WORLD7

BANPU2024

powertime 950x100pxsmed MTI 720x100

 

พรชัย ฐีระเวช

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ การจัดตั้งสถาบันค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ NaCGA

     นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวคิดการจัดตั้งสถาบันค้ำประกันเครดิตแห่งชาติ (National Credit Guarantee Agency: NaCGA) เพื่อยกระดับกลไกการค้ำประกันของภาครัฐที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพและสามารถส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) และผู้ประกอบการรายย่อยเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่หลากหลายได้ด้วยต้นทุนทางการเงินในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความเสี่ยงมากขึ้น

     NaCGA จะมีสถานะเป็นนิติบุคคลที่เป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่เป็นทั้งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะทำให้การดำเนินการค้ำประกันมีความรวดเร็วและยืดหยุ่น พึ่งพางบประมาณจากภาครัฐน้อยลง อีกทั้งมีขอบเขตและรูปแบบการค้ำประกันที่มีความหลากหลายและมีกลไกการคำนวณค่าธรรมเนียมค้ำประกันที่อิงตามระดับความเสี่ยงของลูกหนี้ โดย NaCGA จะมีเป้าหมายและพันธกิจหลัก ดังนี้

     1) ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ลดต้นทุนทางการเงิน ตลอดจนให้ความรู้และให้คำปรึกษาทางการเงินให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจที่มีหลักประกันไม่เพียงพอ โดยขอบเขตและรูปแบบการค้ำประกันของ NaCGA จะไม่จำกัดเฉพาะการค้ำประกันสินเชื่อจากธนาคารดังที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่จะครอบคลุมถึงกระบวนการเข้าถึงแหล่งทุนในรูปแบบอื่นๆ เช่น ค้ำประกันแหล่งทุนจากสถาบันการเงินอื่นที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-Bank) การค้ำประกันหุ้นกู้ของผู้ประกอบการ SMEs เป็นต้น โดยค่าธรรมเนียมในการค้ำประกันจะอิงตามระดับความเสี่ยงของลูกหนี้ (Risk-Based Pricing) ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนทางการเงินในการเข้าถึงแหล่งทุนของผู้ประกอบการ SMEs ได้

     อีกทั้ง การค้ำประกันสินเชื่อของ NaCGA จะเน้นการค้ำประกันโดยตรง (Direct Guarantee Approach) และรายสัญญา (Individual Guarantee) ซึ่งลูกหนี้จะขอให้ NaCGA ค้ำประกันเครดิตของตน และเมื่อได้รับการค้ำประกันแล้ว ลูกหนี้สามารถเลือกธนาคารหรือ Non-bank ที่ให้อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขที่เหมาะสมกับบริบทของลูกหนี้มากที่สุด ซึ่งจะเพิ่มอำนาจในการต่อรองให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในการเข้าถึงแหล่งทุน นอกจากนี้ เพื่อให้การส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ครบวงจรและเบ็ดเสร็จ NaCGA จะทำหน้าที่ในการให้ความรู้และคำปรึกษาทางการเงิน เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่หลากหลายอีกด้วย

     2) เป็นเครื่องมือเพื่อผลักดัน Strategic Direction ของประเทศตามนโยบายของภาครัฐและสนับสนุนให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศสามารถก้าวเข้าสู่บริบทโลกใหม่ โดย NaCGA สามารถผลักดันอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญของประเทศหรืออุตสาหกรรมที่รัฐบาลต้องการผลักดัน เช่น 8 อุตสาหกรรมภายใต้วิสัยทัศน์ Ignite Thailand เป็นต้น

ด้วยโครงการหรือผลิตภัณฑ์ค้ำประกันเครดิตที่มีเงื่อนไขพิเศษ โดยมีคณะกรรมการกำกับนโยบาย ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนจากภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิ กำกับนโยบายและทิศทางขององค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและนโยบายของภาครัฐในระยะยาวได้ ซึ่งจะทำให้ภาครัฐสามารถส่งผ่านนโยบายในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศผ่านองค์กรนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     3) เป็นกลไกรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจในกรณีที่เกิดภาวะวิกฤตและมีความเสี่ยงในระบบการเงินสูง ด้วยขอบเขตและรูปแบบการค้ำประกันที่หลากหลายกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน และด้วยโครงสร้างองค์กรที่มีความยืดหยุ่นทั้งในมิติของการกำกับดูแลและแหล่งเงินจากเงินสมทบจากรัฐบาล เงินสมทบจากผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อ และค่าธรรมเนียมจากผู้ขอรับการค้ำประกัน

ทั้งนี้ NaCGA จะทำให้ผู้ประกอบการ SMEs และประชาชนมีทางเลือกในการเข้าถึงแหล่งทุนมากขึ้น และสามารถตอบสนองความต้องการในด้านสภาพคล่องได้อย่างทันการณ์ โดยเฉพาะในภาวะที่มีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิจสูง เช่น กรณีที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นต้น

     นายพรชัยฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า กลไกการค้ำประกันที่มีประสิทธิภาพจากการจัดตั้ง NaCGA จะนำไปสู่ระบบนิเวศน์ (Ecosystem) ใหม่สำหรับภาคธุรกิจไทย อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ต่อทุกภาคส่วน ดังนี้

     (1) ภาคธุรกิจและประชาชน สามารถเข้าถึงสินเชื่อหรือแหล่งเงินทุนได้ด้วยต้นทุนทางการเงินที่เหมาะสมกับความเสี่ยงของตนมากขึ้น ตลอดจนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้หลากหลายขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาหนี้นอกระบบของภาคธุรกิจและประชาชน

     (2) สถาบันการเงินและเจ้าหนี้ สามารถลดต้นทุนในการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตของลูกหนี้และภาระการดำรงเงินสำรอง อีกทั้งมีแรงจูงใจในการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

     (3) หน่วยงานภาครัฐ มีเครื่องมือในการส่งผ่านนโยบายให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายในรูปแบบการค้ำประกันเครดิตที่หลากหลาย และมีฐานข้อมูลความเสี่ยงด้านเครดิตที่สมบูรณ์ขึ้นเพื่อใช้ประกอบการดำเนินนโยบายของภาครัฐ

     (4) เศรษฐกิจไทยโดยรวม มีกลไกในการรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดภาวะวิกฤตที่มีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิจสูง อีกทั้งเป็นกลไกที่ช่วยสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต ตลอดจนช่วยในการผลักดันและสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ

     นายพรชัยฯ ได้เน้นย้ำว่า“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้ให้ความสำคัญกับการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีส่วนสำคัญในการช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและการจ้างงานภายในประเทศ กระทรวงการคลัง จึงมีความมุ่งหมายในการยกระดับส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อให้สามารถเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจไทยในอนาคต โดยกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจะร่วมกันหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและยกร่างกฎหมายจัดตั้ง NaCGA และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาในระยะต่อไป”

 

Click Donate Support Web 

TOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

กลุ่มธุรกิจอีฟิน ผนึก เอเบิล แอนด์ พริมพ์ตัน ลงน...
CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ ‘ออมสินยุวพัฒ...
การประชุมเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโร...
SET Note ฉบับที่ 3/2568 ‘ส่องพฤติกรรมการถือครองห...
ตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์หนุนธุรกิจ New S C...

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!

MAXBIT ขอใบอนุญาตขยายธุรกิจเพิ่ม เพิ่มทุน 300 ล้านเป็น 500 ล้านบาท
MAXBIT ขอใบอนุญาตขยายธุรกิจเพิ่ม เพิ่มทุน 300 ล้านเป็น 500 ล้านบาท ชูกลยุทธ์ปี 68 ประกาศเพิ่มทุนจาก 300 ล้านบาท เป็น 500 ล้านบาท เพื่อขอใบอนุญาติข...

Read more

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองไทยโดน Reciprocal Tariff ที่ 37% สร้างความเสี่ยง GDP หายไป 1.0% ทำส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และเกษตรหดตัว แต่ยังขึ้นกับผลการเจรจากับสหรัฐฯ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองไทยโดน Reciprocal Tariff ที่ 37% สร้างความเสี่ยง GDP หายไป 1.0% ทำส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และเกษตรหดตัว แต่ยังขึ้นก...

Read more

กลุ่มธุรกิจอีฟิน ผนึก เอเบิล แอนด์ พริมพ์ตัน ลงนาม MOU ยกระดับบริการ IR และ Legal Advisory แบบครบวงจรสู่บริษัทจดทะเบียนไทย
กลุ่มธุรกิจอีฟิน ผนึก เอเบิล แอนด์ พริมพ์ตัน ลงนาม MOU ยกระดับบริการ IR และ Legal Advisory แบบครบวงจรสู่บริษัทจดทะเบียนไทย       &nb...

Read more

CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ ‘ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568’ ปีที่ 7 หนุนนักศึกษาลงพื้นที่ นนทบุรี-นครปฐม พลิกโฉมผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจฐานราก
CIBA DPU จับมือ ออมสิน เปิดโครงการ ‘ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2568’ ปีที่ 7 หนุนนักศึกษาลงพื้นที่ นนทบุรี-นครปฐม พลิกโฉมผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างความยั่งยื...

Read more

การประชุมเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรปและไทย รอบที่ 5 (EU - Thailand Free Trade Agreement : FTA 5th round of negotiations)
การประชุมเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรปและไทย รอบที่ 5 (EU - Thailand Free Trade Agreement : FTA 5th round of negotiations) ในบทรัฐวิสาหกิ...

Read more