WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

Sideway Up
Highlight
        ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดขึ้น หลังตลาดหุ้นยุโรปและสหรัฐฯ ปรับขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ ตามตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดีทั้งจากญี่ปุ่นและสหรัฐฯ
      ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ : US: Wholesale Inventories เม.ย. คาด+0.6%m-m (Vs 1.1%) China: CPI พ.ค. คาด 2.4%y-y (Vs 1.8%) Italy 1Q57F GDP
      ครั้งสุดท้าย คาดคงเดิม -0.1%q-q French Industrial production เม.ย. คาดดีขึ้น +0.2%m-m (vs -0.7%)
       +วันทำการล่าสุด นักลงทุนต่างชาติซื้อต่ออีก +131.17ลบ. (ซื้อสะสม 6 วัน รวม 8.17 พันลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศขายต่อ -249.86 ลบ.(ขายสะสม 3 วันรวม -2.95 หมื่นลบ.)
+การเมือง รอลุ้นมาตรการ คสช. เกี่ยวกับนโยบายพลังงาน ภาษี ฯลฯ
       คาดดัชนีฯ สัปดาห์นี้ Sideway Up แนวต้าน 1470/1485 จุด แนวรับ 1447/1435 จุด แรงหนุนดัชนีฯระยะสั้น จะมาจาก Event Play อาทิมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของคสช. การประกาศ SET 50/100 Index reshuffle การทำ Window Dressing หุ้นเกาะกระแสฟุตบอลโลก กระแสทีวีดิจิตอลและกล่องรับชม ฯลฯ
กลยุทธ์: เก็งกำไร หุ้นที่มีประเด็น แนะนำ M MC MEGA SIM BJCHI (SET50/100 Index) CENTEL MINT CPALL ADVANC TRUE (บอลโลก) SAMART AJD (คูปองซื้อกล่องรับทีวี) AMATA DEMCO EA GUNKUL (มาตรการ คสช.) ASP MBKET (กลุ่มหลักทรัพย์)

หุ้นในกระแส:
      หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 2.0%) ได้แก่ CENTEL MINT DELTA THAI TRUE หุ้นที่ลงกว่า 2.0% ได้แก่ CK JAS
      NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ SCC 356 KBANK 301 KTB 215 CPF 107 CPALL 102 ด้านขาย ADVANC -249 PTTGC-214 INTUCH -116 BBL -92
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ PTT 82 ITD 73

Market Outlook
      คาดดัชนีฯ วันนี้ ยังเป็นทิศทาง Sideway Up แนวต้าน 1470/1485 จุด คาดโมเมนตั้มหนุนตลาดหุ้นไทย ยังคงมาจากกระแสเก็งกำไร Event Plays ต่างๆ และ sentiment จากต่างประเทศที่ยังเป็นบวก ส่วนปัจจัยถ่วงตลาดจะมาจาก แรงขาย Trigger Funds แนะนำ Selective Buy หุ้นอิงประเด็นบวกต่างๆ
คาดดัชนีฯ วันนี้ Sideway Up แนวต้าน 1470 จุด โดยมีโมเมนต้มบวกจาก การปรับขึ้นต่อเนื่องของตลาดต่างประเทศ โดยวานนี้ญี่ปุ่นประกาศจีดีพีดีกว่าคาด และจีนเริ่มประกาศลดอัตราสำรองทางกฎหมาย reserve ratio สำหรับบางธนาคารเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่วน Events Play ยังคงมีหลายประเด็นในเดือนนี้ ที่สนับสนุนการเก็งกำไรในประเทศ (รอความชัดเจนเรื่องนโยบายพลังงานและแก้ปัญหาคอขวดการลงทุนของคสช. ส่วนปัจจัยบวกอื่นๆ ได้แก่ SET50/100 Index Reshuffle Window Dressing กระแสฟุตบอลโลก12 มิ.ย. – 13 พ.ค.) ส่วนความเสี่ยงอยู่ที่ กระแส Fund Flow ส่งสัญญาณย้ายออกไปยังตลาด Bonds แทนที่ Equities เพิ่มขึ้น และแรงขายจาก Trigger Funds โดยมีแนวรับอยู่ที่ 1447/1435 จุด แนะนำเก็งกำไรหุ้นได้รับผลบวกจาก Events ต่างๆ (Sell เมื่อข่าวจริงประกาศ)

กลยุทธ์: Trading Buy หุ้นที่มีประเด็น แนะนำ M MC MEGA SIM BJCHI (SET50/100 Index) CENTEL MINT CPALL ADVANC TRUE (บอลโลก) SAMART AJD (คูปองซื้อกล่องรับทีวี) AMATA DEMCO EA GUNKUL SPCG KBANK SCB (มาตรการ คสช.) ASP MBKET (กลุ่มหลักทรัพย์)
ส่วนหุ้น TRUE แนะนำ เก็งกำไรระยะสั้น บริเวณ 6.45 -6.8 บาท และขายก่อนขึ้นเครื่องหมาย XR 31 ก.ค. (สัดส่วน 2.5725 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่ที่ราคาหุ้นละ 6.45 บาท) ส่วนระยะยาว ยังคงแนะนำ INTUCH/ADVANC แทน พราะแม้จะมีปัจจัยบวกระยะยาว จากแผนเพิ่มทุนใหม่จำนวน 6.5 หมื่นลบ. จะช่วยลดภาระดอกเบี้ยจ่ายและสามารถปรับพาร์เพื่อจ่ายปันผลได้เร็วขึ้น รวมถึงการมีพันธมิตรใหม่ China Mobileถือหุ้น 18% แต่ผลกระทบของ Dilution Effect 40.9% ส่งผลให้ตลาดฯ อาจมีการปรับลดเป้าหมายราคาหุ้นลดลง (เดิม IAA Consensus อยู่ที่ 8.13 บาท) และปริมาณเม็ดเงินเพิ่มทุนใหม่ที่สูงถึง 1/3 ของมูลค่าหุ้น TRUE ที่ถืออยู่เดิม จะส่งผลให้ราคาหุ้นระยะสั้นมีแนวโน้มอ่อนตัวลง

++ ปัจจัยในประเทศ เก็งกำไรตามข่าวการกระตุ้นเศรษฐกิจ – ยังมีแรงเก็งกำไรในหุ้นรายตัวให้เห็น ทั้งหุ้นในกลุ่มท่องเที่ยว และหุ้นอิงกระแสบอลโลก (คงคำแนะนำ Let Profit Run) โดยแรงกดดันยังมาจาก แรงขายจาก Trigger Fund และแรงขายหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มพลังงาน อิงข่าวปฏิรูปพลังงาน ที่ตลาดยังรอประเมินความชัดเจนและผลกระทบ นอกจากนี้ ข่าวไฟใหม้โรงงาน IRPC วานนี้ น่าจะทำให้กลุ่มพลังงานยังคง Underperform ตลาดต่อ ส่วนกลุ่มรับเหมาวานนี้ปรับลงแรง จากข่าวการทบทวนโครงการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งล่าสุดจะมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ โดยโครงการที่ยังไม่ได้ดำเนินการจะให้มีการพิจารณาบูรณาการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด และข่าวประมูล E-Auctionโครงการรถไฟรางคู่ มูลค่า 1 หมื่นลบ. คลอง19-แก่งคอย ถูกเลื่อนไปเป็น 23 มิ.ย. จากเดิม วานนี้

+/- ปัจจัยต่างประเทศ – ตลาดหุ้นโลกปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ต่อเนื่องทั้งสหรัฐฯ และยุโรปหลังญี่ปุ่นประกาศ 1Q57 GDP ขยายตัวถึง 6.7% qpq saar ดีกว่าประมาณการณ์ที่ 5.9% ส่วนจีนวานนี้ประกาศยอดส่งออกเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้น 7% แต่ยอดนำเข้าที่ลดลง 1.6% ยังเป็นปัจจัยกดดัน จากความต้องการในประเทศที่ลดลง โดยเฉพาะต่อประเทศในเอเชียอื่นๆ ที่ส่งออกไปจีนสูง รวมถึงไทย นอกจากนี้ตลาดยังมีข่าวบวก จากธนาคารจีนที่กระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมโดยการลด reserve ratio ลงอีก 0.5% สำหรับบางธนาคาร โดยพุ่งเป้าไปยังธนาคารในขนาดเล็กในเมืองต่างๆ เพื่อช่วยเหลือบริษัทขนาดเล็กและภาคเกษตร แต่ตลาดไม่ได้ตอบรับเชิงบวกมากนัก และยังคาดหวังมาตรการจากรัฐบาลจีนที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจในวงกว้างกว่านี้

ทางเทคนิค ระยะเดือนยังคงเป็นสัญญาณขาขึ้นและมีแนวโน้มขึ้นไปแตะระดับสูงสุดเดิม 1500 จุด แม้ระยะสัปดาห์ อาจมีปรับฐานลงมาบริเวณ 1447/1435 จุด โดยสัญญาณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เกิด Bullish Pattern และมีโอกาสขึ้นไปทดสอบแนวต้านของ Fibonanci บริเวณ 1485 จุดและแนวต้านเดิม 1500 จุด (อาจเป็นคลื่นแรกหรือคลื่นที่ 3 ของ Elliot Wave ขาขึ้น) อย่างไรก็ดี สัญญาณชี้นำหลายตัว เช่น RSI , Modified Stoch เริ่มเข้าเขต Overbought Area แล้ว ส่งผลให้ มีโอกาสสูงที่ดัชนีฯจะเกิดการปรับฐานลงมาที่บริเวณ 1447/1435 จุด ซึ่งจะเป็นจุดซื้อเพิ่มรอบใหม่

 

ประเด็นจับตา
-1. ประเด็นการเมือง: จับตานโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการรัฐขนาดใหญ่
ประเด็นการเมือง (Update):
ประยุทธ์นัดถก 23 ทูต และกงสุลใหญ่ 10-11 มิ.ย. นี้ กำหนดท่าทีเพิ่มและเสริมดำเนินการบางส่วนด้านยุทธศาสตร์
อธิบดีกรมสารนิเทศ ในฐานะโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 10 - 11 มิ.ย. จะมีก า ร ป ร ะ ชุ ม เ อ ก อั ค ร า ช ทู ต ไ ท ย แ ล ะ ก ง สุ ล ใ ห ญ่ ไ ท ย ใ น ต่ า งแดน 23 คน อาทิ วอชิงตัน ดี.ซี. เบอร์ลิน บรัสเซล อิตาลี สเปน ส่วนเอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น จะเดินทางกลับมายังประเทศไทย เพื่อร่วมประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูง โดยในวันที่ 10 มิ.ย.จะมีการประชุมร่วมกับนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และในวันที่ 11 มิ.ย. คณะทูตจะเข้าพบปะหารือและแลกเปลี่ยนความเห็นกับพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อทบทวน และวางท่าทีไทยต่อการดำเนินนโยบายด้านการต่างประเทศกับประเทศนั้นๆ

2. Fund Flow: กองทุน Global Fund และ GEM กลับมาถูกขาย
Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา (29 พ.ค. – 4 มิ.ย. 57) เงินทุนไหลออกจากกองทุนหุ้นโดยรวมแต่กองทุนหุ้นยุโรปกลับมามีเงินไหลเข้า
เงินทุนไหลออกจากกองทุนหุ้นในตลาดพัฒนาแล้วและตลาดเกิดใหม่ โดยหลักมาจากกลับมาขายสุทธิของกองทุน Global Fund และกองทุน GEM ในตลาดพัฒนาแล้ว กองทุน Global Fund ถูกขายเป็นสัปดาห์แรกที่ -$3.6bn. หลังจากซื้อติดกันมา 16 สัปดาห์รวม +$22.3bn. แต่กองทุนอเมริกาเหนือและยุโรปยังมีแรงซื้อที่ +$1.1bn. และ +$1.3bn. ตามลำดับ
ด้านตลาดเกิดใหม่ กองทุน GEM สัปดาห์นี้กลับมีแรงขาย -$135mn (จากสัปดาห์ก่อนที่ซื้อ +$805mn.) และกองทุนเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นยังถูกขายอีก -$189mn. ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 21 ใน 22 สัปดาห์หลังสุด สะสมรวม -$14.7bn
กองทุนในภูมิภาคเอเชียถูกขายในหลายประเทศในสัปดาห์ก่อน
ภาพรวมกองทุนในเอเชียส่วนใหญ่ยังมีเม็ดเงินไหลออก โดยประเทศที่ถูกขายในสัปดาห์ก่อนได้แก่ จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวันและไทย มีเพียงออสเตรเลีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์เท่านั้นที่มีเงินไหลเข้า
ในช่วง 4 สัปดาห์หลังสุดกองทุนที่มีเงินไหลออกคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับ NAV สูงสุด ได้แก่ ฟิลิปปินส์ (-11.2%) ไทย (-2.9%) และไต้หวัน (-2.3%)

3. รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ :
อังคาร: US: Wholesale Inventories เม.ย. คาด+0.6%m-m (Vs 1.1%) China: CPI พ.ค. คาด 2.4%y-y (Vs 1.8%) Italy 1Q57F GDP ครั้งสุดท้าย คาดคงเดิม -0.1%q-q French Industrial production เม.ย. คาดดีขึ้น +0.2%m-m (vs -0.7%)
พุธ: USA Monthly budget statement พ.ค. คาด -$142.5bn. (Vs -$138.7bn.) Japan:CGPI พ.ค. คาด 4.2%y-y (Vs 4.1%)
พฤหัสบดี: USA ยอดค้าปลีก พ.ค.. +0.5%m-m (Vs 0.1%) Japan: Core Machine orders เม.ย. คาด 10.8%m-m (vs 19.1%) ผลประชุมธนาคารกลาง อินเดีย เกาหลีใต้ คาดคงดอกเบี้ยที่ 7.5% 2.5% ตามลำดับ
ศุกร์ : USA เงินเฟ้อ พ.ค.. 0.1%m-m (Vs 0.5%) ดัชนีราคาผู้ผลิต พ.ค. คาด 0.1%(vs 0.6%) ดัชนีวัดความเชื่อมั่นของ ม. มิชิแกน มิ.ย. คาด 83 (Vs 81.9) EU:ดุลการค้า เม.ย. คาดเกินดุล 15.5 bn ยูโร (Vs 15.2 bn. ยูโร) China: Industrial Production พ.ค. คาด 8.6%y-y (Vs 8.7%) ยอดค้าปลีก พ.ค. คาด 12.2% y-y(Vs 11.9%)

 

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
JAPAN:ผลสำรวจชี้ความเชื่อมั่นภาคบริการญี่ปุ่นพุ่งขึ้นในเดือน พ.ค.
      ผลสำรวจของสำนัก.ค.ณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นบ่งชี้ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นในภาคบริการของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นสู่ 45.1 ในเดือน พ.ค. ซึ่งบ่งชี้ว่า ผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในเดือนเม.ย.อาจจะเป็นเพียงชั่วคราว ผลสำรวจผู้ใช้แรงงาน อาทิ คนขับแท็กซี่, พนักงานโรงแรมและพนักงานร้านอาหารบ่งชี้ว่า ความเชื่อมั่นของพวกเขาเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันเพิ่มขึ้นจาก 41.6 ในเดือน เม.ย. ดัชนีแนวโน้ม ซึ่งบ่งชี้ระดับของความเชื่อมั่นต่อสภาวะในอนาคต พุ่งขึ้นสู่ 53.8 ในเดือน พ.ค. จาก 50.3 ในเดือน เม.ย. สำนักงานครม.ได้เริ่มรวบรวมข้อมูลเปรียบเทียบตั้งแต่เดือน ส.ค. 2001
       จีน เผยยอดส่งออก,เกินดุลการค้าพุ่งเกินคาดในเดือนพ.ค. ขณะนำเข้าวูบ สำนักงานศุลกากรของจีน เปิดเผยว่าการส่งออกพุ่งขึ้น 7% ในเดือน พ.ค. เมื่อเทียบรายปี จากที่เพิ่มขึ้นเพียง 0.9% ในเดือน เม.ย. ขณะที่การนำเข้าลดลง 1.6% เทียบกับที่เพิ่มขึ้น 0.8% ในเดือน เม.ย. ส่งผลให้จีนมียอดเกินดุลการค้าพุ่งขึ้นสู่ระดับ 3.59 หมื่นล้านดอลลาร์ จาก 1.85 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือน เม.ย. การส่งออกขยายตัวมากขึ้นในเดือน พ.ค. เนื่องจากอุปสงค์โลก ที่ปรับตัวดีขึ้น แต่การนำเข้าที่ลดลงเกินคาด บ่งชี้ถึงภาวะอุปสงค์ที่ชะลอตัวในประเทศ ซึ่งอาจจะกระทบเศรษฐกิจจีนต่อไป
      ญี่ปุ่นทบทวนปรับเพิ่มจีดีพีขยายตัว 6.7% ใน Q1 รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เศรษฐกิจขยายตัว 1.6% ในไตรมาสเดือนม.ค.-มี.ค. เมื่อเทียบจากไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นการทบทวน ปรับเพิ่มขึ้นจาก 1.5% ที่มีการรายงานข้อมูลเบื้องต้น อันเนื่องจาก การใช้จ่ายด้านทุนที่เพิ่มมากขึ้นค่ากลางในผลสำรวจของรอยเตอร์ระบุว่า เศรษฐกิจจะขยายตัว 1.4% ตัวเลขที่ทบทวนแล้วนั้นบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจขยายตัว 6.7% ต่อปี จากตัวเลขที่มีการปรับค่าตามราคาจริง เทียบกับ 5.9% ที่มีการรายงานเบื้องต้น

 

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับสูงขึ้นจากข่าว M&A
       วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยดัชนี DJIA ปิดบวก 18.82 จุดหรือ 0.11% สู่ระดับ 16,943.10 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.83 จุดหรือ 0.09% สู่ระดับ 1,951.27 จุด และ Nasdaq ปิดปรับตัวขึ้น 14.84 จุด หรือ 0.34% สู่ระดับ 4,336.24 จุด ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับตัวขึ้นในวันจันทร์ โดยดัชนีดาวโจนส์และ S&P 500 ปิดที่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์อีก.ค.รั้ง ขณะที่ข่าวเกี่ยวกับการควบรวมกิจการ กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อหุ้น อาทิ บริษัทเมิร์ค แอนด์ โค ตกลงซื้อบริษัท ไอดีนิกซ์ ฟาร์มาซูติคอลส์ อิงค์ในข้อตกลงมูลค่า 3.85 พันล้านดอลลาร์ ดัชนีดาวโจนส์ทำ นิวไฮติดต่อกัน 3 วัน และดัชนี S&P 500 ทำนิวไฮติดต่อกัน 4 วัน

+ ตลาดหุ้นยุโรป ปิดสูงขึ้นต่อเนื่อง จากรายงานเศรษฐกิจโลกที่แข็งแกร่ง
      วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรปขึ้นต่อ FTSE ปิดเพิ่มขึ้น 16.79จุด หรือ 0.24% สู่ 6,875 จุด ดัชนี CAC40 ปิดขึ้น 8 จุด หรือ 0.17% สู่ 4,589.12 จุด และ DAX ปิดสูงขึ้น 21.44 จุด หรือ 0.21% สู่ 10,008.63 จุด ตลาดหุ้นยุโรปปิดตลาดแดนบวก เพราะได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสทั้งของสหรัฐ ญี่ปุ่น และจีน เริ่มจากสำนัก.ค.ณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ที่เปิดเผยว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นขยายตัว 6.7% เทียบรายปี ในไตรมาสแรกของปี 2557 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการประมาณการในเบื้องต้นที่ระดับ 5.9% รายงานระบุว่า ตัวเลขการใช้จ่ายด้านทุนของภาคเอกชนซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจญี่ปุ่นนั้น ขยายตัว 7.6% ในไตรมาสแรก ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการประมาณการเบื้องต้นที่ 4.9% นอกจากนี้ สำนักงานศุลกากรจีนเผยยอดการส่งออกของจีนในเดือนพ.ค.เพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะ 1.95 แสนล้านดอลลาร์ แต่ยอดการนำเข้าลดลง 1.6% แตะ 1.59 แสนล้านดอลลาร์ ส่วนปริมาณการค้าระหว่างประเทศโดยรวมเพิ่มขึ้น 3% แตะ 3.55 แสนล้านดอลลาร์และท้ายที่สุด ทางการสหรัฐ เปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 217,000 ตำแหน่ง ถือเป็นตัวเลขการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นเหนือระดับช่วงเริ่มเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงระหว่างปี 2551-2552 เป็นครั้งแรก

+ราคาน้ำมันดิบ พุ่งขึ้นแรงจากรายงานเศรษฐกิจจีน สหรัฐฯ ที่แข็งแกร่ง
       วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบก.ค. พุ่งขึ้น 1.38 ดอลลาร์ สู่ 109.99 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ ก.ค. เพิ่มขึ้น 1.75 ดอลลาร์ มาปิด ตลาดที่ 104.41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX พุ่งขึ้นเกือบถึง 2 ดอลลาร์ ในวันจันทร์ ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจจีนและสหรัฐบ่งชี้ถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างแข็งแกร่ง และบ่งชี้ว่าอุปสงค์น้ำมันในจีนและสหรัฐอาจเพิ่มสูงขึ้น ส่วนราคาน้ำมันดิบเบรนท์สามารถทะยานขึ้นเหนือ 110 ดอลลาร์ได้เป็นครั้งแรกในเดือน มิ.ย กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ประชุมกันที่กรุงเวียนนาในสัปดาห์นี้ และมีแนวโน้มที่จะตรึงเป้าหมายการผลิตน้ำมันที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวันไว้ต่อไป โดยสมาชิกกลุ่มโอเปกพึงพอใจกับราคาน้ำมันที่ระดับปัจจุบัน และผลิตน้ำมันในระดับที่มากพอที่จะครอบคลุมความจำเป็นทางงบประมาณส่วนใหญ่ของประเทศตนเอง

-ราคาทองคำ ย่อลงเล็กน้อย หลังสหรัฐฯรายงานจ้างงานดีต่อเนื่อง
       วันทำการที่ผานมา ราคาสัญญาทองเดือน สิงหาคม ปิดตลาด เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.40 ดอลล์ สู่ 1,253.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐขยับลง 65 เซนต์ สู่ 1,251.58 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันจันทร์ท่ามกลางปริมาณการซื้อขายที่เบาบาง ในขณะที่การแข็งค่าของดอลลาร์และการปรับขึ้นของตลาดหุ้นส่งผลให้นักลงทุนลดความต้องการซื้อทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย

+ ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ปิดบวกเป็นวันที่ 5
      วันทำการที่ผานมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดเพิ่มอีก 10 จุด หรือ 1.01% เป็น 999 จุด หลังจาก ปี 56 เพิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก(แนะนำ เก็งกำไร PSL TP Consensus 22.84-27.25 บาท TTA TP Consensus 22.83-27.25 บาท)
ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501
Thanomsaks@ktzmico.com
02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564
Tidaratp@ktzmico.com
02-624-6270

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!