WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

GSBชาตชาย พยหนาวชย copyออมสิน เตรียมเปิดตัวศูนย์วิจัยศก.-ธุรกิจฐานราก จัดทำดัชนีความเชื่อมั่น ด้านผลงาน Q1/59 ฟันกำไร 1.65 พันลบ.

      ออมสิน ประกาศเปิดศูนย์วิจัยเศรษฐกิจฐานราก ใน 1-2 สัปดาห์นี้ เดินหน้าทำดัชนีเชื่อมั่นฐานราก -รายงานภาวะศก. มหภาค - ศก.ฐานราก โดยใช้โมเดลศูนย์พยาการณ์ฯ ม.หอการค้าไทย หวังให้ภาครัฐ เอกชนใช้เป็นข้อมูลติดตามภาวะเศรษฐกิจ และเป็นสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า ขณะที่ผลงานไตรมาสแรกปีนี้ ทำกำไรแล้ว 1.65 พันลบ. หลังหักเงินนำส่งกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 800 กว่าล้านบาท ส่วนทั้งปียังคงเป้าสินเชื่อโต 6-8%

  นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ประมาณ 1-2 สัปดาห์จากนี้ ธนาคารออมสิน จะเปิด "ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน" โดยศูนยืวิจัยดังกล่าวจะทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยเชิงลึกด้านเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก รวมถึงการให้บริการข้อมุลข่าวสาร ผลการวิเคราะห์วิจัย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นหน่วยงาน Think Tank ด้านเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ซึ่งเป็นการสนองนโยบายของรับบาลที่ให้ธนาคารออมสินเป็นที่พึงของประชาชนฐานราก

     นายชาติชาย กล่าวว่า ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจฐานราก ได้ออกแบบบและมีการจัดทำดัชนีเชื่อมั่นเศรษฐกิจฐานราก (Grassroots Economic Sentiment : GSI) ขึ้นมา โดยข้อมุลทีใช้สร้างดัชนีดังกล่าวได้มาจากการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในระดับฐานรากที่เกี่ยวข้องกับภาวะเศรษฐกิจ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต รายได้ที่จะได้รับ การออม การก่อหนี้ ตลอดจนสถานการณ์การจ้างงาน และการใช้จ่ายทั้งในปัจจุบัน และอนาคต เพื่อให้ธนาคารออมสิน และหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนใช้ติดตามภาวะเศรษฐกิจฐานกราก และเป็นสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้รับทราบปัญหา และหาแนวทางในการป้องการและแกไขที่จะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที

    "เพื่อเป็นสนับสนุนงานวิเคราะห์และวิจัยเชิงลึกแก่หน่วยงานภายในธนาคารออมสิน ตลอนจนเป็นแนวคิดในด้านเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ธนาคารฯจึงได้เปิดศูนย์วิจัยขึ้น ซึ่งการมีข้อมูลตัวนี้ขึ้นมาจะช่วยทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากดีขึ้น" นายชาติชาย กล่าว

  ทั้งนี้ ในระยะเริ่มต้น ธนาคารฯ ได้ร่วมกับศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เพื่อให้เข้ามาช่วยเป็นที่ปรึกษาในการออกแบบและพัฒนาแบบจำลองเศรษฐกิจมหภาครายไตรมาสของธนาคารฯ (Government Saving Bank and Quarterly Macroeconomic Model : GSB-QMM) เพื่อใช้ติดตามภาวะเศรษฐกิจและธุรกิจ วิเคราะห์ผลกระทบ ตลอดจนพยากรณ์แนวโน้มเศรษบกิจและธุรกิจ รวมทั้งใช้ประกอบการจัดทำรายงานต่างๆ เพื่อเผยแพร่ให้กับหน่วยงานภายในธนาคารฯ และประชาชนทั่วไป

  นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยธนาคารฯ ยังมีแผนที่จะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง คือการประมาณการภาวะเศรษฐกิจมหภาค ทำรายงานภาวะเศรษฐกิจและธุรกิจ รายงานภาวะเศรษฐกิจฐานราก รวมทั้งบทวิเคราะห์ บทความ ผลการสำรวจความคิดเห็น ในประเด็นที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจฐานราก โดยจะเผยแพร่ในรูปแบบการแถลงข่าวทั้งแบบรายเดือน และรายไตรมาส

  นายชาติชาย ยังกล่าวถึง ผลการดำเนินงานธนาคารฯ ช่วงไตรมาสแรกของปี 59 ( ม.ค.-มี.ค.) มีกำไรสุทธิ 1,656 ล้านบาท ทั้งนี้ก่อนหน้าได้หักเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (0.18%) หรือประมาณกว่า 800 ล้านบาท โดยกำไรสุทธิมาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 14,041 ล้านบาท รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิ 1,129 ล้านบาท โดยมาจากะธุรกิจบัตรและบริการอิเล็กทรอนิกส์ โดยยอดบัตรอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 5.3 ล้านบัตร บริการ Mobile Banking ภายใต้แบรนด์ "MyMo" มีถึงกว่า 540,000 ราย Inter Banking อีกกว่า 136,000 ราย และผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุด "บัตรเครดิต ธนาคารออมสิน" ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมา มียอดสมัครแล้วเกือบ 11,000 บัตร

  ส่วนภาพรวมของเงินให้สินเชื่อแก่ลุกค้ายังคงขยายตัวจากสิ้นปี 2559 แต่เนื่องจากเป็นช่วงการชำระคืนเงินกู้ของลูกหนี้รายใหญ่ทำให้สินเชื่อรวมลดลงสุทธิ 17,659 ล้านบาท โดยมาตรการของรับบาลในการกระตุนเศรษฐกิจมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้สินเชื่อของธนาคารขยายตัวได้ โดยเป็นการให้สินเชื่อที่ครอบคลุมทุกกลุ่มประเภท ได้แก่ สินเชื่อเพื่อพัฒนากลุ่มอาชีพ สินเชื่อเคหะ สินเชื่อภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและสถาบันการเงิน (โครงการเงินกู้ซอฟท์โลน) สินเชื่อเพื่อสังคมและชุมชน(กองทุนหมู่บ้าน) และสินเชื่อกลุ่มเศรษฐฐานราห สินเชื่อโครงการบ้านประชารัฐ เป็นต้น โดยสินเชื่อคงเหลือ ณ วันที่ 31 มีนาคม 59 อยู่ที่ 1,902,000 ล้านบาท ลดลงประมาณ 0.9% จากสิ้นปี 58 ซึ่งอยู่ที่ 1,919,659 ล้านบาท

    "ไตรมาสแรกของทุกปี สินเชื่อของสถาบันการเงินได้โตมากนัก เพราะเป็นช่วงโลว์ซีซั่นของปี และถึงแม้จะมีการปล่อยสินเชื่อใหม่กว่า 1 แสนล้านบาท แต่ก็ทียอดสินเชื่อคงค้างติดลบประมาณ 1 หมื่นล้านบาท เเนื่องจากมีลูกหนี้รายใหญ่มาชำระคืนสินเชื่อ (Replay) ด้วย" นายชาติชาย กล่าว

   อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ก็เพิ่งจะผ่านมาได้ 1 ไตรมาสเท่านั้น ธนาคารจึงยังคงเป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อปีนี้ที่ 6-8% และเงินฝากโต 4-6% โดยดูแลให้เป็นไปตามภาวะตลาด เพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้ เนื่องจากปัจจุบันธนาคารฯ ยังมีสภาพคล่องเหลือประมาณ 3-4 แสนล้านบาท พอร์ตสินเชื่อ 1.9 ล้านล้านบาท เนื่องจากแม้จะปล่อยสินเชื่อมาก แต่ก็มีจำนวนลูกค้ามา Replay มากเช่นกัน

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย                                                        

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!