WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

เก็งกำไรหุ้นกลาง-เล็ก ต่อ
Highlight
     ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดลง จากแรงขายทำกำไรตลาดสหรัฐฯ หลังปรับขึ้นต่อเนื่อง 4 วัน เพื่อรอลุ้น 1Q57 USA GDP (ประมาณการณ์ครั้งที่ 2) วันนี้คาดแย่ลงเป็น -0.6%q-q
     ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ : USA 1Q57F GDP ครั้งที่สอง เติบโต -0.6%q-q (Vs ครั้งแรก +0.1%) Pending Home Sales เม.ย. คาด +1%m-m (Vs3.4%) Philippines 1Q57F GDP คาด +2%q-q (Vs 1.5%)
-วันทำการล่าสุด นักลงทุนต่างชาติขายต่อ -2.77 พันลบ. (ขายสะสม 7 วัน รวม -2.89 หมื่นลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อ +2.20 พันลบ. (ซื้อสะสม 12 วัน จาก 13 วันทำการ รวม +1.71 หมื่นลบ.)
     +/-การเมือง ลุ้นรายละเอียดมาตรการโครงการรัฐ ในสัปดาห์หน้า ลุ้นยกเลิกเคอร์ฟิวในเมืองท่องเที่ยว ด้านความเสี่ยงยังมาจากต่างประเทศที่มองเศรษฐกิจไทยแย่ลงจากรัฐประหาร
       คาดดัชนีฯ วันนี้ ขึ้น (สลับย่อ) แนวต้าน 1410/1423 จุด แนวรับ 1396/1388 จุด แรงซื้อหุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและกลุ่ม Laggards เป็นปัจจัยหนุนตลาด คาดแรงขายต่างชาติจะเริ่มชะลอ
กลยุทธ์: แนะนำ Trading Buy กลุ่ม Laggard Play อาทิ รับเหมาฯ บ้านฯ นิคมฯ ท่องเที่ยว จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีกว่าคาด อาทิ SPALI QH LH AOT CPALL TK MC AMATA HEMRAJ AOT เล่นรอบหุ้นขนาดเล็ก DEMCO TSF และหุ้นที่มีลุ้นติด SET 100 Index (MEGA MAKRO SIM)

 

หุ้นในกระแส:
     หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 5.0%) ได้แก่ UMI SUPER TSF EVER JMART EA MC หุ้นที่ลงกว่า 2.5% SUTHA SAWAD ICHI GCAP SYNTEC CNT BH
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ KBANK+209 BGH+143
CPALL+136 PTT+131 ด้านขาย BEC-83 BBL-75
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ CK 79 ITD 75 IVL 51

 

Market Outlook
     คาดดัชนีฯ ขึ้น (สลับย่อ) แนวต้าน 1410/1423 จุด แนวรับ 1396/1388 จุด สัปดาห์หน้าลุ้นโครงการเมกะโปรเจ็กเดินหน้า ยกเลิกเคอร์ฟิวเมืองท่องเที่ยว แนะนำ เก็งกำไร กลุ่ม Laggard Plays อาทิ รับเหมาฯ บ้านฯ นิคมฯ ท่องเที่ยว จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีกว่าคาด อาทิ SPALI QH LH AOT CPALL TK MC AMATA HEMRAJ AOT เล่นรอบหุ้นขนาดเล็ก DEMCO TSF และหุ้นที่มีลุ้นติด SET 100 Index (MEGA MAKRO SIM
     คาดดัชนีฯ วันนี้ ขึ้น (สลับย่อ) แนวต้าน 1410/1423 จุด แนวรับ 1396/1388 จุด จากแรงซื้อหุ้นที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจยังเป็นปัจจัยหนุนตลาด โดยแรงเก็งกำไรส่วนใหญ่ยังอยู่ในหุ้นที่อิงการบริโภคและการลงทุนในประเทศ ซึ่งสัปดาห์หน้า คาดจะมีความชัดเจนเรื่องโครงการภาครัฐขนาดใหญ่ว่าจะเดินหน้าโครงการใดบ้าง ด้านการท่องเที่ยวลุ้นผ่านพ้นจุดต่ำสุด หลังคสช. กำลังประเมินสถานการณ์ หากยกเลิกเคอร์ฟิวเมืองท่องเที่ยว คาดอาจมีแรงเก็งกำไรกลับเข้ากลุ่มท่องเที่ยว ด้านปัจจัยกดดันยังมาจากแรงขายต่างชาติ โดยวานนี้มอร์แกนสแตนเลย์ ลดเป้าจีดีพีไทยปีนี้เหลือ 0% แต่ประเมินแรงขายต่างชาติจะเริ่มชะลอตัวลงหลังขายหุ้นไทยที่ซื้อมาในปีนี้เกือบหมดแล้ว
      กลยุทธ์: เราคงคำแนะนำระยะ 3-6 เดือน เลือกลงทุนกลุ่ม High Dividend Play (BTS INTUCH) และเลือกสะสมกลุ่มส่งออก อาหาร (CPF GFPT TUF) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ (HANA KCE) กลุ่มพาณิชย์ (CPALL) ส่วนรับเหมาฯ (ITD CK TTCL STEC) let profit run
      ส่วนระยะสัปดาห์ แนะนำ เก็งกำไร กลุ่ม Laggard Play อาทิ รับเหมาฯ บ้านฯ นิคมฯ ท่องเที่ยว จากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีกว่าคาด อาทิ SPALI QH LH AOT CPALL TK MC AMATA HEMRAJ AOT เล่นรอบหุ้นขนาดเล็ก DEMCO TSF และหุ้นที่มีลุ้นติด SET 100 Index (MEGA MAKRO SIM)
      ปัจจัยในประเทศ – แนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจของคสช. ยังเป็นปัจจัยหนุนให้มีการเก็งกำไรในหุ้นที่อิงการบริโภคและการลงทุนในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยประเด็นบวกที่เพิ่มเติมเข้ามาในวันนี้คือการประเมินสถานการณ์ของคสช. ว่าจะยกเลิกเคอร์ฟิวในเมืองท่องเที่ยวหรือไม่ คาดมีแรงเก็งกำไรกลับมาในกลุ่มท่องเที่ยว ซึ่งตอนนี้เป็นหุ้น domestic ที่ราคายังไม่ปรับขึ้น ประกอบกับ ข่าวการเดินหน้าโครงการพัฒนาท่าอากาศยาน จะช่วยหนุนการเก็งกำไรในกลุ่มนี้ ส่วนหุ้นอิงการบริโภคในประเทศอีกกลุ่มหนึ่งที่ราคาเพิ่งเริ่มปรับขึ้นมาวานนี้คือกลุ่มอสังหาฯ ที่ก่อนหน้านี้ได้รับแรงกดดันจากการเมืองเช่นเดียวกัน แต่คาดว่าจะฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งปีหลัง จากผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยได้ชะลอการซื้อมากว่าครึ่งปีแล้ว สัญญานล่าเห็นยอดขายฟื้นตัวอย่างชัดเจนในช่วงเดือน มี.ค. - เม.ย. (top pick SPALI QH)


      ปัจจัยต่างประเทศ – ตลาดสหรัฐฯ ปิดลบเล็กน้อย โดยมีแรงขายทำกำไร หลังดัชนีฯ บวก 4 วันติด โดยระหว่างวัน ดัชนี S&P500 ขึ้นทำนิวไฮต่อเนื่องแต่ย่อตัวลงช่วงท้ายตลาด ประเมิน sentiment จากภายนอกยังเป็นบวก และคาดมีโอกาสสูงที่อีซีบีจะผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมในการประชุมสัปดาห์หน้า
      ทางเทคนิค กลับเป็นขาขึ้น จากการดีดตัวขึ้นของดัชนีฯ วานนี้ ทำให้สัญญานระยะกลับมาเป็นบวก โอกาสกลับเป็นขาขึ้นต่อเนื่องมีเพิ่มขึ้น โดยตลาดมีโอกาสปรับสูงขึ้นทดสอบแนวต้านของ Fibonanci กรอบ 1370-1460 จุด โดยเฉพาะหากสัปดาห์นี้ยืนปิดเหนือ 1400 จุดได้ แนวต้านต่อไปอยู่ที่ 1405 จุด 1416 จุด 1426 จุด 1439 จุด และ 1460 จุดตามลำดับ ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1370 จุด

 

ประเด็นจับตา
-1. ประเด็นการเมือง: จับตานโยบายเศรษฐกิจหลังรับโปรดเกล้าฯ
ประเด็นการเมือง (Update):
    "ประยุทธ์" นัดคณะที่ปรึกษาคสช.หารือ 10.00 น. วันนี้,คาดแบ่งงานรับผิดชอบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. นัดประชุม คณะที่ปรึกษาคสช. ในวันนี้(29 พ.ค.) เวลาประมาณ 10.00 น. เพื่อหารือเกี่ยวกับการแบ่งงานความรับผิดชอบ
'พล.อ.อ.ประจิน' ขอ 2 สัปดาห์ สรุปลงทุนพื้นฐาน พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ในฐานะรองหัวหน้าคสช. เปิดเผยว่า ได้มีการหารือถึงการกำหนดยุทธศาสตร์ประเทศในเรื่องการคมนาคมที่มีความจำเป็นต้องเร่งพัฒนา พร้อมเร่งรัดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น โครงการขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ระบบรางไม่ว่ารถไฟรางคู่ โครงการรถไฟฟ้าในเมือง หรือแม้แต่โครงการรถไฟความเร็วสูงที่อยู่ในแผนลงทุน 2 ล้านล้านบาท ก็ให้ศึกษารายละเอียด เพื่อให้สรุปแผนการลงทุนโครงการต่าง ๆ ได้ภายใน 2 สัปดาห์
     สถิติจากการรัฐประหารในปี 2549 หากอิงสถิติในการทำรัฐประหารปี 2549 ดัชนีฯ ปรับลงในวันทำการแรก -1.4% และปรับลง -1.4% และ -2.1% ใน 1 และ 2 สัปดาห์หลังรัฐประหาร ดัชนีฯ ปรับขึ้น +2.6% และ+3.4% ในช่วง 1 และ 2 เดือนหลังรัฐประหาร เนื่องจากไม่มีเหตุรุนแรงหลังการรัฐประหาร ความเชื่อมั่นและการบริโภคในประเทศฟื้นตัว เราคาดเหตุการณ์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใกล้เคียงในอดีตจึงมีความเป็นได้สูงที่ตลาดหุ้นจะตอบรับในทิศทางใกล้เคียงเดิม โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับขึ้นได้ดีในช่วง 1 เดือนหลังรัฐประหารปี 49 ได้แก่ ยานยนต์ อาหาร ค้าปลีก และธนาคาร และกลุ่มที่ปรับขึ้นได้ดีในช่วง 3 เดือนแรก ได้แก่ โรงพยาบาล ค้าปลีก และอาหาร

     2. รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : วันอังคาร US Durable goods orders คาดเติบโตลดลง วันพฤหัสฯ 1Q57F GDP USA ครั้งที่สอง คาดแย่ลง และวันศุกร์ Japan Core CPI เม.ย. คาดพุ่งขึ้นแรง
      วันพฤหัสฯ: USA 1Q57F GDP ครั้งที่สอง เติบโต -0.6%q-q (Vs ครั้งแรก +0.1%) Pending Home Sales เม.ย. คาด +1%m-m(Vs 3.4%) Philippines 1Q57F GDP คาด +2%q-q (Vs 1.5%)
      ศุกร์ : Japan Core CPI เม.ย. +3%y-y (Vs 1.3%) USA: U of Michigan Confidence พ.ค. คาด 82.8 (Vs 81.8) Thailand: ดุลบัญชีเดินสะพัด เม.ย. คาด +110 ล้านดอลล์ (Vs 2.89bn.) และจีน วันเสาร์ PMI Mfg พ.ค. คาด 50.7 (Vs 50.4)

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
      พาณิชย์ไทยเผยส่งออกเม.ย.ลดลง 0.87%,คาดผ่านจุดต่ำสดแล้ว-Q2 โต 4.0-4.5% กระทรวงพาณิชย์ เผยตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือน เม.ย.มี มูลค่า 1.73 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 0.87% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.5% ส่วนการนำเข้าในเดือนเม.ย.มีมูลค่า 1.87 หมื่นล้านดอลลาร์ ลดลง 14.54% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ไทยเขาดดุลการค้าประมาณ 1.45 พันล้านดอลลาร์ โดยตัวเลขนำเข้าดังกล่าว ลดลงน้อยกว่าที่นัก       วิเคราะห์คาดไว้ว่าจะลดลง 18.2% ส่วนดุลการค้าเดือนเม.ย. นักวิเคราะห์คาดว่าจะขาดดุล 0.6 พันล้านดอลลาร์
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไทย เม.ย. ลดลง 3.9% เทียบปีต่อปี แต่หดตัวน้อยกว่าคาดสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) เผย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน เม.ย. ลดลง 3.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับที่ลดลง 10.5% ในเดือน มี.ค. ซึ่งเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 13 ติดต่อกันตัวเลข MPI ดังกล่าว ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า MPI ในเดือน เม.ย. จะลดลง 6.4% ขณะที่ เมื่อเทียบรายเดือน MPI เดือน เม.ย. ลดลง 12.27% สศอ.ระบุในเอกสารเผยแพร่ว่า MPI ที่ลดลงในเดือน เม.ย. เป็นผลจาก การผลิตที่ลดลงในอุตสาหกรรมรถยนต์, เบียร์, อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง และฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์
เยอรมนี เผยจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นเกินคาดในเดือน พ.ค. สำนักงานแรงงานของเยอรมนี เปิดเผยว่า จำนวนคนว่างงานของ เยอรมนีพุ่งขึ้นเกินคาดในเดือน พ.ค. โดยเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบหลายปี ทั้งนี้ จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 24,000 ราย สู่ระดับ 2.905 ล้านราย ขณะที่ผลสำรวจของรอยเตอร์คาดว่าจะ
ลดลง 15,000 ราย ส่วนอัตราว่างงานทรงตัวที่ 6.7%
       จีนเผยกำไรภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเกือบ 10% ในเดือนเม.ย. สำนักงานสถิติแห่งชาติ (NBS) ของจีน เปิดเผยว่า ผลกำไรของบริษัทในภาคอุตสาหกรรมของจีนเพิ่มขึ้น 9.6% ในเดือน เม.ย. สู่ระดับ 4.686 แสนล้านหยวน (7.5 หมื่นล้านดอลลาร์) จาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอตัวลงจากที่พุ่งขึ้น 10.7% ในเดือน มี.ค. สำหรับในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ผลกำไรเพิ่มขึ้น 10% สู่ระดับ 1.8 ล้านล้านหยวน แทบไม่เปลี่ยนแปลงจาก 10.1% ในไตรมาสแรกของปีนี้

 

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ลดลงจากแรงขายทำกำไร หลังขึ้นต่อเนื่อง 4 วัน
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับมาปิดลดลงวันแรก หลังขึ้นต่อเนื่อง 4 วัน โดยดัชนี DJIA ปิดลดลง 42.32 จุดหรือ -0.25% สู่ระดับ 16,633.18 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดย่อลง 2.13 จุดหรือ -0.11% สู่ระดับ 1,909.78 จุด และ Nasdaq ปิดร่วง 11.99 จุด หรือ -0.28% สู่ระดับ 4,225.08 จุด ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับตัวลงในวันอังคาร โดยดัชนี S&P500 ปิดลดลงหลังจากที่บวกขึ้นติดต่อกัน 4 วันและปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 3 วันติดต่อกัน ดัชนี S&P หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภคบวก 0.5% และเป็นกลุ่มที่ปรับตัวดีที่สุด ขณะที่ดัชนีดาวโจนส์กลุ่มการขนส่งปิดที่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 8,075.88 และเป็นการปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 8,000 ได้เป็นครั้งแรก

 

+/- ตลาดหุ้นยุโรป ปิดคละ
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรปปิดคละ FTSE ปิดบวก 6.28 จุด หรือ 0.09% สู่ 6,851.22 จุด ดัชนี CAC40 ปิดเพิ่ม 1.88 จุด หรือ 0.04% สู่ 4,531.63 จุด และ DAX ปิดลดลง 1.65 จุด หรือ -0.02% สู่ 9,939.17 จุด ปัจจัยบวกมาจากรายงาน EU Sentiment พ.ค. ออกมาดีกว่าคาด ส่วนเยอรมนีปรับลดลงเล็กน้อย จากรายงานว่างงานเพิ่มขึ้น 2.4 หมื่นราย

 

-ราคาน้ำมันดิบ ร่วงต่อจากแรงขายทำกำไร
     วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบก.ค.. ย่อลง 0.21 ดอลลาร์ สู่ 109.81 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ ก.ค.. ลดลง 1.39 ดอลลาร์ มาปิด ตลาดที่ 102.72 ดอลลาร์ต่อ บาร์เรล เทรดเดอร์ขายทำกำไรสัญญาน้ำมันออกมา เนื่องจาก คาดว่าสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐอาจเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว ทางด้านราคาน้ำมันดิบ เบรนท์ขยับลงเพียงเล็กน้อย เนื่องจากราคาน้ำมันดิบเบรนท์ได้รับแรงหนุนจาก ความขัดแย้งทางการเมืองในลิเบียและยูเครน สถานการณ์ในเมืองโดเนทส์กในภาคตะวันออกของยูเครนเข้าสู่ภาวะสงบ แต่ยังไม่น่าไว้วางใจ หลังจากกองทัพของรัฐบาลยูเครนสังหารกลุ่มกบฏหลายสิบคนในช่วงต้นสัปดาห์นี้กรรมาธิการพลังงานของยุโรปกล่าวว่า ไม่มีแนวโน้มว่ารัฐบาลยูเครนกับรัฐบาลรัสเซียจะสามารถคลี่คลายข้อพิพาททั้งหมดในเรื่องราคาก๊าซได้ทันกำหนดเส้นตายวันที่ 1 มิ.ย

 

-ราคาทองคำ ปิดแตะระดับต่ำสุดรอบ 15 สัปดาห์
       วันทำการที่ผานมา ราคาสัญญาทองเดือนมิถุนายน ปิดตลาด ร่วงต่ออีก 6.20 ดอลล์ หรือ -0.49% สู่ 1,259.30 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หลังจากตลาดได้รับข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีเกินคาด และอุปสงค์ที่แท้จริงของทองคำในจีน มีแนวโน้มลดลง

 

- ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ปิดลดลงเป็นวันที่ 5 ในรอบ 6 วัน
      วันทำการที่ผานมา ดัชนี Baltic Dry Index กลับมาปิดลดลง 19 จุด หรือ -1.95% เป็น 954 จุด หลังจากปี 56 พิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก (แนะนำ เก็งกำไร PSL TP Consensus 22.84-27.25 บาท TTA TP Consensus 22.83-27.25 บาท)

ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 Thanomsaks@ktzmico.com 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 Tidaratp@ktzmico.com 02-624-6270

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!