WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน18-7-14

 

กลยุทธ์การลงทุน
       สายการบินมาเลเซียถูกยิงตกในพื้นที่ตะวันตกของยูเครน น่าจะสร้างความวิตกกังวลต่อนักลงทุน และกดดันตลาดหุ้นโลก แต่กลับหนุนราคาน้ำมันฟื้นตัวรอบใหม่ ซึ่งดีต่อ PTTEP(FV@B195) จึงเลือกเป็น Top pick เพราะราคาหุ้นยัง Laggard มี P/E ต่ำ และ Div Yield สูง

ตลาดหุ้นโลก มีปัจจัยกดดันรอบด้าน
      ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังคงฟื้นตัวแข็งแกร่ง สะท้อนจากผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก สิ้นสุดวันที่ 12 ก.ค. ลดลง 3,000 ราย สวนทางกับที่ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้นที่ระดับ 310,000 ราย สอดคล้องกับการรายงานก่อนหน้า กล่าวคือเดือน มิ.ย. การจ้างงานภาคเอกชน (เพิ่มขึ้น 281,000 ตำแหน่ง) และการจ้างงานนอกภาคเกษตร (เพิ่มขึ้น 288,000 ตำแหน่ง) ที่ดีขึ้นล้วนหนุนให้อัตราการว่างงานลดลงที่ระดับ 6.1% ห่างไกลจากระดับปกติคือ 5.5% ก่อนที่จะเกิดวิกฤติซับไพร์ม ไม่มากนัก และเชื่อว่าน่าจะหักล้างตลาดบ้านที่อ่อนตัวในระยะสั้น ๆ กล่าวคือ ยอดสั่งสร้างบ้านใหม่ เดือน มิ.ย. หดตัว 9.3%mom เช่นเดียวกับตัวเลขการขออนุญาตสร้างบ้าน ในเดือน มิ.ย. หดตัว 4.2%mom สวนทางกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามในระยะยาว เชื่อว่าตลาดบ้านจะกลับฟื้นตัวได้อีกครั้ง จากแรงหนุนของตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้าน ในเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ ม.ค. 2557 และดัชนีแนวโน้มยอดขายบ้าน สำหรับครอบครัวเดี่ยวในอีก 6 เดือนข้างหน้า เพิ่มขึ้นเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่ ก.ย. 2556
        ด้วยเหตุนี้ทำให้ตลาดยังมีความคาดหวังว่า FED จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้นกว่าเดิม หลังจากที่คงที่มานาน 5 ปี คือระหว่างช่วง 1Q58 - 3Q58 เป็นไปในทิศทางเดียวกับ FED สาขาเซ็นหลุยส์ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในงวด 1Q58 ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่ยังกดดันตลาดในอนาคตอันใกล้

ราคาน้ำมันฟื้นตัวรอบใหม่ จากปัญหาความขัดแย้งในแหล่งผลิตน้ำมันของโลก
       ขณะที่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ได้ทวีความตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง หลังจากเมื่อวันพุธที่ผ่านมา สหรัฐได้เพิ่มมาตรการคว่ำบาตรโดยพุ่งเป้าไปที่บริษัทขนาดใหญ่ของรัสเซีย รวมถึงบริษัทผู้ผลิตน้ำมันขนาดใหญ่ที่สุดของรัสเซีย (จากที่ผ่านมาเน้นที่ตัวรายบุคคลที่เป็นผู้นำ และผู้สนับสนุนสำคัญๆ) ข่าวล่าสุด ผลการประชุมของผู้นำสหภาพยุโรป (EU) ได้ตัดสินใจเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย โดยครั้งนี้ได้ขยายไปถึงสถาบันการเงิน รวมถึงองค์กรต่างๆ ที่สนับสนุนการเงินและความช่วยเหลือต่อรัสเซีย นอกจากนี้เหตุการณ์ล่าสุดเป็นการซ้ำเติมปัญหาความขัดแย้งคือ เหตุการณ์ที่สายการบินของมาเลเซีย ถูกกลุ่มกบฏที่ฝักใฝ่รัสเซียยิงตกในภาคตะวันออกของยูเครน ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดการสู้รบ น่าจะเพิ่มแรงกดดันต่อภาวะราคาน้ำมันโลกอีกครั้ง เนื่องจากรัสเซียเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก เนื่องจากน้ำมันดิบและก๊าซ ส่วนใหญ่ของรัสเซียถูกส่งออกไปยังยุโรปโดยผ่านทางยูเครน ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่ารัสเซียอาจจะตอบโต้ โดยการยุติการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติไปยังยุโรป ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนพลังงานทันที
     ขณะที่การรายงานสต๊อกน้ำมันดิบของ กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ (EIA) พบว่าลดลงถึง 7.53 ล้านบาร์เรล (ลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน) ลงสู่ระดับ 375.0 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงเพียง 2.5 ล้านบาร์เรล ตรงกันข้ามกับสต๊อกน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น กล่าวคือ สต๊อกน้ำมันเบนซินกลับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.71 แสนบาร์เรล อยู่ที่ 214.5 ล้านบาร์เรล และน้ำมันเชื้อเพลิงอื่น ๆ (heating oil) เพิ่มขึ้น 2.53 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 124.3 ล้านบาร์เรล เนื่องจากมีการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันสำเร็จรูป
      สถานการณ์ความตึงเครียดในยูเครน-รัสเซีย พร้อมๆ กับสถานการณ์ความรุนแรงในตะวันออกกลาง ยังมีอยู่ ล้วนส่งให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้าต่างปรับตัวขึ้นอย่างมาก กล่าวคือ ตลาดล่วงหน้า WTI ส่งมอบเดือน ส.ค. เพิ่มขึ้นแตะ 103.73 เหรียญฯต่อบาร์เรล เช่นเดียวกับ Brent ที่ราคาเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 107.09 เหรียญฯต่อบาร์เรล ขณะที่ดูไบลดลงเล็กน้อย ราว 104.15 เหรียญฯต่อบาร์เรล อีกทั้งยังมีปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากกรณีเครื่องบินตกในยูเครน ซึ่งน่าจะหนุนราคาน้ำมันให้อยู่ในระดับที่สูงกว่าสมมติฐานของ ASP ที่ 100 เหรียญฯต่อบาร์เรล และเป็นผลบวกต่อ PTTEP(FV@B195)

ต่างชาติเริ่มชะลอซื้อภูมิภาค แต่ยังคงซื้อหุ้นไทยต่อเนื่อง
       แม้ว่าวานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 5 แต่ยอดการซื้อกลับลดลงจากวันก่อนหน้า 11% เหลือราว 268 ล้านเหรียญฯ โดยเป็นลดลงถึง 4 วันติดต่อกัน และมีการสลับขายสุทธิออกมาในบางประเทศ คือ ไต้หวัน สลับขายสุทธิออกมาราว 78 ล้านเหรียญฯ หลังจากที่ซื้อสุทธิติดต่อกัน 2 วันก่อนหน้า และ ฟิลิปปินส์ สลับมาขายสุทธิเล็กน้อยราว 4 ล้านเหรียญฯ (ซื้อ 2 วันก่อนหน้าเช่นกัน) สวนทางกับ เกาหลีใต้ ที่ยังคงซื้อสุทธิอย่างหนักราว 247 ล้านเหรียญฯ (ซื้อต่อเนื่องเป็นวันที่ 6, เพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้า 69%) ตามมาด้วยไทย ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8 ราว 58 ล้านเหรียญฯ (1.9 พันล้านบาท, เพิ่มขึ้น 42%) และสุดท้ายคืออินโดนีเซีย ซื้อต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 เช่นกัน แต่ลดลง 39% เหลือราว 45 ล้านเหรียญฯ
        เป็นที่สังเกตว่า แม้ยอดซื้อต่างชาติลดลงต่อเนื่องแต่เป็นการเลือกซื้อสุทธิอย่างหนักในบางประเทศ และเลือกขายออกมาบางประเทศเช่นฟิลิปปินส์ที่ถูกซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้านี้ ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ของไทย นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิอย่างหนักต่อเนื่อง โดยที่วานนี้ซื้อสุทธิเพิ่มเติมอีก 9.6 พันล้านบาท (ซื้อติดต่อกันเป็นวันที่ 15 รวม 1.02 แสนล้านบาท) ซึ่งน่าจะยังหนุนให้เงินบาทอยู่ในระดับแข็งค่า และ เป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นไทยในระยะสั้น

เลือกขายหุ้นรายตัว TPIPL ใกล้ Fair Value แล้ว
       หลังจากทำ Preview earnings หุ้น SCC(FV@B500) งวด 2Q57 อ่อนตัวกว่าคาด ทำให้นักวิเคราะห์ ASP ได้ปรับลดประมาณการกำไรของ SCC ลงจากเดิม 14% พร้อมกับปรับ Fair Value ลงจากเดิมลง 4% แต่ยังแนะนำซื้อ เพราะระยะยาวยังเป็นหุ้นที่แข็งแกร่งที่สุด และยังเป็นหุ้นวัสดุก่อสร้างที่โดดเด่นที่สุดในอาเซียน อย่างไรก็ตามราคาหุ้น SCC ได้ตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจนไปแตะ 480 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา หรือเพิ่มขึ้น 17% ในช่วงเกือบ 2 เดือน จึงน่าจะเห็นราคาหุ้น SCC อ่อนตัวลงอีกระยะหนึ่ง ส่วนหุ้นถัดไปที่คาดว่าสถานการณ์น่าจะคล้ายกับ SCC คือ TPIPL ซึ่งนักวิเคราะห์ ASP คาดการณ์กำไร 2Q57 และ 3Q57 จะชะลอตัว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการเมืองในช่วงที่ผ่านมา และผลของฤดูกาล เนื่องจากฝนตกในไตรมาส 3 ของทุกปี ทั้งนี้คาดว่างวด 2Q57 จะมีกำไร 306 ล้านบาท ลดลง 44% จากงวด 1Q57 และลดลง 9% จากงวด 2Q56 อย่างไรก็ตามยังคงประมาณการเดิม ขณะที่ราคาหุ้นพุ่งขึ้นติดต่อกัน 3 วัน จนเข้าใกล้ Fair value ที่ 14.23 บาท ปรับลดคำแนะนำจาก ซื้อ เป็น ถือ ส่วนนักลงทุนระยะสั้นน่าจะใช้จังหวะนี้ขายหุ้น TPIPL ไปก่อน

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!