WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

GSBชาตชาย พยหนาวชยออมสิน มั่นใจทำกำไรไม่ต่ำกว่า 2.2 หมื่นล.แซงกฟผ.ขึ้นแท่นผู้นำส่งเงินเข้ารัฐ

     แนวหน้า : นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสินเปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2559 คาดว่าผลการดำเนินงาน ของธนาคารจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และกำไรไม่น้อย กว่า 2.2 หมื่นล้านบาท ทำให้ในปีงบประมาณ 2559 คาดว่า จะนำรายได้ส่งเข้ารัฐมากขึ้น ขยับมาเป็นอันดับ 1 หรือ 2 เมื่อเทียบจากปีงบประมาณ 2558 ที่นำส่งรายได้เข้ารัฐเป็นอันดับที่ 3 จำนวน 1.61 หมื่นล้านบาท รองจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่นำส่งรายได้เป็น อันดับ 1 ที่ระดับ 3.3 หมื่นล้านบาท และอันดับ 2 คือ บริษัท ปตท. ที่นำส่งรายได้เข้ารัฐที่ระดับ 2.48 หมื่นล้านบาท โดยในปีงบประมาณ 2558 รัฐวิสาหกิจทั้งระบบนำส่งรายได้ รวมกว่า 1.61 แสนล้านบาท

      "เชื่อว่า กำไร ปีนี้ต้องดีกว่าปี 2558 ที่มีกำไรสุทธิ 2.2 หมื่น ล้านบาท เพราะปีก่อน ธนาคารที่มีภาระเรื่อง การตั้งสำรองหนี้ครู และในปีนี้เชื่อว่าการแก้ ปัญหาดังกล่าวจะหา ทางออกที่เหมาะสม ร่วมกันได้และอยู่ระหว่าง การรอลงนามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อ เดินหน้าตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ประกอบ กับการปรับโครงสร้างองค์กรของธนาคารตาม วิสัยทัศน์ที่ได้วางไว้ขณะนี้ทำไปได้แล้ว 70-80% ทำให้การขับเคลื่อนองค์กรเริ่มมีประสิทธิภาพ สามารถลุยอออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ในปีนี้ได้ มีผลต่อการบริการและการขยายฐานลูกค้า ส่งผลต่อการนำส่งรายได้ของธนาคาร ที่เพิ่มขึ้นด้วย" นายชาติชายกล่าว

      ปัจจุบันธนาคารมีเงินฝากคงค้างอยู่ที่ 2.03 ล้านล้านบาท และสินเชื่อคงค้าง 1.92 ล้าน ล้านบาท ขณะที่สินทรัพย์อยู่ที่ 2.4 ล้านล้าน บาท ซึ่งที่ผ่านมานับตั้งแต่ก่อตั้งธนาคารมากว่า 103 ปี ไม่เคยขอเงินเพิ่มทุนจากกระทรวง การคลัง ปัจจุบันธนาคารมีเงินกองทุนราว 1.4 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(บีไอเอส )ที่ระดับ 10-11%

     อย่างไรก็ตาม ผลจากการจัดตั้งกองทุน พัฒนาสถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือ แบงก์รัฐ ทำให้ธนาคารต้องนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุน 0.18% ของฐานเงินฝาก หรือคิดเป็นเงินนำส่งราว 4,000 ล้านบาท ธนาคารจึงต้องการขอแก้ พ.ร.บ. เพื่อให้สามารถใช้เงินจากกองทุนแบงก์รัฐ ในการเข้ามาช่วยเพิ่มทุนให้ธนาคารได้อีกทางหนึ่ง เพื่อรองรับกับอนาคตที่ต้องเร่งขยายสินเชื่อรองรับกับความต้องการของประชาชน จึงต้องมีการเพิ่มทุนเพื่อรองรับการขยายสินเชื่อด้วย

    สำหรับ การดำเนินงานของธนาคารตามนโยบายรัฐที่สำคัญ 1.โครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์คสช.เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก (สินเชื่อโครงการ ประชาสุขใจ)วงเงิน 35,000 ล้านบาท 2.มาตรการ บรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกค้าธนาคาร (ผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้) 3.มาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษา 4.มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับหมู่บ้านให้สินเชื่อพัฒนาชนบทสำหรับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 5.โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อเป็นเงินหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs 6.โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ระยะที่ 2

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!