WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

เสี่ยงขาลงจากการเมืองร้อนแรงขึ้น
Highlight
       ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดลง (ยกเว้นญี่ปุ่น) โดยได้รับแรงกดดันจากคำกล่าวประธานาธิบดีจีนที่ว่า จีนต้องมีการเติบโตทางเศรษฐกิจในอัตราที่ชะลอลงต่อไปจากนี้
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ สหรัฐ งบประมาณของรัฐบาลกลางเดือน เม.ย. , จีนยอดค้าปลีกเดือน เม.ย. คาด 12.2% yoy (12.2% มี.ค.), การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. คาด 8.9% yoy (8.8% มี.ค.)
      -วันทำการล่าสุด นักลงทุนต่างชาติกลับมาขาย -1.86 พันลบ (จากที่ซื้อ +1.17 พันลบ.) ส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศกลับมาซื้อ +565 ลบ. (จาก
ขายสะสม 2 วัน รวม -1.48 พันลบ.)
   -การเมือง วันนี้กกปส. ย้ายเวทีไปราชดำเนิน ขีดเส้นวันนี้เสนอนายกฯ คนกลางมาตรา 7 ด้านวุฒิสภาวันนี้นัดหารือทางออกประเทศ นปช. โต้สุรชัยไม่มีอำนาจ ยังไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานวุฒิฯ
คาดดัชนีฯ สัปดาห์นี้ ยังอยู่ในช่วงขาลง โดยเฉพาะต่ำกว่า 1370-1375 จุด แนวรับย่อย 1350 จุด การเมืองร้อนแรงขึ้น ทั้งเรื่องของการชุมนุม และเรื่อง
ข้อกฎหมาย
      กลยุทธ์: รายเดือน แนะนำ ทยอยขายลดพอร์ต (ถือเงินสด 60%) ส่วนระยะสั้น แนะนำ รอซื้อเล่นรีบาวด์ บริเวณแนวรับ 1350 จุด เลือกหุ้นปันผลดี

 

หุ้นในกระแส:
หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 2.0%) ได้แก่ SUPER GOLD TWS KTC BJC TRUE ICHI UV หุ้นที่ลงกว่า 3% PAF STA BWG SAT SYNTEC CENTEL SAWAD MACO BEC ESSO
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ BBL+146 GL+124 TRUE+123 IVL+120 ด้านขาย KBANK-329 CPALL-200 DTAC-132
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ KBANK 67 AOT 39 ADVANC 36
หลักทรัพย์ที่ขึ้นเครื่องหมาย XD วันจันทร์ BLA DTAC PSL วันพุธ QHPF

 

Market Outlook
     คาดดัชนีฯ สัปดาห์นี้ มีความเสี่ยงขาลงต่อเนื่องแนวรับ 1370/1350 จุด การเมืองร้อนแรงขึ้น ทั้งการชุมนุมและข้อกฎหมายในหลายประเด็น ต่างชาติกลับมาขายหลัง Fund flow เริ่มไหลออก
     คาดดัชนีฯ สัปดาห์นี้ ยังมีความเสี่ยงขาลง โดยแนวรับที่ 1370/1350 จุด ปัจจัยกดดันหลักจากการเมืองในประเทศ หลังกลับมาเพิ่มความร้อนแรง โดยความเสี่ยงมาจากเหตุรุนแรงจากการประท้วง และความไม่แน่นอนในแง่ข้อกฎหมายในหลายประเด็น (ความเป็นได้ของการแต่งตั้งนายกฯ คนใหม่, นายกฯ มาตรา 7, ประธานวฺฒิสภา รวมถึงประเด็นการกำหนดวันเลือกตั้ง) ด้านปัจจัยต่างประเทศคาดสัปดาห์นี้ ความเสี่ยงยังมาจากปัญหายูเครนยังตึงเครียด หลังการโหวตแบ่งแยกดินแดนของสองเมือง แนะนำ รอทยอยซื้อคืนหรือเล่นเก็งกำไรบริเวณแนวรับ 1350 จุด เน้นหุ้นกลุ่ม Defensive ที่มีปันผลดี
สัปดาห์นี้ (12-16 พ.ค.) เราคาดว่า ขาลงของดัชนีฯจะมีต่อเนื่อง โดยสัญญาณขายจะเกิดขึ้นหากดัชนีฯ หลุด 1370-1375 จุด (เส้น SMA ระยะยาว 50/200 วัน) โดยมีแนวรับย่อยต่อไปที่ 1350 จุด หากการเลือกตั้งครั้งใหม่มีแนวโน้มที่จะถูกเลื่อนออกไปจากกำหนดการเดิม (20 ก.ค.) รวมถึงประเด็นนายกฯ มาตรา 7 ตามข้อเรียกร้องของ กปปส. และคาดว่าจะมีการส่งศาลรธน.ตีความประเด็น รักษาการนายกฯ คนใหม่ นิวัฒน์ธำรงสามารถเป็นผู้ถวายราชกฤษฎีกาทูลเกล้าเรื่องการเลือกตั้งได้หรือไม่ (ข่าวร้ายมากๆจะเกิดขึ้น หากตีความว่าไม่ได้ เพราะจะทำให้เกิดสุญญากาศการเมืองมีสูงขึ้น) ส่วนประเด็นอื่นๆ จับตา 1.กระแส Fund Flow อาจชะลอหรือกลับมาเป็นขายสุทธิ หลังข้อมูลล่าสุดจาก EFPR แจ้งว่า การลงทุนใน GEM funds เป็นสัปดาห์แรกที่กลับมาขายสุทธิ -$658mn. (Vs 5 สัปดาห์ก่อนหน้า ซื้อสะสม +$9.8bn.) 2. MSCI Quarterly Review คาดมีผลกระทบต่อหลักทรัพย์ที่ถูกเพิ่ม/ถอด ออกจากการคำนวณ 3. 1Q57F Earnings Results ทุกบจ.จะรายงานกำไรในวันที่ 15 พ.ค. 4. รายงานเศรษฐกิจญี่ปุ่นและยุโรป 1Q57F GDP และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ
      สัปดาห์ที่ผ่านมา (5-9 พ.ค.) พบว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง -3.1%w-w เป็นผลจากความเสี่ยงการเมืองที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเด็นการเลือกตั้งใหม่ จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ และจะยืดระยะเวลาไปนานขนาดไหน หลังรักษาการนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ต้องออกจากตำแหน่งตามคำสั่ง ศาลรธน.และป.ป.ช. ที่มีคำตัดสิน นายกฯและ 9 รมว. มีความผิดกรณีโยกย้ายคุณถวิล และชี้มูลว่า นายกฯ มีความผิดกรณีจำนำข้าว ตามลำดับกลุ่มอสังหาฯ สื่อโฆษณา เป็น 2 กลุ่มที่มีการปรับลดลงแรง จากคาดว่าจะได้รับผลกระทบต่อผลกำไรสูงสุดหากการเลือกตั้งครั้งใหม่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามคาดการณ์เดิม 20 กค. ส่วนกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ปรับตัวดีสุด คาดได้ผลบวกจากการกลับมาอ่อนค่ารอบใหม่ของสกุลบาท
       การเมืองในประเทศ คาดสัปดาห์นี้ร้อนแรงขึ้น ทั้งในแง่ของการชุมนุมจากทั้งสองกลุ่ม โดยกปปส. ย้ายเวทีชุมนุมจากบริเวณสวนลุมไปที่ราชดำเนิน และใช้ตึกสันติไมตรีเป็นศูนย์บัญชาการ พร้อมขีดเส้นตายข้อเรียกร้องนายกฯ มาตรา 7 ในวันนี้ หากไม่มีความคืบหน้าจะดำเนินการเอง นอกจากทั้ง ทั้ง 2 ฝ่ายต่างต่อสู้กันในแง่ข้อกฎหมาย โดยกปปส. กล่าวนิวัฒน์ธำรงไม่มีอำนาจนายกฯ รักษาการณ์ พร้อมเรียกร้อง วุฒิสภาเสนอนายกฯ คนใหม่ตามมาตรา 7 ด้านพรรคเพื่อไทยอ้าง สุรชัยยังไม่รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธานวุฒิสภาคนใหม่ และไม่มีอำนาจในการเสนอชื่อนายกฯ และวุฒิสภาไม่สามารถเลือกประธานวุมฒิในการประชุมสมัยวิสามัญ พร้อมเตรียมส่งเรื่องให้กฤษฎีกาลงความเห็น
ปัจจัยต่างประเทศ แรงกดดันยังมาจากความตึงเครียดในยูเครน โดยวานนี้เมืองโดเนตส์ทางตะวันออกของยูเครนทำประชามติเพื่อแบ่งแยกตัวเป็นอิสระ ซึ่งได้รับเสียงสนับสนุนการแบ่งแยกถึงร้อยละ 90 ท่ามกลางการปะทะกันระหว่างกองทัพยูเครนและกลุ่มสนับสนุนรัสเซียยังที่มีอย่างต่อเนื่อง โดยการลงประชามติครั้งนี้ถูกกล่าวว่าผดกฎหมายจากฝ่ายยูเครน ยุโรปและสหรัฐฯ ขณะที่ยูเครนพยายามจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 25 พ.ค. นี้
ด้านเศรษฐกิจต่างประเทศ โดยรวมยังมีทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยสัปดาห์นี้จะมีการประกาศจีดีพีไตรมาส 1/57 ของญี่ปุ่นและยุโรป ซึ่งตลาดคาดว่าทั้งญี่ปุ่นและยุโรปจะประกาศจีดีพีปรับตัวขึ้นจากไตรมาส 4/56 โดยคาดญี่ปุ่นโต 1.0% qoq และยุโรปโต 0.4% qoq
      กลยุทธ์ลงทุน: ทยอยขายทำกำไร สำหรับการลงทุนระยะ 2 เดือน (ความเสี่ยงขาลงอยู่ที่ 1314/1300 จุด) ส่วนการลงทุนระยะสั้น ระยะสั้น แนะนำทยอยซื้อบริเวณแนวรับ 1350 จุด เน้นหุ้นปันผลดี ยิลด์เฉลี่ยสูงกว่า 4% จากการคาดว่าจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงขาลงจำกัด แนะนำ BTS INTUCH ADVANC
*ระยะเดือน (ดูรายงาน Monthly เดือน พ.ค.) ถือเงินสด 60% ของพอร์ต เน้นเลือกลงทุนหุ้นปันผลสูง มีประเด็นบวก แนะนำลงทุน BTS INTUCH (Dividend Play) GFPT PSL BANPU IVL (Global play) STPI TTCL JAS RS (ประเด็นบวกระยะสั้น)


ทางเทคนิค : โอกาสปรับฐานต่อเนื่องหากหลุด 1370 จุด
      ภาพใหญ่ระยะ 2 ปี ของทิศทางดัชนีฯ ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ใน Downtrend Channel กรอบ 1150-1400 จุด ส่วนระยะสั้น ดัชนีฯ มีแนวโน้มอ่อนตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะหากหลุดแนวรับเส้นค่าเฉลี่ยระยะกลาง-ยาว (SMA 50/200 วัน) ที่บริเวณ 1370-1375 จุด โดยมีแนวร้บย่อยลุ้นรีบาวด์บริเวณ 1350 จุด ขณะที่แนวรับหลักอยู่ที่ 1314/1300 จุด

ประเด็นจับตา
-1. ประเด็นการเมือง: วันนี้วุฒิสภาหารือทางออกประเทศ, กปปส. เรียกร้องนายกฯ มาตรา 7
ประเด็นการเมือง (Update):
ศาลชี้ไม่มีในรธน.ให้เสนอนายกฯม.7 จากกรณีกปปส. เสนอให้นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ว่าที่ประธาน ส.ว.ร่วมหารือประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธาน กกต.เพื่อหาบุคคลเป็นกลาง เสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญฯ ม.7 ผู้พิพากษาอาวุโสท่านหนึ่งจากศาลยุติธรรม แสดงความเห็นมองว่าแนวทางดังกล่าวไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมือง
กปปส. ขีดเส้น12พ.ค.ต้องมีนายกฯใหม่, 'ยุบเวทีสวนลุมย้ายกลับราชดำเนิน กปปส.แถลง ว่า ขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในสภาพไม่มีรัฐบาลบริหารประเทศอีกต่อไป มีแต่รักษาการรองนายกฯ และรักษาการรัฐมนตรีเท่านั้น ปกติสภาผู้แทนราษฎรจะทำหน้าที่เลือกนายกฯ คนใหม่ทันที แต่ขณะนี้ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ฉะนั้นวุฒิสภาจึงเป็นองค์กรทางนิติบัญญัติองค์กรเดียวที่เหลืออยู่ หากในวันที่ 12 พ.ค.ไม่มีอะไรเกิดขึ้น จะลงมือทำด้วยตนเอง โดยในวันที่ 12 พ.ค.นี้ ตนเองจะนำผู้ชุมนุมไปปักหลักที่ทำเนียบรัฐบาลและถนนราชดำเนิน เพื่อฉลองชัยชนะ
'จตุพร'โต้'สุรชัย'ยังทำหน้าที่ปธ.วุฒิไม่ได้ โดยกล่าวว่านายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ที่ได้รับเลือกเป็นประธานวุฒิสภาด้วยคะแนน 96 ต่อ 51 เสียง ยังไม่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ก็ยังทำหน้าที่ไม่ได้ ต้องรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งเสียก่อน และในประเทศไทยมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้งประธานวุฒิสภาได้คนเดียวคือนายกฯ ดังนั้นการเลือกประธานวุฒิสภาเมื่อวานนี้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ขณะที่นายสุรชัย นัดสมาชิกวุฒิสภาหารือวันนี้ทางออกประเทศ
บึ้มใกล้ทำเนียบ-ทำร้ายรถไฟฟ้าสนามเป้าเจ็บ 3 ศูนย์เอราวัณ สรุปผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองของวันที่ 10 พ.ค. มีผู้บาดเจ็บ 3 คนจาก 2 เหตุการณ์ เหตุการณ์แรก เมื่อเวลาประมาณ 23.00 น.เกิดเหตุเสียงดังคล้ายระเบิดที่บริเวณใกล้ทำเนียบรัฐบาล และเหตุการณ์ที่สอง เมื่อเวลาประมาณ 23.24 น. ที่สถานีรถไฟฟ้าสนามเป้า มีผู้ถูกทำร้ายร่างกายเป็นชาย 1 คน อายุ 30 ปี มีบาดแผลถูกของมีคมบริเวณท้องและหน้าอก
หลายปท.แจ้งเตือนเลี่ยงพื้นที่ชุมนุมในไทย กระทรวงการต่างประเทศสรุปการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองไทยของประเทศต่างๆ ซึ่งยังมีหลายประเทศเตือนพลเมืองให้หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีการชุมนุมและตั้งแต่วันที่ 9 พ.ค. เป็นต้นไป สถานการณ์ตึงเครียดขึ้น ซึ่งรวมถึงสหรัฐฯ แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี

-2. Fund Flow : กองทุนหุ้นโลกกลับมาถูกไถ่ถอน
      Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา (1-7 พ.ค. 57) กระแสเงินทุนกลับมาไหลออกจากตลาดหุ้นโลก
โดยกองทุนในตลาดพัฒนาแล้วมีแรงไถ่ถอนสุทธิที่ -$8.6bn. (จากที่ซื้อติดกัน 5 สัปดาห์ +$21.9bn.) และมีแรงไถ่ถอนกองทุนในตลาดเกิดใหม่ -$707mn. (จากที่ซื้อติดกัน 5 สัปดาห์ +$7.6bn.) โดยเป็นการไถ่ถอนสูงสุดในกองทุนอเมริกาเหนือและ GEM ที่ -$11.7bn. และ -$658mn. แต่เป็นการซื้อสุทธิในกองทุน Global และยุโรป ที่ +$2.0bn. และ +$1.2bn.
แรงไถ่ถอนหน่วยลงทุนเอเชียฯไม่รวมญี่ปุ่น ชะลอลง, กองทุนไทยถูกไถ่ถอนต่อเป็นสัปดาห์ที่ 5
กองทุนเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นถูกไถ่ถอนน้อยลงที่ -$8mn (จาก -$477mn. ในสัปดาห์ก่อน) แต่ยังเป็นการไถ่ถอนต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 17 ใน 18 สัปดาห์หลังสุดรวม -$13.3bn. โดยเป็นการไถ่ถอนมากสุดในจีน ไต้หวันและญี่ปุ่น ทั้งนี้ กองทุนไทย ถูกไถ่ถอนที่ -$15.3mn เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนที่ -$7.7mn และต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 5 รวม -$69.8mn.)
ตลาดหุ้นไทยกลับมามีเงินไหลออกสุทธิจากที่เป็นบวกต่อเนื่อง 6 สัปดาห์
สัปดาห์ที่แล้ว ตามรายงาน EPFR เม็ดเงินกองทุนไหลออกจากตลาดหุ้นไทย -$19.5mn จากก่อนหน้านี้ที่ไหลเข้าสุทธิต่อเนื่อง 6 สัปดาห์รวม +$241.8mn ด้านตลาดหลักทรัพย์ฯ รายงานระหว่างสัปดาห์ 6-9 พ.ค. 57 นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ -2.36 พันล้านบาท และนักลงทุนสถาบันในประเทศขายสุทธิ -748 ล้านบาท

      2. การประกาศผลประกอบการ 1Q57F ของบจ. คาดว่าจะส่งผลต่อหลักทรัพย์รายบริษัทฯ ในสัปดาห์นี้
Thai-บจ. จะสิ้นสุดฤดูประกาศผลประกอบการภายในวันนี้นี้ (12 พค. – 15 พ.ค.) เด่นๆ ได้แก่ CPF INTUCH IVL LH BGH

USA: การประกาศผลประกอบการ 1Q57 ของบจ. สหรัฐฯ
      บจ. สหรัฐฯ ประกาศผลประกอบการส่วนใหญ่ออกมาแล้ว โดยรายงาน 453 บจ.ที่คำนวณในดัชนี S&P 500 ที่ผ่านมา พบว่า มีจำนวน 76% ที่รายงานกำไรดีกว่าคาด และ 53% รายงานรายได้ดีกว่าคาด โดยรายงานกำไรโดยเฉลี่ยดีขึ้น 5.5% yoy และรายได้ดีขึ้น 3.0% yoy ทั้งนี้ บริษัทฯ ใหญ่ที่จะทยอยประกาศผลประกอบการในช่วงสัปดาห์นี้ เช่น, CISCO, WAL-MARTฯลฯ

 

3. รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้
     ภายในสัปดาห์นี้: จีน ยอดสินเชื่อสกุลหยวน เดือน เม.ย. 8 แสนล้านหยวน (Vs 1.05 ล้านล้านหยวน ในมี.ค.)
วันจันทร์ : สหรัฐ งบประมาณของรัฐบาลกลางเดือน เม.ย. , จีน ยอดค้าปลีกเดือนเม.ย. คาด 12.2% yoy (12.2% มี.ค.), การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. คาด 8.9% yoy (8.8% มี.ค.)
วันอังคาร : สหรัฐ ราคานำเข้าและส่งออกเดือน เม.ย. (คาด +0.4%m-m Vs มีค +0.8%m-m) ยอดค้าปลีกเดือนเม.ย. (คาด +0.4%m-m Vs มีค +1.2%m-m) สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือน มี.ค. (คาด +0.4%m-m Vs ก.พ.+0.4%) เยอรมนี สำรวจภาวะเศรษฐกิจ สถาบัน Zew เดือน พ.ค. คาด 60.5 (59.5 มี.ค)
วันพุธ : สหรัฐ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือน เม.ย. (คาด 0.2%m-m Vs มีค 0.5%m-m) หรือ 1.6%y-y Vs 1.4%y-y ญี่ปุ่น จีดีพีไตรมาส 1/57 คาด 1.0% qoq (0.2% ไตรมาส 4/56)
วันพฤหัสบดี : สหรัฐ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน เม.ย. (คาด +0.3%m-m Vs มีค 0.2%) หรือ 2.0%y-y Vs มีค 1.5%y-y) ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) เดือน พ.ค. (คาด 5.5 Vs เมย 1.29) การผลิตภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังผลิตเดือน เม.ย. (คาด +0.2%m-m Vs มี.ค. +0.7% การใช้กำลังการผลิตคงที่ที่ 79.2%) เฟด สาขาฟิลาเดลเฟีย เปิดเผยผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจเดือน พ.ค. (คาด 15.4 Vs เมย 16.6) รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยุโรป จีดีพีไตรมาส 1/57 คาด 0.4% qoq (0.2% ไตรมาส 4/56) อัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย. คาด 0.3% qoq (0.2% มี.ค.)
วันศุกร์ : สหรัฐ ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน (คาด +1.015 ล้านยูนิต มีค +0.997 ล้านยูนิต) และการอนุญาตก่อสร้างเดือน เม.ย. รอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือน พ.ค. ยุโรป ดุลการค้าเดือน มี.ค. คาด เกินดุล 1.6 หมื่นล้านยูโร (1.36 หมื่นล้านยูโร ก.พ.)

 

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
      จีนเผยดัชนี CPI เดือน เม.ย. +1.8% ต่ำกว่าคาดการณ์ +2.0% จีนเผยอัตราเงินเฟ้อจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) อยู่ในระดับต่ำ ในเดือนเม.ย. ขณะที่การเพิ่มขึ้นของราคาอาหารได้ชะลอตัวลง ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ลดลงเป็นเดือนที่ 26 ติดต่อกัน ซึ่งสะท้อนถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 1.8% ในเดือนเม.ย.เมื่อเทียบรายปี ขณะที่ดัชนี PPI ลดลง 2.0% นักวิเคราะห์ในผลสำรวจของรอยเตอร์คาดว่า ดัชนี CPI จะเพิ่มขึ้น 2.0% และดัชนี PPI จะลดลง 1.8%
อังกฤษเผยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวสูงสุดรอบ 15 ปีใน Q1 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบเกือบ 15 ปีในไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งเป็นข่าวที่อาจจะหนุนความหวังที่ว่าเศรษฐกิจอังกฤษกำลังปรับสมดุลใหม่ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 1.4% ใน ไตรมาสแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นจาก 0.9% ในช่วงเดือนธ.ค.2013-ก.พ.2014

 

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
+ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวก ดาวโจนส์ทำสถิติปิดตลาดสูงสุด
     วันศุกร์ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวก โดยดัชนี DJIA ปิดบวกขึ้น 32.37 จุด หรือ 0.2 % สู่ 16,583.34 จุดดัชนี S&P 500 ปิดปรับขึ้น 2.85 จุด หรือ 0.15 % สู่ 1,878.48 จุด และ Nasdaq ปิดบวกขึ้น 20.374 จุด หรือ 0.5 % สู่ 4,071.869 จุด ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของตลาดหุ้นสหรัฐปรับขึ้นมาปิดตลาดที่สถิติระดับปิดสูงสุด ในวันศุกร์ โดยได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล บิสเนส แมชชีนส์ คอร์ป (IBM) ในขณะที่หุ้นกลุ่มที่มีผลกำไรเติบโตสูงและมักปรับตัวตามกระแสตลาด (โมเมนตัม) ดีดขึ้นในวันศุกร์ และช่วยหนุนตลาดหุ้นสหรัฐในวงกว้าง

- ตลาดหุ้นยุโรป ปรับลง ตามผลประกอบการน่าผิดหวัง
     วันศุกร์ ตลาดหุ้นยุโรปปิดลง FTSE ปิดร่วงลง 24.68 จุด หรือ 0.36 % สู่ 6,814.57 จุด โดยดัชนีร่วงลงตามหุ้นปิโตรแฟค ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการพลังงาน หลังจากปิโตรแฟคออกประกาศเตือนเรื่องผลกำไร ดัชนี CAC40 ปิดปิดอ่อนลง 29.96 จุด หรือ 0.66 % สู่ 4,477.28 จุด และ DAX ปรับลง 25.95 จุด หรือ 0.27 % สู่ 9,581.45 จุด เตเลโฟนิกาซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมของสเปนเปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวัง บริษัทราวสองในสามของดัชนี STOXX Europe 600 เปิดเผยผลประกอบการไตรมาสแรกออกมาแล้ว และบริษัทราวครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้เปิดเผยผลประกอบการที่อ่อนแอเกินคาด

 

-ราคาน้ำมันดิบ ปรับลดลง จากปัจจัยเทคนิค และการแข็งค่าของเงินดอลล์
      วันศุกร์ Brent ส่งมอบมิย. ปรับลง 15 เซนต์ สู่ 107.89 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ มิย.ร่วงลง 27 เซนต์ มาปิดตลาดที่ 99.99 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ได้รับแรงกดดันจากปัจจัยทางเทคนิค ซึ่งบดบังแรงหนุนที่ราคาน้ำมันได้รับจากตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบที่ลดลงในสหรัฐ คณะกรรมการการค้าสัญญาล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ (CFTC) ของสหรัฐรายงานว่า นักเก็งกำไรปรับลดปริมาณการถือครองสถานะซื้อสุทธิในน้ำมันดิบสหรัฐลงในช่วงสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 พ.ค. ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ด้วย โดยดัชนี ดอลลาร์เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินได้พุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบหนึ่งสัปดาห์ที่ 79.915 ในวันศุกร์

 

+/- ราคาทองคำ ทรงตัว หลังดอลลาร์แข็งค่าขึ้น แต่ยูเครนตึงเครียดหนุน
     วันศุกร์ ราคาสัญญาทองเดือนมิถุนายน ปิดตลาดขยับลง 10 เซนต์ สู่ 1,287.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์โดยราคาทองได้รับแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งของดอลลาร์สหรัฐ และจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีหน้า แต่ราคาทองคำลงไม่มากนัก หลังจากประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียเดินทางไปเยือนคาบสมุทรไครเมียเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่รัสเซียเข้ายึดดินแดนดังกล่าวมาจากยูเครน โดยเขาเดินทางไปดูขบวนพาเหรดในไครเมียที่จัดขึ้นในวันฉลองครบรอบชัยชนะของสหภาพโซเวียตในสงครามโลกครั้งที่สอง

 

- ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ปิดลดลง เป็นวันที่ 2
    วันทำการที่ผานมา ดัชนี Baltic Dry Index 11 จุดหรือ 1.09% สู่ระดับ 997 จุด หลังจาก ปี 56 พิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก (แนะนำ เก็งกำไร PSL TP Consensus 22.84-27.25 บาท TTA TP Consensus 22.83-27.25 บาท)

ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 Thanomsaks@ktzmico.com 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 Tidaratp@ktzmico.com 02-624-6270

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!