WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซียพลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
        แรงขายต่างชาติยังมีอยู่ต่อเนื่องหลังการยึดอำนาจ และดัชนีมีแนวโน้มต่ำกว่า 1,400 จุด ยังให้คงพอร์ตลงทุนเหมือนเดิม หุ้นที่ควรมีในพอร์ตคือ PTTEP(FV@B195) และ IVL(FV@B30) และเลือกเป็น Top Picks

ต่างชาติยังขายหนัก และต่อเนื่องนับจากมีการยึดอำนาจ
       วันนี้นับเป็นวันที่ 4 แล้ว ที่ต่างชาติขายหุ้นไทย หรือนับตั้งแต่มีการประกาศใช้กฏอัยการศึก สวนทางกับตลาดหุ้นในประเทศเพื่อนบ้าน หรือแถบเอเซียที่ซื้อหุ้นต่อเนื่องเกือบตลอดทั้งนี้วันศุกร์ที่ผ่านมา พบว่านักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 9 แต่มูลค่าลดลงเหลือราว 133 ล้านเหรียญฯ เท่านั้น (หรือลดลงน้อยกว่า 1 ใน 3 ของยอดซื้อวันก่อนหน้า) โดยเป็นการซื้อในทุกประเทศยกเว้นไทย กล่าวคือ เกาหลีใต้ ยังคงเป็นประเทศที่ซื้อสุทธิสูงสุด 150 ล้านเหรียญฯ และเป็นการซื้อต่อเนื่องเป็นวันทำการที่ 9 เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ ที่ซื้อสุทธิ 12 ล้านเหรียญฯ ขณะที่ ไต้หวัน ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 ราว 150 ล้านเหรียญฯ เหมือนกับอินโดนีเซีย ที่ซื้อสุทธิ 28 ล้านเหรียญฯ ขณะที่ไทย ยังคงถูกขายสุทธิต่อเป็นวันที่ 4 ถึง 208 ล้านเหรียญฯ (6.8 พันล้านบาท) รวมขายต่อเนื่องกัน 4 วันรวม 2 หมื่นล้านบาท) ทำให้ยอดซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. 2557 เป็นต้นจนถึงศุกร์ที่ผ่านมา ลดลงเหลือเพียง 8.2 พันล้านบาทเท่านั้น หรือคิดเป็นเพียง 0.03% เมื่อเทียบกับยอดขายกว่า 2.5 แสนล้านบาทเมื่อปี 2556 จึงเชื่อว่าหากต่างชาติยังขายต่อที่ระดับ 2–3 พันล้านบาทต่อวัน แรงขายน่าจะหมดลงภายใน 3-4 วันนี้

        ขณะที่นักลงทุนสถาบัน ยังคงซื้อติดต่อกันถึง 10 วันทำการ รวมมูลค่าเกือบ 1.5 หมื่นล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยก็ซื้อต่อเนื่อง 4 วันทำการ 1.1 หมื่นล้านบาท ส่วนตลาดตราสารหนี้ ต่างชาติเทขายออกมาอีก 7.3 พันล้านบาท เป็นยอดที่สูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค. ที่ผ่านมา ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงไปเล็กน้อยที่ 32.58 บาท/เหรียญฯ

 

ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจยังให้น้ำหนักต่อการเมืองหลังยึดอำนาจ
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประกาศ โรดแมพ 3 ช่วงสู่การเลือกตั้ง ดังนี้
ระยะที่ 1 เป็นช่วงเวลาที่ คสช. ใช้อำนาจในการบริหารประเทศ
ระยะที่ 2 เป็นการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองชั่วคราว และมีตัวแทนในการเข้ามาใช้อำนาจปกครองประเทศ ประกอบด้วย คณะรัฐมนตรี, สภานิติบัญญัติ และ สภาปฎิรูป
        ระยะที่ 3 กำหนดให้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ อย่างไรก็ตามในการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน ยังไม่สามารถกำหนดกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนได้ โดยต้องเป็นไปตามสถานการณ์ในแต่ละช่วง
        และวันนี้เวลา 10:00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หลังจากนั้นจะประกาศใช้ ธรรมนูญการปกครองชั่วคราว และแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี รวมถึงคณะรัฐมนตรี ตามที่กำหนดไว้ในโรดแมพระยะที่ 1
จะเห็นได้ว่า กระบวนการที่จะเกิดขึ้น หลังการรัฐประหารยังมีอีกหลายขั้นตอน ซึ่งการเดินหน้าในแต่ละขั้นตอนก็จะมี           ความเห็น และกระแส ต่างๆ ออกมา ซึ่งจะยังมีอิทธิพลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและการลงทุน ซึ่งนักลงทุนต้องให้ความสนใจต่อกรอบระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการที่จะนำไปสู่การเลือกตั้งครั้งใหม่ หากนำไปเทียบเคียงกับการทำรัฐประหารในปี 2549 กล่าวคือ เกิดเหตุรัฐประหารวันที่ 19 ก.ย.2549 หลังจากนั้น เมื่อ 1 ต.ค. 2549 พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ขณะที่การเลือกตั้งทั่วไปเกิดชึ้นเมื่อ 23 ธ.ค.2550 ได้เกิดการเลือกตั้งทั่วไป และ เมื่อวันที่ 29 ม.ค.2551 นายสมัคร สุนทรเวช จึงเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รวมระยะเวลาจากการเกิดรัฐประหารจนถึงวันเลือกตั้งใช้เวลา 14 เดือน 4 วัน และ อีก 1 เดือน 6 วัน หลังการเลือกตั้งจึงมีนายกรัฐมนตรีใหม่จากการเลือกตั้งเข้ารับตำแหน่ง นักลงทุนอาจใช้กรอบเวลาดังกล่าวเป็นข้อมูลเปรียบเทียบ

 

ดัชนียังผันผวนในราว 2 สัปดาห์ หลังยึดอำนาจ
       หากพิจารณาการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาด กับการเข้ายึดอำนาจหลายครั้งในอดีตพบว่า ดัชนีมักมีการเคลื่อนไหวในทิศทางลดลง/ลบ ทั้งก่อน และหลังการยึดอำนาจ ราว 2 สัปดาห์ (รายละเอียดดังภาพด้านล่าง) แต่อย่างไรก็ตามหลังจากนั้น ดัชนีจะตอบสนองด้านบวกมากน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถของทีมผู้บริหารประเทศ จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน และต่างชาติได้มากน้อยเพียงใด รวมถึงระยะเวลาที่จะคืนอำนาจสู่ประชาชน หากอ้างอิงการยึดอำนาจในวันที่ 19 ก.ย. 2549 กว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปราว 23 ธ.ค. 2550 หรือ กินเวลานาน 1 ปี 3 เดือน
        อย่างไรก็ตาม ปัจจัยกำหนดทิศทางของดัชนีตลาด ยังขึ้นความสามารถในการทำกำไรของตลาดโดยรวม หากอิง EPS ตลาดปี 2557 ที่ 98.14 บาทต่อหุ้น (ปรับลดลงเป็นครั้งที่ 2 เมื่อ 21 พ.ค. ภายหลังสุดการประกาศงบ 1Q57 เสร็จสิ้น) โดยกำหนดดัชนีที่เหมาะสมสิ้นปี 2557 ที่ 1,374 จุด อิง Expected P/E 14 เท่า (ลดลงจากที่เคยใช้ 14.5 เท่า เพราะตลาดหุ้นไทยจะขาดแรงซื้อจากต่างชาติ จากผลกระทบของการยึดอำนาจ) ดังนั้นการที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยขยับขึ้นไปใกล้ 1400 จุด เป็นระดับที่มีค่า P/E เกิน 14 เท่า ทำให้มี่ความเสี่ยงต่อการปรับลดลงมาที่ระดับ 1,374 จุด กลยุทธ์การลงทุนยังให้ถือหุ้น 40% ของพอร์ต และเน้นหุ้นที่มีรายได้อิงเศรษฐกิจภายนอกเป็นหลัก หุ้นเด่นคือ STPI, PTTEP, PTT, THCOM, SCC, IVL (ติดตามอ่านรายละเอียด Investment Strategy ภายใต้เรื่อง “กลยุทธ์การลงทุนภายใต้ ภายใต้การยึดอำนาจ” วันศุกร์ที่ 23 พ.ค. 2557)

 

แนวโน้มเศรษฐกิจโลก VS เศรษฐกิจไทยหลังการยึดอำนาจ
       สหรัฐ ยังมีสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่อง ล่าสุด เดือน เม.ย. พบว่ายอดขายบ้านใหม่ยังเพิ่มขึ้น 6.4%mom (สูงสุดในรอบ 6 เดือนและ มากกว่าที่คาด) รวมทั้ง ยอดขายบ้านมือสอง ปรับเพิ่มขึ้น 1.3%mom (ปรับเพิ่มติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2) สอดคล้องกับตัวเลยเริ่มสร้างบ้าน ที่ปรับเพิ่มขึ้น 13.2%mom (ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3) เช่นเดียวกับการอนุญาตก่อสร้างบ้าน ที่เพิ่มขึ้น 8%mom
ทั้งนี้ การฟื้นตัวของภาคอสังหาฯ น่าจะได้อานิสงค์มาจากการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน สะท้อนจากอัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. ที่ปรับลดลงที่ระดับ 6.3% ต่ำกว่าเป้าหมายเบื้องต้นที่ 6.5% ซึ่งยังถือเป็นปัจจัยบวกต่อการบริโภคภาคครัวเรือนสหรัฐ (คิดเป็น 70% ของ GDP) รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่ระดับ 2% ถือว่าเข้าสู่เป้าหมายด้วยเช่นกัน และคงเป็นปัจจัยหนุนต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐต่อไป ถือว่าการใช้มาตรการ QE ที่ผ่านมาน่าจะประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง และ FED ยังต้องการใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำ 0.25% ต่อไปอีกระยะหนึ่ง หลังจากที่การตัดลด QE เดือนละ 1 หมื่นล้านเหรียญฯ น่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือน ก.ย. นี้
       ไทย หากอิงประมาณการของ ASP ปี 2557 คาดว่าเศรษฐกิจไทย (GDP Growth) จะอยู่ที่ 2% ภายใต้สมมติฐานว่าจะมีรัฐบาลที่มีความมั่นคงภายใน 6 เดือนหลังของปี 2557 อย่างไรก็ตามทุกอย่างได้เปลี่ยนแปลงไปจากสมมติฐาน หลังการยึดอำนาจ และขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการหลายอย่าง ซึ่งต้องติดตามกันต่อไป ในเบื้องต้นประเมินว่าเศรษฐกิจในงวด 2Q57 น่าจะย่ำแย่ไม่แตกต่างจากงวด 1Q57 ที่เศรษฐกิจหดตัว 0.6%yoy ซึ่งหลักๆ เกิดจากการบริโภคภาคครัวเรือน และการลงทุนภาครัฐ ที่หดตัวหนักมากๆ
      ทั้งนี้ หากมองย้อนกลับไปเมื่อ 19 กันยายน 2549 หลังการยึดอำนาจ รัฐบาล รักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พบว่าเศรษฐกิจในช่วง 6 เดือนหลังของปี 2549 ชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด (เมื่อเทียบกับงวด 6 เดือนแรกของปี 2549) โดยเฉพาะภาคการบริโภคภาคครัวเรือน การลงทุน และการส่งออกสินค้า (เติบโตในอัตราครึ่งหนึ่งของที่เติบโตในช่วง 1H49) โดยเชื่อว่าผลกระทบน่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่การเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงปลายปี 2548 ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่เดือน ก.ย. 2548 และได้ส่งผลกระทบต่อการชะลอตัวภาครัฐ (สัดส่วนราว 6% ของ GDP) และการชะลอตัวนำเข้าสินค้า (47% ของ GDP)
      หุ้นที่แนะนำใน Market talk

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!