WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Kbank ปรด ดาวฉายKBANK คาดปี 59 สินเชื่อโต 6% ภายใต้คาดการณ์ GDP ไทยโต 3%,คุม NPL ปีนี้ 2.8%

    นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (KABNK) คาดว่า หากเศรษฐกิจไทยในปี 59 สามารถขยายตัวได้ตามค่ากลางของศูนยืวิจัยกสิกรไทยที่ประเมินการขยายตัวเศรษฐกิจ(GDP)เติบโต 3% จะทำให้สินเชื่อของธนาคารกสิกรไทยขยายตัวได้ 6% จากปีนี้ ซึ่งเป็นระดับเดียวกันกับปีนี้ ส่วนระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในปี 59 ของ KBANK นั้นยังไม่ได้ประเมิน แม้ว่าสัญญาณระดับหนี้ครัวเรือนสูงตามที่ศูนย์วิจัยกสิรไทยมองว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ในปีนี้ยังจะคุม NPL ให้อยู่ที่ 2.8% ตามเป้าหมาย

    "การแข่งขันเรื่องสินเชื่อในปีหน้าคงไม่ต่างจากเดิมมากนัก แต่จะไปเน้นการแข่งขันเรื่องการหารายได้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่จะแข่งขันกันรุนแรงมากขึ้น และธุรกรรมรุปแบบ Digital และ Mobile Banking จะเป็นสิ่งที่มาแรงอย่างมากในปีหน้า เพราะแต่ละคนพยายามทำให้ต้นทุนของตนเองลดลง"นายปรีดี กล่าว

     สำหรับ การขอเบิกวงเงิน Soft Loan ของ KBANK อยู่ระหว่างการทำเรื่องขอวงเงินกับธนาคารออมสินจำนวน 100 ล้านบาท โดยธนาคารจะพยายามทำให้กระบวนการเสร็จอย่างเร็วที่สุด เพื่อป้องกันลูกค้าของธนาคารไปใช้วงเงินของธนาคารอื่น ซึ่งลูกค้า 1 รายอาจจะเป็นลูกค้าของธนาคารมากกว่า 1 แห่งก็เป็นไปได้

     ส่วนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของนโยบายการเงิน (กนง.) ในปี 59 คาดว่าจะยังมีโอกาสปรับขึ้นได้อยู่ หากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯไปแล้ว ซึ่งการประชุมกนง.ในแต่ละปีมีทังหมด 8 ครั้ง ก็มีโอกาสที่จะพิจารณาปรับขึ้นได้ แต่ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น ส่วนปีนี้การประชุมกนง.ที่เหลืออีก 2 ครั้ง คาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.5% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

                อินโฟเควสท์

แบงก์ทำใจสินเชื่อหดตัว ชี้แข่งเดือดหารายได้จากค่าธรรมเนียม

     แนวหน้า : นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า คาดว่าสินเชื่อรวมในปี’59 จะเติบโตได้ 6% ใกล้เคียงกับปีนี้หากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี’59 สามารถขยายตัวได้ตามค่ากลางที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินไว้ที่ 3% แต่อย่างไรก็ตาม ระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) ในปี’59 ของ KBANK นั้นยังไม่ได้ประเมิน แม้ว่าสัญญาณระดับหนี้ครัวเรือนสูงตามที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ในปีนี้ทั้งปีจะยังจะคุม NPL ให้อยู่ที่ 2.8% ตามเป้าหมาย

     “ในปีหน้าจะไปเน้นการแข่งขันเรื่องการหารายได้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมที่จะแข่งขันกันรุนแรงมากขึ้น และธุรกรรมรูปแบบ Digital และ Mobile Banking จะเป็นสิ่งที่มาแรงอย่างมากในปีหน้า เพราะแต่ละคนพยายามทำให้ต้นทุนของตนเองลดลง แต่การแข่งขันเรื่องสินเชื่อในปีหน้าคงไม่ต่างจากปีนี้นายปรีดี กล่าว

  สำหรับ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) ในปี’59 คาดว่าจะยังมีโอกาสปรับขึ้นได้ หากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งการประชุม กนง.ในแต่ละปีจะมีทั้งหมด 8 ครั้ง ซึ่งก็มีโอกาสที่จะพิจารณาปรับขึ้นได้ แต่ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น ส่วนปีนี้การประชุม กนง.ที่เหลืออีก 2 ครั้ง คาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.50% ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน

    ด้านการขอเบิกวงเงิน Soft Loan ของ KBANK อยู่ระหว่างการทำเรื่องขอวงเงินกับธนาคารออมสินจำนวน 100 ล้านบาท โดยธนาคารจะพยายามทำให้กระบวนการเสร็จอย่างเร็วที่สุด เพื่อป้องกันลูกค้าของธนาคารไปใช้วงเงินของธนาคารอื่น ซึ่งลูกค้า 1 ราย อาจจะเป็นลูกค้าของธนาคารมากกว่า 1 แห่งก็เป็นไปได้

   ด้านนางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า สำหรับแนวโน้มสินเชื่อรวมทั้งระบบของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยช่วงไตรมาส 4/58 คาดว่าจะมีการปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3/58 จากปัจจัยด้านฤดูกาลจับจ่ายใช้สอยของภาคเอกชน และมาตราการของภาครัฐที่ออกมาตรการ Soft Loan เพื่อช่วยลดต้นทุนของลูกค้าผู้ประกอบการที่มีศักยภาพทางธุรกิจ และคาดว่าจะเห็นการเบิกใช้วงเงินบางส่วนภายในสิ้นปี’58

    อย่างไรก็ตาม คาดว่าสินเชื่อรวมทั้งระบบจะขยายตัวอยู่ที่ 4% ซึ่งต่ำกว่าที่ประเมินไว้ 5% เป็นผลมาจากสินเชื่อรายย่อยที่ขยายตัวช้ากว่าที่คาด หลังระดับหนี้ครัวเรือนมีสัญญาณปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งในไตรมาส 4/58 จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 82-82.5% จากไตรมาส 3/58 ที่ 1.4-81.8% อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของทั้งระบบปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 2.7% จากไตรมาส 3/58 ที่ 2.6% แต่ทางธนาคารพาณิชย์ก็คงนโยบายการควบคุม NPL เชิงรุกโดยการปรับโครงสร้างหนี้และตัดหนี้สูญเพื่อคุมระดับ NPL ให้ลดลง

   ส่วนสภาพคล่องของระบบในช่วงไตรมาส 4/58 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาครัฐมีความต้องการสภาพคล่องเพื่อไฟแนนซ์การขาดดุลงบประมาณและนำมาใช้เป็นเงินในโครงการลงทุนเพิ่มขึ้น ส่วนสถาบันการเงินแม้ว่าเศรษฐกิจที่ยังไม่ชัดคงทำให้เห้นการออมผลิตภัณฑ์การออมและการลงทุน ที่เน้นเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มและชดเชยผลิตภัณฑ์การออมที่ครบกำหนดไถ่ถอนเป็นหลัก

   นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ค่าเงินบาทในปี’59 อยู่ที่ 38 บาท/ดอลลาร์ จากสิ้นปีนี้อยู่ที่ 36.75 บาท/ดอลลาร์ หากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐหลังจากที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าจะปรับขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมาทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยทบทวนการปรับประมาณการค่าเงินบาทใหม่อีกครั้ง หากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐในอีก 3 เดือนข้างหน้ายังไม่ดีขึ้น และมีผลต่อการตัดสินใจคงดอกเบี้ยของเฟดต่ออีก

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!