WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.โกลเบล็ก : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

Market View : แนวต้าน เป้าหมาย 1,535-1,540
Technical : แนวรับ 1,523 /1,507 แนวต้าน 1,540 / 1,551
หุ้นแนะนำพิเศษ : CPN แนวรับ 48.75/47.75 แนวต้าน 50/52
หุ้นเด่นรายวัน : PS GRAND ECF

      วันพุธตลาดหุ้นไทยปิดบวก 5.89 จุด Fund Flow ยังช่วยหนุน แม้เจอขายทำกำไรสลับเข้ามาบ้าง ดัชนี SET ปิดที่ 1,530.42 จุด เพิ่มขึ้น 5.89 จุด (+0.39%) มูลค่าการซื้อขาย 43,189.66 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 1,316.41ล้านบาท
แนวโน้มตลาดหุ้นไทย ทางฝ่ายวิจัย บล.โกลเบล็กฯ คาดมีแนวโน้มผันผวนในกรอบ 1,500-1,540 แรงซื้อเก็งกำไรกลับเข้าตลาดในลักษณะของการเล่นรอบระหว่างวัน (หลังการทดสอบแนวต้าน 1,535-1,540 คาดระยะสั้นมีโอกาสผ่านขึ้นไปได้) ทั้งนี้ตลาดยังไม่มีปัจจัยลบที่ชัดเจนเข้ามากระทบตลาด ยกเว้นเรื่องความกังวลต่อทิศทางอัตราดอกเบี้ยและมาตรการQEของสหรัฐฯ ในขณะที่ SET50 ระยะสั้นมีแนวต้าน 1,031-1,033 ผ่านขึ้นมาได้เป็นสัญญาณบวกต่อการดำรงรูปแบบขาขึ้นตามแนวโน้มความชันSMA (Bullish) แนวรับรับสำคัญSMA5วันและGAPแนวรับ 1,021-1,020 GFQ14 เก็งกำไรในกรอบ 19,850-20,200 GFV14 เก็งกำไรในกรอบ 19,920-20,050
      กลยุทธ์ แรงซื้อ-ขาย หรือปริมาณการซื้อขายมีการปรับเปลี่ยนรายหลักทรัพย์หรือรายกลุ่มหลักทรัพย์ โดยเข้าซื้อระยะสั้นในกลุ่มที่ปรับตัวขึ้นน้อยกว่าโดยเปรียบเทียบ เช่น กลุ่มขนส่ง AOT RCL BECL กลุ่มสื่อสาร ADVANC TRUE JAS กลุ่มธนาคารมีแนวโน้มผันผวนลงในระยะสั้น เป็นจังหวะในการเข้าซื้อเล่นรอบ หากปรับลงแรงซื้อถือระยะสั้นเพิ่ม ฝ่ายวิจัยฯคาดตลาดจะเริ่มปรับใช้ราคาพื้นฐานใหม่ที่มีUpsideสูงขึ้นโดยใช้ราคาของปี 2558 กลุ่มพลังงาน GUNKUL SPCG PTTEP หุ้นรายหลักทรัพย์ TASCO CPN PAE DRT TSR ระยะกลาง ถือ และซื้อเพิ่มเมื่อปรับตัวลงแรง

หุ้นแนะนำพิเศษ
     CPN (ราคาปิด 49.50 ซื้อเป้าปี 57: 65 บาท) รายได้มีศักยภาพเติบโตต่อเนื่องจากแผนการเปิดศูนย์การค้าใหม่ปีละ 2-3 แห่ง เดือนส.ค.จะเปิดดำเนินการสาขาศาลายา ปี 58 จะเปิด 3 แห่ง ได้แก่ สาขาระยอง สาขาเวสต์เกต-บางใหญ่ และสาขาถนนเลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา ปี 59 จะเปิดสาขาโคราช และอีก 3 แห่งที่ยังไม่เปิดตัว ส่วนสาขามาเลเซียซึ่งถือหุ้น 60% จะเลื่อนไปเปิดในปี 60 ทำให้พื้นที่ให้เช่าเพิ่มขึ้น 31% จาก 1.29 ล้านตารางเมตรเมื่อปลายปี 56 เป็น 1.69 ล้านตารางเมตรในปี 59 แผนการลดสัญญาเช่าพื้นที่ระยะยาวเพิ่มสัญญาเช่าระยะสั้นทำให้อัตราค่าเช่ารวมปรับเพิ่มขึ้น ฝ่ายวิจัยคาดกำไรปกติปี 57 ราว 7.4 พันล้านบาทเติบโต 18%YoY โดยมีupside ได้อีกจากการขายเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่ แอร์พอร์ตเข้ากองทุน CPNRF มูลค่า 10,496 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีกำไรราว 4.2 พันล้านบาทบันทึกใน2Q57 แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะบันทึกครั้งเดียวหรือทยอยตัดจ่ายตลอดอายุเช่า 30 ปี

 

หุ้นเด่นรายวัน
       PS (ราคาปิด 33 ซื้อ เป้า consensus 23-38 ) ยอดขายทาวน์เฮาส์ในช่วง 2Q57 สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 5,594 ล้านบาท เติบโต 56%QoQ และ 31%YoY โดยมีส่วนแบ่งตลาดทาวน์เฮาส์สูงสุด ทั้งนี้ในครึ่งปีแรกเปิดโครงการทาวน์เฮาส์ใหม่ 20 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 12,602 ล้านบาท พร้อมลุยเปิดโครงการเพิ่มอีก ทั้งนี้แต่ละโบรกต่างอยู่ระหว่างการปรับทบทวนประมาณการกำไรสุทธิและราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้น จากยอดขายที่ฟื้นตัวดีมาก

      GRAND (ราคาปิด 1.78 ซื้อเก็งกำไร) กำไร 2Q57 มีแนวโน้มสดใสจากการโอนคอนโดมิเนียม "ไฮด์ สขุมวิท" สูงเกินคาด 2.3-2.5 พันล้านบาท อานิสงส์จากผลประกอบการครึ่งปีแรกที่ดีทำให้อาจมีการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลครั้งแรก ล่าสุดเตรียมทุ่มงบ 1 พันล้านบาท เทกโอเวอร์โรงแรมที่พัทยา ก.ย. 57 เปิดโครงการใหม่ 2 แห่งหนุนกำไรปี 2558-2559 โตกระโดด (ที่มา : ทันหุ้น)
ECF (ราคาปิด 3.14 ซื้อเก็งกำไร) ผลงานครึ่งปีแรกโตตามแผน รับออเดอร์ลูกค้าไหลเข้าต่อเนื่อง ขณะที่ครึ่งปีหลังเข้าสู่ไฮซีซั่นธุรกิจจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ มั่นใจรายได้ทั้งปีโต 15% ตุน backlog ที่จะบันทึกเป็นรายได้ปีนี้กว่า 500 ล้านบาท ลุยขยายโชว์รูม ELEGA พร้อมเดินหน้าเจรจากับพันธมิตรใหม่ในประเทศญี่ปุ่น คาดออเดอร์เริ่มเข้า เดือนก.ย. และรับรู้รายได้ใน 4Q57 (ที่มา : ข่าวหุ้น)

ปัจจัยบวก
      + ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) เปิดเผยในรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของสหรัฐกระเตื้องขึ้นในทุกภูมิภาคในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยการใช้จ่ายของผู้บริโภคมีความแข็งแกร่ง
      + สหรัฐ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านสหรัฐเพิ่มขึ้น 4 จุด แตะ 53 ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. และดีกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 50 เนื่องจากตลาดแรงงานแข็งแกร่งขึ้นจนทำให้ผู้สร้างบ้านเชื่อว่ามีแนวโน้มที่จะขายบ้านได้มากขึ้น ดัชนีที่สูงกว่า 50 นั้น บ่งชี้ว่ากลุ่มผู้สร้างบ้านมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดมากกว่าในเชิงลบ
     + สหรัฐรายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิ.ย.ขยายตัวปานกลาง โดยปรับขึ้น 0.2% แต่ลดลงจากที่ขยายตัว 0.5% ในเดือนพ.ค และต่ำกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.3% อย่างไรก็ดี เป็นการขยายตัวครั้งที่ 4 ในรอบ 5 เดือนนับเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าการใช้จ่ายของภาคธุรกิจและผู้บริโภคกระเตื้องขึ้นอย่างช้าๆแต่มั่นคง ด้านอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนมิ.ย. ทรงตัวที่ระดับ 79.1% ใกล้เคียงกับคาดการณ์ที่ระดับ 79.2%
      + สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 0.4%MoM สูงกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.3% และสูงกว่าเดือนพ.ค.ที่ดัชนีหดตัว 0.2% ดัชนี PPI เดือนมิ.ย.ทะยานขึ้น 1.9%YoY ชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนพ.ค.ที่โต 2%YoY และเดือนเม.ย.ที่ขยายตัว 2.1% จากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและที่อยู่อาศัย
+ สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ยอดเกินดุลการค้าของยูโรโซนเดือนพ.ค. อยู่ที่ 1.54 หมื่นล้านยูโร หรือ 2.08 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้วที่ 1.46 หมื่นล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ ยอดการส่งออกของยูโรโซน เพิ่มขึ้น 0.6%MoM ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้น 0.5%MoM



ปัจจัยลบ
- ปัจจัยการเมืองที่ยังไม่ชัดเจนกดดันตลาดหุ้นไทยของนักลงทุนสถาบันต่างประเทศที่ห้ามการลงทุนในประเทศที่มีรัฐประหาร
- คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)เปิดเผยถึงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2557 (มกราคม-มิถุนายน 2557) ว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 534 โครงการ เงินลงทุนรวม 337,400 ล้านบาท โดยโครงการปรับลดลง 34.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มี 967 โครงการ ด้านเงินลงทุนปรับลดลง 43.7% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีมูลค่าอยู่ที่ 599,500 ล้านบาท

ปัจจัยที่ต้องจับตา
ในประเทศ
18 ก.ค. ในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนซึ่งจะมีการนำโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนที่ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการบีโอไอแล้ว จำนวน 12-15 ราย มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 90,000 ล้านบาท ให้ที่ประชุมพิจารณา โดยโครงการขนาดใหญ่จะเป็นการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้า และโครงการอีโคคาร์ 2 บางส่วน
เดือนก.ค.สภาผู้ส่งออกจะประกาศปรับลดคาดการณ์การส่งออก ซึ่งคาดว่าประมาณการส่งออกของประเทศไทยในปี 2557 อาจลดต่ำกว่าที่ประมาณการเติบโตที่ 3%
สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
สัปดาห์ที่ 3 ภายใน 21 ก.ค.หุ้นกลุ่มธนาคารจะรายงานผลการดำเนินงาน 2Q57
15-25 ก.ค. สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ออกพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษของกระทรวงการคลังในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท
สัปดาห์ที่ 4 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง / กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้าประจำเดือน
28 ก.ค. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)แถลงดัชนีอุตสาหกรรมประจำเดือน
29 ก.ค. ที่ประชุมคสช.จะพิจารณาตรวจร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 เพื่อเสนอต่อฝ่ายนิติบัญญัติต่อไป
31 ก.ค. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยประจำเดือน
เดือนก.ค.ไม่มีกำหนดประชุมของกนง.

 

ต่างประเทศ
17 ก.ค. ญี่ปุ่น เปิดเผยยอดขายซูเปอร์สโตร์ทั่วประเทศเดือนมิ.ย.
อียู เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิ.ย.
สหรัฐ เปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ / ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้าน-การอนุญาตก่อสร้างเดือนมิ.ย./ ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจเดือนก.ค.
18 ก.ค. ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินเดือนมิ.ย. ซึ่งคณะกรรมการได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงนโยบายผ่อนคลายด้านการเงินเพื่อกระตุ้น เศรษฐกิจ และชี้ว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวในระดับปานกลาง โดยมีอุปสรรคบ้างจากการปรับขึ้นภาษีการบริโภคเมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา
อียู เปิดเผยดุลการชำระเงินของยูโรโซนเดือนพ.ค./ ดุลการชำระเงินของสหภาพยุโรปช่วง 1Q57
สหรัฐ เปิดเผย ความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือนก.ค./ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนมิ.ย.
21 ก.ค. เยอรมนี เปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมิ.ย / ธนาคารกลางเยอรมนีเผยแพร่รายงานประจำเดือนก.ค.
สหรัฐ เปิดเผยดัชนีกิจกรรมการผลิตทั่วประเทศของสหรัฐเดือนมิ.ย.
29-30 ก.ค. ธนาคารกลางสหรัฐประชุมเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐอาจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยก่อนกำหนดจากเดือนมิ.ย.ปี 2558 เป็นเดือนมี.ค.ในปีเดียวกัน หลังตัวเลขจ้างงานออกมาดีกว่าคาดการณ์)

รายชื่อหลักทรัพย์ที่ติดเกณฑ์บัญชี Cash Balance
* RASA มีผลบังคับใช้ 9 มิ.ย. - 18 ก.ค. 57
* AJD / TFI / TH / TRUE / UV มีผลบังคับใช้ 16 มิ.ย. - 25 ก.ค. 57
* IFEC / PF / SLC มีผลบังคับใช้ 23 มิ.ย. - 1 ส.ค.57
* EFORL / TSF มีผลบังคับใช้ 30 มิ.ย. - 8 ส.ค.57
* BTC/ KC/ MAX/ NUSA/ TFD/ VIH / VTE มีผลบังคับใช้ 7 ก.ค. - 15 ส.ค. 57
* ABC / ACAP/ AQ / BKD/ EMC/ WIIK มีผลบังคับใช้ 14 ก.ค. - 22 ส.ค. 57
***เนื่องจากการลงทุนในหลักทรัพย์ ดังกล่าวมีการซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติของตลาดดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
ตลาดหุ้นดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 77.52 จุด
       ดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ปิดตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น 77.52 จุด เนื่องจากนักลงทุนขานรับรายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องนอกจากนี้ ดัชนียังได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐ โดยสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) ของสหรัฐ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านสหรัฐเพิ่มขึ้น 4 จุด แตะ 53 ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.ทำให้ปิดตลาดดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 77.52 จุด หรือ +0.45% ปิดที่ 17,138.20 จุด ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 4,425.97 จุด เพิ่มขึ้น 9.58 จุด หรือ +0.22% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 1,981.57 จุด เพิ่มขึ้น 8.29 จุด หรือ +0.42%

ตลาดน้ำมัน NYMEX เพิ่มขึ้น 1.24 เหรียญ
       ราคาน้ำมันดิบที่ตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 1.24 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐ (EIA) รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 ก.ค. ลดลง 7.5 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์ในตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะลดลงเพียง 2.5 ล้านบาร์เรล ขณะที่สต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง ซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมัน NYMEX ปรับตัวลดลง 600,000 บาร์เรล สู่ระดับ 20.3 ล้านบาร์เรล ทำให้ปิดตลาดราคาน้ำมันดิบที่ตลาดล่วงหน้า NYMEX เพิ่มขึ้น 1.24 ดอลลาร์ หรือ 1.2% ปิดที่ 101.2 ดอลลาร์/บาร์เรลส่วนน้ำมันดิบ BRENT ลดลง 17 เซนต์ ปิดที่ 105.85 ดอลลาร์/บาร์เรล

Analyst - ธวัชชัย 02-6725993 tawatchai@globlex.co.th
- วิลาสินี 02-6725937 wilasinee@globlex.co.th
- อาทิตย์ 02-6725946artit@globlex.co.th
Assistant - ณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!