WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ธปท. คาดศก.ไทยปี 58 โต4% ชี้ ลงทุนรัฐ-เอกชนหนุน แต่ส่งออกโตแค่ 1% ลั่นยังมีช่องว่างลด ดบ.หากศก.ไม่เป็นตามคาด

     ธปท. คาดศก.ไทยปี 58 โต4% ชี้ ลงทุนรัฐ-เอกชนหนุน  มองส่งออกโต 1%  แต่ชี้ตลาดการเงินปีนี้ผันผวน เตือนนลท.ไม่ควรประมาท เร่งปิดความเสี่ยงลดหนี้สินต่อทุนให้ต่ำลง ลั่นยังมีช่องว่างลด ดบ.หากศก.ไม่เป็นตามคาด  เผย พร้อมถก ปัญหาค่าเงินบาทกับ กกร. วันที่ 11 ก.พ. นี้

    นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เปิดเผยว่า ธปท. คาดว่าเศรษฐกิจไทย หรือ จีดีพี ปี 2558 จะขยายตัวได้ 4% โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจากอุปสงค์ในประเทศ การลงทุนภาคเอกชนที่คาดว่าจะเติบโต 3.1% การบริโภคภาคเอกชน 7.2% การอุปโภคและการลงทุนภาครัฐ 4.5% การท่องเที่ยว 7%

   สำหรับ แนวโน้มจีดีพีครึ่งปีแรก คาดว่าจะขยายตัวได้ 4.5% และครึ่งปีหลังคาดว่าจะขยายตัวได้ 3.4%

   "ตัวกระตุ้นเศรษฐกิจปีนี้ คือ การท่องเที่ยวและการบริโภคที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว แต่ก็ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ ราคาสินค้าเกษตรที่ยังตกต่ำ ส่วนอุตสาหกรรมที่ยังขยายตัวได้ดีคือ โทรคมนาคม ค้าปลีก ค้าส่ง ภาคก่อสร้างจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน " นายประสาร กล่าว

   สำหรับ ภาพรวมการส่งออกในปีนี้มองว่า ยังคงชะลอตัวโดยคาดส่งออกจะเติบโตได้ 1% จากปีที่ผ่านมาที่ติดลบ 0.3% สำหรับ ตลาดการส่งออกที่สำคัญในปี58 คือ กลุ่ม CLMV ซึ่งประกอบด้วยกัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม ที่ปัจจุบันการส่งออกคิดเป็นการเติบโต 9%

  ส่วนปัจจัยเสี่ยงต่อการส่งออก คือ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ายังคงชะลอตัวลง มูลค่าการส่งออกหลายรายการลดลง เคมีภัณฑ์มีการปรับลงจากราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง การสิ้นสุดมาตรการทางภาษี หรือ GSP กับยุโรปเป็นต้น

  "ส่วนผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนนั้นมองว่า ธปท.จะดูแลให้เคลื่อนไหวสอดคล้องกับเศรษฐกิจ และยืนยันว่าจะไม่ฝืนกลไกลตลาด"นายประสาร กล่าว

   ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เปิดเผยด้วยว่า ในปีนี้ภาวะเศรษฐกิจการเงินมีความไม่แน่นอนสูง และเกิดความผันผวน ซึ่งนักลงทุนไม่ควรประมาทในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นนักลงทุน ผู้ประกอบการจะต้องเร่งปรับตัวเพื่อรองรับกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ในการลดสัดส่วนหนี้สินต่อต้นทุนที่ต่ำลง

    "ผมสนับสนุนให้เร่งบริหารความเสี่ยงจากความผันผวนจากทั้งอัตราแลกเปลี่ยนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และควรเร่งปรับโครงสร้างทางการเงินให้แข็งแกร่ง"นายประสาร กล่าว

   สำหรับ ความท้าทายของประเทศในระยะยาว คือ 1.การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยมาตรการปฏิรูปบางอย่างจะมีต้นทุนในระยะสั้นเกิดขึ้น เช่น การปรับโครงสร้างราคาพลังงาน การปฏิรูปภาษี การตรวจสอบคอร์รัปชั่นซึ่งชะลอการลงทุนภาครัฐไปบ้าง แต่การปฏิรูปดังกล่าวจะส่งผลดีต่อประเทศในระยะยาว

   2.การเพิ่มการออม สำหรับภาคครัวเรือนในระยะยาว การเพิ่มการออมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต เนื่องจากระดับการออมในปัจจุบันไม่เพียงพอค่อการจัดสวัสดิการในอนาคต นอกจากนี้การออมที่สูงขึ้งจะช่วยให้ครัวเรือนทนทานต่อแรงกระแทกทางเศรษฐกิจได้ดี 3.การเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยภาคธุรกิจในระยะนาวจะต้องเพิ่มศักยภาพการผลิตซึ่งเป็นเรื่องสำคัญต่อความอยู่รอดของธุรกิจอย่างยั่งยืน

   นายประสาร ยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องลดดอกเบี้ย เพื่อดูแลเงินเฟ้อที่ติดลบในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ติดลบ มาจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง และไม่ได้ส่งผลให้เกิดภาวะเงินฝืด

  ทั้งนี้ มองว่าอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันที่ 2% นั้นยังอยู่ในระดับต่ำ และยังเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่ทั้งนี้หากมีสถานการณ์ใดที่กระทบต่อเศรษฐกิจรุนแรงก็ยังมีช่องว่างที่จะดำเนินนโยบายการเงินได้

   "ตอนนี้คงต้องดูภาพรวม เงินเฟ้อที่ติดลบมันเกิดจากราคาสินค้าบางประเภทที่มันต่ำคือราคาน้ำมัน แต่ยังมีสินค้าตัวอื่นที่ยังเติบโต เศรษฐกิจกลับมาดี ดอกเบี้ยที่ 2%ก็ยังต่ำมาก ซึ่งหากจะลดดอกเบี้ยหรือทำอะไรเราต้องดูว่ามันจะเกิดประสิทธิผลมากน้อยแค่ไหน"นายประสาร กล่าว

   สำหรับ กรณีที่คณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.) มีความกังวลต่อความผันผวนของค่าเงินบาท นั้น นายประสาร  กล่าวว่า ธปท.ได้รับทราบแล้วและจะมีการรับฟังข้อคิดเห็นของ กกร.ในวันที่ 11 ก.พ.นี้

    "ในวันที่ 11 ก.พ.นี้เราคงฟังจากทาง กกร.ก่อนในเรื่องของปัญหาต่างๆ และมองว่าเรายังดูแลค่าเงินบาทให้เคลื่อนไหวไปตามกลไกตลาดอย่างแน่นอน"นายประสาร กล่าว

   ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้น 0.86% เท่านั้น โดยค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์มีการเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆจึงไม่ได้มีผลกระทบมากนัก ขณะที่เงินบาท ณ ปัจจุบัน (4ก.พ.) เทียบกับสิ้นปี 2556 ค่าเงินบาทมีการแข็งค่าขึ้น 0.74%

  "ถ้าเทียบกับดอลลาร์คือมันไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวมากนัก เพราะถ้าดูต้นปีมาจนปัจจุบันบาทก็แข็งแค่ 0.86% เท่านั่น"นายประสาร กล่าว

ผู้ว่าธปท. ชี้ ยังมีช่องว่างลด ดบ.หากศก.ไม่เป็นตามคาด ยันไทยยังไม่เกิดภาวะเงินฝืด

   นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เปิดเผยว่า ธปท.ยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่จำเป็นต้องลดดอกเบี้ย เพื่อดูแลเงินเฟ้อที่ติดลบในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ติดลบ มาจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง และไม่ได้ส่งผลให้เกิดภาวะเงินฝืด

    ทั้งนี้ มองว่าอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันที่ 2% นั้นยังอยู่ในระดับต่ำ และยังเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่ทั้งนี้หากมีสถานการณ์ใดที่กระทบต่อเศรษฐกิจรุนแรงก็ยังมีช่องว่างที่จะดำเนินนโยบายการเงินได้

    "ตอนนี้คงต้องดูภาพรวม เงินเฟ้อที่ติดลบมันเกิดจากราคาสินค้าบางประเภทที่มันต่ำคือราคาน้ำมัน แต่ยังมีสินค้าตัวอื่นที่ยังเติบโต เศรษฐกิจกลับมาดี ดอกเบี้ยที่ 2%ก็ยังต่ำมาก ซึ่งหากจะลดดอกเบี้ยหรือทำอะไรเราต้องดูว่ามันจะเกิดประสิทธิผลมากน้อยแค่ไหน"นายประสาร กล่าว

ผู้ว่า ธปท. ชี้ ตลาดการเงินปีนี้ผันผวน เตือนนลท.ไม่ควรประมาท เร่งปิดความเสี่ยงลดหนี้สินต่อทุนให้ต่ำลง

    นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. เปิดเผยว่า ในปีนี้ภาวะเศรษฐกิจการเงินมีความไม่แน่นอนสูง และเกิดความผันผวน ซึ่งนักลงทุนไม่ควรประมาทในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้นนักลงทุน ผู้ประกอบการจะต้องเร่งปรับตัวเพื่อรองรับกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ในการลดสัดส่วนหนี้สินต่อต้นทุนที่ต่ำลง

   "ผมสนับสนุนให้เร่งบริหารความเสี่ยงจากความผันผวนจากทั้งอัตราแลกเปลี่ยนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และควรเร่งปรับโครงสร้างทางการเงินให้แข็งแกร่ง"นายประสาร กล่าว

   สำหรับ ความท้าทายของประเทศในระยะยาว คือ 1.การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยมาตรการปฏิรูปบางอย่างจะมีต้นทุนในระยะสั้นเกิดขึ้น เช่น การปรับโครงสร้างราคาพลังงาน การปฏิรูปภาษี การตรวจสอบคอร์รัปชั่นซึ่งชะลอการลงทุนภาครัฐไปบ้าง แต่การปฏิรูปดังกล่าวจะส่งผลดีต่อประเทศในระยะยาว

  2.การเพิ่มการออม สำหรับภาคครัวเรือนในระยะยาว การเพิ่มการออมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคต เนื่องจากระดับการออมในปัจจุบันไม่เพียงพอค่อการจัดสวัสดิการในอนาคต นอกจากนี้การออมที่สูงขึ้งจะช่วยให้ครัวเรือนทนทานต่อแรงกระแทกทางเศรษฐกิจได้ดี 3.การเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยภาคธุรกิจในระยะนาวจะต้องเพิ่มศักยภาพการผลิตซึ่งเป็นเรื่องสำคัญต่อความอยู่รอดของธุรกิจอย่างยั่งยืน

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!