WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผู้ว่าฯ ธปท.ระบุการพัฒนาระบบการเงินต้องรักษาสมดุล 5 ด้าน รับยากสุดคือการเข้าใจความเชื่อมโยงในหลายมิติ

  ผู้ว่า ธปท.ระบุการพัฒนาระบบการเงินต้องรักษาสมดุล 5 ด้าน รับยากสุดคือการเข้าใจความเชื่อมโยงในหลายมิติ ส่วนผลการศึกจากงานวิจัยสรุปว่า ในด้านข้อจำกัดเข้าถึงเงินทุนยังเป็นปัญหาต่อภาค ศก.ทุกระดับ แต่อย่างน้อยผู้ประกอบการรายเล็กเริ่มเข้าถึงเงินทุนได้มากขึ้น จากนวัตกรรมและการแข่งขันของ ธพ. ที่ห่วงคือเปิด AEC จะลดข้อจำกัดเข้าถึงเงินทุนมากขึ้นอีก

    ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวเปิดงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2557(BOTSymposium 2014) ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 15 ในหัวข้อ'มิติของภาคการเงิน เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน:Rethinking Finance for Sustainable Growth 'ว่า บทบาทภาคการเงินนั้นสำคัญมากในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมา ธปท.กำหนดนโยบายเน้น 5 มิติคือ 1. ด้านลึก หรือความสามารถในการรองรับธุรกรรมขนาดใหญ่ 2.กว้าง คือมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย 3.ทั่วถึง คือ ประชาชนและผู้ประกอบการทุกระดับสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน 4.  ยุติธรรม หรือ ราคาของบริการที่เหมาะสม และ 5.ยั่งยืน คือ ความมีเสถียรภาพในระยะยาวของระบบการเงิน

     "หากพิจารณาในองค์รวม จะเห็นได้ว่า แนวนโยบายของ ธปท. ทีผ่านมามุ่งที่จะจะบรรลุเป้าประสงค์เหล่านี้มาตลอด ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการแข่งขัน การผลักดันเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ระบบ e-payment  การผ่อนคลายเกณฑ์การลงทุนของภาคเอกชนไทยในต่างประเทศ  หรือการส่งเสริมความรู้และทักษะทางการเงินของประชาชน ต่างกันเพียงการะหว่างเป้าประสงค์ในแต่ละมิติ ซึ่งจำเป็นต้องแปรผันตามบริบทของเศรษฐกิจและสังคม"ดร.ประสาร  กล่าว

   ทั้งนี้ แต่ละประเทศจะเน้นแต่ละด้านมากน้อยต่างกัน ขึ้นกับโครงสร้างเศรษฐกิจ  แต่ ธปท.ให้น้ำหนัก 5 ด้านนี้  แต่ยอมรับว่าสิ่งที่ยากเป็นพิเศษคือ ความเข้าใจในความเชื่อมโยงของของระบบการเงินในหลากหลายมิติ เนื่องจากระบบการเงินในปัจจุบัน มีความซับซ้อนเชิงพลวัตร  จึงหวังว่างานวิจัยวิชาการวันนี้จะมีบทบาทช่วยเสริมความรู้ด้านภาคการเงินให้สมบูรณ์ขึ้น

    ด้านงานวิจัยวันนี้ หัวข้อ'การลดข้อจำกัดในการเข้าถึงเงินทุนในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย'ของนักวิชาการ จากบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด โดย  ดร.เชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ ,ดร.พิมลวรรณ  มหัจฉริยวงศ์  รองกรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัยเศรษฐกิจมห-ภาคและจุลภาค และ ธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัยเศรษฐกิจการเงินและภาษาต่างประเทศ ผลการศึกษาสรุปว่า ในมิติของการเข้าถึงเงินทุน ยังมีข้อจำกัดและเป็นปัญหาที่มีต่อภาคเศรษฐกิจในทุกระดับ  ต่ในอีกแง่มุมหนึ่งพบว่า การดำเนินการของทางการและธนาคารพาณิชย์ไทย (ธพ.)ในปัจจุบัน มีส่วนช่วยคลายข้อจำกัดในการเข้าถึงเงินทุน โดยเฉพาะบริษัทเล็กแม้จะเผชิญข้อจำกัดมากกว่าบริษัทใหญ่ แต่จากกลไกนวัตกรรมและการแข่งขันของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ได้เอื้อให้บริษัทเล็กที่มีการยกระดับศักยภาพทางธุรกิจให้ดีขึ้น สามารถมีต้นทุนการกู้ยืมที่โน้มเอียงเข้ามาใกล้เคียงกับบริษัทใหญ่ได้

    อย่างไรก็ตาม สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป จะนำมาซึ่งความท้าทายในอนาคต โดยเฉพาะการเปิด AEC ในปีหน้าจะเป็นประเด็นหนึ่งที่ลดข้อจำกัดในการเข้าถึงเงินทุนในระยะข้างหน้า เพราะภาคส่วนต่างๆ ของไทยยังมีความเข้าใจต่อโจทย์ AEC ได้ไม่สมบูรณ์ขณะที่หลายประเด็นอยู่นอกเหนือการควบคุมของภาคธนาคารพาณิชย์ ประกอบกับวัฏจักรดอกเบี้ยที่จะเริ่มปรับขึ้น ท่ามกลางการแข่งขันของภาคธุรกิจ และหนี้ครัวเรือนในระดับสูง ถ้าหากตั้งรับไม่ดีพอ อาจนำไปสู่หปัญหารอบใหม่

   งานวิจัย หัวข้อ'เศรษฐกิจจริงอิงการเงิน : โตไปใช่ว่าดี?'โดย ดร.ภูริชัย รุ่งเจริญกิจกุล ผู้บริหารทีมกลยุทธ์นโยบายการเงิน 1 สายนโยบายการเงิน ธปท. และ  ดร.นครินทร์ อมเรศ  เศรษฐกรอาวุโส ทีมนโยบายเศรษฐกิจด้านอุปทาน สายนโยบายการเงิน ธปท. ผลการศึกษาสรุปว่าการเข้าถึงแหล่งเงินทุน มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว  อย่างไรก็ตาม ภาคการเงินที่โตเร็วและมากเกินไปจนมีลักษณะเป็น'Credit booms'อาจนำไปสู่วิกฤตทางการเงิน

  กระบวนการพื้นฐานที่สามารถอธิบายปรากฎการณ์  "Credit booms" ได้แก่ 1. สินเชื่อขยายตัวรวดเร็ว แซงหน้าเศรษฐกิจอย่างชัดเจน 2. ดอกเบี้ยลดต่ำลง สะท้อนถึงการตีราคาความเสี่ยงต่ำ 3. ราคาสินทรัพย์เสี่ยง เช่น ราคาบ้าน ดัชนีหลักทรัพย์ ทะยานสูงขึ้น 4.การถดถอยของคุณภาพสินเชื่อที่ตามมา 5.เกิดขึ้นได้หลากหลายบริบททางเศรษฐกิจและเงื่อนไขเชิงสถาบัน

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!