WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

ประกาศกฎอัยการศึก
Highlight
ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดคละหลังหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวกเล็กน้อยวานนี้
     ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ : Germany PPI เม.ย. คาด 0%m-m (Vs -0.3%) Australia รายงานผลประชุมธนาคารกลางที่ผ่านมา Singapore: 1Q57F GDP ครั้งที่ 2 คาดเพิ่มขึ้นเป็น 5.4%y-y (Vs 5.1%)
     +วันทำการล่าสุด นักลงทุนต่างชาติกลับซื้อ +543 ลบ. (จากขาย -2.01 พันลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อต่อ +1.19 พันลบ. (ซื้อสะสม 6 วัน รวม +8.54 พันลบ.)
      -การเมือง การหารือระหว่างวุฒิสภาและรัฐบาลยังไม่ได้ทางออก หลังรัฐบาลยืนยันต้องรักษาการตามรัฐธรรมนูญ
คาดดัชนีฯ วันนี้ เปิดตลาดอ่อนตัวลง แนวรับ 1400/1380 จุด หลังการประกาศกฎอัยการศึกเช้านี้ แต่คาดการปรับลงไม่มาก ลุ้นการเมืองอาจมีทางออกในแนวทางของ ส.ว. หรือ เลือกตั้งใหม่
      กลยุทธ์: รายเดือน แนะนำ ทยอยขายลดพอร์ต (ถือเงินสด 60%) ส่วนระยะสั้น แนะนำ หุ้นกลุ่ม High Dividend Yield (BTS INTUCH ADVANC BECL) กลุ่มส่งออก-ได้ประโยชน์จากบาทอ่อนค่า (ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ KCE DELTA HANA เกษตรส่งออก CPF GFPT) รวมถึงกลุ่มโรงพยาบาลพาณิชย์ อาหาร

 

หุ้นในกระแส:
หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 3.5%) ได้แก่ EE MACO SUTHA OISHI SITHAI BWG AJD BEAUTY ICHI TTA KCE หุ้นที่ลงกว่า 2.0% MDXMEGA AP HANA
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ SCB+524 CPF+460 CPALL+381 KBANK+232 ด้านขาย SCC-292 BTS-110
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ KBANK 59 ITD 28 TRUE 34

 

Market Outlook
      คาดดัชนีฯ อ่อนตัวลง แนวรับ 1400/1380 จุด หลังการประกาศกฎอัยการศึกเช้านี้ ส่งผลนักลงทุนต่างชาติอาจลดพอร์ตระยะสั้น โดยเฉพาะกลุ่มท่องเที่ยว สื่อโฆษณา ทั้งนี้ การเมืองอาจมีทางออกในแนวทางของ ส.ว. หรือเลือกตั้งใหม่ แนะนำเก็งกำไร โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1380 จุด แนะนำหุ้นปันผลสูง กลุ่มส่งออก กลุ่มที่มีรายได้แน่นอน (รพ. พาณิชย์ อาหาร)
     เราคงแนะนำเก็งกำไรเมื่อราคาอ่อนตัว โดยมีจุดขายตัดขาดทุนที่ 1380 จุด แนะนำ หุ้นกลุ่ม High Dividend Yield (BTS INTUCH ADVANC BECL) กลุ่มส่งออก-ได้ประโยชน์จากบาทอ่อนค่า (ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ KCE DELTA HANA เกษตรส่งออก CPF GFPT) รวมถึงกลุ่มโรงพยาบาล พาณิชย์ อาหาร - เป็นกลุ่มที่ปรับขึ้นสูงสุดในช่วง 3 เดือนหลังเกิดการทำรัฐประหารปี 49 (BH CPALL) และขายระยะสั้นกลุ่มท่องเที่ยว (โรงแรม สายการบิน) กลุ่มมีเดีย และหุ้นบลูชิพขนาดใหญ่ (สถาบันการเงิน) เนื่องจากความไม่แน่นอนต่อเหตุการณ์รุนแรงที่อาจเกิดขึ้นหลังจาก การประกาศกฎอัยการศึก เช้าวันนี้ ส่วนประเด็นที่ต้องติดตามคือ ปัญหาการเมืองจะคลี่คลายไปในทางใด โดยอาจออกมาในแนวทางของ ส.ว. (มีนายกฯ รักษาการคนใหม่) หรือ เดินหน้าไปสู่การเลือกตั้งใหม่
(ตามแนวทางเดิมของรัฐบาล)


       -ประเด็นเศรษฐกิจ: 1Q57F GDP แย่กว่าคาดการณ์ จาก Domestic Demand ที่แย่กว่าคาด KTZ ปรับลดเป้าหมายเติบโตเศรษฐกิจปีนี้เป็น 2% จากเดิม 2.7% ส่วนประมาณการเป้าหมายดัชนีตลาดฯ ปีนี้ คาดอยู่ในกรอบ 1314-1440 จุด อิง PER 5 ปี+0.5 SD (14.4x) และกรณีที่ดีที่สุดอยู่ที่ 1556 จุด อิง PER 5 ปี +1 SD.(15.5x) หากการเมืองสามารถคลี่คลายได้ภายใน 3Q57F
-ประเด็นการเมือง: เราพบว่า ตลาดหุ้นไทยหลังสิ้นสุดรัฐประหารครั้งล่าสุดเมื่อ 19 ก.ย. 49 ปรับสูงขึ้น +2.61% และ +15.55% ในช่วง 1 เดือนและ 12 เดือนตามลำดับ โดยกลุ่มที่ขึ้นสูงสุดใน 1 เดือนแรก คือ กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ อาหาร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ พาณิชย์ และธนาคาร ส่วนกลุ่มที่ขึ้นสูงสุดในช่วง 1 ปี ได้แก่ กลุ่ม ปิโตรเคมี พลังงาน Health Care พาณิชย์ อาหาร


      ประเด็นต่างประเทศ: ธนาคารกลางโลกส่วนใหญ่ คงนโยบายผ่อนคลายทาง+การเงิน (Extra Loosen Monetary Policy) ช่วยหนุนกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย ไหลกลับเข้ามาตลาดหุ้นเกิดใหม่ (เป็นบวกต่อ ตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นเกิดใหม่เอเชีย หลังทิศทางค่าเงินสกุลเอเชียไม่อ่อนค่ามากเทียบดอลล์สหรัฐฯ และ Attractive Valuation ของบจ.) จับตา รายงานผลประชุมเฟดที่ผ่านมา ผลประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น และธนาคารกลางจีน (จีนเพิ่งประกาศอัดฉีดสภาพคล่อง4.4หมื่นล้านหยวนเข้าสู่ระบบสัปดาห์ก่อนจากดูดออก 6 หมื่นล้านหยวน) ส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อไป
ในทางตรงกันข้าม ดัชนีฯอาจปรับตัวลดลงไปที่ระดับ 1380/1350 จุดหากหลายปัจจัยดังกล่าวออกมาในเชิงลบและแย่กว่าคาดการณ์ โดยเฉพาะความเสี่ยงการเมืองที่อาจเกิดเหตุความรุนแรง

 

หุ้นแนะนำสัปดาห์นี้ :
     1.หุ้นปันผลดี (ยิลด์สูงกว่า 4%) BTS INTUCH ADVANC BECL 2.กลุ่มส่งออก-ได้ประโยชน์จากบาทอ่อนค่า (ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ KCE DELTA HANA เกษตรส่งออก CPF GFPT) 3. กลุ่มโรงพยาบาล พาณิชย์ อาหาร เป็นกลุ่มที่ปรับขึ้นสูงสุดในช่วง 3 เดือนหลังเกิดการทำรัฐประหารปี 49 (BH CPALL)
ทางเทคนิค สัญญาณขายจะเกิดขึ้น หากดัชนีฯในช่วง 1-2 สัปดาห์นี้ ไม่สามารถผ่านแนวต้านหลักเดิม 1423 จุดขึ้นไปได้ เพราะจะทำให้เกิดการฟอร์มตัวเป็นรูปแบบขาลง Double Top กรอบ 1425-1380 จุด ซึ่งจะทำให้มีการอ่อนตัวลงมาที่ 1380 จุดและ 1335 จุดตามลำดับ ส่วนกรณีดีกว่าคาด ขึ้นแรงต่อเนื่อง คาดจะมีแนวต้านหลักที่ 1450 จุดและ 1480-1490 จุดตามลำดับ

 

ประเด็นจับตา
-1. ประเด็นการเมือง: กองทัพประกาศกฎอัยการศึก ดูแลความเรียบร้อยหลังรัฐบาลหารือวุฒิสภา ไม่เป็นผล
ประเด็นการเมือง (Update):
      "ประยุทธ์"ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วปท.ตั้งแต่วันนี้ ดูแลความสงบเรียบร้อย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ประกาศใช้ กฎอัยการศึกทั่วประเทศ ตั้งแต่เวลา 03.00 น.ของวันนี้เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย กปปส. ประกาศงดเคลื่อนไหววันนี้, นปช.ไม่ยุติการชุมนุม นายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ โฆษกกปปส. ได้โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊คส่วนตัว เมื่อเวลา 06.44 น. แจ้งงดกิจกรรมเคลื่อนไหวชั่วคราว หลังจากที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก นปช.ปราศรัยหลังคำแถลงของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.)ขอให้คนเสื้อแดงชุมนุมอยู่บนถนนอักษะ ต่อไปด้วยความสงบ
'ดีเอสไอ'ออกหมายเรียก'ว่าที่ปธ.วุฒิฯ' ดีเอสไอ ดำเนินการ 3 เรื่องคือ 1.ทำหนังสือแจ้ง ปปง. ในคดีพนักงานอัยการได้สั่งฟ้องนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อีกหนึ่งข้อหาคือก่อการร้าย ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายฟอกเงิน 2.อนุมัติหมายเรียกนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ให้มาสอบสวนกรณี กระทำการเข้าข่ายความผิดฐานกบฎ จากความพยายามของนายสุรชัย ที่จะให้มีนายกรัฐมนตรี มาตรา 7 ได้กำหนดวันให้มาสอบสวนที่ศอ.รส. ในวันที่ 21 พ.ค. เวลา 14.00น. 3.ขอเพิกถอนการประกันตัวนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ และนายสกลธี ภัททิยกุล แกนนำกปปส.ที่ได้ตกเป็นจำเลยในข้อหากบฎ แต่ยังไปปรากฎตัวร่วมปราศรัยในการชุมนุมของกลุ่มกปปส.หลายครั้ง
      'นิวัฒน์ธำรง'แถลงหานายกฯคนกลางทำไม่ได้ จากการหารือกับรองประธานวุฒิสภา นายนิวัฒน์ธำรง ได้ชี้แจงว่าคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน มีอำนาจหน้าที่ที่ปฏิบัติราชการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องอย่างสมบูรณ์ และการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนกลาง และให้มีอำนาจในการบริหารราชการได้อย่างเต็มที่ ไม่สามามรถกระทำได้
      ศอ.รส.เชิญผู้บริหารรัฐวิสาหกิจหารือ 21 พ.ค.หลังสรส.นัดหยุดงาน 22 พ.ค. ศอ.รส. เชิญผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ ทุกแห่ง มาร่วมประชุมกับผู้บริหารของศอ.รส.ในวันที่ 21 พ.ค.นี้เวลา 14.00 น. เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และซักซ้อมความเข้าใจต่อเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น หลังสมาพันธ์สหภาพรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) ขอให้สหภาพแรงงานทุกแห่ง นัดหยุดงานตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค.เป็นต้นไป ในการปฏิบัติการทวงคืนอำนาจอธิปไตย

 

2. สถิติหุ้นไทยหลังการปฏิวัติ (19 กันยายน 2549)
      ในอดีตดัชนีฯ ปรับขึ้นหลังเหตุการณ์รัฐประหารจากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติ กลุ่มที่ปรับขึ้นดีในช่วง 1 เดือนหลังรัฐประหาร เป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคภายในประเทศ ได้แก่ ยานยนต์ อาหาร ค้าปลีก และธนาคาร จากความเชื่อมั่นที่กลับมา ในแง่ของเศรษฐกิจ เหตุรัฐประหารในครั้งนั้นส่งผลลบรุนแรงต่ออุปสงค์ในประเทศในระยะแรกหลังเกิดเหตุ ก่อนจะค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นในเวลาต่อมา
      กระแสเงินทุน, การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และกระแสทุนยังแข็งแกร่งหลังการทำรัฐประหาร แต่มีกระแสเงินไหลออกจากตลาดพันธบัตรเล็กน้อย
ปัจจัยกังวลประเด็นหนึ่งหากเกิดรัฐประหารขึ้น คือ ประเด็นการไหลออกของกระแสเงินทุน แต่กลับเป็นที่น่าแปลกใจว่า หลังเกิดรัฐประหารปี 2549 กระแสการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และกระแสทุนยังไหลเข้าต่อเนื่อง มีเพียงแค่ตลาดพันธบัตรที่ลดลงบ้าง แต่ก็ถือว่าน้อย เมื่อเทียบกับกระแสเงินทุนโดยตรงจากต่างประเทศและกระแสทุนไหลเข้า จากกระแสเงินทุนที่ยังไหลเข้าและภาคการส่งออกที่ยังแข็งแกร่ง ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ตลอดช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศต้องประกาศมาตรการควบคุมเงินทุนออกมาเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2549

 

       ประวัติศาสตร์อาจซ้ำรอย : หากอิงจากเหตุการณ์รัฐประหารครั้งที่แล้วในปี 49 พบว่าดัชนีฯ ในช่วง 1 เดือนก่อนการทำรัฐประหาร ปรับตัวลดลงเล็กน้อย (-0.8%) ก่อนที่จะปรับขึ้น 2.6% และ 3.4% ในช่วง 1 และ 2 เดือนหลังการทำรัฐประหาร ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการรัฐประหารครั้งนั้น ไม่มีการเสียเลือดเนื้อและจบอย่างรวดเร็ว ไม่มีการต่อต้านจากประชาชน สำหรับกระแสตอบรับจากต่างชาติ มีการซื้อสุทธิ แม้ว่าบางประเทศจะไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหารก็ตาม แต่ส่วนใหญ่เป็นเพียงการวิพากษ์วิจารณ์เท่านั้น ดังนั้นหากเกิดการเปลี่ยนแปลงซ้ำรอยกับในอดีต คาด ดัชนีฯ จะตอบรับเชิงบวกในระยะสั้นเช่นกัน เนื่องจากนักลงทุนรอความชัดเจน ประกอบกับคาดว่าไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น
ต่างชาติซื้อแรงหลังเกิดรัฐประหาร
เปิดทำการวันแรกหลังการรัฐประหาร ต่างชาติซื้อสุทธิสูงถึง 7,393 ล้านบาท และซื้อสะสมต่อเนื่องในช่วง 2-3 เดือนแรก แต่มาขายหนักในช่วงที่แบงค์ชาติประกาศมาตรการกันสำรอง 30% แต่หลังจากนั้นก็กลับมาซื้อสะสมเรื่อยมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 50 ประกอบกับในช่วงปลายเดือน ม.ค. 50 รัฐบาลยกเลิกการใช้กฏอัยการศึกทั่วประเทศ อย่างไรก็ดี เราคาดว่าแรงซื้อต่างชาติในรอบนี้จะไม่มากเท่าในปี 50 จากปัจจัยอื่นๆ ทั้งเรื่องการลดขนาด QE และเศรษฐกิจโดยรวมที่แย่กว่าในปี 50


หุ้นที่เกี่ยวเนื่องกับการบริโภคในประเทศปรับขึ้นได้ดีหลังการรัฐประหาร
       จากการรัฐประหารในปี 49 กลุ่มอุตสหกรรมหลักๆ ที่ปรับขึ้นได้ดีในช่วงก่อนการรัฐประหาร 1 เดือนได้แก่วัสดุก่อสร้าง ขนส่ง ธนาคาร อสังหาฯ และ อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มอุตสาหกรรมหลักๆ ที่ปรับขึ้นได้ดีในช่วง 1 เดือนหลังการรัฐประหาร ได้แก่ ยานยนต์ อาหาร ค้าปลีก และธนาคาร นอกจากนี้ยังมีกลุ่ม อิเล็กทรอนิกส์ที่ บวกตามการส่งออกไทยที่ขยายตัวดีในช่วงนั้น
       หากเกิดการรัฐประหาร เราคาดว่าหุ้นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคในประเทศจะปรับขึ้นดีในช่วง 1-2 เดือนแรกเช่นเดียวกับในอดีต เนื่องจากความตึงเครียดและการชะลอการบริโภคในช่วงประท้วงจะเริ่มกลับมา อย่างไรก็ดี ในระยะกลาง 3-6 เดือนคาดผลของการรัฐประหารต่อเศรษฐกิจจะเริ่มส่งผลให้เห็นชัดขึ้นราคาหุ้นอาจลดช่วงบวกลงในช่วงนี้ และปรับขึ้นใหม่ในช่วงครึ่งปีหลังตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
หุ้นไทยโดยเฉลี่ยปรับขึ้น 8.4% 1 เดือนหลังความวุ่นวายทางการเมืองยุติ
      จากสถิติการชุมนุมทางการเมือง 4 ครั้ง หลังสุด ดัชนีฯ ปรับตัวขึ้นหลังจากที่เหตุการณ์สงบ ที่ 2.9% 4.5% และ 8.4% ภายในเวลา 1 สัปดาห์ 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ตามลำดับ

 

-3. จีดีพีไทย ไตรมาส 1/57 หดตัว -0.6% yoy (ต่ำกว่าคาด) ยังเสี่ยงถูกปรับลดคาดการณ์ลงต่อเนื่อง
สภาพัฒน์เผยจีดีพี Q1/57 ลดลง 0.6% เทียบรายปี, คาดจีดีพีปีนี้โตแค่ 1.5-2.5%
      สศช. หรือสภาพัฒน์ เผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 1/57 ลดลง 0.6% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และลดลง 2.1% จากไตรมาสก่อนหน้า และได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการขายตัวทางเศรษฐกิจไทยในปี 57 มีแนวโน้มขยายตัว 1.5-2.5% ต่ำกว่าการขยายตัว 3.0-4.0% ที่คาดการณ์ไว้เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 57 โดยมีแนวโน้มที่การจัดตั้งรัฐบาลต้องล่าช้าออกไปกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม ขณะที่การฟื้นตัวของการส่งออกที่มีแนวโน้มช้ากว่าที่คาดไว้เดิม ตามแนวโน้มความล่าช้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีนและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้า คาดว่าจะขยายตัว 3.7% ปรับลดจากการประมาณการครั้งก่อนที่ 5.0-7.0%
เราปรับคาดการณ์จีดีพีปีนี้ลงเหลือ 2.0% จากเดิม 2.7%
      จากที่จีดีพีไตรมาส 1/57 ออกมาต่ำกว่าที่เราและตลาดคาดมาก จากการบริโภคและลงทุนในประเทศที่หดตัว -3.0% และ -7.3% ด้านการลงทุนภาครัฐฯ หดตัวถึง -19.3% ขณะที่สิ่งที่ผิดจากคาดมากมาจากการส่งออกบริการ (การท่องเที่ยว) ที่หดตัวถึง -4.2% และสินค้าคงคลังที่ลดลงอย่างมาก และส่งผลต่อจีดีพีถึง -2.1%
      เราจึงปรับเป้าจีดีพีสำหรับปีนี้ลงเหลือ 2.0% จากเดิมที่คาดไว้ที่ 2.7% เพื่อสะท้อนการใช้จ่ายในประเทศที่แย่ลง ด้านปี 2558 เราปรับจีดีพีลงเล็กน้อยที่ 4.1% จากเดิมที่ 4.3%
กสิกรฯ เล็งหั่นเป้าดัชนีหลังการเมืองฉุดจากเดิม 1.8%
      ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า หากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองยังคงยืดเยื้อไม่สามารถหาทางออกในการมีรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ รวมทั้งหากภาคการส่งออกยังไม่มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นชัดเจนในระยะ 1-2 เดือนข้างหน้า อาจต้องมีการทบทวนปรับลดประมาณการอีกครั้ง จากปัจจุบันคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 57 อยู่ที่ร้อยละ 1.8 (กรอบคาดการณ์ร้อยละ 1.3-2.4) ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์อัตราการขยายตัวของการส่งออกในปีนี้ที่ร้อยละ 5.0 ในกรณีพื้นฐาน

 

5.รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ :
       Highligt อยู่ที่ วันพุธ จับตารายงานผลประชุม BOJ Meeting และผลประชุมเฟดที่ผ่านมา แต่คาดว่าไม่มี Surprise ใดๆต่อตลาด และวันพฤหัสฯ จับตา China HSBC Mfg PMI พค คาดย่อตัวลดลงเล็กน้อยเป็น 48 (Vs 48.1) เช่นเดียวกันกับ EU Mfg PMI พคลดลงเป็น 52.8 (Vs 53.4)
วันอังคาร: Germany PPI เม.ย. คาด 0%m-m (Vs -0.3%) Australia รายงานผลประชุมธนาคารกลางที่ผ่านมา Singapore: 1Q57F GDP ครั้งที่ 2 คาดเพิ่มขึ้นเป็น 5.4%y-y (Vs 5.1%)
วันพุธ: Japan ส่งออก เม.ย. คาด +4.8%y-y (Vs 1.8%) ดุลการค้า คาดขาดดุล 646 พันล้านเยน (Vs -1.44 ล้านล้านเยน) และผลประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น USA: รายงานผลประชุมเฟดที่ผ่านมา
วันพฤหัสฯ: China: HSBC PMI พ.ค. คาด 48.3 (Vs 48.1) USA: Markit MFG PMI พ.ค. คาด 55.5 (Vs 55.4) ยอดขายบ้านเดิม เม.ย. คาด +2%m-m (Vs -0.2%) Japan: PMI Mfg มี.ค. คาด 50.5 (Vs 49.4) EU: Mfg PMI พ.ค. คาด 53.2(Vs 53.4) Service PMI พ.ค. คาด 53.1 UK:1Q57F GDP 0.8%q-q เท่าเดิม
วันศุกร์ : USA: ยอดขายบ้านใหม่ เม.ย. คาด +11.3%m-m (Vs -14.5%) Germany 1Q57F GDP คาด 0.8%q-q IFO Business Climate พ.ค. คาด 111 (Vs 111.2)

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
      ราคาบ้านใหม่ในจีนเพิ่มขึ้น 6.7% ในเม.ย. ชะลอตัวแรงสุดรอบ 11 เดือน จากการคำนวณของรอยเตอร์โดยอิงตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (NBS) ของจีนพบว่า ราคาบ้านใหม่โดยเฉลี่ยในเมืองใหญ่ 70 เมืองของจีน เพิ่มขึ้น 6.7% ในเดือน เม.ย. จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หลังจากทะยานขึ้น 7.7% ในเดือน มี.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ราคาเพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือน เม.ย. โดย ชะลอตัวลงจากที่เพิ่มขึ้น 0.2% ในเดือน มี.ค. ราคาบ้านใหม่ลดลงใน 8 เมืองจาก 70 เมืองในเดือน เม.ย. เมื่อเทียบจากเดือน มี.ค. ขณะที่เดือนดังกล่าวราคาบ้านใหม่ลดลงใน 4 เมือง

 

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 2
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดเพิ่มขึ้นต่อเป็นวันที่สอง โดยดัชนี DJIA ปิดเพิ่มขึ้น 20.55 จุด หรือ 0.12% สู่ระดับ 16,511.86 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดบวก 7.22 จุดหรือ 0.38% สู่ระดับ 1,885.08 จุด และ Nasdaq ปิดเพิ่ม 35.22 จุด หรือ 0.86% สู่ระดับ 4,125.81 จุด โดยหุ้นอินเทอร์เน็ตและไบโอเทค ทะยานขึ้นและช่วยหนุนดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้นเกือบ 1% ดัชนี Russell 2000 ของหุ้นขนาดเล็กปรับตัวขึ้น 1% หลังลดลง 3 วันติดต่อกัน

 

+/- ตลาดหุ้นยุโรป ปิดคละ
      วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลง FTSE ปิดร่วง 11.26 จุด หรือ -0.16% สู่ 6,844.55 จุด ดัชนี CAC40 ปิดเพิ่ม 13.48 จุด หรือ 0.30% สู่ 4,469.76 จุด และ DAX ปิดบวก 30.29 จุด หรือ 0.31% สู่ 9,659.39 จุด จากวิตกกังวลต่อแรงซื้อสินทรัพย์เสี่ยง เพราะวิตก Valuation ของราคาหุ้น และรอ ECB ส่งสัญญาณนโยบายการเงิน ทั้งนี้ Deutsche Bank ราคาหุ้นร่วงลง 2% จากประกาศเพิ่มทุน 8 พันล้านยูโร

 

+/-ราคาน้ำมันดิบ ปิดคละ ได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของเงินดอลล์
      วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบ ก.ค. ปรับลดลง 0.38 ดอลลาร์ สู่ 109.37 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ มิย. ปรับสูงขึ้น 0.59 ดอลลาร์ มาปิด ตลาดที่ 102.61 ดอลลาร์ต่อ บาร์เรล ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ปรับขึ้นมาปิดตลาดที่ระดับปิดสูงสุดในรอบเกือบ 1 เดือนในวันจันทร์ ในขณะที่การอ่อนค่าของดอลลาร์ช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อสัญญาน้ำมันดิบเดือนมิ.ย.ก่อนที่สัญญาจะครบกำหนดส่งมอบในวันอังคาร ทางด้านราคาน้ำมันดิบเบรนท์ร่วงลง ในขณะที่การร่วงลงของตลาดหุ้นทั่วโลกบดบังแรงบวกที่ราคาน้ำมันได้รับจากปริมาณการผลิตที่ระดับต่ำในลิเบีย ปริมาณการผลิตน้ำมันของลิเบียอยู่ที่ 210,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งต่ำกว่าระดับ 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวันที่เคยผลิตในช่วงต้นปี 2013

 

-ราคาทองคำ ปิดลดลงเล็กน้อย
      วันทำการที่ผานมา ราคาสัญญาทองเดือนมิถุนายน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.40 ดอลล์ หรือ 0.03%สู่ 1,293.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์ การปรับขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐทำให้นักลงทุนลดความต้องการซื้อทองในฐานะ เครื่องมือทำประกันความเสี่ยง และส่งผลให้ราคาทองร่วงลงสู่ระดับต่ำกว่า1,300 ดอลลาร์

 

- ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index กลับมาปิดลบ หลังเพิ่มขึ้น 4 วัน
       วันทำการที่ผานมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดลดลง 5จุด หรือ -0.49% เป็น 1022 จุด หลังจาก ปี 56 เพิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก (แนะนำ เก็งกำไร PSL TP Consensus 22.84-27.25 บาท TTA TP Consensus 22.83-27.25 บาท)
ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 Thanomsaks@ktzmico.com 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 Tidaratp@ktzmico.com 02-624-6270

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!