WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผู้ว่า ธปท.มอง ศก.ปีหน้าโอกาสโต 6% คงยาก ยังยืนตัวเลขคาดการณ์ที่ 4.8%

     นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวว่า โอกาสที่เศรษฐกิจไทยในปี 58 จะเติบโตได้ถึง 6% ตามที่มีผู้คาดการณ์ไว้คงเป็นไปได้ยาก คงต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความผันผวน แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้มแข็งขึ้นแต่ก็ไม่แน่นอนเหมือนกับในอดีต ส่วนเศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุ่นก็ยังชะลอตัว ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีความต้านทานผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกได้บางส่วนจากการเร่งลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน

    อย่างไรก็ตาม แม้แนวโน้มเศรษฐกิจไทยจะดูดีขึ้น แต่ขณะนี้ ธปท.ก็ยังคงคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจปีหน้าที่ 4.8% ซึ่งมีโอกาสทั้งเติบโตได้มากกว่าหรือน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้

    นายประสาร กล่าวในการสัมมนาทางวิชาการของ ธปท.หัวข้อ“มิติใหม่ของภาคการเงิน เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน"ว่า ประสบการณ์ของหลายๆ ประเทศชี้ให้เห็นว่าภาคการเงินมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ขนาดของภาคการเงินมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับรายได้ต่อหัวของแต่ละประเทศ ซึ่งสะท้อนถึงบทบาทพื้นฐานของภาคการเงินในการรองรับธุรกรรมต่างๆ การกู้ยืม การออม และการบริหารความเสี่ยง ล้วนเป็นปัจจัยที่กระทบต่อประสิทธิภาพของการจัดสรรทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจ ระดับการพัฒนของภาคการเงินที่สูงขึ้นนั้นมีส่วนช่วยในการขยายตัวของเศรษฐกิจ ไม่เพียงแต่ผ่านการสะสมทุน แต่ยังช่วยให้ประสิทธิภาพในการผลิตปรับตัวสูงขึ้นด้วย ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งทุนเป็นปัจจัยสำคัญในการเริ่มก่อตั้งกิจการ ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลงทุนและขยายขนาดของกิจการตามศักยภาพที่แท้จริง รวมทั้งการสร้างและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ

    ในขณะเดียวกัน ภาคการเงินยังมีบทบาทในการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีรายได้ต่ำ โดยนอกจากผลโดยตรงที่มาจากการลดข้อจำกัดทางการเงิน เช่น การเพิ่มความสามารถในการเปิดกิจการใหม่และการบริหารความเสี่ยงที่ดีขึ้น ประชาชนในกลุ่มนี้ยังอาจได้รับประโยชน์จากการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่มาควบคู่กับการพัฒนาระบบการเงิน ซึ่งสร้างโอกาสให้แรงงานนอกระบบย้ายเข้ามำทำงานในระบบ

     "ภาคการเงินที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจ ไม่เพียงแต่จะเป็นผลดีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ แต่สามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมลงได้ด้วย"นายประสาร กล่าว

    ทั้งนี้ การพัฒนาระบบการเงินต้องไม่ละเลยมิติของความยั่งยืน วิกฤตเศรษฐกิจการเงินที่เกิดขึ้นหลายครั้งในอดีตแสดงให้เห็นว่าการจัดสรรทุนที่เกินพอดีไม่เพียงแต่จะสร้างความเสียหายอันใหญ่หลวงต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในระยะสั้น แต่สามารถบั่นทอนศักยภาพของเศรษฐกิจในระยะยาวด้วย ยกตัวอย่างกรณีของสหรัฐฯ ที่เป็นศูนย์กลางของวิกฤตเศรษฐกิจในปี 51 มีรายได้ ณ สิ้นปี 56 หรือ 5 ปีให้หลังกกิดวิกฤตต่ำกว่ำระดับรายได้ที่ควรจะเป็นตามแนวโน้มเดิมถึง 13% หากเทียบเคียงกับกรณีประเทศไทย 5 ปีหลังจากวิกฤตปี 40 ระดับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี)ของไทยอยู่ต่ำกว่ำแนวโน้มก่อนหน้า 22% การสูญเสียรายได้ของประเทศขนาดนี้เป็นต้นทุนมหาศาลของความล้มเหลวในการรักษาความยั่งยืนของเสถียรภาพระบบการเงิน

     การดูแลภาคการเงินจึงต้องชั่งน้ำหนักระหว่างการผลักดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับการรักษาเสถียรภาพ เพื่อนำไปสู่ความพอดี ซึ่งเป็นสิ่งยากและละเอียดอ่อน เช่น กรณีของไทยที่ยังมีช่องว่างมากในการเข้าถึงแหล่งทุน โดยผลสำรวจปี 56 ชี้ให้เห็นว่ามีเพียง 41% ของผู้ประกอบการ SME กว่า 2.7 ล้านรายที่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ เช่นเดียวกันกับภาคครัวเรือนที่เข้าถึงบริการด้านสินเชื่อจากภาคการเงินได้ไม่ถึง 40% ขณะเดียวกันหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีปรับขึ้นมาอยู่ที่ 83% ก็กำลังเป็นที่จับตาในช่วงนี้ว่าจะสะท้อนความเปราะบางทางการเงินมากน้อยเพียงใด

     ที่ผ่านมา ธปท.ได้ดำเนินการพัฒนาเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสถียรภาพของระบบการเงินไทยมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านมาตรการและเครื่องมือที่หลากหลาย สำหรับแนวทำงในการกำหนดนโยบำย ผมอยากเน้นเป้าประสงค์ 5 ประการด้วยกันที่สามารถยึดถือเป็นหลักในการพัฒนาและดูแลภาคการเงิน ซึ่งประกอบด้วย ความลึก ความกว้าง ความทั่วถึง ความยุติธรรม และความยั่งยืน

    ความลึก หมายถึง ความสามารถของระบบการเงินในการรองรับธุรกรรมขนาดใหญ่ได้ตามความต้องการของระบบเศรษฐกิจความกว้าง หมายถึง การมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและครอบคลุม ทั้งจากตลาดทุนและสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่ประสานกันความทั่วถึง หมายถึง การที่ผู้ประกอบการและประชาชนทุกระดับสามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน และผู้ที่มีศักยภาพที่แท้จริงสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ ความยุติธรรม คือ ราคาของบริการทางการเงินที่เหมาะสม โดยผู้ใช้บริการตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลที่เพียงพอถูกต้องและได้รับความคุ้มครอง และความยั่งยืน หมายถึง ความมีเสถียรภาพของระบบกาเงินโดยรวมในระยะยาว

      หากพิจารณาในองค์รวม จะเห็นได้ว่าแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ผ่านมามุ่งที่จะบรรลุเป้าประสงค์เหล่านี้มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นกำรส่งเสริมการแข่งขัน การผลักดันเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ระบบ e-payment การผ่อนคลายเกณฑ์การลงทุนของภาคเอกชนไทยในต่างประเทศ หรือการส่งเสริมความรู้และทักษะทางการเงินของประชาชน ต่างกันเพียงการให้น้ำหนักระหว่างเป้าประสงค์ในแต่ละมิติ ซึ่งจำเป็นต้องแปรผันตามบริบทของเศรษฐกิจและสังคม และเป็นโจทย์ที่สำคัญของผู้ดำเนินนโยบาย

     ยกตัวอย่างในประเทศที่พัฒนาแล้ว มิติด้านความลึก กว้าง และทั่วถึงมักจะอยู่ในระดับที่ดี การให้น้ำหนักจึงค่อนไปทำงความยุติธรรมและความยั่งยืนมากกว่า ดังเช่นในกรณีของวิกฤตการเงินโลกในปี 51 ที่สะท้อนปัญหาด้านความมั่นคงของระบบการเงิน รวมทั้งความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การพัฒนาระบบการเงินจำเป็นต้องรักษาสมดุลระหว่าง ความลึก ความกว้าง ความทั่วถึง ความยุติธรรม และความยั่งยืน อยู่เสมอโดยไม่โน้มไปทางใดทางหนึ่งมากเกินไปจนละเลยด้านอื่นๆ

      นายประสาร กล่าวว่า ความท้าทายในการดูแลระบบการเงินที่ควรเน้นก็คือการเข้าใจความเชื่อมโยงเชิงระบบ ระหว่างแต่ละองค์ประกอบของภาคการเงินนั่นเอง ระบบเศรษฐกิจการเงินปัจจุบันเป็นระบบที่มีความซับซ้อนเชิงพลวัตร(complex dynamical system)ที่ไม่อาจจะคาดเดาได้จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงหรือพฤติกรรมของแต่ละองค์ประกอบโดยลำพัง ในการรักษาเสถียรภาพและการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของระบบการเงิน จึงจำเป็นต้องตระหนักถึงความเชื่อมโยง ระหว่างสถาบันการเงินแต่ละประเภท ระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ประกอบการและประชำชน ระหว่างระบบสถาบันการเงินกับตลาดเงินและตลาดทุน ระหว่างภาคการเงินในประเทศกับนอกประเทศ รวมทั้ง ระหว่างเครื่องมือนโยบายต่างๆ ภายใต้ผู้กำกับดูแลภาคการเงินที่หลากหลาย

                อินโฟเควสท์

ผู้ว่า ธปท.ยันจีดีพีปี 58 โต 4.8% โอกาสโตถึง 6% เป็นไปได้ยาก มองแก้หนี้ใน-นอกระบบต้องถูกจุด

     ผู้ว่า ธปท.ยันจีดีพีปี58โต 4.8% โอกาสยากโตถึง 6%  มองแก้หนี้ใน-นอกระบบต้องถูกจุด  อย่าแก้ปลายเหตุเหมือนกินยาแก้ปวด เผยแนวโน้มหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีปีหน้าทรงตัวจากปัจจุบันที่ 83% เหตุ ศก.มีโอกาสโตมากกว่าปีนี้  มองจ่ายเงินชาวนาแก้ที่ต้นเหตุของหนี้สินได้ เพราะเป็นการเพิ่มรายได้  

      ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า แม้ว่าสัดส่วนหนี้ภาคครัวเรือนต่อจีดีพีปัจจุบันมีอยู่ในระดับสูงที่ 83% แต่อัตราในการเติบโตเริ่มลดลงมาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว  แต่เมื่อเทียบสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปัจจุบันยังเป็นตัวเลขที่สูง เนื่องจากปีนี้จีดีพีเติบโตได้ไม่ดีนัก จึงส่งผลให้อัตราส่วนหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น  อย่างไรก็ตามมองว่าในปีหน้าหากจีดีพีเติบโตขึ้นนั่นหมายความว่าเศรษฐกิจมีการเติบโต เกิดการจ้างงานสร้างรายได้ น่าจะทำให้อัตราส่วนทรงตัว   

     "อัตราส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปีหน้าคงไม่สูงกระฉูด อย่างน้อยก็ทรงตัว ซึ่งในเรื่องนี้การแก้ไขต้องเวลานานอย่าไปตั้งความหวัง 1-2 ปีหนี้ครัวเรือนจะลดฮวบฮาบ ซึ่งทางแก้ที่ดีที่สุดคือการแก้ด้วยรายได้" ดร.ประสาร กล่าว 

    ทั้งนี้ ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ สิ่งที่ต้องเข้าไปแก้ไขคือการเสริมรายได้ การให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการออม และเข้าใจปัญหาด้วยว่าการแก้ไขหนี้ต้องแก้ด้วยการสร้างรายได้ซึ่งเป็นการแก้ที่ต้นเหตุ แต่ไม่ใช่แก้ที่ปลายเหตุคือการแก้หนี้ด้วยหนี้    

    ผู้ว่า ธปท. ยังได้ยกตัวอย่างกรณีที่มีชาวนาฆ่าตัวตายที่หน้าทำเนียบรัฐบาล ว่า หากดูจากปลายเหตุคือบุคคลดังกล่าวมีหนี้นอกระบบ นั่นคือเมื่อมีรายได้ไม่เพียงพอก็ไปกู้หนี้นอกระบบ  แต่ปัญหาที่แท้จริงแล้วต้องย้อนไปดูที่ต้นเหตุคือการบริหารรายได้ และถือว่าในประเด็นของการหารายได้เป็นโจทย์ที่ท้าทายในระดับนโยบายที่จะต้องทำให้ได้เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนที่เกิดขึ้น  และนอกจากการหารายได้แล้ว  การที่รายย่อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ ก็จะช่วยลดต้นทุน ไม่ต้องไปเสียดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบซึ่งสูงมาก  และกรณีดังกล่าว ก็อาจจะไม่เกิดขึ้นหากได้กู้ในระบบ ซึ่งดอกเบี้ยจะไม่สูงเท่านอกระบบ  ก็คงช่วยลดภาระดอกเบี้ยลงได้  

    "ดังนั้น สิ่งที่ควรจะทำคือ สถาบันการเงินจะต้องขยายศักยภาพทางด้านบริหารด้านการเงินในระบบออกไป เพื่อสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงระบบการเงิน นอกจากนี้ ต้องมีการให้ความรู้ประชาชนเรื่องการหารายได้ การออม ต้องทำหลายอย่างประกอบกัน" ดร.ประสาร กล่าว

      ส่วนกรณีที่รัฐบาลจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท  สิ่งที่ควรจะมองในประเด็นนี้ไม่ใช่การถกเถียงว่าเป็นการทำโครงการประชานิยมหรือไม่  เพราะถกเถียงไปก็ไม่ได้ประโยชน์  แต่สิ่งที่รัฐบาลทำนี้เป็นการช่วยลดความเดือดร้อนฉับพลันระยะสั้นให้กับชาวนา โดยไม่สร้างภาระผูกพัน เพราะจ่ายครั้งเดียว และการแจกเงินก็ไม่ได้ไปกระทบส่วนอื่น ไม่ผ่านคนกลางจึงไม่ได้บิดเบือนกลไกตลาดเพราะเป็นการจ่ายตรงถึงมือชาวนา ซึ่งมองว่าเป็นการช่วยแก้ที่ต้นเหตุคือ ช่วยเพิ่มรายได้ 

                "1,000 บาท ที่ให้ชาวนาเขาก็ส่งตรงไปไม่ได้กระทบส่วนอื่น และยังช่วยเสริมทางด้านรายได้ให้กับชาวนา" ดร.ประสาร กล่าว   

                นอกจากนี้  ผู้ว่าธปท.กล่าวต่อถึง กรณีการนำหนี้ดอกเบี้ยต่ำไปแทนหนี้ดอกเบี้ยสูง ว่า เหมือนกับการกินยาแก้ปวดคือช่วยได้แค่ระยะสั้นเท่านั้น แต่ถ้าหากประชาชนมีรายได้ดี  รู้จักการออมน่าจะเป็นเรื่องที่ช่วยแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากกว่า   

                "ถามว่าแล้วช่วงรอผ่าตัดต้องกินยาแก้ปวดไหม บางครั้งก็จำเป็นแต่ก็ไม่ควรเป็นข้ออ้างว่าต้องกินยาแก้ปวดไปตลอดทั้งชีวิต มันทำให้เลื่อนการแก้ไขปัญหาที่แท้จริงออกไปเรื่อยๆ" ดร.ประสาร กล่าว

     ดร.ประสาร ยังกล่าวต่อถึง  การที่มีบางหน่วยงานออกมาคาดการณ์ว่า จีดีพีปีหน้าอาจจะเติบโตได้ถึง 6% นั้น มองว่าหากเป็นไปโดยเหตุผลที่ดีก็ไม่เป็นไร  แต่ถ้าเป็นการเติบโตด้วยอะไรที่ไม่สมจริงก็คงไม่ดี เพราะจะทำให้เกิดผลกระทบข้างเคียง ซึ่งสิ่งที่ ธปท.อยากเห็นคือการเติบโตแบบมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ ค่ากลางที่ ธปท.ประเมินจีดีพีปีหน้าอยู่ที่ 4.8% นั่นหมายความว่าเป็นไปได้ทั้งทางสูงและทางต่ำ   

      "อย่างไรก็ตามแม้ค่ากลางเรามองที่ 4.8% นั่นคือเป็นไปได้ทั้งทางสูงและทางต่ำ แต่ก็ไม่คิดว่าจะไปถึง 6%" ดร.ประสาร กล่าว   

     ผู้ว่า ธปท. กล่าวต่อว่า อีกประเด็นที่น่าสนใจและ ธปท. ยังคงติดตามอย่างใกล้ชิด คือความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลก ซึ่งประเด็นนี้จะมีผลกระทบต่อตลาดการเงินทำให้ผันผวนได้ ล่าสุดจากการไปประชุมกับ IMF พบว่าประเด็นความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกเป็นเรื่องที่ทั่วโลกหันมามองประเด็นนี้มากขึ้น   

   "เศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้มีแนวโน้มฟื้นตัวเข้มแข็ง แต่ก็ยังมีความไม่แน่นอน ส่วนเศรษฐกิจยุโรปและญี่ปุ่นดูท่าทางจะอ่อนแอลง เห็นได้ว่ามีความหลากหลายเกิดขึ้น แต่ก็อยู่ในความคาดการณ์ว่าตลาดการเงินอาจจะผันผวนได้ซึ่งเราต้องติดตาม"หนี้ดอกเบี้ยต่ำไป" ดร.ประสาร กล่าว   

    สำหรับ ประเทศไทยจะต้องเสริมศักยภาพของเศรษฐกิจในระดับมหภาคให้อยู่ในระดับสมดุล เพื่อที่จะเป็นภูมิต้านทานกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก  ส่วนโรคอีโบล่ามองว่าผลกระทบทางตรงต่อเศรษฐกิจโลกยังไม่ได้มากนัก  แต่สิ่งที่อยากจะเตือนคือเรื่องของการสร้างความกลัวไม่ควรจะสร้างมากไปจนเกินเลย เพราะจะกระทบทางด้านจิตวิทยา

 สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!