WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ธปท.ห่วง ศก.โตช้าจีดีพี 4% เหตุนักลงทุนรอลุ้นสถานการณ์เศรษฐกิจโลกฟื้น

     บ้านเมือง : ธปท.ส่งสัญญาณจีดีพีขยายตัวแค่ 4% เหตุจากเอกชนจับตาสถานการณ์เศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวช้า คาดภาคการส่งออกเดือนธันวาคมที่ยังขยายตัวดีขึ้น 2.3% จากเดือนก่อนเคยติดลบ 1.8% ขณะที่อังค์ถัดแนะเอกชนลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษหวังขยายฐานธุรกิจ

    นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 2557 ขยายตัวประมาณ 2% เป็นไปตามที่ ธปท.เคยคาดการณ์ไว้ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยปี 2557 ขยายตัว 0.8% ส่วนปี 2558 ยังคงคาดการณ์จีดีพีจะกลับมาขยายตัว 4% อย่างไรก็ตามสัญญาณเศรษฐกิจเดือนธันวาคมฟื้นตัวอย่างช้าๆ เนื่องจากขาดแรงส่งจากการบริโภคภายในประเทศ โดยฟื้นตัวน้อยกว่าที่คาดไว้ แม้ว่าราคาน้ำมันตลาดโลกจะปรับลดลงมาก แต่ยังมีข้อจำกัดด้านรายได้ภาคเกษตรและหนี้ที่อยู่ในระดับสูง โดยเห็นได้ชัดจากหมวดสินค้าคงทนที่ยังไม่ฟื้นตัว โดยเฉพาะยอดขายรถยนต์และบ้าน

     ขณะที่ภาคเอกชนยังรอความชัดเจนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ จึงทำให้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดไว้ มีเพียงภาคการส่งออกเดือนธันวาคมที่ยังขยายตัวดีขึ้น 2.3% จากเดือนก่อนที่ติดลบ 1.8% มาจากตลาดหลักคือ สหรัฐ แต่ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ทั้งปีขยายตัวเป็นบวก โดยการส่งออกปี 2557 ติดลบ 0.3% และคาดว่าปี 2558 จะขยายตัว 1% ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจเดือนธัวาคม อัตราการว่างงานอยู่ระดับต่ำ อัตราเงินเฟ้อลดลงและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเป็นประวัติศาสตร์อยู่ที่ 5,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลจากราคาน้ำมันตลาดโลกลดลงมาก แม้จะเป็นผลดีแต่อีกด้านส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น

   ขณะที่ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการสัมมนาเรื่อง "สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ยุคไร้ GSP และ FTA ไทยควรปรับตัวอย่างไร" จัดโดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) นั้น ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย จากการถูกยกเลิกสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) โดยศึกษาเทียบกับคู่แข่งที่อยู่ในทวีปเอเชียที่เป็นสมาชิกหรือกำลังเจรจาเข้าร่วมเป็นสมาชิกในเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (อียู) ที่สำคัญ 4 ประเทศ คือเวียดนาม จีน อินเดีย และเกาหลีใต้ พบว่าสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยได้รับผลกระทบมาก ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง เนื่องจากสินค้าสำคัญของไทยคล้ายคลึงกับ 4 ประเทศคู่แข่งเหล่านี้มาก

    ทั้งนี้ การตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษของรัฐบาลไทย ภาคเอกชนควรใช้โอกาสนี้เข้าไปลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อใช้แรงงานจากต่างประเทศที่ค่าแรงถูกกว่า หรือปรับตำแหน่งทางยุทธศาสตร์เพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้า โดยอุตสาหกรรมต้นน้ำและกลางน้ำควรปรับสู่การเป็นผู้ป้อนวัตถุดิบให้แก่ฐานการผลิตเครื่องนุ่งหุ่มกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ที่กำลังปรับตัวรองรับการใช้สิทธิ์จีเอสพีและต้องวางแผนขยายฐานการผลิตไปเวียดนามมากขึ้น ภายหลังจากเวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลง TPP แล้ว ทั้งนี้ เวียดนามยังขาดแคลนโรงงานวัตถุดิบสิ่งทอต้นน้ำ จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการวัตถุดิบสิ่งทอต้นน้ำของไทยและควรขยายฐานการลงทุนไปยังเมียนมาร์ เพราะในอนาคตเมียนมาร์จะเป็นแหล่งการลงทุนตั้งโรงงานเครื่องนุ่งห่มที่สำคัญในการเป็นฐานการผลิตไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะอียูและการลงทุนตั้งโรงงานอุตสาหกรรมต้นน้ำและกลางน้ำในเมียนมาร์สามารถส่งออกไปประเทศเอเชียใต้ได้

      ขณะเดียวกัน นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่า สหภาพยุโรป (อียู) ยกเลิกสิทธิพิเศษทางการค้า (จีเอสพี) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เพราะจัดให้ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูง ทำให้สินค้าส่งออกของไทยไปอียูต้องเสียภาษีนำเข้าสูงถึง 12% ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน เพราะประเทศส่งออกสินค้าเดียวกัน เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ เป็นต้น ยังคงได้รับสิทธิจีเอสพี โดยขณะนี้ประเทศเวียดนามอยู่ระหว่างเดินหน้าเจรจาความตกลงทางการค้าในกรอบความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) กับสหรัฐและเปิดเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับอียู หากประสพผลสำเร็จจะทำให้ภาษีการส่งออกสินค้าสิ่งทอไปทั้ง 2 ประเทศอยู่ที่ประมาณ 0% ซึ่งขณะนี้ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะผู้ผลิตสินค้าแบรนด์ต่างๆ รายใหญ่ทยอยออกไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา ที่ยังคงได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี รวมถึงเลี่ยงผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของไทย สำหรับในช่วง 11 เดือนแรกปี 2557 ไทยส่งออกไปอียูรวม 32,288 ล้านบาท คิดเป็น 6.9% ของการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในภาพรวมทั้งหมด และข้อมูลจากสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) ระบุว่า แต่ละปีอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งหุ่มไทยสร้างรายได้แก่ประเทศเป็นที่ 4 มีสัดส่วนคิดเป็น 2.2%ของจีดีพีประเทศ ส่งออกคิดเป็นมูลค่า 245,000 ล้านบาทต่อปี ตลาดส่งออกใหญ่สุดคือ อาเซียนมีสัดส่วนคิดเป็น 21% รองลงมาคือตลาดสหรัฐส่งออกคิดเป็น 16% ส่วนอียูไทยส่งออกไปเพียง 14%

 ธปท.รับเศรษฐกิจไทยยังอืด ธ.ค.เกินดุลเดินสะพัดสูงสุด สรท.หั่นเป้าส่งออกโต1.5%

     ไทยโพสต์ * ธปท.รับเศรษฐกิจไทยยังอืด ลุ้นจีดีพีปีนี้โตถึง 4% หลังเห็นสัญญาเดือน ธ.ค.ค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงสุด ดันบาทเริ่มแข็ง ด้านสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือหั่นเป้าส่งออกเหลือโต 1.5%

      นายดอน นาครทรรพ ผู้ อำนวยการสำนักเศรษฐกิจมห ภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทย ไตรมาส 4/2557 ขยายตัวได้ 2% กว่าๆ เป็นไปตามที่ ธปท.คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยทั้งปีโต 0.8%

    ส่วนปี 2558 คาดการณ์ทั้งปีจะกลับมาขยายตัว 4% แต่ สัญญาณเศรษฐกิจในเดือน ธ.ค. ยังคงฟื้นตัวอย่างช้าๆ เนื่องจากขาดแรงส่งการบริโภคภายใน ซึ่งยังน้อยกว่าที่คาดไว้ แม้ว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะปรับลดลงมาก แต่ยังมีข้อจำกัดด้าน รายได้ในภาคเกษตรและหนี้ที่อยู่ ในระดับสูง เห็นได้ชัดจากหมวดสินค้าคงทนที่ยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว โดยเฉพาะยอดขายรถ ยนต์และที่อยู่อาศัย

     ขณะที่ภาคเอกชนยังรอความชัดเจนในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ  จึงทำให้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาดไว้ มีเพียงภาคการส่งออกเดือน ธ.ค.ที่ยังขยายตัว 2.3% จากเดือนก่อนที่ติดลบ 1.8% มาจากตลาดหลักสหรัฐ  แต่ยังไม่เพียงพอที่จะ ทำให้ทั้งปีจะขยายตัวได้เป็นบวก โดยการส่งออกติดลบ 0.3% และคาดว่าปี 2558 จะขยายตัว 1%

    ส่วนการท่องเที่ยวขยายตัว 11.8%  จำนวนนักท่องเที่ยว  2.8 ล้านคน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีนและมาเลเซีย แม้นักท่องเที่ยวจากยุโรปและญี่ปุ่นจะชะลอตัว

     ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจเดือน ธ.ค. อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำ อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงและดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลเป็นประวัติศาสตร์ 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลงมาก แม้จะเป็นผลดีบ้าง แต่อีกด้านก็ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น

    "ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ธ.ค.เกินดุลสูงสุดเป็นประวัติ การณ์ จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ แต่ ทำให้เงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบภูมิ ภาค ขณะที่ประมาณการเศรษฐกิจปีนี้ยังไม่ได้ปรับจากโต 4% เพราะถือว่าอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันกับคาดการณ์ของกระทรวงการคลัง" นายดอนกล่าว

     ด้าน นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก กล่าวว่า  สถาน การณ์การส่งออกของไทยในปี 2558 คาดว่าจะขยายตัว  1.5% ต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2.5% เมื่อช่วงต้นปี โดยมีปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังผัน ผวน ซึ่งธนาคารโลกออกมาปรับ ลดการเติบโตของเศรษฐกิจโลก เหลือ 3% จากเดิม 3.4% นอก จากนี้ ยังมีปัญหาสหภาพยุโรป (อียู) ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) รวมถึงค่าเงินบาทที่ผันผวน

    ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันความผันผวนของค่าเงินบาท สภาฯ จึงเห็นว่าควรหาตลาดใหม่ทดแทนตลาดเดิมที่ชะลอตัว พร้อมกับพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้มีขีดความสามารถสูงขึ้น  เพื่อรับมือกับการแข่งขันใน ตลาดโลก ส่วนราคาน้ำมันที่ลดลง  เชื่อว่าในระยะสั้นจะไม่ส่งผลกระทบ แต่จะมีผลระยะยาวหากราคาน้ำมันยังต่ำกว่า 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกในครึ่งปีหลัง.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!