WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.บัวหลวง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

รอบด้านตลาดหุ้น

Range bound 3
วันนี้คาดดัชนี range bound แนวรับ 1,473 ต้าน 1,494 จุด
 คงคาดตลาด (Rotation) หมุนหาหุ้นในกระแส และหุ้นกลุ่มรอง Outperform: Earning plays กาไร 2Q14 ออกมาดี, หุ้นมีข่าวบวกหนุน เช่น M&A (ดูชื่อหุ้นในกระแสด้านล่าง), ปัจจัยฤดูกาลของกลุ่มขนส่ง
  หุ้นแนะนา GUNKUL IFEC เล่นกระแสข่าว M&A, LPN เทคนิคคอลสวยแนวรับ 19.8 บ. ต้าน 21 บ.


BLS รายงานวันนี้ (ดูรายละเอียดเพิ่มในฉบับเต็ม)
  (+) KTB คงคาแนะนาซื้อ ราคาเป้าหมาย 24 บ. คาดกาไร 2Q14 ที่ 9 พันลบ. +38% y-y และ 7% q-q กาไรที่ดีขึ้น y-y เป็นผลจาก คาดตั้งสารองลดลง 25% เหลือ 3.1 พันลบ. รายได้ค่าธรรมเนียม +5% และ ส่วนต่างดอกเบี้ยรับทรงตัว 2.76% ทั้งนี้เราคาดกาไร ปี 2014 ที่ 3.28 หมื่นลบ. และมองว่ามีโอกาสดีกว่าที่เราคาด หากสินเชื่อครึ่งหลังเร่งตัวขึ้นเกินสมมุติฐานเราที่ 7% ทั้งนี้ 5M14 อยู่ที่ 4.8%
  (+) KBANK คงคาแนะนาซื้อ ราคาเป้าหมาย 226 บ. คาดกาไร 2Q14 ที่ 1.16 หมื่นลบ. +6% y-y แต่ -3% q-q กาไรที่ชะลอลงเป็นผลจาก คาด Cost to income ที่ 43% ทรงตัวในระดับสูง ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง และคาดจะมีกันสารองเพิ่มขึ้นเป็น 3.1 พันลบ. +41% y-y อย่างไรก็ดีเรามองว่า กาไรจะผ่านจุดต่าสุดใน 2Q14 และดีขึ้นในครึ่งปีหลัง โดยคงคาดกาไรปี 2014-15 ที่ 4.4 และ 5.09 หมื่นลบ.ตามลาดับเติบโต +6.2% และ +15.9% ตามลาดับ
  (*) กลุ่มส่งออกอาหาร ความเห็นต่อ ผลกระทบจากการส่งออก US และ EU หากมีปัญหา คาดหุ้นกระทบเยอะสุด คือ CFRESH ส่วน CPF TUF GFPT กระทบน้อย: CPF ลูกค้าหลัก ได้แก่ TESCO COSTCO WALMART แถลงยืนยันสั่งซื้อสินค้าปกติ แม้จะมีลูกค้ารายเล็กงดสั่งซื้อสินค้าคาดกระทบรายได้ 750-800 ลบ. (0.2% ของรายได้ CPF) / ทั้งนี้ ปี 2013 TUF มีสัดส่วนส่งออก US และ EU ที่ 12% และ 9% ตามลาดับ, GFPT ส่งออก EU 10%, CPF ส่งออก US 1% EU 4%, CFRESH ส่งออก US 7% EU 66%

 

หุ้นมีข่าว
  (-) SAMTEL คตร.สั่งทบทวนโครงการพัฒนา AOT (2554-2560) และโครงการจ้างให้บริการระบบตรวจสอบและคัดกรองผู้โดยสารล่วงหน้า
  (+) กระแสข่าว M&A: KC (ที่มาทันหุ้น เจรจาพันธมิตร) EFORL (ข่าวซื้อคลีนิคความงาม) SST (ข่าวซื้อกิจการร้านอาหาร) THRE THREL (หาพันธมิตร), GUNKUL (ซื้อกิจการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ญี่ปุ่น คาด 3Q14 ได้ข้อสรุป), IFEC (ซื้อโซล่าร์ฟาร์มเพิ่ม)
  (+) SAMART AJD คตร.ให้ กสทช.ทบทวนโครงการแจกคูปอง Set top box ให้ได้ข้อสรุปภายในเดือน กค.และ แจกจ่าย ปชช.ก่อนเดือน ก.ย.
  (+) กลุ่มที่นัยยะสถิติ 10 ไตรมาสย้อนหลัง มีโอกาสเกิด Window dressing โรงพยาบาล สายการ
บิน, AOT, ปิโตรฯ และ ชิ้นส่วนฯ
  (*) E-auction รถไฟทางคู่สัญญาที่ 1 เริ่ม 15 กค. (หุ้นที่เราแนะซื้อไปก่อนหน้านี้ STEC SCP
DCON แนะ ถือต่อ)

 

ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
  (-) วันจันทร์ ไทยรายงานดุลบัญชีเดินสะพัด (Current account) พค.คาด -US$1.2 bn จาก -
US$0.6 bn (จากส่งออกแย่กว่าคาด)
  (+) อังคาร US ISM มิย. คาด 55.5 จาก 55.4, EU PMI mfg มิย. final คาด 51.9 ไม่เปลี่ยนแปลง,
จีน PMI มิย. คาด 51 จาก 50.8, อินโดฯ ดุลการค้าคาด -US$0.4 bn จาก –US$2 bn ดีกว่าไทย,
เกาหลีใต้ ส่งออก มิย.คาด พุ่ง +5.3% จาก -1% y-y
  (0) วันอังคาร-พุธ TANKAN survey ญี่ปุ่น แนวโน้มเดือน มิย. คาด ชะลอลง 15 จาก 17
  (-) พฤหัส EU คาดคงดอกเบี้ย 0.15% (คาดไม่ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม) US การจ้างงานนอกภาคเกษตร มิย. 2.1 แสนราย ลดลงจาก 2.17 แสนราย EU PMI composite 52.8 ไม่
เปลี่ยนแปลง
  (*) ตลาดสหรัฐฯหยุดวันศุกร์ Independent day
  (+/-) กลุ่มพลังงาน เราศึกษา Sensitivity การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพลังงาน (ปฏิรูปพลังงาน)
หุ้นที่ไม่กระทบเลยคือ PTTEP คาด Outperform กลุ่ม และ PTTGC แนะซื้อเก็งกาไร จาก Risk Vs
  Return อยู่ในระดับน่าสนใจอีกครั้ง ส่วนหุ้นที่มีโอกาสลงได้อีก TOP IRCP)

สรุปหุ้นในกระแส :
  Earning play : กลุ่มแบงก์ที่มีโอกาสปรับกาไรขึ้น KTB KBANK TMB
  Events play : CPALL Upside risk จากการขายหุ้น MAKRO, BTS ข่าวคืบหน้าการประมูล รฟฟ.ปักกิ่ง
  กระแสข่าวควบรวมกิจการ EFORL SST โรงพยาบาล IFEC GUNKUL
  หุ้น Story Turnaround: EFORL IFEC RML PSL

นักวิเคราะห์ : วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336

 

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตลาด
ธปท.ชี้ภาคครัวเรือนยังเปราะบาง ห่วงความสามารถชาระหนี้ลด
 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท) เผยเสถียรภาพเศรษฐกิจกลุ่มที่ไม่ใช่สถาบันการเงินเปราะบางขึ้น ผลจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยเฉพาะภาคครัวเรือนสะท้อนผ่านความสามารถชาระหนี้ลดลง แนะติดตามสถานการณ์หลังภาพการเมืองชัดเจน หวังความเชื่อมั่นกลับด้าน "โฆสิต"มองเศรษฐกิจไทยโตต่ากว่า 4% ไปนาน 5-10 ปี หลังประชานิยมกัดกร่อนศักยภาพการแข่งขันภาคเอกชน ขณะที่สินเชื่อไม่ควรโตเกินเศรษฐกิจ ชี้อาจเป็นเหตุไปสู่วิกฤติอีกรอบ (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ)

บจ.เมินตัดจีเอสพี CPF-DELTA-PCSGH-SAT ยันไม่กระทบพร้อมรับมือ
  4 บจ.ไม่กังวลหากสหรัฐและยุโรปตัดสิทธิประโยชน์ทางศุลกากรกับไทย นายพิสิฐ โอมพรนุวัฒน์ รองประธานคณะบริหาร และประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ สายธุรกิจการค้าต่างประเทศ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) เปิดเผยถึงกรณีที่ทางสหรัฐหรือกลุ่มสหภาพยุโรปจะตัดสิทธิประโยชน์ทางศุลกากร(GSP) ต่อประเทศไทยว่า บริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบต่อกรณีดังกล่าวแต่อย่างใดเนื่องจากตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ยุโรปได้แจ้งผู้ส่งออกกุ้งไทยมาตลอดว่าต้นปี 2557 การส่งออกกุ้งสุกของไทยก็ต้องเสียภาษีศุลกากรเต็มที่แบบเดิมที่ 8% (หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์)

บลจ.ทหารไทยปรับเป้ากาไรบจ.โต มองท่องเที่ยวฟื้น-จับจ่ายใช้สอยเพิ่ม
  บลจ. ทหารไทยมองหุ้นครึ่งปีหลังยังแจ่มลุ้น 1,550-1,600 จุดคาดบจ. ฟื้นปรับเป้ากาไรโต 10-15% นายไพศาล ครุฑดารงชัย รองกรรมการผู้จัดการสายงานที่ปรึกษาการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2557 คาดว่าดัชนีหุ้นไทยยังปรับตัวขึ้นได้ต่อจากกาไรบริษัทจดทะเบียนที่คาดว่าจะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังจากการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว การจับจ่ายใช้สอยที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมและทาให้กาไรบริษัทดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารพาณิชย์ (หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์)

ทะลวงงบล้างท่อได้ผล คลังกู้ชดเชย 6 หมื่นล้านบาท
  คลังกู้ชดเชยอีก 6 หมื่นล้านบาท ตุนเงินรับมือเบิกจ่ายขยายตัวเบรกการบินไทยออกหุ้นกู้ขายต่างชาติ นางจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อานวยการสานักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า สบน. จะกู้เงินเพื่อชดเชยขาดดุลงบประมาณปี 2557 อีก 6 หมื่นล้านบาทซึ่งทาให้การกู้ชดเชยขาดดุลเต็มจานวน2.5 แสนล้านบาท จากก่อนหน้านี้ที่คาดว่าจะกู้ไม่เต็มจานวน เพราะการเบิกจ่ายในช่วงที่ผ่านมาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แต่หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ มีการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบของหน่วยงานต่างๆ (หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์)

สารพัดปัจจัยเสี่ยงกระหน่าส่งออกไทยวูบ
  ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุในรายงานนโยบายการเงินฉบับเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมาถึงสาเหตุที่ ธปท. ลดเป้าหมายการส่งออกปีนี้เหลือ 3% จากเดิมที่คาดไว้ 4% ว่ามาจากปัจจัยความเสี่ยงทั้งภายนอกและภายในประเทศ จากข้อมูล 4 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกหดตัว 0.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน แตกต่างจากประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชีย ที่มีแนวโน้วการฟื้นตัวของการส่งออกค่อนข้างชัดเจนทาให้การส่งออกของไทยไม่สามารถแสดงศักยภาพในการเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างที่หลายฝ่ายคาดหวัง (หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์)
นักวิเคราะห์ : ชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ Tel. (662) 618-1330-1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!