WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เตือนปีหน้ารับมือศก.โลก สศค.เชื่อจีดีพีโต 4% แนะรัฐดันงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ

     บ้านเมือง : แบงก์ชาติประเมินจีนลดดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลต่อจีดีพีจีนดีขึ้นเล็กน้อย เหตุสินเชื่อแบงก์ปรับสูงขึ้นได้ไม่มาก ด้าน สศค.มั่นใจว่าจีดีพีปีหน้าโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4 แนะรัฐเร่งผลักดันงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ

   นายจิรเทพ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา โฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการลดดอกเบี้ยนโยบายของจีน ว่า เศรษฐกิจจีนในช่วงที่ผ่านมาชะลอลงตามที่ ธปท.ประเมินเอาไว้ โดยทางการจีนดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจการเงิน เพื่อดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจระยะยาว ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอลง โดยการปฏิรูปภาคการเงินที่สำคัญคือ การควบคุมแหล่งเงินทุนในภาค Shadow Banking ซึ่งลดปริมาณการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง และการควบคุมระดับหนี้รัฐบาลท้องถิ่นที่มีการกู้เงินนอกงบดุลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแต่ละมณฑล ซึ่งจะลดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควร นอกจากนี้ ทางการยังดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างจริงจัง เพื่อลดการพึ่งพาการลงทุนที่ไม่มีประสิทธิภาพและเพิ่มบทบาทการบริโภคด้วย

    นายจิรเทพ กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมากิจกรรมทางเศรษฐกิจของจีนชะลอลงตามการลงทุน โดยการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรตั้งแต่ต้นปีถึงเดือนตุลาคมขยายตัวร้อยละ 15.9 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากร้อยละ 16.1 ในเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมยังคงชะลอลงต่อเนื่องจากกำไรภาคธุรกิจที่ปรับลดลงและความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งทางการจีนเข้ามาดูแล โดยการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อช่วยเหลือต้นทุนการกู้ยืมของบริษัทขนาดใหญ่ โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจ (SOEs) ซึ่งมีสัดส่วนการกู้ยืมผ่านธนาคารพาณิชย์สูง

     ทั้งนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของจีนเหนือความคาดหมายของ ธปท. และตลาด โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงจะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจจีนเพียงเล็กน้อย และปริมาณสินเชื่อไม่น่าจะปรับสูงขึ้นมาก เนื่องจาก ธนาคารพาณิชย์มีข้อจำกัดจากอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (Loan to Deposit Ratio) แต่จะเป็นการลดภาระดอกเบี้ยจ่ายของ SOEs ให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปเศรษฐกิจและการเงินของจีน อย่างไรก็ตาม การลดอัตราดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ โดยอัตราดอกเบี้ยแท้จริงหลังการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังคงเป็นบวก

    ทั้งนี้ ระยะต่อไป ธปท. ประเมินว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 7-7.5 จากการควบคุมความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจร้อยละ 7-7.5 จากการควบคุมความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และนโยบายปรับสมดุลการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Rebalancing) โดยน่าจะเป็นการชะลอตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปสะท้อนจากการออกมาตรการดูแลการขยายตัวทางเศรษฐกิจควบคู่กับการเดินหน้าปฏิรูปอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาระดับการจ้างงานให้เหมาะสม

   ด้านนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า สศค. คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 58 มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ที่ 4% ต่อปี เนื่องจากฐานที่ต่ำในปีนี้ที่คาดว่าจะขยายตัว 1.4% ต่อปี เมื่อคิดเฉลี่ย 2 ปีรวมกันเศรษฐกิจไทยโตได้ไม่ถึงปีละ 3% ซึ่งถือว่าต่ำกว่าศักยภาพของเศรษฐกิจไทยที่โต 4.5% ต่อปีแต่ภาวะเศรษฐกิจไทยปี 58 ยังเจอผลกระทบกับความผันผวนอย่างมาก โดยเฉพาะตลาดการเงินและตลาดหุ้น เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวที่ดีขึ้นที่คาดว่าปีหน้าจะลดมาตรการคิวอีลงอีกและมีแนวโน้มขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้เงินทุนไหลออกจากไทย ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนตัว

                ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจยูโรโซนมีความเสี่ยงสูง เพราะทุกประเทศในยุโรปต้องพึ่งพาเยอรมนีเป็นหลัก แต่เศรษฐกิจยุโรปมีปัญหามาก คาดว่าอาจจะต้องทำมาตรการคิวอีเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่อยู่ในภาวะถดถอย เนื่องจากเศรษฐกิจไตรมาส 2 และ 3 ติดลบติดต่อกันสองไตรมาส คาดว่าเมื่อได้รัฐบาลใหม่จะดำเนินการมาตรการคิวอีเพิ่มขึ้น เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้เงินทุนผันผวนมากขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจจีนย่ำแย่กว่าที่คิด ที่ลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และจีนยังมีความเสี่ยงฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ เหมือนกับที่เกิดขึ้นในประเทศไทยวิกฤตปี 40

                "เชื่อว่าเศรษฐกิจไทย ปี 58 ตลาดเงินและตลาดหุ้นมีความผันผวนอย่างมาก จากผลกระทบต่างๆ ของเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการไทยที่เกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศต้องระมัดระวังเพื่อป้องกันความเสี่ยง ซึ่งแนวโน้มค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างๆไม่เป็นในทิศทางเดียวกัน เช่น เงินดอลลาร์อ่อนค่าขึ้น แต่เมื่อเทียบกับเงินยูโรหรือเยนจะแข็งค่าขึ้น รวมทั้ง ยังมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ คาดว่าในปีนี้และปีหน้าจะอยู่ที่ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งจะทำให้ราคาสินค้าเกษตรของไทยถูกลง เป็นปัญหาให้เกษตรกรมีรายได้ลดลงตามไปด้วย"

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!