WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

TTW Chaiwat'ไอแบงก์'ลั่น กลางปีได้พันธมิตรร่วมทุน ชี้จะลดสัดส่วนถือหุ้นของภาครัฐฯเหลือแค่ 25.5% จากเดิม 88% มั่นใจช่วยดันบีไอเอสเป็นบวก

     'ไอแบงก์'ลั่นกลางปีได้พันธมิตรร่วมทุน แย้มจะจัดสรรแบบประมูล ก่อนขายหุ้น PP พร้อมลดสัดส่วนถือหุ้นของภาครัฐฯ เหลือ 25.5% จากเดิมคลัง ออมสินถือหุ้นรวม 88% เพื่อสิทธิ VETO มั่นใจช่วยดันบีไอเอสเป็นบวก จากปัจจุบันติดลบหนักถึง 21% พร้อมโอนหนี้เน่า 4 หมื่นล้านบาทให้เอเอ็มซีบริหาร เผยปัจจุบันมีเงินฝาก 9 หมื่นลบ. ส่วนขาดทุนสะสมยังสูงถึง 1-2 หมื่นลบ. ชี้สิ้นเดือนมี.ค.นี้ คนร.จะมีการประเมินผลดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูไอแบงก์อีกครั้ง 

     นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(ไอแบงก์) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูว่า ภายในเดือนมิ.ย. หรือสิ้นไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ธนาคารจะได้พันธมิตรเข้าถือหุ้นรายใหม่ เพื่อเพิ่มทุนให้ธนาคารฟื้นฟูกิจการ และให้อัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (บีไอเอส) ของธนาคารกลับมาเป็นบวกไม่ต่ำกว่า 8.5% ตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จากปัจจุบันบีไอเอสติดลบอยู่ที่ -21% โดยจะต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ดและคณะรัฐมนตรี(ครม.) ก่อน

     สำหรับ พันธมิตรที่เข้ามาร่วมทุนต้องมีศักยภาพ มีฐานะทางการเงินที่มั่นคง มีความเชี่ยวชาญ และเครือข่ายในการทำธุรกรรมทางการเงินตามหลักศาสนาอิสลาม โดยจะจัดสรรวิธีเปิดประมูล จากนั้นจะจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนเสนอขายแบบเฉพาะเจาะจง(Private Placement : PP) ให้กับพันธมิตร โดยลดสัดส่วนการถือหุ้นของภาครัฐรวมกันให้เหลือ 25.5% เพื่อให้มีสิทธิ์โตแย้งในการประชุม(VETO) จากเดิมกระทรวงการคลัง 48.5% และธนาคารออมสิน 39% หรือรวมกับเท่ากับ 88%

     นอกจากนี้ กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) รับโอนหนี้ด้อยคุณภาพ(เอ็นพีเอฟ)ที่ไม่ใช่มุสลิมเบื้องต้น 4 หมื่นล้านบาทด้วยตั๋วสัญญาให้เงินไอแบงก์ ซึ่งจะต้องให้ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.)พิจารณาอีกครั้ง จากเอ็นพีเอฟทั้งหมดกว่า 4 หมื่นล้านบาท โดยให้คงเอ็นพีเอฟที่เป็นมุสลิมราว 3,400 ล้านบาทไว้เพื่อให้ดำเนินตามพันธกิจที่ให้ไว้กับ คนร.ในการดูแลเฉพาะชาวมุสลิม ซึ่งจะทำให้สินเชื่อคงค้างธนาคารหลังโอนหนี้ไปเอเอ็มซีแล้วเหลือ 5 หมื่นล้านบาท จากปัจจุบันมีสินเชื่อคงค้าง 9 หมื่นล้านบาท โดยเป็นหนี้สำคัญ 2 โครงการ คือ โครงช่วยน้ำท่วม และไมโครไฟแนนซ์

     ด้านผลประกอบการธนาคารมีเงินฝาก 9 หมื่นล้านบาท ส่วนขาดทุนสะสมยังมีอยู่สูงระดับ 1-2 หมื่นล้านบาท โดยการที่จะล้างขาดทุนสะสมให้หมดไป จะต้องให้พันธมิตรเข้าเพิ่มทุน และดำเนินกิจการให้เห็นผลกำไร จากนั้นจึงเกิดการลงทุน เพื่อชำระล้างขาดทุนสะสมที่มีอยู่สูงเดิมได้ และที่ผ่านมาธนาคารสามารถลดค่าเช่าเกือบ 100 ล้านบาท มีลูกค้าที่เป็นมุสลิมเพิ่มขึ้นเป็น 5 แสนราย จาก 3 แสนรายในปี 2556 อย่างไรก็ตามสิ้นเดือนมี.ค.นี้ ทางคนร.จะมีการประเมินผลดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูไอแบงก์ รวมถึงอีก 6 รัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาอีกครั้ง

      ขณะนี้มีพันธมิตรเข้าสนใจหลายราย โดยการจะเข้ามาต้องยอมรับสัดส่วนถือหุ้นไม่เกิน 74.5% และต้องเข้ามาใส่เงิน สมมุติหากมีเงิน 1 แสนล้านบาท ถ้าบริหารเป็น จะได้กำไรปีละ 1,500-3,000 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหาร แต่ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาทในแต่ละปี มั่นใจภายใน 24 เดือนหลังมีพันธมิตร ธนาคารจะกลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง และยังยืนยันไอแบงก์ยังเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ หรือเอสเอฟไออยู่ ถึงแม้รัฐจะมีสัดส่วนถือหุ้นเพียง 25.5%นายชัยวัฒน์ กล่าว

   ก่อนหน้านี้นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า การเข้าร่วมทุนของพันธมิตรต่างชาติคาดว่าจะใส่เงินเพิ่มทุนราว 3 หมื่นล้านบาท แต่หากบีไอเอสหลังโอนหนี้เอ็นพีเอฟไปเอเอ็มซีแล้วอยู่ระดับ 8.5% พันธมิตรก็อาจใส่เงินเพียง 2.3 หมื่นล้านบาท

   นายชัยวัฒน์ กล่าวอีกว่า แนวทางการดำเนินกิจการของบริษัทลูกอย่าง บริษัท อะมานะฮ์ ลีสซิ่ง จำกัด(มหาชน) นั้นจะต้องขึ้นอยู่กับพันธมิตรรายใหม่ที่จะเข้ามาถือหุ้นว่าจะยังคงกิจการต่อไปหรือไม่ แต่ในขณะนี้เพิ่งมีการเปลี่ยนผู้บริหารชุดใหม่ โดยผลประกอบการมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งมองว่ายังเป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตได้ในอนาคต

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!