเพียงแค่สิงคโปร์

     พร้อมกันนี้ เชื่อว่า กนง.ยังมีกระสุนเหลือเพียงพอที่จะใช้สำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะต่อไป และมองว่าการลดดอกเบี้ยในครั้งนี้อาจจะไม่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากนัก โดยรวมเสถียรภาพทางการเงินยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เงินทุนไหลเข้า-ออกยังเป็นปกติ ไม่มีสัญญาณรุนแรงใด ซึ่งนักลงทุนเองก็มีการปรับตัวได้อยู่แล้ว จึงไม่น่าเป็นห่วง

     นายเมธี กล่าวด้วยว่า จากการใช้จ่ายของภาครัฐและภาคเอกชนในเดือนม.ค.และก.พ. ที่อ่อนแรงกว่าที่คาด ทำให้แรงส่งทั้งปีชะลอตัวลง ซึ่งจากสัญญาณนี้ทำให้ ธปท.เตรียมจะปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทย และการส่งออกของไทยในปี 58 ใหม่อีกครั้งในวันที่ 20 มี.ค.นี้ จากปัจจุบันที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะโตได้ 4% และการส่งออกโตได้ 1%

อินโฟเควสท์

ผิดคาด!กนง.ลดดบ.เหลือ 1.75% เชื่อทำเศรษฐกิจดีระยะยาว

   แนวหน้า : นายเมธี สุภาพงษ์ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง.ที่ผ่านมาว่า คณะกรรมการฯ มีมติ 4 ต่อ 3 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 จาก ร้อยละ 2.00 เป็นร้อยละ 1.75 ต่อปีโดยให้มีผลทันที ทั้งนี้ 3 เสียงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี ประเด็นที่คณะกรรมการฯ ให้ความส คัญในการตัดสินนโยบาย มีดังนี้ เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี2557 และเดือนมกราคม 2558 ยังคงฟื้นตัวค่อนข้างช้า โดยมีแรงส่งทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนน้อยกว่าคาด ส่วนหนึ่งเนื่องจากความเชื่อมั่นของภาคเอกชนลดลง เศรษฐกิจในระยะต่อไปยังมีแนวโน้มฟื้นตัวในอัตราต่ำกว่าที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน สำหรับการส่งออกสินค้าคาดว่า จะทยอยฟื้นตัวใกล้เคียงกับที่คาด แต่มีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าโดยเฉพาะจีน ขณะที่การท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องซึ่งจะช่วยชดเชยอุปสงค์ในประเทศได้บางส่วนในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2558 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงและติดลบตามราคาน้ มันโลกที่อยู่ในระดับต่ำ

    อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าและบริการส่วนใหญ่ยังปรับเพิ่มขึ้น สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เป็นบวก มองไปข้างหน้า แรงกดดันด้านเงินเฟ้อคาดว่า จะยังอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับที่คณะกรรมการฯ ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน สำหรับเสถียรภาพระบบการเงินยังอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ต้องติดตามผลกระทบจากความเสี่ยงที่อาจสะสมจากพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่า (Search for yield) ภายใต้ภาวะอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่อยู่ในระดับต่ำมาเป็นเวลานาน ในการตัดสินนโยบาย คณะกรรมการฯ ประเมินว่า แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอ่อนแรงกว่าที่ประเมินไว้ โดยแรงกระตุ้นจากภาคการคลัง ต้องใช้เวลากว่า จะเห็นผลชัดเจน และอัตราเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่า จะอยู่ในระดับต่ำไปอีกระยะหนึ่ง

      ภายใต้ภาวะดังกล่าว กรรมการ 4 คนเห็นว่า นโยบายการเงินควรผ่อนคลายเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มแรงสนับสนุนให้เศรษฐกิจ และช่วยพยุงความเชื่อมั่นของภาคเอกชน อย่างไรก็ดีกรรมการ 3 คนประเมินว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ผ่อนปรนเพียงพอในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และควรรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินไว้สำหรับเวลาที่จำเป็นและมีประสิทธิผลมากกว่าปัจจุบัน

      ทั้งนี้ การกระตุ้นเศรษฐกิจในปัจจุบันควรอาศัยแรงขับเคลื่อนด้านการคลังมากขึ้น โดยเฉพาะการดำเนินการตามแผนการลงทุนของภาครัฐในระยะต่อไป คณะกรรมการฯ จะติดตามพัฒนาการของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดและพร้อมที่จะดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว

มติ กนง. 4:3 เสียง ลดดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 1.75% ต่อปี เตรียมหั่นจีดีพีปีนี้โตต่ำกว่า 4% ประกาศ 20 มี.ค.นี้ บริโภคฟื้นตัวช้า - ลงทุนรัฐไม่คืบ

    มติ กนง. 4:3 เสียง ลดดอกเบี้ยลง 0.25% เหลือ 1.75% ต่อปี เตรียมหั่นจีดีพีปีนี้โตต่ำกว่า 4% ประกาศ 20 มี.ค.58 หลังการบริโภคฟื้นตัวช้า - ลงทุนรัฐไม่คืบเป็นปัจจัยเสี่ยง ศก. พร้อมจับตาเงินไหลออกหลังลด ดบ.

    นายเมธี สุภาพงษ์ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ว่า คณะกรรมการฯ มีมติ 4 ต่อ 3 เสียงให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 2.00 เป็นร้อยละ 1.75 ต่อปี โดยให้มีผลทันที ทั้งนี้ 3 เสียงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.00 ต่อปี ประเด็นที่คณะกรรมการฯ ให้ความสำคัญในการตัดสินนโยบาย มีดังนี้

     เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ของปี 2557 และเดือนมกราคม 2558 ยังคงฟื้นตัวค่อนข้างช้า โดยมีแรงส่งทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนน้อยกว่าคาด ส่วนหนึ่งเนื่องจากความเชื่อมั่นของภาคเอกชนชดลง เศรษฐกิจในระยะต่อไปยังมีแนวโน้มฟื้นตัวในอัตราต่ำกว่าที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน สำหรับการส่งออกสินค้าคาดว่าจะทยอยฟื้นตัวใกล้เคียงกับที่คาด แต่มีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าโดยเฉพาะจีน ขณะที่การท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยชดเชยอุปสงค์ในประเทศได้บางส่วน ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2558 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงและติดลบตามราคาน้ำมันโลกที่ในระดับต่ำ

 อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าและบริการส่วนใหญ่ยังปรับเพิ่มขึ้น สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เป็นบวก มองไปข้างหน้า แรงกดดันด้านเงินเฟ้อคาดว่าจะยังอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับที่คณะกรรมการฯ ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน สำหรับเสถียรภาพระบบการเงินยังอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ต้องติดตามผลกระทบจากความเสี่ยงที่อาจสะสมจากพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่า (Search for yield) ภายใต้ภาวะอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่อยู่ในระดับต่ำมาเป็นเวลานาน

  ในการตัดสินนโยบาย คณะกรรมการฯ ประเมินว่าแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอ่อนแรงกว่าที่ประเมินไว้ โดยแรงกระตุ้นจากภาคการคลังต้องใช้เวลากว่าจะเห็นผลชัดเจน และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำไปอีกระยะหนึ่ง ภายใต้ภาวะดังกล่าว กรรมการ 4 คนเห็นว่านโยบายการเงินควรผ่อนคลายเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มแรงสนับสนุนให้เศรษฐกิจ และช่วยพยุงความเชื่อมั่นของภาคเอกชน อย่างไรก็ดีกรรมการ 3 คนประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ผ่อนปรนเพียงพอในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และควรรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินไว้สำหรับเวลาที่จำเป็นและมีประสิทธิผลมากกว่าปัจจุบัน ทั้งนี้ การกระตุ้นเศรษฐกิจในปัจจุบันควรอาศัยแรงขับเคลื่อนด้านการคลังมากขึ้น โดยเฉพาะการดำเนินการตามแผนการลงทุนของภาครัฐ

  ในระยะต่อไป คณะกรรมการฯ จะติดตามพัฒนาการของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาว

  นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ปี 2558 ลงจากโต 4% โดยจะมีการประกาศตัวเลขอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 มี.ค. นี้ โดยสาเหตุที่มีการปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเนื่องจากเห็นว่าเศรษฐกิจที่ผ่านมามีการฟื้นตัวล่าช้า ประกอบกับการใช้อุปโภคบริโภคในประเทศชะลอตัว การใช้จ่ายภาคเอกชนรวมไปถึงภาครัฐยังมความล่าช้าออกไป

  สำหรับ ภาคการส่งออกคาดว่าจะเริ่มทยอยฟื้นตัว แต่ยังมีความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่สำคัญโดยเฉพาะจีน

    ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองว่า ปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง คือ การอุปโภคบริโภคภายในประเทศที่ฟื้นตัวล่าช้า การใช้จ่ายทั้งจากภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงการลงทุนที่ยังไม่มีความชัดเจน

     ส่วนกรณีข้อกังวลจากกรณี กนง.ลดดอกเบี้ย และจะทำให้มีเงินไหลออกนั้น  มองว่าเสถียรภาพทางการเงินโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดีแต่อาจพบเงินทุนไหลออกบ้าง แต่ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก เนื่องจากกนง. มีการลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% เท่านั้นจึงไม่ได้เป็นปัจจัยส่งผลให้เงินไหลออกมาก

     อย่างไรก็ตาม กนง.จะติดตามพัฒนาการต่างๆ อย่างใกล้ชิด รวมไปถึงการรักษาเสถียรภาพทางการเงินในระยะยาวว่าจะเป็นอย่างไร

 ส่วนการลดอัตราดอกเบี้ยจะส่งผ่านไปยังธนาคารพาณิชย์ให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงหรือไม่นั้นอาจไม่มีประสิทธิผลมากนัก แต่อย่างไรก็ตามมองว่าการลดดอกเบี้ยครั้งนี้จะส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ความเชื่อมั่น รวมไปถึงบรรยากาศการลงทุนจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากที่ผ่านมา

 สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!